โคโซโวประกาศเอกราช: ผลกระทบต่อโลก
ตีพิมพ์ใน: สยามรัฐสัปดาหวิจารณ์
เมื่อช่วงสัปดาห์ที่แล้ว ได้มีข่าวใหญ่เกิดขึ้น นั่นคือ การประกาศเอกราชของโคโซโว คอลัมน์โลกทรรศน์ในวันนี้ ผมจะวิเคราะห์ประวัติความเป็นมาของโคโซโว ท่าทีของประเทศต่าง ๆ และผลกระทบต่อโลก
ประวัติความเป็นมา
ในอดีต โคโซโวเป็นส่วนหนึ่งของเซอร์เบีย โดยชาว Serb ถือว่าโคโซโวเป็นแหล่งก่อกำเนิดของชาติเซอร์เบียในอดีต ในระยะเวลาต่อมา ได้มีชาว Albanian อพยพเข้ามาอยู่มากขึ้นเรื่อย ๆ จนในศตวรรษที่ 20 ชาว Albanian ที่นับถือศาสนาอิสลามกลายเป็นชนกลุ่มใหญ่ และชาว Serb กลายเป็นชนกลุ่มน้อย โดยมีชาว Albanian อาศัยอยู่ในโคโซโวประมาณ 2 ล้านคน และมีชาว Serb อยู่ประมาณ 1 แสนคน
ในช่วงทศวรรษ 1990 รัฐบาลเซอร์เบียได้ดำเนินมาตรการสนับสนุนชาว Serb ในโคโซโว และมีการสังหารชาว Albanian ไปเป็นจำนวนมากนับหมื่นคน บางคนถึงกับเรียกว่าเป็นสงครามฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ จนเมื่อปี 1999 กองกำลัง NATO โดยการนำของสหรัฐฯจึงถล่มเซอร์เบีย จนทหารเซอร์เบียต้องถอนออกไปจากโคโซโว และกองกำลัง NATO ได้เข้าควบคุมโคโซโวแทน อย่างไรก็ตาม การโจมตีของ NATOนั้น ไม่ได้ไฟเขียวจากคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ เพราะรัสเซีย veto
ภายหลังสงคราม คณะมนตรีความมั่นคงได้มีมติให้การรับรองกองกำลังของ NATO ที่เรียกชื่อว่า KFOR แต่คณะมนตรีความมั่นคงก็ไม่เคยอนุมัติความเป็นเอกราชของโคโซโว หลังจากนั้น EU พยายามหว่านล้อมให้เซอร์เบียให้เอกราชแก่โคโซโว เพื่อแลกกับการเป็นสมาชิกของ EU แต่เซอร์เบียก็ไม่ยอม จนในที่สุด ตะวันตกจึงตัดสินใจที่จะให้โคโซโวประกาศเอกราชแต่เพียงฝ่ายเดียว และเมื่อวันที่ 17 กุมภาพันธ์ ที่ผ่านมาโคโซโวจึงประกาศเอกราช โดยประเทศตะวันตกที่ได้ให้การรับรอง อาทิ สหรัฐฯ อังกฤษ ฝรั่งเศส เยอรมนี แต่ก็มีหลายประเทศคัดค้านไม่เห็นด้วย โดยเฉพาะเซอร์เบีย รัสเซีย และจีน
ท่าทีของตะวันตก
สำหรับจุดยืนของตะวันตกซึ่งมีสหรัฐฯเป็นผู้นำนั้น ผมมองว่า ยุทธศาสตร์ใหญ่ของสหรัฐฯคือการปิดล้อมรัสเซียเพราะมองว่ารัสเซียยังเป็นศัตรูอยู่ โดยพยายามขยายอิทธิพลเข้าไปในเขตอิทธิพลเดิมของสหภาพโซเวียต ด้วยการดึงเอาประเทศยุโรปตะวันออกเข้ามาเป็นสมาชิก NATO และ EU และขยายอิทธิพลเข้าไปในคาบสมุทรบอลข่าน เทือกเขาคอเคซัส และเอเชียกลางเพื่อปิดล้อมรัสเซีย
ทั้งสหรัฐฯและตะวันตกให้การรับรองการประกาศเอกราชของโคโซโว โดยอ้างเหตุผลว่า จากการเข่นฆ่าชาว Albanian โดยชาว Serb ในทศวรรษ 1990 ทำให้โคโซโวไม่สามารถกลับไปเป็นส่วนหนึ่งของเซอร์เบียได้อีกต่อไป
นอกจากนี้ ฝ่ายตะวันตกยังอ้างข้อมติของคณะมนตรีความมั่นคงที่ 1244 ซึ่งระบุให้เซอร์เบียถอนทหารออกจากโคโซโว และยึดหลักการ “กระบวนการทางการเมืองเพื่อนำไปสู่การพิจารณากำหนดสถานะของโคโซโว”
ทาง EU (รวมทั้งสหรัฐฯ)ได้ตีความข้อมติ 1244 เข้าข้างตัวเองว่า ข้อมติดังกล่าวเปิดไฟเขียวให้กับกองกำลัง EU และ NATO และการประกาศเอกราชของโคโซโวก็เป็นไปตามเจตนารมณ์ของข้อมติ 1244
