พม่าแอบพัฒนาอาวุธนิวเคลียร์ ?
สยามรัฐสัปดาหวิจารณ์ ปีที่ 57 ฉบับที่ 38 วันศุกร์ที่ 11 - วันพฤหัสบดีที่ 17 มิถุนายน พ.ศ.2553
เมื่อไม่กี่วันมานี้ ได้มีข่าวปรากฏออกมาว่า พม่าได้แอบพัฒนาอาวุธนิวเคลียร์ คอลัมน์โลกทรรศน์ในวันนี้ จะมาดูรายละเอียดเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าว รวมถึงปฏิกิริยาจากฝ่ายต่างๆ และวิเคราะห์ถึงผลกระทบต่อไทยและอาเซียน ดังนี้
ข้อมูลจาก Democratic Voice of Burma
ข่าวเกี่ยวกับเรื่องพม่าแอบพัฒนาอาวุธนิวเคลียร์นั้น เริ่มมาจากสำนักข่าว Democratic Voice of Burma หรือเรียกย่อว่า DVB ได้เผยแพร่บทความรายละเอียดเกี่ยวกับเรื่องนี้ โดยคนที่เขียนบทความชื่อ Robert Kelly ชาวอเมริกันซึ่งเคยทำงานที่ International Atomic Energy Agency หรือ IAEA ของ UN ในบทความดังกล่าวมีรายละเอียด ดังนี้
มีหลักฐานว่าพม่ากำลังแอบพัฒนาอาวุธนิวเคลียร์ โดยข้อมูลล่าสุดได้มาจากอดีตทหารพม่าชื่อ Sai Thein Win โดย Sai ได้ให้ข้อมูลและรูปภาพเกี่ยวกับโรงงานนิวเคลียร์ของพม่าแก่ DVB นอกจากนี้ ยังมีการค้นพบหลักฐานความเกี่ยวข้องของเกาหลีเหนือและรัสเซียด้วย
สำหรับ Sai นั้น เคยเป็นทหารอยู่ในกองทัพพม่า โดยทำหน้าที่เป็นวิศวกร และต่อมาได้ไปศึกษาต่อที่รัสเซีย มีความเชี่ยวชาญในด้านขีปนาวุธ หลังจากกลับจากรัสเซีย ก็มาทำงานที่โรงงานพิเศษ ซึ่งต่อมาเขาค้นพบว่า เป็นโรงงานพัฒนาอาวุธนิวเคลียร์ Sai ได้ให้ข้อมูลโดยเฉพาะรูปภาพเป็นจำนวนมากเกี่ยวกับโรงงานดังกล่าว ซึ่งตั้งอยู่ที่เมือง Thabeikkyin ทางเหนือของ Mandalay
นอกจากนี้ ยังมีข้อมูลว่า รัฐบาลพม่า โดยหน่วยงานที่มีชื่อว่า Department of Technical and Vocational Education (DTVE) เป็นหน่วยงานบังหน้า ได้ซื้อเครื่องมือ อุปกรณ์ ที่อาจเอามาปรับใช้เป็นอาวุธร้ายแรง จากเยอรมันนี ผ่านทางบริษัทที่สิงคโปร์
Sai ได้เล่าให้ฟังว่า รัฐบาลพม่าได้บอกเขาว่า มีแผนการที่จะสร้างโรงงานนิวเคลียร์เพื่อใช้ในการสร้างอาวุธนิวเคลียร์ โดยรัฐบาลมีแผนที่จะพัฒนาแร่ยูเรเนียมให้เพียงพอสำหรับการสร้างอาวุธนิวเคลียร์
Sai ยังได้เล่าว่า ตอนที่เขาอยู่ที่รัสเซีย มีเพื่อนหลายคนที่ไปศึกษาอบรมด้านเทคโนโลยีนิวเคลียร์ ที่ Moscow Institute of Engineering Physics หรือ MIFI ซึ่งสถาบันนี้เป็นสถาบันหลักสำหรับการพัฒนาอาวุธนิวเคลียร์มาตั้งแต่สมัยสหภาพโซเวียต
สำหรับบทบาทของรัสเซียนั้น ในบทความของ DVB ได้บอกว่า พม่ากับรัสเซียได้มีข้อตกลงที่รัสเซียจะสร้างโรงงานนิวเคลียร์ให้กับพม่ามาตั้งแต่ปี 2000 และในปี 2008 รัสเซียได้ประกาศที่จะสร้างโรงงานดังกล่าว อย่างไรก็ตาม ต่อมาเกิดติดขัด เพราะรัสเซียต้องการให้พม่าทำสัญญาพิเศษกับ IAEA แต่พม่าไม่ยอมทำ สัญญาดังกล่าวจะมีลักษณะเป็นพิธีสารที่จะอนุญาตให้ IAEA เข้ามาตรวจสอบโรงงานนิวเคลียร์ของพม่าได้ อย่างไรก็ตาม ก่อนหน้านั้นพม่าได้ทำข้อตกลงกับ IAEA ในปี 1995 โดยสัญญาว่าพม่าจะไม่พัฒนาอาวุธนิวเคลียร์ ต่อมาพม่ากับ IAEA ได้ทำพิธีสาร เรียกว่า Small Quantities Protocol ระบุว่า พม่าไม่มีโรงงานนิวเคลียร์และมีวัตถุดิบนิวเคลียร์ปริมาณน้อยมาก ซึ่ง IAEA ก็รับรองสถานะดังกล่าว และเป็นเงื่อนไขในพิธีสารว่า IAEA จึงไม่มีสิทธิ์ที่จะเข้าไปในพม่าเพื่อตรวจสอบเรื่องการพัฒนานิวเคลียร์
