ผลการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียนที่บาหลี
ตีพิมพ์ใน ไทยโพสต์ ฉบับวันพฤหัสบดีที่ 28 กรกฎาคม 2554
เมื่อช่วงสัปดาห์ที่แล้ว ได้มีการประชุมประจำปีรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียน ที่เกาะบาหลี ประเทศอินโดนีเซีย คอลัมน์กระบวนทรรศน์ในวันนี้ จะวิเคราะห์ผลการประชุมดังกล่าว ดังนี้
ประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน
ไฮไลท์ของการประชุมครั้งนี้ คือ ความคืบหน้าของการจัดตั้งประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน โดยมีเรื่องสำคัญ 3 เรื่อง คือ
• การแก้ไขความขัดแย้ง
หัวใจของประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน คือ การจัดการกับความขัดแย้ง เรื่องนี้ดูเหมือนอินโดนีเซียจะผลักดันเป็นพิเศษ โดยที่ประชุมได้ให้ความสำคัญต่อความร่วมมือในด้านนี้ ซึ่งมีทั้งเรื่องของการป้องกันความขัดแย้ง การจัดการและแก้ไขความขัดแย้ง และการรักษาสันติภาพ โดยได้มีการหารือที่จะจัดตั้ง ASEAN Institute for Peace and Reconciliation (AIPR) ซึ่งจะเสนอให้ที่ประชุมสุดยอดอาเซียนครั้งที่ 19 พิจารณา นอกจากนี้ จะมีการกระชับความร่วมมือ การสร้างเครือข่าย การฝึกอบรม และการพัฒนาบุคลากรภายในอาเซียน เชื่อมต่อกับกิจกรรมในเรื่องนี้ ทั้งในระดับภูมิภาค และในระดับโลก
อย่างไรก็ตาม บททดสอบสำคัญของอาเซียน ในการเป็นกลไกแก้ไขความขัดแย้ง คือ บทบาทของอาเซียนในการแก้ไขปัญหาไทย-กัมพูชา ซึ่งในการประชุมครั้งนี้ ที่ประชุมได้แสดงความยินดี ที่ทั้งสองประเทศ ตกลงที่จะแก้ปัญหาอย่างสันติวิธี ด้วยการเจรจา โดยอินโดนีเซียในฐานะประธานอาเซียน จะเข้ามามีบทบาทในการให้ความช่วยเหลือกระบวนการในการเจรจา
อย่างไรก็ตาม ผมมองว่า บทบาทของอาเซียนในเรื่องนี้ ยังไม่ประสบความสำเร็จ ประเด็นที่ติดขัด คือ การส่งคณะผู้สังเกตการณ์อินโดนีเซียเข้ามาในเขตพิพาท แต่หลังจากศาลโลกได้มีมติให้ทั้งสองฝ่าย ถอนทหารออกไปจากเขตพิพาท และเสนอให้อาเซียนเข้ามามีบทบาท ก็อาจจะเป็นการเปิดทางให้ผู้สังเกตการณ์อินโดนีเซียเข้ามาได้ง่ายขึ้น และอาเซียนก็อาจมีบทบาทได้มากขึ้น
• การรักษาสันติภาพ
อีกเรื่องหนึ่งที่สำคัญ คือ ความคืบหน้าความร่วมมือในการรักษาสันติภาพ หรือ peace keeping โดยที่ประชุมเห็นว่า อาเซียนควรจะพัฒนา และร่วมมือกับสถาบันในภูมิภาค และในระดับโลก เพื่อสร้างเครือข่าย และสนับสนุนกองกำลังรักษาสันติภาพของ UN ที่ประชุมแสดงความยินดีที่การประชุมรัฐมนตรีกลาโหมอาเซียน เมื่อช่วงเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา ตกลงที่จะให้มีการจัดตั้ง ASEAN Peacekeeping Centres’ Network ขึ้น
เกี่ยวกับเรื่องนี้ ผมขอวิเคราะห์ว่า อินโดนีเซียได้ผลักดันเรื่องการจัดตั้งกองกำลังรักษาสันติภาพของอาเซียนมาตั้งแต่แรก แต่หลายประเทศที่มีระบอบเผด็จการในอาเซียน ยังคงหวาดระแวงว่า กองกำลังรักษาสันติภาพอาเซียน อาจเป็นกลไกที่จะเข้ามาแทรกแซงกิจการภายใน อาเซียน จึงไม่สามารถตกลงในเรื่องนี้ได้ ขณะนี้ก็เป็นเพียงแค่ตกลงที่จะจัดตั้งเครือข่ายศูนย์รักษาสันติภาพเท่านั้น
• การประชุมรัฐมนตรีกลาโหมอาเซียน
ที่ประชุมแสดงความยินดีต่อผลการประชุมรัฐมนตรีกลาโหมอาเซียน (ADMM) ที่มีขึ้นในเดือนพฤษภาคม โดยได้มีการจัดทำแผนงาน 3 ปี และ concept paper เกี่ยวกับ Peacekeeping Centres’ Network นอกจากนี้ ในกรอบ ADMM+8 ได้มีการจัดตั้งคณะทำงานในด้านความมั่นคงทางทะเล การรักษาสันติภาพ การต่อต้านการก่อการร้าย และการบรรเทาภัยพิบัติ
เรื่องนี้ผมมองว่า การประชุม ADMM แม้จะมีความคืบหน้ามากขึ้น แต่ก็ยังมีความร่วมมือที่เบาบางมาก อาเซียนก่อตั้งมา 44 ปีแล้ว แต่เพิ่งจะมีการประชุม ADMM ครั้งแรกเมื่อปี 2006 นี้เอง หากอาเซียนยังไม่มีความร่วมมือทางทหารอย่างจริงจัง การพัฒนาไปสู่การเป็นประชาคมอาเซียนอย่างแท้จริง ก็คงจะไม่เกิดขึ้น
ความขัดแย้งในทะเลจีนใต้
สำหรับเรื่องที่เป็นไฮไลท์ ที่สื่อได้ลงข่าวกันมากที่สุด คือ เรื่องความขัดแย้งในหมู่เกาะ สแปรตลี่ โดยที่ประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียน ได้หารือถึงพัฒนาการล่าสุดเกี่ยวกับความขัดแย้ง และแสดงความเป็นห่วงต่อเหตุการณ์ความขัดแย้งที่เกิดขึ้นล่าสุด โดยเฉพาะระหว่างจีนกับเวียดนาม และจีนกับฟิลิปปินส์ อาเซียนได้ตอกย้ำความสำคัญของปฏิญญาปี 2002 ซึ่งมีชื่อเป็นภาษาอังกฤษว่า Declaration on the Conduct of Parties in the South China Sea
ต่อมาในการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียน-จีน ที่ประชุมได้ให้ความสำคัญต่อปฏิญญา 2002 และยินดีต่อความก้าวหน้าต่อการแปลงปฏิญญาไปสู่การปฏิบัติ โดยได้มีการจัดทำ Guidelines ขึ้น ซึ่งจะเป็นแนวทางในการแปลงปฏิญญาไปสู่การปฏิบัติ ทั้ง 2 ฝ่ายเห็นว่า Guidelines ดังกล่าว ถือเป็นความคืบหน้าในการแก้ไขปัญหาความขัดแย้ง
เกี่ยวกับเรื่องนี้ ผมขอวิเคราะห์ว่า การจัดทำ Guidelines ระหว่างอาเซียนกับจีนในครั้งนี้ ถือเป็นความสำเร็จ โดยเฉพาะต้องยกเครดิตให้กับเจ้าภาพอินโดนีเซีย ในฐานะประธานอาเซียน ที่ได้ออกแรงในเรื่องนี้มาโดยตลอด โดยตั้งแต่ต้นปี อินโดนีเซียได้หารือกับประเทศต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง และเดินหน้าในการแปลงปฏิญญาปี 2002 ไปสู่การปฏิบัติ และก็ประสบความสำเร็จด้วยการจัดทำเป็น Guidelines ดังกล่าวออกมา
ผมมองว่า อาเซียนและจีนคงไม่อยากให้ความขัดแย้งลุกลามบานปลายไปมากกว่านี้ จึงได้พยายามหาหนทางคลี่คลายปัญหาด้วยการเจรจา ซึ่งขั้นต่อไป น่าจะเป็นการเดินหน้าสู่การจัดทำ Code of Conduct ในที่สุด
East Asia Summit
สำหรับไฮไลท์ของการหารือระหว่างอาเซียนกับประเทศมหาอำนาจนั้น คือ การเจรจาในกรอบ East Asia Summit หรือ EAS โดยอาเซียนได้ตอกย้ำจุดยืนในการจัดตั้ง EAS มาตั้งแต่ปี 2005 ว่า EAS จะเป็นเวทีในระดับผู้นำเท่านั้น และจะเป็นเวทีหารือในกรอบกว้าง ในประเด็นปัญหาทั้งด้านยุทธศาสตร์ การเมือง และเศรษฐกิจ และอาเซียนจะมีบทบาทนำใน EAS อาเซียนเห็นด้วยที่จะกระชับความร่วมมือในกรอบ EAS ในด้านการเงิน พลังงาน การศึกษา สาธารณสุข การจัดการ ภัยพิบัติ รวมทั้งเรื่อง ASEAN Connectivity และบูรณาการทางเศรษฐกิจ นอกจากนี้ อาเซียนพร้อมที่จะร่วมมือ ในประเด็นด้านความมั่นคง ทั้งที่เป็นประเด็นความมั่นคงแบบดั้งเดิม และความมั่นคงในรูปแบบใหม่ โดยเฉพาะความมั่นคงทางทะเล อาชญากรรมข้ามชาติ การก่อการร้าย โจรสลัด และการป้องกันการแพร่ขยายของอาวุธร้ายแรง
สำหรับภูมิหลังของเรื่อง EAS นั้น ที่กลายเป็นประเด็นขึ้นมาคือ ในปีนี้ สหรัฐฯ จะเข้าร่วมประชุมสุดยอด EAS เป็นครั้งแรก สหรัฐฯ คงจะมองว่า การเข้าร่วม EAS จะทำให้สหรัฐฯ มีบทบาทในการเข้าร่วมสถาปัตยกรรมในภูมิภาคได้อย่างเต็มที่ และการเป็นสมาชิก EAS จะช่วยป้องกันไม่ให้เกิดการรวมกลุ่มของประเทศในเอเชียโดยไม่มีสหรัฐฯ อย่างไรก็ตาม สหรัฐฯ มองว่า ความร่วมมือในกรอบอาเซียน+3 เข้มข้นกว่า EAS ดังนั้น ท่าทีของสหรัฐฯ คือ การเข้ามาปรับเปลี่ยน EAS ให้มีความร่วมมือที่เข้มข้น และพยายามเข้ามามีบทบาทนำใน EAS
จากท่าทีดังกล่าวของสหรัฐฯ ทำให้อาเซียนวิตกกังวลว่า อาเซียนจะไม่สามารถคุมเกม EAS ได้ ดังนั้น ในการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียนในครั้งนี้ อาเซียนจึงได้ตอกย้ำท่าทีของอาเซียน ซึ่งขัดแย้งกับท่าทีของสหรัฐฯ ในหลายเรื่อง อาทิ อาเซียนต้องการให้ EAS เป็นเวทีหารือในระดับผู้นำประเทศเท่านั้น และไม่ต้องการให้ EAS เป็นสถาบันที่เป็นทางการ ในขณะที่สหรัฐฯ ต้องการตรงกันข้าม สหรัฐฯ ตั้งเป้าให้ EAS เป็นองค์กรความร่วมมือทางด้านความมั่นคงในภูมิภาค แต่อาเซียนก็ไม่เห็นด้วย
อาเซียนในเวทีโลก
และเรื่องที่มีความสำคัญในการประชุมครั้งนี้อีกเรื่อง คือ เรื่องที่อินโดนีเซียให้ความสำคัญเป็นพิเศษ และเป็น theme ของการเป็นประธานอาเซียนของอินโดนีเซีย คือ “ASEAN Community in a Global Community of Nations” โดยที่ประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียนในครั้งนี้ ได้ตอกย้ำว่า จะพัฒนาท่าทีร่วมของอาเซียนในประเด็นปัญหาโลก และจะเพิ่มบทบาทอาเซียน ในการจัดการกับปัญหาของโลก โดยขณะนี้ กำลังมีการร่างปฏิญญาร่วมระหว่างอาเซียนกับ UN ซึ่งจะมีชื่อว่า Joint Declaration on Comprehensive Partnership between ASEAN and the United Nations เพื่อเสนอต่อที่ประชุมสุดยอดอาเซียน-UN ครั้งที่ 4 ปลายปีนี้
ผมมองว่ายุทธศาสตร์ของอินโดนีเซียในการผลักดันเรื่องนี้ คือ การใช้ประโยชน์จากอาเซียน ในการผลักดันให้อินโดนีเซียกลายเป็นมหาอำนาจ โดยเฉพาะการเชื่อมโยงบทบาทของอาเซียนในเวทีโลก กับบทบาทของอินโดนีเซียในฐานะสมาชิก G20
วันพุธที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2554
สหรัฐฯ กับการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียนที่บาหลี
สหรัฐฯ กับการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียนที่บาหลี
ตีพิมพ์ใน สยามรัฐสัปดาหวิจารณ์ ฉบับวันศุกร์ที่ 29 กรกฎาคม – วันพฤหัสบดีที่ 4 สิงหาคม 2554
เมื่อช่วงปลายสัปดาห์ที่แล้ว ได้มีการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียนที่บาหลี โดยมีการประชุมหลายกรอบ ทั้งระหว่างอาเซียนด้วยกันเอง และอาเซียนกับประเทศคู่เจรจา มีทั้ง ASEAN+1 ASEAN+3 และ EAS สำหรับคอลัมน์โลกทรรศน์ในวันนี้ ผมจะเน้นการประชุมระหว่างสหรัฐฯ กับอาเซียนเป็นหลัก โดยมีเรื่องสำคัญ ดังนี้
อาเซียน-สหรัฐฯ
สำหรับการประชุมอาเซียน-สหรัฐฯ ซึ่งมีลักษณะเป็นการประชุมอาเซียน+1 เป็นการประชุมระหว่างรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียน 10 ประเทศ กับรัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐฯ คือ Hillary Clinton โดยผลการประชุม มีเรื่องสำคัญอยู่ 2-3 เรื่อง
เรื่องแรก คือ การจัดทำแผนปฏิบัติการ 5 ปี เพื่อแปลงแถลงการณ์ร่วมอาเซียน-สหรัฐฯ ที่มีชื่อภาษาอังกฤษว่า ASEAN-U.S. Enhanced Partnership for Enduring Peace and Prosperity ซึ่งเป็นเอกสารสำคัญที่สุด สำหรับความสัมพันธ์ระหว่างอาเซียนกับสหรัฐฯ ทำขึ้นในปี 2005 ในการประชุมครั้งนี้ได้มีการจัดทำแผนปฏิบัติการของปี 2011-2015 เพื่อที่จะนำเสนอต่อที่ประชุมสุดยอดอาเซียน-สหรัฐฯ ครั้งที่ 3 ปลายปีนี้ โดยจะมีการยกระดับความสัมพันธ์ระหว่างอาเซียนกับสหรัฐฯ จากระดับการเป็นหุ้นส่วน (partnership) ขึ้นเป็นระดับยุทธศาสตร์ (strategic level) ทั้งนี้ ที่ประชุมได้จัดตั้งกลุ่มผู้ทรงคุณวุฒิอาเซียน-สหรัฐฯ (ASEAN-U.S. Eminent Persons Group) ขึ้น ซึ่งจะทำหน้าที่ในการทำรายงานเสนอแนะ การยกระดับความสัมพันธ์ดังกล่าว
อีกเรื่องหนึ่งที่สำคัญ คือ ที่ประชุมได้ตกลงที่จะให้เริ่มการเจรจาหารือ ระหว่างอาเซียนกับประเทศที่มีอาวุธนิวเคลียร์ 5 ประเทศ ด้วยเป้าหมายที่จะให้ประเทศเหล่านี้ ภาคยานุวัติกับสนธิสัญญาเขตปลอดอาวุธนิวเคลียร์ของอาเซียน (Southeast Asia Nuclear Weapons Free Zone: (SEANWFZ)) สหรัฐฯ ยังได้แสดงท่าที ที่จะส่งเสริมให้การเจรจานำไปสู่การที่ประเทศนิวเคลียร์ทั้ง 5 จะให้การรับรอง SEANWFZ ของอาเซียน
สำหรับเรื่องอื่น ที่น่าสนใจ คือ การที่สหรัฐฯ กำลังเข้าร่วมประชุมสุดยอดเอเชียตะวันออก เป็นครั้งแรก ปลายปีนี้ และที่ประชุมจะเสนอให้มีการประชุมสุดยอดอาเซียน-สหรัฐฯ ครั้งที่ 3 ขึ้นที่บาหลี ในเดือนพฤศจิกายน