EU มีแผนที่จะส่งเจ้าหน้าที่กว่า 2,000 คนเข้าไปช่วยเหลือในการบริหารประเทศของโคโซโว นอกจากนั้น ยังจะคงกองกำลัง NATO หรือ KFOR ซึ่งมีจำนวนประมาณ 16,000 คนไว้ในโคโซโวต่อไป
ท่าทีของเซอร์เบียและรัสเซีย
หลังจากที่โคโซโวประกาศเอกราชแต่เพียงฝ่ายเดียว นายกรัฐมนตรีของเซอร์เบีย คือ Vojislav Kostunica ได้ออกมาประกาศไม่ยอมรับการประกาศเอกราชดังกล่าว และแนวโน้มคือ เซอร์เบียคงจะไม่เข้าร่วมเป็นสมาชิก EU และคงจะตีตัวออกห่างจาก EU และไปใกล้ชิดกับรัสเซียมากขึ้น เซอร์เบียประกาศมาโดยตลอดว่า จะให้โคโซโวมีการปกครองตนเอง (autonomy) แต่จะไม่ให้เป็นเอกราช
สำหรับท่าทีของรัสเซียนั้น ก็เป็นไปในแนวทางเดียวกับเซอร์เบีย โดยก่อนหน้านี้ รัสเซียได้ประกาศหลายครั้งแล้วว่า ไม่เห็นด้วยกับท่าทีของตะวันตก ที่จะให้โคโซโวเป็นเอกราช
ขณะนี้รัสเซียกำลังพยายามที่จะให้คณะมนตรีความมั่นคง มีมติให้การประกาศเอกราชเป็นโมฆะ แต่ก็คงเป็นไปได้ยากเพราะคงจะถูกสหรัฐฯ ฝรั่งเศส และอังกฤษ veto แน่ แต่เมื่อช่วงปลายปีที่แล้วรัสเซียก็ได้ veto ข้อมติของตะวันตกที่จะให้โคโซโวเป็นเอกราช
รัสเซียมองว่า การประกาศเอกราชของโคโซโวแต่เพียงฝ่ายเดียวเป็นการกระทำที่ไม่ถูกต้อง เพราะคณะมนตรีความมั่นคงก็ยังไม่ได้อนุมัติ และข้อมติที่ 1244 ก็ไม่ได้มีการพูดถึงเรื่องเอกราช รัสเซียอ้างว่า ตามกฎหมายระหว่างประเทศนั้น การประกาศเอกราชจะต้องมีการเจรจาข้อตกลงระหว่างกัน และ UN จะต้องให้การรับรอง แต่ที่ตะวันตกผลักดันนั้นเป็นการทำลายพื้นฐานของกฎหมายระหว่างประเทศอย่างสิ้นเชิง
นอกจากนี้ รัสเซียยังกลัวว่า หากรับรองเอกราชของโคโซโวก็เท่ากับเป็นการ “ชี้โพรงให้กระรอก” ซึ่งอาจจะนำไปสู่การผลักดันการประกาศเอกราชของ Chechnya และอีกจากหลายๆ กลุ่มที่กำลังต่อสู้เพื่อแบ่งแยกดินแดนจากรัสเซีย
สำหรับเซอร์เบียนั้น รัสเซียถือว่าเป็นพันธมิตรที่เหนียวแน่น เพราะอยู่ภายใต้อารยธรรมเดียวกัน คือ มีเชื้อสายเป็นชาว Slav และนับถือศาสนาคริสต์นิกาย Orthodox เหมือนกัน
นอกจากนี้ รัสเซียยังมองว่า ตะวันตกท้าทายรัสเซียเป็นอย่างมาก เพราะการเดินหน้ารับรองเอกราชของโคโซโว ทั้งๆ ที่รัสเซียประกาศไม่เห็นด้วย ก็เท่ากับเป็นการทำลายเครดิตของรัสเซีย หรือพูดง่ายๆ ก็คือ เป็นการตบหน้ารัสเซียอย่างแรงนั่นเอง
รัสเซียกำลังจะจัดประชุมสุดยอดกลุ่มประเทศที่เคยเป็นสหภาพโซเวียตเก่า ที่เราเรียกว่ากลุ่ม CIS โดยรัสเซียคงจะใช้การประชุมสุดยอดครั้งนี้ในการแสวงหาแนวร่วมจุดยืนการไม่รับรองเอกราชของโคโซโว นอกจากนี้ รัสเซียยังอาจสนับสนุนชาว Serb ในบอสเนีย ให้ประกาศแบ่งแยกดินแดน และอาจผนวกดินแดน Abkhazia และ South Osselia ในประเทศจอร์เจีย ซึ่งเป็นบริเวณที่มีชาวรัสเซียอาศัยอยู่และอยากแบ่งแยกดินแดนมาอยู่กับรัสเซีย
ท่าทีของประเทศอื่นๆ
สำหรับประเทศอื่น ๆ หลายๆ ประเทศยังคงสงวนท่าที แต่สำหรับบางประเทศก็มองว่า การประกาศเอกราชของโคโซโวจะเป็นตัวอย่าง ที่จะนำไปสู่การแบ่งแยกดินแดนมากขึ้น ดังนั้น ประเทศเหล่านี้จึงประกาศไม่เห็นด้วยกับเอกราชของโคโซโว
· สเปน ซึ่งมีปัญหากลุ่มแบ่งแยกดินแดนชาว Basque
· โรมาเนีย และ สโลวาเกียซึ่งมีชนกลุ่มน้อยเป็นชาว Hungarian ก็กลัวการแบ่งแยกดินแดน