สำหรับบทบาทของเกาหลีเหนือนั้น พม่ามีข้อตกลงกับเกาหลีเหนือ ที่เกาหลีเหนือจะช่วยสร้างขีปนาวุธพิสัยกลางที่เราเรียกว่า SCUD แต่บทบาทของเกาหลีเหนือในการช่วยพม่าพัฒนาอาวุธนิวเคลียร์นั้น ยังไม่มีหลักฐานชัดเจน อย่างไรก็ตาม เกาหลีเหนือถูกกล่าวหาอยู่บ่อยๆ ว่า ได้ส่งออกเทคโนโลยีนิวเคลียร์ให้กับประเทศต่างๆ โดยล่าสุด ถูกกล่าวหาว่าแอบพัฒนาโรงงานนิวเคลียร์ให้กับซีเรีย และกลุ่มผู้เชี่ยวชาญของ UN ได้กล่าวหาเกาหลีเหนือว่า ยังคงส่งออกเทคโนโลยีนิวเคลียร์และขีปนาวุธให้กับอิหร่าน ซีเรีย และพม่า
บทความของ DVB สรุปว่า จากข้อมูลดังกล่าวข้างต้น ชี้ให้เห็นภาพชัดเจนว่า พม่ากำลังพยายามที่จะพัฒนาโครงการนิวเคลียร์และพยายามที่จะเพิ่มธาตุยูเรเนียมเพื่อนำไปสู่การพัฒนาอาวุธนิวเคลียร์
ปฏิกิริยา
หลังจากที่มีข่าวในเรื่องนี้ออกมา Jim Webb วุฒิสมาชิกของสหรัฐ ซึ่งมีแผนจะเดินทางไปเยือนพม่า ก็ประกาศยกเลิกแผนการทันที โดยอ้างว่า จากข้อกล่าวหาเรื่องการพัฒนาอาวุธนิวเคลียร์ดังกล่าวทำให้ไม่เหมาะสมที่จะเดินทางไปเยือนพม่าในขณะนี้ แต่ Webb ก็กล่าวว่า ยังไม่ชัดเจนว่าข้อกล่าวหาจะเป็นจริงหรือไม่ คงต้องรอให้เรื่องนี้กระจ่างเสียก่อน
ก่อนหน้านี้ Kurt Campbell อธิบดีกรมกิจการเอเชีย ได้กล่าวเตือนพม่าให้ปฏิบัติตามข้อมติของคณะมนตรีความมั่นคง ในการคว่ำบาตรเกาหลีเหนือโดยเฉพาะการห้ามซื้ออาวุธจากเกาหลีเหนือ ซึ่งรวมถึงการซื้อเทคโนโลยีนิวเคลียร์จากเกาหลีเหนือด้วย
อย่างไรก็ตาม ล่าสุด เมื่อวันจันทร์ที่ 7 มิถุนายน ที่ผ่านมา Win Myint ทูตพม่าประจำสิงคโปร์ได้ออกมาปฏิเสธข้อกล่าวหาต่างๆ ดังกล่าว โดยบอกว่า ข้อกล่าวหาที่ว่าพม่ากำลังพัฒนาอาวุธนิวเคลียร์นั้นไม่เป็นความจริง และปฏิเสธว่า เกาหลีเหนือไม่ได้เข้ามาเกี่ยวข้องในเรื่องการพัฒนาพลังงานนิวเคลียร์
แต่ก็เป็นที่น่าสังเกตว่า Aye Myint รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหมพม่า ในตอนแรกจะมาร่วมประชุม Shangri-La Dialogue ที่สิงคโปร์ ในช่วงต้นเดือนนี้ แต่พอมีข่าวในเรื่องนี้ออกมา ก็ได้ยกเลิกที่จะเข้าประชุม
ในอดีต ผู้นำพม่าได้ปฏิเสธมาตลอดในเรื่องการพัฒนาอาวุธนิวเคลียร์ แต่ฝ่ายต่อต้านพม่ารวมทั้งอดีตทหารพม่าหลายคนที่เปลี่ยนมาเป็นฝ่ายต่อต้านรัฐบาล ได้กล่าวเป็นเสียงเดียวกันว่า พม่ามีแผนการพัฒนาอาวุธนิวเคลียร์จริง
บทวิเคราะห์
• จากข้อมูลดังกล่าวข้างต้น ซึ่งเป็นข้อมูลของสำนักข่าว DVB ก็ยังต้องรอการยืนยันว่า จะมีความเป็นจริงมากน้อยแค่ไหน เราคงจะต้องฟังหูไว้หูในตอนนี้ แต่ผมก็เกรงว่า ในกรณีพม่าจะเหมือนกับในกรณีอิหร่าน ซึ่งในกรณีของอิหร่านนั้น เรารู้ว่าเป็นที่ถกเถียงกันมาโดยตลอด โดยอิหร่านไม่เคยยอมรับว่าพัฒนาอาวุธนิวเคลียร์ โดยอ้างว่าโรงงานนิวเคลียร์ของอิหร่านเป็นไปเพื่อการพัฒนาพลังงานอย่างสันติ แต่ทางตะวันตกไม่เคยเชื่อ โดยอ้างมาโดยตลอดว่าอิหร่านแอบพัฒนาอาวุธนิวเคลียร์ ในกรณีของพม่าก็คงจะต้องจับตาดูกันต่อว่า พัฒนาการในเรื่องนี้จะเป็นไปอย่างไร
• นอกจากนี้ มีความเป็นไปได้ว่า พม่าคงอาจจะคิดเลียนแบบเกาหลีเหนือ โดยรัฐบาลคอมมิวนิสต์เกาหลีเหนือพยายามป้องกันการโจมตีจากสหรัฐ ด้วยการพัฒนาอาวุธนิวเคลียร์เพื่อความอยู่รอด พม่าก็คงจะหวาดกลัวการแทรกแซงจากสหรัฐ และอาวุธนิวเคลียร์น่าจะเป็นหลักประกันความอยู่รอดของรัฐบาลทหารได้ดีที่สุด
