ถึงเวลาปฏิรูปองค์กรโลก
องค์กรโลกในปัจจุบัน
ในช่วงวันที่ 7-9 กรกฎาคมนี้ ได้มีการจัดประชุมสุดยอดกลุ่มประเทศ G 8 ที่เกาะฮอกไกโด ประเทศญี่ปุ่น แต่กลุ่มประเทศ G 8 ก็ไม่สามารถสะท้อนโครงสร้างการเมืองและเศรษฐกิจโลกในปัจจุบันได้ เพราะถ้าหาก G 8 จะหารือเกี่ยวกับราคาน้ำมัน ก็ไม่มีซาอุดิอาระเบีย และถ้าจะหารือเกี่ยวกับระบบอัตราแลกเปลี่ยนก็ไม่มีจีนซึ่งมีปัญหาค่าเงินหยวน และ G 8 จะหารือแก้ไขปัญหาภาวะโลกร้อน และปัญหาอื่นๆ ของโลกได้อย่างไร ถ้าปราศจากตัวแทนของกลุ่มประเทศกำลังพัฒนา
องค์กรโลกในปัจจุบันจึงกำลังประสบ วิกฤตศรัทธาอย่างหนัก G 8 ดูเก่าและล้าสมัย และไม่มีประสิทธิภาพ ในขณะที่คณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ ก็ไม่มีความชอบธรรม และไม่มีประสิทธิภาพ อย่างเช่นในกรณีอิหร่าน ก็ไม่สามารถยุติการพัฒนาอาวุธนิวเคลียร์ของอิหร่านได้ ในขณะที่ กองทุนการเงินระหว่างประเทศหรือ IMF ก็ไม่มีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะในการจัดการกับวิกฤตการณ์การเงินรอบใหม่ที่เราเรียกว่า วิกฤตแฮมเบอร์เกอร์ หรือวิกฤต subprime การเจรจาองค์การการค้าโลกหรือ WTO รอบ Doha ก็กำลังทำท่าว่าจะล่ม
จึงกลายเป็นว่า ขณะที่ปัญหาของโลกกำลังมากขึ้นเรื่อย ๆ แต่องค์การระหว่างประเทศที่น่าจะเป็นกลไกแก้ปัญหาของโลก กลับไม่มีประสิทธิภาพ เพราะไม่ได้เป็นตัวแทนของประชาคมโลกอย่างแท้จริง จึงได้มีเสียงดังขึ้นเรื่อย ๆ ที่จะต้องให้มีการปฏิรูปองค์กรโลกอย่างจริงจัง
การผงาดขึ้นมาของมหาอำนาจใหม่
สถาบันของโลกต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น UN หรือองค์กรด้านเศรษฐกิจอย่างเช่น IMF หรือธนาคารโลก ต่างก็ถูกจัดตั้งขึ้นมาในยุคหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 โดยประเทศผู้ชนะสงคราม โดยเฉพาะสหรัฐฯ ซึ่งกลายเป็นอภิมหาอำนาจหนึ่งเดียว เป็นตัวตั้งตัวตีจัดตั้งระเบียบโลกใหม่ และสถาบันต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น UN IMF ธนาคารโลก หรือ G 8 ก็เป็นฝีมือของสหรัฐฯทั้งสิ้น ประเทศที่ชนะสงครามโลกครั้งที่ 2 และประเทศตะวันตก ก็เข้าครอบงำองค์กรโลกทั้งหมด ที่ผ่านมา ประเทศตะวันตกก็งุบงิบกัน หารือกันในองค์กรโลกต่าง ๆ และกำหนดกติกาต่างๆของโลกขึ้นมา และบังคับให้ทุกประเทศต้องทำตาม
อย่างไรก็ตาม ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา การผงาดขึ้นมาของประเทศมหาอำนาจใหม่ อาทิ จีน อินเดีย และประเทศกำลังพัฒนา กำลังท้าทายการครอบงำองค์กรโลกของตะวันตกมากขึ้นเรื่อยๆ โดยประเทศมหาอำนาจใหม่เหล่านี้ ต้องการที่จะให้มีการปฏิรูปโครงสร้างใหม่ของระบบโลก โดยเฉพาะการปฏิรูปองค์กรโลกต่าง ๆ
ภายในปี 2025 หรือ 2030 สามในสี่ชองประเทศที่มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่ที่สุดในโลก จะเป็นประเทศจากเอเชีย นั่นคือ จีน อินเดีย และญี่ปุ่น รัสเซียก็กำลังกลับมาผงาดขึ้นอีกครั้งหนึ่งหลังการล่มสลายของสหภาพโซเวียตในช่วงหลังสงครามเย็น นอกจากนี้ ยังมีบราซิลอีกประเทศที่น่าจับตามอง มีบางคนขนานนามมหาอำนาจใหม่กลุ่มนี้ด้วยอักษรย่อว่า BRIC ซึ่งย่อมาจาก Brazil, Russia, India, China
G 8
ในอดีต กลุ่ม G 7 ซึ่งต่อมาบวกเอารัสเซียเข้ามาด้วย กลายเป็น G 8 นั้น เคยมีบทบาทอย่างมากในช่วงต้นทศวรรษ 1970 ในการประสานท่าทีต่อประเด็นปัญหาเศรษฐกิจโลก ในช่วง 30 ปีที่แล้ว G 7 ก็คงจะมีพลังอำนาจจริง เพราะอำนาจทางเศรษฐกิจอยู่ในมือของ 7 ประเทศนี้
แต่ในปัจจุบัน โครงสร้างเศรษฐกิจโลกได้เปลี่ยนแปลงไปอย่างมาก จึงทำให้การประชุม G 8 ในปัจจุบัน ไม่มีความหมาย และไม่มีความชอบธรรม G 8 ไม่ได้สะท้อนถึงโครงสร้างอำนาจของโลกในปัจจุบัน ทั้งนี้เพราะ มีประเทศที่มีความสำคัญต่อเศรษฐกิจการเมืองโลกอย่างมาก แต่ไม่ได้อยู่ในกลุ่ม G 8 นั่นคือ จีนและอินเดีย จึงทำให้ G 8 ขาดความชอบธรรมในการเป็นกลุ่มประเทศผู้นำของโลกอย่างในอดีต
ในระยะหลัง ๆ จึงได้มีข้อเสนอให้มีการขยาย G 8 ออกไป โดยมองไปที่ จีน อินเดีย และบราซิล แต่ดูเหมือนว่า สหรัฐฯและตะวันตกก็ยังคงปฏิเสธ ไม่ยอมให้ประเทศเหล่านี้เข้าร่วมในกลุ่ม G 8 ของตน
คณะมนตรีความมั่นคง
สำหรับโครงสร้างของคณะมนตรีความมั่นคงนั้น ก็ล้าสมัยมาก โดยประเทศสมาชิกถาวรทั้ง 5 คือประเทศที่ชนะสงครามโลกครั้งที่ 2 ดังนั้น โครงสร้างของคณะมนตรีความมั่นคงในปัจจุบัน ก็ยังคงสะท้อนภาพของสงครามโลกครั้งที่ 2 อยู่ ทั้ง ๆ ที่เวลาผ่านมาแล้วถึง 60 กว่าปี
ดังนั้น จึงได้มีเสียงเรียกร้องมาโดยตลอดว่า ให้มีการปฏิรูปคณะมนตรีความมั่นคง ให้สะท้อนถึงโลกแห่งความเป็นจริง เยอรมนี และญี่ปุ่นแพ้สงครามโลกครั้งที่ 2 จึงถูกกีดกันจากคณะมนตรีความมั่นคงมาแต่แรก และไม่มีที่นั่งถาวร แม้ว่าขณะนี้ ประเทศทั้งสองจะเป็นมหาอำนาจทางเศรษฐกิจอันดับ 2 และ 3 ของโลกแล้วก็ตาม
เมื่อปี 2005 ได้มีข้อเสนอปฏิรูปคณะมนตรีความมั่นคง ในการประชุมสุดยอดครบรอบการก่อตั้ง 60 ปี UN โดยเสนอให้เพิ่มจำนวนสมาชิก จาก 15 เป็น 21 โดยที่นั่งที่เพิ่มขึ้นจะมีสถานะเป็นสมาชิกถาวรแต่ไม่มีสิทธิยับยั้ง แต่ในที่สุด ข้อเสนอดังกล่าวก็ไม่ได้รับการสนับสนุนจากสมาชิกถาวรทั้ง 5 ซึ่งยังไม่มีความจริงใจที่จะเพิ่มจำนวนสมาชิกถาวรให้กับใคร
ซึ่งในตอนหลัง นอกจากญี่ปุ่นและเยอรมนีแล้ว ยังมีอีกหลายประเทศที่อยากเป็นสมาชิกถาวร อาทิ อินเดีย บราซิล อิตาลี แต่ในที่สุด ข้อเสนอที่จะให้มีการปฏิรูปก็ตกไปหมด
IMF และธนาคารโลก
ในส่วนขององค์กรโลกทางด้านเศรษฐกิจนั้น ที่เป็นหลักคือ IMF และธนาคารโลก ซึ่งสหรัฐฯเป็นตัวตั้งตัวตีจัดตั้งขึ้นมาในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 สิ้นสุดลง ในตอนนั้น สหรัฐฯเป็นประเทศเดียวที่ผูกขาดอำนาจ ในการจัดระเบียบเศรษฐกิจโลก สหรัฐฯจึงได้ใช้อำนาจดังกล่าวสร้างระบบเศรษฐกิจโลกขึ้นมาใหม่ เรียกว่า Bretton Woods System
อย่างไรก็ตาม ปัจจุบัน โครงสร้างอำนาจเศรษฐกิจโลกได้เปลี่ยนไปมาก โดยเฉพาะการผงาดขึ้นมาของกลุ่มประเทศกำลังพัฒนา และมหาอำนาจที่ไม่ใช่ตะวันตก ดังนั้น จึงสมควรอย่างยิ่งที่จะต้องปฏิรูปโครงสร้างของธนาคารโลกและ IMF โดยเฉพาะการปฏิรูปกระบวนการสรรหาประธานธนาคารโลก และผู้อำนวยการ IMF ซึ่งตลอดเวลาที่ผ่านมา ประธานธนาคารโลกถูกผูกขาดด้วยคนอเมริกันมาตลอด ในขณะที่ผู้อำนวยการ IMF ก็มาจากยุโรปโดยตลอด
นอกจากนี้ ประเทศกำลังพัฒนา และประเทศที่ไม่ใช่ตะวันตก ก็ไม่มีอำนาจในการลงคะแนนเสียง หรือที่เรียกว่า voting power ที่มีความลำเอียงอย่างมาก โดยให้ voting power แก่สหรัฐฯและยุโรปเป็นอย่างมาก ในขณะที่ประเทศที่ไม่ใช่ตะวันตก และประเทศกำลังพัฒนา แทบจะไม่มี voting power เลย
สหรัฐฯมี voting power ถึง 20% ยุโรปมีถึง 30% ในขณะที่ญี่ปุ่น ซึ่งเป็นมหาอำนาจทางเศรษฐกิจอันดับ 2 ของโลก แต่กลับมี voting power ใน IMF ไม่ถึง 5% และจีนซึ่งกำลังผงาดขึ้นมาเป็นมหาอำนาจเศรษฐกิจใหม่ แต่กลับมี voting power เพียง 3% ไม่ต้องพูดถึงประเทศกำลังพัฒนาอื่นๆ ที่แทบจะไม่มีบทบาทเลย
วันศุกร์ที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2551
การประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศ G 8 ที่ Kyoto
การประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศ G 8 ที่ Kyoto
ภาพรวม
· เมื่อวันที่ 27 มิถุนายนที่ผ่านมา ได้มีการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศ G 8 ที่ Kyoto
ประเทศญี่ปุ่น โดยภาพรวมแล้ว การประชุมครั้งนี้ ถ้าเทียบกับการประชุมหลายๆ ครั้งที่ผ่านมา
โดยเฉพาะตั้งแต่เหตุการณ์ 11 กันยาฯ จะเห็นได้ว่า มีการเปลี่ยนแปลง โดยช่วงหลังเหตุการณ์ 11 กันยาฯใหม่ๆ G 8 ถูกสหรัฐฯบีบให้เน้นเรื่องการต่อต้านการก่อการร้ายเป็นพิเศษ มาถึงปีนี้ เรื่องก่อการร้ายดูจะลดความสำคัญลง แต่ประเด็นหลัก ยังคงหนีไม่พ้นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการก่อการร้าย โดยเฉพาะการเน้นวิกฤตการณ์ในตะวันออกกลางและอัฟกานิสถาน ซึ่งประเด็นส่วนใหญ่ยังเป็นประเด็นที่สหรัฐฯผลักดัน
· อย่างไรก็ตาม ท่าทีที่ออกมาของ G 8 ดูอ่อน และไม่ก้าวร้าวอย่างที่สหรัฐอยากให้
เป็น ทั้งนี้ ผมวิเคราะห์ว่า อาจเป็นเพราะรัสเซีย คงจะต่อต้านท่าทีแข็งกร้าวของสหรัฐฯและทำให้ท่าทีร่วมของ G 8 ดูอ่อนลง ยุโรปเอง ขณะนี้ก็คงจะกลัวการเผชิญหน้ากับรัสเซีย เพราะในยุควิกฤตพลังงาน ยุโรปต้องพึ่งพาการนำเข้าน้ำมันและก๊าซธรรมชาติจากรัสเซียเป็นอย่างมาก
· อีกประเด็นหนึ่งคือ กลุ่ม G 8 ไม่ได้สะท้อนถึงโครงสร้างอำนาจของโลกใน
ปัจจุบัน หมายความว่า มีบางประเทศที่มีความสำคัญต่อการเมืองโลก แต่ไม่ได้อยู่ในกลุ่ม G 8 ที่สำคัญคือจีนและอินเดีย จึงทำให้ G 8 ขาดความชอบธรรมในการเป็นกลุ่มประเทศผู้นำของโลก
อัฟกานิสถาน
การประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศ G 8 ครั้งนี้ ให้ความสำคัญอย่างมากต่อวิกฤตการณ์ใน
อัฟกานิสถาน โดย G 8 โดยเฉพาะสหรัฐฯ คงมองว่า อัฟกานิสถานเป็นแนวรบสำคัญในสงครามต่อต้านการก่อการร้าย ดังนั้น ถ้าตะวันตกเพลี่ยงพล้ำในอัฟกานิสถาน ก็จะกระทบต่อภาพใหญ่ของสงครามต่อต้านการก่อการร้ายได้
การประชุมครั้งนี้ จึงได้มีการแถลงการณ์พิเศษแยกต่างหาก เกี่ยวกับอัฟกานิสถาน โดยแถลงการณ์ได้กล่าวว่า G 8 จะสนับสนุนอัฟกานิสถานอย่างเต็มที่ ในการฟื้นฟูบูรณะประเทศและสร้างเสถียรภาพ
นอกจากนี้ จะเห็นแนวโน้มว่า G 8 และสหรัฐฯ กำลังพยายามที่จะดึงเอาองค์การสหประชาชาติเข้ามามีบทบาทมากขึ้น โดย G 8 ได้สนับสนุนข้อมติคณะมนตรีความมั่นคงที่ 1806 ที่ให้เพิ่มบทบาท UN Assistance Mission in Afganistan (UNAMA)