สำหรับความสัมพันธ์อาเซียน-สหรัฐฯ นั้น ผมมีความเห็นว่า ยุทธศาสตร์ของสหรัฐฯ ในภูมิภาคไม่เคยเปลี่ยน คือ ยุทธศาสตร์ครองความเป็นเจ้า ซึ่งยุทธศาสตร์รองลงมาคือ ยุทธศาสตร์การสกัดกั้นการขยายอิทธิพลของจีนหรือยุทธศาสตร์ปิดล้อมจีน ดังนั้น ปัจจัยสำคัญที่ทำให้สหรัฐฯ ต้องการสนิทกับอาเซียนมากขึ้น ก็เพื่อแข่งกับจีนนั่นเอง ตัวแถลงการณ์ร่วมปี 2005 ก็มีลักษณะการเลียนแบบข้อตกลงอาเซียน-จีน ที่ได้ทำไปตั้งแต่ปี 2003 ส่วนเรื่องท่าทีของสหรัฐฯ ต่อเขตปลอดอาวุธนิวเคลียร์นั้น ก็เปลี่ยนแปลงไปจากเดิมมาก ในอดีต สหรัฐฯ ไม่เคยให้ความสนใจกับเรื่องนี้เลย แต่กลายเป็นว่า ในขณะนี้ สหรัฐฯ กลายเป็นตัวตั้งตัวตีที่จะให้มีการรับรอง SEANWFZ ของอาเซียน ผมมองว่า เกมนี้เป็นเกมที่สหรัฐฯ ต้องการตัดหน้าจีน เพราะก่อนหน้านี้ จีนเป็นประเทศนิวเคลียร์ประเทศแรก ที่แสดงจุดยืนที่พร้อมจะให้การรับรอง SEANWFZ
ความขัดแย้งในทะเลจีนใต้
แต่เรื่องที่เป็นไฮไลท์ของการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียน ที่บาหลี คือเรื่องความขัดแย้งในทะเลจีนใต้ หรือหมู่เกาะสแปรตลี่ โดยในวันที่ 22 กรกฎาคม Clinton ได้จัดแถลงข่าวประกาศจุดยืนของสหรัฐฯ ต่อปัญหานี้ สรุปได้ว่า สหรัฐฯ ยินดีที่จีนกับอาเซียนตกลงกันในการจัดทำ Guidelines หรือแนวทางในการที่จะแปลงปฏิญญาระหว่างอาเซียนกับจีนเมื่อปี 2002 ให้มีผลในทางปฏิบัติ ปฏิญญาดังกล่าว มีชื่อเป็นภาษาอังกฤษว่า ASEAN-China Declaration on the Conduct of Parties in the South China Sea ซึ่ง Clinton มองว่า Guidelines ดังกล่าว จะช่วยสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจ และนำไปสู่การดำเนินโครงการร่วมกันในทะเลจีนใต้ ซึ่งจะเป็นก้าวแรกที่สำคัญ ที่จะนำไปสู่การจัดทำ Code of Conduct นอกจากนี้ ข้อตกลงระหว่างอาเซียนกับจีนในครั้งนี้ แสดงให้เห็นถึงความก้าวหน้า ในการแก้ปัญหาด้วยการเจรจา และด้วยการทูตพหุภาคี
สหรัฐฯ ยินดีต่อข้อตกลงดังกล่าว ทั้งนี้เพราะสหรัฐฯ เป็นประเทศในภูมิภาคแปซิฟิก (Pacific nation) และเป็นมหาอำนาจที่อยู่ในภูมิภาคนี้โดยตรง (resident power) สหรัฐฯ จึงมีผลประโยชน์แห่งชาติในเรื่องเสรีภาพของการเดินเรือ และการรักษาสันติภาพและเสถียรภาพ และการเคารพกฎหมายระหว่างประเทศในทะเลจีนใต้ สหรัฐฯ ต่อต้านการใช้กำลังในการแก้ไขปัญหา ดังนั้น สหรัฐฯ จึงสนับสนุนกระบวนการทางการทูตที่จะแก้ปัญหานี้ และสนับสนุนปฏิญญา 2002 ระหว่างอาเซียนกับจีน อย่างไรก็ตาม Clinton ได้กล่าวว่า รู้สึกเป็นห่วงต่อเหตุการณ์ความตึงเครียดในทะเลจีนใต้ ในช่วงที่ผ่านมา ซึ่งคุกคามต่อสันติภาพในภูมิภาค เหตุการณ์ความตึงเครียด ได้คุกคามต่อเสรีภาพในการเดินเรือ และเพิ่มความเสี่ยงต่อการพัฒนาเศรษฐกิจในภูมิภาค ดังนั้น เพื่อให้เป็นไปตามปฏิญญา 2002 ประเทศต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง จะต้องปฏิบัติตามพันธกรณี ในการเคารพเสรีภาพในการเดินเรือ แก้ไขปัญหาด้วยสันติวิธี และไม่ใช้กำลัง และจะไม่กระทำการใด ๆ ที่จะทำให้ความขัดแย้งเพิ่มความรุนแรงมากขึ้น สหรัฐฯ จึงกระตุ้นให้ทุกฝ่าย เดินหน้าสู่การจัดทำ Code of Conduct
เกี่ยวกับเรื่องนี้ ผมขอกล่าวถึงภูมิหลังของความขัดแย้งในทะเลจีนใต้ว่า เป็นความขัดแย้งที่ยืดเยื้อเป็นเวลาหลายปี แต่ในช่วงตั้งแต่อาเซียนทำปฏิญญากับจีน ในปี 2002 ความขัดแย้งก็ดูจะทุเลา เบาบางลง อย่างไรก็ตาม เมื่อปีที่แล้ว สหรัฐฯได้จุดประเด็นปัญหานี้ขึ้นมาอีกครั้ง ในระหว่างการประชุม ARF ที่เวียดนาม ท่าทีของสหรัฐฯ ที่เข้ามาแทรกแซงในเรื่องนี้ ทำให้จีนไม่พอใจมาก หลังจากนั้น จีนได้จัดการซ้อมรบในหมู่เกาะสแปรตลี่ ต่อมาเมื่อช่วงเดือนมิถุนายน ความขัดแย้งก็ปะทุขึ้นอีกครั้ง โดยเป็นความขัดแย้งระหว่างจีนกับเวียดนาม และจีนกับฟิลิปปินส์ ทั้งเวียดนามและฟิลิปปินส์ ได้กล่าวโจมตีจีนอย่างรุนแรง โดยกล่าวหาว่า เรือรบของจีนได้ข่มขู่เรือสำรวจก๊าซและน้ำมันของเวียดนาม ในขณะที่ฟิลิปปินส์กล่าวหาว่า เรือรบของจีนได้ยิงเข้าใส่เรือประมง และข่มขู่เรือสำรวจน้ำมันของฟิลิปปินส์ โดยผู้ที่อยู่เบื้องหลังฉากความขัดแย้งครั้งใหม่ ก็คือสหรัฐฯ การที่สหรัฐฯ เข้ามายุ่งกับปัญหานี้ และทำให้ประเทศอาเซียนกับประเทศจีนทะเลาะกัน เป็นเป้าหมายของสหรัฐฯ เพื่อเปิดช่องให้สหรัฐฯ เข้ามามีบทบาททางทหารในภูมิภาคมากขึ้น และเพื่อปิดล้อมจีนทางทหารด้วย ประเทศเล็ก ๆ ในอาเซียน ก็พร้อมที่จะเผชิญหน้ากับจีนมากขึ้น เพราะรู้ดีว่า มีสหรัฐฯ ถือหางอยู่
Lower Mekong Initiative
อีกเรื่องที่เป็นเรื่องสำคัญ ที่สหรัฐฯ ผลักดันในการประชุมกับอาเซียนในครั้งนี้ คือ การจัดประชุม Lower Mekong Initiative ครั้งที่ 4 โดยมี Clinton เป็นประธานการประชุม โดยประเทศที่เข้าร่วมประชุมประกอบด้วย สหรัฐฯ ไทย ลาว กัมพูชา และเวียดนาม ในการประชุมครั้งนี้ Clinton ได้กล่าวว่า ในช่วงปีที่ผ่านมา มีความสำเร็จหลายเรื่องเกิดขึ้นในสาขาความร่วมมือ 4 ด้าน คือ ด้านสาธารณสุข การศึกษา โครงสร้างพื้นฐาน สิ่งแวดล้อมและคุณภาพของน้ำ
ในด้านสาธารณสุข สหรัฐฯ ได้สนับสนุนให้ลาวจัดประชุมเชิงปฏิบัติการ ในเรื่องของการใช้เตาแบบใหม่ที่ไร้มลพิษ โดยที่ผ่านมา คนทั่วโลกนับพันล้านคนได้ใช้เตาถ่านหุงหาอาหารในบ้าน และก่อให้เกิดควันพิษที่เป็นสาเหตุทำให้คนเสียชีวิต ถึงสองล้านคนต่อปี
สำหรับในด้านสิ่งแวดล้อม ได้มีโครงการชื่อ Forecast Mekong โดยได้มีการส่งนักวิทยาศาสตร์ด้านสิ่งแวดล้อม มาช่วยพัฒนาตัวแบบในการวัดข้อมูล อาทิ ข้อมูลผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงของสภาวะอากาศ และกำลังจะมีการจัดทำโครงการใหม่ ชื่อ Lowering Emissions in Asia’s Forests: LEAF ที่จะเน้นการปกป้องการตัดไม้ทำลายป่า
สำหรับด้านโครงสร้างพื้นฐาน ได้มีการแลกเปลี่ยน คณะระหว่าง Mekong River Commission กับ Mississippi River Commission เพื่อแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ เกี่ยวกับการออกแบบโครงการโครงสร้างพื้นฐาน ที่จะไม่ให้กระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสังคม
และสำหรับในด้านการศึกษา จะมีโครงการสอนภาษาอังกฤษในภูมิภาค โดยเฉพาะให้แก่บุคลากรที่ทำงานในด้านสาธารณสุข โครงสร้างพื้นฐาน และสิ่งแวดล้อม
Clinton กล่าวว่า นี่เป็นเพียงตัวอย่างบางตัวอย่างของความสำเร็จ ในอนาคต จะมีโครงการความร่วมมืออีกหลายเรื่อง อาทิ กำลังมีการร่าง Concept paper ของ Lower Mekong Initiative และแผนปฏิบัติการ เพื่อเป็นการวางหลักการและเป้าหมายความร่วมมืออีก 5 ปีข้างหน้า โดยจะเน้นการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคร้าย ด้านสิ่งแวดล้อม และการระดมทุนจากภาคเอกชน สำหรับโครงการโครงสร้างพื้นฐานต่าง ๆ
จะเห็นได้ว่า สหรัฐฯ ได้พยายามมีนโยบายในเชิงรุกอย่างต่อเนื่อง ต่อภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ทั้งในกรอบอาเซียน และในกรอบอนุภูมิภาค คือ กรอบ Lower Mekong Initiative ซึ่งวาระซ่อนเร้นของสหรัฐฯ น่าจะเป็นความพยายามแข่งขันทางด้านยุทธศาสตร์กับจีน เพราะในอดีตจนถึงปัจจุบัน จีนเข้ามามีบทบาทอย่างมาก ในประเทศลุ่มแม่น้ำโขงตอนล่าง โดยเฉพาะกับพม่า ไทย ลาว และกัมพูชา เราจึงน่าจะเห็นสหรัฐฯ เดินหน้ามีนโยบายในเชิงรุกอย่างต่อเนื่องต่อไป ทั้งนี้ เพื่อจะคงอิทธิพลในภูมิภาคไว้ และเพื่อแข่งกับอิทธิพลของจีนซึ่งกำลังเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ
ตีพิมพ์ใน สยามรัฐสัปดาหวิจารณ์ ฉบับวันศุกร์ที่ 29 กรกฎาคม – วันพฤหัสบดีที่ 4 สิงหาคม 2554
เมื่อช่วงปลายสัปดาห์ที่แล้ว ได้มีการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียนที่บาหลี โดยมีการประชุมหลายกรอบ ทั้งระหว่างอาเซียนด้วยกันเอง และอาเซียนกับประเทศคู่เจรจา มีทั้ง ASEAN+1 ASEAN+3 และ EAS สำหรับคอลัมน์โลกทรรศน์ในวันนี้ ผมจะเน้นการประชุมระหว่างสหรัฐฯ กับอาเซียนเป็นหลัก โดยมีเรื่องสำคัญ ดังนี้
อาเซียน-สหรัฐฯ
สำหรับการประชุมอาเซียน-สหรัฐฯ ซึ่งมีลักษณะเป็นการประชุมอาเซียน+1 เป็นการประชุมระหว่างรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียน 10 ประเทศ กับรัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐฯ คือ Hillary Clinton โดยผลการประชุม มีเรื่องสำคัญอยู่ 2-3 เรื่อง
เรื่องแรก คือ การจัดทำแผนปฏิบัติการ 5 ปี เพื่อแปลงแถลงการณ์ร่วมอาเซียน-สหรัฐฯ ที่มีชื่อภาษาอังกฤษว่า ASEAN-U.S. Enhanced Partnership for Enduring Peace and Prosperity ซึ่งเป็นเอกสารสำคัญที่สุด สำหรับความสัมพันธ์ระหว่างอาเซียนกับสหรัฐฯ ทำขึ้นในปี 2005 ในการประชุมครั้งนี้ได้มีการจัดทำแผนปฏิบัติการของปี 2011-2015 เพื่อที่จะนำเสนอต่อที่ประชุมสุดยอดอาเซียน-สหรัฐฯ ครั้งที่ 3 ปลายปีนี้ โดยจะมีการยกระดับความสัมพันธ์ระหว่างอาเซียนกับสหรัฐฯ จากระดับการเป็นหุ้นส่วน (partnership) ขึ้นเป็นระดับยุทธศาสตร์ (strategic level) ทั้งนี้ ที่ประชุมได้จัดตั้งกลุ่มผู้ทรงคุณวุฒิอาเซียน-สหรัฐฯ (ASEAN-U.S. Eminent Persons Group) ขึ้น ซึ่งจะทำหน้าที่ในการทำรายงานเสนอแนะ การยกระดับความสัมพันธ์ดังกล่าว
อีกเรื่องหนึ่งที่สำคัญ คือ ที่ประชุมได้ตกลงที่จะให้เริ่มการเจรจาหารือ ระหว่างอาเซียนกับประเทศที่มีอาวุธนิวเคลียร์ 5 ประเทศ ด้วยเป้าหมายที่จะให้ประเทศเหล่านี้ ภาคยานุวัติกับสนธิสัญญาเขตปลอดอาวุธนิวเคลียร์ของอาเซียน (Southeast Asia Nuclear Weapons Free Zone: (SEANWFZ)) สหรัฐฯ ยังได้แสดงท่าที ที่จะส่งเสริมให้การเจรจานำไปสู่การที่ประเทศนิวเคลียร์ทั้ง 5 จะให้การรับรอง SEANWFZ ของอาเซียน
สำหรับเรื่องอื่น ที่น่าสนใจ คือ การที่สหรัฐฯ กำลังเข้าร่วมประชุมสุดยอดเอเชียตะวันออก เป็นครั้งแรก ปลายปีนี้ และที่ประชุมจะเสนอให้มีการประชุมสุดยอดอาเซียน-สหรัฐฯ ครั้งที่ 3 ขึ้นที่บาหลี ในเดือนพฤศจิกายน
สำหรับความสัมพันธ์อาเซียน-สหรัฐฯ นั้น ผมมีความเห็นว่า ยุทธศาสตร์ของสหรัฐฯ ในภูมิภาคไม่เคยเปลี่ยน คือ ยุทธศาสตร์ครองความเป็นเจ้า ซึ่งยุทธศาสตร์รองลงมาคือ ยุทธศาสตร์การสกัดกั้นการขยายอิทธิพลของจีนหรือยุทธศาสตร์ปิดล้อมจีน ดังนั้น ปัจจัยสำคัญที่ทำให้สหรัฐฯ ต้องการสนิทกับอาเซียนมากขึ้น ก็เพื่อแข่งกับจีนนั่นเอง ตัวแถลงการณ์ร่วมปี 2005 ก็มีลักษณะการเลียนแบบข้อตกลงอาเซียน-จีน ที่ได้ทำไปตั้งแต่ปี 2003 ส่วนเรื่องท่าทีของสหรัฐฯ ต่อเขตปลอดอาวุธนิวเคลียร์นั้น ก็เปลี่ยนแปลงไปจากเดิมมาก ในอดีต สหรัฐฯ ไม่เคยให้ความสนใจกับเรื่องนี้เลย แต่กลายเป็นว่า ในขณะนี้ สหรัฐฯ กลายเป็นตัวตั้งตัวตีที่จะให้มีการรับรอง SEANWFZ ของอาเซียน ผมมองว่า เกมนี้เป็นเกมที่สหรัฐฯ ต้องการตัดหน้าจีน เพราะก่อนหน้านี้ จีนเป็นประเทศนิวเคลียร์ประเทศแรก ที่แสดงจุดยืนที่พร้อมจะให้การรับรอง SEANWFZ
ความขัดแย้งในทะเลจีนใต้
แต่เรื่องที่เป็นไฮไลท์ของการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียน ที่บาหลี คือเรื่องความขัดแย้งในทะเลจีนใต้ หรือหมู่เกาะสแปรตลี่ โดยในวันที่ 22 กรกฎาคม Clinton ได้จัดแถลงข่าวประกาศจุดยืนของสหรัฐฯ ต่อปัญหานี้ สรุปได้ว่า สหรัฐฯ ยินดีที่จีนกับอาเซียนตกลงกันในการจัดทำ Guidelines หรือแนวทางในการที่จะแปลงปฏิญญาระหว่างอาเซียนกับจีนเมื่อปี 2002 ให้มีผลในทางปฏิบัติ ปฏิญญาดังกล่าว มีชื่อเป็นภาษาอังกฤษว่า ASEAN-China Declaration on the Conduct of Parties in the South China Sea ซึ่ง Clinton มองว่า Guidelines ดังกล่าว จะช่วยสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจ และนำไปสู่การดำเนินโครงการร่วมกันในทะเลจีนใต้ ซึ่งจะเป็นก้าวแรกที่สำคัญ ที่จะนำไปสู่การจัดทำ Code of Conduct นอกจากนี้ ข้อตกลงระหว่างอาเซียนกับจีนในครั้งนี้ แสดงให้เห็นถึงความก้าวหน้า ในการแก้ปัญหาด้วยการเจรจา และด้วยการทูตพหุภาคี
สหรัฐฯ ยินดีต่อข้อตกลงดังกล่าว ทั้งนี้เพราะสหรัฐฯ เป็นประเทศในภูมิภาคแปซิฟิก (Pacific nation) และเป็นมหาอำนาจที่อยู่ในภูมิภาคนี้โดยตรง (resident power) สหรัฐฯ จึงมีผลประโยชน์แห่งชาติในเรื่องเสรีภาพของการเดินเรือ และการรักษาสันติภาพและเสถียรภาพ และการเคารพกฎหมายระหว่างประเทศในทะเลจีนใต้ สหรัฐฯ ต่อต้านการใช้กำลังในการแก้ไขปัญหา ดังนั้น สหรัฐฯ จึงสนับสนุนกระบวนการทางการทูตที่จะแก้ปัญหานี้ และสนับสนุนปฏิญญา 2002 ระหว่างอาเซียนกับจีน อย่างไรก็ตาม Clinton ได้กล่าวว่า รู้สึกเป็นห่วงต่อเหตุการณ์ความตึงเครียดในทะเลจีนใต้ ในช่วงที่ผ่านมา ซึ่งคุกคามต่อสันติภาพในภูมิภาค เหตุการณ์ความตึงเครียด ได้คุกคามต่อเสรีภาพในการเดินเรือ และเพิ่มความเสี่ยงต่อการพัฒนาเศรษฐกิจในภูมิภาค ดังนั้น เพื่อให้เป็นไปตามปฏิญญา 2002 ประเทศต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง จะต้องปฏิบัติตามพันธกรณี ในการเคารพเสรีภาพในการเดินเรือ แก้ไขปัญหาด้วยสันติวิธี และไม่ใช้กำลัง และจะไม่กระทำการใด ๆ ที่จะทำให้ความขัดแย้งเพิ่มความรุนแรงมากขึ้น สหรัฐฯ จึงกระตุ้นให้ทุกฝ่าย เดินหน้าสู่การจัดทำ Code of Conduct
เกี่ยวกับเรื่องนี้ ผมขอกล่าวถึงภูมิหลังของความขัดแย้งในทะเลจีนใต้ว่า เป็นความขัดแย้งที่ยืดเยื้อเป็นเวลาหลายปี แต่ในช่วงตั้งแต่อาเซียนทำปฏิญญากับจีน ในปี 2002 ความขัดแย้งก็ดูจะทุเลา เบาบางลง อย่างไรก็ตาม เมื่อปีที่แล้ว สหรัฐฯได้จุดประเด็นปัญหานี้ขึ้นมาอีกครั้ง ในระหว่างการประชุม ARF ที่เวียดนาม ท่าทีของสหรัฐฯ ที่เข้ามาแทรกแซงในเรื่องนี้ ทำให้จีนไม่พอใจมาก หลังจากนั้น จีนได้จัดการซ้อมรบในหมู่เกาะสแปรตลี่ ต่อมาเมื่อช่วงเดือนมิถุนายน ความขัดแย้งก็ปะทุขึ้นอีกครั้ง โดยเป็นความขัดแย้งระหว่างจีนกับเวียดนาม และจีนกับฟิลิปปินส์ ทั้งเวียดนามและฟิลิปปินส์ ได้กล่าวโจมตีจีนอย่างรุนแรง โดยกล่าวหาว่า เรือรบของจีนได้ข่มขู่เรือสำรวจก๊าซและน้ำมันของเวียดนาม ในขณะที่ฟิลิปปินส์กล่าวหาว่า เรือรบของจีนได้ยิงเข้าใส่เรือประมง และข่มขู่เรือสำรวจน้ำมันของฟิลิปปินส์ โดยผู้ที่อยู่เบื้องหลังฉากความขัดแย้งครั้งใหม่ ก็คือสหรัฐฯ การที่สหรัฐฯ เข้ามายุ่งกับปัญหานี้ และทำให้ประเทศอาเซียนกับประเทศจีนทะเลาะกัน เป็นเป้าหมายของสหรัฐฯ เพื่อเปิดช่องให้สหรัฐฯ เข้ามามีบทบาททางทหารในภูมิภาคมากขึ้น และเพื่อปิดล้อมจีนทางทหารด้วย ประเทศเล็ก ๆ ในอาเซียน ก็พร้อมที่จะเผชิญหน้ากับจีนมากขึ้น เพราะรู้ดีว่า มีสหรัฐฯ ถือหางอยู่
Lower Mekong Initiative
อีกเรื่องที่เป็นเรื่องสำคัญ ที่สหรัฐฯ ผลักดันในการประชุมกับอาเซียนในครั้งนี้ คือ การจัดประชุม Lower Mekong Initiative ครั้งที่ 4 โดยมี Clinton เป็นประธานการประชุม โดยประเทศที่เข้าร่วมประชุมประกอบด้วย สหรัฐฯ ไทย ลาว กัมพูชา และเวียดนาม ในการประชุมครั้งนี้ Clinton ได้กล่าวว่า ในช่วงปีที่ผ่านมา มีความสำเร็จหลายเรื่องเกิดขึ้นในสาขาความร่วมมือ 4 ด้าน คือ ด้านสาธารณสุข การศึกษา โครงสร้างพื้นฐาน สิ่งแวดล้อมและคุณภาพของน้ำ
ในด้านสาธารณสุข สหรัฐฯ ได้สนับสนุนให้ลาวจัดประชุมเชิงปฏิบัติการ ในเรื่องของการใช้เตาแบบใหม่ที่ไร้มลพิษ โดยที่ผ่านมา คนทั่วโลกนับพันล้านคนได้ใช้เตาถ่านหุงหาอาหารในบ้าน และก่อให้เกิดควันพิษที่เป็นสาเหตุทำให้คนเสียชีวิต ถึงสองล้านคนต่อปี
สำหรับในด้านสิ่งแวดล้อม ได้มีโครงการชื่อ Forecast Mekong โดยได้มีการส่งนักวิทยาศาสตร์ด้านสิ่งแวดล้อม มาช่วยพัฒนาตัวแบบในการวัดข้อมูล อาทิ ข้อมูลผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงของสภาวะอากาศ และกำลังจะมีการจัดทำโครงการใหม่ ชื่อ Lowering Emissions in Asia’s Forests: LEAF ที่จะเน้นการปกป้องการตัดไม้ทำลายป่า
สำหรับด้านโครงสร้างพื้นฐาน ได้มีการแลกเปลี่ยน คณะระหว่าง Mekong River Commission กับ Mississippi River Commission เพื่อแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ เกี่ยวกับการออกแบบโครงการโครงสร้างพื้นฐาน ที่จะไม่ให้กระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสังคม
และสำหรับในด้านการศึกษา จะมีโครงการสอนภาษาอังกฤษในภูมิภาค โดยเฉพาะให้แก่บุคลากรที่ทำงานในด้านสาธารณสุข โครงสร้างพื้นฐาน และสิ่งแวดล้อม
Clinton กล่าวว่า นี่เป็นเพียงตัวอย่างบางตัวอย่างของความสำเร็จ ในอนาคต จะมีโครงการความร่วมมืออีกหลายเรื่อง อาทิ กำลังมีการร่าง Concept paper ของ Lower Mekong Initiative และแผนปฏิบัติการ เพื่อเป็นการวางหลักการและเป้าหมายความร่วมมืออีก 5 ปีข้างหน้า โดยจะเน้นการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคร้าย ด้านสิ่งแวดล้อม และการระดมทุนจากภาคเอกชน สำหรับโครงการโครงสร้างพื้นฐานต่าง ๆ
จะเห็นได้ว่า สหรัฐฯ ได้พยายามมีนโยบายในเชิงรุกอย่างต่อเนื่อง ต่อภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ทั้งในกรอบอาเซียน และในกรอบอนุภูมิภาค คือ กรอบ Lower Mekong Initiative ซึ่งวาระซ่อนเร้นของสหรัฐฯ น่าจะเป็นความพยายามแข่งขันทางด้านยุทธศาสตร์กับจีน เพราะในอดีตจนถึงปัจจุบัน จีนเข้ามามีบทบาทอย่างมาก ในประเทศลุ่มแม่น้ำโขงตอนล่าง โดยเฉพาะกับพม่า ไทย ลาว และกัมพูชา เราจึงน่าจะเห็นสหรัฐฯ เดินหน้ามีนโยบายในเชิงรุกอย่างต่อเนื่องต่อไป ทั้งนี้ เพื่อจะคงอิทธิพลในภูมิภาคไว้ และเพื่อแข่งกับอิทธิพลของจีนซึ่งกำลังเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ
สหรัฐฯ กับยุทธศาสตร์ cyberwarfare
สหรัฐฯ กับยุทธศาสตร์ cyberwarfare
ตีพิมพ์ใน สยามรัฐสัปดาหวิจารณ์ ฉบับวันศุกร์ที่ 22 – วันพฤหัสบดีที่ 28 กรกฎาคม 2554
ภัยคุกคามในรูปแบบใหม่ คือ ภัยคุกคามใน internet ความมั่นคงแห่งชาติของสหรัฐฯขึ้นอยู่ความมั่นคงปลอดภัยของเครือข่ายคอมพิวเตอร์ และข้อมูลที่อยู่ในเครือข่าย internet กำลังถูกคุกคามอย่างหนัก เมื่อช่วงต้นเดือนนี้ กระทรวงกลาโหมสหรัฐฯได้เผยแพร่เอกสาร ยุทธศาสตร์ความมั่นคงใน internet ซึ่งเกี่ยวโยงกับสงครามรูปแบบใหม่ คือ cyberwarfare ด้วย เอกสารดังกล่าวมีชื่อเป็นภาษาอังกฤษว่า Department of Defense Strategy for Operating in Cyberspace คอลัมน์โลกทรรศน์ในวันนี้ จะสรุป วิเคราะห์เอกสารดังกล่าว ดังนี้
ภัยคุกคามในรูปแบบใหม่
เอกสารดังกล่าว ได้ประเมินภัยคุกคามต่อสหรัฐฯใน internet โดยมองว่า ความมั่นคงของโครงสร้างพื้นฐานสำคัญ ได้แก่ พลังงาน การเงิน การธนาคาร การขนส่ง การคมนาคม และข้อมูลทางทหาร จำเป็นต้องพึ่งเครือข่าย internet ทั้งหมด จึงทำให้มีความเปราะบางที่จะถูกคุกคาม
กระทรวงกลาโหมสหรัฐฯ มีเครือข่าย internet กว่า 15,000 เครือข่าย มีคอมพิวเตอร์ 7 ล้านเครื่อง กระจายอยู่ตามหน่วยงานทหารหลายร้อยหน่วยทั่วโลก กระทรวงกลาโหมสหรัฐฯใช้ internet ในการดำเนินการทางทหารในทุกๆด้าน
ดังนั้น สหรัฐฯจึงมีความเปราะบางใน internet เป็นอย่างมาก ปัจจุบัน มีประเทศต่างๆเป็นจำนวนมาก ได้เข้ามา hack ข้อมูลของกระทรวงกลาโหมสหรัฐฯ ทั้งที่เป็นข้อมูลเปิดและข้อมูลลับ และหน่วยงานข่าวกรองต่างชาติ มีความสามารถที่จะคุกคามต่อฐานข้อมูลของกระทรวงกลาโหมสหรัฐฯ เช่นเดียวกับองค์กรก่อการร้ายต่างๆ ก็พยายามที่จะเจาะและสร้างความเสียหายให้แก่ระบบและเครือข่ายข้อมูลของสหรัฐฯ
สถานการณ์ภัยคุกคามได้วิวัฒนาการไปอย่างรวดเร็วพร้อมกับวิวัฒนาการของเทคโนโลยี เครื่องมือในการ hack ข้อมูลก็มีเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ทำให้บุคคลหรือกลุ่มบุคคล ที่ต้องการสร้างความเสียหายให้กับสหรัฐฯนั้น ปฏิบัติการได้ง่ายขึ้น ดังนั้น ในปัจจุบัน ศัตรูของสหรัฐฯ ไม่จำเป็นต้องสร้างระบบอาวุธที่มีราคาแพง ก็สามารถคุกคามต่อความมั่นคงของสหรัฐฯได้
ปฏิบัติการของต่างชาติใน internet เพื่อคุกคามเครือข่ายข้อมูลของสหรัฐฯได้เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ตัวอย่างเช่น ได้มีคนเข้ามาในเครือข่ายของกระทรวงกลาโหมสหรัฐฯ นับเป็นล้านๆครั้งต่อวัน และความสำเร็จในการเจาะข้อมูล ก็นำไปสู่ความสูญเสีย file เป็นจำนวนหลายพัน file ภัยคุกคามในรูปแบบใหม่ กำลังวิวัฒนาการไปเรื่อยๆ โดยที่ศัตรูกำลังมุ่งพัฒนาความสามารถในการคุกคามที่สูงมากขึ้นเรื่อยๆ
โดยสรุป ภัยคุกคาม จะมี 3 รูปแบบ ประการแรก คือ การขโมยข้อมูล ประการที่ 2 คือ การสร้างความเสียหาย ประการที่ 3 คือ การคุกคามในรูปแบบของการทำลายเครือข่าย
ภัยคุกคามใน internet ที่ส่งผลต่อความมั่นคงของสหรัฐฯนั้น ได้ลุกลามไปทุกภาคส่วน ไม่ใช่แต่เฉพาะเป้าหมายทางทหารเท่านั้น แต่ hacker และรัฐบาลต่างชาติสามารถที่จะเจาะเข้าไปในเครือข่ายที่ควบคุมเกี่ยวกับโครงสร้างพื้นฐาน ทั้งในด้าน โรงงานพลังงาน เครือข่ายการคมนาคมขนส่ง และระบบการเงิน
ยุทธศาสตร์
ในเอกสารของกระทรวงกลาโหม ได้ระบุยุทธศาสตร์ในการต่อสู้กับภัยคุกคามดังกล่าว ซึ่งยุทธศาสตร์ที่สำคัญ มีดังนี้
ยุทธศาสตร์ที่ 1 เป็นยุทธศาสตร์ที่กระทรวงกลาโหมสหรัฐฯ จะมองเครือข่าย internet เป็นขอบเขตการปฏิบัติการ (domain) ที่จะมีสถานะเทียบเท่ากับขอบเขตการปฏิบัติการที่เราคุ้นเคย คือ ทางบก ทางทะเล ทางอากาศ การที่กระทรวงกลาโหมสหรัฐฯมองเครือข่าย internet ในลักษณะนี้ จะทำให้กำหนดยุทธศาสตร์ได้ง่าย เหมือนกับเป็นอีกหนึ่งสนามรบ โดยยุทธศาสตร์ทาง internet จะมีการจัดรูปแบบองค์กร การฝึกและการจัดอาวุธยุทโธปกรณ์ในการต่อสู้ในโลก internet
สำหรับยุทธศาสตร์ที่ 2 กระทรวงกลาโหม จะใช้แนวคิดใหม่ๆในการปกป้องเครือข่ายและระบบ internet โดยจะมี concept เรื่อง cyber hygiene นอกจากนี้ จะมีการใช้ระบบการป้องกันการถูกเจาะข้อมูล และจะมีการพัฒนาแนวคิด ทั้ง hardware และ software ใหม่ๆ
ยุทธศาสตร์ที่ 3 คือ กระทรวงกลาโหมสหรัฐฯจะสร้างความสัมพันธ์กับพันธมิตรและหุ้นส่วนในต่างประเทศ เพื่อส่งเสริมความมั่นคงใน internet ร่วมกัน โดยจะมีการพัฒนาการรับรู้สถานการณ์ร่วม การเตือนภัยล่วงหน้า ซึ่งจะเพิ่มประสิทธิภาพการป้องกันร่วมกัน (collective self-defense) และการป้องปรามร่วมกัน (collective deterrence) โดยจะมีการแลกเปลี่ยนข้อมูลเกี่ยวกับเหตุการณ์ทาง internet ภัยคุกคาม ข้อมูลเกี่ยวกับผู้คุกคาม ซึ่งการแลกเปลี่ยนข้อมูลเหล่านี้ จะเพิ่มขีดความสามารถในการป้องกันเครือข่าย internet ร่วมกัน นอกจากนี้ จะมีการพัฒนาและส่งเสริมหลักการและบรรทัดฐานเครือข่าย internet ระหว่างประเทศ ส่งเสริมพฤติกรรมที่มีความรับผิดชอบ และต่อต้านบุคคลที่ต้องการทำความเสียหายให้กับเครือข่าย และป้องปรามผู้คุกคาม และสงวนสิทธิที่จะป้องกันความมั่นคงแห่งชาติ ตามความเหมาะสม
นั่นคือยุทธศาสตร์หลักๆที่ปรากฏอยู่ในเอกสารกระทรวงกลาโหมสหรัฐฯ อย่างไรก็ตาม ได้มีรายงานข่าวออกมาเพิ่มเติมว่า กระทรวงกลาโหมสหรัฐฯมียุทธศาสตร์ที่จะใช้กำลังทหารเพื่อตอบโต้การคุกคามทาง internet ด้วย ซึ่งยุทธศาสตร์ในเรื่องนี้ไม่ปรากฏอยู่ในเอกสารดังกล่าวข้างต้น แต่ก็เป็นไปได้ว่า เอกสารดังกล่าวอาจจะมี 2 version คือ version ที่เปิดเผยต่อสาธารณะ และอีก version ที่ปิดเป็นความลับ ยุทธศาสตร์การใช้กำลังทางทหาร อาจอยู่ใน version ที่ปิดเป็นความลับก็ได้
ก่อนหน้านี้ ในเอกสารของรัฐบาลสหรัฐฯที่มีชื่อว่า International Strategy for Cyberspace ได้ระบุแต่เพียงว่า “สหรัฐฯจะตอบโต้ต่อภัยคุกคามใน internet เหมือนกับที่สหรัฐฯจะตอบโต้ต่อภัยคุกคามในรูปแบบอื่นๆ” ซึ่งก็มีความคลุมเครือว่า หมายถึงการจะใช้กำลังทางทหารด้วยหรือไม่ ยังมีคำถามที่ไม่ชัดเจนอีกหลายคำถาม เช่น การคุกคามในลักษณะใดใน internet ที่จะถือว่าเป็นภัยคุกคามถึงขั้นที่จะต้องตอบโต้ด้วยการใช้กำลังทางทหาร
กล่าวโดยสรุป จากที่ผมวิเคราะห์มาทั้งหมด จะเห็นได้ว่า เรากำลังก้าวสู่โลกในยุคใหม่ ในมิติด้านความมั่นคง ที่โลก internet กำลังจะกลายเป็นอีกหนึ่งสมรภูมิ เทียบเท่ากับสมรภูมิทางบก ทางทะเล และทางอากาศ ซึ่งในอนาคต การทำสงครามใน internet จะทวีความรุนแรงและสลับซับซ้อนมากขึ้นเรื่อยๆ
ตีพิมพ์ใน สยามรัฐสัปดาหวิจารณ์ ฉบับวันศุกร์ที่ 22 – วันพฤหัสบดีที่ 28 กรกฎาคม 2554
ภัยคุกคามในรูปแบบใหม่ คือ ภัยคุกคามใน internet ความมั่นคงแห่งชาติของสหรัฐฯขึ้นอยู่ความมั่นคงปลอดภัยของเครือข่ายคอมพิวเตอร์ และข้อมูลที่อยู่ในเครือข่าย internet กำลังถูกคุกคามอย่างหนัก เมื่อช่วงต้นเดือนนี้ กระทรวงกลาโหมสหรัฐฯได้เผยแพร่เอกสาร ยุทธศาสตร์ความมั่นคงใน internet ซึ่งเกี่ยวโยงกับสงครามรูปแบบใหม่ คือ cyberwarfare ด้วย เอกสารดังกล่าวมีชื่อเป็นภาษาอังกฤษว่า Department of Defense Strategy for Operating in Cyberspace คอลัมน์โลกทรรศน์ในวันนี้ จะสรุป วิเคราะห์เอกสารดังกล่าว ดังนี้
ภัยคุกคามในรูปแบบใหม่
เอกสารดังกล่าว ได้ประเมินภัยคุกคามต่อสหรัฐฯใน internet โดยมองว่า ความมั่นคงของโครงสร้างพื้นฐานสำคัญ ได้แก่ พลังงาน การเงิน การธนาคาร การขนส่ง การคมนาคม และข้อมูลทางทหาร จำเป็นต้องพึ่งเครือข่าย internet ทั้งหมด จึงทำให้มีความเปราะบางที่จะถูกคุกคาม
กระทรวงกลาโหมสหรัฐฯ มีเครือข่าย internet กว่า 15,000 เครือข่าย มีคอมพิวเตอร์ 7 ล้านเครื่อง กระจายอยู่ตามหน่วยงานทหารหลายร้อยหน่วยทั่วโลก กระทรวงกลาโหมสหรัฐฯใช้ internet ในการดำเนินการทางทหารในทุกๆด้าน
ดังนั้น สหรัฐฯจึงมีความเปราะบางใน internet เป็นอย่างมาก ปัจจุบัน มีประเทศต่างๆเป็นจำนวนมาก ได้เข้ามา hack ข้อมูลของกระทรวงกลาโหมสหรัฐฯ ทั้งที่เป็นข้อมูลเปิดและข้อมูลลับ และหน่วยงานข่าวกรองต่างชาติ มีความสามารถที่จะคุกคามต่อฐานข้อมูลของกระทรวงกลาโหมสหรัฐฯ เช่นเดียวกับองค์กรก่อการร้ายต่างๆ ก็พยายามที่จะเจาะและสร้างความเสียหายให้แก่ระบบและเครือข่ายข้อมูลของสหรัฐฯ
สถานการณ์ภัยคุกคามได้วิวัฒนาการไปอย่างรวดเร็วพร้อมกับวิวัฒนาการของเทคโนโลยี เครื่องมือในการ hack ข้อมูลก็มีเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ทำให้บุคคลหรือกลุ่มบุคคล ที่ต้องการสร้างความเสียหายให้กับสหรัฐฯนั้น ปฏิบัติการได้ง่ายขึ้น ดังนั้น ในปัจจุบัน ศัตรูของสหรัฐฯ ไม่จำเป็นต้องสร้างระบบอาวุธที่มีราคาแพง ก็สามารถคุกคามต่อความมั่นคงของสหรัฐฯได้
ปฏิบัติการของต่างชาติใน internet เพื่อคุกคามเครือข่ายข้อมูลของสหรัฐฯได้เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ตัวอย่างเช่น ได้มีคนเข้ามาในเครือข่ายของกระทรวงกลาโหมสหรัฐฯ นับเป็นล้านๆครั้งต่อวัน และความสำเร็จในการเจาะข้อมูล ก็นำไปสู่ความสูญเสีย file เป็นจำนวนหลายพัน file ภัยคุกคามในรูปแบบใหม่ กำลังวิวัฒนาการไปเรื่อยๆ โดยที่ศัตรูกำลังมุ่งพัฒนาความสามารถในการคุกคามที่สูงมากขึ้นเรื่อยๆ
โดยสรุป ภัยคุกคาม จะมี 3 รูปแบบ ประการแรก คือ การขโมยข้อมูล ประการที่ 2 คือ การสร้างความเสียหาย ประการที่ 3 คือ การคุกคามในรูปแบบของการทำลายเครือข่าย
ภัยคุกคามใน internet ที่ส่งผลต่อความมั่นคงของสหรัฐฯนั้น ได้ลุกลามไปทุกภาคส่วน ไม่ใช่แต่เฉพาะเป้าหมายทางทหารเท่านั้น แต่ hacker และรัฐบาลต่างชาติสามารถที่จะเจาะเข้าไปในเครือข่ายที่ควบคุมเกี่ยวกับโครงสร้างพื้นฐาน ทั้งในด้าน โรงงานพลังงาน เครือข่ายการคมนาคมขนส่ง และระบบการเงิน
ยุทธศาสตร์
ในเอกสารของกระทรวงกลาโหม ได้ระบุยุทธศาสตร์ในการต่อสู้กับภัยคุกคามดังกล่าว ซึ่งยุทธศาสตร์ที่สำคัญ มีดังนี้
ยุทธศาสตร์ที่ 1 เป็นยุทธศาสตร์ที่กระทรวงกลาโหมสหรัฐฯ จะมองเครือข่าย internet เป็นขอบเขตการปฏิบัติการ (domain) ที่จะมีสถานะเทียบเท่ากับขอบเขตการปฏิบัติการที่เราคุ้นเคย คือ ทางบก ทางทะเล ทางอากาศ การที่กระทรวงกลาโหมสหรัฐฯมองเครือข่าย internet ในลักษณะนี้ จะทำให้กำหนดยุทธศาสตร์ได้ง่าย เหมือนกับเป็นอีกหนึ่งสนามรบ โดยยุทธศาสตร์ทาง internet จะมีการจัดรูปแบบองค์กร การฝึกและการจัดอาวุธยุทโธปกรณ์ในการต่อสู้ในโลก internet
สำหรับยุทธศาสตร์ที่ 2 กระทรวงกลาโหม จะใช้แนวคิดใหม่ๆในการปกป้องเครือข่ายและระบบ internet โดยจะมี concept เรื่อง cyber hygiene นอกจากนี้ จะมีการใช้ระบบการป้องกันการถูกเจาะข้อมูล และจะมีการพัฒนาแนวคิด ทั้ง hardware และ software ใหม่ๆ
ยุทธศาสตร์ที่ 3 คือ กระทรวงกลาโหมสหรัฐฯจะสร้างความสัมพันธ์กับพันธมิตรและหุ้นส่วนในต่างประเทศ เพื่อส่งเสริมความมั่นคงใน internet ร่วมกัน โดยจะมีการพัฒนาการรับรู้สถานการณ์ร่วม การเตือนภัยล่วงหน้า ซึ่งจะเพิ่มประสิทธิภาพการป้องกันร่วมกัน (collective self-defense) และการป้องปรามร่วมกัน (collective deterrence) โดยจะมีการแลกเปลี่ยนข้อมูลเกี่ยวกับเหตุการณ์ทาง internet ภัยคุกคาม ข้อมูลเกี่ยวกับผู้คุกคาม ซึ่งการแลกเปลี่ยนข้อมูลเหล่านี้ จะเพิ่มขีดความสามารถในการป้องกันเครือข่าย internet ร่วมกัน นอกจากนี้ จะมีการพัฒนาและส่งเสริมหลักการและบรรทัดฐานเครือข่าย internet ระหว่างประเทศ ส่งเสริมพฤติกรรมที่มีความรับผิดชอบ และต่อต้านบุคคลที่ต้องการทำความเสียหายให้กับเครือข่าย และป้องปรามผู้คุกคาม และสงวนสิทธิที่จะป้องกันความมั่นคงแห่งชาติ ตามความเหมาะสม
นั่นคือยุทธศาสตร์หลักๆที่ปรากฏอยู่ในเอกสารกระทรวงกลาโหมสหรัฐฯ อย่างไรก็ตาม ได้มีรายงานข่าวออกมาเพิ่มเติมว่า กระทรวงกลาโหมสหรัฐฯมียุทธศาสตร์ที่จะใช้กำลังทหารเพื่อตอบโต้การคุกคามทาง internet ด้วย ซึ่งยุทธศาสตร์ในเรื่องนี้ไม่ปรากฏอยู่ในเอกสารดังกล่าวข้างต้น แต่ก็เป็นไปได้ว่า เอกสารดังกล่าวอาจจะมี 2 version คือ version ที่เปิดเผยต่อสาธารณะ และอีก version ที่ปิดเป็นความลับ ยุทธศาสตร์การใช้กำลังทางทหาร อาจอยู่ใน version ที่ปิดเป็นความลับก็ได้
ก่อนหน้านี้ ในเอกสารของรัฐบาลสหรัฐฯที่มีชื่อว่า International Strategy for Cyberspace ได้ระบุแต่เพียงว่า “สหรัฐฯจะตอบโต้ต่อภัยคุกคามใน internet เหมือนกับที่สหรัฐฯจะตอบโต้ต่อภัยคุกคามในรูปแบบอื่นๆ” ซึ่งก็มีความคลุมเครือว่า หมายถึงการจะใช้กำลังทางทหารด้วยหรือไม่ ยังมีคำถามที่ไม่ชัดเจนอีกหลายคำถาม เช่น การคุกคามในลักษณะใดใน internet ที่จะถือว่าเป็นภัยคุกคามถึงขั้นที่จะต้องตอบโต้ด้วยการใช้กำลังทางทหาร
กล่าวโดยสรุป จากที่ผมวิเคราะห์มาทั้งหมด จะเห็นได้ว่า เรากำลังก้าวสู่โลกในยุคใหม่ ในมิติด้านความมั่นคง ที่โลก internet กำลังจะกลายเป็นอีกหนึ่งสมรภูมิ เทียบเท่ากับสมรภูมิทางบก ทางทะเล และทางอากาศ ซึ่งในอนาคต การทำสงครามใน internet จะทวีความรุนแรงและสลับซับซ้อนมากขึ้นเรื่อยๆ
ข้อเสนอบทบาทของอาเซียนในการแก้ปัญหาความขัดแย้งในทะเลจีนใต้
ข้อเสนอบทบาทของอาเซียนในการแก้ปัญหาความขัดแย้งในทะเลจีนใต้
ตีพิมพ์ใน ไทยโพสต์ ฉบับวันพฤหัสบดีที่ 14 กรกฎาคม 2554
ภูมิหลังของปัญหา
ความขัดแย้งที่วิกฤตที่สุดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และอาจลุกลามใหญ่โตจนอาจกลายเป็นสงครามในอนาคตได้ คือ ความขัดแย้งในทะเลจีนใต้ หรือ ความขัดแย้งในหมู่เกาะสแปรตลีย์ โดยในปีที่แล้ว สหรัฐฯได้จุดประเด็นปัญหานี้ขึ้นมาอีกครั้ง ในระหว่างการประชุม ARF ที่เวียดนาม ต่อมา จีนและอาเซียนพยายามคลี่คลายปัญหาด้วยการหันกลับมาเจรจา แต่ล่าสุด ก็เกิดเหตุการณ์ความขัดแย้งและวิกฤตขึ้นใหม่อีก โดยเมื่อช่วงต้นเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา เวียดนามได้กล่าวหาว่า เรือรบของจีนได้ทำความเสียหายแก่เรือสำรวจน้ำมันของบริษัทพลังงานเวียดนาม ต่อมาได้มีการเดินขบวนของชาวเวียดนาม เพื่อประท้วงจีน และเวียดนามได้ทำการซ้อมรบด้วยกระสุนจริง ในบริเวณน่านน้ำนอกชายฝั่งเวียดนาม สำหรับฟิลิปปินส์ก็ได้กล่าวโจมตีจีนอย่างรุนแรง โดยอ้างว่า เรือรบจีนได้ยิงปืนเข้าใส่เรือประมงของฟิลิปปินส์ และข่มขู่เรือสำรวจน้ำมันของฟิลิปปินส์
ภูมิหลังบทบาทของอาเซียน
ในอดีต อาเซียนแทบไม่ได้มีบทบาทอะไร โดยในอดีต จีนได้อ้างมาโดยตลอดว่า ปัญหานี้เป็นปัญหาทวิภาคีที่ต้องเจรจาผ่านช่องทางทวิภาคีเท่านั้น อย่างไรก็ตาม ในปี 1992 อาเซียนได้จัดทำปฏิญญาเรียกร้องให้มีการแก้ปัญหาความขัดแย้งอย่างสันติวิธี นับเป็นก้าวแรกที่อาเซียนได้เข้ามาเกี่ยวข้องกับปัญหานี้ หลังจากนั้น อาเซียนได้กดดันจีนมากขึ้นเรื่อยๆให้เจรจากับอาเซียนทั้งกลุ่ม ในช่วงปลายทศวรรษ 1990 เป็นช่วงที่จีนเปลี่ยนนโยบายใหม่โดยเน้นการเอาใจประเทศอาเซียน โดยจีนได้มียุทธศาสตร์ในเชิงรุกต่ออาเซียน และใกล้ชิดกับอาเซียนเพิ่มมากขึ้นเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะตั้งแต่การตกลงที่จะเจรจา FTA อาเซียน-จีน ในปี 2001 ความสัมพันธ์อาเซียนกับจีนก็ดีขึ้นเป็นลำดับ
แต่จีนก็รู้ดีว่า ยังมีระเบิดเวลารอการระเบิดอยู่ 1 ลูก คือ ปัญหาความขัดแย้งในหมู่เกาะสแปรตลีย์ ดังนั้น เพื่อถอดสลักระเบิดลูกนี้ จีนจำเป็นต้องเปลี่ยนท่าทีด้วยการยอมที่จะเจรจาเรื่องนี้กับอาเซียนทั้งกลุ่ม หลังจากนั้น ได้มีการเจรจาเจ้าหน้าที่อาวุโสอาเซียนกับจีนในเรื่องนี้ขึ้น ซึ่งในที่สุด ก็นำไปสู่การจัดทำปฏิญญาปัญหาทะเลจีนใต้กับจีนขึ้นในปี 2002 ซึ่งภาษาอังกฤษเรียกว่า Declaration on the Conduct of Parties in the South China Sea ซึ่งถือเป็นจุดเปลี่ยนครั้งสำคัญต่อปัญหานี้ และในตอนนั้น ก็มีแนวโน้มว่า ปัญหานี้จะคลี่คลายลง
หลังจากนั้น ได้มีการเจรจาต่อ เพื่อจะมีการจัดทำ Code of Conduct ซึ่งจะเป็นการกำหนดกติกาสำคัญในการแก้ปัญหานี้ อย่างไรก็ตาม ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา สถานการณ์เริ่มเลวร้ายลง การเจรจา Code of Conduct ก็สะดุดติดขัด การผงาดขึ้นมาของจีนทางด้านเศรษฐกิจอย่างรวดเร็ว ทำให้จีนมีความเชื่อมั่น และมีท่าทีที่แข็งกร้าวมากขึ้นเรื่อยๆโดยเฉพาะต่อกรณีหมู่เกาะสแปรตลีย์ ที่จีนยืนกรานมาตลอดว่า เป็นของจีน จีนต้องการผงาดขึ้นมาเป็นมหาอำนาจ และการครอบครองทะเลจีนใต้ เป็นยุทธศาสตร์ที่สำคัญในการผงาดขึ้นมาเป็นมหาอำนาจทางทะเลในภูมิภาค