· ไซปรัส ซึ่งมีปัญหาการแบ่งแยกดินแดนโดยเฉพาะชาว Turk ในไซปรัสที่ต้องการแบ่งแยกดินแดน
· จีน ซึ่งมีปัญหากลุ่มแบ่งแยกดินแดนในมลฑล Xingiang รวมทั้งปัญหาไต้หวันและทิเบต
ผมมองว่า โคโซโวจะก่อให้เกิดแนวโน้มสงครามการแบ่งแยกดินแดนหนักขึ้นในอนาคต
โดยขณะนี้ ทุกภูมิภาคในโลกก็กำลังลุกเป็นไฟจากแนวคิดแบ่งแยกดินแดน
· ในตะวันออกกลาง ปัญหาสำคัญคือชาว Kurd และ Palestine
· ในแอฟริกา ตัวอย่างสำคัญ เช่น สงครามในแคว้น Darfur
· ในยุโรป ก็มีปัญหาการแบ่งแยกดินแดนลุกลามไปทั่วคาบสมุทรบอลข่าน และเทือกเขาคอเคซัส รวมทั้งในรัสเซีย
· ส่วนในทวีปเอเชีย ก็มีสงครามความขัดแย้งแบ่งแยกดินแดนหลายจุด ไม่ว่าจะเป็น ศรีลังกา ระหว่างชาวสิงหลกับชาวทมิฬ อินเดียก็มีขบวนการแบ่งแยกดินแดนในแคว้น Assam กับ Kashmir นอกจากนี้ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ก็ประสบปัญหาการแบ่งแยกดินแดนในหลายประเทศ โดยเฉพาะอินโดนีเซีย คือกลุ่ม Aceh และ Irian Jaya สำหรับไทยและฟิลิปปินส์ก็ประสบปัญหาการแบ่งแยกดินแดนทางภาคใต้ รวมทั้งพม่าก็ประสบกับกลุ่มแบ่งแยกดินแดนหลายกลุ่ม
คาบสมุทรบอลข่านจะลุกเป็นไฟหรือไม่?
สำหรับประเด็นสุดท้ายที่ผมอยากจะวิเคราะห์ถึงผลกระทบของเอกราชโคโซโว คือ
ผลกระทบที่อาจจะทำให้คาบสมุทรบอลข่านลุกเป็นไฟ สิ่งที่น่ากลัวคือ อาจจะกลับไปเป็นสงครามครั้งใหม่ระหว่างชาว Serb กับชาว Albanian โดยชาว Serb ที่เป็นชนกลุ่มน้อยในโคโซโวก็ได้แสดงความไม่พอใจออกมาแล้ว และอาจลุกลามใหญ่โตจนเป็นความรุนแรง
นอกจากนี้ ความขัดแย้งอาจจะขยายวงออกไปถึง Macedonia และ Montenegro โดยมี
แนวโน้มว่า ชาว Albanian ที่อาศัยอยู่ในประเทศทั้งสอง อยากจะแบ่งแยกดินแดนมารวมกับโคโซโว ในขณะที่ชาว Serb ที่อยู่ในบอสเนียก็สนับสนุนชาว Serb ในโคโซโวอย่างเต็มที่
วันศุกร์ที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2551
ยุทธศาสตร์ทางทหารของสหรัฐฯต่อเอเชีย
ยุทธศาสตร์ทางทหารของสหรัฐฯต่อเอเชีย
ตีพิมพ์ใน: สยามรัฐสัปดาหวิจารณ์
เมื่อช่วงปลายเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา Robert Gates รัฐมนตรีกระทรวงกลาโหมสหรัฐฯ ได้เดินทางไปเยือนอินโดนีเซีย และได้กล่าวสุนทรพจน์ประกาศยุทธศาสตร์ทางทหารของสหรัฐฯต่อเอเชีย คอลัมน์โลกทรรศน์ในวันนี้ ผมจะได้วิเคราะห์ถึงสุนทรพจน์ดังกล่าว โดยจะเน้นถึงการมองภัยคุกคามของสหรัฐฯ และยุทธศาสตร์ของสหรัฐฯเพื่อรับมือกับภัยคุกคามดังกล่าว
ภาพรวม
สำหรับภาพรวมของสุนทรพจน์ในครั้งนี้ ผมดูแล้วเป็นการปรับเปลี่ยนนโยบายค่อนข้างมากทีเดียวสำหรับรัฐบาล Bush เพราะเราคงจะจำกันได้ว่า รัฐบาล Bush ในช่วงแรก ๆ มีนโยบายแข็งกร้าวมาก แต่จากสุนทรพจน์ของ Gates ครั้งนี้ ดูอ่อนลงมาก และมีลักษณะเป็นภาษาดอกไม้ค่อนข้างมาก ยุทธศาสตร์ของ Gates ปรับเปลี่ยนไปมากจากเดิมที่สหรัฐฯเคยเน้นยุทธศาสตร์แบบดำเนินนโยบายแบบฝ่ายเดียว หรือที่เรียกว่า unilateralism และเน้นความสัมพันธ์ทางทหารแบบสองฝ่าย หรือที่เรียกว่า bilateralism ซึ่งเป็นยุทธศาสตร์หลักที่เรียกว่า hub and spoke หรือยุทธศาสตร์ “ดุมล้อ” และ “ซี่ล้อ” โดยสหรัฐฯเป็น hub และประเทศอื่น ๆ เป็น spoke แต่สุนทรพจน์คราวนี้กลับไปเน้นยุทธศาสตร์ใหม่ที่เน้นพหุภาคีนิยม หรือ multilateralism
