Follow prapat1909 on Twitter

วันพุธที่ 24 ตุลาคม พ.ศ. 2555

ไทยกับการเตรียมความพร้อมสู่ประชาคมอาเซียน (ตอนที่ 3)


  ไทยกับการเตรียมความพร้อมสู่ประชาคมอาเซียน (ตอนที่ 3)


ตีพิมพ์หนังสือพิมพ์ ไทยโพสต์
คอลัมน์กระบวนทรรศน์ ฉบับวันที่ 20 กันยายน
  2555



คอลัมน์กระบวนทรรศน์ตอนที่แล้ว ผมได้วิเคราะห์ว่า ประชาคมอาเซียนที่จะเกิดขึ้น จะกระทบ   
ต่อไทยอย่างไร เราจะต้องรองรับ ปรับตัวอย่างไร  คือ ไทยจะต้องเตรียมความพร้อมสู่ประชาคม
อาเซียนอย่างไร เป็นภาพกว้างๆ ไปแล้ว
สำหรับคอลัมน์กระบวนทรรศน์ในตอนนี้ ผมจะพูดถึง roadmap หรือ แผนงานของการเตรียม     
ความพร้อมสู่ประชาคมอาเซียน โดยวันนี้จะพูดในส่วนของภาครัฐก่อน
roadmap
ใน roadmap การเตรียมความพร้อมของภาคราชการ วิสัยทัศน์ คือ ระบบราชการไทยมีความ
เป็นสากลในการส่งเสริม สนับสนุนการเข้าสู่ประชาคมอาเซียนด้วยความเป็นมืออาชีพ 
กล่าวคือ เรื่องความเป็นสากล เรื่องของการสนับสนุน เรื่องของความเป็นมืออาชีพ
                จากวิสัยทัศน์ดังกล่าวนั้น ก็นำมาสู่พันธกิจ 9 ด้าน ดังนี้
- การเตรียมความพร้อมในด้านบุคลากร ทั้งทักษะ ทัศนคติ และสมรรถนะ
- การเตรียมความพร้อมในด้านงบประมาณ
- การเตรียมความพร้อมในด้านองค์กร
- การเตรียมความพร้อมในการจัดทำยุทธศาสตร์
- การจัดทำแผนปฏิบัติการเพื่อแปลง ยุทธศาสตร์ไปสู่การปฏิบัติ
- การเตรียมพร้อมโดยมีกลไกควบคุม ตรวจสอบ ประเมินผล
- มีความคืบหน้าในการดำเนินงานของหน่วยงานต่างๆ ที่รับผิดชอบในแผนงานของประชาคมอาเซียน
- การประชาสัมพันธ์ การเปิดโอกาสให้ภาคส่วนต่าง ๆ ได้เข้ามามีส่วนร่วมในการเตรียมความพร้อม
- การประสานงานกันระหว่างหน่วยงานต่าง ๆ ในการเตรียมความพร้อมอย่างมีเอกภาพ และบูรณาการ
จาก 9 พันธกิจหลัก แปลงมาเป็นยุทธศาสตร์ 9 ยุทธ์ศาสตร์ด้วยกัน คือ
1.             ยุทธศาสตร์การเตรียมความพร้อมด้านบุคลากร
จะมีกลยุทธ์ทั้งด้านทักษะ ด้านภาษา ด้านการเจรจาต่อรอง ด้านการดำเนินการประชุม  ด้านกฎหมาย 
ระหว่างประเทศ ด้านการทำงานเป็นทีม ด้านองค์ความรู้เกี่ยวกับอาเซียน และด้านการทำงานเป็นทีมด้าน
องค์ความรู้เกี่ยวกับอาเซียน และด้านการสร้างและกำหนดมาตรฐานกลางระหว่างประเทศ
ยุทธศาสตร์ในการเตรียมคน มีการเตรียมความพร้อมในด้านทัศนคติ โดยมีกลยุทธ 3 ด้านด้วยกัน
- ทัศนคติต่อประชาคมอาเซียน ในเชิงบวก เราต้องการให้ข้าราชการนั้นมองประชาคมอาเซียนใน
เชิงบวก
- ต้องการให้ข้าราชการนั้นมีทัศนคติต่อประเทศสมาชิกในเชิงบวก อันนี้ต้องมีการปรับทัศนคติ
- ทัศนคติในการทำงาน ยุทธศาสตร์ส่วนการเตรียมความพร้อมในด้านสมรรถนะ เป็นไปตาม
มาตรฐาน
           กล่าวโดยสรุป การเตรียมความพร้อมด้านบุคลากร จะต้องมี 3 ด้านด้วยกัน คือ ต้องมีความเป็นมือ  
อาชีพ มีความเป็นนานาชาติ และมีความเป็นผู้สนับสนุน และนอกจากนั้น จะมีแผนย่อย ๆ ลงไปอีก คือ 