แต่ตัวแปรสำคัญที่อยู่เบื้องหลังความขัดแย้งครั้งใหม่ คือ สหรัฐฯ โดยยุทธศาสตร์ใหญ่ของสหรัฐฯในภูมิภาค คือ ยุทธศาสตร์ปิดล้อมจีน ดังนั้น การที่สหรัฐฯเข้ามายุ่งกับปัญหานี้ และทำให้จีนกับประเทศอาเซียนทะเลาะกัน จึงเป็นเป้าหมายของสหรัฐฯ เพื่อเป็นการเปิดช่องให้สหรัฐฯเข้ามามีอำนาจทางทหารในภูมิภาคมากขึ้น และเพื่อเพิ่มบทบาทการปิดล้อมจีนทางทหาร
สำหรับการเจรจาระหว่างอาเซียนกับจีน ในเรื่อง Code of Conduct เมื่อช่วงเดือนธันวาคมปีที่แล้ว ที่เมืองคุนหมิง ก็ประสบความล้มเหลว อาเซียนเองก็เสียงแตก เพราะประเทศอาเซียนบางประเทศถือหางจีน โดยเฉพาะ พม่า ลาว และกัมพูชา ประเทศที่เป็นคู่กรณีกับจีนโดยตรง มีเพียง เวียดนาม ฟิลิปปินส์ มาเลเซีย และบรูไน ส่วนไทย สิงคโปร์ และอินโดนีเซีย ไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องโดยตรง ดังนั้น อาเซียนจึงไม่มีเอกภาพในการเจรจากับจีน
อย่างไรก็ตาม สถานการณ์ล่าสุดเกี่ยวกับบทบาทของอาเซียน คือ อินโดนีเซียในฐานะประธานอาเซียนได้พยายามเข้ามามีบทบาทในเรื่องนี้ อินโดนีเซียในฐานะประธานอาเซียนได้เรียกร้องให้มีการผ่อนคลายความตึงเครียด ตั้งแต่ต้นปีนี้ อินโดนีเซียได้หารือกับประเทศต่างๆที่เกี่ยวข้อง และท่าทีล่าสุดของอินโดนีเซีย คือ จะเดินหน้าในแปลงปฏิญญา ปี 2002 ไปสู่การปฏิบัติ ด้วยการจัดทำรายละเอียด แผนปฏิบัติการ ภายใต้ปฏิญญาดังกล่าว ในช่วงวันที่ 7-11 มิถุนายนที่ผ่านมา ได้มีการประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสอาเซียนกับประเทศคู่เจรจา และได้มีการหารือรายละเอียดในเรื่องนี้ เป็นที่คาดว่า การประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียน ที่บาหลี ในช่วงปลายเดือนนี้ คงจะได้มีการหารือรายละเอียดในเรื่องนี้
ข้อเสนอบทบาทของอาเซียนในการแก้ปัญหาความขัดแย้งในทะเลจีนใต้
ผมมองว่า หากอาเซียนต้องการเป็นแกนกลางของสถาปัตยกรรมในภูมิภาค อาเซียนจะต้องมีบทบาทแก้ไขปัญหาความขัดแย้งในภูมิภาคให้ได้ ผมจึงอยากจะเสนอยุทธศาสตร์ของอาเซียนในการแก้ปัญหานี้ ดังนี้
• บรรทัดฐาน
ในปฏิญญา ปี 2002 ได้เน้นว่า ทุกฝ่ายจะยึดมั่นในหลักการของกฎหมายระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งกฎหมายทะเล และสนธิสัญญาของอาเซียน คือ Treaty of Amity and Cooperation (TAC)
ผมมองว่า ยุทธศาสตร์อาเซียนควรจะต้องมีการจัดทำแผนปฏิบัติการ รายละเอียดต่างๆ เพื่อเชื่อมบรรทัดฐานสำคัญๆ กับการแก้ปัญหาความขัดแย้ง โดยข้อตกลงที่สำคัญของอาเซียนที่จะช่วยในเรื่องนี้ได้ คือ TAC ปฏิญญา ปี 1992 และที่สำคัญที่สุด คือ ปฏิญญา ปี 2002 และสำหรับในอนาคต อาเซียนจะต้องผลักดันให้จีนเดินหน้าเจรจาต่อ เพื่อจัดทำ Code of Conduct ให้สำเร็จ
• มาตรการสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจระหว่างกัน
ในปฏิญญา ปี 2002 ทุกฝ่ายเห็นด้วยที่จะสร้างความเชื่อมั่นและความไว้วางใจกัน ซึ่งในประเด็นนี้ ในภาษาทางการทูต เรียกว่า Confidence-Building Measure หรือ CBM ซึ่งตามทฤษฎีแล้ว จะประกอบด้วยมาตรการต่างๆ อาทิ
- การสร้างความโปร่งใส โดยเฉพาะในเรื่องนโยบายทหาร
- การแจ้งล่วงหน้า หากมีการซ้อมรบในบริเวณทะเลจีนใต้
- ยุติการเคลื่อนไหวทางทหาร หรือ การสร้างสิ่งก่อสร้างต่างๆทางทหาร อาทิ สนามบิน หรือท่าเรือ
- เพิ่มการแลกเปลี่ยน และความร่วมมือกันทางทหาร
• การเจรจา
ในปฏิญญา ปี 2002 ทุกฝ่ายเห็นด้วยที่จะต้องแก้ปัญหานี้อย่างสันติวิธีด้วยการเจรจา ดังนั้น ยุทธศาสตร์ของอาเซียนในการแปลงปฏิญญา 2002 ไปสู่การปฏิบัติ จะต้องระบุถึงช่องทางการเจรจา ในระดับต่างๆ และกำหนดมาตรการ รายละเอียด ของการเจรจาในเวทีต่างๆ ซึ่งการเจรจาอาจจะแบ่งเป็น การเจรจาระดับทวิภาคี และการเจรจาระดับพหุภาคี ในระดับพหุภาคีที่เกี่ยวกับอาเซียน จะมีหลายเวที คือ
- การเจรจาเจ้าหน้าที่อาวุโสอาเซียน-จีน ซึ่งน่าจะเป็นเวทีการเจรจาที่สำคัญ เพื่อแก้ปัญหานี้ และนำไปสู่การจัดทำ Code of Conduct
- เวทีการเจรจาอาเซียน-จีน ในระดับรัฐมนตรีต่างประเทศ และในระดับสุดยอด
- เวทีการเจรจาที่ขยายวงออกไป ได้แก่ อาเซียน+3 East Asia Summit ARF และ ADMM+8 เวทีเจรจาเหล่านี้ จะมีลักษณะแตกต่างกันไป อาเซียนจะต้องกำหนดยุทธศาสตร์ของแต่ละเวทีให้เหมาะสม
• ความร่วมมือ
ปฏิญญา ปี 2002 ระบุว่า ทุกฝ่ายจะแสวงหากิจกรรมความร่วมมือในด้านต่างๆในทะเลจีนใต้ร่วมกัน อาทิ ความร่วมมือในการปกป้องสิ่งแวดล้อมทางทะเล การวิจัยทางวิทยาศาสตร์ทางทะเล ความปลอดภัยในการเดินเรือ และการคมนาคม และมาตรการต่อต้านอาชญากรรมข้ามชาติต่างๆ
ผมมองว่า มาตรการต่างๆเหล่านี้ เป็นเรื่องที่ไม่ sensitive จึงน่าจะแสวงหาความร่วมมือกันได้ และจะเป็น CBM ในรูปแบบหนึ่งด้วย เพราะถ้าร่วมมือกันในรูปแบบนี้ได้ จะทำให้ไว้ใจกันมากขึ้น ซึ่งจะทำให้การแก้ปัญหาง่ายขึ้นด้วย
• การถ่วงดุลทางยุทธศาสตร์และทางทหาร
แต่ผมมองว่า ยังมีอีกยุทธศาสตร์หนึ่งซึ่งไม่ได้เขียนไว้ในปฏิญญา ปี 2002 แต่อาเซียนควรจะต้องทำควบคู่ไปกับมาตรการต่างๆข้างต้นด้วย คือ ยุทธศาสตร์การถ่วงดุลทางทหาร โดยยังมีความจำเป็นที่จะต้องดึงเอามหาอำนาจต่างๆเข้ามาถ่วงดุลจีน และกดดันจีน เพื่อให้ลดความก้าวร้าวลงและให้หันมาเจรจากับอาเซียน และนี่ก็น่าจะเป็นเหตุผลที่หลายประเทศกำลังดึงสหรัฐฯเข้ามายุ่งในเรื่องนี้ อย่างไรก็ตาม ยุทธศาสตร์นี้ ค่อนข้างอันตราย เพราะเป็นดาบ 2 คม โดยเฉพาะการดึงสหรัฐฯเข้ามา แม้ว่าจะมาช่วยถ่วงดุลจีน แต่ก็เป็นการเปิดช่องให้สหรัฐฯเข้ามาวุ่นวายในภูมิภาคมากขึ้น และอาจทำให้เกิดผลข้างเคียง ทำให้จีนกับสหรัฐฯขัดแย้งกันหนักขึ้น ซึ่งก็อาจจะทำให้การแก้ปัญหายากขึ้นไปด้วย ดังนั้น อาเซียนจึงต้องระมัดระวังเป็นพิเศษในการเล่นเกมถ่วงดุลกับมหาอำนาจเหล่านี้
ตีพิมพ์ใน ไทยโพสต์ ฉบับวันพฤหัสบดีที่ 14 กรกฎาคม 2554
ภูมิหลังของปัญหา
ความขัดแย้งที่วิกฤตที่สุดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และอาจลุกลามใหญ่โตจนอาจกลายเป็นสงครามในอนาคตได้ คือ ความขัดแย้งในทะเลจีนใต้ หรือ ความขัดแย้งในหมู่เกาะสแปรตลีย์ โดยในปีที่แล้ว สหรัฐฯได้จุดประเด็นปัญหานี้ขึ้นมาอีกครั้ง ในระหว่างการประชุม ARF ที่เวียดนาม ต่อมา จีนและอาเซียนพยายามคลี่คลายปัญหาด้วยการหันกลับมาเจรจา แต่ล่าสุด ก็เกิดเหตุการณ์ความขัดแย้งและวิกฤตขึ้นใหม่อีก โดยเมื่อช่วงต้นเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา เวียดนามได้กล่าวหาว่า เรือรบของจีนได้ทำความเสียหายแก่เรือสำรวจน้ำมันของบริษัทพลังงานเวียดนาม ต่อมาได้มีการเดินขบวนของชาวเวียดนาม เพื่อประท้วงจีน และเวียดนามได้ทำการซ้อมรบด้วยกระสุนจริง ในบริเวณน่านน้ำนอกชายฝั่งเวียดนาม สำหรับฟิลิปปินส์ก็ได้กล่าวโจมตีจีนอย่างรุนแรง โดยอ้างว่า เรือรบจีนได้ยิงปืนเข้าใส่เรือประมงของฟิลิปปินส์ และข่มขู่เรือสำรวจน้ำมันของฟิลิปปินส์
ภูมิหลังบทบาทของอาเซียน
ในอดีต อาเซียนแทบไม่ได้มีบทบาทอะไร โดยในอดีต จีนได้อ้างมาโดยตลอดว่า ปัญหานี้เป็นปัญหาทวิภาคีที่ต้องเจรจาผ่านช่องทางทวิภาคีเท่านั้น อย่างไรก็ตาม ในปี 1992 อาเซียนได้จัดทำปฏิญญาเรียกร้องให้มีการแก้ปัญหาความขัดแย้งอย่างสันติวิธี นับเป็นก้าวแรกที่อาเซียนได้เข้ามาเกี่ยวข้องกับปัญหานี้ หลังจากนั้น อาเซียนได้กดดันจีนมากขึ้นเรื่อยๆให้เจรจากับอาเซียนทั้งกลุ่ม ในช่วงปลายทศวรรษ 1990 เป็นช่วงที่จีนเปลี่ยนนโยบายใหม่โดยเน้นการเอาใจประเทศอาเซียน โดยจีนได้มียุทธศาสตร์ในเชิงรุกต่ออาเซียน และใกล้ชิดกับอาเซียนเพิ่มมากขึ้นเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะตั้งแต่การตกลงที่จะเจรจา FTA อาเซียน-จีน ในปี 2001 ความสัมพันธ์อาเซียนกับจีนก็ดีขึ้นเป็นลำดับ
แต่จีนก็รู้ดีว่า ยังมีระเบิดเวลารอการระเบิดอยู่ 1 ลูก คือ ปัญหาความขัดแย้งในหมู่เกาะสแปรตลีย์ ดังนั้น เพื่อถอดสลักระเบิดลูกนี้ จีนจำเป็นต้องเปลี่ยนท่าทีด้วยการยอมที่จะเจรจาเรื่องนี้กับอาเซียนทั้งกลุ่ม หลังจากนั้น ได้มีการเจรจาเจ้าหน้าที่อาวุโสอาเซียนกับจีนในเรื่องนี้ขึ้น ซึ่งในที่สุด ก็นำไปสู่การจัดทำปฏิญญาปัญหาทะเลจีนใต้กับจีนขึ้นในปี 2002 ซึ่งภาษาอังกฤษเรียกว่า Declaration on the Conduct of Parties in the South China Sea ซึ่งถือเป็นจุดเปลี่ยนครั้งสำคัญต่อปัญหานี้ และในตอนนั้น ก็มีแนวโน้มว่า ปัญหานี้จะคลี่คลายลง
หลังจากนั้น ได้มีการเจรจาต่อ เพื่อจะมีการจัดทำ Code of Conduct ซึ่งจะเป็นการกำหนดกติกาสำคัญในการแก้ปัญหานี้ อย่างไรก็ตาม ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา สถานการณ์เริ่มเลวร้ายลง การเจรจา Code of Conduct ก็สะดุดติดขัด การผงาดขึ้นมาของจีนทางด้านเศรษฐกิจอย่างรวดเร็ว ทำให้จีนมีความเชื่อมั่น และมีท่าทีที่แข็งกร้าวมากขึ้นเรื่อยๆโดยเฉพาะต่อกรณีหมู่เกาะสแปรตลีย์ ที่จีนยืนกรานมาตลอดว่า เป็นของจีน จีนต้องการผงาดขึ้นมาเป็นมหาอำนาจ และการครอบครองทะเลจีนใต้ เป็นยุทธศาสตร์ที่สำคัญในการผงาดขึ้นมาเป็นมหาอำนาจทางทะเลในภูมิภาค
แต่ตัวแปรสำคัญที่อยู่เบื้องหลังความขัดแย้งครั้งใหม่ คือ สหรัฐฯ โดยยุทธศาสตร์ใหญ่ของสหรัฐฯในภูมิภาค คือ ยุทธศาสตร์ปิดล้อมจีน ดังนั้น การที่สหรัฐฯเข้ามายุ่งกับปัญหานี้ และทำให้จีนกับประเทศอาเซียนทะเลาะกัน จึงเป็นเป้าหมายของสหรัฐฯ เพื่อเป็นการเปิดช่องให้สหรัฐฯเข้ามามีอำนาจทางทหารในภูมิภาคมากขึ้น และเพื่อเพิ่มบทบาทการปิดล้อมจีนทางทหาร
สำหรับการเจรจาระหว่างอาเซียนกับจีน ในเรื่อง Code of Conduct เมื่อช่วงเดือนธันวาคมปีที่แล้ว ที่เมืองคุนหมิง ก็ประสบความล้มเหลว อาเซียนเองก็เสียงแตก เพราะประเทศอาเซียนบางประเทศถือหางจีน โดยเฉพาะ พม่า ลาว และกัมพูชา ประเทศที่เป็นคู่กรณีกับจีนโดยตรง มีเพียง เวียดนาม ฟิลิปปินส์ มาเลเซีย และบรูไน ส่วนไทย สิงคโปร์ และอินโดนีเซีย ไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องโดยตรง ดังนั้น อาเซียนจึงไม่มีเอกภาพในการเจรจากับจีน
อย่างไรก็ตาม สถานการณ์ล่าสุดเกี่ยวกับบทบาทของอาเซียน คือ อินโดนีเซียในฐานะประธานอาเซียนได้พยายามเข้ามามีบทบาทในเรื่องนี้ อินโดนีเซียในฐานะประธานอาเซียนได้เรียกร้องให้มีการผ่อนคลายความตึงเครียด ตั้งแต่ต้นปีนี้ อินโดนีเซียได้หารือกับประเทศต่างๆที่เกี่ยวข้อง และท่าทีล่าสุดของอินโดนีเซีย คือ จะเดินหน้าในแปลงปฏิญญา ปี 2002 ไปสู่การปฏิบัติ ด้วยการจัดทำรายละเอียด แผนปฏิบัติการ ภายใต้ปฏิญญาดังกล่าว ในช่วงวันที่ 7-11 มิถุนายนที่ผ่านมา ได้มีการประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสอาเซียนกับประเทศคู่เจรจา และได้มีการหารือรายละเอียดในเรื่องนี้ เป็นที่คาดว่า การประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียน ที่บาหลี ในช่วงปลายเดือนนี้ คงจะได้มีการหารือรายละเอียดในเรื่องนี้
ข้อเสนอบทบาทของอาเซียนในการแก้ปัญหาความขัดแย้งในทะเลจีนใต้
ผมมองว่า หากอาเซียนต้องการเป็นแกนกลางของสถาปัตยกรรมในภูมิภาค อาเซียนจะต้องมีบทบาทแก้ไขปัญหาความขัดแย้งในภูมิภาคให้ได้ ผมจึงอยากจะเสนอยุทธศาสตร์ของอาเซียนในการแก้ปัญหานี้ ดังนี้
• บรรทัดฐาน
ในปฏิญญา ปี 2002 ได้เน้นว่า ทุกฝ่ายจะยึดมั่นในหลักการของกฎหมายระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งกฎหมายทะเล และสนธิสัญญาของอาเซียน คือ Treaty of Amity and Cooperation (TAC)
