Wikileaks : ผลกระทบต่อการทูตโลก
ตีพิมพ์ใน สยามรัฐสัปดาหวิจารณ์ ปีที่ 58 ฉบับที่ 12 วันศุกร์ที่ 10 - วันพฤหัสบดีที่ 16 ธันวาคม 2553
ข่าวการรั่วไหลข้อมูลลับของรัฐบาลสหรัฐฯ ผ่านทางเวปไซท์ชื่อ Wikileaks กลายเป็นข่าวใหญ่ไปทั่วโลก คอลัมน์โลกทรรศน์ในวันนี้ จะวิเคราะห์เกี่ยวกับเรื่องดังกล่าว ดังนี้
ภูมิหลังของ Wikileaks
Wikileaks เป็นเวปไซท์ที่มีวัตถุประสงค์ที่จะเผยแพร่ข้อมูลลับจากรัฐบาล โดยเมื่อช่วงเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา Wikileaks เริ่มเป็นที่รู้จักกันหลังจากที่ได้เผยแพร่ไฟล์ข้อมูลลับ 77,000ไฟล์ เกี่ยวกับทหารสหรัฐฯ ในอัฟกานิสถาน และต่อมาในเดือนตุลาคม ได้เผยแพร่เอกสารลับเกี่ยวกับสงครามในอิรัก ถึง 400,000 ไฟล์
และล่าสุด เมื่อช่วงสัปดาห์ที่แล้ว Wikileaks ได้เปิดเผยว่า มีไฟล์ข้อมูลลับอีก 250,000 ไฟล์ ซึ่งเป็นข้อมูลรายงานของสถานทูตสหรัฐฯ ทั่วโลก ตั้งแต่ปี 1966 ถึง ปี 2010 โดยข้อมูลทั้งหมด Wikileaks ได้ส่งต่อให้กับหนังสือพิมพ์ 5 ฉบับ เพื่อลงตีพิมพ์ต่อไป โดยมีหนังสือพิมพ์ New York Times, Guardian, Le Monde, El Pair และ Der Spiegel
สำหรับบุคคลที่ถูกจับตามองว่า น่าจะเป็นคนขโมยข้อมูลลับดังกล่าวคือ ทหารสหรัฐฯ ที่มีชื่อว่า Bradly Manning ซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ข่าวกรอง ในเดือนกรกฎาคม กระทรวงต่างประเทศสหรัฐฯ ได้เปิดเผยว่า Manning สามารถเข้าไปในเครือข่ายอินเทอร์เน็ตของกระทรวงต่างประเทศสหรัฐฯ ที่มีชื่อภาษาอังกฤษว่า Secret Internet Protocol Router Network ซึ่งเป็นระบบเครือข่ายการติดต่อข้อมูลระหว่างรัฐบาลกับสถานทูตทั่วโลก
ข้อมูลลับ
สำหรับข้อมูลลับที่ได้มีการเผยแพร่ออกมาแล้วนั้น มีหลากหลายมาก แต่ที่สำคัญคือ
• อัฟกานิสถาน
ในเอกสารลับได้ระบุว่า สหรัฐฯ มีความเป็นห่วงกังวลถึงความสามารถของประธานาธิบดี Karzai ที่จะบริหารประเทศ โดยได้มีข้อความกล่าวถึง Karzai ว่า “เป็นคนอ่อนแอ paranoid และไม่มีความสามารถในการบริหารประเทศ”
• จีน
จากข้อมูลของ Wikileaks ได้เปิดเผยว่า ในปี 2007 สหรัฐฯ ได้ขอให้จีนยับยั้งการส่งอุปกรณ์ขีปนาวุธจากเกาหลีเหนือไปอิหร่าน โดยเป็นการส่งทางเครื่องบินผ่านจีน แต่จีนกลับไม่สนใจ และต้องการมีความสัมพันธ์ที่ดีกับอิหร่าน นอกจากนี้ ยังได้มีการกล่าวหาว่าจีนได้ hack เข้าไปในเครือข่ายคอมพิวเตอร์ของสหรัฐฯ
• เกาหลีเหนือ
ข้อมูล Wikileaks ได้เปิดเผยว่า จีนไม่พอใจต่อพฤติกรรมของเกาหลีเหนือมากขึ้นเรื่อยๆ และจีนมองว่า ควรมีการรวมชาติในคาบสมุทรเกาหลี โดยเกาหลีใต้น่าจะเป็นผู้ควบคุมคาบสมุทรเกาหลีทั้งหมด นอกจากนี้ เจ้าหน้าที่จีนได้พูดถึงเกาหลีเหนือว่า เหมือนกับเป็นเด็กที่ถูก spoiled หรือเด็กที่ถูกตามใจจนเสียคน และมองว่าเกาหลีเหนือเป็นภัยคุกคามต่อความมั่นคงโลก นอกจากนี้ นักการทูตสหรัฐฯ ยังได้พูดถึง Kim Jong Il ว่าเป็น “flabby old chap” ซึ่งน่าจะแปลว่า “คนแก่ที่อ่อนแอ”
• อิหร่าน
สำหรับข้อมูลสำคัญที่ Wikileaks ได้เปิดเผยออกมาคือ การที่ผู้นำอาหรับหลายประเทศได้เรียกร้องให้สหรัฐฯ โจมตีอิหร่าน เพื่อยุติการพัฒนาอาวุธนิวเคลียร์ โดยรัฐมนตรีกลาโหมของ UAE ได้เปรียบประธานาธิบดีของอิหร่าน Mahmoud Almedinejad ว่า เปรียบเสมือน Hitler
• ปากีสถาน
สำหรับในกรณีปากีสถานได้มีการเปิดเผยข้อมูลว่า นักการทูตสหรัฐกลัวว่า วัตถุดิบนิวเคลียร์ของปากีสถานอาจจะตกไปอยู่ในมือของผู้ก่อการร้าย และตั้งแต่ปี 2007 สหรัฐฯ ได้พยายามที่จะโยกย้ายแร่ธาตุยูเรเนียมในปากีสถาน อย่างไรก็ตาม ได้มีข้อมูลชี้ให้เห็นว่า ปากีสถานพยายามปฏิเสธไม่ให้ทางฝ่ายสหรัฐฯ เข้าถึงเตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์ของตน
• รัสเซีย
Wikileaks ได้เปิดเผยว่า นักการทูตสหรัฐฯ มองว่า รัสเซียเป็นประเทศที่มีการฉ้อฉลและอำนาจอยู่ในมือของ Vladimir Putin โดยโทรเลขฉบับหนึ่ง ได้กล่าวถึงประธานาธิบดี Medvedev ว่า เป็นเหมือน Robin ในขณะที่ Putin เป็น Batman นอกจากนี้ Wikileaks ได้เปิดเผยอีกว่า จริงๆ แล้ว Putin ก็มีความยืดหยุ่น โดยได้มีข้อมูลว่า หลังจากที่รัฐบาลโอบามาได้ยุติระบบการติดตั้งขีปนาวุธในโปแลนด์ และสาธารณรัฐเช็ก ซึ่งรัสเซียได้ต่อต้านมาโดยตลอด โดยหลังจากนั้น รัสเซียได้ตอบแทนการปรับท่าทีของโอบามาด้วยการให้ความร่วมมือกับสหรัฐฯ มากขึ้นในมาตรการคว่ำบาตรอิหร่าน
ปฏิกิริยาจากรัฐบาลสหรัฐฯ
หลังจากที่ได้มีการเปิดเผยข้อมูลลับ ทางรัฐบาลสหรัฐฯ ได้ออกมาตอบโต้อย่างรุนแรง โดยในช่วงสัปดาห์ที่แล้ว Hillary Clinton รัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐฯ ได้ออกมาแถลงข่าว โดยบอกว่า รัฐบาลสหรัฐฯ ขอประณามการเปิดเผยข้อมูลลับอย่างผิดกฎหมาย ซึ่งจะมีผลทำให้ชีวิตคนหลายคนประสบอยู่ในอันตราย โดยเฉพาะคนที่ให้ข้อมูล การกระทำดังกล่าวถือเป็นภัยคุกคามต่อความมั่นคงแห่งชาติ และถือเป็นการบ่อนทำลายความพยายามของสหรัฐฯ ที่จะร่วมมือกับนานาชาติในการแก้ไขปัญหาต่างๆ การเปิดเผยข้อมูลเช่นนี้ ไม่ใช่แต่เป็นการโจมตีสหรัฐฯ เท่านั้น แต่ถือเป็นการโจมตีต่อประชาคมโลกด้วย
Clinton ได้กล่าวว่า รัฐบาลสหรัฐฯ กำลังดำเนินมาตรการต่างๆ เพื่อหาผู้รับผิดชอบในการขโมยข้อมูลลับดังกล่าว และได้ขอให้กระทรวงต่างประเทศและกระทรวงต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ปกป้องข้อมูลอย่างรัดกุม และจะไม่ให้เหตุการณ์อย่างนี้เกิดขึ้นอีก
Clinton ได้กล่าวในตอนท้ายว่า มีความจำเป็นที่จะต้องมีการติดต่อสื่อสารทางการทูต และมีข้อมูลที่ละเอียดอ่อน นักการทูตทุกประเทศต้องมีการพูดคุยกับประชาชน และต้องมีข้อมูลที่เป็นความลับ ซึ่งไม่ใช่แต่เฉพาะในวงการทูตเท่านั้น แต่ในทุกสาขาอาชีพ ไม่ว่าจะเป็น นักกฎหมาย นักข่าว การเงิน การแพทย์ การศึกษา และธุรกิจ ก็ต้องมีการติดต่อกันที่เป็นความลับ โดยตั้งอยู่บนพื้นฐานของความไว้ใจกัน และการปกป้องความลับ แต่หากความลับและความเชื่อถือถูกทำลาย จะเป็นอันตรายอย่างยิ่ง
ผลกระทบ
จากการเปิดเผยข้อมูลลับของ Wikileaks ในครั้งนี้ ได้ส่งผลกระทบต่อการทูตและการเมืองโลก โดยผมจะวิเคราะห์เป็นข้อๆ ดังนี้
• ผมมองว่า โดยรวมแล้ว ข้อมูลที่ Wikileaks เปิดเผยออกมา เป็นข้อมูลที่เราก็รู้อยู่แล้ว เป็นเพียงการตอกย้ำสิ่งที่เราคาดการณ์ไว้เท่านั้น ตัวอย่างเช่น ไม่ใช่เป็นเรื่องแปลกที่นักการทูตสหรัฐฯ จะมองว่า รัฐบาลอัฟกานิสถานอ่อนแอ และไม่ใช่เรื่องแปลกที่ผู้นำอาหรับจะมีความห่วงใยต่อการพัฒนาอาวุธนิวเคลียร์ของอิหร่าน
• อย่างไรก็ตาม มีข้อมูลบางเรื่องที่คงจะส่งผลกระทบและคงจะทำให้สหรัฐฯ ประสบปัญหาในการแสวงหาความร่วมมือกับประเทศต่างๆ มากขึ้น ตัวอย่างเช่นในกรณีของปากีสถาน ข้อมูล Wikileaks ได้เปิดเผยถึงการที่สหรัฐฯ พยายามเข้าไปแทรกแซงในเรื่องนิวเคลียร์ ซึ่งคงจะทำให้ในอนาคต สหรัฐฯ คงจะมีความยากลำบากมากขึ้นในการเจรจากับปากีสถาน เช่นเดียวกับในกรณีเยเมน ที่รัฐบาลเยเมนสนับสนุนให้สหรัฐฯ ให้กำลังทหารโจมตีขบวนการก่อการร้ายในประเทศอย่างลับๆ การเปิดเผยข้อมูลดังกล่าวคงจะทำให้ในอนาคต รัฐบาลเยเมนคงจะถอยห่างจากสหรัฐฯ มากขึ้น
• ส่วนผลกระทบในระยะยาวคือ ในอนาคต รัฐบาลประเทศต่างๆ คงจะระมัดระวังมากขึ้น โดยเฉพาะการเปิดเผยความลับ หรือวิพากษ์วิจารณ์เรื่องต่างๆ ให้กับนักการทูตสหรัฐฯ ฟัง ซึ่งจะทำให้สหรัฐฯ คงจะมีความยากลำบากมากขึ้นในการได้ข้อมูลข่าวกรองต่างๆ
• นอกจากนี้ ในระยะยาว นักการทูตสหรัฐฯ เอง คงจะระมัดระวัง และคงจะไม่กล้าวิพากษ์วิจารณ์อะไรที่เป็นทางการที่จะเกิดการรั่วไหลได้อย่างในกรณี Wikileaks ซึ่งจะทำให้รัฐบาลสหรัฐฯ ขาดข้อมูลสำคัญๆ ผมมองว่า ในกรณี Wikileaks ในครั้งนี้ คงจะเป็นสัญญาณเตือนนักการทูตต่างๆ ทั่วโลก โดยในอนาคต รัฐบาลประเทศต่างๆ คงจะเพิ่มความระมัดระวังเป็นพิเศษในการติดต่อสื่อสารกัน โดยเฉพาะข้อมูลที่เป็นความลับ นอกจากนี้ การแชร์ข้อมูลระหว่างหน่วยงานต่างๆ ในสหรัฐฯ และในรัฐบาลต่างๆ ทั่วโลก คงจะมีความยุ่งยากสลับซับซ้อนมากขึ้น
วันจันทร์ที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2553
NATO กับยุทธศาสตร์ใหม่ : Strategic Concept
NATO กับยุทธศาสตร์ใหม่ : Strategic Concept
ตีพิมพ์ใน สยามรัฐสัปดาหวิจารณ์ ปีที่ 58 ฉบับที่ 11 วันศุกร์ที่ 3 - วันพฤหัสบดีที่ 9 ธันวาคม 2553