• ดังนั้น ประเด็นสำคัญคือ จะต้องมีการตรวจสอบค้นหาข้อเท็จจริงในเรื่องนี้ โดยจะต้องมีกลไกในการเข้าไปตรวจสอบ ซึ่งอาจจะเป็น UN โดย IAEA หรืออาจจะเป็น ASEAN เพราะหากพม่าแอบพัฒนาอาวุธนิวเคลียร์จริง จะส่งผลกระทบอย่างมากต่อความมั่นคงในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และโดยเฉพาะอย่างยิ่ง ต่อไทย ซึ่งเป็นประเทศเพื่อนบ้านติดกับพม่า
• นอกจากนั้น อาเซียนมีสนธิสัญญาที่จะทำให้เอเชียตะวันออกเฉียงใต้เป็นเขตปลอดอาวุธนิวเคลียร์ ซึ่งภาษาอังกฤษเรียกว่า Southeast Asia Nuclear Weapon Free Zone Treaty หรือเรียกย่อว่า SEANWFZ ซึ่งหากพม่าแอบพัฒนาอาวุธนิวเคลียร์ จะเป็นการละเมิดสนธิสัญญาดังกล่าว และจะทำให้ภูมิภาคปั่นป่วนไปหมด โดยประเทศต่างๆ อาจจะต้องหันมาพัฒนาอาวุธนิวเคลียร์ เพื่อเป็นการป้องปรามพม่า ก็จะนำไปสู่การแพร่ขยายของอาวุธนิวเคลียร์ไปทั่วภูมิภาค ซึ่งจะทำให้วุ่นวายกันไปใหญ่ ดังนั้น ไทยและอาเซียนคงจะอยู่เฉยๆ ไม่ได้ คงจะต้องดำเนินการในเรื่องนี้อย่างจริงจังเพื่อให้เกิดความกระจ่างขึ้นให้ได้
วันจันทร์ที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2553
อาเซียนกับปัญหาพม่า
อาเซียนกับปัญหาพม่า
ตีพิมพ์ใน ไทยโพสต์ ฉบับวันที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ.2553
ปัญหาพม่า : ผลกระทบต่ออาเซียน
ตลอดสิบกว่าปีที่ผ่านมา เราเห็นแล้วว่า การที่พม่าเข้าเป็นสมาชิกอาเซียน ส่งผลกระทบต่ออาเซียนในทางลบ พม่ากลายเป็นแกะดำ ตะวันตกก็บอยคอตอาเซียน ยุโรปไม่ยอมเจรจากับเรา ภาพลักษณ์ของอาเซียนเสียหายมาก อเมริกาไม่ยอมประชุมสุดยอดกับอาเซียน ไม่อยากจับมือกับผู้นำทหารพม่า พม่าเข้ามาเป็นตัวฉุด ในเรื่องการบูรณาการทางเศรษฐกิจ ก็ฉุด ในเรื่องการพัฒนาไปเป็นประชาคมอาเซียน พม่าก็เป็นตัวฉุด กลไกสิทธิมนุษยชน พม่าก็เป็นตัวฉุด เพราะที่ได้กลไกหน้าตาแบบนี้ เชื่อได้เลยว่า พม่าอยู่เบื้องหลังในการตัดแขนตัดขาของกลไก การที่ได้กฎบัตรอาเซียนที่ไม่ได้เรื่อง ผมว่า เป็นเพราะพม่า เพราะเป็นไปตามระบบฉันทามติ เวลาจะร่างกฏบัตรขึ้นมา ทุกมาตรา พม่าต้องโอเค ทุกถ้อยคำ พม่าต้องโอเค ถ้ายกมือค้านขึ้นมา ก็ต้องตัดออก ผมเดา เลยว่า พม่าเป็นคนตัด ในเรื่องที่ว่า บางเรื่องต้องโหวต พม่าก็ไม่เอา ข้อเสนอที่จะให้ประเทศที่ละเมิดกฎบัตรอาเซียน จะต้องมีการลงโทษ พม่าก็ตัดออก ส่วนในกรณีที่จะขับออกจากการเป็นสมาชิกได้หรือไม่ การเป็นสมาชิกภาพจะถูกถอดถอนได้หรือไม่ ก็ไม่มีปรากฏอยู่ในกฎบัตร ส่วนในเรื่องหลักการไม่แทรกแซงกิจการภายใน ผมเดาว่า พม่าคงยืนยันว่า จะต้องใส่ไว้ในกฎบัตร
บทบาทของอาเซียน
ไม่ค่อยมีอะไรเป็นรูปธรรม ย้อนกลับไป ก่อนพม่าเข้าเป็นสมาชิก เกือบ 20 ปี อาเซียนยืนยันในนโยบาย Constructive Engagement คือไม่คว่ำบาตร แต่หลังจากพม่าเข้าเป็นสมาชิก ก็ไม่มีอะไรดีขึ้น กลับแย่ลง ในเรื่องสิทธิมนุษยชน ในอดีต อาเซียนไม่เคยมีอะไรที่เป็นทางการเกี่ยวกับพม่า ในแถลงการณ์ร่วม อาเซียนไม่มีเรื่องพม่า แต่ปี 20001 เริ่มมีการพูดถึงเรื่องพม่า แรกๆ ออกมาในทำนอง พม่าต้องมาสรุปให้ฟังว่า พัฒนาการไปถึงไหนแล้ว อาเซียนกระตุ้นให้มีการปรองดองในชาติ ให้มีการเดินหน้าไปสู่ประชาธิปไตย หลังๆ สถานการณ์แย่ลงไป ตะวันตกบีบมากขึ้น กระแสโลกชัดเจนขึ้นในเรื่องนี้ อาเซียนก็ชัดเจนขึ้น ได้บีบพม่ามากขึ้น
ปี 2006 พม่าควรเป็นประธานอาเซียน แต่ถูกตะวันตกบีบ แล้วอาเซียนก็บีบพม่าให้สละการเป็นประธานอาเซียน อันนี้ ถือเป็นการบีบทางอ้อม ในอดีต มีการส่งผู้แทนอาเซียนเข้าไป รัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียนที่เป็นประธานอาเซียนเคยมีบทบาท ไทยมีบทบาทในการจัดการประชุม Bangkok Process แต่การประชุมนี้อยู่นอกกรอบอาเซียน แต่จัดประชุมได้แค่ครั้งเดียว เพราะพม่าไม่มาเข้าร่วมประชุม ในที่สุดก็เลยหยุดไป