ภัยคุกคาม
Gates ได้วิเคราะห์ว่า ตั้งแต่สงครามเย็นสิ้นสุดลง ได้มีการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่เกิดขึ้นในภูมิภาค สภาวะแวดล้อมทางด้านความมั่นคงในเอเชียได้เปลี่ยนแปลงไปมาก มีขั้วอำนาจใหม่เกิดขึ้น มีภัยคุกคามใหม่ ๆ เกิดขึ้น ดังนี้
· การผงาดขึ้นมาของอินเดีย ซึ่งสหรัฐฯมองว่า กำลังเป็นหุ้นส่วนที่ใกล้ชิดกับ
สหรัฐฯ และกำลังเป็นมหาอำนาจทางเศรษฐกิจและทางด้านทหาร
· สำหรับจีน ได้ผงาดขึ้นมาเป็นมหาอำนาจทางเศรษฐกิจ และจีนกำลังแปรเปลี่ยน
ความสำเร็จทางเศรษฐกิจไปเป็นการเพิ่มอิทธิพลทางการเมือง และทางทหารของตน
· รัสเซีย ได้ฟื้นตัวจากสภาวะยุ่งเหยิงจากยุคหลังสหภาพโซเวียตล่มสลาย
ขณะนี้รัสเซียกำลังผงาดขึ้นมาใหม่ด้วยความร่ำรวยที่ได้จากการขายน้ำมันและก๊าซธรรมชาติ และกำลังมีความทะเยอทะยาน ที่จะกลับมามีบทบาทที่โดดเด่นในเวทีระหว่างประเทศอีกครั้ง
· สำหรับเกาหลีเหนือ ในสายตาของ Gates ยังคงเป็นภัยคุกคามที่สำคัญ
ต่อภูมิภาค เกาหลีเหนือยังคงเป็นประเทศที่โดดเดี่ยวที่เป็นแกะดำต่างจากแนวโน้มในภูมิภาค ที่มุ่งไปสู่เสรีภาพและความรุ่งเรือง เกาหลีเหนือถือเป็นภัยคุกคามต่อประเทศเพื่อนบ้าน และด้วยความพยายามที่จะพัฒนาอาวุธนิวเคลียร์และขีปนาวุธ และอาจส่งต่ออาวุธร้ายแรงให้กับประเทศอื่น เกาหลีเหนือจึงเป็นปัญหาของภูมิภาคซึ่งจะมีผลกระทบอย่างยิ่งต่อโลก
· นอกจากนี้ มีภัยคุกคามใหม่ ๆ ที่เกิดขึ้นในภูมิภาค ไม่ว่าจะเป็นเรื่องปัญหาโจร
สลัด ความขัดแย้งระหว่างเชื้อชาติ ความยากจน เครือข่ายการก่อการร้าย การแพร่ขยายของอาวุธร้ายแรง ปัญหาความเสื่อมโทรมของสิ่งแวดล้อม และปัญหาการแพร่ระบาดของเชื้อโรคร้ายแรงต่างๆ
Gates ได้ย้ำว่า ภัยคุกคามต่างๆ เหล่านี้ เป็นสิ่งที่ไม่สามารถจะแก้ไขได้ โดยประเทศ
หนึ่งหรือสองประเทศ แต่จะต้องอาศัยความร่วมมือจากหลาย ๆ ประเทศ
สำหรับในการวิเคราะห์ภัยคุกคามของ Gates นั้น ผมมีความเห็นว่า โดยทั่วไปแล้วก็
ไม่ได้มีอะไรใหม่ แต่ประเด็นสำคัญที่เห็นชัดเจนคือการลดการวาดภาพจีนว่า เป็นภัยคุกคามสำคัญ โดยจะเห็นได้ว่า Gates มองอินเดียเป็นบวก ในขณะที่มองจีนและรัสเซียก็ไม่ถึงกับเป็นลบ ส่วนเกาหลีเหนือนั้นก็เป็นภัยคุกคามของสหรัฐฯมานานแล้ว
แต่ผมก็ยังมีความรู้สึกว่า การวาดภาพภัยคุกคามของ Gates น่าจะเป็นภาพหลอก เป็นภาพลวงตาเสียมากกว่า ผมเชื่อว่า วาระซ่อนเร้นที่สำคัญของสหรัฐฯในภูมิภาคคือ การมองว่าจีนกำลังผงาดขึ้นมาเป็นภัยคุกคามที่สำคัญต่อสหรัฐฯ
ยุทธศาสตร์ของสหรัฐฯ
ในการที่จะเผชิญกับภัยคุกคามดังกล่าว Gates ได้เสนอยุทธศาสตร์ของสหรัฐฯ ซึ่งอาจ
สรุปเป็นข้อ ๆได้ดังนี้
· Gates ได้ย้ำว่า สหรัฐฯนั้นเป็นประเทศในแปซิฟิค (Pacific Nation) และจะ
ยังคงเป็นต่อไป ซึ่งผมมองว่า เท่ากับเป็นการตอกย้ำว่า อเมริกาเป็นส่วนหนึ่งของภูมิภาคนี้และอเมริกาจะต้องมีบทบาทสำคัญ Gates ได้บอกว่า อเมริกาได้เสียสละทั้งเลือดเนื้อ และทรัพย์สินเพื่อต่อสู้กับการรุกราน ต่อสู้เพื่อเสรีภาพ และต่อสู้เพื่อสันติภาพและความรุ่งเรืองในภูมิภาคมาโดยตลอด ในปัจจุบัน พันธกรณีของสหรัฐฯในภูมิภาคยังคงแข็งแกร่งและจะยังคงแข็งแกร่งอย่างต่อเนื่องต่อไปในอนาคต