เมื่อช่วงสัปดาห์ที่แล้ว ได้มีการประชุมสุดยอดนาโต้ ครั้งล่าสุด ที่กรุงลิสบอน ประเทศโปรตุเกส โดยในการประชุมครั้งนี้ ได้มีการจัดทำเอกสารยุทธศาสตร์ใหม่ของนาโต้ ที่เรียกว่า Strategic Concept คอลัมน์โลกทรรศน์ในวันนี้ จะวิเคราะห์เอกสารดังกล่าว โดยเน้นวิเคราะห์ยุทธศาสตร์ใหม่ของนาโต้ ดังนี้
การประเมินสภาวะแวดล้อมด้านความมั่นคง
ในเอกสาร Strategic Concept ได้วิเคราะห์ประเมินสภาวะแวดล้อมด้านความมั่นคง ดังนี้
• ในปัจจุบัน ภูมิภาคยุโรปมีสันติภาพและภัยคุกคามจากการโจมตีอยู่ในระดับต่ำ อย่างไรก็ตาม ในหลายๆ ภูมิภาคในโลก ยังมีการสะสมเพิ่มกำลังทางทหาร ซึ่งจะมีผลกระทบต่อความมั่นคงของภูมิภาค ทั้งนี้รวมถึงการแพร่ขยายของการพัฒนาขีปนาวุธ ซึ่งถือเป็นภัยคุกคามสำคัญของภูมิภาค
• การแพร่ขยายของอาวุธนิวเคลียร์และอาวุธร้ายแรงอื่นๆ ก็เป็นภัยคุกคามสำคัญ
• การก่อการร้ายเป็นภัยคุกคามต่อความมั่นคงของนาโต้ โดยกลุ่มก่อการร้ายได้แพร่ขยายเข้าสู่ภูมิภาคต่างๆ ที่มีความสำคัญต่อนาโต้ และถ้าหากผู้ก่อการร้ายสามารถมีอาวุธร้ายแรงอยู่ในความครอบครอง จะเป็นอันตรายอย่างยิ่ง
• ความขัดแย้งในภูมิภาคอื่นอาจส่งผลกระทบต่อความมั่นคงของนาโต้ได้ ซึ่งรวมถึงการก่อการร้าย อาชญากรรมข้ามชาติต่างๆ โดยเฉพาะการค้าอาวุธ การค้ายาเสพติด และการค้ามนุษย์
• ภัยคุกคามในอินเตอร์เน็ตเป็นภัยคุกคามในรูปแบบใหม่ โดยการโจมตีเครือข่ายอินเตอร์เน็ตจะส่งผลกระทบต่อความมั่นคงของภูมิภาคได้
• สมาชิกนาโต้บางประเทศ ต้องพึ่งพาแหล่งพลังงานจากต่างประเทศ ซึ่งรวมถึงเครือข่ายการส่งพลังงาน ดังนั้นความมั่นคงทางพลังงานจึงเป็นประเด็นสำคัญ
collective defense
ในเอกสาร Strategic Concept ได้แบ่งภารกิจของนาโต้เป็น 3 ด้าน ด้านที่หนึ่งเรียกว่า collective defense หรือการป้องกันร่วมกัน ด้านที่สองคือ crisis management หรือการจัดการกับวิกฤติการณ์ และด้านที่สามคือ cooperative security หรือความมั่นคงร่วมกัน
สำหรับภารกิจแรกคือ collective defense นั้น นาโต้จะป้องปรามและป้องกันต่อภัยคุกคาม โดยความรับผิดชอบที่สำคัญที่สุดของนาโต้คือ การป้องกันสมาชิกจากการถูกโจมตี โดยยุทธศาสตร์หลักที่จะใช้ คือ การป้องปราม หรือที่ภาษาอังกฤษเรียกว่า deterrence ซึ่งจะเป็นการผสมผสานระหว่างการป้องปรามด้วยอาวุธธรรมดาและการป้องปรามด้วยอาวุธนิวเคลียร์ โดยจะมีการปฏิบัติการร่วมในลักษณะการป้องกันร่วม หรือ collective defense โดยนาโต้จะเน้นการพัฒนาขีดความสามารถในการป้องกันการโจมตีจากขีปนาวุธ การป้องกันภัยคุกคามจากอาวุธร้ายแรง การป้องกันการโจมตีในเครือข่ายอินเตอร์เน็ต พัฒนาขีดความสามารถในการป้องกันการโจมตีจากผู้ก่อการร้าย รวมถึงความสามารถในความมั่นคงด้านพลังงาน โดยการปกป้องโครงสร้างพื้นฐานด้านพลังงานและเครือข่ายด้านพลังงาน
crisis management
ภารกิจที่สองของนาโต้คือ การจัดการวิกฤติการณ์ ความขัดแย้งในภูมิภาคต่างๆ ถือเป็นภัยคุกคามสำคัญ นาโต้จึงมีภารกิจที่จะเข้าไปป้องกันวิกฤติการณ์และความขัดแย้ง จัดการวิกฤติการณ์ และส่งเสริมฟื้นฟู บูรณะหลังความขัดแย้ง นาโต้มีขีดความสามารถในการจัดการความขัดแย้ง โดยมีความสามรถในการส่งกองกำลังทหารเข้าไปในบริเวณที่มีความขัดแย้ง
cooperative security
ภารกิจที่สามของนาโต้คือ การสร้างความมั่นคงร่วมกัน โดยนาโต้จะเน้นความร่วมมือกับประเทศต่างๆ และองค์การระหว่างประเทศ ควบคุมอาวุธและป้องกันการแพร่ขยายของอาวุธ ซึ่งรวมถึงอาวุธธรรมดาและอาวุธที่มีอำนาจการทำลายล้างสูง
สำหรับในกรณีของสมาชิกภาพนั้น นาโต้มีนโยบายที่จะเปิดกว้าง สำหรับประเทศในยุโรปที่มีระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตยที่จะสามารถเข้ามาเป็นสมาชิกในอนาคต นอกจากนี้ นาโต้จะส่งเสริมความเป็นหุ้นส่วนกับประเทศนอกภูมิภาคและองค์การระหว่างประเทศทั่วโลก
นาโต้จะพัฒนาความเป็นหุ้นส่วนกับยูเครนและจอร์เจีย นอกจากนี้ จะส่งเสริมบูรณาการกับประเทศในคาบสมุทรบอลข่าน รวมถึงส่งเสริมความร่วมมือในกรอบ Mediterranean Dialogue ซึ่งจะเปิดกว้างสำหรับประเทศสมาชิก ซึ่งก็คือประเทศรอบทะเลเมดิเตอร์เรเนียน
บทวิเคราะห์
• จากการวิเคราะห์เอกสาร Strategic Concept ซึ่งเป็นเอกสารกำหนดยุทธศาสตร์ใหม่ของนาโต้นั้น จะเห็นได้ว่า นาโต้ก็ยังคงเดินหน้าต่อไปในการที่จะเป็นพันธมิตรทางทหารที่สำคัญที่สุดในโลก
• Global NATO : อย่างไรก็ตาม หากวิเคราะห์เอกสารให้ดี จะเห็นได้ว่า เนื้อหาของเอกสารชี้ให้เห็นว่า นาโต้กำลังถอยหลัง ซึ่งมีหลายเรื่องด้วยกันที่เป็นความล้มเหลว
เรื่องแรกคือ ความล้มเหลวในเรื่อง Global NATO คือ ก่อนหน้าที่จะมีการประชุมสุดยอดคราวนี้ ในช่วงต้นปี ได้มีการผลักดันแนวคิดเรื่อง Global NATO คือ การขยายขอบเขตของนาโต้ให้ครอบคลุมทั่วโลก โดยจะไม่เน้นจัดการความมั่นคงในยุโรปเหมือนในอดีตอีกต่อไป ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา มีแนวโน้มที่บทบาทของนาโต้ได้ขยายออกไปเรื่อยๆ จนขอบข่ายการปฏิบัติการของนาโต้ได้ขยายไปทั่วโลก นาโต้มีกองกำลังทหารในหลายทวีป มีเรือรบของนาโต้จัดการกับปัญหาโจรสลัดในทะเลนอกฝั่งโซมาเลีย นาโต้ได้เข้าไปมีบทบาทในการฝึกทหารของอิรัก และมีกองกำลังนาโต้ในอัฟกานิสถานเกือบ 10,000 คน นอกจากนี้ ยังมีกองกำลังนาโต้ในดาร์ฟูร์ของซูดานด้วย
อย่างไรก็ตาม ความล้มเหลวครั้งยิ่งใหญ่ของนาโต้ เกิดขึ้นในสงครามอัฟกานิสถาน โดยสหรัฐฯ ได้ดึงนาโต้เข้าไปในสงครามอัฟกานิสถาน แต่สงครามกลับยืดเยื้อ สหรัฐฯ ต้องการให้นาโต้เพิ่มกำลังทางทหารเข้าไป แต่หลายประเทศในยุโรปไม่เห็นด้วย จึงเกิดความขัดแย้งระหว่างยุโรปกับสหรัฐฯ และหลายประเทศมีท่าทีอยากจะถอนทหารออกจากอัฟกานิสถาน ดังนั้น ความล้มเหลวครั้งใหญ่ในอัฟกานิสถานของนาโต้ จึงทำให้แนวคิดเรื่อง Global NATO สะดุดหยุดลง หลายประเทศสมาชิกมองว่า นาโต้ควรจะกลับมาสู่ภารกิจเดิมคือ เน้นความมั่นคงในยุโรป จึงเห็นได้ว่า ในเอกสาร Strategic Concept นี้ จึงได้ละทิ้งคำว่า Global NATO และขอบข่ายภารกิจก็จำกัดลง โดยกลับมาเน้นที่ยุโรป สำหรับภูมิภาคอื่น ก็เพียงแต่พูดกว้างๆ ไม่ได้เฉพาะเจาะจง
• สมาชิกใหม่ : ความล้มเหลวของนาโต้อีกประการคือ การขยายจำนวนสมาชิกใหม่ สหรัฐฯ ต้องการให้นาโต้ขยายจำนวนสมาชิกออกไปเรื่อยๆ โดยเฉพาะในประเทศที่เป็นอดีตสหภาพโซเวียต คาบสมุทรบอลข่าน และเทือกเขาคอเคซัส ซึ่งเคยเป็นเขตอิทธิพลเดิมของรัสเซีย สหรัฐฯ และนาโต้ สนับสนุนการประกาศเอกสารของโคโซโว และมีแนวโน้มจะเชิญบอสเนีย มาเซโดเนีย และมอนเตเนโกร เป็นสมาชิก นาโต้ได้ชักชวนยูเครนและจอร์เจียเข้าเป็นสมาชิก ซึ่งทำให้รัสเซียไม่พอใจเป็นอย่างมาก และเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้รัสเซียทำสงครามบุกจอร์เจียในปี 2008 สงครามรัสเซีย-จอร์เจียนี้เอง ที่ทำให้แผนการขยายจำนวนสมาชิกของนาโต้สะดุดหยุดลง ในเอกสาร Strategic Concept ก็ไม่ได้มีข้อความที่จะเอายูเครนและจอร์เจียเข้ามาเป็นสมาชิกอีก ความล้มเหลวของการเอายูเครนและจอร์เจียเข้ามาเป็นสมาชิก ถือเป็นการถดถอยครั้งใหญ่ของนาโต้ ซึ่งจะมีผลต่อประเทศอื่นๆ ที่อยากจะเข้ามาเป็นสมาชิกในอนาคต
• รัสเซีย : ตัวแสดงสำคัญในยุทธศาสตร์ของนาโต้นั้นคือ รัสเซีย จริงๆ แล้วสหรัฐฯ มีวาระซ่อนเร้น ที่จะใช้นาโต้ในการครองความเป็นเจ้า ทั้งในทวีปยุโรป และในระดับโลก วาระซ่อนเร้นของสหรัฐฯ คือใช้นาโต้เพื่อปิดล้อมและลดอิทธิพลของรัสเซีย สำหรับรัสเซียก็เหมือนกับจะรู้ทันสหรัฐฯ โดยมองว่า สหรัฐฯ กำลังดำเนินยุทธศาสตร์ปิดล้อมรัสเซียโดยใช้นาโต้เป็นเครื่องมือ ดังนั้น ความขัดแย้งหลักในยุโรปในอนาคต จะเป็นความขัดแย้งระหว่างนาโต้ ซึ่งมีสหรัฐฯ ชักใยอยู่เบื้องหลัง กับรัสเซีย
ตีพิมพ์ใน สยามรัฐสัปดาหวิจารณ์ ปีที่ 58 ฉบับที่ 11 วันศุกร์ที่ 3 - วันพฤหัสบดีที่ 9 ธันวาคม 2553
เมื่อช่วงสัปดาห์ที่แล้ว ได้มีการประชุมสุดยอดนาโต้ ครั้งล่าสุด ที่กรุงลิสบอน ประเทศโปรตุเกส โดยในการประชุมครั้งนี้ ได้มีการจัดทำเอกสารยุทธศาสตร์ใหม่ของนาโต้ ที่เรียกว่า Strategic Concept คอลัมน์โลกทรรศน์ในวันนี้ จะวิเคราะห์เอกสารดังกล่าว โดยเน้นวิเคราะห์ยุทธศาสตร์ใหม่ของนาโต้ ดังนี้
การประเมินสภาวะแวดล้อมด้านความมั่นคง
ในเอกสาร Strategic Concept ได้วิเคราะห์ประเมินสภาวะแวดล้อมด้านความมั่นคง ดังนี้
• ในปัจจุบัน ภูมิภาคยุโรปมีสันติภาพและภัยคุกคามจากการโจมตีอยู่ในระดับต่ำ อย่างไรก็ตาม ในหลายๆ ภูมิภาคในโลก ยังมีการสะสมเพิ่มกำลังทางทหาร ซึ่งจะมีผลกระทบต่อความมั่นคงของภูมิภาค ทั้งนี้รวมถึงการแพร่ขยายของการพัฒนาขีปนาวุธ ซึ่งถือเป็นภัยคุกคามสำคัญของภูมิภาค