เรื่องการพัฒนาบุคลากรรับผิดชอบภารกิจด้านประชาคมอาเซียนโดยตรง มีระบบฐานข้อมูล มีแผนพัฒนา
บุคลากร มีการเพิ่มสัดส่วนบุคลากรที่รู้เกี่ยวกับอาเซียน เรื่องการถ่ายถอดองค์ความรู้ทั้งกับเพื่อนร่วมงาน
และบุคลากรต่างหน่วยงาน มีความเป็นมืออาชีพที่ชัดเจนสำหรับบุคลากร และมีแผนจัดฝึกอบรม
      2. ยุทธศาสตร์การเตรียมความพร้อมในด้านงบประมาณ
      3. ยุทธศาสตร์การเตรียมความพร้อมในด้านองค์กร โดยมี 5 เรื่องหลักด้วยกัน
                                - ต้องมีกลไกระบบเตรียมความพร้อม
                                - มีระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสาร
                                - มีระบบการบริหารจัดการที่ดี ในลักษณะธรรมาภิบาลที่ดี
                                - มีการจัดตั้งหน่วยงานที่รับผิดชอบเรื่องอาเซียนโดยตรง
                                - มีวางแผนอัตรากำลังและจัดโครงสร้างองค์กรเพื่อรองรับภารกิจประชาคมอาเซียน
      4. ยุทธศาสตร์การเตรียมความพร้อมสู่ประชาคมอาเซียน
       ซึ่งแบ่งเป็นยุทธศาสตร์ในเชิงรับ เป็นยุทธศาสตร์ ที่ถ้ามีประชาคมอาเซียนแล้วจะมีผลกระทบ แล้ว  
เราจะรองรับอย่างไรในเรื่องของคนในเรื่องขององค์กรต่าง ๆ
        ส่วนยุทธศาสตร์ในเชิงรุก หมายความว่า นอกจากเราจะต้องเตรียมคน เราควรจะต้องบุกด้วย บุกใน 
ที่นี้หมายถึงว่าเราควรจะต้องเข้าไปมีส่วนร่วม ในฐานะข้าราชการนั้น เข้าไปมีส่วนร่วมในประชาคม
อาเซียนด้วย ไม่ใช่ปล่อยให้ 9 ประเทศเขาสร้างประชาคมอาเซียนแล้วเราค่อยมาตั้งรับ เราควรจะเข้าไปมี
ส่วนร่วมในการสร้างด้วย
       นอกจากนั้นแล้ว แต่ละหน่วยงานก็มีภารกิจของตัวเองในการไปผลักดันประเด็นต่าง ๆ ยุทธศาสตร์
ในเชิงรุก หมายความว่า หน่วยงานจะต้องทำการบ้าน คิดดูว่า ประเด็นไหนที่เราต้องไปผลักดัน เราต้อง
ไปริเริ่ม ไปเสนอ ให้เป็นความคิดริเริ่มของฝ่ายไทยในเวทีอาเซียนต่าง ๆ อันนี้ต้องมีการทำการบ้าน และ
ผลักดันประเด็นที่ไทยจะได้ประโยชน์สูงสุด
       5. ยุทธศาสตร์การเตรียมความพร้อมในการจัดทำแผนปฏิบัติการ เพื่อแปลงยุทธศาสตร์ไปสู่การ
           ปฏิบัติ
       6. ยุทธศาสตร์ ที่เป็นกลไกควบคุมตรวจสอบ
       7. ยุทธศาสตร์เรื่องความคืบหน้าในการดำเนินงานต่างๆในแผนงาน (blueprint) 
            ของการจัดตั้งประชาคมอาเซียน
       8. ยุทธศาสตร์การประชาสัมพันธ์และเปิดโอกาสให้ภาคส่วนต่างๆ เข้ามามีส่วนร่วม
       9. ยุทธศาสตร์การเตรียมความพร้อมอย่างมีเอกภาพและมีบูรณาการ
ปัญหาการเตรียมความสู่ประชาคมอาเซียนของไทย
        สำหรับ roadmap ที่ผมเสนอข้างต้น ก็เป็นเพียงแค่ข้อเสนอ ปัจจุบันไทยก็ยังไม่มี roadmap และแผน 
แม่บทการเตรียมความพร้อมสู่ประชาคมอาเซียน
      ไทยมีปัญหาหลายเรื่องในการเตรียมความพร้อมสู่ประชาคมอาเซียน โดยเรื่องสำคัญคือ อาเซียนได้ 