G 8 สนับสนุนบทบาทของกองกำลัง International Security Assistance Force ซึ่งก็คือกองกำลังของ NATO นั่นเอง
ผมมองว่า สหรัฐฯกำลังตกที่นั่งลำบากในอัฟกานิสถาน เพราะเข้าทำนองยิ่งปราบยิ่งเพิ่ม โดยหลังจากที่อเมริกาบุกยึดอัฟกานิสถานเมื่อปลายปี 2001 แต่หลังจากนั้น นักรบตาลีบันก็ค่อยๆ ฟื้นคืนชีพและโจมตีกองกำลังสหรัฐฯ และกองกำลัง NATO หนักขึ้นเรื่อยๆ รวมทั้ง Al Qaeda ก็มีแหล่งซ่องสุมใหม่อยู่ตามพรมแดนติดกับปากีสถาน และ Bin Laden ก็คงจะซ่อนตัวอยู่ที่นั่น
ตะวันออกกลาง
รัฐมนตรีต่างประเทศ G 8 สนับสนุนการเจรจาของอิสราเอล-ปาเลสไตน์อย่างเต็มที่ โดยตั้งเป้าที่จะให้บรรลุข้อตกลงภายในปีนี้ โดยจะให้มีการจัดตั้งรัฐปาเลสไตน์ที่ West Bank และ Gaza เพื่อให้เป็นไปตาม roadmap ที่สหรัฐฯได้ผลักดันมาโดยตลอด ที่ประชุมสนับสนุนการที่รัสเซียจะจัดประชุมสันติภาพตะวันออกกลางที่ Moscow
ผมมองว่า การที่รัสเซียจะเป็นเจ้าภาพจัดประชุม ชี้ให้เห็นถึงความพยายามของรัสเซียที่จะเข้ามามีบทบาทมากขึ้นในตะวันออกกลาง เพื่อคานอำนาจสหรัฐฯและตะวันตก
อิหร่าน
สำหรับในกรณีอิหร่าน คงจะเดาได้ว่า G 8 จะมีท่าทีอย่างไร ท่าทีของ G 8 ก็เป็นท่าทีของสหรัฐฯนั่นเอง คือ การแสดงความวิตกกังวลเกี่ยวกับโครงการพัฒนานิวเคลียร์ของอิหร่าน และห่วงใยที่อิหร่านไม่ยอมปฏิบัติตามข้อมติของคณะมนตรีความมั่นคง อิหร่านยังคงเดินหน้าพัฒนาโครงการนิวเคลียร์ต่อไป G 8 จึงกระตุ้นให้อิหร่านร่วมมือกับ IAEA และปฏิบัติตามพันธกรณีระหว่างประเทศ โดยเฉพาะการยุติโครงการพัฒนานิวเคลียร์ แต่ G 8 ก็เน้นว่า จะแก้ไขปัญหาโดยวิธีทางการทูต
ผมดูแล้ว ท่าทีของ G 8 ในเรื่องอิหร่านดูอ่อนกว่าท่าทีของสหรัฐฯ สาเหตุก็คงจะเป็นเพราะ การคัดค้านจากรัสเซีย ที่ไม่ต้องการให้มีการใช้มาตรการคว่ำบาตรต่ออิหร่าน
อิรัก
สำหรับในประเด็นอิรักนั้น ดูภาพรวมแล้ว ก็ลดความสำคัญลงไป ผิดกับในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ทั้งนี้เพราะ ความรุนแรงในอิรักเริ่มทุเลาลง G 8 และสหรัฐฯจึงหันมาเน้นการผลักดันความร่วมมือระหว่างประเทศ และการประชุมพหุภาคีต่างๆ โดยได้มีการจัดประชุม Ministerial Conference of the Neighboring Countries of Iraq ในเดือนเมษายน และการประชุม Compact Annual Review Conference ในเดือนพฤษภาคม
ปากีสถาน
ในกรณีปากีสถานนั้น ผมขอเกริ่นว่า ตะวันตกกำลังห่วงใยสถานการณ์ในปากีสถาน เพราะมีแนวโน้มที่กลุ่มมุสลิมหัวรุนแรง โดยเฉพาะกลุ่มตาลีบัน กำลังมีอิทธิพลทางการเมืองเพิ่มมากขึ้น ซึ่งหากกลุ่มตาลีบันสามารถยึดกุมอำนาจรัฐได้ ก็จะเป็นฝันร้ายของตะวันตก เพราะรัฐบาลตาลีบันจะมีอาวุธนิวเคลียร์ในครอบครอง
ดังนั้น ที่ประชุม G 8 จึงได้ให้ความสำคัญต่อเสถียรภาพในปากีสถาน ว่ามีความสำคัญต่อเสถียรภาพในภูมิภาค และความมั่นคงของโลก G 8 จะให้ความช่วยเหลือต่อรัฐบาลปากีสถาน เพื่อสร้างเสถียรภาพและพัฒนาเศรษฐกิจ
เกาหลีเหนือ
ท่าทีของ G 8 ต่อเกาหลีเหนือ เห็นชัดว่า สะท้อนท่าทีของสหรัฐฯ โดยในเอกสารผลการประชุมระบุว่า เป้าหมายของ G 8 คือ ต้องการให้คาบสมุทรเกาหลีเป็นเขตปลอดอาวุธนิวเคลียร์ และกระตุ้นให้เกาหลีเหนือยุติการมีอาวุธนิวเคลียร์ในครอบครอง G 8 สนับสนุนการเจรจา 6 ฝ่าย และยินดีที่เมื่อไม่กี่วันมานี้ เกาหลีเหนือได้ เสนอรายละเอียดเกี่ยวกับโครงการนิวเคลียร์ของตน และได้แสดงภาพถ่ายการระเบิดทำลายบางส่วนของโรงงานนิวเคลียร์
อย่างไรก็ตาม ผมคิดว่า กรณีเกาหลีเหนือนั้น เราคงต้องดูกันยาว ๆ ผมไม่เชื่อว่า เกาหลีเหนือจะยอมปลดอาวุธนิวเคลียร์ของตนได้ง่าย ๆ ที่ผ่านมา เกาหลีเหนือก็กลับไปกลับมาตลอด จึงไม่มีความแน่นอนว่า ในอนาคต เกาหลีเหนือจะปรับเปลี่ยนท่าทีอย่างไร
พม่า
วิกฤตการณ์ในพม่าก็เป็นอีกเรื่องหนึ่งที่รัฐมนตรีต่างประเทศ G 8 ให้ความสนใจ โดยได้กล่าวถึงการให้ความช่วยเหลือ วิกฤตพายุ Nagis และเรียกร้องให้รัฐบาลพม่าเปิดประตูให้ความช่วยเหลือ และบุคลากรต่างๆ ได้เข้าไปให้ความช่วยเหลืออย่างเต็มที่
นอกจากนี้ G 8 ห่วงใยต่อสถานการณ์การเมืองในพม่า และเรียกร้องให้รัฐบาลพม่า เดินหน้าสู่ประชาธิปไตยโดยเร็ว และเรียกร้องให้ปล่อยตัว นักโทษทางการเมือง รวมถึงนางอองซาน ซูจี
อย่างไรก็ตาม ผมมองว่า ท่าทีของ G 8 ดูอ่อนกว่าท่าทีของสหรัฐฯ โดยไม่ได้มีการพูดถึงมาตรการการคว่ำบาตร ซึ่งผมก็คิดว่า คงเป็นรัสเซียอีกนั่นแหล่ะ ที่คัดค้านที่จะให้ G 8 ประกาศมาตรการไม้แข็งต่อพม่า
ซูดาน
สำหรับในแอฟริกา เรื่องที่ G 8 ให้ความสำคัญที่สุดคือ วิกฤตการณ์ในซูดาน โดยเฉพาะวิกฤตการณ์ใน Darfur และกระตุ้นให้ทุกฝ่ายยุติการใช้ความรุนแรง และหันมาเจรจาสันติภาพ และเรียกร้องให้ทุกฝ่าย ปฏิบัติตามพันธกรณีของข้อมติของคณะมนตรีความมั่นคง
ท่าที G 8 ในเรื่องนี้ ก็เหมือนท่าทีในเรื่องอื่นๆ คือ ดูอ่อน เมื่อเทียบกับท่าทีของตะวันตกและท่าทีของสหรัฐฯ ซึ่งโดยปกติแล้วจะมีท่าทีแข็งกร้าว และเน้นเรื่องมาตรการคว่ำบาตร
อาวุธร้ายแรงและการก่อการร้าย
สำหรับสองเรื่องนี้ ในอดีต หลังเหตุการณ์ 11 กันยาฯ ถือเป็นเรื่องที่สำคัญที่สุด แต่ตอนนี้ดูลดความสำคัญลง โดยมีลักษณะของการกล่าวอย่างกว้างๆ ถึงอันตรายของการแพร่ขยายของอาวุธร้ายแรง และได้กล่าวประณามการก่อการร้ายในทุกรูปแบบ ตอกย้ำพันธกรณีของ G 8 เพื่อต่อต้านการก่อการร้าย และ G 8 กลับมาให้ความสำคัญกับกรอบ UN โดยเฉพาะการปฏิบัติตาม UN Global Counter-Terrorism Strategy
ซึ่งดูแล้ว เห็นได้ว่า ท่าทีของ G 8 ในเรื่องนี้ก็ดูอ่อนจากเดิม อาจเป็นเพราะทั้งยุโรปและรัสเซียไม่เห็นด้วยกับการใช้ไม้แข็งของสหรัฐฯ โดยเฉพาะการใช้กำลังทหารในการแก้ไขปัญหา และหันมาให้ความสำคัญกับ UN ในการแก้ไขปัญหาดังกล่าวมากขึ้น
ภาพรวม
· เมื่อวันที่ 27 มิถุนายนที่ผ่านมา ได้มีการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศ G 8 ที่ Kyoto
ประเทศญี่ปุ่น โดยภาพรวมแล้ว การประชุมครั้งนี้ ถ้าเทียบกับการประชุมหลายๆ ครั้งที่ผ่านมา
โดยเฉพาะตั้งแต่เหตุการณ์ 11 กันยาฯ จะเห็นได้ว่า มีการเปลี่ยนแปลง โดยช่วงหลังเหตุการณ์ 11 กันยาฯใหม่ๆ G 8 ถูกสหรัฐฯบีบให้เน้นเรื่องการต่อต้านการก่อการร้ายเป็นพิเศษ มาถึงปีนี้ เรื่องก่อการร้ายดูจะลดความสำคัญลง แต่ประเด็นหลัก ยังคงหนีไม่พ้นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการก่อการร้าย โดยเฉพาะการเน้นวิกฤตการณ์ในตะวันออกกลางและอัฟกานิสถาน ซึ่งประเด็นส่วนใหญ่ยังเป็นประเด็นที่สหรัฐฯผลักดัน
· อย่างไรก็ตาม ท่าทีที่ออกมาของ G 8 ดูอ่อน และไม่ก้าวร้าวอย่างที่สหรัฐอยากให้
เป็น ทั้งนี้ ผมวิเคราะห์ว่า อาจเป็นเพราะรัสเซีย คงจะต่อต้านท่าทีแข็งกร้าวของสหรัฐฯและทำให้ท่าทีร่วมของ G 8 ดูอ่อนลง ยุโรปเอง ขณะนี้ก็คงจะกลัวการเผชิญหน้ากับรัสเซีย เพราะในยุควิกฤตพลังงาน ยุโรปต้องพึ่งพาการนำเข้าน้ำมันและก๊าซธรรมชาติจากรัสเซียเป็นอย่างมาก
· อีกประเด็นหนึ่งคือ กลุ่ม G 8 ไม่ได้สะท้อนถึงโครงสร้างอำนาจของโลกใน
ปัจจุบัน หมายความว่า มีบางประเทศที่มีความสำคัญต่อการเมืองโลก แต่ไม่ได้อยู่ในกลุ่ม G 8 ที่สำคัญคือจีนและอินเดีย จึงทำให้ G 8 ขาดความชอบธรรมในการเป็นกลุ่มประเทศผู้นำของโลก
อัฟกานิสถาน
การประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศ G 8 ครั้งนี้ ให้ความสำคัญอย่างมากต่อวิกฤตการณ์ใน
อัฟกานิสถาน โดย G 8 โดยเฉพาะสหรัฐฯ คงมองว่า อัฟกานิสถานเป็นแนวรบสำคัญในสงครามต่อต้านการก่อการร้าย ดังนั้น ถ้าตะวันตกเพลี่ยงพล้ำในอัฟกานิสถาน ก็จะกระทบต่อภาพใหญ่ของสงครามต่อต้านการก่อการร้ายได้
การประชุมครั้งนี้ จึงได้มีการแถลงการณ์พิเศษแยกต่างหาก เกี่ยวกับอัฟกานิสถาน โดยแถลงการณ์ได้กล่าวว่า G 8 จะสนับสนุนอัฟกานิสถานอย่างเต็มที่ ในการฟื้นฟูบูรณะประเทศและสร้างเสถียรภาพ
นอกจากนี้ จะเห็นแนวโน้มว่า G 8 และสหรัฐฯ กำลังพยายามที่จะดึงเอาองค์การสหประชาชาติเข้ามามีบทบาทมากขึ้น โดย G 8 ได้สนับสนุนข้อมติคณะมนตรีความมั่นคงที่ 1806 ที่ให้เพิ่มบทบาท UN Assistance Mission in Afganistan (UNAMA)
G 8 สนับสนุนบทบาทของกองกำลัง International Security Assistance Force ซึ่งก็คือกองกำลังของ NATO นั่นเอง
ผมมองว่า สหรัฐฯกำลังตกที่นั่งลำบากในอัฟกานิสถาน เพราะเข้าทำนองยิ่งปราบยิ่งเพิ่ม โดยหลังจากที่อเมริกาบุกยึดอัฟกานิสถานเมื่อปลายปี 2001 แต่หลังจากนั้น นักรบตาลีบันก็ค่อยๆ ฟื้นคืนชีพและโจมตีกองกำลังสหรัฐฯ และกองกำลัง NATO หนักขึ้นเรื่อยๆ รวมทั้ง Al Qaeda ก็มีแหล่งซ่องสุมใหม่อยู่ตามพรมแดนติดกับปากีสถาน และ Bin Laden ก็คงจะซ่อนตัวอยู่ที่นั่น
ตะวันออกกลาง
รัฐมนตรีต่างประเทศ G 8 สนับสนุนการเจรจาของอิสราเอล-ปาเลสไตน์อย่างเต็มที่ โดยตั้งเป้าที่จะให้บรรลุข้อตกลงภายในปีนี้ โดยจะให้มีการจัดตั้งรัฐปาเลสไตน์ที่ West Bank และ Gaza เพื่อให้เป็นไปตาม roadmap ที่สหรัฐฯได้ผลักดันมาโดยตลอด ที่ประชุมสนับสนุนการที่รัสเซียจะจัดประชุมสันติภาพตะวันออกกลางที่ Moscow
ผมมองว่า การที่รัสเซียจะเป็นเจ้าภาพจัดประชุม ชี้ให้เห็นถึงความพยายามของรัสเซียที่จะเข้ามามีบทบาทมากขึ้นในตะวันออกกลาง เพื่อคานอำนาจสหรัฐฯและตะวันตก
อิหร่าน
สำหรับในกรณีอิหร่าน คงจะเดาได้ว่า G 8 จะมีท่าทีอย่างไร ท่าทีของ G 8 ก็เป็นท่าทีของสหรัฐฯนั่นเอง คือ การแสดงความวิตกกังวลเกี่ยวกับโครงการพัฒนานิวเคลียร์ของอิหร่าน และห่วงใยที่อิหร่านไม่ยอมปฏิบัติตามข้อมติของคณะมนตรีความมั่นคง อิหร่านยังคงเดินหน้าพัฒนาโครงการนิวเคลียร์ต่อไป G 8 จึงกระตุ้นให้อิหร่านร่วมมือกับ IAEA และปฏิบัติตามพันธกรณีระหว่างประเทศ โดยเฉพาะการยุติโครงการพัฒนานิวเคลียร์ แต่ G 8 ก็เน้นว่า จะแก้ไขปัญหาโดยวิธีทางการทูต