• การแพร่ขยายของอาวุธนิวเคลียร์และอาวุธร้ายแรงอื่นๆ ก็เป็นภัยคุกคามสำคัญ
• การก่อการร้ายเป็นภัยคุกคามต่อความมั่นคงของนาโต้ โดยกลุ่มก่อการร้ายได้แพร่ขยายเข้าสู่ภูมิภาคต่างๆ ที่มีความสำคัญต่อนาโต้ และถ้าหากผู้ก่อการร้ายสามารถมีอาวุธร้ายแรงอยู่ในความครอบครอง จะเป็นอันตรายอย่างยิ่ง
• ความขัดแย้งในภูมิภาคอื่นอาจส่งผลกระทบต่อความมั่นคงของนาโต้ได้ ซึ่งรวมถึงการก่อการร้าย อาชญากรรมข้ามชาติต่างๆ โดยเฉพาะการค้าอาวุธ การค้ายาเสพติด และการค้ามนุษย์
• ภัยคุกคามในอินเตอร์เน็ตเป็นภัยคุกคามในรูปแบบใหม่ โดยการโจมตีเครือข่ายอินเตอร์เน็ตจะส่งผลกระทบต่อความมั่นคงของภูมิภาคได้
• สมาชิกนาโต้บางประเทศ ต้องพึ่งพาแหล่งพลังงานจากต่างประเทศ ซึ่งรวมถึงเครือข่ายการส่งพลังงาน ดังนั้นความมั่นคงทางพลังงานจึงเป็นประเด็นสำคัญ
collective defense
ในเอกสาร Strategic Concept ได้แบ่งภารกิจของนาโต้เป็น 3 ด้าน ด้านที่หนึ่งเรียกว่า collective defense หรือการป้องกันร่วมกัน ด้านที่สองคือ crisis management หรือการจัดการกับวิกฤติการณ์ และด้านที่สามคือ cooperative security หรือความมั่นคงร่วมกัน
สำหรับภารกิจแรกคือ collective defense นั้น นาโต้จะป้องปรามและป้องกันต่อภัยคุกคาม โดยความรับผิดชอบที่สำคัญที่สุดของนาโต้คือ การป้องกันสมาชิกจากการถูกโจมตี โดยยุทธศาสตร์หลักที่จะใช้ คือ การป้องปราม หรือที่ภาษาอังกฤษเรียกว่า deterrence ซึ่งจะเป็นการผสมผสานระหว่างการป้องปรามด้วยอาวุธธรรมดาและการป้องปรามด้วยอาวุธนิวเคลียร์ โดยจะมีการปฏิบัติการร่วมในลักษณะการป้องกันร่วม หรือ collective defense โดยนาโต้จะเน้นการพัฒนาขีดความสามารถในการป้องกันการโจมตีจากขีปนาวุธ การป้องกันภัยคุกคามจากอาวุธร้ายแรง การป้องกันการโจมตีในเครือข่ายอินเตอร์เน็ต พัฒนาขีดความสามารถในการป้องกันการโจมตีจากผู้ก่อการร้าย รวมถึงความสามารถในความมั่นคงด้านพลังงาน โดยการปกป้องโครงสร้างพื้นฐานด้านพลังงานและเครือข่ายด้านพลังงาน
crisis management
ภารกิจที่สองของนาโต้คือ การจัดการวิกฤติการณ์ ความขัดแย้งในภูมิภาคต่างๆ ถือเป็นภัยคุกคามสำคัญ นาโต้จึงมีภารกิจที่จะเข้าไปป้องกันวิกฤติการณ์และความขัดแย้ง จัดการวิกฤติการณ์ และส่งเสริมฟื้นฟู บูรณะหลังความขัดแย้ง นาโต้มีขีดความสามารถในการจัดการความขัดแย้ง โดยมีความสามรถในการส่งกองกำลังทหารเข้าไปในบริเวณที่มีความขัดแย้ง
cooperative security
ภารกิจที่สามของนาโต้คือ การสร้างความมั่นคงร่วมกัน โดยนาโต้จะเน้นความร่วมมือกับประเทศต่างๆ และองค์การระหว่างประเทศ ควบคุมอาวุธและป้องกันการแพร่ขยายของอาวุธ ซึ่งรวมถึงอาวุธธรรมดาและอาวุธที่มีอำนาจการทำลายล้างสูง
สำหรับในกรณีของสมาชิกภาพนั้น นาโต้มีนโยบายที่จะเปิดกว้าง สำหรับประเทศในยุโรปที่มีระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตยที่จะสามารถเข้ามาเป็นสมาชิกในอนาคต นอกจากนี้ นาโต้จะส่งเสริมความเป็นหุ้นส่วนกับประเทศนอกภูมิภาคและองค์การระหว่างประเทศทั่วโลก
นาโต้จะพัฒนาความเป็นหุ้นส่วนกับยูเครนและจอร์เจีย นอกจากนี้ จะส่งเสริมบูรณาการกับประเทศในคาบสมุทรบอลข่าน รวมถึงส่งเสริมความร่วมมือในกรอบ Mediterranean Dialogue ซึ่งจะเปิดกว้างสำหรับประเทศสมาชิก ซึ่งก็คือประเทศรอบทะเลเมดิเตอร์เรเนียน
บทวิเคราะห์
• จากการวิเคราะห์เอกสาร Strategic Concept ซึ่งเป็นเอกสารกำหนดยุทธศาสตร์ใหม่ของนาโต้นั้น จะเห็นได้ว่า นาโต้ก็ยังคงเดินหน้าต่อไปในการที่จะเป็นพันธมิตรทางทหารที่สำคัญที่สุดในโลก
• Global NATO : อย่างไรก็ตาม หากวิเคราะห์เอกสารให้ดี จะเห็นได้ว่า เนื้อหาของเอกสารชี้ให้เห็นว่า นาโต้กำลังถอยหลัง ซึ่งมีหลายเรื่องด้วยกันที่เป็นความล้มเหลว
เรื่องแรกคือ ความล้มเหลวในเรื่อง Global NATO คือ ก่อนหน้าที่จะมีการประชุมสุดยอดคราวนี้ ในช่วงต้นปี ได้มีการผลักดันแนวคิดเรื่อง Global NATO คือ การขยายขอบเขตของนาโต้ให้ครอบคลุมทั่วโลก โดยจะไม่เน้นจัดการความมั่นคงในยุโรปเหมือนในอดีตอีกต่อไป ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา มีแนวโน้มที่บทบาทของนาโต้ได้ขยายออกไปเรื่อยๆ จนขอบข่ายการปฏิบัติการของนาโต้ได้ขยายไปทั่วโลก นาโต้มีกองกำลังทหารในหลายทวีป มีเรือรบของนาโต้จัดการกับปัญหาโจรสลัดในทะเลนอกฝั่งโซมาเลีย นาโต้ได้เข้าไปมีบทบาทในการฝึกทหารของอิรัก และมีกองกำลังนาโต้ในอัฟกานิสถานเกือบ 10,000 คน นอกจากนี้ ยังมีกองกำลังนาโต้ในดาร์ฟูร์ของซูดานด้วย
อย่างไรก็ตาม ความล้มเหลวครั้งยิ่งใหญ่ของนาโต้ เกิดขึ้นในสงครามอัฟกานิสถาน โดยสหรัฐฯ ได้ดึงนาโต้เข้าไปในสงครามอัฟกานิสถาน แต่สงครามกลับยืดเยื้อ สหรัฐฯ ต้องการให้นาโต้เพิ่มกำลังทางทหารเข้าไป แต่หลายประเทศในยุโรปไม่เห็นด้วย จึงเกิดความขัดแย้งระหว่างยุโรปกับสหรัฐฯ และหลายประเทศมีท่าทีอยากจะถอนทหารออกจากอัฟกานิสถาน ดังนั้น ความล้มเหลวครั้งใหญ่ในอัฟกานิสถานของนาโต้ จึงทำให้แนวคิดเรื่อง Global NATO สะดุดหยุดลง หลายประเทศสมาชิกมองว่า นาโต้ควรจะกลับมาสู่ภารกิจเดิมคือ เน้นความมั่นคงในยุโรป จึงเห็นได้ว่า ในเอกสาร Strategic Concept นี้ จึงได้ละทิ้งคำว่า Global NATO และขอบข่ายภารกิจก็จำกัดลง โดยกลับมาเน้นที่ยุโรป สำหรับภูมิภาคอื่น ก็เพียงแต่พูดกว้างๆ ไม่ได้เฉพาะเจาะจง
• สมาชิกใหม่ : ความล้มเหลวของนาโต้อีกประการคือ การขยายจำนวนสมาชิกใหม่ สหรัฐฯ ต้องการให้นาโต้ขยายจำนวนสมาชิกออกไปเรื่อยๆ โดยเฉพาะในประเทศที่เป็นอดีตสหภาพโซเวียต คาบสมุทรบอลข่าน และเทือกเขาคอเคซัส ซึ่งเคยเป็นเขตอิทธิพลเดิมของรัสเซีย สหรัฐฯ และนาโต้ สนับสนุนการประกาศเอกสารของโคโซโว และมีแนวโน้มจะเชิญบอสเนีย มาเซโดเนีย และมอนเตเนโกร เป็นสมาชิก นาโต้ได้ชักชวนยูเครนและจอร์เจียเข้าเป็นสมาชิก ซึ่งทำให้รัสเซียไม่พอใจเป็นอย่างมาก และเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้รัสเซียทำสงครามบุกจอร์เจียในปี 2008 สงครามรัสเซีย-จอร์เจียนี้เอง ที่ทำให้แผนการขยายจำนวนสมาชิกของนาโต้สะดุดหยุดลง ในเอกสาร Strategic Concept ก็ไม่ได้มีข้อความที่จะเอายูเครนและจอร์เจียเข้ามาเป็นสมาชิกอีก ความล้มเหลวของการเอายูเครนและจอร์เจียเข้ามาเป็นสมาชิก ถือเป็นการถดถอยครั้งใหญ่ของนาโต้ ซึ่งจะมีผลต่อประเทศอื่นๆ ที่อยากจะเข้ามาเป็นสมาชิกในอนาคต
• รัสเซีย : ตัวแสดงสำคัญในยุทธศาสตร์ของนาโต้นั้นคือ รัสเซีย จริงๆ แล้วสหรัฐฯ มีวาระซ่อนเร้น ที่จะใช้นาโต้ในการครองความเป็นเจ้า ทั้งในทวีปยุโรป และในระดับโลก วาระซ่อนเร้นของสหรัฐฯ คือใช้นาโต้เพื่อปิดล้อมและลดอิทธิพลของรัสเซีย สำหรับรัสเซียก็เหมือนกับจะรู้ทันสหรัฐฯ โดยมองว่า สหรัฐฯ กำลังดำเนินยุทธศาสตร์ปิดล้อมรัสเซียโดยใช้นาโต้เป็นเครื่องมือ ดังนั้น ความขัดแย้งหลักในยุโรปในอนาคต จะเป็นความขัดแย้งระหว่างนาโต้ ซึ่งมีสหรัฐฯ ชักใยอยู่เบื้องหลัง กับรัสเซีย
ความล้มเหลวของการประชุมสุดยอด G20 ที่เกาหลี
ความล้มเหลวของการประชุมสุดยอด G20 ที่เกาหลี
ตีพิมพ์ใน สยามรัฐสัปดาหวิจารณ์ ปีที่ 58 ฉบับที่ 9 วันศุกร์ที่ 19 - วันพฤหัสบดีที่ 25 พฤศจิกายน 2553
เมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายนที่ผ่านมา ได้มีการประชุมสุดยอด G20 ครั้งล่าสุด ที่กรุงโซล เกาหลีใต้ อย่างไรก็ตาม การประชุมครั้งนี้ ประสบความล้มเหลว คอลัมน์โลกทรรศน์ในวันนี้ จะวิเคราะห์ความล้มเหลวของการประชุมครั้งนี้ ดังนี้
ระบบอัตราแลกเปลี่ยน
ก่อนหน้าการประชุม ได้มีความขัดแย้งกันอย่างหนัก ถึงขั้นเรียกได้ว่า สงครามค่าเงิน โดยประเด็นหลักคือ การที่สหรัฐฯ กดดันให้จีนเพิ่มค่าเงินหยวน โดยสหรัฐฯ มองว่า สาเหตุหลักที่ทำให้เศรษฐกิจสหรัฐฯ ตกต่ำ และทำให้ขาดดุลการค้ากับจีนมหาศาลคือ การที่ค่าเงินหยวนของจีนมีค่าต่ำกว่าความเป็นจริง สหรัฐฯ ประเมินว่า ค่าเงินหยวนต่ำกว่าความเป็นจริง 40% ทำให้สินค้าส่งออกของจีนมีราคาถูก ซึ่งเป็นสาเหตุทำให้คนงานอเมริกันตกงาน นำไปสู่อัตราการว่างงานในสหรัฐฯ เกือบ 10% นอกจากนี้ สหรัฐฯ ยังมองว่า ค่าเงินหยวนของจีนที่ต่ำกว่าความเป็นจริง ทำให้สหรัฐฯ ขาดดุลการค้ากับจีนมหาศาล เกือบ 300,000 ล้านเหรียญ
ก่อนหน้าการประชุม มีการคาดการณ์กันว่า สหรัฐฯ คงจะ lobby ประเทศสมาชิก G20 ให้ร่วมกันกดดันให้จีนยอมเพิ่มค่าเงินหยวน แต่ผลการประชุมที่ออกมา ก็ไม่ประสบความสำเร็จ โดยในเอกสารผลการประชุมที่เรียกว่า Seoul Action Plan นั้น ได้แค่ระบุกว้างๆ ว่า ที่ประชุมเห็นว่าควรจะมีระบบอัตราแลกเปลี่ยนที่เป็นไปตามกลไกตลาด และส่งเสริมความยืดหยุ่นของระบบอัตราแลกเปลี่ยนที่สะท้อนหลักการพื้นฐานทางเศรษฐกิจ และเห็นว่า ประเทศต่างๆ ควรหลีกเลี่ยงการแข่งขันกันลดค่าเงิน โดยประเทศที่พัฒนาแล้วที่มีเงินทุนสำรองอยู่ ควรหลีกเลี่ยงมาตรการที่จะส่งผลกระทบ นำไปสู่การไหลทะลักของเงินทุนเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจของประเทศเศรษฐกิจเกิดใหม่
ดังนั้น สหรัฐฯ จึงล้มเหลวในการ lobby ประเทศอื่นให้กดดันจีน แต่กลับกลายเป็นว่า สถานการณ์ในการประชุมกลับตาลปัตร เพราะกลายเป็นว่า แทนที่จีนจะถูกโจมตี กลับกลายเป็นว่า สหรัฐฯ ถูกโจมตีแทน ทั้งนี้เพราะธนาคารกลางสหรัฐฯ ประกาศจะปั๊มเงินเหรียญสหรัฐฯ ออกมา 600,000 ล้านเหรียญ ซึ่งหลายประเทศมองว่า สหรัฐฯ กลับกลายเป็นประเทศที่แทรกแซงค่าเงินเสียเอง หรือที่ภาษาอังกฤษเรียกว่า currency manipulator
ก่อนหน้านี้ สหรัฐฯ ได้กล่าวหาจีนในเรื่องนี้ แต่กลับกลายเป็นสหรัฐฯ ถูกประเทศอื่นๆ กล่าวหาเสียเอง หลายประเทศมองว่า มาตรการของธนาคารกลางสหรัฐฯ ครั้งนี้ จะมีผลเสียอย่างมาก โดยเงินเหรียญสหรัฐฯ จะไหลทะลักเข้าสู่ประเทศเศรษฐกิจเกิดใหม่ ซึ่งจะทำให้ค่าเงินเหรียญของสหรัฐฯ ลดลง แต่ก็จะทำให้เกิดปัญหาในระบบการเงินโลก โดยเฉพาะในประเทศกำลังพัฒนา
เมื่อ 2 -3 เดือนก่อน หลายประเทศ อาทิ บราซิล เยอรมณี ได้วิพากษ์วิจารณ์นโยบายการเงินของจีน แต่ขณะนี้ ประเทศเหล่านี้ได้หันมาโจมตีสหรัฐฯ แทน สิ่งที่ประเทศเหล่านี้กลัวคือ เงินเหรียญสหรัฐฯ 600,000 ล้านเหรียญ ที่จะไหลทะลักเข้าสู่ตลาดเกิดใหม่ จะทำให้ค่าเงินของประเทศเหล่านี้สูงขึ้น รวมทั้งราคาหุ้นและอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งจะนำไปสู่ภาวะเศรษฐกิจฟองสบู่ และในที่สุด อาจจะเกิดภาวะฟองสบู่แตก เหมือนที่เคยเกิดขึ้นในปี 1997 ที่เรียกว่า วิกฤติต้มยำกุ้ง มาแล้ว
รัฐมนตรีคลังของเยอรมณี โจมตีสหรัฐฯ อย่างรุนแรงในเรื่องนี้ โดยได้กล่าวว่า ในขณะที่สหรัฐฯ กล่าวหาจีนว่า แทรกแซงอัตราแลกเปลี่ยน แต่ขณะนี้ สหรัฐฯ กลับทำเรื่องนี้เสียเอง
ดุลบัญชีเดินสะพัด
อีกเรื่องที่ล้มเหลวในการประชุม G20 ในครั้งนี้ คือ ข้อเสนอของสหรัฐฯ ที่จะให้มีการแก้ไขปัญหาความไม่สมดุลในระบบเศรษฐกิจโลก ซึ่งมุ่งเป้าไปที่จีน ที่มีดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุลอยู่มาก ในขณะที่ สหรัฐฯ ก็ขาดดุลบัญชีเดินสะพัดมหาศาล ข้อเสนอของสหรัฐฯ ในการประชุม G20 คือ จะให้มีการกำหนดเพดานมูลค่าดุลบัญชีเดินสะพัดไม่เกิน 4% ของ GDP โดยประเมินว่าขณะนี้จีนเกินดุลบัญชีเดินสะพัดอยู่กว่า 10% ของ GDP
อย่างไรก็ตาม ข้อเสนอของสหรัฐฯ ได้รับการต่อต้านจากหลายประเทศ และผลการประชุม G20 ในครั้งนี้ ก็ออกมา คือ ไม่ยอมรับข้อเสนอของสหรัฐฯ แต่ก็มีการประนีประนอม โดยใน Seoul Action Plan ได้กล่าวว่า ที่ประชุม G20 จะให้มีความร่วมมือกันมากขึ้น เพื่อลดภาวะความไม่สมดุลในระบบเศรษฐกิจโลก โดยเฉพาะเรื่องความไม่สมดุลในดุลบัญชีเดนสะพัด โดยจะให้มีการจัดทำดัชนีชี้วัด หรือที่ภาษาอังกฤษเรียกว่า indicative guideline ซึ่งจะประกอบด้วยดัชนีชี้วัดหลายตัวที่จะเป็นกลไกระบุถึงระดับความไม่สมดุล ซึ่งจะต้องมีการป้องกันและแก้ไข
ปัจจัยแห่งความล้มเหลว
จะเห็นได้ว่า การประชุม G20 ในครั้งนี้ ประสบความล้มเหลว เพราะไม่ได้มีข้อตกลงอะไรที่เป็นรูปธรรม สาเหตุของความล้มเหลวก็มาจากปัจจัยต่างๆ ดังนี้
• ปัจจัยประการแรกคือ ความแตกแยกที่เกิดขึ้นใน G20 จะเห็นได้ว่า การประชุมสุดยอด G20 เกิดขึ้นเพราะวิกฤติแฮมเบอร์เกอร์ ซึ่งนำไปสู่วิกฤติการเงินโลก ในช่วงปี 2008-2009 ในขณะนั้น สหรัฐฯ จำเป็นต้องดึงเอาประเทศเศรษฐกิจเกิดใหม่ เช่น จีน อินเดีย บราซิล เข้ามาร่วมแก้ปัญหาวิกฤติการเงินโลก ในตอนนั้น ทุกประเทศสามารถร่วมมือกันได้เป็นอย่างดี เพราะมีปัญหาร่วมกันคือ วิกฤติการเงินโลก อย่างไรก็ตาม มาถึงปี 2010 เศรษฐกิจโลกได้ฟื้นตัวแล้ว ความเป็นเอกภาพและความร่วมมือใน G20 จึงหมดไป แต่ละประเทศก็มองถึงปัญหาและผลประโยชน์ต่างกัน จึงนำไปสู่ความแตกแยก ความขัดแย้ง และไม่สามารถตกลงอะไรกันได้ ซึ่งความแตกแยกใน G20 จะเป็นแนวโน้มที่เกิดขึ้นในอนาคต ที่จะยิ่งแตกแยกและขัดแย้งกันมากขึ้นเรื่อยๆ
• ปัจจัยที่สองคือ บทบาทของสหรัฐฯ ในการเป็นผู้นำเศรษฐกิจโลก ได้ตกต่ำลงอย่างมาก การตัดสินใจของธนาคารกลางสหรัฐฯ ที่จะปั๊มเงินเหรียญสหรัฐฯ ออกมา 600,000 ล้านเหรียญนั้น ได้รับการวิพากษ์วิจารณ์อย่างกว้างขวาง ทำให้สถานะของสหรัฐฯ เปลี่ยนจาก “พระเอก” กลายเป็น “ผู้ร้าย” โดยสหรัฐฯ ถูกกล่าวหาว่าเป็น currency manipulator เสียเอง
• ปัจจัยอีกประการคือ การเมืองภายใน โดยเฉพาะการเมืองภายในสหรัฐฯ ซึ่งสร้างข้อจำกัดต่อการผลักดัน G20 ไปข้างหน้า โดยเฉพาะโอบามามาเข้าร่วมการประชุม G20 หลังจากพรรคเดโมแครทพ่ายแพ้การเลือกตั้งกลางเทอม ทำให้การเป็นผู้นำโลกตกต่ำลง ความพ่ายแพ้ของพรรคเดโมแครททำให้โอบามาไม่กล้าที่จะเสนอหรือผลักดันข้อเสนออะไรที่อาจจะส่งผลในทางลบต่อพรรคเดโมแครท ดังนั้น บทบาทของสหรัฐฯ จึงกลายเป็นบทบาทอนุรักษ์นิยม ซึ่งผิดกับบทบาทของโอบามาในช่วงปีแรก ที่มีนโยบายในเชิงรุก และมีข้อเสนอใหม่ๆ ใน G20 หลายเรื่อง
• อีกปัจจัยหนึ่งคือ แนวโน้มที่อำนาจของสหรัฐฯ ได้ตกต่ำลงในระบบเศรษฐกิจโลก ทำให้สหรัฐฯ ไม่สามารถบีบบังคับและกำหนดทิศทางของผลการประชุมอย่างที่สหรัฐฯ เคยทำได้ในอดีต เห็นได้ชัดว่า ข้อเสนอของสหรัฐฯ 2 เรื่องใหญ่คือ เรื่องค่าเงินหยวน และเรื่องดุลบัญชีเดินสะพัดได้รับการต่อต้าน และในที่สุดก็ประสบความล้มเหลว
ผลกระทบและแนวโน้ม
จากความล้มเหลวของการประชุม G20 ในครั้งนี้ จะทำให้ระบบเศรษฐกิจโลกประสบกับปัญหาหนักมากขึ้นในอนาคต โดยเฉพาะอย่างยิ่ง มีแนวโน้มว่า จากความล้มเหลวของการประชุมในครั้งนี้ ทำให้หลายประเทศทบทวนนโยบายเศรษฐกิจของตนใหม่ และมีแนวโน้มว่า ยุคสมัยของลัทธิปกป้องทางการค้า กำลังจะเกิดขึ้น ความขัดแย้งทางการค้าคงจะมีมากขึ้นในอนาคต รวมทั้งสงครามค่าเงินก็คงจะรุนแรงมากขึ้น ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจโลกโดยรวม
ความล้มเหลวของ G20 ที่จะมีมาตรการในการป้องกันการไหลทะลักของเงินทุนเข้าสู่ประเทศกำลังพัฒนานั้น คงจะทำให้ประเทศเศรษฐกิจเกิดใหม่มีมาตรการในการควบคุมเงินทุน หรือ capital control มากขึ้นในอนาคต ซึ่งจะเป็นการสวนกระแสการค้าเสรีและกลไกตลาดมากขึ้น
สำหรับในสหรัฐฯ เอง สภาคองเกรสก็ได้ผ่านร่างกฎหมายที่จะขึ้นภาษีสำหรับสินค้าจีน เพื่อเป็นการลงโทษจีนในเรื่องค่าเงินหยวน ซึ่งจะทำให้แนวโน้มความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจ ระหว่างสหรัฐฯ กับจีน เลวร้ายลง
แนวโน้มมาตรการปกป้องทางการค้า สำหรับหลายๆ ประเทศคงจะเพิ่มขึ้น ทั้งในเรื่องการตั้งกำแพงภาษี การอุดหนุนการส่งออก รวมถึงมาตรการกีดกันทางการค้าที่มิใช่ภาษีในอีกหลายรูปแบบ
สำหรับเรื่องสุดท้ายที่ผมอยากจะวิเคราะห์คือ บทบาทของ G20 ซึ่งผมมองว่า กำลังมีปัญหา เห็นได้ชัดว่า บทบาทของ G20 กำลังลดลง ปีที่แล้วในการประชุม G20 ที่พิตส์เบิร์ก ตอนนั้นก็ประโคมข่าวกัน และตื่นเต้นกันมากว่า จะเป็นศักราชใหม่ จะเป็นระเบียบเศรษฐกิจโลกใหม่ ที่ G20 จะเป็นกลไกที่จะมาแทน G8 แต่ในปีนี้ เราได้เริ่มเห็นแล้วว่า บาบาทของ G8 ไม่ได้ลดลง แต่กลับเพิ่มขึ้น ในขณะที่บทบาทของ G20 ลดลงเรื่อยๆ ในขณะที่ G8 มีการหารือกันทุกเรื่อง แต่ G20 ถูกลดบทบาทให้เหลือหารือกันเฉพาะเรื่องทางการเงินเท่านั้น และในการประชุมครั้งล่าสุด ก็ตกลงอะไรกันไม่ได้อีก แม้กระทั่งในเรื่องทางการเงิน
ตีพิมพ์ใน สยามรัฐสัปดาหวิจารณ์ ปีที่ 58 ฉบับที่ 9 วันศุกร์ที่ 19 - วันพฤหัสบดีที่ 25 พฤศจิกายน 2553
เมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายนที่ผ่านมา ได้มีการประชุมสุดยอด G20 ครั้งล่าสุด ที่กรุงโซล เกาหลีใต้ อย่างไรก็ตาม การประชุมครั้งนี้ ประสบความล้มเหลว คอลัมน์โลกทรรศน์ในวันนี้ จะวิเคราะห์ความล้มเหลวของการประชุมครั้งนี้ ดังนี้
ระบบอัตราแลกเปลี่ยน
ก่อนหน้าการประชุม ได้มีความขัดแย้งกันอย่างหนัก ถึงขั้นเรียกได้ว่า สงครามค่าเงิน โดยประเด็นหลักคือ การที่สหรัฐฯ กดดันให้จีนเพิ่มค่าเงินหยวน โดยสหรัฐฯ มองว่า สาเหตุหลักที่ทำให้เศรษฐกิจสหรัฐฯ ตกต่ำ และทำให้ขาดดุลการค้ากับจีนมหาศาลคือ การที่ค่าเงินหยวนของจีนมีค่าต่ำกว่าความเป็นจริง สหรัฐฯ ประเมินว่า ค่าเงินหยวนต่ำกว่าความเป็นจริง 40% ทำให้สินค้าส่งออกของจีนมีราคาถูก ซึ่งเป็นสาเหตุทำให้คนงานอเมริกันตกงาน นำไปสู่อัตราการว่างงานในสหรัฐฯ เกือบ 10% นอกจากนี้ สหรัฐฯ ยังมองว่า ค่าเงินหยวนของจีนที่ต่ำกว่าความเป็นจริง ทำให้สหรัฐฯ ขาดดุลการค้ากับจีนมหาศาล เกือบ 300,000 ล้านเหรียญ
ก่อนหน้าการประชุม มีการคาดการณ์กันว่า สหรัฐฯ คงจะ lobby ประเทศสมาชิก G20 ให้ร่วมกันกดดันให้จีนยอมเพิ่มค่าเงินหยวน แต่ผลการประชุมที่ออกมา ก็ไม่ประสบความสำเร็จ โดยในเอกสารผลการประชุมที่เรียกว่า Seoul Action Plan นั้น ได้แค่ระบุกว้างๆ ว่า ที่ประชุมเห็นว่าควรจะมีระบบอัตราแลกเปลี่ยนที่เป็นไปตามกลไกตลาด และส่งเสริมความยืดหยุ่นของระบบอัตราแลกเปลี่ยนที่สะท้อนหลักการพื้นฐานทางเศรษฐกิจ และเห็นว่า ประเทศต่างๆ ควรหลีกเลี่ยงการแข่งขันกันลดค่าเงิน โดยประเทศที่พัฒนาแล้วที่มีเงินทุนสำรองอยู่ ควรหลีกเลี่ยงมาตรการที่จะส่งผลกระทบ นำไปสู่การไหลทะลักของเงินทุนเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจของประเทศเศรษฐกิจเกิดใหม่
ดังนั้น สหรัฐฯ จึงล้มเหลวในการ lobby ประเทศอื่นให้กดดันจีน แต่กลับกลายเป็นว่า สถานการณ์ในการประชุมกลับตาลปัตร เพราะกลายเป็นว่า แทนที่จีนจะถูกโจมตี กลับกลายเป็นว่า สหรัฐฯ ถูกโจมตีแทน ทั้งนี้เพราะธนาคารกลางสหรัฐฯ ประกาศจะปั๊มเงินเหรียญสหรัฐฯ ออกมา 600,000 ล้านเหรียญ ซึ่งหลายประเทศมองว่า สหรัฐฯ กลับกลายเป็นประเทศที่แทรกแซงค่าเงินเสียเอง หรือที่ภาษาอังกฤษเรียกว่า currency manipulator
ก่อนหน้านี้ สหรัฐฯ ได้กล่าวหาจีนในเรื่องนี้ แต่กลับกลายเป็นสหรัฐฯ ถูกประเทศอื่นๆ กล่าวหาเสียเอง หลายประเทศมองว่า มาตรการของธนาคารกลางสหรัฐฯ ครั้งนี้ จะมีผลเสียอย่างมาก โดยเงินเหรียญสหรัฐฯ จะไหลทะลักเข้าสู่ประเทศเศรษฐกิจเกิดใหม่ ซึ่งจะทำให้ค่าเงินเหรียญของสหรัฐฯ ลดลง แต่ก็จะทำให้เกิดปัญหาในระบบการเงินโลก โดยเฉพาะในประเทศกำลังพัฒนา
เมื่อ 2 -3 เดือนก่อน หลายประเทศ อาทิ บราซิล เยอรมณี ได้วิพากษ์วิจารณ์นโยบายการเงินของจีน แต่ขณะนี้ ประเทศเหล่านี้ได้หันมาโจมตีสหรัฐฯ แทน สิ่งที่ประเทศเหล่านี้กลัวคือ เงินเหรียญสหรัฐฯ 600,000 ล้านเหรียญ ที่จะไหลทะลักเข้าสู่ตลาดเกิดใหม่ จะทำให้ค่าเงินของประเทศเหล่านี้สูงขึ้น รวมทั้งราคาหุ้นและอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งจะนำไปสู่ภาวะเศรษฐกิจฟองสบู่ และในที่สุด อาจจะเกิดภาวะฟองสบู่แตก เหมือนที่เคยเกิดขึ้นในปี 1997 ที่เรียกว่า วิกฤติต้มยำกุ้ง มาแล้ว
รัฐมนตรีคลังของเยอรมณี โจมตีสหรัฐฯ อย่างรุนแรงในเรื่องนี้ โดยได้กล่าวว่า ในขณะที่สหรัฐฯ กล่าวหาจีนว่า แทรกแซงอัตราแลกเปลี่ยน แต่ขณะนี้ สหรัฐฯ กลับทำเรื่องนี้เสียเอง
ดุลบัญชีเดินสะพัด
อีกเรื่องที่ล้มเหลวในการประชุม G20 ในครั้งนี้ คือ ข้อเสนอของสหรัฐฯ ที่จะให้มีการแก้ไขปัญหาความไม่สมดุลในระบบเศรษฐกิจโลก ซึ่งมุ่งเป้าไปที่จีน ที่มีดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุลอยู่มาก ในขณะที่ สหรัฐฯ ก็ขาดดุลบัญชีเดินสะพัดมหาศาล ข้อเสนอของสหรัฐฯ ในการประชุม G20 คือ จะให้มีการกำหนดเพดานมูลค่าดุลบัญชีเดินสะพัดไม่เกิน 4% ของ GDP โดยประเมินว่าขณะนี้จีนเกินดุลบัญชีเดินสะพัดอยู่กว่า 10% ของ GDP
อย่างไรก็ตาม ข้อเสนอของสหรัฐฯ ได้รับการต่อต้านจากหลายประเทศ และผลการประชุม G20 ในครั้งนี้ ก็ออกมา คือ ไม่ยอมรับข้อเสนอของสหรัฐฯ แต่ก็มีการประนีประนอม โดยใน Seoul Action Plan ได้กล่าวว่า ที่ประชุม G20 จะให้มีความร่วมมือกันมากขึ้น เพื่อลดภาวะความไม่สมดุลในระบบเศรษฐกิจโลก โดยเฉพาะเรื่องความไม่สมดุลในดุลบัญชีเดนสะพัด โดยจะให้มีการจัดทำดัชนีชี้วัด หรือที่ภาษาอังกฤษเรียกว่า indicative guideline ซึ่งจะประกอบด้วยดัชนีชี้วัดหลายตัวที่จะเป็นกลไกระบุถึงระดับความไม่สมดุล ซึ่งจะต้องมีการป้องกันและแก้ไข
ปัจจัยแห่งความล้มเหลว
จะเห็นได้ว่า การประชุม G20 ในครั้งนี้ ประสบความล้มเหลว เพราะไม่ได้มีข้อตกลงอะไรที่เป็นรูปธรรม สาเหตุของความล้มเหลวก็มาจากปัจจัยต่างๆ ดังนี้
• ปัจจัยประการแรกคือ ความแตกแยกที่เกิดขึ้นใน G20 จะเห็นได้ว่า การประชุมสุดยอด G20 เกิดขึ้นเพราะวิกฤติแฮมเบอร์เกอร์ ซึ่งนำไปสู่วิกฤติการเงินโลก ในช่วงปี 2008-2009 ในขณะนั้น สหรัฐฯ จำเป็นต้องดึงเอาประเทศเศรษฐกิจเกิดใหม่ เช่น จีน อินเดีย บราซิล เข้ามาร่วมแก้ปัญหาวิกฤติการเงินโลก ในตอนนั้น ทุกประเทศสามารถร่วมมือกันได้เป็นอย่างดี เพราะมีปัญหาร่วมกันคือ วิกฤติการเงินโลก อย่างไรก็ตาม มาถึงปี 2010 เศรษฐกิจโลกได้ฟื้นตัวแล้ว ความเป็นเอกภาพและความร่วมมือใน G20 จึงหมดไป แต่ละประเทศก็มองถึงปัญหาและผลประโยชน์ต่างกัน จึงนำไปสู่ความแตกแยก ความขัดแย้ง และไม่สามารถตกลงอะไรกันได้ ซึ่งความแตกแยกใน G20 จะเป็นแนวโน้มที่เกิดขึ้นในอนาคต ที่จะยิ่งแตกแยกและขัดแย้งกันมากขึ้นเรื่อยๆ
• ปัจจัยที่สองคือ บทบาทของสหรัฐฯ ในการเป็นผู้นำเศรษฐกิจโลก ได้ตกต่ำลงอย่างมาก การตัดสินใจของธนาคารกลางสหรัฐฯ ที่จะปั๊มเงินเหรียญสหรัฐฯ ออกมา 600,000 ล้านเหรียญนั้น ได้รับการวิพากษ์วิจารณ์อย่างกว้างขวาง ทำให้สถานะของสหรัฐฯ เปลี่ยนจาก “พระเอก” กลายเป็น “ผู้ร้าย” โดยสหรัฐฯ ถูกกล่าวหาว่าเป็น currency manipulator เสียเอง
• ปัจจัยอีกประการคือ การเมืองภายใน โดยเฉพาะการเมืองภายในสหรัฐฯ ซึ่งสร้างข้อจำกัดต่อการผลักดัน G20 ไปข้างหน้า โดยเฉพาะโอบามามาเข้าร่วมการประชุม G20 หลังจากพรรคเดโมแครทพ่ายแพ้การเลือกตั้งกลางเทอม ทำให้การเป็นผู้นำโลกตกต่ำลง ความพ่ายแพ้ของพรรคเดโมแครททำให้โอบามาไม่กล้าที่จะเสนอหรือผลักดันข้อเสนออะไรที่อาจจะส่งผลในทางลบต่อพรรคเดโมแครท ดังนั้น บทบาทของสหรัฐฯ จึงกลายเป็นบทบาทอนุรักษ์นิยม ซึ่งผิดกับบทบาทของโอบามาในช่วงปีแรก ที่มีนโยบายในเชิงรุก และมีข้อเสนอใหม่ๆ ใน G20 หลายเรื่อง
• อีกปัจจัยหนึ่งคือ แนวโน้มที่อำนาจของสหรัฐฯ ได้ตกต่ำลงในระบบเศรษฐกิจโลก ทำให้สหรัฐฯ ไม่สามารถบีบบังคับและกำหนดทิศทางของผลการประชุมอย่างที่สหรัฐฯ เคยทำได้ในอดีต เห็นได้ชัดว่า ข้อเสนอของสหรัฐฯ 2 เรื่องใหญ่คือ เรื่องค่าเงินหยวน และเรื่องดุลบัญชีเดินสะพัดได้รับการต่อต้าน และในที่สุดก็ประสบความล้มเหลว
ผลกระทบและแนวโน้ม
จากความล้มเหลวของการประชุม G20 ในครั้งนี้ จะทำให้ระบบเศรษฐกิจโลกประสบกับปัญหาหนักมากขึ้นในอนาคต โดยเฉพาะอย่างยิ่ง มีแนวโน้มว่า จากความล้มเหลวของการประชุมในครั้งนี้ ทำให้หลายประเทศทบทวนนโยบายเศรษฐกิจของตนใหม่ และมีแนวโน้มว่า ยุคสมัยของลัทธิปกป้องทางการค้า กำลังจะเกิดขึ้น ความขัดแย้งทางการค้าคงจะมีมากขึ้นในอนาคต รวมทั้งสงครามค่าเงินก็คงจะรุนแรงมากขึ้น ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจโลกโดยรวม
ความล้มเหลวของ G20 ที่จะมีมาตรการในการป้องกันการไหลทะลักของเงินทุนเข้าสู่ประเทศกำลังพัฒนานั้น คงจะทำให้ประเทศเศรษฐกิจเกิดใหม่มีมาตรการในการควบคุมเงินทุน หรือ capital control มากขึ้นในอนาคต ซึ่งจะเป็นการสวนกระแสการค้าเสรีและกลไกตลาดมากขึ้น
สำหรับในสหรัฐฯ เอง สภาคองเกรสก็ได้ผ่านร่างกฎหมายที่จะขึ้นภาษีสำหรับสินค้าจีน เพื่อเป็นการลงโทษจีนในเรื่องค่าเงินหยวน ซึ่งจะทำให้แนวโน้มความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจ ระหว่างสหรัฐฯ กับจีน เลวร้ายลง
แนวโน้มมาตรการปกป้องทางการค้า สำหรับหลายๆ ประเทศคงจะเพิ่มขึ้น ทั้งในเรื่องการตั้งกำแพงภาษี การอุดหนุนการส่งออก รวมถึงมาตรการกีดกันทางการค้าที่มิใช่ภาษีในอีกหลายรูปแบบ
สำหรับเรื่องสุดท้ายที่ผมอยากจะวิเคราะห์คือ บทบาทของ G20 ซึ่งผมมองว่า กำลังมีปัญหา เห็นได้ชัดว่า บทบาทของ G20 กำลังลดลง ปีที่แล้วในการประชุม G20 ที่พิตส์เบิร์ก ตอนนั้นก็ประโคมข่าวกัน และตื่นเต้นกันมากว่า จะเป็นศักราชใหม่ จะเป็นระเบียบเศรษฐกิจโลกใหม่ ที่ G20 จะเป็นกลไกที่จะมาแทน G8 แต่ในปีนี้ เราได้เริ่มเห็นแล้วว่า บาบาทของ G8 ไม่ได้ลดลง แต่กลับเพิ่มขึ้น ในขณะที่บทบาทของ G20 ลดลงเรื่อยๆ ในขณะที่ G8 มีการหารือกันทุกเรื่อง แต่ G20 ถูกลดบทบาทให้เหลือหารือกันเฉพาะเรื่องทางการเงินเท่านั้น และในการประชุมครั้งล่าสุด ก็ตกลงอะไรกันไม่ได้อีก แม้กระทั่งในเรื่องทางการเงิน
สงครามเกาหลี ?
สงครามเกาหลี ?