ตกลงที่จะจัดตั้งประชาคมอาเซียนตั้งแต่ปี พ.. 2546 ในการประชุมสุดยอดที่บาหลี คือ เมื่อเกือบสิบปีมา
แล้วที่ไทยรู้ว่าจะมีประชาคมอาเซียนเกิดขึ้น แต่จะเห็นได้ว่าหน่วยงานต่าง ๆ ของไทย ก็เพิ่งจะมาตื่นตัว
ในเรื่องการเตรียมความพร้อมสู่ประชาคมอาเซียนเมื่อไม่กี่ปีนี้ ไทยจึงค่อนข้างจะช้าในเรื่องการเตรียม
ความพร้อม หลายสิ่งหลายอย่างที่เราควรจะจัดทำแต่ก็ยังไม่มี เช่น แผนแม่บทการเตรียมความพร้อมของ
ประเทศก็ยังไม่มี ซึ่งทำให้เกิดปัญหาในการเตรียมความพร้อมของหน่วยงานต่าง ๆ กระทรวงต่าง ๆ หรือ
หน่วยงานต่าง ๆ เมื่อไม่มีแผนแม่บทก็ไม่มีแนวทางในการจัดทำยุทธศาสตร์การเตรียมความพร้อมของ
กระทรวง แต่กระทรวงและหน่วยงานต่าง ๆ ก็จำเป็นต้องทำยุทธศาสตร์การเตรียมความพร้อมของตนเอง
ขึ้นมา จึงเกิดเป็นปัญหาว่า การเตรียมความพร้อมของส่วนราชการต่าง ๆ จึงมีลักษณะต่างคนต่างทำ” 
ขาดการประสานงานกันอย่างมีเอกภาพและบูรณาการ ดังนั้น ปัญหาสำคัญของไทยขณะนี้ก็คือจะทำ
อย่างไรที่จะทำให้ประเทศรวมทั้งระบบราชการมีการเตรียมความพร้อมไปในทิศทางเดียวกัน และมี
เอกภาพ และมีบูรณาการ
                      สำหรับในประเด็นการเตรียมความพร้อมด้านองค์กร แม้ว่าจะมีการระบุในแผนงานหรือ 
             roadmap ว่า ในแต่ละหน่วยงานควรมีการกำหนดกลไกและผู้รับผิดชอบเรื่องอาเซียนโดยตรง  
             แต่ก็ไม่ได้หมายความว่า ทุกกระทรวงจะต้องมีการตั้งกองอาเซียนขึ้นมา โดยกลไกที่รับผิดชอบ  
             อาเซียนอาจจะเป็นรูปแบบอื่น ๆ ที่ไม่ใช่กอง คืออาจจะเป็นส่วน ฝ่าย งาน หรือที่เรียกเป็นภาษา 
             อังกฤษว่า ASEAN Unit ก็ได้ ทั้งนี้ทั้งนั้นขึ้นอยู่กับว่า แต่ละกระทรวงต้องไปกำหนดดูความ
             เหมาะสม ซึ่งแต่ละกระทรวงมีการเตรียมความพร้อมไม่เท่ากัน มีภารกิจในด้านอาเซียนไม่เท่า 
             กัน บางกระทรวงที่มีภารกิจมากก็อาจจะตั้งเป็นกองอาเซียนหรือกรมอาเซียนได้ ตัวอย่างเช่น 
             กรมอาเซียน กระทรวงการต่างประเทศ หรือสำนักอาเซียนของกรมเจรจาการค้าระหว่าง
             ประเทศ กระทรวงพาณิชย์ แต่บางกระทรวงอาจจะไม่จำเป็นถึงขั้นนั้น คือ มีแค่ ASEAN Unit 
             ก็น่าจะเพียงพอแล้ว
                       สำหรับเรื่องยุทธศาสตร์การเตรียมความพร้อมสู่ประชาคมอาเซียนของแต่ละกระทรวง 
             นั้น คงจะไปกำหนดว่า ทุกกระทรวงจะต้องมียุทธศาสตร์เหมือนกันหมดไม่ได้ แต่ละกระทรวง
             จะต้องไปกำหนดเอาเองว่า กระทรวงมีภารกิจด้านอาเซียนอย่างไร ต้องการพัฒนา เตรียม
             บุคลากร มากน้อยเพียงใด ต้องมีการเตรียมองค์กรอย่างไร ก็เป็นเรื่องของแต่ละกระทรวง ที่จะ
             ต้องไปพิจารณาจัดทำยุทธศาสตร์ของตัวเอง

        (โปรดติดตามอ่านต่อ ตอนที่ 4 ในคอลัมน์กระบวนทรรศน์ หนังสือพิมพ์ไทยโพสต์ ฉบับวันพฤหัสบดีที่ 4 ตุลาคม 2555)           

ไม่มีความคิดเห็น: