แนวโน้มสถานการณ์โลก ปี 2555 (ตอนจบ)
ตีพิมพ์ใน ไทยโพสต์ ฉบับวันพุธที่ 11 มกราคม 2555
คอลัมน์กระบวนทรรศน์ตอนที่แล้ว ผมได้วิเคราะห์คาดการณ์แนวโน้มสถานการณ์โลกในปี 2555 ไปบ้างแล้ว คอลัมน์ในวันนี้ จะมาวิเคราะห์ต่อ ถึงแนวโน้มสถานการณ์การเมืองและเศรษฐกิจโลก ซึ่งยังมีอีกหลายเรื่อง ที่ต้องจับตามองเป็นพิเศษ ดังนี้
ความขัดแย้งจีน-สหรัฐฯ
ความขัดแย้งระหว่างจีน-สหรัฐฯเป็นอีกเรื่องหนึ่งที่จะต้องจับตามองในปีนี้ โดยความเสี่ยงของความขัดแย้งระหว่างจีน-สหรัฐฯเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ โดยจุดของความขัดแย้งที่สำคัญ คือ
• เกาหลีเหนือ : ในอนาคต รัฐบาลเกาหลีเหนืออาจล่มสลาย สหรัฐฯอาจส่งทหารเข้าแทรกแซง เพื่อป้องกันการใช้อาวุธร้ายแรง ซึ่งจะทำให้จีนต้องส่งกองกำลังเข้าไปในเกาหลีเหนือ สงครามเกาหลีเหนือ ภาค 2 อาจจะเกิดขึ้น
• ไต้หวัน : จุดที่ 2 ของความขัดแย้งระหว่างจีนกับสหรัฐฯ คือ ไต้หวัน โดยหากเกิดสงคราม จะดึงสหรัฐฯให้เข้ามาปกป้องไต้หวัน ซึ่งจะทำให้สถานการณ์ลุกลามบานปลาย
• ทะเลจีนใต้ : จุดที่ 3 ที่อาจเป็นจุดความขัดแย้งระหว่างจีนกับสหรัฐฯ คือ ทะเลจีนใต้ โดยเฉพาะหากเกิดสงครามระหว่างจีนกับเวียดนาม และจีนกับฟิลิปปินส์ จะดึงสหรัฐฯให้เข้ามาเกี่ยวข้องกับความขัดแย้งนี้
• ญี่ปุ่น : ความขัดแย้งระหว่างจีนกับญี่ปุ่น อาจเกิดขึ้นในทะเลจีนตะวันออก เป้าหมายของสหรัฐฯ คือ การเข้าช่วยเหลือญี่ปุ่น ซึ่งสุ่มเสี่ยงต่อการลุกลามบานปลายของสงคราม
อย่างไรก็ตาม ปัจจัยป้องปรามสงคราม คือ ปัจจัยทางด้านเศรษฐกิจ โดยความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจระหว่างจีนกับสหรัฐฯ มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ หากเกิดสงคราม ทั้ง 2 ฝ่ายจะได้รับผลกระทบในทางลบอย่างมากในทางเศรษฐกิจ
อีกเรื่องที่จีนกับสหรัฐฯจะขัดแย้งกัน คือ สงครามค่าเงิน ปีที่แล้ว มีความพยายามผ่านร่างกฎหมายตอบโต้จีน จากการที่จีนมีค่าเงินหยวนที่ต่ำกว่าความเป็นจริง ปีนี้ จะเป็นปีที่มีการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯ มีแนวโน้มชัดเจนว่า นักการเมืองสหรัฐฯ กำลังใช้นโยบายต่อต้านจีนมาเป็นยุทธศาสตร์ในการสร้างคะแนนนิยม
ยุทธศาสตร์หลักของสหรัฐฯ คือ ยุทธศาสตร์ปิดล้อมจีน แต่ที่ผ่านมา สหรัฐฯเน้นยุทธศาสตร์การปิดล้อมทางทหาร แต่ในปัจจุบันและในอนาคต สหรัฐฯได้ขยายการปิดล้อมครอบคลุมทางเศรษฐกิจด้วย โดยมี TPP เป็นเครื่องมือสำคัญในการปิดล้อมจีนทางเศรษฐกิจ จีนไม่ได้รับเชิญให้เข้าร่วม TPP แต่การที่สหรัฐฯใช้ TPP ในการปิดล้อมจีนทางเศรษฐกิจ จะทำให้จีนกับสหรัฐฯขัดแย้งกันหนักขึ้น จีนจะหันมาผลักดัน FTA ในกรอบของอาเซียน+3 เพื่อแข่งกับ TPP ของสหรัฐฯ การแข่งขันในเชิงภูมิเศรษฐศาสตร์ระหว่างสหรัฐฯกับจีนกำลังจะรุนแรงมากขึ้น
ความขัดแย้งในทะเลจีนใต้
สำหรับในภูมิภาค สถานการณ์ความมั่นคงในปีนี้ ที่ต้องติดตาม คือ แนวโน้มความขัดแย้งในทะเลจีนใต้ การผงาดขึ้นมาของจีนอย่างรวดเร็ว ได้ก่อให้เกิดความขัดแย้งระหว่างจีนกับประเทศในภูมิภาค โดยเฉพาะในกรณีปัญหาหมู่เกาะสแปรตลีย์ ในแง่หนึ่ง จีนต้องการชูสโลแกนการผงาดขึ้นมาอย่างสันติ โดยไม่ต้องการมีปัญหาขัดแย้งกับใคร โดยเฉพาะกับประเทศเพื่อนบ้าน แต่ขณะเดียวกัน จีนก็ต้องการเป็นมหาอำนาจในภูมิภาค และการครอบครองทะเลจีนใต้เป็นยุทธศาสตร์สำคัญในการผงาดขึ้นมาเป็นมหาอำนาจของจีน แต่จากท่าทีที่แข็งกร้าวของจีนที่เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ทำให้ประเทศเพื่อนบ้านหวั่นวิตก มหาอำนาจ ทั้งสหรัฐฯและญี่ปุ่น มีแนวโน้มเพิ่มอำนาจทางทหารมากขึ้น เพื่อปิดล้อมจีน ประเทศต่างๆในภูมิภาคมีแนวโน้มใกล้ชิดกับสหรัฐฯเพิ่มมากขึ้น เพื่อดึงสหรัฐฯเข้ามาถ่วงดุลอำนาจกับจีน แนวโน้มเช่นนี้ จะเป็นปัจจัยสำคัญที่จะทำให้ความขัดแย้งในทะเลจีนใต้บานปลายมากขึ้น สหรัฐฯมีแนวโน้มดำเนินยุทธศาสตร์ในเชิงรุก เพื่อปิดล้อมจีนมากขึ้น โดยเฉพาะการประกาศตั้งฐานทัพใหม่ที่เมือง Darwin ทางตอนเหนือของออสเตรเลีย ในปีนี้ ก็จะยิ่งทำให้ความขัดแย้งในทะเลจีนใต้ คุกรุ่นและร้อนแรงมากขึ้น
Arab Spring
ปีที่แล้ว ได้เห็นการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ในโลกอาหรับ คือ การลุกฮือขึ้นโค่นล้มรัฐบาลเผด็จการ ซึ่งเราเรียกเหตุการณ์นี้ว่า Arab Spring แต่คำถามสำคัญ คือ จะเกิดอะไรขึ้น หลังจากการโค่นล้มรัฐบาลเผด็จการในโลกอาหรับ
ในปีนี้ จึงต้องจับตามองว่า กระบวนการประชาธิปไตยจะเดินหน้าไปอย่างไร จากประสบการณ์ในประวัติศาสตร์ชี้ให้เห็นว่า ไม่ใช่เรื่องง่ายที่จะจัดตั้งรัฐบาลที่มีเสถียรภาพ หลังจากผู้นำเผด็จการถูกโค่นล้มอำนาจลง หลายกรณี ในตอนแรก แนวร่วมรัฐบาลเผด็จการมีเป้าหมายเดียวกัน คือ การโค่นเผด็จการ แต่หลังการโค่นเผด็จการได้สำเร็จ ก็มักจะเกิดความขัดแย้งและแย่งชิงอำนาจกัน บางครั้งอาจนำไปสู่สงครามกลางเมือง
ที่น่าเป็นห่วง คือ ในกรณีของ อียิปต์ และลิเบีย โดยเฉพาะในกรณีของลิเบีย ฝ่ายต่อต้าน Gaddafi เป็นการรวมกันของหลายกลุ่ม มีทั้งกลุ่มที่เป็นฝ่าย Gaddafi เดิม ผู้นำชนเผ่าต่างๆ ประมาณ 140 เผ่า และยังมีกลุ่มมุสลิมหัวรุนแรงเข้าร่วมกับกลุ่มต่อต้าน Gaddafi ด้วย ความขัดแย้งในรัฐบาล NTC ขณะนี้ คือ ความขัดแย้งทางด้านชาติพันธุ์ กลุ่มหัวรุนแรงไม่น้อยได้เข้าร่วมกับฝ่ายกบฏ โดยมองว่า ความวุ่นวายในลิเบีย เป็นการเปิดโอกาสในการบรรลุเป้าหมายสูงสุด คือ การโค่นรัฐบาลสายกลาง และจัดตั้งรัฐอิสลามขึ้นในลิเบีย ดังนั้น จึงมีแนวโน้มว่า ลิเบียในยุคหลัง Gaddafi อาจประสบความวุ่นวาย และไร้เสถียรภาพ โดยเฉพาะกลุ่ม Libyan Islamic Fighting Group กำลังรอจังหวะจากสภาวะอนาธิปไตย เพื่อที่จะเข้ายึดกุมอำนาจรัฐ
ปัญหาภาวะโลกร้อน
แม้ว่า ในเดือนธันวาคมปีที่แล้ว การประชุมภาวะโลกร้อนครั้งล่าสุด ที่เมือง Durban ที่อัฟริกาใต้ จะประสบความสำเร็จในระดับหนึ่ง โดยได้ตกลงที่จะเจรจาข้อตกลงแก้ปัญหาภาวะโลกร้อนฉบับใหม่ แทนที่พิธีสารเกียวโต ให้เสร็จภายในปี 2015 และจะให้มีผลบังคับใช้ในปี 2020 อย่างไรก็ตาม Durban Platform ถือเป็นข้อตกลงที่จะเริ่มการเจรจากันเท่านั้น แต่การเจรจายังไม่ได้เริ่ม และเมื่อมีการเจรจาจริง ก็จะเริ่มมีอุปสรรค ที่จะทำให้การเจรจาประสบความล้มเหลวในอนาคตได้
มี 2 เรื่องใหญ่ที่ยังตกลงกันไม่ได้ เรื่องแรก คือ รูปแบบข้อตกลง ซึ่งยังไม่สามารถตกลงกันได้ว่า จะเป็นในรูปพิธีสาร หรือ legal instrument หรือ legal outcome แต่เรื่องที่ใหญ่ที่สุดสำหรับการเจรจาในปีนี้ คือ การกำหนดปริมาณการปรับลดก๊าซเรือนกระจก ซึ่งคงจะมีปัญหาแน่นอน เพราะท่าทีเดิมของประเทศยากจน คือ ต้องการให้ประเทศร่ำรวยปรับลดก๊าซลง 40% ภายในปี 2020 แต่ประเทศร่ำรวยส่วนใหญ่ก็ไม่เห็นด้วย
วันอังคารที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555
ข้อเสนอยุทธศาสตร์ไทยต่อสหรัฐฯ ปี 2012
ข้อเสนอยุทธศาสตร์ไทยต่อสหรัฐฯ ปี 2012
ตีพิมพ์ใน สยามรัฐสัปดาหวิจารณ์ ฉบับวันศุกร์ที่ 13 – วันพฤหัสบดีที่ 19 มกราคม 2555
ในคอลัมน์โลกทรรศน์ฉบับประจำวันที่ 9 – 15 ธันวาคม ที่ผ่านมา ผมได้เขียนบทความเรื่อง “ข้อเสนอยุทธศาสตร์ไทยต่อสหรัฐฯ ปี 2011” โดยได้พูดถึงความสัมพันธ์ไทย-สหรัฐฯ ในปัจจุบัน สิ่งท้าทายความสัมพันธ์ และความสำคัญของไทยต่อสหรัฐฯ ไปแล้ว คอลัมน์โลกทรรศน์ในตอนนี้ จะมาวิเคราะห์ต่อในหัวข้อ ความสำคัญของสหรัฐฯต่อไทย และข้อเสนอยุทธศาสตร์ไทยต่อสหรัฐฯ ทั้งในระดับทวิภาคี และระดับพหุภาคี ดังนี้
ความสำคัญของสหรัฐฯต่อไทย
สำหรับในแง่ของไทยนั้น สหรัฐฯยังคงมีความสำคัญต่อไทยอยู่หลายเรื่อง ซึ่งจะทำให้ไทยยังต้องให้ความสำคัญต่อสหรัฐฯในยุทธศาสตร์การทูตของไทยต่อไป โดยประเด็นสำคัญ คือ
• สหรัฐฯยังคงเป็นอภิมหาอำนาจอันดับ 1 ของโลก ระบบโลกยังคงเป็นระบบ 1 ขั้วอำนาจ ที่สหรัฐฯครองความเป็นเจ้า
• ดังนั้น ผลประโยชน์ในด้านต่างๆ ที่ไทยจะได้จากสหรัฐฯยังมีอีกมาก เริ่มจากผลประโยชน์ทางด้านการเมือง สหรัฐฯยังคงคุมเกมการเมืองโลก มีอิทธิพลในองค์การระหว่างประเทศต่างๆ ดังนั้น ไทยยังจำเป็นที่จะต้องพึ่งสหรัฐฯอยู่ต่อไป โดยเฉพาะหากไทยต้องการผลักดันเรื่องในเวทีระหว่างประเทศ ตัวอย่างเช่น ในคณะมนตรีความมั่นคง ไทยต้องพึ่งสหรัฐฯในเรื่องความขัดแย้งไทย-กัมพูชา และหากไทยต้องการส่งคนไทยไปเป็นเลขาธิการสหประชาชาติ ประเทศที่ไทยจะต้องล๊อบบี้ก่อนเพื่อน ก็คือ สหรัฐฯ
• ผลประโยชน์ทางด้านการทหาร ก็ยังคงมีความสำคัญมาก ในการพึ่งพิงกำลังทหารสหรัฐฯ ในการให้หลักประกันความมั่นคงต่อไทย รวมถึงเรื่องอาวุธยุทโธปกรณ์ด้วย
• สำหรับผลประโยชน์ทางด้านเศรษฐกิจ ก็มีความสำคัญอย่างมากเช่นเดียวกัน สหรัฐฯยังคงเป็นตลาดส่งออกสำคัญของไทย เช่นเดียวกับการลงทุนจากสหรัฐฯ ก็ยังคงมีความสำคัญมาก เงินดอลลาร์ยังเป็นเงินสกุลหลักของโลก และสหรัฐฯยังคงคุมเกมในระบบเศรษฐกิจโลก ระบบการค้าโลก และระบบการเงินโลกอยู่
• สำหรับผลประโยชน์ในด้านอื่นๆ ก็มีหลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นการพึ่งพิงเทคโนโลยีจากสหรัฐฯ การบริโภควัฒนธรรมอเมริกันของคนไทย และการพึ่งพิงองค์ความรู้และการศึกษาจากสถาบันการศึกษาของสหรัฐฯเป็นหลักของคนไทย
ข้อเสนอยุทธศาสตร์ไทยต่อสหรัฐฯ
จากการวิเคราะห์ดังกล่าวข้างต้น จะเห็นได้ว่า ไทยยังคงมีความสำคัญต่อสหรัฐฯอยู่ และสหรัฐฯก็มี
ความสำคัญต่อไทยเป็นอย่างมาก ดังนั้น ยุทธศาสตร์ด้านการต่างประเทศของไทยต่อสหรัฐฯ จะต้องมีเป้าหมายหลักในการกระชับความสัมพันธ์กับสหรัฐฯให้เข้มข้นมากขึ้น ทั้งนี้เพื่อผลประโยชน์ของไทยเอง
ผมขอเสนอยุทธศาสตร์ไทยต่อสหรัฐฯ โดยจะแบ่งเป็นระดับทวิภาคี และระดับพหุภาคี ดังนี้
ระดับทวิภาคี
• ไทยจะต้องมียุทธศาสตร์ในการคงความเป็นพันธมิตรชั้น 1 ของสหรัฐฯไว้ให้ได้ ตามที่ผมได้กล่าวแล้วว่า ขณะนี้ สหรัฐฯมีตัวเลือก ดังนั้น จึงเป็นโจทย์ที่ยากมาก ที่ไทยจะต้องพยายามคงความเป็นพันธมิตรชั้น 1 ไว้ และทำให้ไทยกลับมามีความสำคัญมากขึ้นในสายตาของสหรัฐฯ
• ไทยจะต้องมียุทธศาสตร์ในการสร้างสมดุล หรือสร้างดุลยภาพในความสัมพันธ์ระหว่าง ไทย-สหรัฐฯ กับความสัมพันธ์ไทย-จีน
• ไทยจะต้องมียุทธศาสตร์ในการยกระดับความสัมพันธ์ ซึ่งจะทำให้ไทยมีความสำคัญมากขึ้น โดยเฉพาะการแลกเปลี่ยนการเยือนในระดับสูง และการล๊อบบี้ให้ประธานาธิบดี Obama เดินทางมาเยือนไทย
• เวทีหารือทวิภาคีระหว่างไทยกับสหรัฐฯในปัจจุบัน คือ US-Thailand Strategic Dialogue แต่ก็ไม่ค่อยมีความสำคัญ ทั้งนี้เพราะเวทีดังกล่าวเป็นเวทีหารือในระดับปลัดกระทรวงการต่างประเทศเท่านั้น ไทยจะต้องล๊อบบี้ให้สหรัฐฯยกระดับเวทีดังกล่าวขึ้นเป็นเวทีระดับรัฐมนตรีต่างประเทศ
• อีกเรื่องที่ไทยควรผลักดัน คือ การรื้อฟื้นการเจรจา FTA ระหว่างไทยกับสหรัฐฯ ซึ่งได้สะดุดหยุดลง มาตั้งแต่รัฐประหาร 19 กันยาฯ ปี 2006
• นอกจากนั้น ไทยควรมียุทธศาสตร์ในการยกระดับความสัมพันธ์ทวิภาคีในทุกๆด้านที่มีผลประโยชน์ร่วมกัน ทั้งด้านการทหาร ด้านการเมืองความมั่นคง ด้านเศรษฐกิจ และด้านสังคมวัฒนธรรม
ระดับพหุภาคี
สำหรับข้อเสนอยุทธศาสตร์ไทยในระดับพหุภาคีนั้น ไทยควรเน้นประเด็นเหล่านี้
• ไทยควรมียุทธศาสตร์ขยายการซ้อมรบ Cobra Gold ให้เป็นการซ้อมรบในระดับพหุภาคีอย่างเต็มรูปแบบ แม้ว่าในปัจจุบัน จะมีหลายประเทศได้เข้ามาร่วม ซึ่งก็เป็นการซ้อมรบในระดับพหุภาคีกลายๆอยู่แล้วก็ตาม
• ไทยควรมียุทธศาสตร์ที่จะให้สหรัฐฯใช้ไทยเป็นช่องทางในการปฏิสัมพันธ์กับอาเซียน โดยไทยควรใช้ข้อได้เปรียบที่ผมได้กล่าวไปแล้ว คือ ข้อได้เปรียบทางด้านภูมิศาสตร์ ที่ไทยมีที่ตั้งเป็นศูนย์กลางของอาเซียน
• ข้อได้เปรียบของไทยในการเป็นศูนย์กลางของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้นั้น ไทยน่าจะเอามาใช้ประโยชน์ในการล๊อบบี้ให้สหรัฐฯใช้ไทยเป็นศูนย์กลาง หรือ เป็นช่องทางในการปฏิสัมพันธ์กับกรอบความร่วมมืออนุภูมิภาคต่างๆ โดยเฉพาะกรอบ US-Lower Mekong Initiative ซึ่งเป็นกรอบที่สหรัฐฯริเริ่ม เพื่อขยายอิทธิพลของสหรัฐฯเข้าสู่เขตลุ่มแม่น้ำโขงตอนล่าง เพื่อแข่งกับจีน
• นอกจากนี้ ไทยควรมียุทธศาสตร์ตอบสนองต่อความหลากหลายของช่องทางและเวทีต่างๆที่สหรัฐฯใช้ในภูมิภาค คือ มีทั้งทวิภาคี ไตรภาคี และพหุภาคี โดยมีแนวโน้มว่า สหรัฐฯจะจัดตั้งกรอบความร่วมมือในลักษณะไตรภาคีมากขึ้น อาทิ สหรัฐฯ-ไทย-ฟิลิปปินส์ และอาจมีหลายกรอบ หลายรูปแบบ ที่สหรัฐฯกำลังศึกษาอยู่ เช่นแนวคิด การประชุม 6 ฝ่าย ซึ่งจะเป็นการหารือระหว่างพันธมิตรหลักๆ 5 ประเทศ กับสหรัฐฯ
• สำหรับในเวทีอาเซียน ไทยควรมียุทธศาสตร์ต่อสหรัฐฯให้ชัดเจน โดยไทยอาจพิจารณาผลักดันการเจรจา FTA อาเซียน-สหรัฐฯ และให้สหรัฐฯเพิ่มบทบาทในเวทีอาเซียน เพื่อถ่วงดุลจีน
• ขณะนี้ สหรัฐฯกำลังผลักดัน FTA ตัวใหม่ ที่มีชื่อว่า Trans-Pacific Partnership หรือ TPP และสหรัฐฯพยายามล๊อบบี้ให้ไทยเข้าร่วม TPP ในประเด็นนี้ ผมมองว่า ไทยควรจะพิจารณาข้อดี-ข้อเสียให้ดี ก่อนที่จะตัดสินใจเข้าร่วม FTA ตัวใหม่ที่สหรัฐฯกำลังผลักดัน
ตีพิมพ์ใน สยามรัฐสัปดาหวิจารณ์ ฉบับวันศุกร์ที่ 13 – วันพฤหัสบดีที่ 19 มกราคม 2555
ในคอลัมน์โลกทรรศน์ฉบับประจำวันที่ 9 – 15 ธันวาคม ที่ผ่านมา ผมได้เขียนบทความเรื่อง “ข้อเสนอยุทธศาสตร์ไทยต่อสหรัฐฯ ปี 2011” โดยได้พูดถึงความสัมพันธ์ไทย-สหรัฐฯ ในปัจจุบัน สิ่งท้าทายความสัมพันธ์ และความสำคัญของไทยต่อสหรัฐฯ ไปแล้ว คอลัมน์โลกทรรศน์ในตอนนี้ จะมาวิเคราะห์ต่อในหัวข้อ ความสำคัญของสหรัฐฯต่อไทย และข้อเสนอยุทธศาสตร์ไทยต่อสหรัฐฯ ทั้งในระดับทวิภาคี และระดับพหุภาคี ดังนี้
ความสำคัญของสหรัฐฯต่อไทย
สำหรับในแง่ของไทยนั้น สหรัฐฯยังคงมีความสำคัญต่อไทยอยู่หลายเรื่อง ซึ่งจะทำให้ไทยยังต้องให้ความสำคัญต่อสหรัฐฯในยุทธศาสตร์การทูตของไทยต่อไป โดยประเด็นสำคัญ คือ
• สหรัฐฯยังคงเป็นอภิมหาอำนาจอันดับ 1 ของโลก ระบบโลกยังคงเป็นระบบ 1 ขั้วอำนาจ ที่สหรัฐฯครองความเป็นเจ้า
• ดังนั้น ผลประโยชน์ในด้านต่างๆ ที่ไทยจะได้จากสหรัฐฯยังมีอีกมาก เริ่มจากผลประโยชน์ทางด้านการเมือง สหรัฐฯยังคงคุมเกมการเมืองโลก มีอิทธิพลในองค์การระหว่างประเทศต่างๆ ดังนั้น ไทยยังจำเป็นที่จะต้องพึ่งสหรัฐฯอยู่ต่อไป โดยเฉพาะหากไทยต้องการผลักดันเรื่องในเวทีระหว่างประเทศ ตัวอย่างเช่น ในคณะมนตรีความมั่นคง ไทยต้องพึ่งสหรัฐฯในเรื่องความขัดแย้งไทย-กัมพูชา และหากไทยต้องการส่งคนไทยไปเป็นเลขาธิการสหประชาชาติ ประเทศที่ไทยจะต้องล๊อบบี้ก่อนเพื่อน ก็คือ สหรัฐฯ
• ผลประโยชน์ทางด้านการทหาร ก็ยังคงมีความสำคัญมาก ในการพึ่งพิงกำลังทหารสหรัฐฯ ในการให้หลักประกันความมั่นคงต่อไทย รวมถึงเรื่องอาวุธยุทโธปกรณ์ด้วย
• สำหรับผลประโยชน์ทางด้านเศรษฐกิจ ก็มีความสำคัญอย่างมากเช่นเดียวกัน สหรัฐฯยังคงเป็นตลาดส่งออกสำคัญของไทย เช่นเดียวกับการลงทุนจากสหรัฐฯ ก็ยังคงมีความสำคัญมาก เงินดอลลาร์ยังเป็นเงินสกุลหลักของโลก และสหรัฐฯยังคงคุมเกมในระบบเศรษฐกิจโลก ระบบการค้าโลก และระบบการเงินโลกอยู่