ตีพิมพ์ใน ไทยโพสต์ วันพฤหัสบดีที่ 2 ธันวาคม 2553
เมื่อช่วงสัปดาห์ที่แล้ว ได้เกิดวิกฤติครั้งใหม่ในคาบสมุทรเกาหลี โดยทางเกาหลีเหนือได้ยิงถล่มเกาะที่อยู่ในเขตเกาหลีใต้ และได้เกิดการยิงตอบโต้กันขึ้น การปะทะกันครั้งนี้ จึงมีคำถามว่า จะนำไปสู่การเกิดสงครามเกาหลีภาค 2 หรือไม่ คอลัมน์กระบวนทรรศน์ในวันนี้ จะวิเคราะห์เหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ปฏิกิริยาจากฝ่ายต่างๆ สาเหตุและปัจจัยของการปะทะ รวมทั้งวิเคราะห์แนวโน้มว่า สถานการณ์จะบานปลายกลายเป็นสงครามครั้งใหม่ได้หรือไม่
เหตุการณ์การปะทะ
เหตุการณ์การปะทะกันครั้งนี้ เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 23 พฤศจิกายน ที่ผ่านมา โดยทางเกาหลีเหนือได้ยิงปืนใหญ่ไปที่เกาะ Yeonpyeong โดยกระสุนปืนใหญ่กว่า 50 นัด ได้โจมตีเป้าหมายฐานทัพทหารของเกาหลีใต้รวมทั้งบ้านเรือนของประชาชนบนเกาะ ส่วนทางฝ่ายเกาหลีใต้ได้ยิงปืนใหญ่ตอบโต้กลับไปกว่า 80 นัด การยิงต่อสู้กันประมาณ 1 ชั่วโมง ซึ่งถือเป็นครั้งแรก นับตั้งแต่สงครามเกาหลีสิ้นสุดลงเมื่อปี 1953 ที่เกาหลีเหนือได้ยิงปืนใหญ่เข้าสู่เป้าหมายที่เป็นพลเรือน ปรากฏว่า มีชาวเกาหลีใต้เสียชีวิต 4 คน เป็นทหาร 2 คน และเป็นพลเรือน 2 คน
ก่อนหน้านี้ ในเดือนมีนาคม ได้เกิดวิกฤติมาครั้งหนึ่งแล้ว โดยในครั้งนั้น เรือรบของเกาหลีใต้ชื่อ Cheonan ได้ถูกระเบิดตอร์ปิโดจมลง มีลูกเรือเสียชีวิต 46 คน เกาหลีใต้เชื่อว่า เป็นฝีมือของเกาหลีเหนือ
ปฏิกิริยาจากฝ่ายต่างๆ
หลังเหตุการณ์ได้มีปฏิกิริยาจากฝ่ายต่างๆ ดังนี้
รองโฆษกทำเนียบขาว ได้แถลงว่า ประธานาธิบดีโอบามาได้แสดงจุดยืนว่า สหรัฐฯ จะปกป้องพันธมิตรคือ เกาหลีใต้ ต่อมา ทางทำเนียบขาวได้ออกแถลงการณ์เรียกร้องให้เกาหลีเหนือยุติการกระทำที่ก้าวร้าว และขอให้เกาหลีเหนือปฏิบัติตามเงื่อนไขในข้อตกลงสงบศึกของปี 1953 ทำเนียบขาวมองว่า การกระทำครั้งนี้ของเกาหลีเหนือก้าวร้าวมาก และสหรัฐฯ จะทำทุกวิถีทางที่จะปกป้องเกาหลีใต้
หลังจากนั้น โอบามาได้ให้สัมภาษณ์กับสถานีโทรทัศน์ ABC ว่า สหรัฐฯ ขอประณามการโจมตีของเกาหลีเหนือ และสหรัฐฯ กำลังพยายามแสวงหาความร่วมมือจากประชาคมระหว่างประเทศเพื่อกดดันเกาหลีเหนือ
โฆษกกระทรวงต่างประเทศสหรัฐฯ ได้แถลงข่าวออกมาในทำนองเดียวกัน และบอกว่า สหรัฐฯ กำลังหารือกับเกาหลีใต้ จีน ญี่ปุ่น และรัสเซีย เพื่อหามาตรการตอบโต้เกาหลีเหนือ
ต่อมา สหรัฐฯ ได้ส่งเรือบรรทุกเครื่องบิน George Washington เดินทางมุ่งหน้าสู่คาบสมุทรเกาหลี ทั้งนี้ เพื่อเป็นการส่งสัญญาณความร่วมมือทางทหารกับเกาหลีใต้ และเพื่อป้องปรามเกาหลีเหนือ อย่างไรก็ตาม เพื่อไม่ให้เหตุการณ์ลุกลามบานปลาย จึงไม่ได้มีความเคลื่อนไหวใดๆ เกี่ยวกับกองกำลังทหารของสหรัฐฯ ในเกาหลีใต้ที่มีอยู่ประมาณ 3 หมื่นคน
สำหรับญี่ปุ่น นายกรัฐมนตรี Naoto Kan ได้ให้สัมภาษณ์หลังจากการประชุมคณะรัฐมนตรีในภาวะฉุกเฉินว่า ได้สั่งการให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเตรียมพร้อมสำหรับเหตุการณ์วิกฤติที่อาจจะเกิดขึ้น
ส่วนรัฐมนตรีต่างประเทศรัสเซียเตือนถึงอันตรายของเหตุการณ์ในครั้งนี้ และประณามการกระทำของเกาหลีเหนือ ซึ่ง EU และอังกฤษก็ได้ประณามเกาหลีเหนือด้วย สำหรับทางฝรั่งเศสได้มีข่าวออกมาว่า กำลังผลักดันให้มีการประชุมคณะมนตรีความมั่นคงด่วน เพื่อพิจารณาวิกฤติการณ์ในครั้งนี้
อย่างไรก็ตาม ประเทศที่จะมีบทบาทสำคัญในการกดดันเกาหลีเหนือคือ จีน แต่ท่าทีของจีนกลับออกมาในลักษณะที่ไม่ประณามเกาหลีเหนือ โดยโฆษกกระทรวงต่างประเทศของจีนได้กล่าวว่า ทั้ง 2 ประเทศคือ เกาหลีเหนือและเกาหลีใต้ ควรจะแสวงหาสันติภาพ และบอกว่า ขณะนี้ มีความจำเป็นที่จะต้องให้มีการเจรจา 6 ฝ่ายโดยเร็ว
ในอดีต จีนปกป้องเกาหลีเหนือมาโดยตลอด และผู้นำเกาหลีเหนือก็ขอความช่วยเหลือจากจีนมาโดยตลอด สำหรับจีนนั้นมองเกาหลีเหนือว่าเป็นรัฐกันชนเกาหลีใต้และกองกำลังสหรัฐฯ ในเกาหลีใต้ อย่างไรก็ตาม ความสัมพันธ์ระหว่าง 2 ประเทศ เริ่มมีปัญหา โดยเฉพาะหลังจากที่เกาหลีเหนือทดลองอาวุธนิวเคลียร์ในปี 2006 จีนแสดงความไม่พอใจ ด้วยการลงคะแนนเสียงสนับสนุนมาตรการคว่ำบาตรเกาหลีเหนือในคณะมนตรีความมั่นคง ดังนั้น ในขณะนี้ จึงไม่มีความชัดเจนว่า จีนจะมีอิทธิพลในการกดดันเกาหลีเหนือมากน้อยแค่ไหน
แต่สำหรับสหรัฐฯ แล้ว ก็มองว่า จีนเป็นกุญแจสำคัญ ทางโฆษกกระทรวงต่างประเทศสหรัฐฯ จึงได้แถลงว่า สหรัฐฯ ต้องการให้จีนร่วมมือในการส่งสัญญาณให้เกาหลีเหนือเห็นว่า การโจมตีเกาหลีใต้นั้น เป็นสิ่งที่ไม่ควรทำ และควรหยุดการกระทำดังกล่าว สหรัฐฯ เห็นว่า จีนจะมีบทบาทสำคัญในการกดดันเกาหลีเหนือ และกดดันให้เกาหลีเหนือยอมปลดอาวุธนิวเคลียร์ของตน
สาเหตุและปัจจัย
สำหรับคำถามที่ว่า ทำไมเกาหลีเหนือจึงโจมตีเกาหลีใต้ในครั้งนี้ ผมอยากจะแบ่งสาเหตุและปัจจัยออกเป็น ปัจจัยภายในและปัจจัยภายนอก
• ปัจจัยภายใน
ปัจจัยที่สำคัญที่นำไปสู่การโจมตีเกาหลีใต้ในครั้งนี้ น่าจะเป็นเพราะการเปลี่ยนผ่านผู้นำของเกาหลีเหนือ จาก Kim Jong-il เป็น Kim Jong-un ซึ่งเป็นลูกชาย โดย Kim Jong-il ขณะนี้ มีสุขภาพไม่ดีและกำลังจะให้ Kim Jong-un ขึ้นมาเป็นผู้นำเกาหลีเหนือแทน ในเดือนกันยายน ในการประชุมพรรคคอมมิวนิสต์เกาหลีเหนือ Kim Jong-un ได้รับตำแหน่งสำคัญในพรรค จึงน่าจะเป็นไปได้ว่า เหตุการณ์จมเรือรบเกาหลีใต้ ในเดือนมีนาคม และการโจมตีเกาหลีใต้ครั้งล่าสุด น่าจะเป็นเพราะ ต้องการแสดงให้เห็นว่า Kim Jong-un นั้นมีความสามารถพอที่จะเป็นผู้นำคนใหม่ ทั้งนี้ น่าจะเป็นความพยายามที่จะแสดงให้ฝ่ายทหารเกาหลีเหนือเชื่อมั่นในความเป็นผู้นำของ Kim Jong-un ทหารเกาหลีเหนือกำลังมีอิทธิพลมากขึ้นเรื่อยๆ โดยการโจมตีเกาหลีใต้ในครั้งนี้อาจจะเป็นการกระทำของฝ่ายทหาร โดยอาจจะไม่ได้ปรึกษากับทางผู้นำเกาหลีเหนือ
• ปัจจัยภายนอก
แต่ปัจจัยที่ผมคิดว่า น่าจะเป็นปัจจัยสำคัญ และเกาหลีเหนือได้ใช้วิธีนี้มาหลายครั้งแล้ว คือ การทำความก้าวร้าวเพื่อเพิ่มอำนาจการต่อรอง และเพื่อเรียกร้องความสนใจ โดยเฉพาะจากสหรัฐฯ
การเจรจา 6 ฝ่าย ซึ่งได้หยุดชะงักมาตั้งแต่เดือนเมษายนปี 2009 สาเหตุมาจากการที่เกาหลีเหนือไม่ยอมปฏิบัติตามข้อตกลงในปี 2005 ที่เกาหลีเหนือจะต้องยอมยุติและปลดอาวุธนิวเคลียร์ ทางสหรัฐฯ และพันธมิตรพยายามตั้งเงื่อนไขว่า การเจรจา 6 ฝ่ายจะเริ่มขึ้นก็ต่อเมื่อเกาหลีเหนือยอมที่จะทำลายอาวุธนิวเคลียร์ของตน ซึ่งเกาหลีเหนือก็ปฏิเสธมาโดยตลอด และเมื่อต้นเดือนพฤศจิกายนนี้ เกาหลีเหนือได้เปิดเผยถึงโรงงานนิวเคลียร์ผลิตแร่ยูเรเนียมให้กับนักวิทยาศาสตร์สหรัฐฯ ซึ่งทำให้ Stephen Bosworth ทูตพิเศษของสหรัฐฯ ในการเจรจากับเกาหลีเหนือถึงกับกล่าวว่า สหรัฐฯ คงจะไม่เจรจากับเกาหลีเหนือหากยังมีโครงการนิวเคลียร์อยู่ ซึ่งน่าจะทำให้เกาหลีเหนือไม่พอใจเป็นอย่างมาก และอาจนำไปสู่การโจมตีเกาหลีใต้ในครั้งนี้ เพื่อกดดันให้สหรัฐฯ กลับมาเจรจา 6 ฝ่าย กับเกาหลีเหนือใหม่
นอกจากนี้ เกาหลีเหนืออาจต้องการเจรจา 6 ฝ่ายในรอบใหม่ เพราะเศรษฐกิจกำลังย่ำแย่ และต้องการความช่วยเหลือทางเศรษฐกิจเป็นอย่างมาก
และสิ่งที่เกาหลีเหนือต้องการเป็นอย่างมากคือ การเจรจา 2 ฝ่ายกับสหรัฐฯ เกาหลีเหนือต้องการเจรจาสนธิสัญญาสันติภาพกับสหรัฐฯ แต่สหรัฐฯ ก็ตั้งเงื่อนไขมาตลอดว่า จะไม่จอมเจรจาหากเกาหลีเหนือไม่ยอมปลดอาวุธนิวเคลียร์
แนวโน้ม : สงครามเกาหลี ?