· สำหรับความสำคัญของพันธมิตรหลักของสหรัฐฯในภูมิภาคเอเชีย
ตะวันออกเฉียงเหนือ คือ ญี่ปุ่นและเกาหลีใต้ Gates ได้ตอกย้ำว่า พันธมิตรดังกล่าวเริ่มมาตั้งแต่ยุคสงครามเย็น แต่ปัจจุบันทั้งเกาหลีใต้และญี่ปุ่นได้ผงาดขึ้นมาเป็นมหาอำนาจทางเศรษฐกิจและสร้างเสริมสมรรถนะทางทหารที่เข้มแข็ง ดังนั้น ทั้งสองประเทศจึงสามารถที่จะเพิ่มความรับผิดชอบในการป้องกันตนเองมากขึ้น ทำให้สหรัฐฯสามารถที่จะลดกองกำลังทหารทั้งในญี่ปุ่นและในเกาหลีได้ แต่การลดกำลังทหารของสหรัฐฯ จะไม่ได้เปลี่ยนแปลงพันธกรณีที่จะปกป้องผลประโยชน์ของสหรัฐฯในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงเหนือ
· สำหรับในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ สหรัฐฯได้เพิ่มกองกำลังทหาร
มากขึ้น โดยเฉพาะการเพิ่มบทบาทของเกาะกวมในการเป็นฐานทางทหารที่สำคัญเพื่อพร้อมที่จะเผชิญกับภัยคุกคาม
สำหรับในประเด็นนี้ ผมมีความเห็นว่า ยุทธศาสตร์นี้ เป็นยุทธศาสตร์ที่เรารู้กัน
มานานแล้วว่า ยุทธศาสตร์ทหารสำคัญของสหรัฐฯคือ การเคลื่อนย้ายทหารจากเอเชียตะวันออกเฉียงเหนือมาสู่เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ทั้งนี้เพราะ ภัยคุกคามสำคัญของสหรัฐฯกำลังเคลื่อนมาทางใต้เช่นเดียวกัน นั่นก็คือ แนวโน้มการขยายอิทธิพลของจีนเข้าสู่ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งยุทธศาสตร์หลักของสหรัฐฯคือ การปิดล้อมจีนและการสกัดกั้นอิทธิพลของจีน
· นอกจากนี้ Gates ยังบอกว่าได้มีการเปลี่ยนแปลงยุทธศาสตร์ด้านการทหาร
ของสหรัฐฯ จากยุทธศาสตร์เดิมแบบที่จะมีการคงกองกำลังแบบถาวร ไปสู่ยุทธศาสตร์ในการเพิ่มความคล่องตัว และยุทธศาสตร์การเสริมสร้างสมรรถนะทางทหารให้แก่พันธมิตรในการป้องกันตนเอง
· นอกจากนั้น Gates ยังได้กล่าวว่า ขณะนี้สหรัฐฯกำลังเปลี่ยนยุทธศาสตร์ใหม่
ในการผสมผสานระหว่าง hard power กับ soft power โดยจะเป็นการผสมผสานกันทั้งในด้านการทหาร การทูต เศรษฐกิจ และวัฒนธรรม ในลักษณะเป็นบูรณาการ
· เรื่องที่ Gates ให้ความสำคัญเป็นพิเศษคือ ความมั่นคงทางทะเล เพื่อต่อต้าน
กับภัยคุกคามในรูปแบบของโจรสลัด การก่อการร้ายและการแพร่ขยายของอาวุธร้ายแรง กองทัพเรือสหรัฐฯกำลังร่วมมืออย่างใกล้ชิดกับพันธมิตรในภูมิภาคเพื่อป้องกันเส้นทางการเดินเรือ สหรัฐฯได้ให้ความช่วยเหลือต่ออินโดนีเซีย มาเลเซีย สิงค์โปร์ และฟิลิปปินส์ โดยเฉพาะในการป้องกันความมั่นคงปลอดภัยของช่องแคบมะละกา
· ประเด็นสุดท้ายที่ Gates ได้พูดถึง คือ การเปลี่ยนยุทธศาสตร์ใหม่ของสหรัฐฯ
โดยการสนับสนุนให้พันธมิตรของสหรัฐฯในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ร่วมมือกันมากขึ้น ซึ่ง Gates อ้างว่า เป็นการเปลี่ยนแนวคิดจากในยุคสงครามเย็นที่เน้นตัวแบบ hub and spoke โดยสหรัฐฯหันมาสนับสนุนความร่วมมือระหว่างพันธมิตรมากขึ้น สนับสนุนพหุภาคีนิยมมากขึ้น แต่ Gates ก็ได้ยืนยันว่าแนวโน้มดังกล่าว จะไม่ทำให้ความสัมพันธ์ทวิภาคีอ่อนแอลง แต่จะเป็นการเอาความสัมพันธ์พหุภาคีมาเสริมความสำคัญทวิภาคีมากกว่า พูดง่าย ๆ ก็คือ จะเป็นการเอาเวทีพหุภาคีมาเสริม hub and spoke นั่นเอง