ผมมองว่า ยุทธศาสตร์อาเซียนควรจะต้องมีการจัดทำแผนปฏิบัติการ รายละเอียดต่างๆ เพื่อเชื่อมบรรทัดฐานสำคัญๆ กับการแก้ปัญหาความขัดแย้ง โดยข้อตกลงที่สำคัญของอาเซียนที่จะช่วยในเรื่องนี้ได้ คือ TAC ปฏิญญา ปี 1992 และที่สำคัญที่สุด คือ ปฏิญญา ปี 2002 และสำหรับในอนาคต อาเซียนจะต้องผลักดันให้จีนเดินหน้าเจรจาต่อ เพื่อจัดทำ Code of Conduct ให้สำเร็จ
• มาตรการสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจระหว่างกัน
ในปฏิญญา ปี 2002 ทุกฝ่ายเห็นด้วยที่จะสร้างความเชื่อมั่นและความไว้วางใจกัน ซึ่งในประเด็นนี้ ในภาษาทางการทูต เรียกว่า Confidence-Building Measure หรือ CBM ซึ่งตามทฤษฎีแล้ว จะประกอบด้วยมาตรการต่างๆ อาทิ
- การสร้างความโปร่งใส โดยเฉพาะในเรื่องนโยบายทหาร
- การแจ้งล่วงหน้า หากมีการซ้อมรบในบริเวณทะเลจีนใต้
- ยุติการเคลื่อนไหวทางทหาร หรือ การสร้างสิ่งก่อสร้างต่างๆทางทหาร อาทิ สนามบิน หรือท่าเรือ
- เพิ่มการแลกเปลี่ยน และความร่วมมือกันทางทหาร
• การเจรจา
ในปฏิญญา ปี 2002 ทุกฝ่ายเห็นด้วยที่จะต้องแก้ปัญหานี้อย่างสันติวิธีด้วยการเจรจา ดังนั้น ยุทธศาสตร์ของอาเซียนในการแปลงปฏิญญา 2002 ไปสู่การปฏิบัติ จะต้องระบุถึงช่องทางการเจรจา ในระดับต่างๆ และกำหนดมาตรการ รายละเอียด ของการเจรจาในเวทีต่างๆ ซึ่งการเจรจาอาจจะแบ่งเป็น การเจรจาระดับทวิภาคี และการเจรจาระดับพหุภาคี ในระดับพหุภาคีที่เกี่ยวกับอาเซียน จะมีหลายเวที คือ
- การเจรจาเจ้าหน้าที่อาวุโสอาเซียน-จีน ซึ่งน่าจะเป็นเวทีการเจรจาที่สำคัญ เพื่อแก้ปัญหานี้ และนำไปสู่การจัดทำ Code of Conduct
- เวทีการเจรจาอาเซียน-จีน ในระดับรัฐมนตรีต่างประเทศ และในระดับสุดยอด
- เวทีการเจรจาที่ขยายวงออกไป ได้แก่ อาเซียน+3 East Asia Summit ARF และ ADMM+8 เวทีเจรจาเหล่านี้ จะมีลักษณะแตกต่างกันไป อาเซียนจะต้องกำหนดยุทธศาสตร์ของแต่ละเวทีให้เหมาะสม
• ความร่วมมือ
ปฏิญญา ปี 2002 ระบุว่า ทุกฝ่ายจะแสวงหากิจกรรมความร่วมมือในด้านต่างๆในทะเลจีนใต้ร่วมกัน อาทิ ความร่วมมือในการปกป้องสิ่งแวดล้อมทางทะเล การวิจัยทางวิทยาศาสตร์ทางทะเล ความปลอดภัยในการเดินเรือ และการคมนาคม และมาตรการต่อต้านอาชญากรรมข้ามชาติต่างๆ
ผมมองว่า มาตรการต่างๆเหล่านี้ เป็นเรื่องที่ไม่ sensitive จึงน่าจะแสวงหาความร่วมมือกันได้ และจะเป็น CBM ในรูปแบบหนึ่งด้วย เพราะถ้าร่วมมือกันในรูปแบบนี้ได้ จะทำให้ไว้ใจกันมากขึ้น ซึ่งจะทำให้การแก้ปัญหาง่ายขึ้นด้วย
• การถ่วงดุลทางยุทธศาสตร์และทางทหาร
แต่ผมมองว่า ยังมีอีกยุทธศาสตร์หนึ่งซึ่งไม่ได้เขียนไว้ในปฏิญญา ปี 2002 แต่อาเซียนควรจะต้องทำควบคู่ไปกับมาตรการต่างๆข้างต้นด้วย คือ ยุทธศาสตร์การถ่วงดุลทางทหาร โดยยังมีความจำเป็นที่จะต้องดึงเอามหาอำนาจต่างๆเข้ามาถ่วงดุลจีน และกดดันจีน เพื่อให้ลดความก้าวร้าวลงและให้หันมาเจรจากับอาเซียน และนี่ก็น่าจะเป็นเหตุผลที่หลายประเทศกำลังดึงสหรัฐฯเข้ามายุ่งในเรื่องนี้ อย่างไรก็ตาม ยุทธศาสตร์นี้ ค่อนข้างอันตราย เพราะเป็นดาบ 2 คม โดยเฉพาะการดึงสหรัฐฯเข้ามา แม้ว่าจะมาช่วยถ่วงดุลจีน แต่ก็เป็นการเปิดช่องให้สหรัฐฯเข้ามาวุ่นวายในภูมิภาคมากขึ้น และอาจทำให้เกิดผลข้างเคียง ทำให้จีนกับสหรัฐฯขัดแย้งกันหนักขึ้น ซึ่งก็อาจจะทำให้การแก้ปัญหายากขึ้นไปด้วย ดังนั้น อาเซียนจึงต้องระมัดระวังเป็นพิเศษในการเล่นเกมถ่วงดุลกับมหาอำนาจเหล่านี้
ข้อเสนอยุทธศาสตร์ด้านการต่างประเทศของไทยในอนาคต (ตอนจบ)
ข้อเสนอยุทธศาสตร์ด้านการต่างประเทศของไทยในอนาคต (ตอนจบ)
ตีพิมพ์ใน สยามรัฐสัปดาหวิจารณ์ ฉบับวันศุกร์ที่ 15 – วันพฤหัสบดีที่ 21 กรกฎาคม 2554
คอลัมน์โลกทรรศน์ตอนที่แล้ว ผมได้นำเสนอ ข้อเสนอยุทธศาสตร์การต่างประเทศของไทยในอนาคต โดยเฉพาะยุทธศาสตร์ด้านการเมืองความมั่นคงไปแล้ว สำหรับในตอนนี้ จะนำเสนอยุทธศาสตร์ด้านเศรษฐกิจ ดังนี้
ยุทธศาสตร์ด้านเศรษฐกิจ
สำหรับยุทธศาสตร์ด้านเศรษฐกิจระหว่างประเทศของไทยนั้น ก็เช่นเดียวกับยุทธศาสตร์ด้านการเมืองความมั่นคง คือ จะมียุทธศาสตร์ 3 ระดับ ยุทธศาสตร์ในระดับโลก ยุทธศาสตร์ในระดับภูมิภาค และยุทธศาสตร์ในระดับทวิภาคี
• ยุทธศาสตร์ในระดับโลก
สำหรับยุทธศาสตร์ในระดับโลกนั้น ก่อนที่จะกำหนดยุทธศาสตร์ดังกล่าว จำเป็นต้องวิเคราะห์สภาวะแวดล้อมทางด้านเศรษฐกิจโลกก่อน คือ ต้องวิเคราะห์ระบบเศรษฐกิจโลกในอนาคต ซึ่งมีแนวโน้มชัดเจนว่า กำลังวิวัฒนาการไปสู่ระบบหลายขั้วอำนาจ ในอดีต สหรัฐฯและตะวันตกครอบงำเศรษฐกิจโลก แต่ในอนาคต การผงาดขึ้นมาของมหาอำนาจเศรษฐกิจใหม่ จะทำให้ระบบเศรษฐกิจโลกเป็นระบบหลายขั้วอำนาจมากขึ้น
สำหรับระบบการค้าโลก หลังความล้มเหลวของการเจรจา WTO รอบโดฮา เห็นแนวโน้มชัดเจนว่า ความขัดแย้งระหว่างกลุ่มประเทศรวยกับกลุ่มประเทศยากจน จะเป็นตัวแปรหลักกำหนดระบบการค้าโลกในอนาคต สำหรับระบบการเงินโลก ก็มีปัญหาการขาดเสถียรภาพ และแม้ว่าตะวันตกจะครอบงำระบบการเงินโลกในปัจจุบัน แต่ในอนาคต มหาอำนาจใหม่และกลุ่มประเทศยากจน จะพยายามเข้ามามีบทบาทมากขึ้นเรื่อยๆ ดังนั้น ในอนาคต ความขัดแย้งเหนือ-ใต้ จะเป็นความขัดแย้งหลักในระบบเศรษฐกิจโลก
จากแนวโน้มสภาวะแวดล้อมดังกล่าว ไทยจะต้องมียุทธศาสตร์ระยะยาว ที่รองรับต่อระบบเศรษฐกิจโลก และปัญหาเศรษฐกิจโลกในอนาคต โดยยุทธศาสตร์หลักๆของไทย ควรมีดังนี้
- ไทยจะต้องมียุทธศาสตร์รองรับระบบเศรษฐกิจโลก ที่จะมีลักษณะเป็นระบบหลายขั้วอำนาจมากขึ้น
- ไทยจะต้องมียุทธศาสตร์ในการเข้าไปมีส่วนร่วมสนับสนุนให้ระบบเศรษฐกิจโลกมีเสถียรภาพและมีความรุ่งเรือง ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อไทย
- ไทยจะต้องมียุทธศาสตร์ในการเข้าไปมีส่วนร่วมทำให้ระบบการค้าโลก มีการเปิดเสรี โดยเฉพาะการเพิ่มบทบาทของไทยใน WTO ซึ่งในอดีต บทบาทของไทยมีน้อยมาก โดยไทยจะต้องสร้างกลุ่มแนวร่วมเพื่อเพิ่มอำนาจการต่อรอง ที่ผ่านมา อาเซียนก็ไม่เคยมีท่าทีร่วมใน WTO ไทยจึงควรผลักดันอย่างจริงจังในการประสานท่าทีร่วมกันกับประเทศอาเซียน และใช้อาเซียนเป็นกลไกหลักในการเจรจาของไทยในกรอบ WTO ไทยเคยเข้าร่วมกลุ่ม G20 และกลุ่ม Cairns Group แต่ก็ไม่ค่อยได้ประโยชน์ ดังนั้น จะต้องมีการปฏิรูปยุทธศาสตร์ไทยต่อ WTO เพื่อให้เป็นยุทธศาสตร์ในเชิงรุก ในอดีต ไทยมียุทธศาสตร์ในเชิงตั้งรับมาโดยตลอด
- ไทยจะต้องกำหนดยุทธศาสตร์และจุดยืน ต่อความขัดแย้งเหนือ-ใต้ ในเวทีเศรษฐกิจโลกต่างๆ อาทิ WTO และ IMF ท่ามกลางกระแสความขัดแย้งที่จะรุนแรงมากขึ้น ระหว่างกลุ่มประเทศรวยกับกลุ่มประเทศยากจน
- ไทยจะต้องมียุทธศาสตร์เข้าไปมีส่วนร่วม ทำให้ระบบการเงินโลกมีเสถียรภาพ และมีประโยชน์ต่อไทย อย่างไรก็ตาม ข้อจำกัดของไทย คือ การที่ไทยไม่ได้เป็นสมาชิก G20 ซึ่งเป็นกลไกสำคัญในการจัดการระบบการเงินโลก แม้ว่า ตอนที่ไทยเป็นประธานอาเซียน ปี 2009 ไทยได้รับเชิญเข้าร่วมประชุม G20 ในฐานะตัวแทนอาเซียน แต่บทบาทไทยก็ไม่ได้โดดเด่นอะไร ท่าทีที่เป็นไปได้ขณะนี้ คือ ไทยควรสนับสนุนให้อาเซียนมีที่นั่งและได้รับการเชิญเข้าร่วมประชุม G20 ทุกครั้ง
- ไทยควรมีการกำหนดยุทธศาสตร์เข้าไปมีส่วนร่วมในการลดความขัดแย้งและช่องว่างระหว่างประเทศรวยกับประเทศยากจน
- ไทยควรมียุทธศาสตร์เพิ่มบทบาทไทยในเวทีและองค์กรเศรษฐกิจโลก โดยเฉพาะ WTO IMF ธนาคารโลก G20 และ OECD เป็นต้น นอกจากนี้ UN ก็มีหลายองค์กรที่เกี่ยวข้องกับเศรษฐกิจโลก อาทิ UNCTAD UNDP และ UNIDO เป็นต้น ซึ่งในอดีต ไทยไม่ได้มีบทบาทในเวทีเศรษฐกิจโลกเหล่านี้เลย ถึงเวลาแล้วที่เราจะต้องเพิ่มบทบาทและมีนโยบายในเชิงรุกในเวทีเหล่านี้ เป็นที่น่าสังเกตว่า เลขาธิการ UNCTAD คนปัจจุบัน คือ ดร.ศุภชัย พานิชภักดิ์ (ซึ่งเคยเป็นผู้อำนวยการ WTO ด้วย) แต่ไทยก็ไม่ได้ใช้ประโยชน์จากคนของไทยในเวทีเหล่านี้
- ไทยควรมียุทธศาสตร์เพื่อรองรับการผงาดขึ้นมาของเอเชีย มีแนวโน้มชัดเจนว่า ในอนาคต ศูนย์กลางเศรษฐกิจของโลกจะย้ายฐานจากตะวันตกมาตะวันออก มาเอเชีย ไทยจะต้องรีบกำหนดยุทธศาสตร์ในการเป็นส่วนหนึ่งของการผงาดขึ้นมาของเอเชีย
• ยุทธศาสตร์ในระดับภูมิภาค
สำหรับสภาวะแวดล้อมทางเศรษฐกิจในภูมิภาคเอเชียนั้น แนวโน้มสำคัญ คือ พัฒนาการของสถาปัตยกรรมทางเศรษฐกิจในภูมิภาค โดยเฉพาะการจัดตั้งประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนในปี 2015 ซึ่งจะทำให้อาเซียนผงาดขึ้นมา และเป็นแกนกลางของสถาปัตยกรรมในภูมิภาคได้ อย่างไรก็ตาม อาเซียนจะประสบกับมหาอำนาจทางเศรษฐกิจ และเวทีเศรษฐกิจอื่นๆที่จะเป็นคู่แข่งของอาเซียนในอนาคต โดยเวทีเศรษฐกิจที่เป็นคู่แข่งสำคัญของอาเซียน คือ เอเปค และมหาอำนาจทางเศรษฐกิจ โดยเฉพาะ สหรัฐฯ ก็กำลังมีแผนที่จะจัดตั้ง FTA ใหม่ ที่มีชื่อว่า Trans-Pacific Partnership หรือ TPP เพื่อมาแข่งกับ FTA ของอาเซียน
จากสภาวะแวดล้อมและแนวโน้มเศรษฐกิจในภูมิภาคในอนาคตดังกล่าวข้างต้น ไทยจะต้องกำหนดยุทธศาสตร์ ดังนี้
- ไทยจะต้องมียุทธศาสตร์ที่ชัดเจนต่อสถาปัตยกรรมทางเศรษฐกิจในภูมิภาค โดยไทยจะต้องมียุทธศาสตร์ในลักษณะ grand strategy ว่า เราจะให้น้ำหนักอย่างไรต่อเวทีเศรษฐกิจต่างๆในภูมิภาค ซึ่งมีทั้งเอเปค TPP อาเซียน+3 EAS และประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ที่ผ่านมา ไทยก็ไม่มียุทธศาสตร์ในลักษณะนี้ โดยสิ่งที่ไทยทำมาโดยตลอด คือ โดดเข้าร่วมทุกเวที โดยไม่ได้มีการมองถึงยุทธศาสตร์ใหญ่ และผลกระทบในภาพใหญ่แต่อย่างใด ตัวอย่างเช่น การโดดเข้าร่วมสนับสนุน เอเปค หรือเข้าร่วม TPP อาจส่งผลกระทบต่ออาเซียน ทำให้อาเซียนอ่อนแอลงได้
- ผมมองว่า ยุทธศาสตร์หลักของไทย จะต้องเน้นที่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ดังนั้น ไทยจะต้องมียุทธศาสตร์ในการมีบทบาทนำการจัดตั้งประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน
- ไทยจะต้องมียุทธศาสตร์ที่จะทำให้ไทยเป็นศูนย์กลางทางเศรษฐกิจในภูมิภาคและอนุภูมิภาค โดยไทยจะต้องเน้นการเป็นผู้นำในภูมิภาคโดยใช้อาเซียนเป็นกลไกสำคัญ
- ไทยจะต้องมียุทธศาสตร์ในการเป็นผู้นำในอนุภูมิภาค โดยจะต้องมีการสานต่อกรอบความร่วมมืออนุภูมิภาคต่างๆ ทั้งที่มีอยู่แล้ว อาทิ GMS ACMECS BIMSTEC รวมทั้งในอนาคต อาจจะมีการจัดตั้งกรอบความร่วมมือใหม่เพิ่มขึ้นมาด้วย
• ยุทธศาสตร์ในระดับทวิภาคี
สำหรับสภาวะแวดล้อมทางเศรษฐกิจระดับทวิภาคีของไทย มิติแรก คือ ความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจกับประเทศเพื่อนบ้าน ซึ่งยังคงมีความไม่แน่นอน เพราะหากในอนาคต ความสัมพันธ์ในภาพรวมไม่ดี จะส่งผลกระทบต่อความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจ ส่วนมิติที่ 2 คือ ความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจกับมหาอำนาจ ซึ่งไม่น่าห่วง เพราะแนวโน้มความสัมพันธ์ไทยกับมหาอำนาจน่าจะดี ส่วนมิติที่ 3 คือ ความสัมพันธ์กับมหาอำนาจเศรษฐกิจใหม่ อาทิ เม็กซิโก บราซิล อาร์เจนตินา ตุรกี อัฟริกาใต้ และเกาหลีใต้
จากสภาวะแวดล้อมในระดับทวิภาคีดังกล่าว ไทยจะต้องมียุทธศาสตร์ ดังนี้
- ไทยจะต้องมียุทธศาสตร์กระชับความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจกับประเทศเพื่อนบ้าน ซึ่งเรื่องนี้ เป็นเรื่องที่มีลำดับความสำคัญเป็นอันดับแรก ซึ่งก็ต้องเชื่อมกับยุทธศาสตร์สร้างความสัมพันธ์กับเพื่อนบ้านในภาพรวมด้วย
- ไทยจะต้องมียุทธศาสตร์กระชับความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจกับมหาอำนาจทางเศรษฐกิจในปัจจุบัน โดยเฉพาะกับ จีน ญี่ปุ่น อินเดีย และสหรัฐฯ