ในปี 2007 ที่มีการประท้วง มีแถลงการณ์รัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียนออกมาประณามพม่า แต่หลังจากนั้น ก็ไม่ได้ทำอะไรต่อ
อุปสรรคจำกัดบทบาทของอาเซียนคือ เรื่องผลประโยชน์ของประเทศสมาชิกอาเซียนกับพม่า เช่น ไทยซื้อก๊าซธรรมชาติจากพม่า ไฟฟ้าที่ไทยใช้อยู่ ก็มาจากพม่า การค้า ทั้งไทย มาเลเซีย สิงคโปร์ ก็แบบเดียวกันหมด มีผลประโยชน์กับพม่า เราเลยพูดไม่ออก กลัวว่า ถ้าเล่นไม้แข็งแล้ว เขาจะเลิกค้าขายกับเรา เราก็จะยุ่ง ตลอดเวลาที่ผ่านมา โดยเฉพาะในสมัยรัฐบาลทักษิณ ไม่เคยพูดอะไรเลย เพราะยึดผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจเป็นหลัก
พอมาถึงรัฐบาลชุดนี้ เปลี่ยนไปเหมือนกัน ได้หันมาให้ความสำคัญกับสิทธิมนุษยชนมากขึ้น เริ่มพูดมากขึ้น เลยมีปัญหากระทบกระทั่งกัน
และยังมีเรื่องหลักการไม่แทรกแซงกิจการภายใน ซึ่งปรากฏอยู่ในกฎบัตรอาเซียน เป็นหลักการพื้นฐานของกฎบัตรอาเซียนว่า จะไม่แทรกแซงกิจการภายในของกันและกัน
มีคำถามว่า หลักการมีการะบุไหมว่า จะตีความตรงจุดไหนว่า เป็นการแทรกแซงกิจการภายใน คำตอบคือ ไม่มีการระบุไว้ ถูกเขียนด้วยหลักการกว้างๆ ดังนั้น หากจะตีความแบบเคร่งครัดแล้ว การที่อาเซียนพูดเรื่องพม่าในปัจจุบัน ถือเป็นการแทรกแซงกิจการภายใน ฉะนั้น ในหลักการเขียนเอาไว้แต่การปฏิบัติ ถือว่าแทรกแซงอยู่แล้ว เพราะเวลาประชุม ทุกที ก็พูดถึงเรื่องประชาธิปไตยในพม่า ซึ่งเป็นเรื่องภายในของเขา ถือว่าแทรกแซง แต่พม่าก็ยอม เพราะฉะนั้น ในทางทฤษฎี ในหลักการ กับการปฏิบัติ ต่างกัน โดยปริยาย มีการแทรกแซงอยู่ แต่จะรับได้ถึงขั้นไหน ในการแทรกแซงของอาเซียน เป็นการแทรกแซงทางการทูต โดยการนำเรื่องพม่ามาพูดคุยว่า จะต้องทำอะไรบ้าง เดินหน้าอย่างไรบ้าง แต่คงไม่มากไปกว่านี้ คงไม่ถึงการคว่ำบาตร การลงโทษ ในระดับนั้น คงไม่กล้าทำ
ยังมีการถกเถียงว่า เราจะทำอย่างไรได้ ถ้าเราไม่ติดต่อ ไม่ปฏิสัมพันธ์ เราจะคว่ำบาตรพม่าเลยใช่ไหม เราจะลงโทษใช่ไหม หลายๆ ประเทศก็ถามว่า การคว่ำบาตร การลงโทษ จะได้ผลไหม และชี้ไปที่ตะวันตก สหรัฐ คว่ำบาตรพม่า แต่ก็ไม่ได้ผลอะไร
บทบาทของคณะกรรมาธิการสิทธิมนุษยชนอาเซียน
คณะกรรมาธิการสิทธิมนุษยชน ไม่น่าจะทำอะไรได้ เพียงตั้งขึ้นมาให้ภาพลักษณ์ของอาเซียนดูดีในสายตาประชาคมโลก ให้เราไม่กลายเป็นองค์กรเถื่อน ที่ไม่เคยพูดถึงเรื่องสิทธิมนุษยชน ผมว่า อาเซียนเหมือนทำมาหลอก เพราะในทางปฏิบัติ คณะกรรมาธิการชุดนี้ คงทำอะไรไม่ได้ และใน TOR ก็ไม่ได้มีอำนาจหน้าที่ ที่จะไปทำอะไรอยู่แล้ว มีแค่ promotion แต่ไม่มี protection
promotion คือ ส่งเสริมให้ประชาชนรู้จักสิทธิมนุษยชนมากขึ้น ส่งเสริมให้อาเซียนไปลงนามปฏิญญาต่างๆ แต่ในเรื่อง protection ไม่มี คือเมื่อเกิดการละเมิดขึ้นมา คณะกรรมาธิการก็ทำอะไรไม่ได้ ทำได้แค่ report รับเรื่องร้องเรียนก็ไม่ได้ ไต่สวนก็ไม่ได้ ออกมาตรการอะไรก็ไม่ได้
โอกาสที่จะทำ protection ได้ ในอนาคต คงต้องรออีกนาน เพราะ TOR ในขณะนี้ ไม่มีช่องที่เปิดให้เล่นบท protection น้อยมาก และจำกัดมาก
การที่จะเอากลไกนี้ ไปแก้ไขเรื่องการละเมิดสิทธิมนุษยชนในพม่า จึงเป็นไปไม่ได้ และอีก 5 ปี จึงจะมีการทบทวนตัวกลไกนี้ มันนานไป กลไกนี้ อาจต้องรอไปเป็นสิบๆ ปี ถึงจะพัฒนาไปกว่านี้
บทบาทของอาเซียนในปัจจุบัน
ท่าทีตะวันตกที่เปลี่ยนไป คือ ท่าทีของสหรัฐ เป็นเพราะนโยบายของโอบามาที่แตกต่างจากบุช โอบามาเป็นเสรีนิยม มองโลกในแง่ดี อยากลองคุยกับพม่า เริ่มที่จะเจรจา เริ่มมีปฏิสัมพันธ์ ตอนนี้ มีการทบทวนนโยบายว่า ที่ผ่านมา การคว่ำบาตรไม่ได้ผล ตอนนี้ อยากเริ่มปฏิสัมพันธ์ดูบ้าง ตอนนี้ ใช้นโยบายแบบผสมผสาน คือ ทั้งปฏิสัมพันธ์ ทั้งคว่ำบาตร คือ ปฏิสัมพันธ์ไป แต่มีการคว่ำบาตรอยู่ ถ้ามีการปรับปรุงพฤติกรรมให้ดีขึ้น ก็อาจจะมีการคว่ำบาตรน้อยลง
ในส่วนของอาเซียน ยังไม่มีอะไรที่ชัดเจน ในแง่ท่าที ยังเดิมๆ และอาจจะแย่ลงด้วยซ้ำ หากดูจาก ผลการประชุมต่างๆ ท่าทีของอาเซียน เริ่มถอยหลังลงคลอง จากที่เคยกล้าประณามพม่า แต่ปีที่แล้ว อาเซียนได้พูดออกมาในทำนองว่า ถือว่าเป็นเรื่องภายในของพม่า อาเซียนพร้อมที่จะร่วมมือกับพม่า และ UN ควรจะมีบทบาทในการเข้าไปมีส่วนช่วยตรงนี้ ซึ่งคล้ายกับว่า อาเซียนเริ่มที่จะถอยออกมาในเรื่องนี้ ซึ่งเหตุผล อาจจะมาจากการอยากที่จะให้เวลากับพม่า เพราะในปีนี้ พม่ากำลังจะจัดการเลือกตั้ง นอกจากนี้ ตอนที่พม่าเอาอองซาน ซูจี ไปขึ้นศาล อาเซียนก็ไม่ได้ประกาศอะไรออกมาเลย มีเพียงแค่ไทย ที่ออกมาประกาศในฐานะประธานอาเซียน แต่สิ่งที่ประกาศไป ก็ไม่ใช่ท่าทีอย่างเป็นทางการของอาเซียน
ล่าสุด ในการประชุมสุดยอดอาเซียนครั้งที่ 16 ที่เวียดนาม อาเซียนก็ยังคงมีท่าทีเดิมๆ คือ พยายามจะประนีประนอมกับรัฐบาลทหารพม่า ถึงแม้ว่าขณะนี้กำลังมีเสียงวิพากษ์วิจารณ์อย่างกว้างขวางว่า การเลือกตั้งในพม่าในปีนี้ จะมีลักษณะการเลือกตั้งที่หลอกคนดู และการเลือกตั้งจะเป็นการสร้างความชอบธรรมให้กับรัฐบาลเผด็จการทหารพม่าต่อไป แต่อาเซียนก็ไม่สามารถที่จะกดดันให้รัฐบาลทหารพม่าปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในเรื่องนี้ได้ ไม่มีหลักประกันว่า การเลือกตั้งจะเป็นไปอย่างบริสุทธิ์ยุติธรรม และภายใต้กฎหมายเลือกตั้ง อองซาน ซูจี จะไม่สามารถลงสมัครรับเลือกตั้งได้ พรรค NLD ก็ได้ประกาศบอยคอตการเลือกตั้งแล้ว นอกจากนี้ ได้มีข่าวออกมาว่าทางอาเซียนต้องการส่งผู้แทนไปสังเกตการณ์เลือกตั้ง แต่ทางรัฐบาลพม่าก็ไม่ยอม
จริงๆ แล้วมีหลายวิธีที่จะแก้ปัญหา นอกจากการออกแถลงการณ์ เราไม่เคยมีการลองใช้ไม้แข็งกับพม่า ในเรื่องของการคว่ำบาตร อาจจะเริ่มจากการคว่ำบาตรอย่างอ่อนๆ หรือคว่ำบาตรทางการทูต เช่น ไม่ให้พม่าเข้าประชุมอาเซียน หรือไม่ให้พม่าจัดการประชุมอาเซียน เราไม่เคยทำ ในอดีต จะมีการส่งผู้แทนพิเศษไปพม่า แต่ในระยะหลังๆ ไม่มีเลย และยังมีวิธีที่เราจะทำได้แต่ไม่เคยทำ คือ การผลักดันให้มีการประชุมพหุภาคีในเรื่องของพม่า มีอาเซียน UN สหรัฐ จีน อินเดีย ที่ควรจะต้องเข้ามามีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหา
บทบาทของอาเซียนในอนาคต
ผมว่า แนวโน้มอาเซียนน่าจะมีบทบาทมากขึ้น เพราะเรื่องสิทธิมนุษยชนเป็นสากล พม่าในฐานะที่เป็นประเทศสมาชิกในอาเซียน และเป็นประเทศเล็ก ที่ต้องพึ่งพาประเทศอื่นๆ ฉะนั้น จะถูกกดดันมากขึ้นเรื่อยๆ ในเรื่อง ประชาธิปไตย สิทธิมนุษยชน ผมมองว่า แนวโน้ม อาเซียนกำลังจะมีบทบาทมากขึ้น ผมคิดว่า มีทั้งปัจจัยภายนอกและปัจจัยภายใน
ปัจจัยภายนอก คือ กระแสสากล เรื่องสิทธิมนุษยชน เป็นเรื่องสากล อาเซียนอยู่เฉยๆ ก็ลำบาก อาเซียนจะต้องมีบทบาทมากขึ้น