กล่าวโดยสรุป สุนทรพจน์ของ Gates ได้ชี้ให้เห็นยุทธศาสตร์ใหม่ทางทหารของสหรัฐฯต่อภูมิภาคเอเชีย แต่ผมยังไม่ค่อยแน่ใจนักว่า จะเป็นยุทธศาสตร์จริงๆ หรือยุทธศาสตร์หลอก ผมเชื่อว่า ยุทธศาสตร์ใหญ่ของสหรัฐฯในภูมิภาคยังคงมีอยู่ 3 เรื่อง ยุทธศาสตร์ที่ 1 คือการครองความเป็นเจ้า ยุทธศาสตร์ที่ 2 คือ การปิดล้อมจีน และยุทธศาสตร์ที่ 3 คือการทำสงครามต่อต้านการก่อการร้าย
ผมไม่เชื่อตามที่ Gates ได้พูดว่า ยุทธศาสตร์สหรัฐฯกำลังเปลี่ยนจาก hub and spoke มาเป็นพหุภาคีนิยม ผมคิดว่า สหรัฐฯยังคงจะยึดยุทธศาสตร์ hub and spoke ต่อไป แต่อาจมีการปรับเปลี่ยนให้มีความยืดหยุ่นมากขึ้น โดยเอาเวทีพหุภาคีมาเสริม อาจจะเป็นเพื่อลดกระแสการต่อต้านสหรัฐฯที่กำลังมีมากขึ้นเรื่อยๆ ในกลุ่มประเทศอาเซียน รวมทั้งจีน และอินเดีย
ตีพิมพ์ใน: สยามรัฐสัปดาหวิจารณ์
เมื่อช่วงปลายเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา Robert Gates รัฐมนตรีกระทรวงกลาโหมสหรัฐฯ ได้เดินทางไปเยือนอินโดนีเซีย และได้กล่าวสุนทรพจน์ประกาศยุทธศาสตร์ทางทหารของสหรัฐฯต่อเอเชีย คอลัมน์โลกทรรศน์ในวันนี้ ผมจะได้วิเคราะห์ถึงสุนทรพจน์ดังกล่าว โดยจะเน้นถึงการมองภัยคุกคามของสหรัฐฯ และยุทธศาสตร์ของสหรัฐฯเพื่อรับมือกับภัยคุกคามดังกล่าว
ภาพรวม
สำหรับภาพรวมของสุนทรพจน์ในครั้งนี้ ผมดูแล้วเป็นการปรับเปลี่ยนนโยบายค่อนข้างมากทีเดียวสำหรับรัฐบาล Bush เพราะเราคงจะจำกันได้ว่า รัฐบาล Bush ในช่วงแรก ๆ มีนโยบายแข็งกร้าวมาก แต่จากสุนทรพจน์ของ Gates ครั้งนี้ ดูอ่อนลงมาก และมีลักษณะเป็นภาษาดอกไม้ค่อนข้างมาก ยุทธศาสตร์ของ Gates ปรับเปลี่ยนไปมากจากเดิมที่สหรัฐฯเคยเน้นยุทธศาสตร์แบบดำเนินนโยบายแบบฝ่ายเดียว หรือที่เรียกว่า unilateralism และเน้นความสัมพันธ์ทางทหารแบบสองฝ่าย หรือที่เรียกว่า bilateralism ซึ่งเป็นยุทธศาสตร์หลักที่เรียกว่า hub and spoke หรือยุทธศาสตร์ “ดุมล้อ” และ “ซี่ล้อ” โดยสหรัฐฯเป็น hub และประเทศอื่น ๆ เป็น spoke แต่สุนทรพจน์คราวนี้กลับไปเน้นยุทธศาสตร์ใหม่ที่เน้นพหุภาคีนิยม หรือ multilateralism
ภัยคุกคาม
Gates ได้วิเคราะห์ว่า ตั้งแต่สงครามเย็นสิ้นสุดลง ได้มีการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่เกิดขึ้นในภูมิภาค สภาวะแวดล้อมทางด้านความมั่นคงในเอเชียได้เปลี่ยนแปลงไปมาก มีขั้วอำนาจใหม่เกิดขึ้น มีภัยคุกคามใหม่ ๆ เกิดขึ้น ดังนี้
· การผงาดขึ้นมาของอินเดีย ซึ่งสหรัฐฯมองว่า กำลังเป็นหุ้นส่วนที่ใกล้ชิดกับ
สหรัฐฯ และกำลังเป็นมหาอำนาจทางเศรษฐกิจและทางด้านทหาร
· สำหรับจีน ได้ผงาดขึ้นมาเป็นมหาอำนาจทางเศรษฐกิจ และจีนกำลังแปรเปลี่ยน
ความสำเร็จทางเศรษฐกิจไปเป็นการเพิ่มอิทธิพลทางการเมือง และทางทหารของตน
· รัสเซีย ได้ฟื้นตัวจากสภาวะยุ่งเหยิงจากยุคหลังสหภาพโซเวียตล่มสลาย
ขณะนี้รัสเซียกำลังผงาดขึ้นมาใหม่ด้วยความร่ำรวยที่ได้จากการขายน้ำมันและก๊าซธรรมชาติ และกำลังมีความทะเยอทะยาน ที่จะกลับมามีบทบาทที่โดดเด่นในเวทีระหว่างประเทศอีกครั้ง