• สำหรับผลประโยชน์ในด้านอื่นๆ ก็มีหลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นการพึ่งพิงเทคโนโลยีจากสหรัฐฯ การบริโภควัฒนธรรมอเมริกันของคนไทย และการพึ่งพิงองค์ความรู้และการศึกษาจากสถาบันการศึกษาของสหรัฐฯเป็นหลักของคนไทย
ข้อเสนอยุทธศาสตร์ไทยต่อสหรัฐฯ
จากการวิเคราะห์ดังกล่าวข้างต้น จะเห็นได้ว่า ไทยยังคงมีความสำคัญต่อสหรัฐฯอยู่ และสหรัฐฯก็มี
ความสำคัญต่อไทยเป็นอย่างมาก ดังนั้น ยุทธศาสตร์ด้านการต่างประเทศของไทยต่อสหรัฐฯ จะต้องมีเป้าหมายหลักในการกระชับความสัมพันธ์กับสหรัฐฯให้เข้มข้นมากขึ้น ทั้งนี้เพื่อผลประโยชน์ของไทยเอง
ผมขอเสนอยุทธศาสตร์ไทยต่อสหรัฐฯ โดยจะแบ่งเป็นระดับทวิภาคี และระดับพหุภาคี ดังนี้
ระดับทวิภาคี
• ไทยจะต้องมียุทธศาสตร์ในการคงความเป็นพันธมิตรชั้น 1 ของสหรัฐฯไว้ให้ได้ ตามที่ผมได้กล่าวแล้วว่า ขณะนี้ สหรัฐฯมีตัวเลือก ดังนั้น จึงเป็นโจทย์ที่ยากมาก ที่ไทยจะต้องพยายามคงความเป็นพันธมิตรชั้น 1 ไว้ และทำให้ไทยกลับมามีความสำคัญมากขึ้นในสายตาของสหรัฐฯ
• ไทยจะต้องมียุทธศาสตร์ในการสร้างสมดุล หรือสร้างดุลยภาพในความสัมพันธ์ระหว่าง ไทย-สหรัฐฯ กับความสัมพันธ์ไทย-จีน
• ไทยจะต้องมียุทธศาสตร์ในการยกระดับความสัมพันธ์ ซึ่งจะทำให้ไทยมีความสำคัญมากขึ้น โดยเฉพาะการแลกเปลี่ยนการเยือนในระดับสูง และการล๊อบบี้ให้ประธานาธิบดี Obama เดินทางมาเยือนไทย
• เวทีหารือทวิภาคีระหว่างไทยกับสหรัฐฯในปัจจุบัน คือ US-Thailand Strategic Dialogue แต่ก็ไม่ค่อยมีความสำคัญ ทั้งนี้เพราะเวทีดังกล่าวเป็นเวทีหารือในระดับปลัดกระทรวงการต่างประเทศเท่านั้น ไทยจะต้องล๊อบบี้ให้สหรัฐฯยกระดับเวทีดังกล่าวขึ้นเป็นเวทีระดับรัฐมนตรีต่างประเทศ
• อีกเรื่องที่ไทยควรผลักดัน คือ การรื้อฟื้นการเจรจา FTA ระหว่างไทยกับสหรัฐฯ ซึ่งได้สะดุดหยุดลง มาตั้งแต่รัฐประหาร 19 กันยาฯ ปี 2006
• นอกจากนั้น ไทยควรมียุทธศาสตร์ในการยกระดับความสัมพันธ์ทวิภาคีในทุกๆด้านที่มีผลประโยชน์ร่วมกัน ทั้งด้านการทหาร ด้านการเมืองความมั่นคง ด้านเศรษฐกิจ และด้านสังคมวัฒนธรรม
ระดับพหุภาคี
สำหรับข้อเสนอยุทธศาสตร์ไทยในระดับพหุภาคีนั้น ไทยควรเน้นประเด็นเหล่านี้
• ไทยควรมียุทธศาสตร์ขยายการซ้อมรบ Cobra Gold ให้เป็นการซ้อมรบในระดับพหุภาคีอย่างเต็มรูปแบบ แม้ว่าในปัจจุบัน จะมีหลายประเทศได้เข้ามาร่วม ซึ่งก็เป็นการซ้อมรบในระดับพหุภาคีกลายๆอยู่แล้วก็ตาม
• ไทยควรมียุทธศาสตร์ที่จะให้สหรัฐฯใช้ไทยเป็นช่องทางในการปฏิสัมพันธ์กับอาเซียน โดยไทยควรใช้ข้อได้เปรียบที่ผมได้กล่าวไปแล้ว คือ ข้อได้เปรียบทางด้านภูมิศาสตร์ ที่ไทยมีที่ตั้งเป็นศูนย์กลางของอาเซียน
• ข้อได้เปรียบของไทยในการเป็นศูนย์กลางของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้นั้น ไทยน่าจะเอามาใช้ประโยชน์ในการล๊อบบี้ให้สหรัฐฯใช้ไทยเป็นศูนย์กลาง หรือ เป็นช่องทางในการปฏิสัมพันธ์กับกรอบความร่วมมืออนุภูมิภาคต่างๆ โดยเฉพาะกรอบ US-Lower Mekong Initiative ซึ่งเป็นกรอบที่สหรัฐฯริเริ่ม เพื่อขยายอิทธิพลของสหรัฐฯเข้าสู่เขตลุ่มแม่น้ำโขงตอนล่าง เพื่อแข่งกับจีน
• นอกจากนี้ ไทยควรมียุทธศาสตร์ตอบสนองต่อความหลากหลายของช่องทางและเวทีต่างๆที่สหรัฐฯใช้ในภูมิภาค คือ มีทั้งทวิภาคี ไตรภาคี และพหุภาคี โดยมีแนวโน้มว่า สหรัฐฯจะจัดตั้งกรอบความร่วมมือในลักษณะไตรภาคีมากขึ้น อาทิ สหรัฐฯ-ไทย-ฟิลิปปินส์ และอาจมีหลายกรอบ หลายรูปแบบ ที่สหรัฐฯกำลังศึกษาอยู่ เช่นแนวคิด การประชุม 6 ฝ่าย ซึ่งจะเป็นการหารือระหว่างพันธมิตรหลักๆ 5 ประเทศ กับสหรัฐฯ
• สำหรับในเวทีอาเซียน ไทยควรมียุทธศาสตร์ต่อสหรัฐฯให้ชัดเจน โดยไทยอาจพิจารณาผลักดันการเจรจา FTA อาเซียน-สหรัฐฯ และให้สหรัฐฯเพิ่มบทบาทในเวทีอาเซียน เพื่อถ่วงดุลจีน
• ขณะนี้ สหรัฐฯกำลังผลักดัน FTA ตัวใหม่ ที่มีชื่อว่า Trans-Pacific Partnership หรือ TPP และสหรัฐฯพยายามล๊อบบี้ให้ไทยเข้าร่วม TPP ในประเด็นนี้ ผมมองว่า ไทยควรจะพิจารณาข้อดี-ข้อเสียให้ดี ก่อนที่จะตัดสินใจเข้าร่วม FTA ตัวใหม่ที่สหรัฐฯกำลังผลักดัน
แนวโน้มสงคราม ปี 2012
แนวโน้มสงคราม ปี 2012
คอลัมน์โลกปริทรรศน์
8 มกราคม 2555
คอลัมน์โลกปริทรรศน์ตอนนี้ ผมจะวิเคราะห์ คาดการณ์ แนวโน้มสงครามในปี 2012 ซึ่งจะแบ่งออกเป็นภูมิภาคต่างๆ ดังนี้
ตะวันออกกลาง
สำหรับภูมิภาคที่มีแนวโน้มจะมีความขัดแย้งและสงคราม คือ ตะวันออกกลาง ซึ่งจะมีจุดอันตรายหลายจุด ดังนี้
ประเทศที่จะต้องจับตามองเป็นพิเศษในปีนี้ คือ อิหร่าน โดยปีที่แล้ว อิหร่านขัดแย้งกับสหรัฐฯและตะวันตกมากขึ้นเรื่อยๆ และการที่ IAEA ประกาศว่า อิหร่านกำลังแอบพัฒนาอาวุธนิวเคลียร์ ก็ยิ่งจะทำให้อิหร่านกลายเป็นจุดวิกฤตของความขัดแย้งในปีนี้ โดยเฉพาะเรื่องอาวุธนิวเคลียร์ ได้มีเสียงเรียกร้องดังขึ้นเรื่อยๆ โดยเฉพาะในสหรัฐฯ ที่จะให้ใช้กำลังทางทหารโจมตีโรงงานนิวเคลียร์ของอิหร่าน
นอกจากนี้ จุดอันตรายอีกจุด คือ ความขัดแย้งระหว่างอิหร่านกับอิสราเอล โดยอิสราเอลมีความวิตกกังวลเป็นอย่างมากต่อการพัฒนาอาวุธนิวเคลียร์ของอิหร่าน ในขณะที่อิหร่านก็เกลียดชังอิสราเอลเป็นอย่างมาก และมองว่าอิสราเอลคือศัตรูหมายเลข 1 ของอิหร่าน ปัจจัยที่อาจจะทำให้อิสราเอลตัดสินใจโจมตีโรงงานพลังงานนิวเคลียร์ของอิหร่าน ปัจจัยแรก คือ รายงานของ IAEA และปัจจัยที่ 2 คือ การเลือกตั้งประธานาธิบดีของสหรัฐฯปลายปีนี้ จะทำให้รัฐบาล Obama จำเป็นต้องมีนโยบายแข็งกร้าวต่ออิหร่านมากขึ้น เพื่อเป็นการเรียกคะแนนเสียง ซึ่งจะเข้าทางอิสราเอล ที่ตั้งท่าจะโจมตีอิหร่านมาหลายครั้งแล้ว
สำหรับในโลกอาหรับ ปีที่แล้ว มีการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ ด้วยการลุกฮือขึ้นโค่นล้มรัฐบาลเผด็จการ ซึ่งเราเรียกเหตุการณ์นี้ว่า Arab Spring แต่ประสบการณ์ในประวัติศาสตร์ได้ชี้ให้เห็นว่า ภายหลังการโค่นเผด็จการได้สำเร็จ ก็มักจะเกิดความขัดแย้งและแย่งชิงอำนาจกัน บางครั้งอาจนำไปสู่สงครามกลางเมือง ที่น่าเป็นห่วงมีหลายประเทศ คือ ตูนิเซีย อียิปต์ ลิเบีย และซีเรีย โดยในกรณีของลิเบีย ฝ่ายต่อต้าน Gaddafi เป็นการรวมตัวกันของหลายกลุ่ม ซึ่งมีแนวโน้มว่า ลิเบียในยุคหลัง Gaddafi อาจประสบความวุ่นวาย และไร้เสถียรภาพ
สำหรับในกรณีของซีเรีย ก็เป็นอีกประเทศที่น่าจับตามอง เพราะรัฐบาล Assad กำลังอยู่ในภาวะล่อแหลมที่จะล่มสลาย อย่างไรก็ตาม ซีเรียในยุคหลัง Assad อาจเกิดความวุ่นวาย เพราะมีทั้งความขัดแย้งระหว่างหลายกลุ่ม รวมทั้งอาจจะมีการแทรกแซงจากประเทศภายนอกด้วย นอกจากนั้น ปัญหาของซีเรียอาจจะลุกลามบานปลายเข้าสู่เลบานอน และกลุ่มก่อการร้าย Hezbollah ในเลบานอน ก็อาจก่อความวุ่นวายมากขึ้น
อีกประเทศในตะวันออกกลางที่อาจลุกเป็นไฟ คือ เยเมน แม้ว่า เมื่อเดือนพฤศจิกายนปีที่แล้ว ประธานาธิบดี Ali Saleh จะได้ยอมทำข้อตกลงลงจากอำนาจ และจะให้มีการเลือกตั้งในเดือนกุมภาพันธ์นี้ แต่ปัญหาท้าทายเยเมนในอนาคตยังมีอีกมาก โดยเฉพาะความขัดแย้งระหว่างกลุ่มสนับสนุน Saleh กับฝ่ายต่อต้าน ซึ่งอาจนำไปสู่ความรุนแรงและสงครามกลางเมืองได้
เอเชีย
สำหรับทวีปเอเชีย มีจุดอันตรายหลายจุด ทั้งที่เป็นสงครามอยู่แล้ว และที่อาจจะเกิดสงครามในอนาคต โดยที่เอเชียเป็นทวีปที่ใหญ่มาก ผมจึงขอแบ่งเป็น เอเชียใต้ เอเชียตะวันออก และเอเชียกลาง
สำหรับเอเชียใต้ จุดอันตราย 2 จุด คือ สงครามในอัฟกานิสถานและปากีสถาน
สำหรับในอัฟกานิสถาน สงครามได้ยืดเยื้อมาเป็นเวลา 10 ปีแล้ว แต่ยังไม่มีทีท่าว่าจะจบลงได้อย่างไร โดยเฉพาะด้วยชัยชนะของสหรัฐฯและกองกำลังนาโต้ ในทางตรงกันข้าม สงครามกลับลุกลามบานปลายหนักขึ้นเรื่อยๆ นักรบ Taliban ยึดครองพื้นที่ได้มากขึ้นเรื่อยๆ รัฐบาล Hamid Karzai ซึ่งเป็นความหวังของสหรัฐฯ ประสบความล้มเหลวในการบริหารประเทศ รัฐบาล Karzai ถือว่าอ่อนแอมาก และมีปัญหาในเรื่องคอรัปชั่น ทำให้ขาดความชอบธรรมในการปกครอง ประชาชนส่วนใหญ่ซึ่งเป็นชาว Pashtun จึงหันกลับไปสนับสนุนกลุ่ม Taliban ซึ่งเป็นชาว Pashtun เหมือนกัน นักรบ Taliban ซึ่งมีฐานที่มั่นอยู่ในเมือง Quetta จึงมีความหวังว่า ในที่สุด จะประสบชัยชนะ และรอวันที่สหรัฐฯจะถอนทหารออกไป โดย Obama ได้ประกาศไว้แล้วว่า จะถอนทหารออกไปภายในปี 2014
สำหรับในปากีสถาน ก็ล่อแหลมที่จะเกิดสงครามและความขัดแย้งหนักขึ้น รัฐบาลปากีสถานต้องต่อสู้กับนักรบTaliban เชื้อสาย Pashtun รวมทั้งกลุ่มก่อการร้ายหลายกลุ่ม โดยเฉพาะกลุ่ม al-Qaeda และกลุ่ม Lashkar-Tayyeba ซึ่งอยู่เบื้องหลังการก่อวินาศกรรมที่เมืองมุมไบ ในปี 2008 ดังนั้น ความขัดแย้งที่จะเกี่ยวเชื่อมโยงกันก็คือ หากกลุ่มก่อการร้ายเหล่านี้ ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากชาว Pashtun ในปากีสถาน ก่อวินาศกรรมในอินเดีย ก็อาจเป็นชนวนทำให้เกิดความขัดแย้งทางทหารระหว่างอินเดียกับปากีสถานได้
สำหรับในภูมิภาคเอเชียตะวันออก เรื่องที่ต้องจับตามองเป็นพิเศษ คือ สถานการณ์ในเกาหลีเหนือ ซึ่งหลังจากการเสียชีวิตของ Kim Jong-Il ในช่วงเดือนธันวาคม ปีที่แล้ว Kim Jong-Un ได้สืบอำนาจต่อ แต่โดยที่ Jong-Un มีอายุเพียง 27 ปี ขาดประสบการณ์และบารมี จึงทำให้สถานการณ์ล่อแหลมมาก ที่จะเกิดความวุ่นวายทางการเมืองขึ้นในเกาหลีเหนือ อาจนำไปสู่การล่มสลายของรัฐบาล และอาจเกิดสงครามเกาหลีครั้งใหม่ได้ ถ้าหากเกิด scenario นี้ขึ้นจริง ก็อาจดึงให้มหาอำนาจ คือ จีนและสหรัฐฯ เข้าแทรกแซงในคาบสมุทรเกาหลี ซึ่งอาจนำไปสู่ความขัดแย้งทางทหารระหว่างจีนกับสหรัฐฯได้
สำหรับในเอเชียกลาง ก็เป็นจุดอันตรายอีกจุดหนึ่ง ของสงครามและความขัดแย้งที่จะเกิดขึ้นในปีนี้ หลายประเทศในเอเชียกลาง กำลังประสบกับวิกฤตอย่างหนัก โครงสร้างพื้นฐานกำลังใกล้ล่มสลาย ระบบการเมืองมีการคอรัปชั่นกันอย่างหนัก ภาครัฐอ่อนแอมาก โดยประเทศทาจิกิสถาน ขณะนี้ กำลังประสบกับภัยคุกคามด้านความมั่นคงอย่างหนัก ทั้งจากกลุ่มก่อการร้ายภายในประเทศและจากภายนอก นอกจากนี้ ทาจิกิสถาน ยังมีความขัดแย้งกับประเทศเพื่อนบ้าน คือ อุซเบกิสถาน โดยเฉพาะความขัดแย้งด้านพรมแดน และทางทรัพยากรน้ำ ซึ่งอาจนำไปสู่สงครามได้ ส่วนอีกประเทศ คือ คีร์กีซสถาน ก็มีความขัดแย้งทางชาติพันธ์อย่างรุนแรง และประเทศก็สุ่มเสี่ยงอย่างมากที่จะเกิดสงครามกลางเมืองในอนาคต
อัฟริกา
สำหรับทวีปอัฟริกา ก็ไม่น้อยหน้าภูมิภาคอื่น ในแง่ของสงครามและความขัดแย้ง โดยหลายประเทศในอัฟริกา ก็ลุกเป็นไฟด้วยสงครามกลางเมือง และสงครามชาติพันธ์ โดยขณะนี้ที่น่าเป็นห่วงก็มีหลายประเทศ โดยเฉพาะความขัดแย้งระหว่างซูดานกับซูดานใต้ (ชื่อเก่า คือ ดาร์ฟูร์) ไนจีเรีย ก็กำลังคุกรุ่นด้วยความขัดแย้งทางศาสนาและชาติพันธ์ บูรุนดี และคองโก สงครามกลางเมืองก็ทำท่าจะลุกลามบานปลาย
แต่ที่ต้องจับตามองเป็นพิเศษ คือ ความขัดแย้งระหว่างเคนยากับโซมาเลีย เมื่อปีที่แล้ว เคนยาได้ส่งกองกำลังทหารบุกเข้าไปทางตอนใต้ของโซมาเลีย เพื่อจะทำสงครามบดขยี้กลุ่มก่อการร้ายมุสลิมหัวรุนแรง ที่มีชื่อว่า al-Shabaab กลุ่มก่อการร้ายกลุ่มนี้มีอิทธิพลอย่างมาก โดยได้ควบคุมดินแดนทางตอนใต้ของโซมาเลียเกือบทั้งหมด ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา มีแนวโน้มว่า ความขัดแย้งระหว่างกองกำลังทหารของเคนยากับ al-Shabaab อาจลุกลามบานปลายรุนแรงมากขึ้น โดยหลังจากที่เคนยาได้ส่งกองกำลังทหารโจมตี al-Shabaab ในเดือนตุลาคมปีที่แล้ว al-Shabaab ก็ได้ประกาศอย่างแข็งกร้าวว่า จะปฏิบัติการโจมตีตอบโต้กองกำลังทหารของเคนยา โดยมีความเป็นไปได้ว่า ในอนาคต al-Shabaab จะปฏิบัติการก่อวินาศกรรมในเคนยา รวมถึงเมืองหลวงของเคนยา คือ ไนโรบี ด้วย
คอลัมน์โลกปริทรรศน์
8 มกราคม 2555
คอลัมน์โลกปริทรรศน์ตอนนี้ ผมจะวิเคราะห์ คาดการณ์ แนวโน้มสงครามในปี 2012 ซึ่งจะแบ่งออกเป็นภูมิภาคต่างๆ ดังนี้
ตะวันออกกลาง
สำหรับภูมิภาคที่มีแนวโน้มจะมีความขัดแย้งและสงคราม คือ ตะวันออกกลาง ซึ่งจะมีจุดอันตรายหลายจุด ดังนี้
ประเทศที่จะต้องจับตามองเป็นพิเศษในปีนี้ คือ อิหร่าน โดยปีที่แล้ว อิหร่านขัดแย้งกับสหรัฐฯและตะวันตกมากขึ้นเรื่อยๆ และการที่ IAEA ประกาศว่า อิหร่านกำลังแอบพัฒนาอาวุธนิวเคลียร์ ก็ยิ่งจะทำให้อิหร่านกลายเป็นจุดวิกฤตของความขัดแย้งในปีนี้ โดยเฉพาะเรื่องอาวุธนิวเคลียร์ ได้มีเสียงเรียกร้องดังขึ้นเรื่อยๆ โดยเฉพาะในสหรัฐฯ ที่จะให้ใช้กำลังทางทหารโจมตีโรงงานนิวเคลียร์ของอิหร่าน
นอกจากนี้ จุดอันตรายอีกจุด คือ ความขัดแย้งระหว่างอิหร่านกับอิสราเอล โดยอิสราเอลมีความวิตกกังวลเป็นอย่างมากต่อการพัฒนาอาวุธนิวเคลียร์ของอิหร่าน ในขณะที่อิหร่านก็เกลียดชังอิสราเอลเป็นอย่างมาก และมองว่าอิสราเอลคือศัตรูหมายเลข 1 ของอิหร่าน ปัจจัยที่อาจจะทำให้อิสราเอลตัดสินใจโจมตีโรงงานพลังงานนิวเคลียร์ของอิหร่าน ปัจจัยแรก คือ รายงานของ IAEA และปัจจัยที่ 2 คือ การเลือกตั้งประธานาธิบดีของสหรัฐฯปลายปีนี้ จะทำให้รัฐบาล Obama จำเป็นต้องมีนโยบายแข็งกร้าวต่ออิหร่านมากขึ้น เพื่อเป็นการเรียกคะแนนเสียง ซึ่งจะเข้าทางอิสราเอล ที่ตั้งท่าจะโจมตีอิหร่านมาหลายครั้งแล้ว
สำหรับในโลกอาหรับ ปีที่แล้ว มีการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ ด้วยการลุกฮือขึ้นโค่นล้มรัฐบาลเผด็จการ ซึ่งเราเรียกเหตุการณ์นี้ว่า Arab Spring แต่ประสบการณ์ในประวัติศาสตร์ได้ชี้ให้เห็นว่า ภายหลังการโค่นเผด็จการได้สำเร็จ ก็มักจะเกิดความขัดแย้งและแย่งชิงอำนาจกัน บางครั้งอาจนำไปสู่สงครามกลางเมือง ที่น่าเป็นห่วงมีหลายประเทศ คือ ตูนิเซีย อียิปต์ ลิเบีย และซีเรีย โดยในกรณีของลิเบีย ฝ่ายต่อต้าน Gaddafi เป็นการรวมตัวกันของหลายกลุ่ม ซึ่งมีแนวโน้มว่า ลิเบียในยุคหลัง Gaddafi อาจประสบความวุ่นวาย และไร้เสถียรภาพ
สำหรับในกรณีของซีเรีย ก็เป็นอีกประเทศที่น่าจับตามอง เพราะรัฐบาล Assad กำลังอยู่ในภาวะล่อแหลมที่จะล่มสลาย อย่างไรก็ตาม ซีเรียในยุคหลัง Assad อาจเกิดความวุ่นวาย เพราะมีทั้งความขัดแย้งระหว่างหลายกลุ่ม รวมทั้งอาจจะมีการแทรกแซงจากประเทศภายนอกด้วย นอกจากนั้น ปัญหาของซีเรียอาจจะลุกลามบานปลายเข้าสู่เลบานอน และกลุ่มก่อการร้าย Hezbollah ในเลบานอน ก็อาจก่อความวุ่นวายมากขึ้น
อีกประเทศในตะวันออกกลางที่อาจลุกเป็นไฟ คือ เยเมน แม้ว่า เมื่อเดือนพฤศจิกายนปีที่แล้ว ประธานาธิบดี Ali Saleh จะได้ยอมทำข้อตกลงลงจากอำนาจ และจะให้มีการเลือกตั้งในเดือนกุมภาพันธ์นี้ แต่ปัญหาท้าทายเยเมนในอนาคตยังมีอีกมาก โดยเฉพาะความขัดแย้งระหว่างกลุ่มสนับสนุน Saleh กับฝ่ายต่อต้าน ซึ่งอาจนำไปสู่ความรุนแรงและสงครามกลางเมืองได้
เอเชีย
สำหรับทวีปเอเชีย มีจุดอันตรายหลายจุด ทั้งที่เป็นสงครามอยู่แล้ว และที่อาจจะเกิดสงครามในอนาคต โดยที่เอเชียเป็นทวีปที่ใหญ่มาก ผมจึงขอแบ่งเป็น เอเชียใต้ เอเชียตะวันออก และเอเชียกลาง
สำหรับเอเชียใต้ จุดอันตราย 2 จุด คือ สงครามในอัฟกานิสถานและปากีสถาน
สำหรับในอัฟกานิสถาน สงครามได้ยืดเยื้อมาเป็นเวลา 10 ปีแล้ว แต่ยังไม่มีทีท่าว่าจะจบลงได้อย่างไร โดยเฉพาะด้วยชัยชนะของสหรัฐฯและกองกำลังนาโต้ ในทางตรงกันข้าม สงครามกลับลุกลามบานปลายหนักขึ้นเรื่อยๆ นักรบ Taliban ยึดครองพื้นที่ได้มากขึ้นเรื่อยๆ รัฐบาล Hamid Karzai ซึ่งเป็นความหวังของสหรัฐฯ ประสบความล้มเหลวในการบริหารประเทศ รัฐบาล Karzai ถือว่าอ่อนแอมาก และมีปัญหาในเรื่องคอรัปชั่น ทำให้ขาดความชอบธรรมในการปกครอง ประชาชนส่วนใหญ่ซึ่งเป็นชาว Pashtun จึงหันกลับไปสนับสนุนกลุ่ม Taliban ซึ่งเป็นชาว Pashtun เหมือนกัน นักรบ Taliban ซึ่งมีฐานที่มั่นอยู่ในเมือง Quetta จึงมีความหวังว่า ในที่สุด จะประสบชัยชนะ และรอวันที่สหรัฐฯจะถอนทหารออกไป โดย Obama ได้ประกาศไว้แล้วว่า จะถอนทหารออกไปภายในปี 2014
สำหรับในปากีสถาน ก็ล่อแหลมที่จะเกิดสงครามและความขัดแย้งหนักขึ้น รัฐบาลปากีสถานต้องต่อสู้กับนักรบTaliban เชื้อสาย Pashtun รวมทั้งกลุ่มก่อการร้ายหลายกลุ่ม โดยเฉพาะกลุ่ม al-Qaeda และกลุ่ม Lashkar-Tayyeba ซึ่งอยู่เบื้องหลังการก่อวินาศกรรมที่เมืองมุมไบ ในปี 2008 ดังนั้น ความขัดแย้งที่จะเกี่ยวเชื่อมโยงกันก็คือ หากกลุ่มก่อการร้ายเหล่านี้ ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากชาว Pashtun ในปากีสถาน ก่อวินาศกรรมในอินเดีย ก็อาจเป็นชนวนทำให้เกิดความขัดแย้งทางทหารระหว่างอินเดียกับปากีสถานได้
สำหรับในภูมิภาคเอเชียตะวันออก เรื่องที่ต้องจับตามองเป็นพิเศษ คือ สถานการณ์ในเกาหลีเหนือ ซึ่งหลังจากการเสียชีวิตของ Kim Jong-Il ในช่วงเดือนธันวาคม ปีที่แล้ว Kim Jong-Un ได้สืบอำนาจต่อ แต่โดยที่ Jong-Un มีอายุเพียง 27 ปี ขาดประสบการณ์และบารมี จึงทำให้สถานการณ์ล่อแหลมมาก ที่จะเกิดความวุ่นวายทางการเมืองขึ้นในเกาหลีเหนือ อาจนำไปสู่การล่มสลายของรัฐบาล และอาจเกิดสงครามเกาหลีครั้งใหม่ได้ ถ้าหากเกิด scenario นี้ขึ้นจริง ก็อาจดึงให้มหาอำนาจ คือ จีนและสหรัฐฯ เข้าแทรกแซงในคาบสมุทรเกาหลี ซึ่งอาจนำไปสู่ความขัดแย้งทางทหารระหว่างจีนกับสหรัฐฯได้
สำหรับในเอเชียกลาง ก็เป็นจุดอันตรายอีกจุดหนึ่ง ของสงครามและความขัดแย้งที่จะเกิดขึ้นในปีนี้ หลายประเทศในเอเชียกลาง กำลังประสบกับวิกฤตอย่างหนัก โครงสร้างพื้นฐานกำลังใกล้ล่มสลาย ระบบการเมืองมีการคอรัปชั่นกันอย่างหนัก ภาครัฐอ่อนแอมาก โดยประเทศทาจิกิสถาน ขณะนี้ กำลังประสบกับภัยคุกคามด้านความมั่นคงอย่างหนัก ทั้งจากกลุ่มก่อการร้ายภายในประเทศและจากภายนอก นอกจากนี้ ทาจิกิสถาน ยังมีความขัดแย้งกับประเทศเพื่อนบ้าน คือ อุซเบกิสถาน โดยเฉพาะความขัดแย้งด้านพรมแดน และทางทรัพยากรน้ำ ซึ่งอาจนำไปสู่สงครามได้ ส่วนอีกประเทศ คือ คีร์กีซสถาน ก็มีความขัดแย้งทางชาติพันธ์อย่างรุนแรง และประเทศก็สุ่มเสี่ยงอย่างมากที่จะเกิดสงครามกลางเมืองในอนาคต
อัฟริกา
สำหรับทวีปอัฟริกา ก็ไม่น้อยหน้าภูมิภาคอื่น ในแง่ของสงครามและความขัดแย้ง โดยหลายประเทศในอัฟริกา ก็ลุกเป็นไฟด้วยสงครามกลางเมือง และสงครามชาติพันธ์ โดยขณะนี้ที่น่าเป็นห่วงก็มีหลายประเทศ โดยเฉพาะความขัดแย้งระหว่างซูดานกับซูดานใต้ (ชื่อเก่า คือ ดาร์ฟูร์) ไนจีเรีย ก็กำลังคุกรุ่นด้วยความขัดแย้งทางศาสนาและชาติพันธ์ บูรุนดี และคองโก สงครามกลางเมืองก็ทำท่าจะลุกลามบานปลาย
แต่ที่ต้องจับตามองเป็นพิเศษ คือ ความขัดแย้งระหว่างเคนยากับโซมาเลีย เมื่อปีที่แล้ว เคนยาได้ส่งกองกำลังทหารบุกเข้าไปทางตอนใต้ของโซมาเลีย เพื่อจะทำสงครามบดขยี้กลุ่มก่อการร้ายมุสลิมหัวรุนแรง ที่มีชื่อว่า al-Shabaab กลุ่มก่อการร้ายกลุ่มนี้มีอิทธิพลอย่างมาก โดยได้ควบคุมดินแดนทางตอนใต้ของโซมาเลียเกือบทั้งหมด ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา มีแนวโน้มว่า ความขัดแย้งระหว่างกองกำลังทหารของเคนยากับ al-Shabaab อาจลุกลามบานปลายรุนแรงมากขึ้น โดยหลังจากที่เคนยาได้ส่งกองกำลังทหารโจมตี al-Shabaab ในเดือนตุลาคมปีที่แล้ว al-Shabaab ก็ได้ประกาศอย่างแข็งกร้าวว่า จะปฏิบัติการโจมตีตอบโต้กองกำลังทหารของเคนยา โดยมีความเป็นไปได้ว่า ในอนาคต al-Shabaab จะปฏิบัติการก่อวินาศกรรมในเคนยา รวมถึงเมืองหลวงของเคนยา คือ ไนโรบี ด้วย
แนวโน้มสถานการณ์โลก ปี 2555 (ตอนที่ 1)
แนวโน้มสถานการณ์โลก ปี 2555 (ตอนที่ 1)
ตีพิมพ์ใน ไทยโพสต์ ฉบับวันพุธที่ 28 ธันวาคม 2554
คอลัมน์กระบวนทรรศน์ในตอนนี้ เป็นตอนส่งท้ายปีเก่า ต้อนรับปีใหม่ ผมจึงจะขอวิเคราะห์คาดการณ์แนวโน้มสถานการณ์โลกในปี 2555 ซึ่งมีสถานการณ์หลายเรื่อง ที่ต้องจับตามองเป็นพิเศษ ดังนี้
เกาหลีเหนือ
เรื่องที่ต้องจับตามองเป็นพิเศษ คือ สถานการณ์ในเกาหลีเหนือ ซึ่งหลังจากการเสียชีวิตของ Kim Jong-Il ในช่วงเดือนธันวาคม Kim Jong-Un ก็ได้สืบทอดอำนาจต่อ แต่โดยที่ Kim Jong-Un มีอายุเพียง 27 ปี และขาดประสบการณ์และบารมี จึงทำให้สถานการณ์ล่อแหลมมาก ที่จะเกิดความวุ่นวายทางการเมืองขึ้นในเกาหลีเหนือ ซึ่งอาจนำไปสู่การล่มสลายของรัฐบาล และเกิดสงครามเกาหลีครั้งใหม่ขึ้น
มีหลายปัจจัยที่อาจนำไปสู่ความวุ่นวาย ปัจจัยแรก คือ Kim Jong-Un อาจจะต้องการพิสูจน์ว่า เขามีความสามารถและบารมี ด้วยการดำเนินนโยบายต่างประเทศที่แข็งกร้าว ซึ่งอาจนำไปสู่วิกฤตการณ์ครั้งใหม่ในคาบสมุทรเกาหลี
ปัจจัยการเมืองภายในก็ค่อนข้างล่อแหลม ที่จะนำไปสู่ความวุ่นวาย เพราะการขาดประสบการณ์ของ Kim Jong-Un และปราศจากฐานอำนาจทางการเมือง ซึ่งอาจทำให้ผู้นำทหารกระด้างกระเดื่อง และอาจโค่นล้มรัฐบาลของ Kim Jong-Un ได้
ดังนั้น ปัจจัยในเชิงลบมีหลายปัจจัย ซึ่งจะนำไปสู่ worst-case scenario คือ อาจเกิดการต่อสู้ทางการเมืองภายในกลุ่มผู้ปกครอง และอาจมีการลุกฮือขึ้นต่อต้านรัฐบาลจากประชาชน หรืออาจมีการเผชิญหน้ากับเกาหลีใต้ ซึ่งอาจลุกลามใหญ่โตจนอาจกลายเป็นสงคราม
ซึ่งหากเกิด scenario นี้ขึ้นจริง ก็อาจดึงให้มหาอำนาจ คือ จีนและสหรัฐฯ เข้าแทรกแซงในคาบสมุทรเกาหลี ซึ่งอาจนำไปสู่ความขัดแย้งทางทหารระหว่างจีนกับสหรัฐฯได้
วิกฤต Eurozone
อีกเรื่องที่ต้องจับตามองเป็นพิเศษในปีหน้า คือ เรื่องวิกฤตหนี้ยุโรป หรือวิกฤต Eurozone ซึ่งในปีนี้ สถานการณ์ลุกลามบานปลาย และทรุดหนักลงเรื่อยๆ แม้จะมีมาตรการต่างๆออกมา แต่ก็ไม่มีทีท่าว่าจะกอบกู้วิกฤตนี้ได้ โดยมีหลายปัจจัยที่อาจทำให้วิกฤต Eurozone ลุกลามบานปลายจนกลายเป็นวิกฤตการเงินโลกครั้งใหญ่
ปัจจัยประการแรก คือ มีความเป็นไปได้ว่า Eurozone อาจแตกสลาย โดยเริ่มจากมีบางประเทศถอนตัวออกจาก Eurozone ซึ่งประเทศแรกน่าจะเป็นกรีซ ยังไม่มีความแน่นอนว่า กรีซจะสามารถหลีกเลี่ยงภาวะล้มละลายได้หรือไม่ และธนาคารต่างๆจะยอมยกเลิกหนี้ให้กับกรีซ 50% ได้หรือไม่
และหากกรีซล้มละลาย ก็อาจเกิดภาวะ domino effect ทำให้วิกฤตลามเข้าสู่อิตาลีและสเปน ซึ่งขณะนี้ ก็เริ่มมีปัญหาบ้างแล้ว ในอนาคต หากวิกฤตลุกลามบานปลายเข้าสู่ทั้ง 2 ประเทศ กองทุน EFSF ซึ่งขณะนี้มีเงินอยู่เพียง 5 แสนล้านล้านยูโร ก็จะไม่สามารถเข้าไปกอบกู้อิตาลีและสเปนได้
อีกปัจจัย คือ ปัญหาของธนาคารในยุโรป แม้ว่า จะมีการเพิ่มทุน 1 แสนล้านยูโร แต่อาจไม่เพียงพอ เพราะธนาคารยุโรปได้ปล่อยกู้ให้กับประเทศที่มีปัญหาหนี้ เป็นเงินกว่า 4 ล้านล้านยูโร
อีกปัจจัย คือ สถานการณ์ความเชื่อมั่นของ Eurozone ทรุดหนักลงเรื่อยๆ S&P ได้คาดการณ์ว่า มีโอกาสถึง 50% ที่สมาชิก Eurozone 6 ประเทศ รวมทั้งฝรั่งเศสและเยอรมนี อาจถูกลดอันดับความน่าเชื่อถือลง
อิหร่าน
สถานการณ์โลกจุดที่ 3 ที่จะต้องจับตามอง คือ อิหร่าน โดยในปีนี้ มี 2 เรื่องใหญ่ที่เกี่ยวกับอิหร่าน คือ เรื่องความขัดแย้งระหว่างสหรัฐฯกับอิหร่าน และการที่ IAEA ประกาศว่า อิหร่านแอบพัฒนาอาวุธนิวเคลียร์
ในปีหน้า มีแนวโน้มว่า ปัญหาอิหร่านจะกลายเป็นวิกฤต ทั้งนี้ เพราะ Obama ได้ออกมาประกาศกร้าวว่าจะตอบโต้อิหร่าน ด้วยมาตรการตอบโต้ทุกรูปแบบ รวมทั้งมาตรการตอบโต้ทางทหาร นอกจากนี้ ในปีหน้า เป็นปีที่จะมีการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯ Obama คงจะถูกกดดันอย่างหนักที่จะต้องแข็งกร้าวต่ออิหร่าน มิเช่นนั้น จะถูกพรรครีพับลิกันโจมตีในช่วงหาเสียงเลือกตั้ง
และตั้งแต่ IAEA ประกาศว่า อิหร่านแอบพัฒนาอาวุธนิวเคลียร์ ก็ได้มีเสียงเรียกร้องดังขึ้นเรื่อยๆในสหรัฐฯ ที่จะให้รัฐบาลใช้กำลังทางทหารโจมตีโรงงานพลังงานนิวเคลียร์ของอิหร่าน เพื่อเป็นการตัดไฟต้นลมก่อนที่จะสายเกินไป
การก่อการร้ายสากล
ในปีหน้า ปัญหาการก่อการร้าย ยังจะคงเป็นภัยคุกคามต่อความมั่นคงของโลกต่อไป แม้ว่า ปีนี้ สหรัฐฯจะสามารถสังหาร Bin Laden ได้สำเร็จ แต่นั่นไม่ได้หมายความว่า จะเป็นจุดจบของการก่อการร้าย การก่อการร้ายและการก่อวินาศกรรมจะยังอยู่กับเราไปอีกนาน ซึ่งในปีหน้า สถานการณ์การก่อการร้ายจะมีอยู่หลายมิติด้วยกัน
มิติแรก คือ มิติขององค์กร al-Qaeda ซึ่งเป็นแกนกลางของการก่อการร้ายสากล al-Qaeda ได้ปรับองค์กรจากการรวมศูนย์เป็นการกระจายตัว ขณะนี้ มีสาขาย่อยทั่วโลก ในลักษณะ franchise มียุทธศาสตร์ที่เรียกว่า one man one bomb ดังนั้น ความเป็นไปได้ที่จะมีระเบิดฆ่าตัวตาย ก็มีอยู่สูง
ในอัฟกานิสถานและในปากีสถาน ก็มีความร่วมมือกันอย่างเหนียวแน่น ระหว่าง al-Qaeda กับ Taliban และในตะวันออกกลาง โดยเฉพาะโลกอาหรับ แม้ว่า จะมี Arab Spring แต่ al-Qaeda ก็กำลังรอจังหวะสภาวะสุญญากาศแห่งอำนาจ และฉวยโอกาสจากสภาวะดังกล่าว เข้ายึดกุมอำนาจรัฐ
แนวร่วมขององค์กร al-Qaeda ในโลกมุสลิมมีอยู่มากมายหลายกลุ่ม อาทิ al-Qaeda in the Arabian Peninsula กลุ่ม Al-Shabaab ในโซมาเลีย กลุ่ม al-Qaeda in the Islamic Magherb ทางตอนเหนือของอัฟริกา กลุ่ม Lashkar e-Tayyiba ในอินเดียและปากีสถาน กลุ่ม al-Qaeda in Iraq และกลุ่ม Jemaah Islamiyah หรือ JI ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รวมทั้งกลุ่ม Abu Sayyaf ในฟิลิปปินส์
(โปรดอ่านต่อตอนจบ ในคอลัมน์กระบวนทรรศน์ตอนหน้า)
ตีพิมพ์ใน ไทยโพสต์ ฉบับวันพุธที่ 28 ธันวาคม 2554
คอลัมน์กระบวนทรรศน์ในตอนนี้ เป็นตอนส่งท้ายปีเก่า ต้อนรับปีใหม่ ผมจึงจะขอวิเคราะห์คาดการณ์แนวโน้มสถานการณ์โลกในปี 2555 ซึ่งมีสถานการณ์หลายเรื่อง ที่ต้องจับตามองเป็นพิเศษ ดังนี้
เกาหลีเหนือ
เรื่องที่ต้องจับตามองเป็นพิเศษ คือ สถานการณ์ในเกาหลีเหนือ ซึ่งหลังจากการเสียชีวิตของ Kim Jong-Il ในช่วงเดือนธันวาคม Kim Jong-Un ก็ได้สืบทอดอำนาจต่อ แต่โดยที่ Kim Jong-Un มีอายุเพียง 27 ปี และขาดประสบการณ์และบารมี จึงทำให้สถานการณ์ล่อแหลมมาก ที่จะเกิดความวุ่นวายทางการเมืองขึ้นในเกาหลีเหนือ ซึ่งอาจนำไปสู่การล่มสลายของรัฐบาล และเกิดสงครามเกาหลีครั้งใหม่ขึ้น
มีหลายปัจจัยที่อาจนำไปสู่ความวุ่นวาย ปัจจัยแรก คือ Kim Jong-Un อาจจะต้องการพิสูจน์ว่า เขามีความสามารถและบารมี ด้วยการดำเนินนโยบายต่างประเทศที่แข็งกร้าว ซึ่งอาจนำไปสู่วิกฤตการณ์ครั้งใหม่ในคาบสมุทรเกาหลี
ปัจจัยการเมืองภายในก็ค่อนข้างล่อแหลม ที่จะนำไปสู่ความวุ่นวาย เพราะการขาดประสบการณ์ของ Kim Jong-Un และปราศจากฐานอำนาจทางการเมือง ซึ่งอาจทำให้ผู้นำทหารกระด้างกระเดื่อง และอาจโค่นล้มรัฐบาลของ Kim Jong-Un ได้
ดังนั้น ปัจจัยในเชิงลบมีหลายปัจจัย ซึ่งจะนำไปสู่ worst-case scenario คือ อาจเกิดการต่อสู้ทางการเมืองภายในกลุ่มผู้ปกครอง และอาจมีการลุกฮือขึ้นต่อต้านรัฐบาลจากประชาชน หรืออาจมีการเผชิญหน้ากับเกาหลีใต้ ซึ่งอาจลุกลามใหญ่โตจนอาจกลายเป็นสงคราม
ซึ่งหากเกิด scenario นี้ขึ้นจริง ก็อาจดึงให้มหาอำนาจ คือ จีนและสหรัฐฯ เข้าแทรกแซงในคาบสมุทรเกาหลี ซึ่งอาจนำไปสู่ความขัดแย้งทางทหารระหว่างจีนกับสหรัฐฯได้
วิกฤต Eurozone
อีกเรื่องที่ต้องจับตามองเป็นพิเศษในปีหน้า คือ เรื่องวิกฤตหนี้ยุโรป หรือวิกฤต Eurozone ซึ่งในปีนี้ สถานการณ์ลุกลามบานปลาย และทรุดหนักลงเรื่อยๆ แม้จะมีมาตรการต่างๆออกมา แต่ก็ไม่มีทีท่าว่าจะกอบกู้วิกฤตนี้ได้ โดยมีหลายปัจจัยที่อาจทำให้วิกฤต Eurozone ลุกลามบานปลายจนกลายเป็นวิกฤตการเงินโลกครั้งใหญ่
ปัจจัยประการแรก คือ มีความเป็นไปได้ว่า Eurozone อาจแตกสลาย โดยเริ่มจากมีบางประเทศถอนตัวออกจาก Eurozone ซึ่งประเทศแรกน่าจะเป็นกรีซ ยังไม่มีความแน่นอนว่า กรีซจะสามารถหลีกเลี่ยงภาวะล้มละลายได้หรือไม่ และธนาคารต่างๆจะยอมยกเลิกหนี้ให้กับกรีซ 50% ได้หรือไม่
และหากกรีซล้มละลาย ก็อาจเกิดภาวะ domino effect ทำให้วิกฤตลามเข้าสู่อิตาลีและสเปน ซึ่งขณะนี้ ก็เริ่มมีปัญหาบ้างแล้ว ในอนาคต หากวิกฤตลุกลามบานปลายเข้าสู่ทั้ง 2 ประเทศ กองทุน EFSF ซึ่งขณะนี้มีเงินอยู่เพียง 5 แสนล้านล้านยูโร ก็จะไม่สามารถเข้าไปกอบกู้อิตาลีและสเปนได้
อีกปัจจัย คือ ปัญหาของธนาคารในยุโรป แม้ว่า จะมีการเพิ่มทุน 1 แสนล้านยูโร แต่อาจไม่เพียงพอ เพราะธนาคารยุโรปได้ปล่อยกู้ให้กับประเทศที่มีปัญหาหนี้ เป็นเงินกว่า 4 ล้านล้านยูโร
อีกปัจจัย คือ สถานการณ์ความเชื่อมั่นของ Eurozone ทรุดหนักลงเรื่อยๆ S&P ได้คาดการณ์ว่า มีโอกาสถึง 50% ที่สมาชิก Eurozone 6 ประเทศ รวมทั้งฝรั่งเศสและเยอรมนี อาจถูกลดอันดับความน่าเชื่อถือลง
อิหร่าน
สถานการณ์โลกจุดที่ 3 ที่จะต้องจับตามอง คือ อิหร่าน โดยในปีนี้ มี 2 เรื่องใหญ่ที่เกี่ยวกับอิหร่าน คือ เรื่องความขัดแย้งระหว่างสหรัฐฯกับอิหร่าน และการที่ IAEA ประกาศว่า อิหร่านแอบพัฒนาอาวุธนิวเคลียร์
ในปีหน้า มีแนวโน้มว่า ปัญหาอิหร่านจะกลายเป็นวิกฤต ทั้งนี้ เพราะ Obama ได้ออกมาประกาศกร้าวว่าจะตอบโต้อิหร่าน ด้วยมาตรการตอบโต้ทุกรูปแบบ รวมทั้งมาตรการตอบโต้ทางทหาร นอกจากนี้ ในปีหน้า เป็นปีที่จะมีการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯ Obama คงจะถูกกดดันอย่างหนักที่จะต้องแข็งกร้าวต่ออิหร่าน มิเช่นนั้น จะถูกพรรครีพับลิกันโจมตีในช่วงหาเสียงเลือกตั้ง
และตั้งแต่ IAEA ประกาศว่า อิหร่านแอบพัฒนาอาวุธนิวเคลียร์ ก็ได้มีเสียงเรียกร้องดังขึ้นเรื่อยๆในสหรัฐฯ ที่จะให้รัฐบาลใช้กำลังทางทหารโจมตีโรงงานพลังงานนิวเคลียร์ของอิหร่าน เพื่อเป็นการตัดไฟต้นลมก่อนที่จะสายเกินไป
การก่อการร้ายสากล
ในปีหน้า ปัญหาการก่อการร้าย ยังจะคงเป็นภัยคุกคามต่อความมั่นคงของโลกต่อไป แม้ว่า ปีนี้ สหรัฐฯจะสามารถสังหาร Bin Laden ได้สำเร็จ แต่นั่นไม่ได้หมายความว่า จะเป็นจุดจบของการก่อการร้าย การก่อการร้ายและการก่อวินาศกรรมจะยังอยู่กับเราไปอีกนาน ซึ่งในปีหน้า สถานการณ์การก่อการร้ายจะมีอยู่หลายมิติด้วยกัน
มิติแรก คือ มิติขององค์กร al-Qaeda ซึ่งเป็นแกนกลางของการก่อการร้ายสากล al-Qaeda ได้ปรับองค์กรจากการรวมศูนย์เป็นการกระจายตัว ขณะนี้ มีสาขาย่อยทั่วโลก ในลักษณะ franchise มียุทธศาสตร์ที่เรียกว่า one man one bomb ดังนั้น ความเป็นไปได้ที่จะมีระเบิดฆ่าตัวตาย ก็มีอยู่สูง
ในอัฟกานิสถานและในปากีสถาน ก็มีความร่วมมือกันอย่างเหนียวแน่น ระหว่าง al-Qaeda กับ Taliban และในตะวันออกกลาง โดยเฉพาะโลกอาหรับ แม้ว่า จะมี Arab Spring แต่ al-Qaeda ก็กำลังรอจังหวะสภาวะสุญญากาศแห่งอำนาจ และฉวยโอกาสจากสภาวะดังกล่าว เข้ายึดกุมอำนาจรัฐ
แนวร่วมขององค์กร al-Qaeda ในโลกมุสลิมมีอยู่มากมายหลายกลุ่ม อาทิ al-Qaeda in the Arabian Peninsula กลุ่ม Al-Shabaab ในโซมาเลีย กลุ่ม al-Qaeda in the Islamic Magherb ทางตอนเหนือของอัฟริกา กลุ่ม Lashkar e-Tayyiba ในอินเดียและปากีสถาน กลุ่ม al-Qaeda in Iraq และกลุ่ม Jemaah Islamiyah หรือ JI ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รวมทั้งกลุ่ม Abu Sayyaf ในฟิลิปปินส์
(โปรดอ่านต่อตอนจบ ในคอลัมน์กระบวนทรรศน์ตอนหน้า)
สรุปสถานการณ์โลก ปี 2554 (ตอนจบ)
สรุปสถานการณ์โลก ปี 2554 (ตอนจบ)
ตีพิมพ์ใน สยามรัฐสัปดาหวิจารณ์ ฉบับวันศุกร์ที่ 6 – วันพฤหัสบดีที่ 12 มกราคม 2555
คอลัมน์โลกทรรศน์ตอนนี้ เป็นตอนต้อนรับปีใหม่ ตอนที่แล้ว ผมได้สรุป ประมวลเหตุการณ์สถานการณ์การเมืองและเศรษฐกิจโลกที่เกิดขึ้นในรอบปีที่ผ่านมาไปแล้ว ตั้งแต่อับดับ 10 จนถึงอันดับ 6 คอลัมน์ในวันนี้ จะมาสรุปต่อ ตั้งแต่อันดับ 5 จนถึงอันดับ 1
อันดับ 5 : เกาหลีเหนือ
เหตุการณ์สถานการณ์โลกเรื่องที่มีความสำคัญเป็นอันดับ 5 ในรอบปีที่ผ่านมา คือ เรื่องที่เกี่ยวกับเกาหลีเหนือ โดยเฉพาะข่าวการเสียชีวิตของผู้นำเกาหลีเหนือ คือ Kim Jong-Il เมื่อวันที่ 18 ธันวาคม ปีที่แล้ว ซึ่งได้ก่อให้เกิดความกังวลใจต่อประชาคมโลก ถึงอนาคตของรัฐบาลเกาหลีเหนือ และเสถียรภาพในคาบสมุทรเกาหลี ในยุคหลัง Kim Jong-Il
ตั้งแต่มีการสถาปนาประเทศเกาหลีเหนือเมื่อปี 2545 เกาหลีเหนือก็อยู่ภายใต้การนำของตระกูล Kim โดย Kim Il-Sung ได้ปกครองเกาหลีเหนือตั้งแต่ปี 1945-1994 ต่อมา Kim Jong-Il บุตรชายได้เป็นผู้นำต่อ ตั้งแต่ปี 1994 มาจนถึงปลายปี 2011 โดยผู้นำของเกาหลีเหนือคนใหม่ คือ Kim Jong-Un บุตรชายของ Kim Jong-Il ซึ่งมีอายุเพียง 27 ปี และแทบจะไม่มีประสบการณ์ในการบริหารประเทศเลย แม้ว่า Kim Jong-Il จะได้พยายามที่จะสร้างบุตรชายของเขา คือ Kim Jong-Un ให้เป็นผู้นำ มาตั้งแต่ปี 2008 โดยได้รับการแต่งตั้งให้มียศนายพล และมีตำแหน่งระดับสูงในพรรคคอมมิวนิสต์ แต่ก็ได้มีข่าวว่า ผู้นำทหารหลายคนต่อต้าน Kim Jong-Un ซึ่งในแง่ของบุคลิกภาพและบารมีนั้น Kim Jong-Un ยังคงดูขาดอยู่มาก และดูอ่อนวัย และไร้ประสบการณ์ จึงทำให้ประชาคมโลกหวั่นวิตกถึงอนาคตของเกาหลีเหนือว่า อาจเกิดความวุ่นวายทางการเมือง และอาจเกิดการแย่งชิงอำนาจทางการเมือง โดยเฉพาะจากฝ่ายทหาร ซึ่งอาจส่งผลกระทบ นำไปสู่สงครามเกาหลีครั้งใหม่ และอาจกระทบต่ออาวุธนิวเคลียร์ของเกาหลีเหนือได้
อันดับ 4 : Arab Spring
สำหรับสถานการณ์โลกอันดับ 4 คือ การเปลี่ยนแปลงทางการเมืองที่เกิดขึ้นในโลกอาหรับ ในรอบปีที่ผ่านมา ซึ่งเรียกเป็นภาษาอังกฤษว่า Arab Spring โดยในช่วงต้นปี ได้เกิดเหตุการณ์ลุกฮือขึ้นต่อต้านผู้นำเผด็จการในตูนิเซีย อียิปต์ และอีกหลายประเทศในโลกอาหรับ
แต่ที่เป็นประเด็นร้อนที่สุด คือ เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในลิเบีย ในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ ได้เกิดการลุกฮือขึ้นต่อต้านรัฐบาลของ Gaddafi ซึ่งได้ปกครองประเทศมาตั้งแต่ปี 1969 จนกลายเป็นสงครามกลางเมือง ฝ่ายกบฏได้ยึดเมืองอันดับ 2 ของลิเบีย คือ Benghazi ไว้ได้ ต่อมา ในเดือนมีนาคม UNSC ได้ออกข้อมติบังคับเขตห้ามบิน และจะใช้มาตรการทุกทางในการปกป้องพลเรือน จากการโจมตีของฝ่าย Gaddafi หลังจากนั้น กองกำลังนาโต้ ซึ่งได้ไฟเขียวจาก UNSC จึงได้ปฏิบัติการโจมตีกองกำลังของ Gaddafi โดยเน้นการทิ้งระเบิด เพื่อช่วยเหลือฝ่ายกบฏ จนมาถึงเดือนสิงหาคม หลังจากที่นาโต้ได้ทิ้งระเบิดถล่มเป็นเวลานานถึง 5 เดือน ฝ่ายกบฏก็สามารถบุกเข้ายึดกรุงตริโปลีไว้ได้ และต่อมา ได้จับตัวและสังหาร Gaddafi ในที่สุด
อับดับ 3 : การก่อการร้ายในยุคหลัง Bin Laden
สถานการณ์โลกเรื่องที่มีความสำคัญเป็นอันดับ 3 ในรอบปีที่ผ่านมา คือ สถานการณ์การก่อการร้ายสากล ซึ่งในปีที่แล้ว ไฮไลท์อยู่ที่การสังหาร Bin Laden
Osama Bin Laden เป็นที่รู้จักไปทั่วโลก หลังจากการเกิดเหตุการณ์ 11 กันยาฯ 2001 โดยรัฐบาล Bush อ้างว่า Bin Laden ผู้นำ al-Qaeda เป็นผู้วางแผนในการก่อวินาศกรรมในเหตุการณ์ 11 กันยาฯ ปฏิบัติการไล่ล่า Bin Laden ได้ดำเนินมาเกือบ 10 ปี โดยมีข่าวว่า Bin Laden ได้หลบซ่อนตัวอยู่ในแถบเทือกเขาบริเวณพรมแดนระหว่างอัฟกานิสถานกับปากีสถาน แต่ในที่สุด เมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม ปีที่แล้ว ก็ได้มีข่าวแพร่ไปทั่วโลกว่า Bin Laden ได้ถูกสังหารแล้ว โดยหน่วยรบพิเศษของสหรัฐฯ ที่เมือง Abbottabad ใกล้กรุง Islamabad เมืองหลวงของปากีสถาน
อย่างไรก็ตาม การเสียชีวิตของ Bin Laden ไม่ได้ส่งผลกระทบมากนักต่อสถานการณ์การก่อการร้ายสากล และไม่ใช่จุดจบของการก่อการร้าย การก่อวินาศกรรมยังคงมีอยู่อย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้เพราะขณะนี้ ขบวนการก่อการร้ายได้กระจายไปทั่วโลก ซึ่งมีลักษณะเป็นองค์กรย่อยๆอยู่มากมาย ซึ่งองค์กรเหล่านี้มีอุดมการณ์ร่วมกัน คือ อุดมการณ์มุสลิมหัวรุนแรง ที่มีเป้าหมายในการขจัดอิทธิพลของตะวันตกให้ออกไปจากโลกมุสลิม และจัดตั้งรัฐอิสลามขึ้น แม้ว่า สหรัฐฯจะทำสงครามต่อต้านการก่อการร้ายมาเป็นเวลา 10 ปี แล้ว แต่สงครามกลับยืดเยื้อ และการก่อการร้ายก็เพิ่มมากขึ้นทั่วโลก แนวคิดของ Bin Laden และ al-Qaeda ก็ได้เป็นอุดมการณ์ที่แพร่ไปทั่วโลกมุสลิม
อันดับ 2 : การประชุมภาวะโลกร้อนที่อัฟริกาใต้
สำหรับสถานการณ์โลกเรื่องที่มีความสำคัญเป็นอันดับ 2 ในรอบปีที่ผ่านมา คือ การประชุมภาวะโลกร้อนที่อัฟริกาใต้
ปัญหาภาวะโลกร้อน ถือได้ว่าเป็นปัญหาสำคัญที่สุดของโลกปัญหาหนึ่ง แต่ก่อนหน้านี้ การประชุมภาวะโลกร้อน ที่กรุงโคเปนเฮเกน ในปี 2009 ก็ประสบความล้มเหลว โดยมี 3 เรื่องใหญ่ที่ยังตกลงกันไม่ได้ เรื่องแรก คือ รูปแบบของข้อตกลง ประเทศยากจนต้องการต่ออายุพิธีสารเกียวโต แต่ประเทศร่ำรวยต้องการสนธิสัญญาฉบับใหม่ เรื่องที่ 2 คือ การกำหนดปริมาณการปรับลดก๊าซเรือนกระจก ประเทศยากจนต้องการให้ประเทศร่ำรวยปรับลดก๊าซลง 40% ภายในปี 2020 และเรื่องที่ 3 คือ จำนวนเงินช่วยเหลือประเทศยากจน โดยประเทศยากจนเรียกร้องให้ประเทศร่ำรวยจ่ายเงิน 1% ของ GDP
สำหรับการประชุมภาวะโลกร้อนครั้งล่าสุดที่เมือง Durban ประเทศอัฟริกาใต้ เมื่อช่วงต้นเดือนธันวาคม ปีที่แล้ว นับว่าประสบความสำเร็จในระดับหนึ่ง โดยสามารถบรรลุข้อตกลงกันได้ ที่จะให้มีการจัดตั้งคณะทำงานเพื่อเจรจาจัดทำข้อตกลงฉบับใหม่ ให้เสร็จภายในปี 2015 และจะให้มีผลบังคับใช้ในปี 2020 โดยข้อตกลงดังกล่าว จะมีผลบังคับใช้กับทุกประเทศสมาชิก ซึ่งจะแตกต่างจากพิธีสารเกียวโต ซึ่งจะมีผลบังคับใช้กับประเทศอุตสาหกรรม หรือประเทศร่ำรวยเท่านั้น
นอกจากนี้ การประชุมครั้งนี้ ยังได้มีการตกลงจัดตั้ง Green Climate Fund กองทุนวงเงิน 1 แสนล้านเหรียญต่อปี ที่ประเทศร่ำรวยจะช่วยเหลือประเทศยากจนภายในปี 2020
อันดับ 1 : วิกฤต Eurozone
สำหรับสถานการณ์โลกเรื่องที่มีความสำคัญเป็นอันดับ 1 ในรอบปีที่ผ่านมา คือ เรื่อง วิกฤต Eurozone
วิกฤตหนี้ของยุโรป โดยเฉพาะประเทศที่ใช้เงินยูโร 17 ประเทศ ที่เรียกว่า Eurozone นั้น ในปีที่แล้ว เป็นปัญหาเข้าขั้นวิกฤต และมีแนวโน้มจะทรุดหนักลงเรื่อยๆ โดยในตอนแรก รัฐบาลที่ประสบภาวะหนี้สิน ได้แก่ กรีซ ไอร์แลนด์ และโปรตุเกส ต่อมา วิกฤตได้ลุกลามเข้าสู่อิตาลีและสเปน ซึ่งเป็นประเทศที่มีเศรษฐกิจขนาดใหญ่ ที่ผ่านมา เยอรมนีและฝรั่งเศส ประเทศที่มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่ที่สุดของ EU ได้เข้าช่วยกรีซ โปรตุเกส และไอร์แลนด์ แต่การที่วิกฤตได้ลามเข้าสู่อิตาลีและสเปน ทำให้เยอรมนีและฝรั่งเศสตกอยู่ในสถานะหนักมาก ในแง่เงินที่จะเข้าไปช่วยกอบกู้วิกฤตของอิตาลีและสเปน
ได้มีความพยายามกอบกู้วิกฤต ทั้งในกรอบของ EU IMF และ G20 รวมทั้งธนาคารกลางยุโรป แม้ว่า จะได้ประกาศจะซื้อพันธบัตรของรัฐบาลอิตาลีและสเปนแล้วก็ตาม แต่สถานการณ์ก็ยังไม่ดีขึ้น ต่อมา ได้มีการจัดประชุมสุดยอด Eurozone ขึ้นหลายครั้งในช่วงปลายปีที่แล้ว แต่ก็ไม่สามารถกอบกู้วิกฤตได้อย่างเป็นรูปธรรม โดยในการประชุมสุดยอด EU ครั้งล่าสุด ในช่วงเดือนธันวาคม เยอรมนีกับฝรั่งเศสพยายามผลักดันการจัดทำสนธิสัญญาฉบับใหม่ของ EU เพื่อให้มีบูรณาการทางการเงินที่เข้มข้น แต่ก็ไม่สำเร็จ เพราะอังกฤษได้ออกมาคัดค้าน
วิกฤต Eurozone ที่เกิดขึ้นในปีที่แล้ว ได้ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจโลกเป็นอย่างมาก โดยได้สร้างความปั่นป่วนให้กับตลาดหุ้นทั่วโลก ทำให้เกิดความวิตกกังวลมากขึ้นเรื่อยๆว่า กำลังจะเกิดวิกฤตเศรษฐกิจโลกครั้งใหม่หรือไม่ โดยยังไม่มีความแน่นอนว่า มาตรการกอบกู้วิกฤต โดยเฉพาะของ EU จะสามารถกอบกู้วิกฤต Eurozone ได้หรือไม่ ดังนั้น โอกาสที่จะวิกฤต Eurozone จะลุกลามบานปลายจนกลายเป็นวิกฤตการเงินโลกครั้งใหญ่ ก็อาจเป็นไปได้
ตีพิมพ์ใน สยามรัฐสัปดาหวิจารณ์ ฉบับวันศุกร์ที่ 6 – วันพฤหัสบดีที่ 12 มกราคม 2555
คอลัมน์โลกทรรศน์ตอนนี้ เป็นตอนต้อนรับปีใหม่ ตอนที่แล้ว ผมได้สรุป ประมวลเหตุการณ์สถานการณ์การเมืองและเศรษฐกิจโลกที่เกิดขึ้นในรอบปีที่ผ่านมาไปแล้ว ตั้งแต่อับดับ 10 จนถึงอันดับ 6 คอลัมน์ในวันนี้ จะมาสรุปต่อ ตั้งแต่อันดับ 5 จนถึงอันดับ 1
อันดับ 5 : เกาหลีเหนือ
เหตุการณ์สถานการณ์โลกเรื่องที่มีความสำคัญเป็นอันดับ 5 ในรอบปีที่ผ่านมา คือ เรื่องที่เกี่ยวกับเกาหลีเหนือ โดยเฉพาะข่าวการเสียชีวิตของผู้นำเกาหลีเหนือ คือ Kim Jong-Il เมื่อวันที่ 18 ธันวาคม ปีที่แล้ว ซึ่งได้ก่อให้เกิดความกังวลใจต่อประชาคมโลก ถึงอนาคตของรัฐบาลเกาหลีเหนือ และเสถียรภาพในคาบสมุทรเกาหลี ในยุคหลัง Kim Jong-Il
ตั้งแต่มีการสถาปนาประเทศเกาหลีเหนือเมื่อปี 2545 เกาหลีเหนือก็อยู่ภายใต้การนำของตระกูล Kim โดย Kim Il-Sung ได้ปกครองเกาหลีเหนือตั้งแต่ปี 1945-1994 ต่อมา Kim Jong-Il บุตรชายได้เป็นผู้นำต่อ ตั้งแต่ปี 1994 มาจนถึงปลายปี 2011 โดยผู้นำของเกาหลีเหนือคนใหม่ คือ Kim Jong-Un บุตรชายของ Kim Jong-Il ซึ่งมีอายุเพียง 27 ปี และแทบจะไม่มีประสบการณ์ในการบริหารประเทศเลย แม้ว่า Kim Jong-Il จะได้พยายามที่จะสร้างบุตรชายของเขา คือ Kim Jong-Un ให้เป็นผู้นำ มาตั้งแต่ปี 2008 โดยได้รับการแต่งตั้งให้มียศนายพล และมีตำแหน่งระดับสูงในพรรคคอมมิวนิสต์ แต่ก็ได้มีข่าวว่า ผู้นำทหารหลายคนต่อต้าน Kim Jong-Un ซึ่งในแง่ของบุคลิกภาพและบารมีนั้น Kim Jong-Un ยังคงดูขาดอยู่มาก และดูอ่อนวัย และไร้ประสบการณ์ จึงทำให้ประชาคมโลกหวั่นวิตกถึงอนาคตของเกาหลีเหนือว่า อาจเกิดความวุ่นวายทางการเมือง และอาจเกิดการแย่งชิงอำนาจทางการเมือง โดยเฉพาะจากฝ่ายทหาร ซึ่งอาจส่งผลกระทบ นำไปสู่สงครามเกาหลีครั้งใหม่ และอาจกระทบต่ออาวุธนิวเคลียร์ของเกาหลีเหนือได้
อันดับ 4 : Arab Spring
สำหรับสถานการณ์โลกอันดับ 4 คือ การเปลี่ยนแปลงทางการเมืองที่เกิดขึ้นในโลกอาหรับ ในรอบปีที่ผ่านมา ซึ่งเรียกเป็นภาษาอังกฤษว่า Arab Spring โดยในช่วงต้นปี ได้เกิดเหตุการณ์ลุกฮือขึ้นต่อต้านผู้นำเผด็จการในตูนิเซีย อียิปต์ และอีกหลายประเทศในโลกอาหรับ
แต่ที่เป็นประเด็นร้อนที่สุด คือ เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในลิเบีย ในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ ได้เกิดการลุกฮือขึ้นต่อต้านรัฐบาลของ Gaddafi ซึ่งได้ปกครองประเทศมาตั้งแต่ปี 1969 จนกลายเป็นสงครามกลางเมือง ฝ่ายกบฏได้ยึดเมืองอันดับ 2 ของลิเบีย คือ Benghazi ไว้ได้ ต่อมา ในเดือนมีนาคม UNSC ได้ออกข้อมติบังคับเขตห้ามบิน และจะใช้มาตรการทุกทางในการปกป้องพลเรือน จากการโจมตีของฝ่าย Gaddafi หลังจากนั้น กองกำลังนาโต้ ซึ่งได้ไฟเขียวจาก UNSC จึงได้ปฏิบัติการโจมตีกองกำลังของ Gaddafi โดยเน้นการทิ้งระเบิด เพื่อช่วยเหลือฝ่ายกบฏ จนมาถึงเดือนสิงหาคม หลังจากที่นาโต้ได้ทิ้งระเบิดถล่มเป็นเวลานานถึง 5 เดือน ฝ่ายกบฏก็สามารถบุกเข้ายึดกรุงตริโปลีไว้ได้ และต่อมา ได้จับตัวและสังหาร Gaddafi ในที่สุด
อับดับ 3 : การก่อการร้ายในยุคหลัง Bin Laden
สถานการณ์โลกเรื่องที่มีความสำคัญเป็นอันดับ 3 ในรอบปีที่ผ่านมา คือ สถานการณ์การก่อการร้ายสากล ซึ่งในปีที่แล้ว ไฮไลท์อยู่ที่การสังหาร Bin Laden
Osama Bin Laden เป็นที่รู้จักไปทั่วโลก หลังจากการเกิดเหตุการณ์ 11 กันยาฯ 2001 โดยรัฐบาล Bush อ้างว่า Bin Laden ผู้นำ al-Qaeda เป็นผู้วางแผนในการก่อวินาศกรรมในเหตุการณ์ 11 กันยาฯ ปฏิบัติการไล่ล่า Bin Laden ได้ดำเนินมาเกือบ 10 ปี โดยมีข่าวว่า Bin Laden ได้หลบซ่อนตัวอยู่ในแถบเทือกเขาบริเวณพรมแดนระหว่างอัฟกานิสถานกับปากีสถาน แต่ในที่สุด เมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม ปีที่แล้ว ก็ได้มีข่าวแพร่ไปทั่วโลกว่า Bin Laden ได้ถูกสังหารแล้ว โดยหน่วยรบพิเศษของสหรัฐฯ ที่เมือง Abbottabad ใกล้กรุง Islamabad เมืองหลวงของปากีสถาน
อย่างไรก็ตาม การเสียชีวิตของ Bin Laden ไม่ได้ส่งผลกระทบมากนักต่อสถานการณ์การก่อการร้ายสากล และไม่ใช่จุดจบของการก่อการร้าย การก่อวินาศกรรมยังคงมีอยู่อย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้เพราะขณะนี้ ขบวนการก่อการร้ายได้กระจายไปทั่วโลก ซึ่งมีลักษณะเป็นองค์กรย่อยๆอยู่มากมาย ซึ่งองค์กรเหล่านี้มีอุดมการณ์ร่วมกัน คือ อุดมการณ์มุสลิมหัวรุนแรง ที่มีเป้าหมายในการขจัดอิทธิพลของตะวันตกให้ออกไปจากโลกมุสลิม และจัดตั้งรัฐอิสลามขึ้น แม้ว่า สหรัฐฯจะทำสงครามต่อต้านการก่อการร้ายมาเป็นเวลา 10 ปี แล้ว แต่สงครามกลับยืดเยื้อ และการก่อการร้ายก็เพิ่มมากขึ้นทั่วโลก แนวคิดของ Bin Laden และ al-Qaeda ก็ได้เป็นอุดมการณ์ที่แพร่ไปทั่วโลกมุสลิม
อันดับ 2 : การประชุมภาวะโลกร้อนที่อัฟริกาใต้
สำหรับสถานการณ์โลกเรื่องที่มีความสำคัญเป็นอันดับ 2 ในรอบปีที่ผ่านมา คือ การประชุมภาวะโลกร้อนที่อัฟริกาใต้
ปัญหาภาวะโลกร้อน ถือได้ว่าเป็นปัญหาสำคัญที่สุดของโลกปัญหาหนึ่ง แต่ก่อนหน้านี้ การประชุมภาวะโลกร้อน ที่กรุงโคเปนเฮเกน ในปี 2009 ก็ประสบความล้มเหลว โดยมี 3 เรื่องใหญ่ที่ยังตกลงกันไม่ได้ เรื่องแรก คือ รูปแบบของข้อตกลง ประเทศยากจนต้องการต่ออายุพิธีสารเกียวโต แต่ประเทศร่ำรวยต้องการสนธิสัญญาฉบับใหม่ เรื่องที่ 2 คือ การกำหนดปริมาณการปรับลดก๊าซเรือนกระจก ประเทศยากจนต้องการให้ประเทศร่ำรวยปรับลดก๊าซลง 40% ภายในปี 2020 และเรื่องที่ 3 คือ จำนวนเงินช่วยเหลือประเทศยากจน โดยประเทศยากจนเรียกร้องให้ประเทศร่ำรวยจ่ายเงิน 1% ของ GDP
สำหรับการประชุมภาวะโลกร้อนครั้งล่าสุดที่เมือง Durban ประเทศอัฟริกาใต้ เมื่อช่วงต้นเดือนธันวาคม ปีที่แล้ว นับว่าประสบความสำเร็จในระดับหนึ่ง โดยสามารถบรรลุข้อตกลงกันได้ ที่จะให้มีการจัดตั้งคณะทำงานเพื่อเจรจาจัดทำข้อตกลงฉบับใหม่ ให้เสร็จภายในปี 2015 และจะให้มีผลบังคับใช้ในปี 2020 โดยข้อตกลงดังกล่าว จะมีผลบังคับใช้กับทุกประเทศสมาชิก ซึ่งจะแตกต่างจากพิธีสารเกียวโต ซึ่งจะมีผลบังคับใช้กับประเทศอุตสาหกรรม หรือประเทศร่ำรวยเท่านั้น
นอกจากนี้ การประชุมครั้งนี้ ยังได้มีการตกลงจัดตั้ง Green Climate Fund กองทุนวงเงิน 1 แสนล้านเหรียญต่อปี ที่ประเทศร่ำรวยจะช่วยเหลือประเทศยากจนภายในปี 2020
อันดับ 1 : วิกฤต Eurozone
สำหรับสถานการณ์โลกเรื่องที่มีความสำคัญเป็นอันดับ 1 ในรอบปีที่ผ่านมา คือ เรื่อง วิกฤต Eurozone
วิกฤตหนี้ของยุโรป โดยเฉพาะประเทศที่ใช้เงินยูโร 17 ประเทศ ที่เรียกว่า Eurozone นั้น ในปีที่แล้ว เป็นปัญหาเข้าขั้นวิกฤต และมีแนวโน้มจะทรุดหนักลงเรื่อยๆ โดยในตอนแรก รัฐบาลที่ประสบภาวะหนี้สิน ได้แก่ กรีซ ไอร์แลนด์ และโปรตุเกส ต่อมา วิกฤตได้ลุกลามเข้าสู่อิตาลีและสเปน ซึ่งเป็นประเทศที่มีเศรษฐกิจขนาดใหญ่ ที่ผ่านมา เยอรมนีและฝรั่งเศส ประเทศที่มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่ที่สุดของ EU ได้เข้าช่วยกรีซ โปรตุเกส และไอร์แลนด์ แต่การที่วิกฤตได้ลามเข้าสู่อิตาลีและสเปน ทำให้เยอรมนีและฝรั่งเศสตกอยู่ในสถานะหนักมาก ในแง่เงินที่จะเข้าไปช่วยกอบกู้วิกฤตของอิตาลีและสเปน
ได้มีความพยายามกอบกู้วิกฤต ทั้งในกรอบของ EU IMF และ G20 รวมทั้งธนาคารกลางยุโรป แม้ว่า จะได้ประกาศจะซื้อพันธบัตรของรัฐบาลอิตาลีและสเปนแล้วก็ตาม แต่สถานการณ์ก็ยังไม่ดีขึ้น ต่อมา ได้มีการจัดประชุมสุดยอด Eurozone ขึ้นหลายครั้งในช่วงปลายปีที่แล้ว แต่ก็ไม่สามารถกอบกู้วิกฤตได้อย่างเป็นรูปธรรม โดยในการประชุมสุดยอด EU ครั้งล่าสุด ในช่วงเดือนธันวาคม เยอรมนีกับฝรั่งเศสพยายามผลักดันการจัดทำสนธิสัญญาฉบับใหม่ของ EU เพื่อให้มีบูรณาการทางการเงินที่เข้มข้น แต่ก็ไม่สำเร็จ เพราะอังกฤษได้ออกมาคัดค้าน
วิกฤต Eurozone ที่เกิดขึ้นในปีที่แล้ว ได้ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจโลกเป็นอย่างมาก โดยได้สร้างความปั่นป่วนให้กับตลาดหุ้นทั่วโลก ทำให้เกิดความวิตกกังวลมากขึ้นเรื่อยๆว่า กำลังจะเกิดวิกฤตเศรษฐกิจโลกครั้งใหม่หรือไม่ โดยยังไม่มีความแน่นอนว่า มาตรการกอบกู้วิกฤต โดยเฉพาะของ EU จะสามารถกอบกู้วิกฤต Eurozone ได้หรือไม่ ดังนั้น โอกาสที่จะวิกฤต Eurozone จะลุกลามบานปลายจนกลายเป็นวิกฤตการเงินโลกครั้งใหญ่ ก็อาจเป็นไปได้
สรุปสถานการณ์โลก ปี 2554 (ตอนที่ 1)
สรุปสถานการณ์โลก ปี 2554 (ตอนที่ 1)
ตีพิมพ์ใน สยามรัฐสัปดาหวิจารณ์ ฉบับวันศุกร์ที่ 30 ธันวาคม 2554 – วันพฤหัสบดีที่ 5 มกราคม 2555
คอลัมน์โลกทรรศน์ตอนนี้ จะเป็นคอลัมน์ส่งท้ายปีเก่า ต้อนรับปีใหม่ ก็ได้เวลาที่จะมาสรุป ประมวลเหตุการณ์สถานการณ์โลกที่เกิดขึ้นในรอบปีที่ผ่านมา และที่ผมได้ทำมาทุกปี คือ จะเลือกเรื่องที่สำคัญที่สุด 10 เรื่อง มาสรุป และจัดอันดับความสำคัญ โดยจะไล่ตั้งแต่อันดับ 10 ไปจนถึงอับดับ 1
อันดับ 10 : ความขัดแย้งไทย-กัมพูชา
สถานการณ์โลกเรื่องแรก ที่ในแง่ของไทยอาจจะมีความสำคัญเป็นอันดับ 1 แต่ในแง่ผลกระทบต่อโลก ก็น่าจะอยู่ประมาณอันดับ 10 คือ เรื่อง ความขัดแย้งไทย-กัมพูชา ซึ่งถือว่าเป็นความขัดแย้งทางทหารที่รุนแรงที่สุดในภูมิภาคอาเซียน
ความขัดแย้งไทย-กัมพูชา เป็นปัญหายืดเยื้อมานาน นับตั้งแต่กรณีเขาพระวิหาร แต่ได้ลุกลามบานปลายกลายเป็นการปะทะกันทางทหาร ในช่วงเดือนกุมภาพันธ์
และในวันที่ 14 กุมภาพันธ์ UNSC ได้ประชุมเรื่องความขัดแย้งไทย-กัมพูชา นับเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ความขัดแย้ง ถือเป็นความพ่ายแพ้ทางการทูตครั้งใหญ่ของไทย ที่ไม่ต้องการให้เรื่องนี้กลายเป็นประเด็นปัญหาระหว่างประเทศ UNSC ได้ขอให้ทั้ง 2 ฝ่ายหยุดยิงอย่างถาวร แก้ปัญหาด้วยการเจรจา และสนับสนุนให้อาเซียนมีบทบาทในการแก้ปัญหา
ต่อมาได้มีการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียนขึ้น เมื่อวันที่ 22 กุมภาพันธ์ ที่อินโดนีเซีย การที่อาเซียนเข้ามามีบทบาท ถือเป็นการพ่ายแพ้ทางการทูตครั้งใหญ่ของไทย โดยเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ของอาเซียน ที่ได้เข้ามาแก้ปัญหาความขัดแย้งระหว่างประเทศสมาชิก
อย่างไรก็ตาม หลังจากนั้น ก็ไม่มีความคืบหน้าทางการทูต การประชุม JBC ก็ไม่ได้มีผลอะไรเป็นรูปธรรม การประชุม GBC ก็ถูกยกเลิก และเกิดความล่าช้าในเรื่องผู้สังเกตการณ์ของอินโดนีเซีย นำไปสู่การเกิดการปะทะกันทางทหารอีกครั้งในเดือนเมษายน
ต่อมา ในเดือนพฤษภาคม ได้มีการประชุมคณะกรรมการมรดกโลก ไทยได้เรียกร้องให้ชะลอการขึ้นทะเบียนเขาพระวิหารเป็นมรดกโลก แต่ไม่ได้ผล ไทยจึงประกาศจะลาออกจากการเป็นสมาชิกคณะกรรมการมรดกโลก
และในช่วงปลายเดือนเมษายน กัมพูชาได้ทิ้งไพ่ใบสำคัญ โดยได้ยื่นเรื่องต่อศาลโลก ให้ตีความใหม่เกี่ยวกับคำตัดสินกรณีเขาพระวิหาร เมื่อปี 1962 โดยขอให้ตีความคำตัดสินที่บอกว่า การที่เขาพระวิหารเป็นของกัมพูชานั้น จะรวมถึงเขตทับซ้อนหรือไม่ ต่อมา ศาลโลกได้มีการกำหนดเขตปลอดทหาร และขอให้ทั้ง 2 ฝ่ายถอนทหารออกจากเขตดังกล่าว
อันดับ 9 : ยุทธศาสตร์เชิงรุกของสหรัฐฯต่อเอเชีย
สำหรับสถานการณ์โลกที่มีความสำคัญเป็นอันดับ 9 คือ บทบาทของสหรัฐฯต่อเอเชีย
ในปีนี้ สหรัฐฯเดินหน้ายุทธศาสตร์เชิงรุกต่อภูมิภาคอย่างเข้มข้น ทั้งในกรอบทวิภาคี และพหุภาคี ไฮไลท์ของยุทธศาสตร์สหรัฐฯต่อภูมิภาค เกิดขึ้นในระหว่างการเยือนออสเตรเลียของ Obama ในเดือนพฤศจิกายน Obama ได้กล่าวสุนทรพจน์ต่อรัฐสภาของออสเตรเลีย ประกาศนโยบายครั้งสำคัญของสหรัฐฯต่อเอเชียว่า สหรัฐฯกำลังจะปรับเปลี่ยนนโยบายทางทหารครั้งใหญ่ต่อเอเชีย และจะให้ความสำคัญต่อภูมิภาคนี้ เป็นลำดับสูงสุด ในปี 2012 จะส่งทหาร 2,500 นาย มาประจำการอยู่ที่เมือง Darwin ทางตอนเหนือของออสเตรเลีย ซึ่งอาจเป็นก้าวแรกของการจัดตั้งฐานทัพของสหรัฐฯในอนาคต
เวทีพหุภาคีที่สหรัฐฯให้ความสำคัญ คือ เวที East Asia Summit หรือ EAS โดย Obama ได้เข้าร่วมประชุม EAS เป็นครั้งแรกในเดือนพฤศจิกายน สหรัฐฯมองว่า การเป็นสมาชิก EAS จะทำให้สหรัฐฯเป็นส่วนหนึ่งของสถาปัตยกรรมในภูมิภาค จะช่วยป้องกันไม่ให้ประเทศเอเชียตะวันออกรวมกลุ่มกันโดยไม่มีสหรัฐฯ และจะเป็นส่วนหนึ่งของยุทธศาสตร์การปิดล้อมจีน
ยุทธศาสตร์เชิงรุกของสหรัฐฯในการปิดล้อมจีน ไม่ได้จำกัดอยู่เพียงทางด้านการทหารเท่านั้น แต่ยังรวมถึงยุทธศาสตร์การปิดล้อมจีนทางเศรษฐกิจด้วย เครื่องมือสำคัญ คือ การผลักดัน FTA ตัวใหม่ ที่มีชื่อว่า Trans-Pacific Partnership หรือ TPP ซึ่งได้มีการจัดประชุมสุดยอดสมาชิก TPP 9 ประเทศที่ฮาวาย ในช่วงเดือนพฤศจิกายน
อันดับ 8 : ความขัดแย้ง จีน-สหรัฐฯ
สำหรับสถานการณ์โลกที่มีความสำคัญเป็นอันดับ 8 คือ ความขัดแย้งระหว่างจีนกับสหรัฐฯ โดยในปีนี้ มีเหตุการณ์หลายเรื่องที่ส่อเค้าให้เห็นว่า ทั้ง 2 ประเทศจะกลับมาขัดแย้งกันอีก
ในเดือนมิถุนายน ทั้งจีนและสหรัฐฯซ้อมรบในทะเลจีนใต้
ต่อมาในเดือนสิงหาคม ผู้นำฝ่ายทหารของสหรัฐฯ คือ Mike Mullen ได้ตอกย้ำว่า สหรัฐฯจะเดินหน้าปฏิบัติการสอดแนมทางทหาร ทั้งทางทะเลและทางอากาศ ใกล้ชายฝั่งของจีนต่อไป
ทุกๆปี กระทรวงกลาโหมสหรัฐฯจะเผยแพร่เอกสารประเมินแสนยานุภาพทางทหารของจีน สำหรับในปีนี้ เอกสารดังกล่าว ได้วิเคราะห์ว่า การผงาดขึ้นมาของจีน จะส่งผลกระทบอย่างมากต่อสภาวะแวดล้อมทางยุทธศาสตร์ โดยจีนให้ความสำคัญต่อการเตรียมพร้อมในการทำสงครามกับไต้หวัน
นอกจากทางด้านการทหารแล้ว ความขัดแย้งระหว่างจีน-สหรัฐฯ ยังได้ลุกลามขยายวงเข้าสู่มิติทางด้านเศรษฐกิจด้วย ในช่วงเดือนตุลาคม ปัญหาความขัดแย้งในเรื่องค่าเงินหยวนได้ปะทุขึ้นมาอีกครั้ง วุฒิสภาของสหรัฐฯได้ผ่านร่างกฎหมายที่จะให้มีการตอบโต้ โดยการขึ้นภาษีนำเข้าจากประเทศที่มีค่าเงินต่ำกว่าความเป็นจริง โดยเป้าของกฎหมายฉบับนี้ ก็คือ จีน แต่จีนก็ได้ออกมาเตือนว่า กฎหมายดังกล่าว จะเป็นการเปิดฉากสงครามการค้าระหว่างสหรัฐฯกับจีน
อับดับ 7 : ความขัดแย้งในทะเลจีนใต้
สำหรับสถานการณ์โลกที่มีความสำคัญเป็นอับดับ 7 คือ ปัญหาความขัดแย้งในทะเลจีนใต้ ซึ่งนับเป็นความขัดแย้งที่วิกฤตที่สุดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และอาจลุกลามกลายเป็นสงครามในอนาคตได้
ในช่วงเดือนมิถุนายน วิกฤตได้ปะทุขึ้นมาอีกครั้ง โดยเวียดนามได้กล่าวโจมตีจีนอย่างรุนแรงว่า เรือรบของจีนได้ทำลายสายเคเบิลเรือสำรวจก๊าซและน้ำมันของเวียดนาม และต่อมา ได้มีการเดินขบวนของชาวเวียดนามนับพันคนเพื่อประท้วงจีน ส่วนจีน ก็ได้ตอบโต้และย้ำถึงอำนาจอธิปไตยของจีนเหนือหมู่เกาะสแปรตลีย์ โดยกล่าวหาเวียดนามว่า สำรวจน้ำมันอย่างผิดกฎหมาย และละเมิดอธิปไตยของจีนอย่างรุนแรง
ฟิลิปปินส์ก็ได้ออกแถลงการณ์โจมตีจีนอย่างรุนแรง โดยกล่าวหาว่า เรือรบจีนได้ยิงปืนเข้าใส่เรือประมงของฟิลิปปินส์ ในบริเวณเกาะ Jackson Atoll ซึ่งฟิลิปปินส์อ้างว่าเป็นของตน แต่ทูตจีนประจำฟิลิปปินส์ได้ออกมาปฏิเสธข้อกล่าวหา โดยตอกย้ำว่า จีนต้องการสันติภาพ และจะไม่ใช้กำลัง นอกจากจะถูกโจมตีก่อน
ตัวแปรสำคัญและผู้ที่อยู่เบื้องหลังฉากความขัดแย้งนี้ คือ สหรัฐฯ โดยการที่สหรัฐฯเข้ามายุ่งกับปัญหานี้และยุแหย่ให้จีนกับอาเซียนทะเลาะกัน เป็นเป้าหมายของสหรัฐฯ เพื่อเปิดช่องให้สหรัฐฯเข้ามามีบทบาททางทหารในภูมิภาคมากขึ้น และเพื่อปิดล้อมจีนทางทหารด้วย
อันดับ 6 : ปัญหาอิหร่าน
สถานการณ์โลกเรื่องที่มีความสำคัญเป็นอันดับ 6 คือ ปัญหาที่เกี่ยวข้องกับอิหร่าน โดยเรื่องหลัก คือ การพัฒนาอาวุธนิวเคลียร์ของอิหร่าน และความขัดแย้งกับสหรัฐฯ
ในเดือนตุลาคม ได้เกิดประเด็นร้อนระหว่า
งสหรัฐฯกับอิหร่าน โดยรัฐบาลสหรัฐฯ ได้เปิดเผยแผนของอิหร่านที่จะลอบสังหารทูตซาอุดิอาระเบียประจำสหรัฐฯ รวมทั้งแผนก่อวินาศกรรมระเบิดสถานทูตซาอุดิอาระเบีย และอิสราเอล ในกรุงวอชิงตัน ดี ซี โดยผู้ที่อยู่เบื้องหลัง คือ องค์กร Quds Force ของรัฐบาลอิหร่าน ซึ่งเป็นองค์กรที่สหรัฐฯกล่าวหาว่า ให้ความช่วยเหลือตาลีบันในอัฟกานิสถาน และโจมตีทหารสหรัฐฯในอิรัก
หลังจากนั้น วิกฤตอิหร่านได้ลุกลามบานปลายมากขึ้น โดยเฉพาะหลังจากที่ IAEA ได้ออกมาเปิดเผยว่า มีหลักฐานว่า อิหร่านกำลังแอบพัฒนาอาวุธนิวเคลียร์ ซึ่งนับเป็นครั้งแรกที่ IAEA ออกมาประกาศเช่นนี้ โดยก่อนหน้านี้ อิหร่านประกาศมาตลอดว่า อิหร่านต้องการพัฒนาพลังงานนิวเคลียร์เพื่อใช้อย่างสันติ โดยหลังจากการเปิดเผยของ IAEA ก็ทำให้หลายฝ่ายในสหรัฐฯ ตื่นตระหนกต่อภัยคุกคามจากอิหร่าน และได้มีเสียงเรียกร้องให้ใช้กำลังทหารโจมตีโรงงานนิวเคลียร์ของอิหร่าน
(โปรดอ่านต่อตอนจบในคอลัมน์โลกทรรศน์สัปดาห์หน้า ซึ่งจะสรุปสถานการณ์โลกอันดับที่ 1-5)
ตีพิมพ์ใน สยามรัฐสัปดาหวิจารณ์ ฉบับวันศุกร์ที่ 30 ธันวาคม 2554 – วันพฤหัสบดีที่ 5 มกราคม 2555
คอลัมน์โลกทรรศน์ตอนนี้ จะเป็นคอลัมน์ส่งท้ายปีเก่า ต้อนรับปีใหม่ ก็ได้เวลาที่จะมาสรุป ประมวลเหตุการณ์สถานการณ์โลกที่เกิดขึ้นในรอบปีที่ผ่านมา และที่ผมได้ทำมาทุกปี คือ จะเลือกเรื่องที่สำคัญที่สุด 10 เรื่อง มาสรุป และจัดอันดับความสำคัญ โดยจะไล่ตั้งแต่อันดับ 10 ไปจนถึงอับดับ 1
อันดับ 10 : ความขัดแย้งไทย-กัมพูชา
สถานการณ์โลกเรื่องแรก ที่ในแง่ของไทยอาจจะมีความสำคัญเป็นอันดับ 1 แต่ในแง่ผลกระทบต่อโลก ก็น่าจะอยู่ประมาณอันดับ 10 คือ เรื่อง ความขัดแย้งไทย-กัมพูชา ซึ่งถือว่าเป็นความขัดแย้งทางทหารที่รุนแรงที่สุดในภูมิภาคอาเซียน
ความขัดแย้งไทย-กัมพูชา เป็นปัญหายืดเยื้อมานาน นับตั้งแต่กรณีเขาพระวิหาร แต่ได้ลุกลามบานปลายกลายเป็นการปะทะกันทางทหาร ในช่วงเดือนกุมภาพันธ์
และในวันที่ 14 กุมภาพันธ์ UNSC ได้ประชุมเรื่องความขัดแย้งไทย-กัมพูชา นับเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ความขัดแย้ง ถือเป็นความพ่ายแพ้ทางการทูตครั้งใหญ่ของไทย ที่ไม่ต้องการให้เรื่องนี้กลายเป็นประเด็นปัญหาระหว่างประเทศ UNSC ได้ขอให้ทั้ง 2 ฝ่ายหยุดยิงอย่างถาวร แก้ปัญหาด้วยการเจรจา และสนับสนุนให้อาเซียนมีบทบาทในการแก้ปัญหา
ต่อมาได้มีการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียนขึ้น เมื่อวันที่ 22 กุมภาพันธ์ ที่อินโดนีเซีย การที่อาเซียนเข้ามามีบทบาท ถือเป็นการพ่ายแพ้ทางการทูตครั้งใหญ่ของไทย โดยเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ของอาเซียน ที่ได้เข้ามาแก้ปัญหาความขัดแย้งระหว่างประเทศสมาชิก
อย่างไรก็ตาม หลังจากนั้น ก็ไม่มีความคืบหน้าทางการทูต การประชุม JBC ก็ไม่ได้มีผลอะไรเป็นรูปธรรม การประชุม GBC ก็ถูกยกเลิก และเกิดความล่าช้าในเรื่องผู้สังเกตการณ์ของอินโดนีเซีย นำไปสู่การเกิดการปะทะกันทางทหารอีกครั้งในเดือนเมษายน
ต่อมา ในเดือนพฤษภาคม ได้มีการประชุมคณะกรรมการมรดกโลก ไทยได้เรียกร้องให้ชะลอการขึ้นทะเบียนเขาพระวิหารเป็นมรดกโลก แต่ไม่ได้ผล ไทยจึงประกาศจะลาออกจากการเป็นสมาชิกคณะกรรมการมรดกโลก
และในช่วงปลายเดือนเมษายน กัมพูชาได้ทิ้งไพ่ใบสำคัญ โดยได้ยื่นเรื่องต่อศาลโลก ให้ตีความใหม่เกี่ยวกับคำตัดสินกรณีเขาพระวิหาร เมื่อปี 1962 โดยขอให้ตีความคำตัดสินที่บอกว่า การที่เขาพระวิหารเป็นของกัมพูชานั้น จะรวมถึงเขตทับซ้อนหรือไม่ ต่อมา ศาลโลกได้มีการกำหนดเขตปลอดทหาร และขอให้ทั้ง 2 ฝ่ายถอนทหารออกจากเขตดังกล่าว
อันดับ 9 : ยุทธศาสตร์เชิงรุกของสหรัฐฯต่อเอเชีย
สำหรับสถานการณ์โลกที่มีความสำคัญเป็นอันดับ 9 คือ บทบาทของสหรัฐฯต่อเอเชีย
ในปีนี้ สหรัฐฯเดินหน้ายุทธศาสตร์เชิงรุกต่อภูมิภาคอย่างเข้มข้น ทั้งในกรอบทวิภาคี และพหุภาคี ไฮไลท์ของยุทธศาสตร์สหรัฐฯต่อภูมิภาค เกิดขึ้นในระหว่างการเยือนออสเตรเลียของ Obama ในเดือนพฤศจิกายน Obama ได้กล่าวสุนทรพจน์ต่อรัฐสภาของออสเตรเลีย ประกาศนโยบายครั้งสำคัญของสหรัฐฯต่อเอเชียว่า สหรัฐฯกำลังจะปรับเปลี่ยนนโยบายทางทหารครั้งใหญ่ต่อเอเชีย และจะให้ความสำคัญต่อภูมิภาคนี้ เป็นลำดับสูงสุด ในปี 2012 จะส่งทหาร 2,500 นาย มาประจำการอยู่ที่เมือง Darwin ทางตอนเหนือของออสเตรเลีย ซึ่งอาจเป็นก้าวแรกของการจัดตั้งฐานทัพของสหรัฐฯในอนาคต
เวทีพหุภาคีที่สหรัฐฯให้ความสำคัญ คือ เวที East Asia Summit หรือ EAS โดย Obama ได้เข้าร่วมประชุม EAS เป็นครั้งแรกในเดือนพฤศจิกายน สหรัฐฯมองว่า การเป็นสมาชิก EAS จะทำให้สหรัฐฯเป็นส่วนหนึ่งของสถาปัตยกรรมในภูมิภาค จะช่วยป้องกันไม่ให้ประเทศเอเชียตะวันออกรวมกลุ่มกันโดยไม่มีสหรัฐฯ และจะเป็นส่วนหนึ่งของยุทธศาสตร์การปิดล้อมจีน
ยุทธศาสตร์เชิงรุกของสหรัฐฯในการปิดล้อมจีน ไม่ได้จำกัดอยู่เพียงทางด้านการทหารเท่านั้น แต่ยังรวมถึงยุทธศาสตร์การปิดล้อมจีนทางเศรษฐกิจด้วย เครื่องมือสำคัญ คือ การผลักดัน FTA ตัวใหม่ ที่มีชื่อว่า Trans-Pacific Partnership หรือ TPP ซึ่งได้มีการจัดประชุมสุดยอดสมาชิก TPP 9 ประเทศที่ฮาวาย ในช่วงเดือนพฤศจิกายน
อันดับ 8 : ความขัดแย้ง จีน-สหรัฐฯ
สำหรับสถานการณ์โลกที่มีความสำคัญเป็นอันดับ 8 คือ ความขัดแย้งระหว่างจีนกับสหรัฐฯ โดยในปีนี้ มีเหตุการณ์หลายเรื่องที่ส่อเค้าให้เห็นว่า ทั้ง 2 ประเทศจะกลับมาขัดแย้งกันอีก
ในเดือนมิถุนายน ทั้งจีนและสหรัฐฯซ้อมรบในทะเลจีนใต้
ต่อมาในเดือนสิงหาคม ผู้นำฝ่ายทหารของสหรัฐฯ คือ Mike Mullen ได้ตอกย้ำว่า สหรัฐฯจะเดินหน้าปฏิบัติการสอดแนมทางทหาร ทั้งทางทะเลและทางอากาศ ใกล้ชายฝั่งของจีนต่อไป