- ไทยจะต้องมียุทธศาสตร์ปฏิสัมพันธ์กับมหาอำนาจทางเศรษฐกิจใหม่ ซึ่งมีหลายประเทศ หลายภูมิภาคทั่วโลก ทั้งใน ละตินอเมริกา อัฟริกา ตะวันออกกลาง และเอเชีย
ตีพิมพ์ใน สยามรัฐสัปดาหวิจารณ์ ฉบับวันศุกร์ที่ 15 – วันพฤหัสบดีที่ 21 กรกฎาคม 2554
คอลัมน์โลกทรรศน์ตอนที่แล้ว ผมได้นำเสนอ ข้อเสนอยุทธศาสตร์การต่างประเทศของไทยในอนาคต โดยเฉพาะยุทธศาสตร์ด้านการเมืองความมั่นคงไปแล้ว สำหรับในตอนนี้ จะนำเสนอยุทธศาสตร์ด้านเศรษฐกิจ ดังนี้
ยุทธศาสตร์ด้านเศรษฐกิจ
สำหรับยุทธศาสตร์ด้านเศรษฐกิจระหว่างประเทศของไทยนั้น ก็เช่นเดียวกับยุทธศาสตร์ด้านการเมืองความมั่นคง คือ จะมียุทธศาสตร์ 3 ระดับ ยุทธศาสตร์ในระดับโลก ยุทธศาสตร์ในระดับภูมิภาค และยุทธศาสตร์ในระดับทวิภาคี
• ยุทธศาสตร์ในระดับโลก
สำหรับยุทธศาสตร์ในระดับโลกนั้น ก่อนที่จะกำหนดยุทธศาสตร์ดังกล่าว จำเป็นต้องวิเคราะห์สภาวะแวดล้อมทางด้านเศรษฐกิจโลกก่อน คือ ต้องวิเคราะห์ระบบเศรษฐกิจโลกในอนาคต ซึ่งมีแนวโน้มชัดเจนว่า กำลังวิวัฒนาการไปสู่ระบบหลายขั้วอำนาจ ในอดีต สหรัฐฯและตะวันตกครอบงำเศรษฐกิจโลก แต่ในอนาคต การผงาดขึ้นมาของมหาอำนาจเศรษฐกิจใหม่ จะทำให้ระบบเศรษฐกิจโลกเป็นระบบหลายขั้วอำนาจมากขึ้น
สำหรับระบบการค้าโลก หลังความล้มเหลวของการเจรจา WTO รอบโดฮา เห็นแนวโน้มชัดเจนว่า ความขัดแย้งระหว่างกลุ่มประเทศรวยกับกลุ่มประเทศยากจน จะเป็นตัวแปรหลักกำหนดระบบการค้าโลกในอนาคต สำหรับระบบการเงินโลก ก็มีปัญหาการขาดเสถียรภาพ และแม้ว่าตะวันตกจะครอบงำระบบการเงินโลกในปัจจุบัน แต่ในอนาคต มหาอำนาจใหม่และกลุ่มประเทศยากจน จะพยายามเข้ามามีบทบาทมากขึ้นเรื่อยๆ ดังนั้น ในอนาคต ความขัดแย้งเหนือ-ใต้ จะเป็นความขัดแย้งหลักในระบบเศรษฐกิจโลก
จากแนวโน้มสภาวะแวดล้อมดังกล่าว ไทยจะต้องมียุทธศาสตร์ระยะยาว ที่รองรับต่อระบบเศรษฐกิจโลก และปัญหาเศรษฐกิจโลกในอนาคต โดยยุทธศาสตร์หลักๆของไทย ควรมีดังนี้
- ไทยจะต้องมียุทธศาสตร์รองรับระบบเศรษฐกิจโลก ที่จะมีลักษณะเป็นระบบหลายขั้วอำนาจมากขึ้น
- ไทยจะต้องมียุทธศาสตร์ในการเข้าไปมีส่วนร่วมสนับสนุนให้ระบบเศรษฐกิจโลกมีเสถียรภาพและมีความรุ่งเรือง ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อไทย
- ไทยจะต้องมียุทธศาสตร์ในการเข้าไปมีส่วนร่วมทำให้ระบบการค้าโลก มีการเปิดเสรี โดยเฉพาะการเพิ่มบทบาทของไทยใน WTO ซึ่งในอดีต บทบาทของไทยมีน้อยมาก โดยไทยจะต้องสร้างกลุ่มแนวร่วมเพื่อเพิ่มอำนาจการต่อรอง ที่ผ่านมา อาเซียนก็ไม่เคยมีท่าทีร่วมใน WTO ไทยจึงควรผลักดันอย่างจริงจังในการประสานท่าทีร่วมกันกับประเทศอาเซียน และใช้อาเซียนเป็นกลไกหลักในการเจรจาของไทยในกรอบ WTO ไทยเคยเข้าร่วมกลุ่ม G20 และกลุ่ม Cairns Group แต่ก็ไม่ค่อยได้ประโยชน์ ดังนั้น จะต้องมีการปฏิรูปยุทธศาสตร์ไทยต่อ WTO เพื่อให้เป็นยุทธศาสตร์ในเชิงรุก ในอดีต ไทยมียุทธศาสตร์ในเชิงตั้งรับมาโดยตลอด
- ไทยจะต้องกำหนดยุทธศาสตร์และจุดยืน ต่อความขัดแย้งเหนือ-ใต้ ในเวทีเศรษฐกิจโลกต่างๆ อาทิ WTO และ IMF ท่ามกลางกระแสความขัดแย้งที่จะรุนแรงมากขึ้น ระหว่างกลุ่มประเทศรวยกับกลุ่มประเทศยากจน
- ไทยจะต้องมียุทธศาสตร์เข้าไปมีส่วนร่วม ทำให้ระบบการเงินโลกมีเสถียรภาพ และมีประโยชน์ต่อไทย อย่างไรก็ตาม ข้อจำกัดของไทย คือ การที่ไทยไม่ได้เป็นสมาชิก G20 ซึ่งเป็นกลไกสำคัญในการจัดการระบบการเงินโลก แม้ว่า ตอนที่ไทยเป็นประธานอาเซียน ปี 2009 ไทยได้รับเชิญเข้าร่วมประชุม G20 ในฐานะตัวแทนอาเซียน แต่บทบาทไทยก็ไม่ได้โดดเด่นอะไร ท่าทีที่เป็นไปได้ขณะนี้ คือ ไทยควรสนับสนุนให้อาเซียนมีที่นั่งและได้รับการเชิญเข้าร่วมประชุม G20 ทุกครั้ง
- ไทยควรมีการกำหนดยุทธศาสตร์เข้าไปมีส่วนร่วมในการลดความขัดแย้งและช่องว่างระหว่างประเทศรวยกับประเทศยากจน
- ไทยควรมียุทธศาสตร์เพิ่มบทบาทไทยในเวทีและองค์กรเศรษฐกิจโลก โดยเฉพาะ WTO IMF ธนาคารโลก G20 และ OECD เป็นต้น นอกจากนี้ UN ก็มีหลายองค์กรที่เกี่ยวข้องกับเศรษฐกิจโลก อาทิ UNCTAD UNDP และ UNIDO เป็นต้น ซึ่งในอดีต ไทยไม่ได้มีบทบาทในเวทีเศรษฐกิจโลกเหล่านี้เลย ถึงเวลาแล้วที่เราจะต้องเพิ่มบทบาทและมีนโยบายในเชิงรุกในเวทีเหล่านี้ เป็นที่น่าสังเกตว่า เลขาธิการ UNCTAD คนปัจจุบัน คือ ดร.ศุภชัย พานิชภักดิ์ (ซึ่งเคยเป็นผู้อำนวยการ WTO ด้วย) แต่ไทยก็ไม่ได้ใช้ประโยชน์จากคนของไทยในเวทีเหล่านี้
- ไทยควรมียุทธศาสตร์เพื่อรองรับการผงาดขึ้นมาของเอเชีย มีแนวโน้มชัดเจนว่า ในอนาคต ศูนย์กลางเศรษฐกิจของโลกจะย้ายฐานจากตะวันตกมาตะวันออก มาเอเชีย ไทยจะต้องรีบกำหนดยุทธศาสตร์ในการเป็นส่วนหนึ่งของการผงาดขึ้นมาของเอเชีย
• ยุทธศาสตร์ในระดับภูมิภาค
สำหรับสภาวะแวดล้อมทางเศรษฐกิจในภูมิภาคเอเชียนั้น แนวโน้มสำคัญ คือ พัฒนาการของสถาปัตยกรรมทางเศรษฐกิจในภูมิภาค โดยเฉพาะการจัดตั้งประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนในปี 2015 ซึ่งจะทำให้อาเซียนผงาดขึ้นมา และเป็นแกนกลางของสถาปัตยกรรมในภูมิภาคได้ อย่างไรก็ตาม อาเซียนจะประสบกับมหาอำนาจทางเศรษฐกิจ และเวทีเศรษฐกิจอื่นๆที่จะเป็นคู่แข่งของอาเซียนในอนาคต โดยเวทีเศรษฐกิจที่เป็นคู่แข่งสำคัญของอาเซียน คือ เอเปค และมหาอำนาจทางเศรษฐกิจ โดยเฉพาะ สหรัฐฯ ก็กำลังมีแผนที่จะจัดตั้ง FTA ใหม่ ที่มีชื่อว่า Trans-Pacific Partnership หรือ TPP เพื่อมาแข่งกับ FTA ของอาเซียน
จากสภาวะแวดล้อมและแนวโน้มเศรษฐกิจในภูมิภาคในอนาคตดังกล่าวข้างต้น ไทยจะต้องกำหนดยุทธศาสตร์ ดังนี้
- ไทยจะต้องมียุทธศาสตร์ที่ชัดเจนต่อสถาปัตยกรรมทางเศรษฐกิจในภูมิภาค โดยไทยจะต้องมียุทธศาสตร์ในลักษณะ grand strategy ว่า เราจะให้น้ำหนักอย่างไรต่อเวทีเศรษฐกิจต่างๆในภูมิภาค ซึ่งมีทั้งเอเปค TPP อาเซียน+3 EAS และประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ที่ผ่านมา ไทยก็ไม่มียุทธศาสตร์ในลักษณะนี้ โดยสิ่งที่ไทยทำมาโดยตลอด คือ โดดเข้าร่วมทุกเวที โดยไม่ได้มีการมองถึงยุทธศาสตร์ใหญ่ และผลกระทบในภาพใหญ่แต่อย่างใด ตัวอย่างเช่น การโดดเข้าร่วมสนับสนุน เอเปค หรือเข้าร่วม TPP อาจส่งผลกระทบต่ออาเซียน ทำให้อาเซียนอ่อนแอลงได้
- ผมมองว่า ยุทธศาสตร์หลักของไทย จะต้องเน้นที่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ดังนั้น ไทยจะต้องมียุทธศาสตร์ในการมีบทบาทนำการจัดตั้งประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน
- ไทยจะต้องมียุทธศาสตร์ที่จะทำให้ไทยเป็นศูนย์กลางทางเศรษฐกิจในภูมิภาคและอนุภูมิภาค โดยไทยจะต้องเน้นการเป็นผู้นำในภูมิภาคโดยใช้อาเซียนเป็นกลไกสำคัญ
- ไทยจะต้องมียุทธศาสตร์ในการเป็นผู้นำในอนุภูมิภาค โดยจะต้องมีการสานต่อกรอบความร่วมมืออนุภูมิภาคต่างๆ ทั้งที่มีอยู่แล้ว อาทิ GMS ACMECS BIMSTEC รวมทั้งในอนาคต อาจจะมีการจัดตั้งกรอบความร่วมมือใหม่เพิ่มขึ้นมาด้วย
• ยุทธศาสตร์ในระดับทวิภาคี
สำหรับสภาวะแวดล้อมทางเศรษฐกิจระดับทวิภาคีของไทย มิติแรก คือ ความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจกับประเทศเพื่อนบ้าน ซึ่งยังคงมีความไม่แน่นอน เพราะหากในอนาคต ความสัมพันธ์ในภาพรวมไม่ดี จะส่งผลกระทบต่อความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจ ส่วนมิติที่ 2 คือ ความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจกับมหาอำนาจ ซึ่งไม่น่าห่วง เพราะแนวโน้มความสัมพันธ์ไทยกับมหาอำนาจน่าจะดี ส่วนมิติที่ 3 คือ ความสัมพันธ์กับมหาอำนาจเศรษฐกิจใหม่ อาทิ เม็กซิโก บราซิล อาร์เจนตินา ตุรกี อัฟริกาใต้ และเกาหลีใต้
จากสภาวะแวดล้อมในระดับทวิภาคีดังกล่าว ไทยจะต้องมียุทธศาสตร์ ดังนี้
- ไทยจะต้องมียุทธศาสตร์กระชับความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจกับประเทศเพื่อนบ้าน ซึ่งเรื่องนี้ เป็นเรื่องที่มีลำดับความสำคัญเป็นอันดับแรก ซึ่งก็ต้องเชื่อมกับยุทธศาสตร์สร้างความสัมพันธ์กับเพื่อนบ้านในภาพรวมด้วย
- ไทยจะต้องมียุทธศาสตร์กระชับความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจกับมหาอำนาจทางเศรษฐกิจในปัจจุบัน โดยเฉพาะกับ จีน ญี่ปุ่น อินเดีย และสหรัฐฯ
- ไทยจะต้องมียุทธศาสตร์ปฏิสัมพันธ์กับมหาอำนาจทางเศรษฐกิจใหม่ ซึ่งมีหลายประเทศ หลายภูมิภาคทั่วโลก ทั้งใน ละตินอเมริกา อัฟริกา ตะวันออกกลาง และเอเชีย
ข้อเสนอยุทธศาสตร์ด้านการต่างประเทศของไทยในอนาคต (ตอนที่ 1)
ข้อเสนอยุทธศาสตร์ด้านการต่างประเทศของไทยในอนาคต (ตอนที่ 1)
ตีพิมพ์ใน สยามรัฐสัปดาหวิจารณ์ ฉบับวันศุกร์ที่ 8 – วันพฤหัสบดีที่ 14 กรกฎาคม 2554
คอลัมน์โลกทรรศน์ในตอนนี้และตอนหน้า ผมจะขอนำเสนอ ข้อเสนอยุทธศาสตร์การต่างประเทศของไทยในอนาคต โดยจะแบ่งเป็น 2 ยุทธศาสตร์ คือ ยุทธศาสตร์ด้านการเมืองความมั่นคง และยุทธศาสตร์ด้านเศรษฐกิจ โดยในตอนนี้ จะเสนอยุทธศาสตร์ด้านการเมืองความมั่นคง ส่วนในตอนหน้า สัปดาห์หน้า จะเสนอยุทธศาสตร์ด้านเศรษฐกิจ
ยุทธศาสตร์ด้านการเมืองความมั่นคง
สำหรับข้อเสนอด้านยุทธศาสตร์การเมืองและความมั่นคงนั้น จะแบ่งเป็น 3 ระดับ คือ ยุทธศาสตร์ในระดับโลก ระดับภูมิภาค และระดับทวิภาคี
• ยุทธศาสตร์ในระดับโลก
การที่ไทยจะมียุทธศาสตร์ได้นั้น จะต้องวิเคราะห์สภาวะแวดล้อมระหว่างประเทศเสียก่อน ในที่นี้ จะต้องวิเคราะห์ระบบการเมืองโลก ซึ่งในอดีตและปัจจุบัน เป็นระบบหนึ่งขั้วอำนาจ ที่มีสหรัฐฯเป็นอภิมหาอำนาจหนึ่งเดียว อย่างไรก็ตาม ในอนาคต มหาอำนาจใหม่กำลังผงาดขึ้นมา โดยเฉพาะ จีน อินเดีย บราซิล และรัสเซีย ดังนั้น ระบบโลกมีแนวโน้มจะเปลี่ยนจากระบบหนึ่งขั้ว ไปสู่ระบบหลายขั้ว โดยจะมีลักษณะเป็นระบบลูกผสม ระหว่างระบบหนึ่งขั้ว ระบบหลายขั้ว และระบบพหุภาคีนิยม หรือเรียกเป็นภาษาอังกฤษว่า uni-multilateralism
สำหรับปัญหาความมั่นคงโลกในอนาคต จะมี 3 เรื่องใหญ่ เรื่องที่ 1 คือ แนวโน้มความขัดแย้งระหว่างมหาอำนาจเก่ากับมหาอำนาจใหม่ โดยเฉพาะระหว่างสหรัฐฯกับจีน เรื่องที่ 2 คือ แนวโน้มการปะทะกันทางอารยธรรม โดยเฉพาะความขัดแย้งระหว่างตะวันตกและอิสลาม เรื่องที่ 3 คือ ความขัดแย้งในการแย่งชิงทรัพยากร โดยเฉพาะ พลังงาน น้ำ และ อาหาร
จากแนวโน้มสภาวะแวดล้อมดังกล่าว ไทยจะต้องมียุทธศาสตร์ระยะยาว ที่รองรับต่อระบบการเมืองโลก และปัญหาการเมืองโลกในอนาคต โดยยุทธศาสตร์หลักๆของไทย ควรมีดังนี้
- ไทยจะต้องมียุทธศาสตร์สนับสนุนระบบความมั่นคงโลกที่มีเสถียรภาพ และเอื้อต่อผลประโยชน์ของไทย โดยเฉพาะยุทธศาสตร์รองรับต่อ uni-multilateralism และยุทธศาสตร์รองรับปัญหาการเมืองโลก 3 เรื่องใหญ่ ดังกล่าวข้างต้น
- ไทยควรเล่นบทบาทให้โดดเด่นมากขึ้นในเวทีและองค์กรความมั่นคงโลก โดยเฉพาะบทบาทในคณะมนตรีความมั่นคง
- ไทยควรมีบทบาทเพิ่มมากขึ้นในการเข้าไปมีส่วนร่วมในการจัดการความขัดแย้งระหว่างประเทศที่เป็นประเด็นปัญหาในระดับโลก ทั้งนี้ เพื่อประโยชน์ด้านความมั่นคงของไทยเอง และไทยยังจะได้ประโยชน์ในการสร้างศักดิ์ศรี เกียรติภูมิ และการได้รับการยอมรับจากประชาคมโลกมากขึ้น
- ความมั่นคงด้านพลังงานและทรัพยากร กำลังจะเป็นเรื่องใหญ่ ไทยจึงควรรีบเข้าไปมีบทบาทในองค์กรโลกที่เกี่ยวข้องกับเรื่องนี้ โดยไทยจะต้องกำหนดยุทธศาสตร์ที่ชัดเจนในการปกป้องผลประโยชน์ทางพลังงานของไทย เรื่องนี้ ประเทศมหาอำนาจใหญ่ๆมียุทธศาสตร์ที่ชัดเจน อย่างเช่น สหรัฐฯ จีน อินเดีย แต่สำหรับไทย ผมเห็นว่า เรายังไม่มียุทธศาสตร์ที่ชัดเจนในเรื่องนี้