ดังนั้นคำถามสำคัญคือ ความขัดแย้งในครั้งนี้จะลุกลามใหญ่โตจนกลายเป็นสงครามเกาหลีครั้งใหม่หรือไม่ ซึ่งคำตอบของผมคือ สงครามเกาหลีครั้งใหม่ไม่น่าจะเกิดขึ้น ทั้งนี้เพราะทั้งเกาหลีเหนือและเกาหลีใต้ก็รู้ดีว่า หากเกิดสงครามขึ้น ทั้ง 2 ประเทศก็จะประสบกับหายนะ โดยชาวเกาหลีใต้กว่าครึ่ง อาศัยอยู่ในบริเวณใกล้กับพรมแดนเกาหลีเหนือ ซึ่งหากเกิดสงคราม เกาหลีเหนือซึ่งมีจรวดขีปนาวุธกว่า 12,000 ลูก ก็สามารถยิ่งถล่มเกาหลีใต้ ซึ่งจะก่อให้เกิดความเสียหายครั้งยิ่งใหญ่ โดยเฉพาะกรุงโซล ซึ่งอยู่ใกล้กับพรมแดนเกาหลีเหนือมาก สำหรับเกาหลีเหนือ หากเกิดสงครามกับเกาหลีใต้ สหรัฐฯ ก็คงจะใช้กำลังทหารโดยเฉพาะการทิ้งระเบิดและขีปนาวุธถล่มเกาหลีเหนือ ซึ่งก็คงจะทำให้เกาหลีเหนือแหลกลาญไปเช่นเดียวกัน ดังนั้นสงครามจึงไม่น่าจะเกิดขึ้น
อย่างไรก็ตาม ผมมองว่า ความขัดแย้งในคาบสมุทรเกาหลียังคงจะยืดเยื้อต่อไป ทั้งนี้เพราะ การเจรจาต่อรองไม่สามารถหาสูตรที่ลงตัวได้ คือ เกาหลีเหนือต้องการเจรจา แต่สหรัฐฯ ก็ตั้งเงื่อนไขว่า เกาหลีเหนือต้องปลดอาวุธนิวเคลียร์ก่อน ซึ่งเกาหลีเหนือก็ไม่มีทางจะยอม ดังนั้นวิกฤติในคาบสมุทรเกาหลีคงจะมีต่อไป ตราบใดที่สหรัฐฯ และเกาหลีเหนือยังไม่ยอมปรับเปลี่ยนท่าที โดยมีความเป็นไปได้ว่า ขั้นต่อไปของเกาหลีเหนืออาจจะเป็นการทดลองระเบิดนิวเคลียร์ครั้งที่ 3 หรือการทดสอบขีปนาวุธพิสัยไกล หรืออาจมีการโจมตีเกาหลีใต้อีก โดยเกาหลีเหนือคงจะพยายามกดดันสหรัฐฯ ต่อไปเรื่อยๆ เพื่อให้กลับมาเจรจาให้ได้
ผมมองว่า ทางออกปัญหาเกาหลีเหนือ อยู่ที่สหรัฐฯ จะต้องปรับเปลี่ยนท่าที โดยสหรัฐฯ จะต้องยอมรับความเป็นจริงว่า เกาหลีเหนือคงจะไม่มีทางยอมปลดอาวุธนิวเคลียร์ของตน เพราะการมีอาวุธนิวเคลียร์ถือเป็นความสำเร็จอันยิ่งใหญ่ของเกาหลีเหนือ และจะเป็นหลักประกันที่ดีที่สุดต่อความมั่นคงของเกาหลีเหนือ โดยเฉพาะจากการถูกโจมตีจากสหรัฐฯ ดังนั้นสหรัฐฯ ควรเปลี่ยนเป้าหมายการเจรจาใหม่ โดยเปลี่ยนจากการที่จะให้เกาหลีเหนือปลดอาวุธนิวเคลียร์ ซึ่งมันสายไปแล้ว มาเป็นเป้าหมายไม่ให้เกาหลีเหนือพัฒนาอาวุธนิวเคลียร์เพิ่มเติม หรือส่งออกอาวุธนิวเคลียร์ สหรัฐฯ ควรยอมเจรจา 2 ฝ่ายกับเกาหลีเหนือ แทนที่จะยืนกรานเจรจา 6 ฝ่าย และสหรัฐฯ ควรจะยอมเจรจาสนธิสัญญาสันติภาพและสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตกับเกาหลีเหนือ และให้หลักประกันความมั่นคงว่าจะไม่โจมตี และโค่นรัฐบาลเกาหลีเหนือ ทั้งนี้เพื่อแลกกับการที่เกาหลีเหนือจะยุติการพัฒนาอาวุธนิวเคลียร์ และยุติการส่งออกอาวุธและเทคโนโลยีนิวเคลียร์
ตีพิมพ์ใน ไทยโพสต์ วันพฤหัสบดีที่ 2 ธันวาคม 2553
เมื่อช่วงสัปดาห์ที่แล้ว ได้เกิดวิกฤติครั้งใหม่ในคาบสมุทรเกาหลี โดยทางเกาหลีเหนือได้ยิงถล่มเกาะที่อยู่ในเขตเกาหลีใต้ และได้เกิดการยิงตอบโต้กันขึ้น การปะทะกันครั้งนี้ จึงมีคำถามว่า จะนำไปสู่การเกิดสงครามเกาหลีภาค 2 หรือไม่ คอลัมน์กระบวนทรรศน์ในวันนี้ จะวิเคราะห์เหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ปฏิกิริยาจากฝ่ายต่างๆ สาเหตุและปัจจัยของการปะทะ รวมทั้งวิเคราะห์แนวโน้มว่า สถานการณ์จะบานปลายกลายเป็นสงครามครั้งใหม่ได้หรือไม่
เหตุการณ์การปะทะ
เหตุการณ์การปะทะกันครั้งนี้ เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 23 พฤศจิกายน ที่ผ่านมา โดยทางเกาหลีเหนือได้ยิงปืนใหญ่ไปที่เกาะ Yeonpyeong โดยกระสุนปืนใหญ่กว่า 50 นัด ได้โจมตีเป้าหมายฐานทัพทหารของเกาหลีใต้รวมทั้งบ้านเรือนของประชาชนบนเกาะ ส่วนทางฝ่ายเกาหลีใต้ได้ยิงปืนใหญ่ตอบโต้กลับไปกว่า 80 นัด การยิงต่อสู้กันประมาณ 1 ชั่วโมง ซึ่งถือเป็นครั้งแรก นับตั้งแต่สงครามเกาหลีสิ้นสุดลงเมื่อปี 1953 ที่เกาหลีเหนือได้ยิงปืนใหญ่เข้าสู่เป้าหมายที่เป็นพลเรือน ปรากฏว่า มีชาวเกาหลีใต้เสียชีวิต 4 คน เป็นทหาร 2 คน และเป็นพลเรือน 2 คน
ก่อนหน้านี้ ในเดือนมีนาคม ได้เกิดวิกฤติมาครั้งหนึ่งแล้ว โดยในครั้งนั้น เรือรบของเกาหลีใต้ชื่อ Cheonan ได้ถูกระเบิดตอร์ปิโดจมลง มีลูกเรือเสียชีวิต 46 คน เกาหลีใต้เชื่อว่า เป็นฝีมือของเกาหลีเหนือ
ปฏิกิริยาจากฝ่ายต่างๆ
หลังเหตุการณ์ได้มีปฏิกิริยาจากฝ่ายต่างๆ ดังนี้
รองโฆษกทำเนียบขาว ได้แถลงว่า ประธานาธิบดีโอบามาได้แสดงจุดยืนว่า สหรัฐฯ จะปกป้องพันธมิตรคือ เกาหลีใต้ ต่อมา ทางทำเนียบขาวได้ออกแถลงการณ์เรียกร้องให้เกาหลีเหนือยุติการกระทำที่ก้าวร้าว และขอให้เกาหลีเหนือปฏิบัติตามเงื่อนไขในข้อตกลงสงบศึกของปี 1953 ทำเนียบขาวมองว่า การกระทำครั้งนี้ของเกาหลีเหนือก้าวร้าวมาก และสหรัฐฯ จะทำทุกวิถีทางที่จะปกป้องเกาหลีใต้
หลังจากนั้น โอบามาได้ให้สัมภาษณ์กับสถานีโทรทัศน์ ABC ว่า สหรัฐฯ ขอประณามการโจมตีของเกาหลีเหนือ และสหรัฐฯ กำลังพยายามแสวงหาความร่วมมือจากประชาคมระหว่างประเทศเพื่อกดดันเกาหลีเหนือ
โฆษกกระทรวงต่างประเทศสหรัฐฯ ได้แถลงข่าวออกมาในทำนองเดียวกัน และบอกว่า สหรัฐฯ กำลังหารือกับเกาหลีใต้ จีน ญี่ปุ่น และรัสเซีย เพื่อหามาตรการตอบโต้เกาหลีเหนือ
ต่อมา สหรัฐฯ ได้ส่งเรือบรรทุกเครื่องบิน George Washington เดินทางมุ่งหน้าสู่คาบสมุทรเกาหลี ทั้งนี้ เพื่อเป็นการส่งสัญญาณความร่วมมือทางทหารกับเกาหลีใต้ และเพื่อป้องปรามเกาหลีเหนือ อย่างไรก็ตาม เพื่อไม่ให้เหตุการณ์ลุกลามบานปลาย จึงไม่ได้มีความเคลื่อนไหวใดๆ เกี่ยวกับกองกำลังทหารของสหรัฐฯ ในเกาหลีใต้ที่มีอยู่ประมาณ 3 หมื่นคน
สำหรับญี่ปุ่น นายกรัฐมนตรี Naoto Kan ได้ให้สัมภาษณ์หลังจากการประชุมคณะรัฐมนตรีในภาวะฉุกเฉินว่า ได้สั่งการให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเตรียมพร้อมสำหรับเหตุการณ์วิกฤติที่อาจจะเกิดขึ้น
ส่วนรัฐมนตรีต่างประเทศรัสเซียเตือนถึงอันตรายของเหตุการณ์ในครั้งนี้ และประณามการกระทำของเกาหลีเหนือ ซึ่ง EU และอังกฤษก็ได้ประณามเกาหลีเหนือด้วย สำหรับทางฝรั่งเศสได้มีข่าวออกมาว่า กำลังผลักดันให้มีการประชุมคณะมนตรีความมั่นคงด่วน เพื่อพิจารณาวิกฤติการณ์ในครั้งนี้
อย่างไรก็ตาม ประเทศที่จะมีบทบาทสำคัญในการกดดันเกาหลีเหนือคือ จีน แต่ท่าทีของจีนกลับออกมาในลักษณะที่ไม่ประณามเกาหลีเหนือ โดยโฆษกกระทรวงต่างประเทศของจีนได้กล่าวว่า ทั้ง 2 ประเทศคือ เกาหลีเหนือและเกาหลีใต้ ควรจะแสวงหาสันติภาพ และบอกว่า ขณะนี้ มีความจำเป็นที่จะต้องให้มีการเจรจา 6 ฝ่ายโดยเร็ว
ในอดีต จีนปกป้องเกาหลีเหนือมาโดยตลอด และผู้นำเกาหลีเหนือก็ขอความช่วยเหลือจากจีนมาโดยตลอด สำหรับจีนนั้นมองเกาหลีเหนือว่าเป็นรัฐกันชนเกาหลีใต้และกองกำลังสหรัฐฯ ในเกาหลีใต้ อย่างไรก็ตาม ความสัมพันธ์ระหว่าง 2 ประเทศ เริ่มมีปัญหา โดยเฉพาะหลังจากที่เกาหลีเหนือทดลองอาวุธนิวเคลียร์ในปี 2006 จีนแสดงความไม่พอใจ ด้วยการลงคะแนนเสียงสนับสนุนมาตรการคว่ำบาตรเกาหลีเหนือในคณะมนตรีความมั่นคง ดังนั้น ในขณะนี้ จึงไม่มีความชัดเจนว่า จีนจะมีอิทธิพลในการกดดันเกาหลีเหนือมากน้อยแค่ไหน
แต่สำหรับสหรัฐฯ แล้ว ก็มองว่า จีนเป็นกุญแจสำคัญ ทางโฆษกกระทรวงต่างประเทศสหรัฐฯ จึงได้แถลงว่า สหรัฐฯ ต้องการให้จีนร่วมมือในการส่งสัญญาณให้เกาหลีเหนือเห็นว่า การโจมตีเกาหลีใต้นั้น เป็นสิ่งที่ไม่ควรทำ และควรหยุดการกระทำดังกล่าว สหรัฐฯ เห็นว่า จีนจะมีบทบาทสำคัญในการกดดันเกาหลีเหนือ และกดดันให้เกาหลีเหนือยอมปลดอาวุธนิวเคลียร์ของตน
สาเหตุและปัจจัย
สำหรับคำถามที่ว่า ทำไมเกาหลีเหนือจึงโจมตีเกาหลีใต้ในครั้งนี้ ผมอยากจะแบ่งสาเหตุและปัจจัยออกเป็น ปัจจัยภายในและปัจจัยภายนอก
• ปัจจัยภายใน
ปัจจัยที่สำคัญที่นำไปสู่การโจมตีเกาหลีใต้ในครั้งนี้ น่าจะเป็นเพราะการเปลี่ยนผ่านผู้นำของเกาหลีเหนือ จาก Kim Jong-il เป็น Kim Jong-un ซึ่งเป็นลูกชาย โดย Kim Jong-il ขณะนี้ มีสุขภาพไม่ดีและกำลังจะให้ Kim Jong-un ขึ้นมาเป็นผู้นำเกาหลีเหนือแทน ในเดือนกันยายน ในการประชุมพรรคคอมมิวนิสต์เกาหลีเหนือ Kim Jong-un ได้รับตำแหน่งสำคัญในพรรค จึงน่าจะเป็นไปได้ว่า เหตุการณ์จมเรือรบเกาหลีใต้ ในเดือนมีนาคม และการโจมตีเกาหลีใต้ครั้งล่าสุด น่าจะเป็นเพราะ ต้องการแสดงให้เห็นว่า Kim Jong-un นั้นมีความสามารถพอที่จะเป็นผู้นำคนใหม่ ทั้งนี้ น่าจะเป็นความพยายามที่จะแสดงให้ฝ่ายทหารเกาหลีเหนือเชื่อมั่นในความเป็นผู้นำของ Kim Jong-un ทหารเกาหลีเหนือกำลังมีอิทธิพลมากขึ้นเรื่อยๆ โดยการโจมตีเกาหลีใต้ในครั้งนี้อาจจะเป็นการกระทำของฝ่ายทหาร โดยอาจจะไม่ได้ปรึกษากับทางผู้นำเกาหลีเหนือ
• ปัจจัยภายนอก
แต่ปัจจัยที่ผมคิดว่า น่าจะเป็นปัจจัยสำคัญ และเกาหลีเหนือได้ใช้วิธีนี้มาหลายครั้งแล้ว คือ การทำความก้าวร้าวเพื่อเพิ่มอำนาจการต่อรอง และเพื่อเรียกร้องความสนใจ โดยเฉพาะจากสหรัฐฯ
การเจรจา 6 ฝ่าย ซึ่งได้หยุดชะงักมาตั้งแต่เดือนเมษายนปี 2009 สาเหตุมาจากการที่เกาหลีเหนือไม่ยอมปฏิบัติตามข้อตกลงในปี 2005 ที่เกาหลีเหนือจะต้องยอมยุติและปลดอาวุธนิวเคลียร์ ทางสหรัฐฯ และพันธมิตรพยายามตั้งเงื่อนไขว่า การเจรจา 6 ฝ่ายจะเริ่มขึ้นก็ต่อเมื่อเกาหลีเหนือยอมที่จะทำลายอาวุธนิวเคลียร์ของตน ซึ่งเกาหลีเหนือก็ปฏิเสธมาโดยตลอด และเมื่อต้นเดือนพฤศจิกายนนี้ เกาหลีเหนือได้เปิดเผยถึงโรงงานนิวเคลียร์ผลิตแร่ยูเรเนียมให้กับนักวิทยาศาสตร์สหรัฐฯ ซึ่งทำให้ Stephen Bosworth ทูตพิเศษของสหรัฐฯ ในการเจรจากับเกาหลีเหนือถึงกับกล่าวว่า สหรัฐฯ คงจะไม่เจรจากับเกาหลีเหนือหากยังมีโครงการนิวเคลียร์อยู่ ซึ่งน่าจะทำให้เกาหลีเหนือไม่พอใจเป็นอย่างมาก และอาจนำไปสู่การโจมตีเกาหลีใต้ในครั้งนี้ เพื่อกดดันให้สหรัฐฯ กลับมาเจรจา 6 ฝ่าย กับเกาหลีเหนือใหม่
นอกจากนี้ เกาหลีเหนืออาจต้องการเจรจา 6 ฝ่ายในรอบใหม่ เพราะเศรษฐกิจกำลังย่ำแย่ และต้องการความช่วยเหลือทางเศรษฐกิจเป็นอย่างมาก
และสิ่งที่เกาหลีเหนือต้องการเป็นอย่างมากคือ การเจรจา 2 ฝ่ายกับสหรัฐฯ เกาหลีเหนือต้องการเจรจาสนธิสัญญาสันติภาพกับสหรัฐฯ แต่สหรัฐฯ ก็ตั้งเงื่อนไขมาตลอดว่า จะไม่จอมเจรจาหากเกาหลีเหนือไม่ยอมปลดอาวุธนิวเคลียร์
แนวโน้ม : สงครามเกาหลี ?