ขณะเดียวกัน ภายในอาเซียนเอง ก็เกิดการเปลี่ยนแปลงในเรื่องประชาธิปไตย อย่างประเทศที่สมัยก่อนเป็นเผด็จการ เช่น มาเลเซีย สิงคโปร์ จุดยืนเริ่มเปลี่ยนมาเป็นประชาธิปไตยมากขึ้น อินโดนีเซีย ก็เป็นประชาธิปไตย ฟิลิปปินส์ ไทย ก็เหมือนกัน แม้กระทั่งเวียดนาม ก็มีแนวโน้มว่า พยายามที่จะเปลี่ยนเช่นกัน อันนี้ผมคิดว่า เมื่อหลายๆ ประเทศเปลี่ยนเป็นประชาธิปไตยมากขึ้น จะเป็นพลังทำให้อาเซียนมีบทบาทในด้านนี้มากขึ้น
ตีพิมพ์ใน ไทยโพสต์ ฉบับวันที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ.2553
ปัญหาพม่า : ผลกระทบต่ออาเซียน
ตลอดสิบกว่าปีที่ผ่านมา เราเห็นแล้วว่า การที่พม่าเข้าเป็นสมาชิกอาเซียน ส่งผลกระทบต่ออาเซียนในทางลบ พม่ากลายเป็นแกะดำ ตะวันตกก็บอยคอตอาเซียน ยุโรปไม่ยอมเจรจากับเรา ภาพลักษณ์ของอาเซียนเสียหายมาก อเมริกาไม่ยอมประชุมสุดยอดกับอาเซียน ไม่อยากจับมือกับผู้นำทหารพม่า พม่าเข้ามาเป็นตัวฉุด ในเรื่องการบูรณาการทางเศรษฐกิจ ก็ฉุด ในเรื่องการพัฒนาไปเป็นประชาคมอาเซียน พม่าก็เป็นตัวฉุด กลไกสิทธิมนุษยชน พม่าก็เป็นตัวฉุด เพราะที่ได้กลไกหน้าตาแบบนี้ เชื่อได้เลยว่า พม่าอยู่เบื้องหลังในการตัดแขนตัดขาของกลไก การที่ได้กฎบัตรอาเซียนที่ไม่ได้เรื่อง ผมว่า เป็นเพราะพม่า เพราะเป็นไปตามระบบฉันทามติ เวลาจะร่างกฏบัตรขึ้นมา ทุกมาตรา พม่าต้องโอเค ทุกถ้อยคำ พม่าต้องโอเค ถ้ายกมือค้านขึ้นมา ก็ต้องตัดออก ผมเดา เลยว่า พม่าเป็นคนตัด ในเรื่องที่ว่า บางเรื่องต้องโหวต พม่าก็ไม่เอา ข้อเสนอที่จะให้ประเทศที่ละเมิดกฎบัตรอาเซียน จะต้องมีการลงโทษ พม่าก็ตัดออก ส่วนในกรณีที่จะขับออกจากการเป็นสมาชิกได้หรือไม่ การเป็นสมาชิกภาพจะถูกถอดถอนได้หรือไม่ ก็ไม่มีปรากฏอยู่ในกฎบัตร ส่วนในเรื่องหลักการไม่แทรกแซงกิจการภายใน ผมเดาว่า พม่าคงยืนยันว่า จะต้องใส่ไว้ในกฎบัตร
บทบาทของอาเซียน
ไม่ค่อยมีอะไรเป็นรูปธรรม ย้อนกลับไป ก่อนพม่าเข้าเป็นสมาชิก เกือบ 20 ปี อาเซียนยืนยันในนโยบาย Constructive Engagement คือไม่คว่ำบาตร แต่หลังจากพม่าเข้าเป็นสมาชิก ก็ไม่มีอะไรดีขึ้น กลับแย่ลง ในเรื่องสิทธิมนุษยชน ในอดีต อาเซียนไม่เคยมีอะไรที่เป็นทางการเกี่ยวกับพม่า ในแถลงการณ์ร่วม อาเซียนไม่มีเรื่องพม่า แต่ปี 20001 เริ่มมีการพูดถึงเรื่องพม่า แรกๆ ออกมาในทำนอง พม่าต้องมาสรุปให้ฟังว่า พัฒนาการไปถึงไหนแล้ว อาเซียนกระตุ้นให้มีการปรองดองในชาติ ให้มีการเดินหน้าไปสู่ประชาธิปไตย หลังๆ สถานการณ์แย่ลงไป ตะวันตกบีบมากขึ้น กระแสโลกชัดเจนขึ้นในเรื่องนี้ อาเซียนก็ชัดเจนขึ้น ได้บีบพม่ามากขึ้น
ปี 2006 พม่าควรเป็นประธานอาเซียน แต่ถูกตะวันตกบีบ แล้วอาเซียนก็บีบพม่าให้สละการเป็นประธานอาเซียน อันนี้ ถือเป็นการบีบทางอ้อม ในอดีต มีการส่งผู้แทนอาเซียนเข้าไป รัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียนที่เป็นประธานอาเซียนเคยมีบทบาท ไทยมีบทบาทในการจัดการประชุม Bangkok Process แต่การประชุมนี้อยู่นอกกรอบอาเซียน แต่จัดประชุมได้แค่ครั้งเดียว เพราะพม่าไม่มาเข้าร่วมประชุม ในที่สุดก็เลยหยุดไป
ในปี 2007 ที่มีการประท้วง มีแถลงการณ์รัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียนออกมาประณามพม่า แต่หลังจากนั้น ก็ไม่ได้ทำอะไรต่อ