· สำหรับเกาหลีเหนือ ในสายตาของ Gates ยังคงเป็นภัยคุกคามที่สำคัญ
ต่อภูมิภาค เกาหลีเหนือยังคงเป็นประเทศที่โดดเดี่ยวที่เป็นแกะดำต่างจากแนวโน้มในภูมิภาค ที่มุ่งไปสู่เสรีภาพและความรุ่งเรือง เกาหลีเหนือถือเป็นภัยคุกคามต่อประเทศเพื่อนบ้าน และด้วยความพยายามที่จะพัฒนาอาวุธนิวเคลียร์และขีปนาวุธ และอาจส่งต่ออาวุธร้ายแรงให้กับประเทศอื่น เกาหลีเหนือจึงเป็นปัญหาของภูมิภาคซึ่งจะมีผลกระทบอย่างยิ่งต่อโลก
· นอกจากนี้ มีภัยคุกคามใหม่ ๆ ที่เกิดขึ้นในภูมิภาค ไม่ว่าจะเป็นเรื่องปัญหาโจร
สลัด ความขัดแย้งระหว่างเชื้อชาติ ความยากจน เครือข่ายการก่อการร้าย การแพร่ขยายของอาวุธร้ายแรง ปัญหาความเสื่อมโทรมของสิ่งแวดล้อม และปัญหาการแพร่ระบาดของเชื้อโรคร้ายแรงต่างๆ
Gates ได้ย้ำว่า ภัยคุกคามต่างๆ เหล่านี้ เป็นสิ่งที่ไม่สามารถจะแก้ไขได้ โดยประเทศ
หนึ่งหรือสองประเทศ แต่จะต้องอาศัยความร่วมมือจากหลาย ๆ ประเทศ
สำหรับในการวิเคราะห์ภัยคุกคามของ Gates นั้น ผมมีความเห็นว่า โดยทั่วไปแล้วก็
ไม่ได้มีอะไรใหม่ แต่ประเด็นสำคัญที่เห็นชัดเจนคือการลดการวาดภาพจีนว่า เป็นภัยคุกคามสำคัญ โดยจะเห็นได้ว่า Gates มองอินเดียเป็นบวก ในขณะที่มองจีนและรัสเซียก็ไม่ถึงกับเป็นลบ ส่วนเกาหลีเหนือนั้นก็เป็นภัยคุกคามของสหรัฐฯมานานแล้ว
แต่ผมก็ยังมีความรู้สึกว่า การวาดภาพภัยคุกคามของ Gates น่าจะเป็นภาพหลอก เป็นภาพลวงตาเสียมากกว่า ผมเชื่อว่า วาระซ่อนเร้นที่สำคัญของสหรัฐฯในภูมิภาคคือ การมองว่าจีนกำลังผงาดขึ้นมาเป็นภัยคุกคามที่สำคัญต่อสหรัฐฯ
ยุทธศาสตร์ของสหรัฐฯ
ในการที่จะเผชิญกับภัยคุกคามดังกล่าว Gates ได้เสนอยุทธศาสตร์ของสหรัฐฯ ซึ่งอาจ
สรุปเป็นข้อ ๆได้ดังนี้
· Gates ได้ย้ำว่า สหรัฐฯนั้นเป็นประเทศในแปซิฟิค (Pacific Nation) และจะ
ยังคงเป็นต่อไป ซึ่งผมมองว่า เท่ากับเป็นการตอกย้ำว่า อเมริกาเป็นส่วนหนึ่งของภูมิภาคนี้และอเมริกาจะต้องมีบทบาทสำคัญ Gates ได้บอกว่า อเมริกาได้เสียสละทั้งเลือดเนื้อ และทรัพย์สินเพื่อต่อสู้กับการรุกราน ต่อสู้เพื่อเสรีภาพ และต่อสู้เพื่อสันติภาพและความรุ่งเรืองในภูมิภาคมาโดยตลอด ในปัจจุบัน พันธกรณีของสหรัฐฯในภูมิภาคยังคงแข็งแกร่งและจะยังคงแข็งแกร่งอย่างต่อเนื่องต่อไปในอนาคต
· สำหรับความสำคัญของพันธมิตรหลักของสหรัฐฯในภูมิภาคเอเชีย
ตะวันออกเฉียงเหนือ คือ ญี่ปุ่นและเกาหลีใต้ Gates ได้ตอกย้ำว่า พันธมิตรดังกล่าวเริ่มมาตั้งแต่ยุคสงครามเย็น แต่ปัจจุบันทั้งเกาหลีใต้และญี่ปุ่นได้ผงาดขึ้นมาเป็นมหาอำนาจทางเศรษฐกิจและสร้างเสริมสมรรถนะทางทหารที่เข้มแข็ง ดังนั้น ทั้งสองประเทศจึงสามารถที่จะเพิ่มความรับผิดชอบในการป้องกันตนเองมากขึ้น ทำให้สหรัฐฯสามารถที่จะลดกองกำลังทหารทั้งในญี่ปุ่นและในเกาหลีได้ แต่การลดกำลังทหารของสหรัฐฯ จะไม่ได้เปลี่ยนแปลงพันธกรณีที่จะปกป้องผลประโยชน์ของสหรัฐฯในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงเหนือ
· สำหรับในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ สหรัฐฯได้เพิ่มกองกำลังทหาร
มากขึ้น โดยเฉพาะการเพิ่มบทบาทของเกาะกวมในการเป็นฐานทางทหารที่สำคัญเพื่อพร้อมที่จะเผชิญกับภัยคุกคาม