ผมดูแล้ว ท่าทีของ G 8 ในเรื่องอิหร่านดูอ่อนกว่าท่าทีของสหรัฐฯ สาเหตุก็คงจะเป็นเพราะ การคัดค้านจากรัสเซีย ที่ไม่ต้องการให้มีการใช้มาตรการคว่ำบาตรต่ออิหร่าน
อิรัก
สำหรับในประเด็นอิรักนั้น ดูภาพรวมแล้ว ก็ลดความสำคัญลงไป ผิดกับในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ทั้งนี้เพราะ ความรุนแรงในอิรักเริ่มทุเลาลง G 8 และสหรัฐฯจึงหันมาเน้นการผลักดันความร่วมมือระหว่างประเทศ และการประชุมพหุภาคีต่างๆ โดยได้มีการจัดประชุม Ministerial Conference of the Neighboring Countries of Iraq ในเดือนเมษายน และการประชุม Compact Annual Review Conference ในเดือนพฤษภาคม
ปากีสถาน
ในกรณีปากีสถานนั้น ผมขอเกริ่นว่า ตะวันตกกำลังห่วงใยสถานการณ์ในปากีสถาน เพราะมีแนวโน้มที่กลุ่มมุสลิมหัวรุนแรง โดยเฉพาะกลุ่มตาลีบัน กำลังมีอิทธิพลทางการเมืองเพิ่มมากขึ้น ซึ่งหากกลุ่มตาลีบันสามารถยึดกุมอำนาจรัฐได้ ก็จะเป็นฝันร้ายของตะวันตก เพราะรัฐบาลตาลีบันจะมีอาวุธนิวเคลียร์ในครอบครอง
ดังนั้น ที่ประชุม G 8 จึงได้ให้ความสำคัญต่อเสถียรภาพในปากีสถาน ว่ามีความสำคัญต่อเสถียรภาพในภูมิภาค และความมั่นคงของโลก G 8 จะให้ความช่วยเหลือต่อรัฐบาลปากีสถาน เพื่อสร้างเสถียรภาพและพัฒนาเศรษฐกิจ
เกาหลีเหนือ
ท่าทีของ G 8 ต่อเกาหลีเหนือ เห็นชัดว่า สะท้อนท่าทีของสหรัฐฯ โดยในเอกสารผลการประชุมระบุว่า เป้าหมายของ G 8 คือ ต้องการให้คาบสมุทรเกาหลีเป็นเขตปลอดอาวุธนิวเคลียร์ และกระตุ้นให้เกาหลีเหนือยุติการมีอาวุธนิวเคลียร์ในครอบครอง G 8 สนับสนุนการเจรจา 6 ฝ่าย และยินดีที่เมื่อไม่กี่วันมานี้ เกาหลีเหนือได้ เสนอรายละเอียดเกี่ยวกับโครงการนิวเคลียร์ของตน และได้แสดงภาพถ่ายการระเบิดทำลายบางส่วนของโรงงานนิวเคลียร์
อย่างไรก็ตาม ผมคิดว่า กรณีเกาหลีเหนือนั้น เราคงต้องดูกันยาว ๆ ผมไม่เชื่อว่า เกาหลีเหนือจะยอมปลดอาวุธนิวเคลียร์ของตนได้ง่าย ๆ ที่ผ่านมา เกาหลีเหนือก็กลับไปกลับมาตลอด จึงไม่มีความแน่นอนว่า ในอนาคต เกาหลีเหนือจะปรับเปลี่ยนท่าทีอย่างไร
พม่า
วิกฤตการณ์ในพม่าก็เป็นอีกเรื่องหนึ่งที่รัฐมนตรีต่างประเทศ G 8 ให้ความสนใจ โดยได้กล่าวถึงการให้ความช่วยเหลือ วิกฤตพายุ Nagis และเรียกร้องให้รัฐบาลพม่าเปิดประตูให้ความช่วยเหลือ และบุคลากรต่างๆ ได้เข้าไปให้ความช่วยเหลืออย่างเต็มที่
นอกจากนี้ G 8 ห่วงใยต่อสถานการณ์การเมืองในพม่า และเรียกร้องให้รัฐบาลพม่า เดินหน้าสู่ประชาธิปไตยโดยเร็ว และเรียกร้องให้ปล่อยตัว นักโทษทางการเมือง รวมถึงนางอองซาน ซูจี
อย่างไรก็ตาม ผมมองว่า ท่าทีของ G 8 ดูอ่อนกว่าท่าทีของสหรัฐฯ โดยไม่ได้มีการพูดถึงมาตรการการคว่ำบาตร ซึ่งผมก็คิดว่า คงเป็นรัสเซียอีกนั่นแหล่ะ ที่คัดค้านที่จะให้ G 8 ประกาศมาตรการไม้แข็งต่อพม่า
ซูดาน
สำหรับในแอฟริกา เรื่องที่ G 8 ให้ความสำคัญที่สุดคือ วิกฤตการณ์ในซูดาน โดยเฉพาะวิกฤตการณ์ใน Darfur และกระตุ้นให้ทุกฝ่ายยุติการใช้ความรุนแรง และหันมาเจรจาสันติภาพ และเรียกร้องให้ทุกฝ่าย ปฏิบัติตามพันธกรณีของข้อมติของคณะมนตรีความมั่นคง
ท่าที G 8 ในเรื่องนี้ ก็เหมือนท่าทีในเรื่องอื่นๆ คือ ดูอ่อน เมื่อเทียบกับท่าทีของตะวันตกและท่าทีของสหรัฐฯ ซึ่งโดยปกติแล้วจะมีท่าทีแข็งกร้าว และเน้นเรื่องมาตรการคว่ำบาตร
อาวุธร้ายแรงและการก่อการร้าย
สำหรับสองเรื่องนี้ ในอดีต หลังเหตุการณ์ 11 กันยาฯ ถือเป็นเรื่องที่สำคัญที่สุด แต่ตอนนี้ดูลดความสำคัญลง โดยมีลักษณะของการกล่าวอย่างกว้างๆ ถึงอันตรายของการแพร่ขยายของอาวุธร้ายแรง และได้กล่าวประณามการก่อการร้ายในทุกรูปแบบ ตอกย้ำพันธกรณีของ G 8 เพื่อต่อต้านการก่อการร้าย และ G 8 กลับมาให้ความสำคัญกับกรอบ UN โดยเฉพาะการปฏิบัติตาม UN Global Counter-Terrorism Strategy
ซึ่งดูแล้ว เห็นได้ว่า ท่าทีของ G 8 ในเรื่องนี้ก็ดูอ่อนจากเดิม อาจเป็นเพราะทั้งยุโรปและรัสเซียไม่เห็นด้วยกับการใช้ไม้แข็งของสหรัฐฯ โดยเฉพาะการใช้กำลังทหารในการแก้ไขปัญหา และหันมาให้ความสำคัญกับ UN ในการแก้ไขปัญหาดังกล่าวมากขึ้น
จีน กับการท้าทายระเบียบเศรษฐกิจโลกของตะวันตก
จีน กับการท้าทายระเบียบเศรษฐกิจโลกของตะวันตก
Fred Bergsten นักเศรษฐศาสตร์ชาวอเมริกัน ซึ่งเคยเป็นที่ปรึกษาทางด้านเศรษฐกิจให้กับประธานาธิบดี Bill Clinton ได้เขียนบทความวิเคราะห์ เกี่ยวกับจีนกับการท้าทายระเบียบเศรษฐกิจโลกของตะวันตก ในวารสาร Foreign Affairs ฉบับล่าสุด คือ ฉบับเดือนกรกฎาคม ปี 2008 คอลัมน์โลกทรรศน์ในวันนี้ ผมจะได้นำเอาบทความดังกล่าว มาสรุปวิเคราะห์ ดังนี้
จีนกับระเบียบเศรษฐกิจโลก
Bergsten ได้วิเคราะห์ว่า ตะวันตกกำลังพยายามให้จีน เข้ามามีความรับผิดชอบในระบบเศรษฐกิจโลก แต่ความพยายามดังกล่าว ดูจะเป็นสิ่งยากยิ่ง ทั้งนี้เพราะ ขณะนี้ จีนดูเหมือนจะไม่สนใจที่จะเล่นบทบาทดังกล่าว
สหรัฐฯ ถึงแม้จะยังเป็นประเทศที่มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่ที่สุดในโลก แต่จีนก็กำลังผงาดขึ้นมา และเติบโตเร็วมาก การขยายตัวทางเศรษฐกิจของจีนอย่างรวดเร็ว กำลังมีผลกระทบต่อเศรษฐกิจโลก และสำหรับในเอเชีย จีนก็มีแนวโน้มที่จะครอบงำเอเชียในอนาคต
อย่างไรก็ตาม ปัญหา 3 เรื่องของจีนคือ แม้ว่าจีนจะมีขนาดเศรษฐกิจที่ใหญ่ แต่จีนยังเป็นประเทศยากจน เป็นประเทศที่ไม่มีระบบเศรษฐกิจที่ใช้กลไกตลาดอย่างแท้จริง รวมทั้งยังเป็นประเทศเผด็จการอยู่ ปัญหาทั้ง 3 ด้านนี้ จึงทำให้เป็นสิ่งที่ยาก ที่จะทำให้จีนมีความรับผิดชอบ ซึ่งควรจะมีสำหรับประเทศที่เป็นอภิมหาอำนาจ
ตะวันตกพยายามที่จะ ดึงจีนให้เข้ามาอยู่ในระเบียบเศรษฐกิจโลกของตะวันตก แต่ก็มีแนวโน้มว่า จีนกำลังมีวัตถุประสงค์เป็นอย่างอื่น และกำลังดำเนินยุทธศาสตร์ที่ขัดแย้งกับกฎระเบียบและบรรทัดฐานของระเบียบเศรษฐกิจโลกที่ตะวันตกครอบงำอยู่ ตลอดเวลาที่ผ่านมา จีนได้เรียกร้องให้มีการจัดระเบียบเศรษฐกิจโลกใหม่ หรือที่เรียกในภาษาอังกฤษว่า New International Economic Order และจีนกำลังท้าทายสหรัฐฯ ด้วยการเสนอฉันทามติปักกิ่ง (Beijing Consensus) เพื่อที่จะมาสู้กับฉันทามติวอชิงตัน (Washington Consensus)
WTO
Bergsten ได้โจมตีจีนต่อไปว่า จีนเล่นบทบาทที่เป็นการทำลายระบบการค้าโลก โดยจีนพยายามส่งเสริมการจัดทำ FTA ที่มีคุณภาพต่ำ และมีวาระซ่อนเร้นทางการเมือง แทนที่จะให้ความสำคัญกับการเปิดเสรีทางการค้าโดยผ่าน WTO แต่เพราะจีนเป็นประเทศที่มีการเกินดุลการค้ามากที่สุดในโลก และเป็นประเทศผู้ส่งออกใหญ่เป็นอันดับ 2 ของโลก ดังนั้น พฤติกรรมของจีนเช่นนี้เท่ากับเป็นการทำลายระบบการค้าโลก
ใน WTO จีนปฏิเสธที่จะผลักดันการเจรจารอบ Doha ให้สำเร็จ การที่จีนไม่มีบทบาทในเชิงบวกในการเจรจารอบ Doha ก็เท่ากับเป็นการทำให้การเจรจาครั้งนี้ล้มเหลวอย่างแน่นอน โดยจีนได้ประกาศว่า จีนไม่มีพันธกรณีในเรื่องการเปิดเสรี และจีนก็อ้างว่า จีนเป็นสมาชิกใหม่ของ WTO เพื่อเป็นการสร้างความชอบธรรมให้กับการเล่นบทบาทในเชิงลบ
FTA
จีนได้ส่งเสริมการเจรจา FTA ทั้งในระดับทวิภาคีและในระดับภูมิภาค ซึ่งวาระซ่อนเร้นก็คือ เหตุผลทางการเมืองไม่ใช่เหตุผลทางเศรษฐกิจ อาทิ FTA อาเซียนกับจีน เป็นเหตุผลทางการเมืองที่จีนต้องการเอาใจอาเซียน ลดความหวาดระแวงของอาเซียน และหวังว่าจะใช้เป็นช่องทางขยายอิทธิพลทางการเมืองเข้าสู่ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ แต่ FTA ที่จีนทำกับประเทศต่าง ๆ ก็มีคุณภาพต่ำ แต่จีนอ้างว่า จีนยังเป็นประเทศกำลังพัฒนา และยังต้องใช้หลักการการปฏิบัติที่มีความพิเศษและมีความแตกต่าง (special and differential treatment)
กลุ่มการค้าเอเชีย
Bergsten โจมตีจีนต่อว่า จีนกำลังทำลายระบบการค้าโลก ด้วยการสนับสนุนการจัดตั้ง กลุ่มการค้าเอเชียตะวันออก โดยมีลักษณะเป็นเครือข่ายของ FTA ต่าง ๆ อาทิ FTA จีน-อาเซียน FTA ญี่ปุ่น – อาเซียน FTA เกาหลี-อาเซียน และ FTA ทวิภาคีกับอีกหลายประเทศ รวมทั้งการผลักดันกรอบความร่วมมืออาเซียน+3 เพื่อที่จะพัฒนาไปเป็นประชาคมเอเชียตะวันออก สิ่งเหล่านี้ภายในทศวรรษหน้า จะนำไปสู่การจัดตั้งเขตการค้าเสรีเอเชียตะวันออก ซึ่งจะมีจีนเป็นผู้นำ
อย่างไรก็ตาม กลุ่มเอเชียตะวันออกจะก่อให้เกิดกระแสต่อต้านจากสหรัฐฯและยุโรป ทั้งนี้เพราะ ตะวันตกจะรู้สึกว่าถูกกีดกัน และยิ่งไปกว่านั้น กลุ่มเอเชียตะวันออกจะทำให้ระบบเศรษฐกิจโลกกลายเป็นระบบ 3 ขั้ว (ขั้วยุโรป ขั้วสหรัฐฯ และขั้วเอเชีย) ซึ่งจะทำให้ความขัดแย้งในระบบเศรษฐกิจโลกทวีความรุนแรงมากขึ้น
เอเปค
นอกจากนี้ การท้าทายของจีนต่อระบบการค้าโลก ยังเห็นได้ชัดเจน ในกรณีที่จีนต่อต้านคัดค้านข้อเสนอของสหรัฐฯ ที่จะให้มีการจัดตั้งเขตการค้าเสรีเอเชีย-แปซิฟิค (Free Trade Area of the Asia-Pacific) ซึ่งสหรัฐฯได้เสนอในเวทีการประชุมเอเปค โดย Bergsten กล่าวว่า ข้อเสนอดังกล่าว ก็เพื่อเป็นการป้องกันไม่ให้เกิดการเผชิญหน้าระหว่างกลุ่มการค้าเอเชียกับสหรัฐฯ และป้องกันไม่ให้มีการขีดเส้นแบ่งกลางมหาสมุทรแปซิฟิค
ระบบการเงินโลก
Bergsten ได้โจมตีจีนว่า นอกจากจะท้าทายระเบียบการค้าโลกแล้ว จีนยังท้าทายระเบียบการเงินโลกอีกด้วย โดยบอกว่า จีนเป็นประเทศมหาอำนาจทางเศรษฐกิจประเทศเดียวในโลก ที่ปฏิเสธไม่ยอมรับระบบอัตราแลกเปลี่ยนแบบยืดหยุ่นและลอยตัว โดยจีนยังคงเดินหน้าทำให้เงินหยวนมีค่าต่ำกว่าความเป็นจริง ซึ่งจะทำให้จีนมีความสามารถในการแข่งขันทางการค้ามากขึ้น แต่การทำเช่นนั้น ก็เป็นการละเมิดบรรทัดฐานขั้นพื้นฐานของระบบการเงินโลก และของ IMF ซึ่งระบุว่า สมาชิกของ IMF จะต้องหลีกเลี่ยงการเข้าไปแทรกแซงและบิดเบือนระบบอัตราแลกเปลี่ยน