ทุกๆปี กระทรวงกลาโหมสหรัฐฯจะเผยแพร่เอกสารประเมินแสนยานุภาพทางทหารของจีน สำหรับในปีนี้ เอกสารดังกล่าว ได้วิเคราะห์ว่า การผงาดขึ้นมาของจีน จะส่งผลกระทบอย่างมากต่อสภาวะแวดล้อมทางยุทธศาสตร์ โดยจีนให้ความสำคัญต่อการเตรียมพร้อมในการทำสงครามกับไต้หวัน
นอกจากทางด้านการทหารแล้ว ความขัดแย้งระหว่างจีน-สหรัฐฯ ยังได้ลุกลามขยายวงเข้าสู่มิติทางด้านเศรษฐกิจด้วย ในช่วงเดือนตุลาคม ปัญหาความขัดแย้งในเรื่องค่าเงินหยวนได้ปะทุขึ้นมาอีกครั้ง วุฒิสภาของสหรัฐฯได้ผ่านร่างกฎหมายที่จะให้มีการตอบโต้ โดยการขึ้นภาษีนำเข้าจากประเทศที่มีค่าเงินต่ำกว่าความเป็นจริง โดยเป้าของกฎหมายฉบับนี้ ก็คือ จีน แต่จีนก็ได้ออกมาเตือนว่า กฎหมายดังกล่าว จะเป็นการเปิดฉากสงครามการค้าระหว่างสหรัฐฯกับจีน
อับดับ 7 : ความขัดแย้งในทะเลจีนใต้
สำหรับสถานการณ์โลกที่มีความสำคัญเป็นอับดับ 7 คือ ปัญหาความขัดแย้งในทะเลจีนใต้ ซึ่งนับเป็นความขัดแย้งที่วิกฤตที่สุดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และอาจลุกลามกลายเป็นสงครามในอนาคตได้
ในช่วงเดือนมิถุนายน วิกฤตได้ปะทุขึ้นมาอีกครั้ง โดยเวียดนามได้กล่าวโจมตีจีนอย่างรุนแรงว่า เรือรบของจีนได้ทำลายสายเคเบิลเรือสำรวจก๊าซและน้ำมันของเวียดนาม และต่อมา ได้มีการเดินขบวนของชาวเวียดนามนับพันคนเพื่อประท้วงจีน ส่วนจีน ก็ได้ตอบโต้และย้ำถึงอำนาจอธิปไตยของจีนเหนือหมู่เกาะสแปรตลีย์ โดยกล่าวหาเวียดนามว่า สำรวจน้ำมันอย่างผิดกฎหมาย และละเมิดอธิปไตยของจีนอย่างรุนแรง
ฟิลิปปินส์ก็ได้ออกแถลงการณ์โจมตีจีนอย่างรุนแรง โดยกล่าวหาว่า เรือรบจีนได้ยิงปืนเข้าใส่เรือประมงของฟิลิปปินส์ ในบริเวณเกาะ Jackson Atoll ซึ่งฟิลิปปินส์อ้างว่าเป็นของตน แต่ทูตจีนประจำฟิลิปปินส์ได้ออกมาปฏิเสธข้อกล่าวหา โดยตอกย้ำว่า จีนต้องการสันติภาพ และจะไม่ใช้กำลัง นอกจากจะถูกโจมตีก่อน
ตัวแปรสำคัญและผู้ที่อยู่เบื้องหลังฉากความขัดแย้งนี้ คือ สหรัฐฯ โดยการที่สหรัฐฯเข้ามายุ่งกับปัญหานี้และยุแหย่ให้จีนกับอาเซียนทะเลาะกัน เป็นเป้าหมายของสหรัฐฯ เพื่อเปิดช่องให้สหรัฐฯเข้ามามีบทบาททางทหารในภูมิภาคมากขึ้น และเพื่อปิดล้อมจีนทางทหารด้วย
อันดับ 6 : ปัญหาอิหร่าน
สถานการณ์โลกเรื่องที่มีความสำคัญเป็นอันดับ 6 คือ ปัญหาที่เกี่ยวข้องกับอิหร่าน โดยเรื่องหลัก คือ การพัฒนาอาวุธนิวเคลียร์ของอิหร่าน และความขัดแย้งกับสหรัฐฯ
ในเดือนตุลาคม ได้เกิดประเด็นร้อนระหว่า
งสหรัฐฯกับอิหร่าน โดยรัฐบาลสหรัฐฯ ได้เปิดเผยแผนของอิหร่านที่จะลอบสังหารทูตซาอุดิอาระเบียประจำสหรัฐฯ รวมทั้งแผนก่อวินาศกรรมระเบิดสถานทูตซาอุดิอาระเบีย และอิสราเอล ในกรุงวอชิงตัน ดี ซี โดยผู้ที่อยู่เบื้องหลัง คือ องค์กร Quds Force ของรัฐบาลอิหร่าน ซึ่งเป็นองค์กรที่สหรัฐฯกล่าวหาว่า ให้ความช่วยเหลือตาลีบันในอัฟกานิสถาน และโจมตีทหารสหรัฐฯในอิรัก
หลังจากนั้น วิกฤตอิหร่านได้ลุกลามบานปลายมากขึ้น โดยเฉพาะหลังจากที่ IAEA ได้ออกมาเปิดเผยว่า มีหลักฐานว่า อิหร่านกำลังแอบพัฒนาอาวุธนิวเคลียร์ ซึ่งนับเป็นครั้งแรกที่ IAEA ออกมาประกาศเช่นนี้ โดยก่อนหน้านี้ อิหร่านประกาศมาตลอดว่า อิหร่านต้องการพัฒนาพลังงานนิวเคลียร์เพื่อใช้อย่างสันติ โดยหลังจากการเปิดเผยของ IAEA ก็ทำให้หลายฝ่ายในสหรัฐฯ ตื่นตระหนกต่อภัยคุกคามจากอิหร่าน และได้มีเสียงเรียกร้องให้ใช้กำลังทหารโจมตีโรงงานนิวเคลียร์ของอิหร่าน
(โปรดอ่านต่อตอนจบในคอลัมน์โลกทรรศน์สัปดาห์หน้า ซึ่งจะสรุปสถานการณ์โลกอันดับที่ 1-5)
แนวโน้มสถานการณ์โลก ปี 2012 (ตอนจบ)
แนวโน้มสถานการณ์โลก ปี 2012 (ตอนจบ)
คอลัมน์โลกปริทรรศน์
25 ธันวาคม 2554
คอลัมน์โลกปริทรรศน์ตอนที่แล้ว ผมได้วิเคราะห์แนวโน้มสถานการณ์โลก ปี 2012 ไปบ้างแล้ว โดยการวิเคราะห์ดังกล่าว เป็นการสรุป วิเคราะห์ จากเอกสารของ Council on Foreign Relations ซึ่งเป็น think tank ที่มีชื่อเสียงของสหรัฐฯ ซึ่งได้เผยแพร่เอกสาร ชื่อ “Preventive Priorities Survey : 2012” คาดการณ์สถานการณ์โลกในปี 2012 โดยเฉพาะที่เกี่ยวกับภัยคุกคามที่เกี่ยวข้องกับผลประโยชน์ของสหรัฐฯ
เอกสารดังกล่าว ถูกจัดทำขึ้นเพื่อมองถึงแนวโน้มสถานการณ์โลกในปี 2012 โดย Center for Preventive Action ของ Council on Foreign Relations ได้จัดทำการสำรวจกลุ่มข้าราชการ นักวิชาการ และผู้เชี่ยวชาญ เพื่อจัดทำรายการเกี่ยวกับภัยคุกคามในปี 2012 โดยรายการดังกล่าว ได้แบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม ซึ่งจะแตกต่างกันออกไปตามผลประโยชน์แห่งชาติของสหรัฐฯ และแตกต่างกันไปตามระดับของความเสี่ยง และลักษณะของความขัดแย้ง โดยรายการของสถานการณ์ในกลุ่มที่ 1 เป็นสถานการณ์ที่คุกคามต่อผลประโยชน์ของสหรัฐฯโดยตรง ซึ่งมีความเป็นไปได้ว่า อาจนำไปสู่การที่สหรัฐฯ จะต้องใช้กำลังทางทหารเพื่อจัดการกับภัยคุกคามดังกล่าว ทั้งนี้ เพราะพันธกรณีตามสนธิสัญญาทางทหาร โดยรวมถึงภัยคุกคามต่อทรัพยากรที่มีความสำคัญต่อยุทธศาสตร์ของสหรัฐฯ
ตอนที่แล้วได้สรุป วิเคราะห์กลุ่มที่ 1 ไปแล้ว คอลัมน์ในตอนนี้ จะมาวิเคราะห์ต่อในกลุ่มที่ 2 และกลุ่มที่ 3
กลุ่มที่ 2
สำหรับเรื่องที่อยู่ในกลุ่มที่ 2 นี้ จะเป็นภัยคุกคามที่กระทบต่อประเทศที่มีความสำคัญทางยุทธศาสตร์ของสหรัฐฯ แต่ไม่กระทบต่อผลประโยชน์ของสหรัฐฯโดยตรง และไม่เกี่ยวข้องกับประเทศที่เป็นพันธมิตรทางทหารของสหรัฐฯ ซึ่งประเด็นปัญหาในกลุ่มที่ 2 แบ่งออกได้ ดังนี้
• ตะวันออกกลาง
สถานการณ์ความไร้เสถียรภาพทางการเมืองในตะวันออกกลาง จะยังคงเป็นปัญหาต่อไปในปี 2012 โดยประเทศแรกที่สหรัฐฯจับตามอง คือ ความวุ่นวายทางการเมืองในอียิปต์ ซึ่งแม้ในปีนี้ การลุกฮือขึ้นโค่นล้มรัฐบาล Mubarak จะประสบความสำเร็จไปแล้ว และดูเหมือนว่า อียิปต์จะเดินหน้าสู่ความเป็นประชาธิปไตยไปแล้ว แต่การเมืองของอียิปต์ยังไม่นิ่ง เพราะยังมีความขัดแย้งกันระหว่างหลายกลุ่ม โดยเฉพาะระหว่างฝ่ายทหาร ฝ่ายพลเรือน และการเพิ่มอิทธิพลมากขึ้นเรื่อยๆ ของกลุ่มหัวรุนแรง
จุดอันตรายอีกหนึ่งจุดในตะวันออกกลาง คือ ความขัดแย้งระหว่างอิสราเอลกับตุรกี ซึ่งกำลังมีแนวโน้มของความตึงเครียด และความขัดแย้งเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ รวมถึงมีแนวโน้มที่อิสราเอลอาจถูกโจมตี ทั้งจากขบวนการก่อการร้าย หรือจากอิหร่าน ก่อให้เกิดความสูญเสียครั้งใหญ่
สำหรับสถานการณ์ในซีเรีย ในปี 2012 ยังคงน่าวิตก หลังจากในปีนี้ ได้มีความวุ่นวายทางการเมืองอย่างหนัก และปี 2012 คาดว่า จะยังคงมีความวุ่นวายต่อไป และอาจลุกลามบานปลายมากขึ้น จนถึงขั้นอาจต้องมีการแทรกแซงจากภายนอก ซึ่งจะทำให้สถานการณ์คล้ายกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในลิเบียในปีนี้
นอกจากนี้ ความวุ่นวายทางการเมืองในเยเมนและบาเรน ก็ยังเป็นเรื่องน่าห่วง สำหรับปี 2012 โดยเฉพาะในบาเรน หากเกิดความวุ่นวายบานปลาย อาจจะทำให้ประเทศเพื่อนบ้าน คือ ซาอุดิอาระเบีย และอิหร่าน เข้าแทรกแซงทางทหารได้ ซึ่งก็จะทำให้วุ่นวายกันใหญ่
• เอเชีย
สำหรับในเอเชีย มี 2 เรื่องที่จัดอยู่ในกลุ่มที่ 2 ที่เป็นภัยคุกคามกระทบต่อประเทศที่มีความสำคัญทางยุทธศาสตร์ของสหรัฐฯ
จุดแรก คือ ความขัดแย้งระหว่างอินเดียกับปากีสถาน ซึ่งยังคงมีปัญหาคุกรุ่นกันอยู่ และวิกฤตมีความเสี่ยงที่อาจลุกลามบานปลายไปสู่การใช้กำลังทางทหาร โดยอาจมีการผสมโรงจากขบวนการก่อการร้าย
สำหรับจุดร้อนอีก 1 จุด ในเอเชีย คือ ทะเลจีนใต้ ปีนี้ ความขัดแย้งในทะเลจีนใต้ร้อนแรงขึ้นเรื่อยๆ โดยเฉพาะระหว่างจีนกับเวียดนาม และจีนกับฟิลิปปินส์ โดยมีสหรัฐฯเป็นตัวยุแหย่ ให้เกิดความขัดแย้งหนักขึ้น เห็นได้ชัดว่า สหรัฐฯได้เข้ามาวุ่นวายในความขัดแย้งนี้มากขึ้นเรื่อยๆ โดยเข้าไปถือหางทั้งเวียดนามและฟิลิปปินส์ ด้วยการเข้าไปกระชับความสัมพันธ์ทางทหารกับทั้ง 2 ประเทศ ล่าสุด สหรัฐฯก็ประกาศจะส่งทหารมาประจำการอยู่ที่เมือง Darwin ทางตอนเหนือของออสเตรเลีย ซึ่งในอนาคต อาจพัฒนาเป็นฐานทัพใหม่ของสหรัฐฯ Darwin มีความสำคัญทางภูมิรัฐศาสตร์เพราะอยู่ใกล้กับทะเลจีนใต้มาก ดังนั้น จากแนวโน้มในปีนี้ ชี้ให้เห็นว่า ปี 2012 โอกาสของความขัดแย้งทางทหารในทะเลจีนใต้ ก็เพิ่มสูงขึ้น
อีกประเทศหนึ่งในเอเชียใต้ที่ยังน่าเป็นห่วง คือ อัฟกานิสถาน แม้ว่าสหรัฐฯจะพยายามทำสงครามเอาชนะนักรบตาลีบัน แต่ขณะนี้ ผลกลับตรงกันข้าม เพราะฝ่ายตาลีบันอยู่ในสถานะได้เปรียบขึ้นเรื่อยๆ แม้ว่าสหรัฐฯจะประกาศที่จะถอนทหารออกจากอัฟกานิสถานในอนาคต แต่แนวโน้มในปี 2012 คาดว่า สถานการณ์ในอัฟกานิสถาน จะยังคงไม่ดีขึ้น โดยอาจมีแนวโน้มที่จะทรุดหนักลงเสียด้วยซ้ำ โดยเฉพาะแนวโน้มของการที่ฝ่ายตาลีบันจะรุกคืบยึดพื้นที่ในอัฟกานิสถานได้มากขึ้น และกองกำลังนาโต้อาจต้องถอยร่นลงไปเรื่อยๆ
กลุ่มที่ 3
จะเป็นประเด็นปัญหาและภัยคุกคาม ที่จะมีผลกระทบทางด้านมนุษยธรรม แต่จะเกิดขึ้นในประเทศที่ไม่มีความสำคัญทางยุทธศาสตร์ต่อสหรัฐฯ โดยจะเป็นปัญหาความขัดแย้งในภูมิภาคเหล่านี้
• อัฟริกา
อัฟริกาเป็นทวีปและภูมิภาคที่ไม่มีความสำคัญทางยุทธศาสตร์ต่อสหรัฐฯ ดังนั้น แม้ว่า ในปี 2012 จะยังคงมีความขัดแย้งเกิดขึ้นหลายจุด แต่จะไม่สำคัญในสายตาของสหรัฐฯ
จุดล่อแหลมที่มีแนวโน้มจะเกิดสงครามและความขัดแย้งทางทหาร ได้แก่ ความขัดแย้งระหว่างซูดานกับซูดานใต้ (ชื่อเดิม คือ ดาร์ฟู)
นอกจากนี้ ยังมีแนวโน้มที่จะมีความวุ่นวายทางการเมือง และสงครามเกิดขึ้นในหลายประเทศในภูมิภาค ที่สำคัญได้แก่ ไนจีเรีย สำหรับความไม่สงบในโซมาเลีย ก็มีแนวโน้มจะขัดแย้งกันมากขึ้น และอาจมีการแทรกแซงจากประเทศภายนอก นอกจากนี้ เคนยา และคองโก ก็เป็นประเทศที่ล่อแหลม ที่จะมีความขัดแย้งในปี 2012
• คอเคซัส
อีกภูมิภาคที่มีแนวโน้มที่จะขัดแย้งกัน แต่เป็นภูมิภาคที่ไม่มีความสำคัญต่อสหรัฐฯ คือ แถบเทือกเขาคอเคซัส ซึ่งจะมีจุดอันตราย 2 จุด จุดแรก คือ ความขัดแย้งทางทหารระหว่างรัสเซียกับจอร์เจีย โดย 2 ประเทศได้ทำสงครามกันมาตั้งแต่ ปี 2008 แล้ว แต่ขณะนี้ การเจรจาเพื่อยุติความขัดแย้งยังไม่ประสบความสำเร็จ และมีแนวโน้มที่จะเกิดสงครามขึ้นได้อีก
ส่วนอีกจุดหนึ่ง คือ ความขัดแย้งระหว่างอาร์เมเนียกับอาเซอร์ไบจาน ซึ่งขัดแย้งกันมานานหลายปีแล้ว ในกรณีพิพาทในเขต Nagorno Karabakh ปี 2012 มีความเป็นไปได้ว่า ความขัดแย้งระหว่างประเทศทั้งสอง อาจลุกลามบานปลายกลายเป็นสงครามได้
• ภูมิภาคอื่นๆ
สำหรับในภูมิภาคอื่นๆ ก็ยังมีอีกหลายประเด็นความขัดแย้ง ที่อาจกลายเป็นประเด็นร้อนในปี 2012 แต่จะไม่มีความสำคัญต่อสหรัฐฯ ได้แก่ ความขัดแย้งและความวุ่นวายทางการเมืองในลิเบีย แม้ว่าจะโค่นรัฐบาล Gaddafi ลงได้ในปีนี้ แต่ลิเบียในยุคหลัง Gaddafi มีแนวโน้มที่จะเกิดความไม่สงบขึ้น และจะมีความขัดแย้งกันหลายฝักหลายฝ่าย ส่วนในเอเชียกลาง ก็มีแนวโน้มของความวุ่นวายทางการเมือง โดยเฉพาะในประเทศคีร์กีซสถาน ส่วนในลาตินอเมริกา ก็จะมีประเทศเวเนซุเอลา ที่อาจมีปัญหาความวุ่นวายทางการเมืองเกิดขึ้นในปี 2012 โดยเฉพาะในยุคหลัง Chavez
คอลัมน์โลกปริทรรศน์
25 ธันวาคม 2554
คอลัมน์โลกปริทรรศน์ตอนที่แล้ว ผมได้วิเคราะห์แนวโน้มสถานการณ์โลก ปี 2012 ไปบ้างแล้ว โดยการวิเคราะห์ดังกล่าว เป็นการสรุป วิเคราะห์ จากเอกสารของ Council on Foreign Relations ซึ่งเป็น think tank ที่มีชื่อเสียงของสหรัฐฯ ซึ่งได้เผยแพร่เอกสาร ชื่อ “Preventive Priorities Survey : 2012” คาดการณ์สถานการณ์โลกในปี 2012 โดยเฉพาะที่เกี่ยวกับภัยคุกคามที่เกี่ยวข้องกับผลประโยชน์ของสหรัฐฯ
เอกสารดังกล่าว ถูกจัดทำขึ้นเพื่อมองถึงแนวโน้มสถานการณ์โลกในปี 2012 โดย Center for Preventive Action ของ Council on Foreign Relations ได้จัดทำการสำรวจกลุ่มข้าราชการ นักวิชาการ และผู้เชี่ยวชาญ เพื่อจัดทำรายการเกี่ยวกับภัยคุกคามในปี 2012 โดยรายการดังกล่าว ได้แบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม ซึ่งจะแตกต่างกันออกไปตามผลประโยชน์แห่งชาติของสหรัฐฯ และแตกต่างกันไปตามระดับของความเสี่ยง และลักษณะของความขัดแย้ง โดยรายการของสถานการณ์ในกลุ่มที่ 1 เป็นสถานการณ์ที่คุกคามต่อผลประโยชน์ของสหรัฐฯโดยตรง ซึ่งมีความเป็นไปได้ว่า อาจนำไปสู่การที่สหรัฐฯ จะต้องใช้กำลังทางทหารเพื่อจัดการกับภัยคุกคามดังกล่าว ทั้งนี้ เพราะพันธกรณีตามสนธิสัญญาทางทหาร โดยรวมถึงภัยคุกคามต่อทรัพยากรที่มีความสำคัญต่อยุทธศาสตร์ของสหรัฐฯ
ตอนที่แล้วได้สรุป วิเคราะห์กลุ่มที่ 1 ไปแล้ว คอลัมน์ในตอนนี้ จะมาวิเคราะห์ต่อในกลุ่มที่ 2 และกลุ่มที่ 3
กลุ่มที่ 2
สำหรับเรื่องที่อยู่ในกลุ่มที่ 2 นี้ จะเป็นภัยคุกคามที่กระทบต่อประเทศที่มีความสำคัญทางยุทธศาสตร์ของสหรัฐฯ แต่ไม่กระทบต่อผลประโยชน์ของสหรัฐฯโดยตรง และไม่เกี่ยวข้องกับประเทศที่เป็นพันธมิตรทางทหารของสหรัฐฯ ซึ่งประเด็นปัญหาในกลุ่มที่ 2 แบ่งออกได้ ดังนี้
• ตะวันออกกลาง
สถานการณ์ความไร้เสถียรภาพทางการเมืองในตะวันออกกลาง จะยังคงเป็นปัญหาต่อไปในปี 2012 โดยประเทศแรกที่สหรัฐฯจับตามอง คือ ความวุ่นวายทางการเมืองในอียิปต์ ซึ่งแม้ในปีนี้ การลุกฮือขึ้นโค่นล้มรัฐบาล Mubarak จะประสบความสำเร็จไปแล้ว และดูเหมือนว่า อียิปต์จะเดินหน้าสู่ความเป็นประชาธิปไตยไปแล้ว แต่การเมืองของอียิปต์ยังไม่นิ่ง เพราะยังมีความขัดแย้งกันระหว่างหลายกลุ่ม โดยเฉพาะระหว่างฝ่ายทหาร ฝ่ายพลเรือน และการเพิ่มอิทธิพลมากขึ้นเรื่อยๆ ของกลุ่มหัวรุนแรง
จุดอันตรายอีกหนึ่งจุดในตะวันออกกลาง คือ ความขัดแย้งระหว่างอิสราเอลกับตุรกี ซึ่งกำลังมีแนวโน้มของความตึงเครียด และความขัดแย้งเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ รวมถึงมีแนวโน้มที่อิสราเอลอาจถูกโจมตี ทั้งจากขบวนการก่อการร้าย หรือจากอิหร่าน ก่อให้เกิดความสูญเสียครั้งใหญ่
สำหรับสถานการณ์ในซีเรีย ในปี 2012 ยังคงน่าวิตก หลังจากในปีนี้ ได้มีความวุ่นวายทางการเมืองอย่างหนัก และปี 2012 คาดว่า จะยังคงมีความวุ่นวายต่อไป และอาจลุกลามบานปลายมากขึ้น จนถึงขั้นอาจต้องมีการแทรกแซงจากภายนอก ซึ่งจะทำให้สถานการณ์คล้ายกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในลิเบียในปีนี้
นอกจากนี้ ความวุ่นวายทางการเมืองในเยเมนและบาเรน ก็ยังเป็นเรื่องน่าห่วง สำหรับปี 2012 โดยเฉพาะในบาเรน หากเกิดความวุ่นวายบานปลาย อาจจะทำให้ประเทศเพื่อนบ้าน คือ ซาอุดิอาระเบีย และอิหร่าน เข้าแทรกแซงทางทหารได้ ซึ่งก็จะทำให้วุ่นวายกันใหญ่
• เอเชีย
สำหรับในเอเชีย มี 2 เรื่องที่จัดอยู่ในกลุ่มที่ 2 ที่เป็นภัยคุกคามกระทบต่อประเทศที่มีความสำคัญทางยุทธศาสตร์ของสหรัฐฯ
จุดแรก คือ ความขัดแย้งระหว่างอินเดียกับปากีสถาน ซึ่งยังคงมีปัญหาคุกรุ่นกันอยู่ และวิกฤตมีความเสี่ยงที่อาจลุกลามบานปลายไปสู่การใช้กำลังทางทหาร โดยอาจมีการผสมโรงจากขบวนการก่อการร้าย