สำหรับในประเด็นนี้ ผมมีความเห็นว่า ยุทธศาสตร์นี้ เป็นยุทธศาสตร์ที่เรารู้กัน
มานานแล้วว่า ยุทธศาสตร์ทหารสำคัญของสหรัฐฯคือ การเคลื่อนย้ายทหารจากเอเชียตะวันออกเฉียงเหนือมาสู่เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ทั้งนี้เพราะ ภัยคุกคามสำคัญของสหรัฐฯกำลังเคลื่อนมาทางใต้เช่นเดียวกัน นั่นก็คือ แนวโน้มการขยายอิทธิพลของจีนเข้าสู่ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งยุทธศาสตร์หลักของสหรัฐฯคือ การปิดล้อมจีนและการสกัดกั้นอิทธิพลของจีน
· นอกจากนี้ Gates ยังบอกว่าได้มีการเปลี่ยนแปลงยุทธศาสตร์ด้านการทหาร
ของสหรัฐฯ จากยุทธศาสตร์เดิมแบบที่จะมีการคงกองกำลังแบบถาวร ไปสู่ยุทธศาสตร์ในการเพิ่มความคล่องตัว และยุทธศาสตร์การเสริมสร้างสมรรถนะทางทหารให้แก่พันธมิตรในการป้องกันตนเอง
· นอกจากนั้น Gates ยังได้กล่าวว่า ขณะนี้สหรัฐฯกำลังเปลี่ยนยุทธศาสตร์ใหม่
ในการผสมผสานระหว่าง hard power กับ soft power โดยจะเป็นการผสมผสานกันทั้งในด้านการทหาร การทูต เศรษฐกิจ และวัฒนธรรม ในลักษณะเป็นบูรณาการ
· เรื่องที่ Gates ให้ความสำคัญเป็นพิเศษคือ ความมั่นคงทางทะเล เพื่อต่อต้าน
กับภัยคุกคามในรูปแบบของโจรสลัด การก่อการร้ายและการแพร่ขยายของอาวุธร้ายแรง กองทัพเรือสหรัฐฯกำลังร่วมมืออย่างใกล้ชิดกับพันธมิตรในภูมิภาคเพื่อป้องกันเส้นทางการเดินเรือ สหรัฐฯได้ให้ความช่วยเหลือต่ออินโดนีเซีย มาเลเซีย สิงค์โปร์ และฟิลิปปินส์ โดยเฉพาะในการป้องกันความมั่นคงปลอดภัยของช่องแคบมะละกา
· ประเด็นสุดท้ายที่ Gates ได้พูดถึง คือ การเปลี่ยนยุทธศาสตร์ใหม่ของสหรัฐฯ
โดยการสนับสนุนให้พันธมิตรของสหรัฐฯในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ร่วมมือกันมากขึ้น ซึ่ง Gates อ้างว่า เป็นการเปลี่ยนแนวคิดจากในยุคสงครามเย็นที่เน้นตัวแบบ hub and spoke โดยสหรัฐฯหันมาสนับสนุนความร่วมมือระหว่างพันธมิตรมากขึ้น สนับสนุนพหุภาคีนิยมมากขึ้น แต่ Gates ก็ได้ยืนยันว่าแนวโน้มดังกล่าว จะไม่ทำให้ความสัมพันธ์ทวิภาคีอ่อนแอลง แต่จะเป็นการเอาความสัมพันธ์พหุภาคีมาเสริมความสำคัญทวิภาคีมากกว่า พูดง่าย ๆ ก็คือ จะเป็นการเอาเวทีพหุภาคีมาเสริม hub and spoke นั่นเอง
กล่าวโดยสรุป สุนทรพจน์ของ Gates ได้ชี้ให้เห็นยุทธศาสตร์ใหม่ทางทหารของสหรัฐฯต่อภูมิภาคเอเชีย แต่ผมยังไม่ค่อยแน่ใจนักว่า จะเป็นยุทธศาสตร์จริงๆ หรือยุทธศาสตร์หลอก ผมเชื่อว่า ยุทธศาสตร์ใหญ่ของสหรัฐฯในภูมิภาคยังคงมีอยู่ 3 เรื่อง ยุทธศาสตร์ที่ 1 คือการครองความเป็นเจ้า ยุทธศาสตร์ที่ 2 คือ การปิดล้อมจีน และยุทธศาสตร์ที่ 3 คือการทำสงครามต่อต้านการก่อการร้าย
ผมไม่เชื่อตามที่ Gates ได้พูดว่า ยุทธศาสตร์สหรัฐฯกำลังเปลี่ยนจาก hub and spoke มาเป็นพหุภาคีนิยม ผมคิดว่า สหรัฐฯยังคงจะยึดยุทธศาสตร์ hub and spoke ต่อไป แต่อาจมีการปรับเปลี่ยนให้มีความยืดหยุ่นมากขึ้น โดยเอาเวทีพหุภาคีมาเสริม อาจจะเป็นเพื่อลดกระแสการต่อต้านสหรัฐฯที่กำลังมีมากขึ้นเรื่อยๆ ในกลุ่มประเทศอาเซียน รวมทั้งจีน และอินเดีย
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)