• ยุทธศาสตร์ในระดับภูมิภาค
สำหรับสภาวะแวดล้อมด้านความมั่นคงในภูมิภาคเอเชียนั้น จะมีแนวโน้มไปในทิศทางเดียวกับสภาวะแวดล้อมในระดับโลก คือ ระบบความมั่นคงในภูมิภาค จะเป็นระบบลูกผสม ที่ประกอบด้วยระบบหนึ่งขั้ว ระบบหลายขั้ว และระบบพหุภาคีนิยม คือ เป็นระบบ uni-multilateralism เหมือนในระบบโลก โดยสหรัฐฯจะคงมีบทบาทครองความเป็นเจ้าในภูมิภาค แต่การผงาดขึ้นมาของจีนและอินเดีย จะทำให้ระบบความมั่นคงในภูมิภาค มีลักษณะหลายขั้วอำนาจมากขึ้น นอกจากนั้น การผงาดขึ้นมาของอาเซียน ในการเป็นแกนกลางของสถาปัตยกรรมในภูมิภาค จะทำให้ระบบความมั่นคงในภูมิภาค มีลักษณะเป็นระบบพหุภาคีนิยมมากขึ้นด้วย
สำหรับปัญหาความมั่นคงในภูมิภาคในอนาคต เรื่องแรก คือ ความขัดแย้งระหว่างมหาอำนาจ โดยเฉพาะความขัดแย้งระหว่างจีนกับสหรัฐ อินเดีย และญี่ปุ่น และจุดอันตรายอื่นๆ คือ ความขัดแย้งในคาบสมุทรเกาหลี หมู่เกาะสแปรตลีย์ และไต้หวัน นอกจากนี้ ยังมีปัญหาการก่อการร้าย การแพร่ขยายของอาวุธร้ายแรง และการแข่งขันทางทหาร
เช่นเดียวกับในระดับโลก ไทยจะต้องมียุทธศาสตร์ในระดับภูมิภาคเพื่อรองรับต่อระบบและปัญหาในภูมิภาคในอนาคต โดยยุทธศาสตร์หลักๆของไทย มีดังนี้
- ไทยจะต้องมียุทธศาสตร์ที่ชัดเจนต่อระบบ uni-multilateralism โดยจะต้องมียุทธศาสตร์สร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับมหาอำนาจเก่า คือ สหรัฐฯ และมหาอำนาจใหม่ คือ จีนและอินเดีย
- ไทยจะต้องมียุทธศาสตร์ในการส่งเสริมเสถียรภาพและความมั่นคงในภูมิภาค
- ไทยจะต้องมียุทธศาสตร์ในการเข้าไปมีส่วนร่วมในการจัดการความขัดแย้งในภูมิภาค
- ไทยจะต้องมียุทธศาสตร์ในการร่วมแก้ปัญหาการก่อการร้ายในภูมิภาค
- ไทยจะต้องมีบทบาทนำในการจัดตั้งประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน
- ไทยจะต้องมียุทธศาสตร์ปกป้องผลประโยชน์ความมั่นคงทางด้านพลังงานในภูมิภาค
• ยุทธศาสตร์ในระดับทวิภาคี
สำหรับสภาวะแวดล้อมด้านความมั่นคงในระดับทวิภาคีนั้น คือ แนวโน้มความสัมพันธ์ทวิภาคีระหว่างไทยกับประเทศเพื่อนบ้าน และกับประเทศมหาอำนาจ
ที่น่าเป็นห่วง คือ แนวโน้มความสัมพันธ์กับประเทศเพื่อนบ้าน ในอนาคต มีระเบิดเวลารอการระเบิดอยู่หลายลูก โดยเฉพาะปัญหาพรมแดนกับพม่า ลาว กัมพูชา และมาเลเซีย ปัญหาความสัมพันธ์ไทยกับเพื่อนบ้าน จึงเป็นโจทย์ใหญ่ของไทยในอนาคต
อย่างไรก็ตาม ความสัมพันธ์ด้านการเมืองความมั่นคงไทยกับมหาอำนาจนั้น ไม่น่าห่วง เพราะไทยมีความสามารถพิเศษที่เข้ากับมหาอำนาจได้ดี ทั้งกับสหรัฐฯ จีน อินเดีย และญี่ปุ่น
สำหรับข้อเสนอยุทธศาสตร์ด้านความมั่นคงในระดับทวิภาคีของไทยนั้น คือ
- ไทยจะต้องมียุทธศาสตร์ในลักษณะที่เป็น grand strategy คือ จะต้องมียุทธศาสตร์ทั้งในระยะสั้น และระยะยาว ที่จะต้องฟื้นฟูและสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับประเทศเพื่อนบ้านให้ได้ โดยไทยจะต้องเน้นยุทธศาสตร์การสร้างความไว้วางใจให้เกิดขึ้นกับประเทศเพื่อนบ้าน ซึ่งเป็นปัญหาใหญ่มาก และเป็นรากเหง้าของปัญหา
- สำหรับความสัมพันธ์ทวิภาคีกับมหาอำนาจ ไทยต้องมียุทธศาสตร์รักษาความสัมพันธ์ที่ดีกับประเทศมหาอำนาจอย่างต่อเนื่อง แต่แนวโน้มที่น่าห่วงเรื่องหนึ่ง คือ การที่สหรัฐฯมีแนวโน้มให้ความสำคัญกับไทยลดลงเรื่อยๆในฐานะพันธมิตร ปัจจุบัน ไทยเป็นพันธมิตรชั้น 1 กับสหรัฐฯ แต่ในอนาคต ไทยอาจตกชั้นจากพันธมิตรชั้น 1 โดยสหรัฐฯกำลังหันไปให้ความสำคัญกับประเทศในภูมิภาคอื่นๆมากขึ้นเรื่อยๆ โดยเฉพาะกับ อินโดนีเซีย เวียดนาม สิงคโปร์ และมาเลเซีย ดังนั้น ไทยจะต้องรีบกำหนดยุทธศาสตร์ฟื้นฟูความสัมพันธ์และพันธมิตรกับสหรัฐฯให้เหนียวแน่น
- สุดท้าย ไทยจะต้องมียุทธศาสตร์ในระดับทวิภาคี โดยเฉพาะกับประเทศเพื่อนบ้านในมิติด้านความมั่นคงทางพลังงานและทรัพยากร ทั้งนี้ เพื่อปกป้องผลประโยชน์ทางด้านนี้ของไทย ซึ่งในอนาคต กำลังจะเป็นมิติด้านความมั่นคงที่สำคัญมากขึ้นเรื่อยๆ
(โปรดอ่านต่อตอนจบ ในคอลัมน์โลกทรรศน์สัปดาห์หน้า ซึ่งผมจะนำเสนอยุทธศาสตร์ทางด้านเศรษฐกิจ)
ตีพิมพ์ใน สยามรัฐสัปดาหวิจารณ์ ฉบับวันศุกร์ที่ 8 – วันพฤหัสบดีที่ 14 กรกฎาคม 2554
คอลัมน์โลกทรรศน์ในตอนนี้และตอนหน้า ผมจะขอนำเสนอ ข้อเสนอยุทธศาสตร์การต่างประเทศของไทยในอนาคต โดยจะแบ่งเป็น 2 ยุทธศาสตร์ คือ ยุทธศาสตร์ด้านการเมืองความมั่นคง และยุทธศาสตร์ด้านเศรษฐกิจ โดยในตอนนี้ จะเสนอยุทธศาสตร์ด้านการเมืองความมั่นคง ส่วนในตอนหน้า สัปดาห์หน้า จะเสนอยุทธศาสตร์ด้านเศรษฐกิจ
ยุทธศาสตร์ด้านการเมืองความมั่นคง
สำหรับข้อเสนอด้านยุทธศาสตร์การเมืองและความมั่นคงนั้น จะแบ่งเป็น 3 ระดับ คือ ยุทธศาสตร์ในระดับโลก ระดับภูมิภาค และระดับทวิภาคี
• ยุทธศาสตร์ในระดับโลก
การที่ไทยจะมียุทธศาสตร์ได้นั้น จะต้องวิเคราะห์สภาวะแวดล้อมระหว่างประเทศเสียก่อน ในที่นี้ จะต้องวิเคราะห์ระบบการเมืองโลก ซึ่งในอดีตและปัจจุบัน เป็นระบบหนึ่งขั้วอำนาจ ที่มีสหรัฐฯเป็นอภิมหาอำนาจหนึ่งเดียว อย่างไรก็ตาม ในอนาคต มหาอำนาจใหม่กำลังผงาดขึ้นมา โดยเฉพาะ จีน อินเดีย บราซิล และรัสเซีย ดังนั้น ระบบโลกมีแนวโน้มจะเปลี่ยนจากระบบหนึ่งขั้ว ไปสู่ระบบหลายขั้ว โดยจะมีลักษณะเป็นระบบลูกผสม ระหว่างระบบหนึ่งขั้ว ระบบหลายขั้ว และระบบพหุภาคีนิยม หรือเรียกเป็นภาษาอังกฤษว่า uni-multilateralism
สำหรับปัญหาความมั่นคงโลกในอนาคต จะมี 3 เรื่องใหญ่ เรื่องที่ 1 คือ แนวโน้มความขัดแย้งระหว่างมหาอำนาจเก่ากับมหาอำนาจใหม่ โดยเฉพาะระหว่างสหรัฐฯกับจีน เรื่องที่ 2 คือ แนวโน้มการปะทะกันทางอารยธรรม โดยเฉพาะความขัดแย้งระหว่างตะวันตกและอิสลาม เรื่องที่ 3 คือ ความขัดแย้งในการแย่งชิงทรัพยากร โดยเฉพาะ พลังงาน น้ำ และ อาหาร
จากแนวโน้มสภาวะแวดล้อมดังกล่าว ไทยจะต้องมียุทธศาสตร์ระยะยาว ที่รองรับต่อระบบการเมืองโลก และปัญหาการเมืองโลกในอนาคต โดยยุทธศาสตร์หลักๆของไทย ควรมีดังนี้
- ไทยจะต้องมียุทธศาสตร์สนับสนุนระบบความมั่นคงโลกที่มีเสถียรภาพ และเอื้อต่อผลประโยชน์ของไทย โดยเฉพาะยุทธศาสตร์รองรับต่อ uni-multilateralism และยุทธศาสตร์รองรับปัญหาการเมืองโลก 3 เรื่องใหญ่ ดังกล่าวข้างต้น
- ไทยควรเล่นบทบาทให้โดดเด่นมากขึ้นในเวทีและองค์กรความมั่นคงโลก โดยเฉพาะบทบาทในคณะมนตรีความมั่นคง
- ไทยควรมีบทบาทเพิ่มมากขึ้นในการเข้าไปมีส่วนร่วมในการจัดการความขัดแย้งระหว่างประเทศที่เป็นประเด็นปัญหาในระดับโลก ทั้งนี้ เพื่อประโยชน์ด้านความมั่นคงของไทยเอง และไทยยังจะได้ประโยชน์ในการสร้างศักดิ์ศรี เกียรติภูมิ และการได้รับการยอมรับจากประชาคมโลกมากขึ้น
- ความมั่นคงด้านพลังงานและทรัพยากร กำลังจะเป็นเรื่องใหญ่ ไทยจึงควรรีบเข้าไปมีบทบาทในองค์กรโลกที่เกี่ยวข้องกับเรื่องนี้ โดยไทยจะต้องกำหนดยุทธศาสตร์ที่ชัดเจนในการปกป้องผลประโยชน์ทางพลังงานของไทย เรื่องนี้ ประเทศมหาอำนาจใหญ่ๆมียุทธศาสตร์ที่ชัดเจน อย่างเช่น สหรัฐฯ จีน อินเดีย แต่สำหรับไทย ผมเห็นว่า เรายังไม่มียุทธศาสตร์ที่ชัดเจนในเรื่องนี้
• ยุทธศาสตร์ในระดับภูมิภาค
สำหรับสภาวะแวดล้อมด้านความมั่นคงในภูมิภาคเอเชียนั้น จะมีแนวโน้มไปในทิศทางเดียวกับสภาวะแวดล้อมในระดับโลก คือ ระบบความมั่นคงในภูมิภาค จะเป็นระบบลูกผสม ที่ประกอบด้วยระบบหนึ่งขั้ว ระบบหลายขั้ว และระบบพหุภาคีนิยม คือ เป็นระบบ uni-multilateralism เหมือนในระบบโลก โดยสหรัฐฯจะคงมีบทบาทครองความเป็นเจ้าในภูมิภาค แต่การผงาดขึ้นมาของจีนและอินเดีย จะทำให้ระบบความมั่นคงในภูมิภาค มีลักษณะหลายขั้วอำนาจมากขึ้น นอกจากนั้น การผงาดขึ้นมาของอาเซียน ในการเป็นแกนกลางของสถาปัตยกรรมในภูมิภาค จะทำให้ระบบความมั่นคงในภูมิภาค มีลักษณะเป็นระบบพหุภาคีนิยมมากขึ้นด้วย
สำหรับปัญหาความมั่นคงในภูมิภาคในอนาคต เรื่องแรก คือ ความขัดแย้งระหว่างมหาอำนาจ โดยเฉพาะความขัดแย้งระหว่างจีนกับสหรัฐ อินเดีย และญี่ปุ่น และจุดอันตรายอื่นๆ คือ ความขัดแย้งในคาบสมุทรเกาหลี หมู่เกาะสแปรตลีย์ และไต้หวัน นอกจากนี้ ยังมีปัญหาการก่อการร้าย การแพร่ขยายของอาวุธร้ายแรง และการแข่งขันทางทหาร
เช่นเดียวกับในระดับโลก ไทยจะต้องมียุทธศาสตร์ในระดับภูมิภาคเพื่อรองรับต่อระบบและปัญหาในภูมิภาคในอนาคต โดยยุทธศาสตร์หลักๆของไทย มีดังนี้
- ไทยจะต้องมียุทธศาสตร์ที่ชัดเจนต่อระบบ uni-multilateralism โดยจะต้องมียุทธศาสตร์สร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับมหาอำนาจเก่า คือ สหรัฐฯ และมหาอำนาจใหม่ คือ จีนและอินเดีย
- ไทยจะต้องมียุทธศาสตร์ในการส่งเสริมเสถียรภาพและความมั่นคงในภูมิภาค
- ไทยจะต้องมียุทธศาสตร์ในการเข้าไปมีส่วนร่วมในการจัดการความขัดแย้งในภูมิภาค
- ไทยจะต้องมียุทธศาสตร์ในการร่วมแก้ปัญหาการก่อการร้ายในภูมิภาค
- ไทยจะต้องมีบทบาทนำในการจัดตั้งประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน
- ไทยจะต้องมียุทธศาสตร์ปกป้องผลประโยชน์ความมั่นคงทางด้านพลังงานในภูมิภาค
• ยุทธศาสตร์ในระดับทวิภาคี
สำหรับสภาวะแวดล้อมด้านความมั่นคงในระดับทวิภาคีนั้น คือ แนวโน้มความสัมพันธ์ทวิภาคีระหว่างไทยกับประเทศเพื่อนบ้าน และกับประเทศมหาอำนาจ
ที่น่าเป็นห่วง คือ แนวโน้มความสัมพันธ์กับประเทศเพื่อนบ้าน ในอนาคต มีระเบิดเวลารอการระเบิดอยู่หลายลูก โดยเฉพาะปัญหาพรมแดนกับพม่า ลาว กัมพูชา และมาเลเซีย ปัญหาความสัมพันธ์ไทยกับเพื่อนบ้าน จึงเป็นโจทย์ใหญ่ของไทยในอนาคต
อย่างไรก็ตาม ความสัมพันธ์ด้านการเมืองความมั่นคงไทยกับมหาอำนาจนั้น ไม่น่าห่วง เพราะไทยมีความสามารถพิเศษที่เข้ากับมหาอำนาจได้ดี ทั้งกับสหรัฐฯ จีน อินเดีย และญี่ปุ่น
สำหรับข้อเสนอยุทธศาสตร์ด้านความมั่นคงในระดับทวิภาคีของไทยนั้น คือ
- ไทยจะต้องมียุทธศาสตร์ในลักษณะที่เป็น grand strategy คือ จะต้องมียุทธศาสตร์ทั้งในระยะสั้น และระยะยาว ที่จะต้องฟื้นฟูและสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับประเทศเพื่อนบ้านให้ได้ โดยไทยจะต้องเน้นยุทธศาสตร์การสร้างความไว้วางใจให้เกิดขึ้นกับประเทศเพื่อนบ้าน ซึ่งเป็นปัญหาใหญ่มาก และเป็นรากเหง้าของปัญหา
- สำหรับความสัมพันธ์ทวิภาคีกับมหาอำนาจ ไทยต้องมียุทธศาสตร์รักษาความสัมพันธ์ที่ดีกับประเทศมหาอำนาจอย่างต่อเนื่อง แต่แนวโน้มที่น่าห่วงเรื่องหนึ่ง คือ การที่สหรัฐฯมีแนวโน้มให้ความสำคัญกับไทยลดลงเรื่อยๆในฐานะพันธมิตร ปัจจุบัน ไทยเป็นพันธมิตรชั้น 1 กับสหรัฐฯ แต่ในอนาคต ไทยอาจตกชั้นจากพันธมิตรชั้น 1 โดยสหรัฐฯกำลังหันไปให้ความสำคัญกับประเทศในภูมิภาคอื่นๆมากขึ้นเรื่อยๆ โดยเฉพาะกับ อินโดนีเซีย เวียดนาม สิงคโปร์ และมาเลเซีย ดังนั้น ไทยจะต้องรีบกำหนดยุทธศาสตร์ฟื้นฟูความสัมพันธ์และพันธมิตรกับสหรัฐฯให้เหนียวแน่น
- สุดท้าย ไทยจะต้องมียุทธศาสตร์ในระดับทวิภาคี โดยเฉพาะกับประเทศเพื่อนบ้านในมิติด้านความมั่นคงทางพลังงานและทรัพยากร ทั้งนี้ เพื่อปกป้องผลประโยชน์ทางด้านนี้ของไทย ซึ่งในอนาคต กำลังจะเป็นมิติด้านความมั่นคงที่สำคัญมากขึ้นเรื่อยๆ
(โปรดอ่านต่อตอนจบ ในคอลัมน์โลกทรรศน์สัปดาห์หน้า ซึ่งผมจะนำเสนอยุทธศาสตร์ทางด้านเศรษฐกิจ)
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)