สำหรับจุดร้อนอีก 1 จุด ในเอเชีย คือ ทะเลจีนใต้ ปีนี้ ความขัดแย้งในทะเลจีนใต้ร้อนแรงขึ้นเรื่อยๆ โดยเฉพาะระหว่างจีนกับเวียดนาม และจีนกับฟิลิปปินส์ โดยมีสหรัฐฯเป็นตัวยุแหย่ ให้เกิดความขัดแย้งหนักขึ้น เห็นได้ชัดว่า สหรัฐฯได้เข้ามาวุ่นวายในความขัดแย้งนี้มากขึ้นเรื่อยๆ โดยเข้าไปถือหางทั้งเวียดนามและฟิลิปปินส์ ด้วยการเข้าไปกระชับความสัมพันธ์ทางทหารกับทั้ง 2 ประเทศ ล่าสุด สหรัฐฯก็ประกาศจะส่งทหารมาประจำการอยู่ที่เมือง Darwin ทางตอนเหนือของออสเตรเลีย ซึ่งในอนาคต อาจพัฒนาเป็นฐานทัพใหม่ของสหรัฐฯ Darwin มีความสำคัญทางภูมิรัฐศาสตร์เพราะอยู่ใกล้กับทะเลจีนใต้มาก ดังนั้น จากแนวโน้มในปีนี้ ชี้ให้เห็นว่า ปี 2012 โอกาสของความขัดแย้งทางทหารในทะเลจีนใต้ ก็เพิ่มสูงขึ้น
อีกประเทศหนึ่งในเอเชียใต้ที่ยังน่าเป็นห่วง คือ อัฟกานิสถาน แม้ว่าสหรัฐฯจะพยายามทำสงครามเอาชนะนักรบตาลีบัน แต่ขณะนี้ ผลกลับตรงกันข้าม เพราะฝ่ายตาลีบันอยู่ในสถานะได้เปรียบขึ้นเรื่อยๆ แม้ว่าสหรัฐฯจะประกาศที่จะถอนทหารออกจากอัฟกานิสถานในอนาคต แต่แนวโน้มในปี 2012 คาดว่า สถานการณ์ในอัฟกานิสถาน จะยังคงไม่ดีขึ้น โดยอาจมีแนวโน้มที่จะทรุดหนักลงเสียด้วยซ้ำ โดยเฉพาะแนวโน้มของการที่ฝ่ายตาลีบันจะรุกคืบยึดพื้นที่ในอัฟกานิสถานได้มากขึ้น และกองกำลังนาโต้อาจต้องถอยร่นลงไปเรื่อยๆ
กลุ่มที่ 3
จะเป็นประเด็นปัญหาและภัยคุกคาม ที่จะมีผลกระทบทางด้านมนุษยธรรม แต่จะเกิดขึ้นในประเทศที่ไม่มีความสำคัญทางยุทธศาสตร์ต่อสหรัฐฯ โดยจะเป็นปัญหาความขัดแย้งในภูมิภาคเหล่านี้
• อัฟริกา
อัฟริกาเป็นทวีปและภูมิภาคที่ไม่มีความสำคัญทางยุทธศาสตร์ต่อสหรัฐฯ ดังนั้น แม้ว่า ในปี 2012 จะยังคงมีความขัดแย้งเกิดขึ้นหลายจุด แต่จะไม่สำคัญในสายตาของสหรัฐฯ
จุดล่อแหลมที่มีแนวโน้มจะเกิดสงครามและความขัดแย้งทางทหาร ได้แก่ ความขัดแย้งระหว่างซูดานกับซูดานใต้ (ชื่อเดิม คือ ดาร์ฟู)
นอกจากนี้ ยังมีแนวโน้มที่จะมีความวุ่นวายทางการเมือง และสงครามเกิดขึ้นในหลายประเทศในภูมิภาค ที่สำคัญได้แก่ ไนจีเรีย สำหรับความไม่สงบในโซมาเลีย ก็มีแนวโน้มจะขัดแย้งกันมากขึ้น และอาจมีการแทรกแซงจากประเทศภายนอก นอกจากนี้ เคนยา และคองโก ก็เป็นประเทศที่ล่อแหลม ที่จะมีความขัดแย้งในปี 2012
• คอเคซัส
อีกภูมิภาคที่มีแนวโน้มที่จะขัดแย้งกัน แต่เป็นภูมิภาคที่ไม่มีความสำคัญต่อสหรัฐฯ คือ แถบเทือกเขาคอเคซัส ซึ่งจะมีจุดอันตราย 2 จุด จุดแรก คือ ความขัดแย้งทางทหารระหว่างรัสเซียกับจอร์เจีย โดย 2 ประเทศได้ทำสงครามกันมาตั้งแต่ ปี 2008 แล้ว แต่ขณะนี้ การเจรจาเพื่อยุติความขัดแย้งยังไม่ประสบความสำเร็จ และมีแนวโน้มที่จะเกิดสงครามขึ้นได้อีก
ส่วนอีกจุดหนึ่ง คือ ความขัดแย้งระหว่างอาร์เมเนียกับอาเซอร์ไบจาน ซึ่งขัดแย้งกันมานานหลายปีแล้ว ในกรณีพิพาทในเขต Nagorno Karabakh ปี 2012 มีความเป็นไปได้ว่า ความขัดแย้งระหว่างประเทศทั้งสอง อาจลุกลามบานปลายกลายเป็นสงครามได้
• ภูมิภาคอื่นๆ
สำหรับในภูมิภาคอื่นๆ ก็ยังมีอีกหลายประเด็นความขัดแย้ง ที่อาจกลายเป็นประเด็นร้อนในปี 2012 แต่จะไม่มีความสำคัญต่อสหรัฐฯ ได้แก่ ความขัดแย้งและความวุ่นวายทางการเมืองในลิเบีย แม้ว่าจะโค่นรัฐบาล Gaddafi ลงได้ในปีนี้ แต่ลิเบียในยุคหลัง Gaddafi มีแนวโน้มที่จะเกิดความไม่สงบขึ้น และจะมีความขัดแย้งกันหลายฝักหลายฝ่าย ส่วนในเอเชียกลาง ก็มีแนวโน้มของความวุ่นวายทางการเมือง โดยเฉพาะในประเทศคีร์กีซสถาน ส่วนในลาตินอเมริกา ก็จะมีประเทศเวเนซุเอลา ที่อาจมีปัญหาความวุ่นวายทางการเมืองเกิดขึ้นในปี 2012 โดยเฉพาะในยุคหลัง Chavez
TPP : ยุทธศาสตร์การปิดล้อมจีนทางเศรษฐกิจ
TPP : ยุทธศาสตร์การปิดล้อมจีนทางเศรษฐกิจ
ตีพิมพ์ใน สยามรัฐสัปดาหวิจารณ์ ฉบับวันศุกร์ที่ 23 – วันพฤหัสบดีที่ 29 ธันวาคม 2554
ภูมิหลัง
TPP ย่อมาจาก Trans-Pacific Partnership ซึ่งเป็น FTA ในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก ที่สหรัฐฯผลักดันอย่างมาก โดยในระหว่างการประชุมสุดยอดเอเปคครั้งล่าสุดที่ฮาวาย ในเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมา ได้มีการจัดประชุมสุดยอดกลุ่มประเทศสมาชิก TPP ซึ่งประกอบด้วย 9 ประเทศ คือ ออสเตรเลีย บรูไน ชิลี มาเลเซีย นิวซีแลนด์ เปรู สิงคโปร์ สหรัฐฯ และเวียดนาม ได้มีการตกลงกันเกี่ยวกับเค้าโครงของข้อตกลง TPP มีการกำหนดวิสัยทัศน์ร่วมกัน ที่จะนำไปสู่การจัดทำข้อตกลง FTA ที่จะมีความสมบูรณ์เบ็ดเสร็จ และทันสมัยที่สุด จะนำไปสู่การเปิดเสรีทางการค้าและการลงทุน และครอบคลุมประเด็นปัญหาการค้าในทุกเรื่อง โดยตั้งเป้าว่า จะเร่งรีบบรรลุข้อตกลงและลงนามภายในปี 2012
สำหรับในเรื่องสมาชิกนั้น ญี่ปุ่นได้ประกาศอย่างเป็นทางการที่จะเข้าร่วม TPP รวมทั้งแคนาดา และเม็กซิโก ดังนั้น ขณะนี้ TPP จะมีสมาชิกเพิ่มขึ้น จาก 9 ประเทศ เป็น 12 ประเทศ เป้าหมายระยะยาวของสหรัฐฯ คือ จะขยายจำนวนสมาชิกให้ครอบคลุมประเทศในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก (ยกเว้นจีน) โดยในที่สุด TPP จะกลายเป็น FTA ที่ใหญ่ที่สุดในโลก ซึ่งจะมีสหรัฐฯเป็นผู้นำ และเป็นแกนกลางของสถาปัตยกรรมทางเศรษฐกิจในภูมิภาค และ TPP จะเป็นเครื่องมือสำคัญของสหรัฐฯในการครองความเป็นเจ้าในภูมิภาคต่อไป
สาเหตุ
คำถามสำคัญ คือ อะไรคือสาเหตุที่แท้จริงของสหรัฐฯในการผลักดัน TPP คำตอบของผม คือ สาเหตุหลัก คือ การผงาดขึ้นมาของจีน ในอนาคต จีนจะกลายเป็นประเทศที่มีขนาดเศรษฐกิจที่ใหญ่ที่สุดในโลก จีนกำลังจะเป็นอภิมหาอำนาจอันดับ 1 ของโลก และในขณะที่จีนผงาดขึ้นมา อำนาจของสหรัฐฯก็ตกต่ำลงเรื่อยๆ ดังนั้น ยุทธศาสตร์หลักของสหรัฐฯ คือ มองว่าจีนเป็นภัยคุกคาม เป็นคู่แข่ง และท้าทายการเป็นเจ้าครองโลกของสหรัฐฯมากขึ้นเรื่อยๆ และมองว่า เป้าหมายหลักของจีน คือ การก้าวขึ้นมาเป็นเจ้าในภูมิภาค และในระยะยาว ก็จะเป็นเจ้าในระดับโลกด้วย ดังนั้น ยุทธศาสตร์หลักของสหรัฐฯต่อจีน คือ ยุทธศาสตร์การปิดล้อมจีน เพื่อสกัดกั้นการขยายอิทธิพลของจีน ที่ผ่านมา สหรัฐฯจะเน้นยุทธศาสตร์การปิดล้อมทางทหาร แต่ในปัจจุบัน สหรัฐฯได้ขยายขอบเขตการปิดล้อมครอบคลุมทางเศรษฐกิจด้วย โดย TPP จะเป็นเครื่องมือสำคัญของการปิดล้อมจีนทางเศรษฐกิจ
อีกเหตุผลหนึ่ง ซึ่งเกี่ยวข้องกับเหตุผลแรก คือ การที่สหรัฐฯผลักดัน TPP เพราะสหรัฐฯกลัวการรวมกลุ่มของประเทศในเอเชียตะวันออกโดยไม่มีสหรัฐฯ โดยเฉพาะกรอบอาเซียน+3 ซึ่งอาจพัฒนาเป็นประชาคมเอเชียตะวันออก โดยจะมีจีนเป็นผู้นำ รวมทั้งแนวคิดการจัดตั้งเขตการค้าเสรีเอเชียตะวันออก ในกรอบอาเซียน+3 และยังมี FTA อาเซียน+1 อยู่อีกมากมาย อาทิ FTA อาเซียน-จีน อาเซียน-อินเดีย อาเซียน-ญี่ปุ่น พัฒนาการของ FTA เหล่านี้ ไม่มีสหรัฐฯรวมอยู่ด้วยเลย ดังนั้น เพื่อป้องกันแนวโน้มดังกล่าว สหรัฐฯต้องป้องกันการรวมกลุ่มในเอเชียตะวันออก โดยมีจีนเป็นผู้นำ สหรัฐฯจึงได้ผลักดัน TPP ซึ่งจะเป็น FTA ที่จะมีสหรัฐฯเป็นแกนนำและเป็นผู้นำ
การปิดล้อมจีนทางเศรษฐกิจ
สำหรับสถานการณ์ล่าสุด ในช่วงต้นเดือนธันวาคม รัฐบาลสหรัฐฯได้เชิญทูตของประเทศที่เป็นสมาชิก TPP 8 ประเทศ มาร่วมประชุมที่กรุงวอชิงตัน ดี ซี USTR ของสหรัฐฯ คือ Ron Kirk ได้ประกาศว่า ต้องการให้มีการลงนามใน TPP ภายในปี 2012
ต่อมา เมื่อวันที่ 14 ธันวาคม Kevin Brady ประธานคณะกรรมาธิการด้านการค้าของสภาคองเกรสสหรัฐฯ ได้เรียกประชุมหารือในเรื่อง TPP และได้กล่าวว่า มีความสำคัญอย่างยิ่ง ที่จะต้องบรรลุข้อตกลง TPP ให้เร็วที่สุด โดยข้อตกลงดังกล่าว จะเป็นข้อตกลงสำหรับศตวรรษที่ 21 ที่สมบูรณ์เบ็ดเสร็จที่สุด
อย่างไรก็ตาม รัฐบาลจีน ในช่วงต้นเดือนธันวาคม ก็ได้จัดประชุมระหว่างประเทศ ที่กรุงปักกิ่ง โดยมีผู้เข้าร่วมทั้งจากจีน และประเทศต่างๆในภูมิภาค เพื่อหารือถึงแนวโน้ม และผลกระทบของ TPP ต่อเศรษฐกิจของภูมิภาค รวมทั้งต่อจีน บรรยากาศในจีนขณะนี้ มีการถกเถียงกันอย่างมากถึงผลกระทบของ TPP หลังจากการประชุมสุดยอด TPP ครั้งล่าสุดที่ฮาวาย
หลายฝ่ายกำลังวิตกกังวลว่า จีนกำลังถูกกีดกันออกจาก TPP โดยจีนไม่ได้รับเชิญให้เข้าร่วมในการเจรจา เพื่อเข้าร่วมเป็นสมาชิก TPP จากสหรัฐฯ และในอนาคต ก็ยังไม่มีสัญญาณใดๆเลย ที่จะแสดงให้เห็นว่า สหรัฐฯต้องการที่จะเชื้อเชิญจีนให้เข้าร่วม TPP โดยได้มีการวิเคราะห์กันว่า จะมีความยากลำบากอย่างยิ่งต่อจีนที่จะเข้าร่วม TPP โดย TPP จะแบ่งแยกภูมิภาค เหมือนกับเป็นการขีดเส้นแบ่งกลางมหาสมุทร แปซิฟิก และที่น่าเป็นห่วง คือ อาจจะมีการกีดกันประเทศที่ไม่ใช่สมาชิก รวมทั้งจีน
หรือถ้าหากในอนาคต จีนอยากจะเข้าร่วม TPP ก็คงจะต้องเข้าร่วมตามเงื่อนไขของสหรัฐฯ เพราะขณะนี้ สหรัฐฯได้ครอบงำ TPP อย่างเต็มตัวแล้ว โดยยังมีความไม่แน่นอนว่า ข้อตกลงที่จะลงนามกันในปลายปี 2012 นี้ จะมีการเปิดโอกาสให้ประเทศที่ไม่ใช่สมาชิกเข้าร่วมในภายหลังได้อย่างไร
นอกจากนี้ ยังมีการมองกันด้วยว่า ในที่สุด TPP อาจจะมีลักษณะของการเจรจาทวิภาคีทับซ้อนอยู่ ซึ่งหากเป็นเช่นนั้น ก็หมายความว่า ประเทศที่จะเข้าร่วมภายหลัง จะต้องเจรจาหารือทวิภาคีกับสหรัฐฯก่อนที่จะเข้าร่วม TPP และถ้าหากเงื่อนไขเป็นเช่นนั้น ข้อตกลงทวิภาคีระหว่างสหรัฐฯกับประเทศที่จะเข้าร่วมใหม่ โดยเฉพาะกับ จีน จะต้องได้รับการอนุมัติจากสภาคองเกรส ซึ่งก็มีแนวโน้มสูงว่า สภาคองเกรสคงจะไม่อนุมัติ เพราะกระแสต่อต้านจีนในสภาคองเกรส ขณะนี้มีอยู่สูงมาก
Peter Drysdale นักวิชาการชื่อดังของออสเตรเลีย ก็ได้ให้ทัศนะว่า เป้าหมายของ TPP คือ จะเป็น FTA ที่ทันสมัยสำหรับศตวรรษที่ 21 แต่หาก TPP มีการกีดกัน โดยเฉพาะกีดกันตัวแสดงทางเศรษฐกิจที่สำคัญอย่างเช่น จีน ซึ่งถือได้ว่า เป็นหัวใจของพลวัตรทางเศรษฐกิจในเอเชียตะวันออก TPP ก็จะไม่สามารถบรรลุเป้าหมายหลักที่จะเป็น FTA ที่ดีที่สุดได้ Drysdale ยังได้เสริมว่า เป้าหมายที่จะบรรลุข้อตกลงภายใน 1 ปีนั้น เร็วเกินไป หาก TPP จะเป็น FTA ที่มีประสิทธิภาพ จะต้องมีตารางเวลา ที่จะให้เวลากับการเจรจาในประเด็นปัญหาที่ละเอียดอ่อนหลายเรื่อง
ดังนั้น จากแนวคิดของ Drysdale ผมจึงมองว่า การที่สหรัฐฯกีดกันจีน และเร่งรีบทำข้อตกลง น่าจะมีสาเหตุมาจากปัจจัยทางด้านภูมิรัฐศาสตร์ และภูมิเศรษฐศาสตร์เป็นหลัก
ดังนั้น แนวโน้มในอนาคต จากการที่สหรัฐฯใช้ TPP ในการปิดล้อมจีนทางเศรษฐกิจ ก็จะทำให้จีนกับสหรัฐฯขัดแย้งกันหนักขึ้น โดยจีนอาจหันมาผลักดัน FTA ในกรอบอาเซียน+3 เพื่อแข่งกับ TPP ของสหรัฐฯ แต่ก็ไม่ใช่เรื่องง่าย ทั้งนี้ เพราะญี่ปุ่น ซึ่งเป็นลูกไล่ของสหรัฐฯมาโดยตลอด ก็ไม่ได้ให้ความสำคัญต่อ FTA อาเซียน+3 อีกแล้ว แต่กลับมาสนับสนุน FTA ในกรอบอาเซียน+6 แทน เราจึงคงต้องจับตาดูกันต่อไปว่า การแข่งขันในรูปแบบใหม่ในเชิงภูมิเศรษฐศาสตร์ ระหว่างสหรัฐฯกับจีน จะมีวิวัฒนาการไปในทิศทางใด
ตีพิมพ์ใน สยามรัฐสัปดาหวิจารณ์ ฉบับวันศุกร์ที่ 23 – วันพฤหัสบดีที่ 29 ธันวาคม 2554
ภูมิหลัง
TPP ย่อมาจาก Trans-Pacific Partnership ซึ่งเป็น FTA ในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก ที่สหรัฐฯผลักดันอย่างมาก โดยในระหว่างการประชุมสุดยอดเอเปคครั้งล่าสุดที่ฮาวาย ในเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมา ได้มีการจัดประชุมสุดยอดกลุ่มประเทศสมาชิก TPP ซึ่งประกอบด้วย 9 ประเทศ คือ ออสเตรเลีย บรูไน ชิลี มาเลเซีย นิวซีแลนด์ เปรู สิงคโปร์ สหรัฐฯ และเวียดนาม ได้มีการตกลงกันเกี่ยวกับเค้าโครงของข้อตกลง TPP มีการกำหนดวิสัยทัศน์ร่วมกัน ที่จะนำไปสู่การจัดทำข้อตกลง FTA ที่จะมีความสมบูรณ์เบ็ดเสร็จ และทันสมัยที่สุด จะนำไปสู่การเปิดเสรีทางการค้าและการลงทุน และครอบคลุมประเด็นปัญหาการค้าในทุกเรื่อง โดยตั้งเป้าว่า จะเร่งรีบบรรลุข้อตกลงและลงนามภายในปี 2012
สำหรับในเรื่องสมาชิกนั้น ญี่ปุ่นได้ประกาศอย่างเป็นทางการที่จะเข้าร่วม TPP รวมทั้งแคนาดา และเม็กซิโก ดังนั้น ขณะนี้ TPP จะมีสมาชิกเพิ่มขึ้น จาก 9 ประเทศ เป็น 12 ประเทศ เป้าหมายระยะยาวของสหรัฐฯ คือ จะขยายจำนวนสมาชิกให้ครอบคลุมประเทศในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก (ยกเว้นจีน) โดยในที่สุด TPP จะกลายเป็น FTA ที่ใหญ่ที่สุดในโลก ซึ่งจะมีสหรัฐฯเป็นผู้นำ และเป็นแกนกลางของสถาปัตยกรรมทางเศรษฐกิจในภูมิภาค และ TPP จะเป็นเครื่องมือสำคัญของสหรัฐฯในการครองความเป็นเจ้าในภูมิภาคต่อไป
สาเหตุ
คำถามสำคัญ คือ อะไรคือสาเหตุที่แท้จริงของสหรัฐฯในการผลักดัน TPP คำตอบของผม คือ สาเหตุหลัก คือ การผงาดขึ้นมาของจีน ในอนาคต จีนจะกลายเป็นประเทศที่มีขนาดเศรษฐกิจที่ใหญ่ที่สุดในโลก จีนกำลังจะเป็นอภิมหาอำนาจอันดับ 1 ของโลก และในขณะที่จีนผงาดขึ้นมา อำนาจของสหรัฐฯก็ตกต่ำลงเรื่อยๆ ดังนั้น ยุทธศาสตร์หลักของสหรัฐฯ คือ มองว่าจีนเป็นภัยคุกคาม เป็นคู่แข่ง และท้าทายการเป็นเจ้าครองโลกของสหรัฐฯมากขึ้นเรื่อยๆ และมองว่า เป้าหมายหลักของจีน คือ การก้าวขึ้นมาเป็นเจ้าในภูมิภาค และในระยะยาว ก็จะเป็นเจ้าในระดับโลกด้วย ดังนั้น ยุทธศาสตร์หลักของสหรัฐฯต่อจีน คือ ยุทธศาสตร์การปิดล้อมจีน เพื่อสกัดกั้นการขยายอิทธิพลของจีน ที่ผ่านมา สหรัฐฯจะเน้นยุทธศาสตร์การปิดล้อมทางทหาร แต่ในปัจจุบัน สหรัฐฯได้ขยายขอบเขตการปิดล้อมครอบคลุมทางเศรษฐกิจด้วย โดย TPP จะเป็นเครื่องมือสำคัญของการปิดล้อมจีนทางเศรษฐกิจ
อีกเหตุผลหนึ่ง ซึ่งเกี่ยวข้องกับเหตุผลแรก คือ การที่สหรัฐฯผลักดัน TPP เพราะสหรัฐฯกลัวการรวมกลุ่มของประเทศในเอเชียตะวันออกโดยไม่มีสหรัฐฯ โดยเฉพาะกรอบอาเซียน+3 ซึ่งอาจพัฒนาเป็นประชาคมเอเชียตะวันออก โดยจะมีจีนเป็นผู้นำ รวมทั้งแนวคิดการจัดตั้งเขตการค้าเสรีเอเชียตะวันออก ในกรอบอาเซียน+3 และยังมี FTA อาเซียน+1 อยู่อีกมากมาย อาทิ FTA อาเซียน-จีน อาเซียน-อินเดีย อาเซียน-ญี่ปุ่น พัฒนาการของ FTA เหล่านี้ ไม่มีสหรัฐฯรวมอยู่ด้วยเลย ดังนั้น เพื่อป้องกันแนวโน้มดังกล่าว สหรัฐฯต้องป้องกันการรวมกลุ่มในเอเชียตะวันออก โดยมีจีนเป็นผู้นำ สหรัฐฯจึงได้ผลักดัน TPP ซึ่งจะเป็น FTA ที่จะมีสหรัฐฯเป็นแกนนำและเป็นผู้นำ
การปิดล้อมจีนทางเศรษฐกิจ
สำหรับสถานการณ์ล่าสุด ในช่วงต้นเดือนธันวาคม รัฐบาลสหรัฐฯได้เชิญทูตของประเทศที่เป็นสมาชิก TPP 8 ประเทศ มาร่วมประชุมที่กรุงวอชิงตัน ดี ซี USTR ของสหรัฐฯ คือ Ron Kirk ได้ประกาศว่า ต้องการให้มีการลงนามใน TPP ภายในปี 2012
ต่อมา เมื่อวันที่ 14 ธันวาคม Kevin Brady ประธานคณะกรรมาธิการด้านการค้าของสภาคองเกรสสหรัฐฯ ได้เรียกประชุมหารือในเรื่อง TPP และได้กล่าวว่า มีความสำคัญอย่างยิ่ง ที่จะต้องบรรลุข้อตกลง TPP ให้เร็วที่สุด โดยข้อตกลงดังกล่าว จะเป็นข้อตกลงสำหรับศตวรรษที่ 21 ที่สมบูรณ์เบ็ดเสร็จที่สุด
อย่างไรก็ตาม รัฐบาลจีน ในช่วงต้นเดือนธันวาคม ก็ได้จัดประชุมระหว่างประเทศ ที่กรุงปักกิ่ง โดยมีผู้เข้าร่วมทั้งจากจีน และประเทศต่างๆในภูมิภาค เพื่อหารือถึงแนวโน้ม และผลกระทบของ TPP ต่อเศรษฐกิจของภูมิภาค รวมทั้งต่อจีน บรรยากาศในจีนขณะนี้ มีการถกเถียงกันอย่างมากถึงผลกระทบของ TPP หลังจากการประชุมสุดยอด TPP ครั้งล่าสุดที่ฮาวาย