อุปสรรคจำกัดบทบาทของอาเซียนคือ เรื่องผลประโยชน์ของประเทศสมาชิกอาเซียนกับพม่า เช่น ไทยซื้อก๊าซธรรมชาติจากพม่า ไฟฟ้าที่ไทยใช้อยู่ ก็มาจากพม่า การค้า ทั้งไทย มาเลเซีย สิงคโปร์ ก็แบบเดียวกันหมด มีผลประโยชน์กับพม่า เราเลยพูดไม่ออก กลัวว่า ถ้าเล่นไม้แข็งแล้ว เขาจะเลิกค้าขายกับเรา เราก็จะยุ่ง ตลอดเวลาที่ผ่านมา โดยเฉพาะในสมัยรัฐบาลทักษิณ ไม่เคยพูดอะไรเลย เพราะยึดผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจเป็นหลัก
พอมาถึงรัฐบาลชุดนี้ เปลี่ยนไปเหมือนกัน ได้หันมาให้ความสำคัญกับสิทธิมนุษยชนมากขึ้น เริ่มพูดมากขึ้น เลยมีปัญหากระทบกระทั่งกัน
และยังมีเรื่องหลักการไม่แทรกแซงกิจการภายใน ซึ่งปรากฏอยู่ในกฎบัตรอาเซียน เป็นหลักการพื้นฐานของกฎบัตรอาเซียนว่า จะไม่แทรกแซงกิจการภายในของกันและกัน
มีคำถามว่า หลักการมีการะบุไหมว่า จะตีความตรงจุดไหนว่า เป็นการแทรกแซงกิจการภายใน คำตอบคือ ไม่มีการระบุไว้ ถูกเขียนด้วยหลักการกว้างๆ ดังนั้น หากจะตีความแบบเคร่งครัดแล้ว การที่อาเซียนพูดเรื่องพม่าในปัจจุบัน ถือเป็นการแทรกแซงกิจการภายใน ฉะนั้น ในหลักการเขียนเอาไว้แต่การปฏิบัติ ถือว่าแทรกแซงอยู่แล้ว เพราะเวลาประชุม ทุกที ก็พูดถึงเรื่องประชาธิปไตยในพม่า ซึ่งเป็นเรื่องภายในของเขา ถือว่าแทรกแซง แต่พม่าก็ยอม เพราะฉะนั้น ในทางทฤษฎี ในหลักการ กับการปฏิบัติ ต่างกัน โดยปริยาย มีการแทรกแซงอยู่ แต่จะรับได้ถึงขั้นไหน ในการแทรกแซงของอาเซียน เป็นการแทรกแซงทางการทูต โดยการนำเรื่องพม่ามาพูดคุยว่า จะต้องทำอะไรบ้าง เดินหน้าอย่างไรบ้าง แต่คงไม่มากไปกว่านี้ คงไม่ถึงการคว่ำบาตร การลงโทษ ในระดับนั้น คงไม่กล้าทำ
ยังมีการถกเถียงว่า เราจะทำอย่างไรได้ ถ้าเราไม่ติดต่อ ไม่ปฏิสัมพันธ์ เราจะคว่ำบาตรพม่าเลยใช่ไหม เราจะลงโทษใช่ไหม หลายๆ ประเทศก็ถามว่า การคว่ำบาตร การลงโทษ จะได้ผลไหม และชี้ไปที่ตะวันตก สหรัฐ คว่ำบาตรพม่า แต่ก็ไม่ได้ผลอะไร
บทบาทของคณะกรรมาธิการสิทธิมนุษยชนอาเซียน
คณะกรรมาธิการสิทธิมนุษยชน ไม่น่าจะทำอะไรได้ เพียงตั้งขึ้นมาให้ภาพลักษณ์ของอาเซียนดูดีในสายตาประชาคมโลก ให้เราไม่กลายเป็นองค์กรเถื่อน ที่ไม่เคยพูดถึงเรื่องสิทธิมนุษยชน ผมว่า อาเซียนเหมือนทำมาหลอก เพราะในทางปฏิบัติ คณะกรรมาธิการชุดนี้ คงทำอะไรไม่ได้ และใน TOR ก็ไม่ได้มีอำนาจหน้าที่ ที่จะไปทำอะไรอยู่แล้ว มีแค่ promotion แต่ไม่มี protection
promotion คือ ส่งเสริมให้ประชาชนรู้จักสิทธิมนุษยชนมากขึ้น ส่งเสริมให้อาเซียนไปลงนามปฏิญญาต่างๆ แต่ในเรื่อง protection ไม่มี คือเมื่อเกิดการละเมิดขึ้นมา คณะกรรมาธิการก็ทำอะไรไม่ได้ ทำได้แค่ report รับเรื่องร้องเรียนก็ไม่ได้ ไต่สวนก็ไม่ได้ ออกมาตรการอะไรก็ไม่ได้
โอกาสที่จะทำ protection ได้ ในอนาคต คงต้องรออีกนาน เพราะ TOR ในขณะนี้ ไม่มีช่องที่เปิดให้เล่นบท protection น้อยมาก และจำกัดมาก
การที่จะเอากลไกนี้ ไปแก้ไขเรื่องการละเมิดสิทธิมนุษยชนในพม่า จึงเป็นไปไม่ได้ และอีก 5 ปี จึงจะมีการทบทวนตัวกลไกนี้ มันนานไป กลไกนี้ อาจต้องรอไปเป็นสิบๆ ปี ถึงจะพัฒนาไปกว่านี้
บทบาทของอาเซียนในปัจจุบัน
ท่าทีตะวันตกที่เปลี่ยนไป คือ ท่าทีของสหรัฐ เป็นเพราะนโยบายของโอบามาที่แตกต่างจากบุช โอบามาเป็นเสรีนิยม มองโลกในแง่ดี อยากลองคุยกับพม่า เริ่มที่จะเจรจา เริ่มมีปฏิสัมพันธ์ ตอนนี้ มีการทบทวนนโยบายว่า ที่ผ่านมา การคว่ำบาตรไม่ได้ผล ตอนนี้ อยากเริ่มปฏิสัมพันธ์ดูบ้าง ตอนนี้ ใช้นโยบายแบบผสมผสาน คือ ทั้งปฏิสัมพันธ์ ทั้งคว่ำบาตร คือ ปฏิสัมพันธ์ไป แต่มีการคว่ำบาตรอยู่ ถ้ามีการปรับปรุงพฤติกรรมให้ดีขึ้น ก็อาจจะมีการคว่ำบาตรน้อยลง