ผลของการกระทำของจีน จึงกลายเป็นว่า จีนกลายเป็นประเทศค้าขายรายใหญ่ของโลก ซึ่งมีการเกินดุลบัญชีเดินสะพัดถึง 12% ของ GDP และมีปริมาณเงินเกินดุลอยู่ถึง 5 แสนล้านเหรียญ ซึ่งนำไปสู่ภาวะ การขาดสมดุลในระบบการเงินโลก และอาจจะนำไปสู่การล่มสลายของระบบอัตราแลกเปลี่ยน และวิกฤตการณ์ทางการเงินครั้งใหม่
อย่างไรก็ตาม จีนก็ปฏิเสธที่จะเดินตามแรงกดดันของสหรัฐฯที่ให้มีการปรับค่าเงินหยวน โดยจีนได้อ้างมาโดยตลอดว่า ระบบอัตราการแลกเปลี่ยนของแต่ละประเทศนั้น เป็นอำนาจอธิปไตยของประเทศ ที่ประเทศอื่นไม่ควรเข้ามายุ่ง
นอกจากนี้ จีนพยายามจัดตั้ง กองทุนการเงินแห่งเอเชีย (Asian Monetary Fund) เพื่อที่จะมาแข่งกับ IMF และลดบทบาท IMF และจีนยังพยายาม ในระยะยาว ที่จะทำให้เงินหยวนของจีนมีบทบาททั้งในระดับภูมิภาคและในระดับโลก
ความช่วยเหลือทางเศรษฐกิจ
จีนกำลังจะเป็นประเทศที่ให้ความช่วยเหลือทางเศรษฐกิจอันดับ 1 ของโลก แต่จีนก็กำลังท้าทายบรรทัดฐาน โดยปฏิเสธเงื่อนไขที่ประเทศที่ให้ความช่วยเหลือได้ใช้มาโดยตลอด
จีนปฏิเสธมาตรฐานทางสังคม คือ สิทธิมนุษยชน มาตรฐานแรงงาน และสิ่งแวดล้อม นอกจากนี้ ยังปฏิเสธมาตรฐานทางเศรษฐกิจ คือการแก้ไขปัญหาความยากจน และการมีธรรมภิบาล สิ่งเหล่านี้ เป็นเงื่อนไขสำคัญที่หน่วยงานให้ความช่วยเหลือระหว่างประเทศและประเทศตะวันตกได้ใช้มาโดยตลอด แต่สำหรับจีน เงื่อนไขสำคัญที่สุดคือ เหตุผลทางการเมือง โดยจีนตั้งเงื่อนไขว่า จีนจะให้ความช่วยเหลือกับประเทศที่สนับสนุนท่าทีของจีนในประเด็นปัญหาต่าง ๆ รวมทั้งเงื่อนไขที่ประเทศที่ได้รับความช่วยเหลือจะต้องส่งออกสินค้าโภคภัณฑ์ โดยเฉพาะพลังงานให้กับจีน
กล่าวโดยสรุป การวิเคราะห์ของ Fred Bergsten เป็นการมองจีนในสายตาของนักเศรษฐศาสตร์สายเหยี่ยวชาวอเมริกัน ที่มองจีนเป็นศัตรูและเป็นลบเป็นอย่างมาก และมีความลำเอียงเข้าข้างตะวันตกและสหรัฐฯอย่างชัดเจน
Fred Bergsten นักเศรษฐศาสตร์ชาวอเมริกัน ซึ่งเคยเป็นที่ปรึกษาทางด้านเศรษฐกิจให้กับประธานาธิบดี Bill Clinton ได้เขียนบทความวิเคราะห์ เกี่ยวกับจีนกับการท้าทายระเบียบเศรษฐกิจโลกของตะวันตก ในวารสาร Foreign Affairs ฉบับล่าสุด คือ ฉบับเดือนกรกฎาคม ปี 2008 คอลัมน์โลกทรรศน์ในวันนี้ ผมจะได้นำเอาบทความดังกล่าว มาสรุปวิเคราะห์ ดังนี้
จีนกับระเบียบเศรษฐกิจโลก
Bergsten ได้วิเคราะห์ว่า ตะวันตกกำลังพยายามให้จีน เข้ามามีความรับผิดชอบในระบบเศรษฐกิจโลก แต่ความพยายามดังกล่าว ดูจะเป็นสิ่งยากยิ่ง ทั้งนี้เพราะ ขณะนี้ จีนดูเหมือนจะไม่สนใจที่จะเล่นบทบาทดังกล่าว
สหรัฐฯ ถึงแม้จะยังเป็นประเทศที่มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่ที่สุดในโลก แต่จีนก็กำลังผงาดขึ้นมา และเติบโตเร็วมาก การขยายตัวทางเศรษฐกิจของจีนอย่างรวดเร็ว กำลังมีผลกระทบต่อเศรษฐกิจโลก และสำหรับในเอเชีย จีนก็มีแนวโน้มที่จะครอบงำเอเชียในอนาคต
อย่างไรก็ตาม ปัญหา 3 เรื่องของจีนคือ แม้ว่าจีนจะมีขนาดเศรษฐกิจที่ใหญ่ แต่จีนยังเป็นประเทศยากจน เป็นประเทศที่ไม่มีระบบเศรษฐกิจที่ใช้กลไกตลาดอย่างแท้จริง รวมทั้งยังเป็นประเทศเผด็จการอยู่ ปัญหาทั้ง 3 ด้านนี้ จึงทำให้เป็นสิ่งที่ยาก ที่จะทำให้จีนมีความรับผิดชอบ ซึ่งควรจะมีสำหรับประเทศที่เป็นอภิมหาอำนาจ
ตะวันตกพยายามที่จะ ดึงจีนให้เข้ามาอยู่ในระเบียบเศรษฐกิจโลกของตะวันตก แต่ก็มีแนวโน้มว่า จีนกำลังมีวัตถุประสงค์เป็นอย่างอื่น และกำลังดำเนินยุทธศาสตร์ที่ขัดแย้งกับกฎระเบียบและบรรทัดฐานของระเบียบเศรษฐกิจโลกที่ตะวันตกครอบงำอยู่ ตลอดเวลาที่ผ่านมา จีนได้เรียกร้องให้มีการจัดระเบียบเศรษฐกิจโลกใหม่ หรือที่เรียกในภาษาอังกฤษว่า New International Economic Order และจีนกำลังท้าทายสหรัฐฯ ด้วยการเสนอฉันทามติปักกิ่ง (Beijing Consensus) เพื่อที่จะมาสู้กับฉันทามติวอชิงตัน (Washington Consensus)
WTO
Bergsten ได้โจมตีจีนต่อไปว่า จีนเล่นบทบาทที่เป็นการทำลายระบบการค้าโลก โดยจีนพยายามส่งเสริมการจัดทำ FTA ที่มีคุณภาพต่ำ และมีวาระซ่อนเร้นทางการเมือง แทนที่จะให้ความสำคัญกับการเปิดเสรีทางการค้าโดยผ่าน WTO แต่เพราะจีนเป็นประเทศที่มีการเกินดุลการค้ามากที่สุดในโลก และเป็นประเทศผู้ส่งออกใหญ่เป็นอันดับ 2 ของโลก ดังนั้น พฤติกรรมของจีนเช่นนี้เท่ากับเป็นการทำลายระบบการค้าโลก
ใน WTO จีนปฏิเสธที่จะผลักดันการเจรจารอบ Doha ให้สำเร็จ การที่จีนไม่มีบทบาทในเชิงบวกในการเจรจารอบ Doha ก็เท่ากับเป็นการทำให้การเจรจาครั้งนี้ล้มเหลวอย่างแน่นอน โดยจีนได้ประกาศว่า จีนไม่มีพันธกรณีในเรื่องการเปิดเสรี และจีนก็อ้างว่า จีนเป็นสมาชิกใหม่ของ WTO เพื่อเป็นการสร้างความชอบธรรมให้กับการเล่นบทบาทในเชิงลบ
FTA
จีนได้ส่งเสริมการเจรจา FTA ทั้งในระดับทวิภาคีและในระดับภูมิภาค ซึ่งวาระซ่อนเร้นก็คือ เหตุผลทางการเมืองไม่ใช่เหตุผลทางเศรษฐกิจ อาทิ FTA อาเซียนกับจีน เป็นเหตุผลทางการเมืองที่จีนต้องการเอาใจอาเซียน ลดความหวาดระแวงของอาเซียน และหวังว่าจะใช้เป็นช่องทางขยายอิทธิพลทางการเมืองเข้าสู่ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ แต่ FTA ที่จีนทำกับประเทศต่าง ๆ ก็มีคุณภาพต่ำ แต่จีนอ้างว่า จีนยังเป็นประเทศกำลังพัฒนา และยังต้องใช้หลักการการปฏิบัติที่มีความพิเศษและมีความแตกต่าง (special and differential treatment)
กลุ่มการค้าเอเชีย
Bergsten โจมตีจีนต่อว่า จีนกำลังทำลายระบบการค้าโลก ด้วยการสนับสนุนการจัดตั้ง กลุ่มการค้าเอเชียตะวันออก โดยมีลักษณะเป็นเครือข่ายของ FTA ต่าง ๆ อาทิ FTA จีน-อาเซียน FTA ญี่ปุ่น – อาเซียน FTA เกาหลี-อาเซียน และ FTA ทวิภาคีกับอีกหลายประเทศ รวมทั้งการผลักดันกรอบความร่วมมืออาเซียน+3 เพื่อที่จะพัฒนาไปเป็นประชาคมเอเชียตะวันออก สิ่งเหล่านี้ภายในทศวรรษหน้า จะนำไปสู่การจัดตั้งเขตการค้าเสรีเอเชียตะวันออก ซึ่งจะมีจีนเป็นผู้นำ
อย่างไรก็ตาม กลุ่มเอเชียตะวันออกจะก่อให้เกิดกระแสต่อต้านจากสหรัฐฯและยุโรป ทั้งนี้เพราะ ตะวันตกจะรู้สึกว่าถูกกีดกัน และยิ่งไปกว่านั้น กลุ่มเอเชียตะวันออกจะทำให้ระบบเศรษฐกิจโลกกลายเป็นระบบ 3 ขั้ว (ขั้วยุโรป ขั้วสหรัฐฯ และขั้วเอเชีย) ซึ่งจะทำให้ความขัดแย้งในระบบเศรษฐกิจโลกทวีความรุนแรงมากขึ้น
เอเปค
นอกจากนี้ การท้าทายของจีนต่อระบบการค้าโลก ยังเห็นได้ชัดเจน ในกรณีที่จีนต่อต้านคัดค้านข้อเสนอของสหรัฐฯ ที่จะให้มีการจัดตั้งเขตการค้าเสรีเอเชีย-แปซิฟิค (Free Trade Area of the Asia-Pacific) ซึ่งสหรัฐฯได้เสนอในเวทีการประชุมเอเปค โดย Bergsten กล่าวว่า ข้อเสนอดังกล่าว ก็เพื่อเป็นการป้องกันไม่ให้เกิดการเผชิญหน้าระหว่างกลุ่มการค้าเอเชียกับสหรัฐฯ และป้องกันไม่ให้มีการขีดเส้นแบ่งกลางมหาสมุทรแปซิฟิค
ระบบการเงินโลก
Bergsten ได้โจมตีจีนว่า นอกจากจะท้าทายระเบียบการค้าโลกแล้ว จีนยังท้าทายระเบียบการเงินโลกอีกด้วย โดยบอกว่า จีนเป็นประเทศมหาอำนาจทางเศรษฐกิจประเทศเดียวในโลก ที่ปฏิเสธไม่ยอมรับระบบอัตราแลกเปลี่ยนแบบยืดหยุ่นและลอยตัว โดยจีนยังคงเดินหน้าทำให้เงินหยวนมีค่าต่ำกว่าความเป็นจริง ซึ่งจะทำให้จีนมีความสามารถในการแข่งขันทางการค้ามากขึ้น แต่การทำเช่นนั้น ก็เป็นการละเมิดบรรทัดฐานขั้นพื้นฐานของระบบการเงินโลก และของ IMF ซึ่งระบุว่า สมาชิกของ IMF จะต้องหลีกเลี่ยงการเข้าไปแทรกแซงและบิดเบือนระบบอัตราแลกเปลี่ยน
ผลของการกระทำของจีน จึงกลายเป็นว่า จีนกลายเป็นประเทศค้าขายรายใหญ่ของโลก ซึ่งมีการเกินดุลบัญชีเดินสะพัดถึง 12% ของ GDP และมีปริมาณเงินเกินดุลอยู่ถึง 5 แสนล้านเหรียญ ซึ่งนำไปสู่ภาวะ การขาดสมดุลในระบบการเงินโลก และอาจจะนำไปสู่การล่มสลายของระบบอัตราแลกเปลี่ยน และวิกฤตการณ์ทางการเงินครั้งใหม่
อย่างไรก็ตาม จีนก็ปฏิเสธที่จะเดินตามแรงกดดันของสหรัฐฯที่ให้มีการปรับค่าเงินหยวน โดยจีนได้อ้างมาโดยตลอดว่า ระบบอัตราการแลกเปลี่ยนของแต่ละประเทศนั้น เป็นอำนาจอธิปไตยของประเทศ ที่ประเทศอื่นไม่ควรเข้ามายุ่ง
นอกจากนี้ จีนพยายามจัดตั้ง กองทุนการเงินแห่งเอเชีย (Asian Monetary Fund) เพื่อที่จะมาแข่งกับ IMF และลดบทบาท IMF และจีนยังพยายาม ในระยะยาว ที่จะทำให้เงินหยวนของจีนมีบทบาททั้งในระดับภูมิภาคและในระดับโลก
ความช่วยเหลือทางเศรษฐกิจ
จีนกำลังจะเป็นประเทศที่ให้ความช่วยเหลือทางเศรษฐกิจอันดับ 1 ของโลก แต่จีนก็กำลังท้าทายบรรทัดฐาน โดยปฏิเสธเงื่อนไขที่ประเทศที่ให้ความช่วยเหลือได้ใช้มาโดยตลอด
จีนปฏิเสธมาตรฐานทางสังคม คือ สิทธิมนุษยชน มาตรฐานแรงงาน และสิ่งแวดล้อม นอกจากนี้ ยังปฏิเสธมาตรฐานทางเศรษฐกิจ คือการแก้ไขปัญหาความยากจน และการมีธรรมภิบาล สิ่งเหล่านี้ เป็นเงื่อนไขสำคัญที่หน่วยงานให้ความช่วยเหลือระหว่างประเทศและประเทศตะวันตกได้ใช้มาโดยตลอด แต่สำหรับจีน เงื่อนไขสำคัญที่สุดคือ เหตุผลทางการเมือง โดยจีนตั้งเงื่อนไขว่า จีนจะให้ความช่วยเหลือกับประเทศที่สนับสนุนท่าทีของจีนในประเด็นปัญหาต่าง ๆ รวมทั้งเงื่อนไขที่ประเทศที่ได้รับความช่วยเหลือจะต้องส่งออกสินค้าโภคภัณฑ์ โดยเฉพาะพลังงานให้กับจีน
กล่าวโดยสรุป การวิเคราะห์ของ Fred Bergsten เป็นการมองจีนในสายตาของนักเศรษฐศาสตร์สายเหยี่ยวชาวอเมริกัน ที่มองจีนเป็นศัตรูและเป็นลบเป็นอย่างมาก และมีความลำเอียงเข้าข้างตะวันตกและสหรัฐฯอย่างชัดเจน
การเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯ (ตอนที่ 6):ทำไม Hillary Clinton ถึงแพ้?
การเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯ (ตอนที่ 6):
ทำไม Hillary Clinton ถึงแพ้?
การเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯ กำลังเข้มข้นขึ้นทุกขณะ คอลัมน์โลกทรรศน์ในวันนี้ จะมาวิเคราะห์ถึงสถานการณ์ล่าสุด โดยจะวิเคราะห์สาเหตุที่ทำไม Hillary Clinton ถึงแพ้ Barack Obama ในการเป็นตัวแทนพรรคเดโมแครต เพื่อช่วงชิงตำแหน่งประธานาธิบดี ในเดือนพฤศจิกายนนี้
Hillary Clinton นั้น ในตอนแรก คือช่วงปลายปีที่แล้ว มีคะแนนนำโด่งเหนือกว่าผู้สมัคร คนอื่นๆ ในพรรคเดโมแครต โดยมีคะแนนนำ Obama กว่า 20% อย่างไรก็ตาม มีปัจจัยหลายๆเรื่องที่มีส่วนให้ Hillary ซึ่งคาดว่าจะนอนมา กลับพ่ายแพ้ในที่สุด
บุคลิกภาพ
ปัจจัยประการแรกที่ทำให้ Hillary แพ้ คือ บุคลิกภาพ
ในตอนแรก ดูเหมือนกับว่า ลักษณะประจำตัวของ Hillary น่าจะเป็นต่อ Obama โดยเฉพาะ
ในเรื่องของ ประสบการณ์ และความสามารถในการโต้วาที Hillary ดูจะเป็นต่อในเรื่องการนำเสนอนโยบายที่เป็นรูปธรรมมากกว่า แต่ในที่สุด จุดแข็งของ Hillary กลับกลายเป็นจุดอ่อน ที่ Obama เอามาตอกย้ำ คือ ประสบการณ์ของ Hillary กลายเป็นประสบการณ์ที่ไปลงคะแนนสนับสนุนการบุกอิรักของรัฐบาล Bush คนอเมริกันส่วนใหญ่ไม่มีความเชื่อมั่นต่อคนที่มีประสบการณ์อีกต่อไป หลังจากที่ Bush ได้เลือกคนที่มีประสบการณ์ อย่างเช่น Dick Cheney และ Donald Rumsfeld
ในขณะที่ Obama กลับมีบุคลิกที่ดูจะโดนใจคนอเมริกัน เขาพยายามสร้างภาพว่า เป็นผู้ที่จะ
นำไปสู่ความเปลี่ยนแปลง และคำที่สำคัญที่สุดของ Obama คือคำว่า “การเปลี่ยนแปลง” (change) Obama สร้างภาพว่า เขาคือความหวังของอเมริกันที่ผิดหวังอย่างยิ่งต่อรัฐบาล Bush และ Obama ยังมีความสามารถในการกล่าวสุนทรพจน์ที่สะกดใจคนฟัง ทำให้มีผู้สนับสนุนเขามากขึ้นเรื่อยๆ หากได้เป็นประธานาธิบดี Obama จะเป็นประธานาธิบดีผิวสีคนแรก แต่ Obama ก็กล้าที่จะประกาศว่า เขาจะไม่เอาเรื่องสีผิวมายุ่งกับการเมือง และเขาประกาศว่า เขาจะเล่นการเมืองแบบใหม่ คือ จะไม่เป็นการเมืองแบบเก่าๆที่จะแบ่งขั้วเป็นเสรีนิยมและอนุรักษ์นิยม Obama จึงกลายเป็นคนหนุ่มที่มองโลกในแง่ดี และถูกหวังว่าคงจะสามารถสร้างเอกภาพขึ้นในชาติ
สำหรับ Hillary นั้น หลังจากเป็นผู้ตาม Obama ก็ได้มีความพยายามจากทีมหาเสียงที่จะ
เปลี่ยนบุคลิกภาพของเธอหลายครั้ง จาก Hillary ที่เป็น นักสู้ หรือ fighter มาเป็น Hillary ที่เป็นหญิงเหล็ก และกลายมาเป็น Hillary ที่เป็นผู้หญิงธรรมดาที่มีความอ่อนไหวและสามารถร้องไห้ออกมาได้ และในตอนท้ายก็กลายเป็น Hillary ที่เป็นวีรสตรีของชนชั้นกรรมาชน การเปลี่ยนบุคลิกภาพไปเรื่อย ๆ แบบนี้ ทำให้ในที่สุด คนอเมริกันก็มองว่า Hillary คือนักฉวยโอกาส และมองว่า Hillary ใส่หน้ากาก และไม่รู้ว่า Hillary จริงๆ นั้น คือใคร
ยุทธศาสตร์
ปัจจัยต่อมาที่ทำให้ Hillary พ่ายแพ้คือ ยุทธศาสตร์ในการหาเสียง ซึ่งมีหลายเรื่องด้วยกัน
เรื่องแรกคือ หลังจากที่ถูก Obama นำในคะแนนคณะผู้เลือกตั้ง และทำท่าว่าจะแพ้ Hillary ก็ปรับยุทธศาสตร์ในการโจมตีตัว Obama หนักขึ้นเรื่อยๆ จึงมีลักษณะยุทธศาสตร์การสาดโคลน และมุ่งทำลายตัว Obama เป็นหลัก แทนที่จะไปมุ่งเรื่องนโยบาย ยุทธศาสตร์แบบนี้ ภาษาอังกฤษเรียกว่า negative campaign โดยในระยะหลังๆ ได้มีการขุดคุ้ยความไม่ดีของ Obama ขึ้นมามากมาย ไม่ว่าจะเป็นการกล่าวหาว่าเป็นมุสลิม เป็นผิวดำ เป็นคนหลอกลวง และยังมีการขุดคุ้ยว่า Obama มีความสัมพันธ์กับมาเฟียในชิคาโก และอีกหลายๆ เรื่อง
ยุทธศาสตร์ที่ผิดพลาดอีกประการของ Hillary คือ การไปเน้นหาเสียงที่รัฐใหญ่และไม่
สนใจรัฐเล็ก ๆ มีการประเมินสถานการณ์ต่ำกว่าความเป็นจริง โดยมองว่า Hillary น่าจะชนะ Obama ได้ขาดลอยในช่วง Super Tuesday แต่จากการประมาทเช่นนั้น จึงทำให้ Obama ชนะในรัฐเล็กๆ โดยเฉพาะในช่วงหลัง Super Tuesday Obama ชนะติดต่อกันถึง 12 รัฐ และมีส่วนอย่างสำคัญยิ่งที่ทำให้ Obama นำห่าง จน Hillary ไล่ไม่ทันในที่สุด
ประการต่อมาคือ ความผิดพลาดในการ “เปลี่ยนม้ากลางศึก” โดยหลังจาก Super Tuesday Hillary แพ้มากขึ้นเรื่อย ๆ จึงได้มีการเปลี่ยนหัวหน้าทีมหาเสียงหลายครั้ง จึงทำให้ทีมหาเสียงรวนเรไปหมด และทั้งทีมหาเสียงและทีมที่ปรึกษา ก็เป็นคนในสมัยประธานาธิบดี Clinton แทบทั้งสิ้น คนเหล่านี้ยังติดยึดอยู่กับยุทธศาสตร์การหาเสียงในยุคทศวรรษ 1990 แต่มันใช้ไม่ได้แล้วในศตวรรษที่ 21
การดึงเอา Bill Clinton มาช่วยหาเสียง แทนที่จะเป็นบวกกลับกลายเป็นลบ ทั้งนี้เพราะ Bill Clinton ยังคงเป็นขวัญใจของชาวอเมริกัน ดังนั้นจึงมาบดบังราศีของ Hillary และไปตอกย้ำว่า Hillary นั้น จริงๆ แล้ว ได้ดีก็เพราะสามี
อีกเรื่องหนึ่งที่เกิดความผิดพลาดคือ ยุทธศาสตร์การหาเงินสนับสนุน ทีมของ Hillary ล้าสมัยและยังติดยึดอยู่กับ connection เก่าๆ และได้ทุ่มเงินในช่วงแรกของการหาเสียงโดยไม่ได้คิดว่าจะยืดเยื้อ แต่เมื่อต้องแข่งกับ Obama อย่างยืดเยื้อ ในที่สุดเงินทุนก็ร่อยหรอ จนถึงขั้นที่ Hillary ต้องไปกู้เงินมาเป็นจำนวนมาก
ยุทธศาสตร์ของ Hillary ที่ผิดพลาดเหล่านี้ ต่างจากยุทธศาสตร์ของ Obama ที่ดำเนินยุทธศาสตร์อย่างรัดกุมโดย Obama พยายามเน้นในเรื่องของนโยบายปฏิรูป การเปลี่ยนแปลง และไม่โจมตีตัวบุคคล คือ ไม่เน้น negative campaign และไม่สาดโคลน ยุทธศาสตร์การเน้นชนะที่รัฐเล็ก และ Obama ยังมีทีมหาเสียงที่มีระบบการจัดการอย่างดีเยี่ยม วิธีการหาเงินสนับสนุนก็นำเอาวิธีสมัยใหม่มาใช้ โดยเฉพาะการหาเงินผ่านทาง internet และไม่เน้นผู้สนับสนุนรายใหญ่ แต่ใครจะสนับสนุนเท่าไหร่ก็ได้ website ของ Obama จึงประสบความสำเร็จในการระดมทุน และกลายเป็นเครือข่ายของผู้สนับสนุน ซึ่งมีบทบาทอย่างสำคัญที่ทำให้ Obama ชนะ
นโยบาย
ข้อผิดพลาดอีกประการของ Hillary คือ การนำเสนอนโยบายที่แทงกั๊กมากเกินไป โดย
Hillary กลัวว่า จะไม่ได้รับการสนับสนุนจากทั้งซ้ายและขวา จึงพยายามดำเนินนโยบายสายกลาง ผลที่ออกมาคือ กลายเป็นนโยบายที่ไม่น่าสนใจ และกลับกลายเป็นว่า นโยบายของรัฐบาล Bush จากที่เคยขวาจัดและเป็นสายเหยี่ยว แต่ในตอนหลังๆ หลังจากประสบความล้มเหลว รัฐบาล Bush ก็ปรับนโยบายเข้าสู่สายกลางมากขึ้น ไป ๆ มาๆ จึงกลายเป็นว่า นโยบายของ Bush และนโยบายของ Hillary ก็แทบจะไม่ต่างกันเท่าไหร่ จึงทำให้ดูไม่น่าสนใจ บรรยากาศขณะนี้คือ คนอเมริกันต้องการความเปลี่ยนแปลงและเบื่อนโยบายสายกลาง ดังนั้น นโยบายของ Obama ที่เน้นการปฏิรูป การเปลี่ยนแปลง จึงโดนใจคนอเมริกันเป็นอย่างมาก
กลุ่มผู้สนับสนุน
จากการดำเนินนโยบายที่ผิดพลาดดังที่ผมได้กล่าวข้างต้น จึงทำให้ในตอนท้าย กลุ่มผู้ที่
สนับสนุน Hillary ก็น้อยลงทุกที กลุ่มที่เคยสนับสนุน Hillary คือ กลุ่มผิวขาว กลุ่มผู้สูงอายุ กลุ่มผู้หญิง แต่ในช่วงหลังๆ ก็กลับไปสนับสนุน Obama แทน ที่จะยังพอสนับสนุน Hillary อยู่คือ พวกชนชั้นแรงงานผิวขาว และกลุ่ม Latinos เท่านั้น ส่วน Obama นั้นได้รับการสนับสนุนจากเกือบทุกกลุ่ม ไม่ว่าจะเป็นกลุ่มคนหนุ่มคนสาว ผู้สูงอายุ ผิวขาว ผิวดำ และที่สำคัญคือ กลุ่มอิสระ หรือที่เรียกว่า independents กลุ่มนี้ในตอนหลังๆ ก็หันมาสนับสนุน Obama
ผมเคยวิเคราะห์ไปแล้วว่า ในที่สุด กลุ่มที่จะตัดสินว่า Obama หรือ Hillary จะชนะคือ กลุ่มที่เรียกว่า Super Delegates ซึ่งคล้ายๆ กับ ผู้บริหารพรรคเดโมแครต ซึ่งมีอยู่ประมาณ 800 คน ในตอนแรกๆ ส่วนใหญ่ก็ยังสนับสนุน Hillary ทั้งนี้เพราะ บารมีของ Bill Clinton อย่างไรก็ตาม ในตอนหลัง ๆ Super Delegates หลายคนได้มีการออกมาประกาศสนับสนุน Obama มากขึ้นเรื่อยๆ คนสำคัญในพรรคที่ออกมาประกาศสนับสนุน Obama และมีผลกระทบอย่างมาก คือ Edward Kennedy น้องชายของอดีตประธานาธิบดี John F. Kennedy โดย Edward ประกาศกร้าวว่า เขาสนับสนุน Obama เพราะ การเลือกตั้งครั้งนี้ เป็นการเลือกตั้งที่เกี่ยวกับอนาคต ไม่ใช่ เกี่ยวกับอดีต ซึ่งถ้าจะตีความก็หมายความว่า Obama คืออนาคต และ Hillary คืออดีตนั่นเอง
นอกจากนี้ ยังมี John Edwards ที่เคยลงชิงชัยเป็นตัวแทนพรรค แต่ในตอนหลังได้ถอนตัวออกไป ก็ได้ออกมาประกาศสนับสนุน Obama อย่างเต็มที่ นอกจากนี้ Al Gore อดีตรองประธานาธิบดีในสมัย Bill Clinton ซึ่งยังคงมีอิทธิพลอย่างมากในพรรค ก็ปิดปากเงียบไม่ออกมาประกาศสนับสนุนใคร
สิ่งเหล่านี้ ในที่สุดก็นำไปสู่ความพ่ายแพ้ของ Hillary
ทำไม Hillary Clinton ถึงแพ้?
การเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯ กำลังเข้มข้นขึ้นทุกขณะ คอลัมน์โลกทรรศน์ในวันนี้ จะมาวิเคราะห์ถึงสถานการณ์ล่าสุด โดยจะวิเคราะห์สาเหตุที่ทำไม Hillary Clinton ถึงแพ้ Barack Obama ในการเป็นตัวแทนพรรคเดโมแครต เพื่อช่วงชิงตำแหน่งประธานาธิบดี ในเดือนพฤศจิกายนนี้
Hillary Clinton นั้น ในตอนแรก คือช่วงปลายปีที่แล้ว มีคะแนนนำโด่งเหนือกว่าผู้สมัคร คนอื่นๆ ในพรรคเดโมแครต โดยมีคะแนนนำ Obama กว่า 20% อย่างไรก็ตาม มีปัจจัยหลายๆเรื่องที่มีส่วนให้ Hillary ซึ่งคาดว่าจะนอนมา กลับพ่ายแพ้ในที่สุด
บุคลิกภาพ
ปัจจัยประการแรกที่ทำให้ Hillary แพ้ คือ บุคลิกภาพ
ในตอนแรก ดูเหมือนกับว่า ลักษณะประจำตัวของ Hillary น่าจะเป็นต่อ Obama โดยเฉพาะ
ในเรื่องของ ประสบการณ์ และความสามารถในการโต้วาที Hillary ดูจะเป็นต่อในเรื่องการนำเสนอนโยบายที่เป็นรูปธรรมมากกว่า แต่ในที่สุด จุดแข็งของ Hillary กลับกลายเป็นจุดอ่อน ที่ Obama เอามาตอกย้ำ คือ ประสบการณ์ของ Hillary กลายเป็นประสบการณ์ที่ไปลงคะแนนสนับสนุนการบุกอิรักของรัฐบาล Bush คนอเมริกันส่วนใหญ่ไม่มีความเชื่อมั่นต่อคนที่มีประสบการณ์อีกต่อไป หลังจากที่ Bush ได้เลือกคนที่มีประสบการณ์ อย่างเช่น Dick Cheney และ Donald Rumsfeld
ในขณะที่ Obama กลับมีบุคลิกที่ดูจะโดนใจคนอเมริกัน เขาพยายามสร้างภาพว่า เป็นผู้ที่จะ
นำไปสู่ความเปลี่ยนแปลง และคำที่สำคัญที่สุดของ Obama คือคำว่า “การเปลี่ยนแปลง” (change) Obama สร้างภาพว่า เขาคือความหวังของอเมริกันที่ผิดหวังอย่างยิ่งต่อรัฐบาล Bush และ Obama ยังมีความสามารถในการกล่าวสุนทรพจน์ที่สะกดใจคนฟัง ทำให้มีผู้สนับสนุนเขามากขึ้นเรื่อยๆ หากได้เป็นประธานาธิบดี Obama จะเป็นประธานาธิบดีผิวสีคนแรก แต่ Obama ก็กล้าที่จะประกาศว่า เขาจะไม่เอาเรื่องสีผิวมายุ่งกับการเมือง และเขาประกาศว่า เขาจะเล่นการเมืองแบบใหม่ คือ จะไม่เป็นการเมืองแบบเก่าๆที่จะแบ่งขั้วเป็นเสรีนิยมและอนุรักษ์นิยม Obama จึงกลายเป็นคนหนุ่มที่มองโลกในแง่ดี และถูกหวังว่าคงจะสามารถสร้างเอกภาพขึ้นในชาติ
สำหรับ Hillary นั้น หลังจากเป็นผู้ตาม Obama ก็ได้มีความพยายามจากทีมหาเสียงที่จะ
เปลี่ยนบุคลิกภาพของเธอหลายครั้ง จาก Hillary ที่เป็น นักสู้ หรือ fighter มาเป็น Hillary ที่เป็นหญิงเหล็ก และกลายมาเป็น Hillary ที่เป็นผู้หญิงธรรมดาที่มีความอ่อนไหวและสามารถร้องไห้ออกมาได้ และในตอนท้ายก็กลายเป็น Hillary ที่เป็นวีรสตรีของชนชั้นกรรมาชน การเปลี่ยนบุคลิกภาพไปเรื่อย ๆ แบบนี้ ทำให้ในที่สุด คนอเมริกันก็มองว่า Hillary คือนักฉวยโอกาส และมองว่า Hillary ใส่หน้ากาก และไม่รู้ว่า Hillary จริงๆ นั้น คือใคร
ยุทธศาสตร์
ปัจจัยต่อมาที่ทำให้ Hillary พ่ายแพ้คือ ยุทธศาสตร์ในการหาเสียง ซึ่งมีหลายเรื่องด้วยกัน
เรื่องแรกคือ หลังจากที่ถูก Obama นำในคะแนนคณะผู้เลือกตั้ง และทำท่าว่าจะแพ้ Hillary ก็ปรับยุทธศาสตร์ในการโจมตีตัว Obama หนักขึ้นเรื่อยๆ จึงมีลักษณะยุทธศาสตร์การสาดโคลน และมุ่งทำลายตัว Obama เป็นหลัก แทนที่จะไปมุ่งเรื่องนโยบาย ยุทธศาสตร์แบบนี้ ภาษาอังกฤษเรียกว่า negative campaign โดยในระยะหลังๆ ได้มีการขุดคุ้ยความไม่ดีของ Obama ขึ้นมามากมาย ไม่ว่าจะเป็นการกล่าวหาว่าเป็นมุสลิม เป็นผิวดำ เป็นคนหลอกลวง และยังมีการขุดคุ้ยว่า Obama มีความสัมพันธ์กับมาเฟียในชิคาโก และอีกหลายๆ เรื่อง
ยุทธศาสตร์ที่ผิดพลาดอีกประการของ Hillary คือ การไปเน้นหาเสียงที่รัฐใหญ่และไม่
สนใจรัฐเล็ก ๆ มีการประเมินสถานการณ์ต่ำกว่าความเป็นจริง โดยมองว่า Hillary น่าจะชนะ Obama ได้ขาดลอยในช่วง Super Tuesday แต่จากการประมาทเช่นนั้น จึงทำให้ Obama ชนะในรัฐเล็กๆ โดยเฉพาะในช่วงหลัง Super Tuesday Obama ชนะติดต่อกันถึง 12 รัฐ และมีส่วนอย่างสำคัญยิ่งที่ทำให้ Obama นำห่าง จน Hillary ไล่ไม่ทันในที่สุด
ประการต่อมาคือ ความผิดพลาดในการ “เปลี่ยนม้ากลางศึก” โดยหลังจาก Super Tuesday Hillary แพ้มากขึ้นเรื่อย ๆ จึงได้มีการเปลี่ยนหัวหน้าทีมหาเสียงหลายครั้ง จึงทำให้ทีมหาเสียงรวนเรไปหมด และทั้งทีมหาเสียงและทีมที่ปรึกษา ก็เป็นคนในสมัยประธานาธิบดี Clinton แทบทั้งสิ้น คนเหล่านี้ยังติดยึดอยู่กับยุทธศาสตร์การหาเสียงในยุคทศวรรษ 1990 แต่มันใช้ไม่ได้แล้วในศตวรรษที่ 21
การดึงเอา Bill Clinton มาช่วยหาเสียง แทนที่จะเป็นบวกกลับกลายเป็นลบ ทั้งนี้เพราะ Bill Clinton ยังคงเป็นขวัญใจของชาวอเมริกัน ดังนั้นจึงมาบดบังราศีของ Hillary และไปตอกย้ำว่า Hillary นั้น จริงๆ แล้ว ได้ดีก็เพราะสามี
อีกเรื่องหนึ่งที่เกิดความผิดพลาดคือ ยุทธศาสตร์การหาเงินสนับสนุน ทีมของ Hillary ล้าสมัยและยังติดยึดอยู่กับ connection เก่าๆ และได้ทุ่มเงินในช่วงแรกของการหาเสียงโดยไม่ได้คิดว่าจะยืดเยื้อ แต่เมื่อต้องแข่งกับ Obama อย่างยืดเยื้อ ในที่สุดเงินทุนก็ร่อยหรอ จนถึงขั้นที่ Hillary ต้องไปกู้เงินมาเป็นจำนวนมาก
ยุทธศาสตร์ของ Hillary ที่ผิดพลาดเหล่านี้ ต่างจากยุทธศาสตร์ของ Obama ที่ดำเนินยุทธศาสตร์อย่างรัดกุมโดย Obama พยายามเน้นในเรื่องของนโยบายปฏิรูป การเปลี่ยนแปลง และไม่โจมตีตัวบุคคล คือ ไม่เน้น negative campaign และไม่สาดโคลน ยุทธศาสตร์การเน้นชนะที่รัฐเล็ก และ Obama ยังมีทีมหาเสียงที่มีระบบการจัดการอย่างดีเยี่ยม วิธีการหาเงินสนับสนุนก็นำเอาวิธีสมัยใหม่มาใช้ โดยเฉพาะการหาเงินผ่านทาง internet และไม่เน้นผู้สนับสนุนรายใหญ่ แต่ใครจะสนับสนุนเท่าไหร่ก็ได้ website ของ Obama จึงประสบความสำเร็จในการระดมทุน และกลายเป็นเครือข่ายของผู้สนับสนุน ซึ่งมีบทบาทอย่างสำคัญที่ทำให้ Obama ชนะ
นโยบาย
ข้อผิดพลาดอีกประการของ Hillary คือ การนำเสนอนโยบายที่แทงกั๊กมากเกินไป โดย
Hillary กลัวว่า จะไม่ได้รับการสนับสนุนจากทั้งซ้ายและขวา จึงพยายามดำเนินนโยบายสายกลาง ผลที่ออกมาคือ กลายเป็นนโยบายที่ไม่น่าสนใจ และกลับกลายเป็นว่า นโยบายของรัฐบาล Bush จากที่เคยขวาจัดและเป็นสายเหยี่ยว แต่ในตอนหลังๆ หลังจากประสบความล้มเหลว รัฐบาล Bush ก็ปรับนโยบายเข้าสู่สายกลางมากขึ้น ไป ๆ มาๆ จึงกลายเป็นว่า นโยบายของ Bush และนโยบายของ Hillary ก็แทบจะไม่ต่างกันเท่าไหร่ จึงทำให้ดูไม่น่าสนใจ บรรยากาศขณะนี้คือ คนอเมริกันต้องการความเปลี่ยนแปลงและเบื่อนโยบายสายกลาง ดังนั้น นโยบายของ Obama ที่เน้นการปฏิรูป การเปลี่ยนแปลง จึงโดนใจคนอเมริกันเป็นอย่างมาก
กลุ่มผู้สนับสนุน
จากการดำเนินนโยบายที่ผิดพลาดดังที่ผมได้กล่าวข้างต้น จึงทำให้ในตอนท้าย กลุ่มผู้ที่
สนับสนุน Hillary ก็น้อยลงทุกที กลุ่มที่เคยสนับสนุน Hillary คือ กลุ่มผิวขาว กลุ่มผู้สูงอายุ กลุ่มผู้หญิง แต่ในช่วงหลังๆ ก็กลับไปสนับสนุน Obama แทน ที่จะยังพอสนับสนุน Hillary อยู่คือ พวกชนชั้นแรงงานผิวขาว และกลุ่ม Latinos เท่านั้น ส่วน Obama นั้นได้รับการสนับสนุนจากเกือบทุกกลุ่ม ไม่ว่าจะเป็นกลุ่มคนหนุ่มคนสาว ผู้สูงอายุ ผิวขาว ผิวดำ และที่สำคัญคือ กลุ่มอิสระ หรือที่เรียกว่า independents กลุ่มนี้ในตอนหลังๆ ก็หันมาสนับสนุน Obama
ผมเคยวิเคราะห์ไปแล้วว่า ในที่สุด กลุ่มที่จะตัดสินว่า Obama หรือ Hillary จะชนะคือ กลุ่มที่เรียกว่า Super Delegates ซึ่งคล้ายๆ กับ ผู้บริหารพรรคเดโมแครต ซึ่งมีอยู่ประมาณ 800 คน ในตอนแรกๆ ส่วนใหญ่ก็ยังสนับสนุน Hillary ทั้งนี้เพราะ บารมีของ Bill Clinton อย่างไรก็ตาม ในตอนหลัง ๆ Super Delegates หลายคนได้มีการออกมาประกาศสนับสนุน Obama มากขึ้นเรื่อยๆ คนสำคัญในพรรคที่ออกมาประกาศสนับสนุน Obama และมีผลกระทบอย่างมาก คือ Edward Kennedy น้องชายของอดีตประธานาธิบดี John F. Kennedy โดย Edward ประกาศกร้าวว่า เขาสนับสนุน Obama เพราะ การเลือกตั้งครั้งนี้ เป็นการเลือกตั้งที่เกี่ยวกับอนาคต ไม่ใช่ เกี่ยวกับอดีต ซึ่งถ้าจะตีความก็หมายความว่า Obama คืออนาคต และ Hillary คืออดีตนั่นเอง
นอกจากนี้ ยังมี John Edwards ที่เคยลงชิงชัยเป็นตัวแทนพรรค แต่ในตอนหลังได้ถอนตัวออกไป ก็ได้ออกมาประกาศสนับสนุน Obama อย่างเต็มที่ นอกจากนี้ Al Gore อดีตรองประธานาธิบดีในสมัย Bill Clinton ซึ่งยังคงมีอิทธิพลอย่างมากในพรรค ก็ปิดปากเงียบไม่ออกมาประกาศสนับสนุนใคร
สิ่งเหล่านี้ ในที่สุดก็นำไปสู่ความพ่ายแพ้ของ Hillary
การเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯ (ตอนที่ 6):ทำไม Hillary Clinton ถึงแพ้?
การเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯ (ตอนที่ 6):
ทำไม Hillary Clinton ถึงแพ้?
การเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯ กำลังเข้มข้นขึ้นทุกขณะ คอลัมน์โลกทรรศน์ในวันนี้ จะมาวิเคราะห์ถึงสถานการณ์ล่าสุด โดยจะวิเคราะห์สาเหตุที่ทำไม Hillary Clinton ถึงแพ้ Barack Obama ในการเป็นตัวแทนพรรคเดโมแครต เพื่อช่วงชิงตำแหน่งประธานาธิบดี ในเดือนพฤศจิกายนนี้
Hillary Clinton นั้น ในตอนแรก คือช่วงปลายปีที่แล้ว มีคะแนนนำโด่งเหนือกว่าผู้สมัคร คนอื่นๆ ในพรรคเดโมแครต โดยมีคะแนนนำ Obama กว่า 20% อย่างไรก็ตาม มีปัจจัยหลายๆเรื่องที่มีส่วนให้ Hillary ซึ่งคาดว่าจะนอนมา กลับพ่ายแพ้ในที่สุด
บุคลิกภาพ
ปัจจัยประการแรกที่ทำให้ Hillary แพ้ คือ บุคลิกภาพ
ในตอนแรก ดูเหมือนกับว่า ลักษณะประจำตัวของ Hillary น่าจะเป็นต่อ Obama โดยเฉพาะ
ในเรื่องของ ประสบการณ์ และความสามารถในการโต้วาที Hillary ดูจะเป็นต่อในเรื่องการนำเสนอนโยบายที่เป็นรูปธรรมมากกว่า แต่ในที่สุด จุดแข็งของ Hillary กลับกลายเป็นจุดอ่อน ที่ Obama เอามาตอกย้ำ คือ ประสบการณ์ของ Hillary กลายเป็นประสบการณ์ที่ไปลงคะแนนสนับสนุนการบุกอิรักของรัฐบาล Bush คนอเมริกันส่วนใหญ่ไม่มีความเชื่อมั่นต่อคนที่มีประสบการณ์อีกต่อไป หลังจากที่ Bush ได้เลือกคนที่มีประสบการณ์ อย่างเช่น Dick Cheney และ Donald Rumsfeld
ในขณะที่ Obama กลับมีบุคลิกที่ดูจะโดนใจคนอเมริกัน เขาพยายามสร้างภาพว่า เป็นผู้ที่จะ
นำไปสู่ความเปลี่ยนแปลง และคำที่สำคัญที่สุดของ Obama คือคำว่า “การเปลี่ยนแปลง” (change) Obama สร้างภาพว่า เขาคือความหวังของอเมริกันที่ผิดหวังอย่างยิ่งต่อรัฐบาล Bush และ Obama ยังมีความสามารถในการกล่าวสุนทรพจน์ที่สะกดใจคนฟัง ทำให้มีผู้สนับสนุนเขามากขึ้นเรื่อยๆ หากได้เป็นประธานาธิบดี Obama จะเป็นประธานาธิบดีผิวสีคนแรก แต่ Obama ก็กล้าที่จะประกาศว่า เขาจะไม่เอาเรื่องสีผิวมายุ่งกับการเมือง และเขาประกาศว่า เขาจะเล่นการเมืองแบบใหม่ คือ จะไม่เป็นการเมืองแบบเก่าๆที่จะแบ่งขั้วเป็นเสรีนิยมและอนุรักษ์นิยม Obama จึงกลายเป็นคนหนุ่มที่มองโลกในแง่ดี และถูกหวังว่าคงจะสามารถสร้างเอกภาพขึ้นในชาติ
สำหรับ Hillary นั้น หลังจากเป็นผู้ตาม Obama ก็ได้มีความพยายามจากทีมหาเสียงที่จะ
เปลี่ยนบุคลิกภาพของเธอหลายครั้ง จาก Hillary ที่เป็น นักสู้ หรือ fighter มาเป็น Hillary ที่เป็นหญิงเหล็ก และกลายมาเป็น Hillary ที่เป็นผู้หญิงธรรมดาที่มีความอ่อนไหวและสามารถร้องไห้ออกมาได้ และในตอนท้ายก็กลายเป็น Hillary ที่เป็นวีรสตรีของชนชั้นกรรมาชน การเปลี่ยนบุคลิกภาพไปเรื่อย ๆ แบบนี้ ทำให้ในที่สุด คนอเมริกันก็มองว่า Hillary คือนักฉวยโอกาส และมองว่า Hillary ใส่หน้ากาก และไม่รู้ว่า Hillary จริงๆ นั้น คือใคร
ยุทธศาสตร์
ปัจจัยต่อมาที่ทำให้ Hillary พ่ายแพ้คือ ยุทธศาสตร์ในการหาเสียง ซึ่งมีหลายเรื่องด้วยกัน
เรื่องแรกคือ หลังจากที่ถูก Obama นำในคะแนนคณะผู้เลือกตั้ง และทำท่าว่าจะแพ้ Hillary ก็ปรับยุทธศาสตร์ในการโจมตีตัว Obama หนักขึ้นเรื่อยๆ จึงมีลักษณะยุทธศาสตร์การสาดโคลน และมุ่งทำลายตัว Obama เป็นหลัก แทนที่จะไปมุ่งเรื่องนโยบาย ยุทธศาสตร์แบบนี้ ภาษาอังกฤษเรียกว่า negative campaign โดยในระยะหลังๆ ได้มีการขุดคุ้ยความไม่ดีของ Obama ขึ้นมามากมาย ไม่ว่าจะเป็นการกล่าวหาว่าเป็นมุสลิม เป็นผิวดำ เป็นคนหลอกลวง และยังมีการขุดคุ้ยว่า Obama มีความสัมพันธ์กับมาเฟียในชิคาโก และอีกหลายๆ เรื่อง
ยุทธศาสตร์ที่ผิดพลาดอีกประการของ Hillary คือ การไปเน้นหาเสียงที่รัฐใหญ่และไม่
สนใจรัฐเล็ก ๆ มีการประเมินสถานการณ์ต่ำกว่าความเป็นจริง โดยมองว่า Hillary น่าจะชนะ Obama ได้ขาดลอยในช่วง Super Tuesday แต่จากการประมาทเช่นนั้น จึงทำให้ Obama ชนะในรัฐเล็กๆ โดยเฉพาะในช่วงหลัง Super Tuesday Obama ชนะติดต่อกันถึง 12 รัฐ และมีส่วนอย่างสำคัญยิ่งที่ทำให้ Obama นำห่าง จน Hillary ไล่ไม่ทันในที่สุด
ประการต่อมาคือ ความผิดพลาดในการ “เปลี่ยนม้ากลางศึก” โดยหลังจาก Super Tuesday Hillary แพ้มากขึ้นเรื่อย ๆ จึงได้มีการเปลี่ยนหัวหน้าทีมหาเสียงหลายครั้ง จึงทำให้ทีมหาเสียงรวนเรไปหมด และทั้งทีมหาเสียงและทีมที่ปรึกษา ก็เป็นคนในสมัยประธานาธิบดี Clinton แทบทั้งสิ้น คนเหล่านี้ยังติดยึดอยู่กับยุทธศาสตร์การหาเสียงในยุคทศวรรษ 1990 แต่มันใช้ไม่ได้แล้วในศตวรรษที่ 21
การดึงเอา Bill Clinton มาช่วยหาเสียง แทนที่จะเป็นบวกกลับกลายเป็นลบ ทั้งนี้เพราะ Bill Clinton ยังคงเป็นขวัญใจของชาวอเมริกัน ดังนั้นจึงมาบดบังราศีของ Hillary และไปตอกย้ำว่า Hillary นั้น จริงๆ แล้ว ได้ดีก็เพราะสามี
อีกเรื่องหนึ่งที่เกิดความผิดพลาดคือ ยุทธศาสตร์การหาเงินสนับสนุน ทีมของ Hillary ล้าสมัยและยังติดยึดอยู่กับ connection เก่าๆ และได้ทุ่มเงินในช่วงแรกของการหาเสียงโดยไม่ได้คิดว่าจะยืดเยื้อ แต่เมื่อต้องแข่งกับ Obama อย่างยืดเยื้อ ในที่สุดเงินทุนก็ร่อยหรอ จนถึงขั้นที่ Hillary ต้องไปกู้เงินมาเป็นจำนวนมาก
ยุทธศาสตร์ของ Hillary ที่ผิดพลาดเหล่านี้ ต่างจากยุทธศาสตร์ของ Obama ที่ดำเนินยุทธศาสตร์อย่างรัดกุมโดย Obama พยายามเน้นในเรื่องของนโยบายปฏิรูป การเปลี่ยนแปลง และไม่โจมตีตัวบุคคล คือ ไม่เน้น negative campaign และไม่สาดโคลน ยุทธศาสตร์การเน้นชนะที่รัฐเล็ก และ Obama ยังมีทีมหาเสียงที่มีระบบการจัดการอย่างดีเยี่ยม วิธีการหาเงินสนับสนุนก็นำเอาวิธีสมัยใหม่มาใช้ โดยเฉพาะการหาเงินผ่านทาง internet และไม่เน้นผู้สนับสนุนรายใหญ่ แต่ใครจะสนับสนุนเท่าไหร่ก็ได้ website ของ Obama จึงประสบความสำเร็จในการระดมทุน และกลายเป็นเครือข่ายของผู้สนับสนุน ซึ่งมีบทบาทอย่างสำคัญที่ทำให้ Obama ชนะ
นโยบาย
ข้อผิดพลาดอีกประการของ Hillary คือ การนำเสนอนโยบายที่แทงกั๊กมากเกินไป โดย
Hillary กลัวว่า จะไม่ได้รับการสนับสนุนจากทั้งซ้ายและขวา จึงพยายามดำเนินนโยบายสายกลาง ผลที่ออกมาคือ กลายเป็นนโยบายที่ไม่น่าสนใจ และกลับกลายเป็นว่า นโยบายของรัฐบาล Bush จากที่เคยขวาจัดและเป็นสายเหยี่ยว แต่ในตอนหลังๆ หลังจากประสบความล้มเหลว รัฐบาล Bush ก็ปรับนโยบายเข้าสู่สายกลางมากขึ้น ไป ๆ มาๆ จึงกลายเป็นว่า นโยบายของ Bush และนโยบายของ Hillary ก็แทบจะไม่ต่างกันเท่าไหร่ จึงทำให้ดูไม่น่าสนใจ บรรยากาศขณะนี้คือ คนอเมริกันต้องการความเปลี่ยนแปลงและเบื่อนโยบายสายกลาง ดังนั้น นโยบายของ Obama ที่เน้นการปฏิรูป การเปลี่ยนแปลง จึงโดนใจคนอเมริกันเป็นอย่างมาก
กลุ่มผู้สนับสนุน
จากการดำเนินนโยบายที่ผิดพลาดดังที่ผมได้กล่าวข้างต้น จึงทำให้ในตอนท้าย กลุ่มผู้ที่
สนับสนุน Hillary ก็น้อยลงทุกที กลุ่มที่เคยสนับสนุน Hillary คือ กลุ่มผิวขาว กลุ่มผู้สูงอายุ กลุ่มผู้หญิง แต่ในช่วงหลังๆ ก็กลับไปสนับสนุน Obama แทน ที่จะยังพอสนับสนุน Hillary อยู่คือ พวกชนชั้นแรงงานผิวขาว และกลุ่ม Latinos เท่านั้น ส่วน Obama นั้นได้รับการสนับสนุนจากเกือบทุกกลุ่ม ไม่ว่าจะเป็นกลุ่มคนหนุ่มคนสาว ผู้สูงอายุ ผิวขาว ผิวดำ และที่สำคัญคือ กลุ่มอิสระ หรือที่เรียกว่า independents กลุ่มนี้ในตอนหลังๆ ก็หันมาสนับสนุน Obama
ผมเคยวิเคราะห์ไปแล้วว่า ในที่สุด กลุ่มที่จะตัดสินว่า Obama หรือ Hillary จะชนะคือ กลุ่มที่เรียกว่า Super Delegates ซึ่งคล้ายๆ กับ ผู้บริหารพรรคเดโมแครต ซึ่งมีอยู่ประมาณ 800 คน ในตอนแรกๆ ส่วนใหญ่ก็ยังสนับสนุน Hillary ทั้งนี้เพราะ บารมีของ Bill Clinton อย่างไรก็ตาม ในตอนหลัง ๆ Super Delegates หลายคนได้มีการออกมาประกาศสนับสนุน Obama มากขึ้นเรื่อยๆ คนสำคัญในพรรคที่ออกมาประกาศสนับสนุน Obama และมีผลกระทบอย่างมาก คือ Edward Kennedy น้องชายของอดีตประธานาธิบดี John F. Kennedy โดย Edward ประกาศกร้าวว่า เขาสนับสนุน Obama เพราะ การเลือกตั้งครั้งนี้ เป็นการเลือกตั้งที่เกี่ยวกับอนาคต ไม่ใช่ เกี่ยวกับอดีต ซึ่งถ้าจะตีความก็หมายความว่า Obama คืออนาคต และ Hillary คืออดีตนั่นเอง
นอกจากนี้ ยังมี John Edwards ที่เคยลงชิงชัยเป็นตัวแทนพรรค แต่ในตอนหลังได้ถอนตัวออกไป ก็ได้ออกมาประกาศสนับสนุน Obama อย่างเต็มที่ นอกจากนี้ Al Gore อดีตรองประธานาธิบดีในสมัย Bill Clinton ซึ่งยังคงมีอิทธิพลอย่างมากในพรรค ก็ปิดปากเงียบไม่ออกมาประกาศสนับสนุนใคร
สิ่งเหล่านี้ ในที่สุดก็นำไปสู่ความพ่ายแพ้ของ Hillary
ทำไม Hillary Clinton ถึงแพ้?
การเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯ กำลังเข้มข้นขึ้นทุกขณะ คอลัมน์โลกทรรศน์ในวันนี้ จะมาวิเคราะห์ถึงสถานการณ์ล่าสุด โดยจะวิเคราะห์สาเหตุที่ทำไม Hillary Clinton ถึงแพ้ Barack Obama ในการเป็นตัวแทนพรรคเดโมแครต เพื่อช่วงชิงตำแหน่งประธานาธิบดี ในเดือนพฤศจิกายนนี้
Hillary Clinton นั้น ในตอนแรก คือช่วงปลายปีที่แล้ว มีคะแนนนำโด่งเหนือกว่าผู้สมัคร คนอื่นๆ ในพรรคเดโมแครต โดยมีคะแนนนำ Obama กว่า 20% อย่างไรก็ตาม มีปัจจัยหลายๆเรื่องที่มีส่วนให้ Hillary ซึ่งคาดว่าจะนอนมา กลับพ่ายแพ้ในที่สุด
บุคลิกภาพ
ปัจจัยประการแรกที่ทำให้ Hillary แพ้ คือ บุคลิกภาพ
ในตอนแรก ดูเหมือนกับว่า ลักษณะประจำตัวของ Hillary น่าจะเป็นต่อ Obama โดยเฉพาะ
ในเรื่องของ ประสบการณ์ และความสามารถในการโต้วาที Hillary ดูจะเป็นต่อในเรื่องการนำเสนอนโยบายที่เป็นรูปธรรมมากกว่า แต่ในที่สุด จุดแข็งของ Hillary กลับกลายเป็นจุดอ่อน ที่ Obama เอามาตอกย้ำ คือ ประสบการณ์ของ Hillary กลายเป็นประสบการณ์ที่ไปลงคะแนนสนับสนุนการบุกอิรักของรัฐบาล Bush คนอเมริกันส่วนใหญ่ไม่มีความเชื่อมั่นต่อคนที่มีประสบการณ์อีกต่อไป หลังจากที่ Bush ได้เลือกคนที่มีประสบการณ์ อย่างเช่น Dick Cheney และ Donald Rumsfeld
ในขณะที่ Obama กลับมีบุคลิกที่ดูจะโดนใจคนอเมริกัน เขาพยายามสร้างภาพว่า เป็นผู้ที่จะ
นำไปสู่ความเปลี่ยนแปลง และคำที่สำคัญที่สุดของ Obama คือคำว่า “การเปลี่ยนแปลง” (change) Obama สร้างภาพว่า เขาคือความหวังของอเมริกันที่ผิดหวังอย่างยิ่งต่อรัฐบาล Bush และ Obama ยังมีความสามารถในการกล่าวสุนทรพจน์ที่สะกดใจคนฟัง ทำให้มีผู้สนับสนุนเขามากขึ้นเรื่อยๆ หากได้เป็นประธานาธิบดี Obama จะเป็นประธานาธิบดีผิวสีคนแรก แต่ Obama ก็กล้าที่จะประกาศว่า เขาจะไม่เอาเรื่องสีผิวมายุ่งกับการเมือง และเขาประกาศว่า เขาจะเล่นการเมืองแบบใหม่ คือ จะไม่เป็นการเมืองแบบเก่าๆที่จะแบ่งขั้วเป็นเสรีนิยมและอนุรักษ์นิยม Obama จึงกลายเป็นคนหนุ่มที่มองโลกในแง่ดี และถูกหวังว่าคงจะสามารถสร้างเอกภาพขึ้นในชาติ
สำหรับ Hillary นั้น หลังจากเป็นผู้ตาม Obama ก็ได้มีความพยายามจากทีมหาเสียงที่จะ
เปลี่ยนบุคลิกภาพของเธอหลายครั้ง จาก Hillary ที่เป็น นักสู้ หรือ fighter มาเป็น Hillary ที่เป็นหญิงเหล็ก และกลายมาเป็น Hillary ที่เป็นผู้หญิงธรรมดาที่มีความอ่อนไหวและสามารถร้องไห้ออกมาได้ และในตอนท้ายก็กลายเป็น Hillary ที่เป็นวีรสตรีของชนชั้นกรรมาชน การเปลี่ยนบุคลิกภาพไปเรื่อย ๆ แบบนี้ ทำให้ในที่สุด คนอเมริกันก็มองว่า Hillary คือนักฉวยโอกาส และมองว่า Hillary ใส่หน้ากาก และไม่รู้ว่า Hillary จริงๆ นั้น คือใคร
ยุทธศาสตร์
ปัจจัยต่อมาที่ทำให้ Hillary พ่ายแพ้คือ ยุทธศาสตร์ในการหาเสียง ซึ่งมีหลายเรื่องด้วยกัน
เรื่องแรกคือ หลังจากที่ถูก Obama นำในคะแนนคณะผู้เลือกตั้ง และทำท่าว่าจะแพ้ Hillary ก็ปรับยุทธศาสตร์ในการโจมตีตัว Obama หนักขึ้นเรื่อยๆ จึงมีลักษณะยุทธศาสตร์การสาดโคลน และมุ่งทำลายตัว Obama เป็นหลัก แทนที่จะไปมุ่งเรื่องนโยบาย ยุทธศาสตร์แบบนี้ ภาษาอังกฤษเรียกว่า negative campaign โดยในระยะหลังๆ ได้มีการขุดคุ้ยความไม่ดีของ Obama ขึ้นมามากมาย ไม่ว่าจะเป็นการกล่าวหาว่าเป็นมุสลิม เป็นผิวดำ เป็นคนหลอกลวง และยังมีการขุดคุ้ยว่า Obama มีความสัมพันธ์กับมาเฟียในชิคาโก และอีกหลายๆ เรื่อง
ยุทธศาสตร์ที่ผิดพลาดอีกประการของ Hillary คือ การไปเน้นหาเสียงที่รัฐใหญ่และไม่
สนใจรัฐเล็ก ๆ มีการประเมินสถานการณ์ต่ำกว่าความเป็นจริง โดยมองว่า Hillary น่าจะชนะ Obama ได้ขาดลอยในช่วง Super Tuesday แต่จากการประมาทเช่นนั้น จึงทำให้ Obama ชนะในรัฐเล็กๆ โดยเฉพาะในช่วงหลัง Super Tuesday Obama ชนะติดต่อกันถึง 12 รัฐ และมีส่วนอย่างสำคัญยิ่งที่ทำให้ Obama นำห่าง จน Hillary ไล่ไม่ทันในที่สุด
ประการต่อมาคือ ความผิดพลาดในการ “เปลี่ยนม้ากลางศึก” โดยหลังจาก Super Tuesday Hillary แพ้มากขึ้นเรื่อย ๆ จึงได้มีการเปลี่ยนหัวหน้าทีมหาเสียงหลายครั้ง จึงทำให้ทีมหาเสียงรวนเรไปหมด และทั้งทีมหาเสียงและทีมที่ปรึกษา ก็เป็นคนในสมัยประธานาธิบดี Clinton แทบทั้งสิ้น คนเหล่านี้ยังติดยึดอยู่กับยุทธศาสตร์การหาเสียงในยุคทศวรรษ 1990 แต่มันใช้ไม่ได้แล้วในศตวรรษที่ 21
การดึงเอา Bill Clinton มาช่วยหาเสียง แทนที่จะเป็นบวกกลับกลายเป็นลบ ทั้งนี้เพราะ Bill Clinton ยังคงเป็นขวัญใจของชาวอเมริกัน ดังนั้นจึงมาบดบังราศีของ Hillary และไปตอกย้ำว่า Hillary นั้น จริงๆ แล้ว ได้ดีก็เพราะสามี
อีกเรื่องหนึ่งที่เกิดความผิดพลาดคือ ยุทธศาสตร์การหาเงินสนับสนุน ทีมของ Hillary ล้าสมัยและยังติดยึดอยู่กับ connection เก่าๆ และได้ทุ่มเงินในช่วงแรกของการหาเสียงโดยไม่ได้คิดว่าจะยืดเยื้อ แต่เมื่อต้องแข่งกับ Obama อย่างยืดเยื้อ ในที่สุดเงินทุนก็ร่อยหรอ จนถึงขั้นที่ Hillary ต้องไปกู้เงินมาเป็นจำนวนมาก
ยุทธศาสตร์ของ Hillary ที่ผิดพลาดเหล่านี้ ต่างจากยุทธศาสตร์ของ Obama ที่ดำเนินยุทธศาสตร์อย่างรัดกุมโดย Obama พยายามเน้นในเรื่องของนโยบายปฏิรูป การเปลี่ยนแปลง และไม่โจมตีตัวบุคคล คือ ไม่เน้น negative campaign และไม่สาดโคลน ยุทธศาสตร์การเน้นชนะที่รัฐเล็ก และ Obama ยังมีทีมหาเสียงที่มีระบบการจัดการอย่างดีเยี่ยม วิธีการหาเงินสนับสนุนก็นำเอาวิธีสมัยใหม่มาใช้ โดยเฉพาะการหาเงินผ่านทาง internet และไม่เน้นผู้สนับสนุนรายใหญ่ แต่ใครจะสนับสนุนเท่าไหร่ก็ได้ website ของ Obama จึงประสบความสำเร็จในการระดมทุน และกลายเป็นเครือข่ายของผู้สนับสนุน ซึ่งมีบทบาทอย่างสำคัญที่ทำให้ Obama ชนะ
นโยบาย
ข้อผิดพลาดอีกประการของ Hillary คือ การนำเสนอนโยบายที่แทงกั๊กมากเกินไป โดย
Hillary กลัวว่า จะไม่ได้รับการสนับสนุนจากทั้งซ้ายและขวา จึงพยายามดำเนินนโยบายสายกลาง ผลที่ออกมาคือ กลายเป็นนโยบายที่ไม่น่าสนใจ และกลับกลายเป็นว่า นโยบายของรัฐบาล Bush จากที่เคยขวาจัดและเป็นสายเหยี่ยว แต่ในตอนหลังๆ หลังจากประสบความล้มเหลว รัฐบาล Bush ก็ปรับนโยบายเข้าสู่สายกลางมากขึ้น ไป ๆ มาๆ จึงกลายเป็นว่า นโยบายของ Bush และนโยบายของ Hillary ก็แทบจะไม่ต่างกันเท่าไหร่ จึงทำให้ดูไม่น่าสนใจ บรรยากาศขณะนี้คือ คนอเมริกันต้องการความเปลี่ยนแปลงและเบื่อนโยบายสายกลาง ดังนั้น นโยบายของ Obama ที่เน้นการปฏิรูป การเปลี่ยนแปลง จึงโดนใจคนอเมริกันเป็นอย่างมาก
กลุ่มผู้สนับสนุน
จากการดำเนินนโยบายที่ผิดพลาดดังที่ผมได้กล่าวข้างต้น จึงทำให้ในตอนท้าย กลุ่มผู้ที่
สนับสนุน Hillary ก็น้อยลงทุกที กลุ่มที่เคยสนับสนุน Hillary คือ กลุ่มผิวขาว กลุ่มผู้สูงอายุ กลุ่มผู้หญิง แต่ในช่วงหลังๆ ก็กลับไปสนับสนุน Obama แทน ที่จะยังพอสนับสนุน Hillary อยู่คือ พวกชนชั้นแรงงานผิวขาว และกลุ่ม Latinos เท่านั้น ส่วน Obama นั้นได้รับการสนับสนุนจากเกือบทุกกลุ่ม ไม่ว่าจะเป็นกลุ่มคนหนุ่มคนสาว ผู้สูงอายุ ผิวขาว ผิวดำ และที่สำคัญคือ กลุ่มอิสระ หรือที่เรียกว่า independents กลุ่มนี้ในตอนหลังๆ ก็หันมาสนับสนุน Obama
ผมเคยวิเคราะห์ไปแล้วว่า ในที่สุด กลุ่มที่จะตัดสินว่า Obama หรือ Hillary จะชนะคือ กลุ่มที่เรียกว่า Super Delegates ซึ่งคล้ายๆ กับ ผู้บริหารพรรคเดโมแครต ซึ่งมีอยู่ประมาณ 800 คน ในตอนแรกๆ ส่วนใหญ่ก็ยังสนับสนุน Hillary ทั้งนี้เพราะ บารมีของ Bill Clinton อย่างไรก็ตาม ในตอนหลัง ๆ Super Delegates หลายคนได้มีการออกมาประกาศสนับสนุน Obama มากขึ้นเรื่อยๆ คนสำคัญในพรรคที่ออกมาประกาศสนับสนุน Obama และมีผลกระทบอย่างมาก คือ Edward Kennedy น้องชายของอดีตประธานาธิบดี John F. Kennedy โดย Edward ประกาศกร้าวว่า เขาสนับสนุน Obama เพราะ การเลือกตั้งครั้งนี้ เป็นการเลือกตั้งที่เกี่ยวกับอนาคต ไม่ใช่ เกี่ยวกับอดีต ซึ่งถ้าจะตีความก็หมายความว่า Obama คืออนาคต และ Hillary คืออดีตนั่นเอง
นอกจากนี้ ยังมี John Edwards ที่เคยลงชิงชัยเป็นตัวแทนพรรค แต่ในตอนหลังได้ถอนตัวออกไป ก็ได้ออกมาประกาศสนับสนุน Obama อย่างเต็มที่ นอกจากนี้ Al Gore อดีตรองประธานาธิบดีในสมัย Bill Clinton ซึ่งยังคงมีอิทธิพลอย่างมากในพรรค ก็ปิดปากเงียบไม่ออกมาประกาศสนับสนุนใคร
สิ่งเหล่านี้ ในที่สุดก็นำไปสู่ความพ่ายแพ้ของ Hillary
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)