หลายฝ่ายกำลังวิตกกังวลว่า จีนกำลังถูกกีดกันออกจาก TPP โดยจีนไม่ได้รับเชิญให้เข้าร่วมในการเจรจา เพื่อเข้าร่วมเป็นสมาชิก TPP จากสหรัฐฯ และในอนาคต ก็ยังไม่มีสัญญาณใดๆเลย ที่จะแสดงให้เห็นว่า สหรัฐฯต้องการที่จะเชื้อเชิญจีนให้เข้าร่วม TPP โดยได้มีการวิเคราะห์กันว่า จะมีความยากลำบากอย่างยิ่งต่อจีนที่จะเข้าร่วม TPP โดย TPP จะแบ่งแยกภูมิภาค เหมือนกับเป็นการขีดเส้นแบ่งกลางมหาสมุทร แปซิฟิก และที่น่าเป็นห่วง คือ อาจจะมีการกีดกันประเทศที่ไม่ใช่สมาชิก รวมทั้งจีน
หรือถ้าหากในอนาคต จีนอยากจะเข้าร่วม TPP ก็คงจะต้องเข้าร่วมตามเงื่อนไขของสหรัฐฯ เพราะขณะนี้ สหรัฐฯได้ครอบงำ TPP อย่างเต็มตัวแล้ว โดยยังมีความไม่แน่นอนว่า ข้อตกลงที่จะลงนามกันในปลายปี 2012 นี้ จะมีการเปิดโอกาสให้ประเทศที่ไม่ใช่สมาชิกเข้าร่วมในภายหลังได้อย่างไร
นอกจากนี้ ยังมีการมองกันด้วยว่า ในที่สุด TPP อาจจะมีลักษณะของการเจรจาทวิภาคีทับซ้อนอยู่ ซึ่งหากเป็นเช่นนั้น ก็หมายความว่า ประเทศที่จะเข้าร่วมภายหลัง จะต้องเจรจาหารือทวิภาคีกับสหรัฐฯก่อนที่จะเข้าร่วม TPP และถ้าหากเงื่อนไขเป็นเช่นนั้น ข้อตกลงทวิภาคีระหว่างสหรัฐฯกับประเทศที่จะเข้าร่วมใหม่ โดยเฉพาะกับ จีน จะต้องได้รับการอนุมัติจากสภาคองเกรส ซึ่งก็มีแนวโน้มสูงว่า สภาคองเกรสคงจะไม่อนุมัติ เพราะกระแสต่อต้านจีนในสภาคองเกรส ขณะนี้มีอยู่สูงมาก
Peter Drysdale นักวิชาการชื่อดังของออสเตรเลีย ก็ได้ให้ทัศนะว่า เป้าหมายของ TPP คือ จะเป็น FTA ที่ทันสมัยสำหรับศตวรรษที่ 21 แต่หาก TPP มีการกีดกัน โดยเฉพาะกีดกันตัวแสดงทางเศรษฐกิจที่สำคัญอย่างเช่น จีน ซึ่งถือได้ว่า เป็นหัวใจของพลวัตรทางเศรษฐกิจในเอเชียตะวันออก TPP ก็จะไม่สามารถบรรลุเป้าหมายหลักที่จะเป็น FTA ที่ดีที่สุดได้ Drysdale ยังได้เสริมว่า เป้าหมายที่จะบรรลุข้อตกลงภายใน 1 ปีนั้น เร็วเกินไป หาก TPP จะเป็น FTA ที่มีประสิทธิภาพ จะต้องมีตารางเวลา ที่จะให้เวลากับการเจรจาในประเด็นปัญหาที่ละเอียดอ่อนหลายเรื่อง
ดังนั้น จากแนวคิดของ Drysdale ผมจึงมองว่า การที่สหรัฐฯกีดกันจีน และเร่งรีบทำข้อตกลง น่าจะมีสาเหตุมาจากปัจจัยทางด้านภูมิรัฐศาสตร์ และภูมิเศรษฐศาสตร์เป็นหลัก
ดังนั้น แนวโน้มในอนาคต จากการที่สหรัฐฯใช้ TPP ในการปิดล้อมจีนทางเศรษฐกิจ ก็จะทำให้จีนกับสหรัฐฯขัดแย้งกันหนักขึ้น โดยจีนอาจหันมาผลักดัน FTA ในกรอบอาเซียน+3 เพื่อแข่งกับ TPP ของสหรัฐฯ แต่ก็ไม่ใช่เรื่องง่าย ทั้งนี้ เพราะญี่ปุ่น ซึ่งเป็นลูกไล่ของสหรัฐฯมาโดยตลอด ก็ไม่ได้ให้ความสำคัญต่อ FTA อาเซียน+3 อีกแล้ว แต่กลับมาสนับสนุน FTA ในกรอบอาเซียน+6 แทน เราจึงคงต้องจับตาดูกันต่อไปว่า การแข่งขันในรูปแบบใหม่ในเชิงภูมิเศรษฐศาสตร์ ระหว่างสหรัฐฯกับจีน จะมีวิวัฒนาการไปในทิศทางใด
แนวโน้มสถานการณ์โลก ปี 2012 (ตอนที่ 1 )
แนวโน้มสถานการณ์โลก ปี 2012 (ตอนที่ 1 )
คอลัมน์โลกปริทรรศน์
18 ธันวาคม 2554
เมื่อเร็วๆนี้ Council on Foreign Relations ซึ่งเป็น think tank ที่มีชื่อเสียงของสหรัฐฯ ได้เผยแพร่เอกสาร ชื่อ “Preventive Priorities Survey : 2012” คาดการณ์สถานการณ์โลกในปี 2012 โดยเฉพาะที่เกี่ยวกับภัยคุกคามที่เกี่ยวข้องกับผลประโยชน์ของสหรัฐฯ คอลัมน์โลกปริทรรศน์ในวันนี้ จะสรุป วิเคราะห์เอกสารดังกล่าว ดังนี้
เอกสารดังกล่าว ถูกจัดทำขึ้นเพื่อมองถึงแนวโน้มสถานการณ์โลกในปี 2012 โดย Center for Preventive Action ของ Council on Foreign Relations ได้จัดทำการสำรวจกลุ่มข้าราชการ นักวิชาการ และผู้เชี่ยวชาญ เพื่อจัดทำรายการเกี่ยวกับภัยคุกคามในปี 2012 โดยรายการดังกล่าว ได้แบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม ซึ่งจะแตกต่างกันออกไปตามผลประโยชน์แห่งชาติของสหรัฐฯ และแตกต่างกันไปตามระดับของความเสี่ยง และลักษณะของความขัดแย้ง
กลุ่มที่ 1
รายการของสถานการณ์ในกลุ่มที่ 1 จะเป็นสถานการณ์ที่คุกคามต่อผลประโยชน์ของสหรัฐฯโดยตรง ซึ่งมีความเป็นไปได้ว่า อาจนำไปสู่การที่สหรัฐฯ จะต้องใช้กำลังทางทหารเพื่อจัดการกับภัยคุกคามดังกล่าว ทั้งนี้ เพราะพันธกรณีตามสนธิสัญญาทางทหาร โดยรวมถึงภัยคุกคามต่อทรัพยากรที่มีความสำคัญต่อยุทธศาสตร์ของสหรัฐฯ สถานการณ์สำคัญๆในกลุ่มนี้ แบ่งออกเป็นเรื่องต่างๆได้ ดังนี้
• การก่อการร้าย
ในปี 2011 แม้ว่า สหรัฐฯจะประสบความสำเร็จในการสังหาร Osama Bin Laden ผู้นำขององค์กร al-Qaeda แต่ภัยจากการก่อการร้ายยังไม่หมดไป แต่กลับมีแนวโน้มลุกลามบานปลายออกไปเรื่อยๆ โดยขณะนี้ กลุ่มก่อการร้ายร่วมอุดมการณ์กับ al-Qaeda ได้ขยายตัวไปทั่วภูมิภาคตะวันออกกลาง สถานการณ์โลกในปี 2012 ที่จะเป็นภัยคุกคามอย่างยิ่งต่อสหรัฐฯ คือ การที่สหรัฐฯหรือพันธมิตรของสหรัฐฯ จะถูกก่อวินาศกรรมจากขบวนการก่อการร้าย และเกิดความสูญเสียครั้งใหญ่
นอกจากนี้ ที่เกี่ยวข้องกัน คือ แนวโน้มที่จะมีการโจมตีสหรัฐฯทางอินเตอร์เนต เป็นที่รู้กันดีว่า ขณะนี้ สหรัฐฯ ต้องพึ่งพาเครือข่ายอินเตอร์เนตเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะเรื่องโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญ ได้แก่ ด้านโทรคมนาคม พลังงาน ทรัพยากร รวมทั้งระบบเศรษฐกิจ การธนาคาร การเงิน และการขนส่ง ซึ่งต้องอาศัยเครือข่ายอินเตอร์เนตแทบทั้งสิ้น ในอนาคต มีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆว่า เครือข่ายเหล่านี้จะถูกโจมตี โดยเฉพาะจากกลุ่มก่อการร้ายและจากประเทศที่เป็นศัตรูกับสหรัฐฯ
• ตะวันออกกลาง
ภูมิภาคที่ยังคงน่ากังวลที่สุดสำหรับสหรัฐฯ คือ ตะวันออกกลาง รวมถึงเอเชียใต้ด้วย ในปี 2012 ตะวันออกกลางจะประสบกับสภาวะไร้เสถียรภาพทางการเมือง ซึ่งจะเป็นแนวโน้มต่อเนื่องจากปรากฎการณ์ Arab Spring ที่เกิดขึ้นในปีนี้ โดยในปีหน้า ประเทศที่สหรัฐฯจับตามอง คือ ซาอุดิอาระเบีย ซึ่งอาจเกิดความวุ่นวายทางการเมือง และอาจจะกระทบต่อแหล่งทรัพยากรน้ำมันของโลกและของสหรัฐฯเป็นอย่างมาก
อีกประเทศในภูมิภาค ที่น่าจะเป็นประเด็นร้อนในปีหน้า คือ อิหร่าน ในปีนี้ แม้ว่า สหรัฐฯจะพยายามปรับเปลี่ยนนโยบายต่ออิหร่าน ในสมัยรัฐบาล Obama แต่สถานการณ์กลับทรุดหนักลงเรื่อยๆ ล่าสุด IAEA ได้ออกมาประกาศว่า มีหลักฐานชี้ให้เห็นว่า อิหร่านกำลังพัฒนาอาวุธนิวเคลียร์ ความตึงเครียดก็เพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆโดยเฉพาะพวกสายเหยี่ยวในสหรัฐฯเริ่มมองว่า อิหร่านกำลังจะเป็นภัยคุกคามสำคัญ หากมีอาวุธนิวเคลียร์ ดังนั้น จึงจะต้องมีการโจมตีโรงงานนิวเคลียร์ของอิหร่าน เพื่อเป็นการตัดไฟแต่ต้นลม อีกประเด็นที่มีความเกี่ยวโยงกัน คือ อิสราเอล ที่มีความหวั่นวิตกต่อภัยคุกคามจากอิหร่านเป็นอย่างมาก อาจจะตัดสินใจโจมตีโรงงานนิวเคลียร์ของอิหร่านด้วย
อีกประเทศในภูมิภาค ที่สหรัฐฯกำลังเป็นห่วงมากขึ้นเรื่อยๆ คือ ความไม่สงบในปากีสถาน ซึ่งอาจจะเป็นผลมาจากวิกฤตการเมืองในประเทศ ระหว่างฝ่ายทหารกับฝ่ายพลเรือน หรืออาจเกี่ยวข้องกับการโจมตีจากขบวนการก่อการร้าย นอกจากนี้ ในปี 2012 สิ่งที่ต้องจับตามอง คือ ความเป็นไปได้ที่สหรัฐฯกับปากีสถาน อาจขัดแย้งกันทางด้านการทหาร ซึ่งอาจเป็นผลมาจากการโจมตีจากผู้ก่อการร้าย หรือจากการที่สหรัฐฯเข้าแทรกแซงและปฏิบัติการต่อต้านการก่อการร้ายในปากีสถาน โดยไม่ได้รับการยินยอมจากปากีสถาน และปากีสถานอาจถือว่า เป็นการล่วงล้ำอำนาจอธิปไตยของปากีสถาน
• เอเชีย
สำหรับในเอเชีย สถานการณ์ที่น่าจะเป็นประเด็นร้อน หนีไม่พ้นเรื่องเกาหลีเหนือ มีแนวโน้มที่จะเกิดวิกฤตการณ์ในเกาหลีเหนือ ซึ่งอาจมีสาเหตุมาจากความขัดแย้งทางทหาร หรือความวุ่นวายทางการเมือง รวมถึงเรื่องอาวุธนิวเคลียร์และขีปนาวุธ ในปีนี้ เช่นเดียวกับในกรณีของอิหร่าน คือ ในตอนแรก สหรัฐฯได้พยายามปรับเปลี่ยนยุทธศาสตร์ต่อเกาหลีเหนือ โดยหันมาเน้นไม้อ่อนมากขึ้น แต่ก็ไม่ประสบความสำเร็จ เกาหลีเหนือยังคงเดินหน้าพัฒนาอาวุธนิวเคลียร์ต่อไป มิหนำซ้ำ กลับมีพฤติกรรมที่ก้าวร้าวต่อเกาหลีใต้มากขึ้น
สำหรับอีกประเทศที่อาจเป็นจุดความขัดแย้งใหญ่ในภูมิภาค คือ จีน ในปี 2012 ความขัดแย้งระหว่างจีนกับสหรัฐฯอาจเกิดขึ้น ในปีนี้ ความสัมพันธ์ระหว่างสหรัฐฯกับจีนเสื่อมทรามลงเรื่อยๆ โดยมีความขัดแย้งกันหลายเรื่อง ตั้งแต่เรื่องคาบสมุทรเกาหลี ทะเลเหลือง ไต้หวัน และความขัดแย้งในทะเลจีนใต้ ล่าสุด การที่สหรัฐฯประกาศจะตั้งฐานทัพในออสเตรเลีย ก็ทำให้จีนไม่พอใจเป็นอย่างมาก โดยจีนมองว่า สหรัฐฯกำลังดำเนินยุทธศาสตร์ปิดล้อมจีนทางทหาร
• ยุโรป
อีกเรื่องที่จัดเป็นกลุ่มที่ 1 ที่จะเป็นเรื่องที่คุกคามต่อผลประโยชน์ของสหรัฐฯโดยตรง คือ วิกฤต Eurozone ในปีนี้ วิกฤตหนี้ของประเทศต่างๆ ที่ใช้เงินยูโร ทรุดหนักลงเรื่อยๆ ตั้งแต่กรีซ โปรตุเกส ไอร์แลนด์ และขณะนี้ ก็กำลังลุกลามเข้าสู่อิตาลีและสเปน ในปี 2012 มีความเป็นไปได้ว่า วิกฤต Eurozone อาจลุกลามบานปลาย จนถึงขั้นเกิดการแตกสลายของ Eurozone ซึ่งจะส่งผลกระทบอย่างมากต่อเศรษฐกิจโลก และต่อเศรษฐกิจของสหรัฐฯ
(โปรดติดตามอ่านต่อตอนจบ ในคอลัมน์โลกปริทรรศน์สัปดาห์หน้า)
คอลัมน์โลกปริทรรศน์
18 ธันวาคม 2554
เมื่อเร็วๆนี้ Council on Foreign Relations ซึ่งเป็น think tank ที่มีชื่อเสียงของสหรัฐฯ ได้เผยแพร่เอกสาร ชื่อ “Preventive Priorities Survey : 2012” คาดการณ์สถานการณ์โลกในปี 2012 โดยเฉพาะที่เกี่ยวกับภัยคุกคามที่เกี่ยวข้องกับผลประโยชน์ของสหรัฐฯ คอลัมน์โลกปริทรรศน์ในวันนี้ จะสรุป วิเคราะห์เอกสารดังกล่าว ดังนี้
เอกสารดังกล่าว ถูกจัดทำขึ้นเพื่อมองถึงแนวโน้มสถานการณ์โลกในปี 2012 โดย Center for Preventive Action ของ Council on Foreign Relations ได้จัดทำการสำรวจกลุ่มข้าราชการ นักวิชาการ และผู้เชี่ยวชาญ เพื่อจัดทำรายการเกี่ยวกับภัยคุกคามในปี 2012 โดยรายการดังกล่าว ได้แบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม ซึ่งจะแตกต่างกันออกไปตามผลประโยชน์แห่งชาติของสหรัฐฯ และแตกต่างกันไปตามระดับของความเสี่ยง และลักษณะของความขัดแย้ง
กลุ่มที่ 1
รายการของสถานการณ์ในกลุ่มที่ 1 จะเป็นสถานการณ์ที่คุกคามต่อผลประโยชน์ของสหรัฐฯโดยตรง ซึ่งมีความเป็นไปได้ว่า อาจนำไปสู่การที่สหรัฐฯ จะต้องใช้กำลังทางทหารเพื่อจัดการกับภัยคุกคามดังกล่าว ทั้งนี้ เพราะพันธกรณีตามสนธิสัญญาทางทหาร โดยรวมถึงภัยคุกคามต่อทรัพยากรที่มีความสำคัญต่อยุทธศาสตร์ของสหรัฐฯ สถานการณ์สำคัญๆในกลุ่มนี้ แบ่งออกเป็นเรื่องต่างๆได้ ดังนี้
• การก่อการร้าย
ในปี 2011 แม้ว่า สหรัฐฯจะประสบความสำเร็จในการสังหาร Osama Bin Laden ผู้นำขององค์กร al-Qaeda แต่ภัยจากการก่อการร้ายยังไม่หมดไป แต่กลับมีแนวโน้มลุกลามบานปลายออกไปเรื่อยๆ โดยขณะนี้ กลุ่มก่อการร้ายร่วมอุดมการณ์กับ al-Qaeda ได้ขยายตัวไปทั่วภูมิภาคตะวันออกกลาง สถานการณ์โลกในปี 2012 ที่จะเป็นภัยคุกคามอย่างยิ่งต่อสหรัฐฯ คือ การที่สหรัฐฯหรือพันธมิตรของสหรัฐฯ จะถูกก่อวินาศกรรมจากขบวนการก่อการร้าย และเกิดความสูญเสียครั้งใหญ่
นอกจากนี้ ที่เกี่ยวข้องกัน คือ แนวโน้มที่จะมีการโจมตีสหรัฐฯทางอินเตอร์เนต เป็นที่รู้กันดีว่า ขณะนี้ สหรัฐฯ ต้องพึ่งพาเครือข่ายอินเตอร์เนตเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะเรื่องโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญ ได้แก่ ด้านโทรคมนาคม พลังงาน ทรัพยากร รวมทั้งระบบเศรษฐกิจ การธนาคาร การเงิน และการขนส่ง ซึ่งต้องอาศัยเครือข่ายอินเตอร์เนตแทบทั้งสิ้น ในอนาคต มีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆว่า เครือข่ายเหล่านี้จะถูกโจมตี โดยเฉพาะจากกลุ่มก่อการร้ายและจากประเทศที่เป็นศัตรูกับสหรัฐฯ
• ตะวันออกกลาง
ภูมิภาคที่ยังคงน่ากังวลที่สุดสำหรับสหรัฐฯ คือ ตะวันออกกลาง รวมถึงเอเชียใต้ด้วย ในปี 2012 ตะวันออกกลางจะประสบกับสภาวะไร้เสถียรภาพทางการเมือง ซึ่งจะเป็นแนวโน้มต่อเนื่องจากปรากฎการณ์ Arab Spring ที่เกิดขึ้นในปีนี้ โดยในปีหน้า ประเทศที่สหรัฐฯจับตามอง คือ ซาอุดิอาระเบีย ซึ่งอาจเกิดความวุ่นวายทางการเมือง และอาจจะกระทบต่อแหล่งทรัพยากรน้ำมันของโลกและของสหรัฐฯเป็นอย่างมาก
อีกประเทศในภูมิภาค ที่น่าจะเป็นประเด็นร้อนในปีหน้า คือ อิหร่าน ในปีนี้ แม้ว่า สหรัฐฯจะพยายามปรับเปลี่ยนนโยบายต่ออิหร่าน ในสมัยรัฐบาล Obama แต่สถานการณ์กลับทรุดหนักลงเรื่อยๆ ล่าสุด IAEA ได้ออกมาประกาศว่า มีหลักฐานชี้ให้เห็นว่า อิหร่านกำลังพัฒนาอาวุธนิวเคลียร์ ความตึงเครียดก็เพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆโดยเฉพาะพวกสายเหยี่ยวในสหรัฐฯเริ่มมองว่า อิหร่านกำลังจะเป็นภัยคุกคามสำคัญ หากมีอาวุธนิวเคลียร์ ดังนั้น จึงจะต้องมีการโจมตีโรงงานนิวเคลียร์ของอิหร่าน เพื่อเป็นการตัดไฟแต่ต้นลม อีกประเด็นที่มีความเกี่ยวโยงกัน คือ อิสราเอล ที่มีความหวั่นวิตกต่อภัยคุกคามจากอิหร่านเป็นอย่างมาก อาจจะตัดสินใจโจมตีโรงงานนิวเคลียร์ของอิหร่านด้วย
อีกประเทศในภูมิภาค ที่สหรัฐฯกำลังเป็นห่วงมากขึ้นเรื่อยๆ คือ ความไม่สงบในปากีสถาน ซึ่งอาจจะเป็นผลมาจากวิกฤตการเมืองในประเทศ ระหว่างฝ่ายทหารกับฝ่ายพลเรือน หรืออาจเกี่ยวข้องกับการโจมตีจากขบวนการก่อการร้าย นอกจากนี้ ในปี 2012 สิ่งที่ต้องจับตามอง คือ ความเป็นไปได้ที่สหรัฐฯกับปากีสถาน อาจขัดแย้งกันทางด้านการทหาร ซึ่งอาจเป็นผลมาจากการโจมตีจากผู้ก่อการร้าย หรือจากการที่สหรัฐฯเข้าแทรกแซงและปฏิบัติการต่อต้านการก่อการร้ายในปากีสถาน โดยไม่ได้รับการยินยอมจากปากีสถาน และปากีสถานอาจถือว่า เป็นการล่วงล้ำอำนาจอธิปไตยของปากีสถาน
• เอเชีย
สำหรับในเอเชีย สถานการณ์ที่น่าจะเป็นประเด็นร้อน หนีไม่พ้นเรื่องเกาหลีเหนือ มีแนวโน้มที่จะเกิดวิกฤตการณ์ในเกาหลีเหนือ ซึ่งอาจมีสาเหตุมาจากความขัดแย้งทางทหาร หรือความวุ่นวายทางการเมือง รวมถึงเรื่องอาวุธนิวเคลียร์และขีปนาวุธ ในปีนี้ เช่นเดียวกับในกรณีของอิหร่าน คือ ในตอนแรก สหรัฐฯได้พยายามปรับเปลี่ยนยุทธศาสตร์ต่อเกาหลีเหนือ โดยหันมาเน้นไม้อ่อนมากขึ้น แต่ก็ไม่ประสบความสำเร็จ เกาหลีเหนือยังคงเดินหน้าพัฒนาอาวุธนิวเคลียร์ต่อไป มิหนำซ้ำ กลับมีพฤติกรรมที่ก้าวร้าวต่อเกาหลีใต้มากขึ้น
สำหรับอีกประเทศที่อาจเป็นจุดความขัดแย้งใหญ่ในภูมิภาค คือ จีน ในปี 2012 ความขัดแย้งระหว่างจีนกับสหรัฐฯอาจเกิดขึ้น ในปีนี้ ความสัมพันธ์ระหว่างสหรัฐฯกับจีนเสื่อมทรามลงเรื่อยๆ โดยมีความขัดแย้งกันหลายเรื่อง ตั้งแต่เรื่องคาบสมุทรเกาหลี ทะเลเหลือง ไต้หวัน และความขัดแย้งในทะเลจีนใต้ ล่าสุด การที่สหรัฐฯประกาศจะตั้งฐานทัพในออสเตรเลีย ก็ทำให้จีนไม่พอใจเป็นอย่างมาก โดยจีนมองว่า สหรัฐฯกำลังดำเนินยุทธศาสตร์ปิดล้อมจีนทางทหาร
• ยุโรป
อีกเรื่องที่จัดเป็นกลุ่มที่ 1 ที่จะเป็นเรื่องที่คุกคามต่อผลประโยชน์ของสหรัฐฯโดยตรง คือ วิกฤต Eurozone ในปีนี้ วิกฤตหนี้ของประเทศต่างๆ ที่ใช้เงินยูโร ทรุดหนักลงเรื่อยๆ ตั้งแต่กรีซ โปรตุเกส ไอร์แลนด์ และขณะนี้ ก็กำลังลุกลามเข้าสู่อิตาลีและสเปน ในปี 2012 มีความเป็นไปได้ว่า วิกฤต Eurozone อาจลุกลามบานปลาย จนถึงขั้นเกิดการแตกสลายของ Eurozone ซึ่งจะส่งผลกระทบอย่างมากต่อเศรษฐกิจโลก และต่อเศรษฐกิจของสหรัฐฯ
(โปรดติดตามอ่านต่อตอนจบ ในคอลัมน์โลกปริทรรศน์สัปดาห์หน้า)
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)