ในส่วนของอาเซียน ยังไม่มีอะไรที่ชัดเจน ในแง่ท่าที ยังเดิมๆ และอาจจะแย่ลงด้วยซ้ำ หากดูจาก ผลการประชุมต่างๆ ท่าทีของอาเซียน เริ่มถอยหลังลงคลอง จากที่เคยกล้าประณามพม่า แต่ปีที่แล้ว อาเซียนได้พูดออกมาในทำนองว่า ถือว่าเป็นเรื่องภายในของพม่า อาเซียนพร้อมที่จะร่วมมือกับพม่า และ UN ควรจะมีบทบาทในการเข้าไปมีส่วนช่วยตรงนี้ ซึ่งคล้ายกับว่า อาเซียนเริ่มที่จะถอยออกมาในเรื่องนี้ ซึ่งเหตุผล อาจจะมาจากการอยากที่จะให้เวลากับพม่า เพราะในปีนี้ พม่ากำลังจะจัดการเลือกตั้ง นอกจากนี้ ตอนที่พม่าเอาอองซาน ซูจี ไปขึ้นศาล อาเซียนก็ไม่ได้ประกาศอะไรออกมาเลย มีเพียงแค่ไทย ที่ออกมาประกาศในฐานะประธานอาเซียน แต่สิ่งที่ประกาศไป ก็ไม่ใช่ท่าทีอย่างเป็นทางการของอาเซียน
ล่าสุด ในการประชุมสุดยอดอาเซียนครั้งที่ 16 ที่เวียดนาม อาเซียนก็ยังคงมีท่าทีเดิมๆ คือ พยายามจะประนีประนอมกับรัฐบาลทหารพม่า ถึงแม้ว่าขณะนี้กำลังมีเสียงวิพากษ์วิจารณ์อย่างกว้างขวางว่า การเลือกตั้งในพม่าในปีนี้ จะมีลักษณะการเลือกตั้งที่หลอกคนดู และการเลือกตั้งจะเป็นการสร้างความชอบธรรมให้กับรัฐบาลเผด็จการทหารพม่าต่อไป แต่อาเซียนก็ไม่สามารถที่จะกดดันให้รัฐบาลทหารพม่าปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในเรื่องนี้ได้ ไม่มีหลักประกันว่า การเลือกตั้งจะเป็นไปอย่างบริสุทธิ์ยุติธรรม และภายใต้กฎหมายเลือกตั้ง อองซาน ซูจี จะไม่สามารถลงสมัครรับเลือกตั้งได้ พรรค NLD ก็ได้ประกาศบอยคอตการเลือกตั้งแล้ว นอกจากนี้ ได้มีข่าวออกมาว่าทางอาเซียนต้องการส่งผู้แทนไปสังเกตการณ์เลือกตั้ง แต่ทางรัฐบาลพม่าก็ไม่ยอม
จริงๆ แล้วมีหลายวิธีที่จะแก้ปัญหา นอกจากการออกแถลงการณ์ เราไม่เคยมีการลองใช้ไม้แข็งกับพม่า ในเรื่องของการคว่ำบาตร อาจจะเริ่มจากการคว่ำบาตรอย่างอ่อนๆ หรือคว่ำบาตรทางการทูต เช่น ไม่ให้พม่าเข้าประชุมอาเซียน หรือไม่ให้พม่าจัดการประชุมอาเซียน เราไม่เคยทำ ในอดีต จะมีการส่งผู้แทนพิเศษไปพม่า แต่ในระยะหลังๆ ไม่มีเลย และยังมีวิธีที่เราจะทำได้แต่ไม่เคยทำ คือ การผลักดันให้มีการประชุมพหุภาคีในเรื่องของพม่า มีอาเซียน UN สหรัฐ จีน อินเดีย ที่ควรจะต้องเข้ามามีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหา
บทบาทของอาเซียนในอนาคต
ผมว่า แนวโน้มอาเซียนน่าจะมีบทบาทมากขึ้น เพราะเรื่องสิทธิมนุษยชนเป็นสากล พม่าในฐานะที่เป็นประเทศสมาชิกในอาเซียน และเป็นประเทศเล็ก ที่ต้องพึ่งพาประเทศอื่นๆ ฉะนั้น จะถูกกดดันมากขึ้นเรื่อยๆ ในเรื่อง ประชาธิปไตย สิทธิมนุษยชน ผมมองว่า แนวโน้ม อาเซียนกำลังจะมีบทบาทมากขึ้น ผมคิดว่า มีทั้งปัจจัยภายนอกและปัจจัยภายใน
ปัจจัยภายนอก คือ กระแสสากล เรื่องสิทธิมนุษยชน เป็นเรื่องสากล อาเซียนอยู่เฉยๆ ก็ลำบาก อาเซียนจะต้องมีบทบาทมากขึ้น
ขณะเดียวกัน ภายในอาเซียนเอง ก็เกิดการเปลี่ยนแปลงในเรื่องประชาธิปไตย อย่างประเทศที่สมัยก่อนเป็นเผด็จการ เช่น มาเลเซีย สิงคโปร์ จุดยืนเริ่มเปลี่ยนมาเป็นประชาธิปไตยมากขึ้น อินโดนีเซีย ก็เป็นประชาธิปไตย ฟิลิปปินส์ ไทย ก็เหมือนกัน แม้กระทั่งเวียดนาม ก็มีแนวโน้มว่า พยายามที่จะเปลี่ยนเช่นกัน อันนี้ผมคิดว่า เมื่อหลายๆ ประเทศเปลี่ยนเป็นประชาธิปไตยมากขึ้น จะเป็นพลังทำให้อาเซียนมีบทบาทในด้านนี้มากขึ้น
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)