ดังนั้นคำถามสำคัญคือ ความขัดแย้งในครั้งนี้จะลุกลามใหญ่โตจนกลายเป็นสงครามเกาหลีครั้งใหม่หรือไม่ ซึ่งคำตอบของผมคือ สงครามเกาหลีครั้งใหม่ไม่น่าจะเกิดขึ้น ทั้งนี้เพราะทั้งเกาหลีเหนือและเกาหลีใต้ก็รู้ดีว่า หากเกิดสงครามขึ้น ทั้ง 2 ประเทศก็จะประสบกับหายนะ โดยชาวเกาหลีใต้กว่าครึ่ง อาศัยอยู่ในบริเวณใกล้กับพรมแดนเกาหลีเหนือ ซึ่งหากเกิดสงคราม เกาหลีเหนือซึ่งมีจรวดขีปนาวุธกว่า 12,000 ลูก ก็สามารถยิ่งถล่มเกาหลีใต้ ซึ่งจะก่อให้เกิดความเสียหายครั้งยิ่งใหญ่ โดยเฉพาะกรุงโซล ซึ่งอยู่ใกล้กับพรมแดนเกาหลีเหนือมาก สำหรับเกาหลีเหนือ หากเกิดสงครามกับเกาหลีใต้ สหรัฐฯ ก็คงจะใช้กำลังทหารโดยเฉพาะการทิ้งระเบิดและขีปนาวุธถล่มเกาหลีเหนือ ซึ่งก็คงจะทำให้เกาหลีเหนือแหลกลาญไปเช่นเดียวกัน ดังนั้นสงครามจึงไม่น่าจะเกิดขึ้น
อย่างไรก็ตาม ผมมองว่า ความขัดแย้งในคาบสมุทรเกาหลียังคงจะยืดเยื้อต่อไป ทั้งนี้เพราะ การเจรจาต่อรองไม่สามารถหาสูตรที่ลงตัวได้ คือ เกาหลีเหนือต้องการเจรจา แต่สหรัฐฯ ก็ตั้งเงื่อนไขว่า เกาหลีเหนือต้องปลดอาวุธนิวเคลียร์ก่อน ซึ่งเกาหลีเหนือก็ไม่มีทางจะยอม ดังนั้นวิกฤติในคาบสมุทรเกาหลีคงจะมีต่อไป ตราบใดที่สหรัฐฯ และเกาหลีเหนือยังไม่ยอมปรับเปลี่ยนท่าที โดยมีความเป็นไปได้ว่า ขั้นต่อไปของเกาหลีเหนืออาจจะเป็นการทดลองระเบิดนิวเคลียร์ครั้งที่ 3 หรือการทดสอบขีปนาวุธพิสัยไกล หรืออาจมีการโจมตีเกาหลีใต้อีก โดยเกาหลีเหนือคงจะพยายามกดดันสหรัฐฯ ต่อไปเรื่อยๆ เพื่อให้กลับมาเจรจาให้ได้
ผมมองว่า ทางออกปัญหาเกาหลีเหนือ อยู่ที่สหรัฐฯ จะต้องปรับเปลี่ยนท่าที โดยสหรัฐฯ จะต้องยอมรับความเป็นจริงว่า เกาหลีเหนือคงจะไม่มีทางยอมปลดอาวุธนิวเคลียร์ของตน เพราะการมีอาวุธนิวเคลียร์ถือเป็นความสำเร็จอันยิ่งใหญ่ของเกาหลีเหนือ และจะเป็นหลักประกันที่ดีที่สุดต่อความมั่นคงของเกาหลีเหนือ โดยเฉพาะจากการถูกโจมตีจากสหรัฐฯ ดังนั้นสหรัฐฯ ควรเปลี่ยนเป้าหมายการเจรจาใหม่ โดยเปลี่ยนจากการที่จะให้เกาหลีเหนือปลดอาวุธนิวเคลียร์ ซึ่งมันสายไปแล้ว มาเป็นเป้าหมายไม่ให้เกาหลีเหนือพัฒนาอาวุธนิวเคลียร์เพิ่มเติม หรือส่งออกอาวุธนิวเคลียร์ สหรัฐฯ ควรยอมเจรจา 2 ฝ่ายกับเกาหลีเหนือ แทนที่จะยืนกรานเจรจา 6 ฝ่าย และสหรัฐฯ ควรจะยอมเจรจาสนธิสัญญาสันติภาพและสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตกับเกาหลีเหนือ และให้หลักประกันความมั่นคงว่าจะไม่โจมตี และโค่นรัฐบาลเกาหลีเหนือ ทั้งนี้เพื่อแลกกับการที่เกาหลีเหนือจะยุติการพัฒนาอาวุธนิวเคลียร์ และยุติการส่งออกอาวุธและเทคโนโลยีนิวเคลียร์
พม่า : การเลือกตั้ง และ ออง ซาน ซูจี
พม่า : การเลือกตั้ง และ ออง ซาน ซูจี
ตีพิมพ์ใน ไทยโพสต์ วันพฤหัสบดีที่ 18 พฤศติกายน 2553
ในช่วงสัปดาห์ที่แล้ว ได้มีเหตุการณ์สำคัญ 2 เรื่องเกิดขึ้นในพม่าคือ การเลือกตั้งและการปล่อยตัว ออง ซาน ซูจี คอลัมน์กระบวนทรรศน์ในวันนี้ จะวิเคราะห์สถานการณ์ดังกล่าว ดังนี้
การเลือกตั้ง
• ภูมิหลัง
ครั้งสุดท้ายที่พม่าได้มีการเลือกตั้งคือ ในปี 1990 เมื่อประมาณ 20 ปีมาแล้ว ในครั้งนั้น พรรค National League for Democracy หรือ NLD ซึ่งนำโดย ออง ซาน ซูจี ชนะการเลือกตั้ง แต่รัฐบาลทหารไม่ยอมรับการเลือกตั้ง ยังคงคุมอำนาจต่อไป และกักบริเวณซูจีมาเกือบตลอด ในตอนหลัง หลังจากถูกกดดันจากนานาชาติ ได้มีการร่างรัฐธรรมนูญขึ้นมา และในที่สุด ได้มีการเลือกตั้งในวันที่ 7 พฤศจิกายนที่ผ่านมา
อย่างไรก็ตาม ในรัฐธรรมนูญกำหนดให้ 25% ในรัฐสภาต้องมาจากทหาร นอกจากนั้นพรรคการเมืองที่ชนะการเลือกตั้งได้คะแนนเสียง 80% คือ พรรค Union Solidarity and Development Party (USDP) เป็นพรรคที่รัฐบาลทหารตั้งขึ้นมา และผู้นำทหารหลายคนก็ลาออกไปสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกพรรค USDP เพราะฉะนั้น รัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งในครั้งนี้ คงจะเป็นรัฐบาลทหารเหมือนเดิม แต่เปลี่ยนชุดจากชุดทหารมาเป็นชุดพลเรือนเท่านั้น และมีความเป็นไปได้มากว่านายพลตาน ฉ่วย จะได้รับการเลือกตั้งให้เป็นประธานสภา ซึ่งจะมีอำนาจในการจัดตั้งรัฐบาลและคณะรัฐมนตรี
ในส่วนของพรรค NLD และ ออง ซาน ซูจี บอยคอตการเลือกตั้ง เพราะกฎหมายเลือกตั้งกำหนดว่า บุคคลที่เคยถูกดำเนินคดีทางกฎหมายจะไม่มีสิทธิ์ลงรับเลือกตั้ง ซึ่งรวมถึง ซูจีด้วย จากการบอยคอตการเลือกตั้งทำให้พรรค NLD ต้องถูกยุบไปตามกฎหมายเลือกตั้ง นอกจากนี้ มีพรรคของชนกลุ่มน้อยหลายกลุ่มที่บอยคอตการเลือกตั้งเหมือนกัน และหลายๆ เขตที่เป็นเขตของชนกลุ่มน้อยก็ไม่ได้มีการเลือกตั้ง ซึ่งภายหลังการเลือกตั้ง ปรากฏว่า กลุ่มกบฏชาวกระเหรี่ยงได้เปิดศึกปะทะกับฝ่ายรัฐบาล เพื่อเป็นการประท้วงการเลือกตั้ง ทำให้ชาวกระเหรี่ยงกว่า 2 หมื่นคนลี้ภัยสงครามเข้ามาในประเทศไทย บริเวณจุดที่มีการสู้รบคือ เมืองเมียวดี และผู้ลี้ภัยที่ทะลักเข้ามาไทยคือ บริเวณแม่สอดและด่านเจดีย์สามองค์
รัฐบาลทหารพม่าไม่ยอมให้ผู้สื่อข่าวต่างประเทศ และไม่ยอมให้ผู้สังเกตการณ์นานาชาติเข้าไปสังเกตการณ์เลือกตั้ง
• ปฏิกิริยาจากประชาคมโลก
ด้วยเหตุที่การเลือกตั้งครั้งนี้ เห็นได้ชัดว่าไม่บริสุทธิ์ ยุติธรรม และปราศจากความโปร่งใส ดังนั้นจึงได้รับการโจมตีอย่างหนักจากฝ่ายต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากตะวันตก โดยทางสหรัฐฯ ประธานาธิบดีโอบามาได้ออกมาโจมตีการเลือกตั้งว่า ไม่ free และไม่ fair ทำให้การเลือกตั้งครั้งนี้ไม่มีความชอบธรรม นอกจากนี้ รัฐบาลทหารพม่ายังคงคุมขังนักโทษทางการเมืองกว่า 2 พันคน กฎหมายเลือกตั้งที่ไม่ยุติธรรมทำให้พรรค NLD ไม่ได้เข้าร่วม และรัฐบาลปฏิเสธการลงทะเบียนของพรรคการเมืองจากกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ ด้วยเหตุนี้ สหรัฐฯ จะเดินหน้าต่อไป ในยุทธศาสตร์การกดดันร่วมกับการปฏิสัมพันธ์ สหรัฐฯ เรียกร้องให้รัฐบาลพม่าปล่อยตัวนักโทษทางการเมืองทั้งหมด รวมทั้ง ออง ซาน ซูจี
สำหรับ Hillary Clinton รัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐฯ ก็กล่าวในทำนองเดียวกันว่า ผิดหวังเป็นอย่างมากในการเลือกตั้งครั้งนี้ การเลือกตั้งไม่มีความบริสุทธิ์ ยุติธรรม โดยเฉพาะการไม่ให้ผู้สังเกตการณ์จากต่างชาติเข้าไป สหรัฐฯ จะดำเนินยุทธศาสตร์กดดันต่อไป โดยสหรัฐฯ จะเจรจากับผู้นำพม่า เรียกร้องให้ปล่อยตัวนักโทษทางการเมือง โดยหากพม่าไม่ดำเนินมาตรการดังกล่าว สหรัฐฯ จะดำเนินการคว่ำบาตรพม่าต่อไป
สำหรับรัฐบาลตะวันตกอื่นๆ ก็มีท่าทีออกมาในทำนองเดียวกัน เช่น ออสเตรเลียออกแถลงการณ์ร่วมกับสหรัฐฯ แสดงความผิดหวังกับการเลือกตั้ง ในขณะที่สหภาพยุโรปเรียกร้องให้มีการปล่อยตัวนักโทษทางการเมือง และผิดหวังกับการเลือกตั้ง รัฐมนตรีต่างประเทศอังกฤษมีท่าทีในทำนองเดียวกัน เช่นเดียวกับญี่ปุ่น รู้สึกผิดหวังต่อการเลือกตั้ง บัน คี มุน เลขาธิการ UN ก็ได้แสดงจุดยืนว่า การเลือกตั้งครั้งนี้ไม่มีความโปร่งใส
อย่างไรก็ตาม มีจีนกับอาเซียน ที่แสดงความยินดีกับการเลือกตั้งในครั้งนี้ โดยโฆษกกระทรวงต่างประเทศจีนได้ออกมากล่าวยินดีกับการเลือกตั้งว่า พม่ากำลังเดินหน้าสู่การมีรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง และเป็นก้าวสำคัญในการเดินหน้า road map สู่ประชาธิปไตย ในขณะที่อาเซียน ก็ได้ออกแถลงการณ์โดย รัฐมนตรีต่างประเทศเวียดนาม ในฐานะประธานอาเซียน ว่าอาเซียนยินดีต่อการเลือกตั้งในครั้งนี้ และถือเป็นก้าวสำคัญต่อการดำเนิน road map สู่ประชาธิปไตย และอาเซียนขอให้พม่าเดินหน้าในกระบวนการประชาธิปไตยและความปรองดองแห่งชาติต่อไป
ออง ซาน ซูจี
• การปล่อยตัว
ในขณะที่ทั่วโลกกำลังวิพากษ์วิจารณ์การเลือกตั้งในพม่า รัฐบาลทหารพม่าก็ใช้ยุทธศาสตร์ที่แยบยลเบี่ยงเบนความสนใจ ด้วยการประกาศปล่อยตัว ออง ซาน ซูจี ในวันที่ 12 พฤศจิกายนที่ผ่านมา
หลังจากได้รับการปล่อยตัว ซูจี ได้กล่าวสุนทรพจน์ ในวันอาทิตย์ที่ 14 พฤศจิกายน เน้นว่า จะเดินหน้าในการต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยต่อไป และได้เรียกร้องให้มีเสรีภาพในการพูด และกระตุ้นให้ผู้คนที่สนับสนุนนาง ลุกขึ้นต่อสู้เรียกร้องสิทธิของตน มีอีกหลายเรื่องที่ ซูจี จะเดินหน้าผลักดันคือ การปล่อยตัวนักโทษการเมือง ความขัดแย้งทางชาติพันธุ์ รวมทั้งรัฐธรรมนูญและการเลือกตั้งที่ไม่เป็นธรรม โดย ซูจี ได้บอกว่า จะเดินหน้าร่วมกับประชาชนทั้งในประเทศและต่างประเทศ
• ปฏิกิริยาจากประชาคมโลก
หลังจาก ซูจี ได้รับการปล่อยตัว ฝ่ายต่างๆ โดยเฉพาะตะวันตกได้ออกมาแสดงความยินดี
ประธานาธิบดีโอบามากล่าวว่า ซูจี เป็นวีรสตรีของเขา และเป็นแรงบันดาลใจให้กับทุกคนที่ต่อสู้เพื่อสิทธิมนุษยชนทั้งในพม่าและทั่วโลก สหรัฐฯ ยินดีต่อการปล่อยตัวในครั้งนี้ อย่างไรก็ตาม ถึงแม้ ซูจี จะไม่ได้ถูกคุมขังในบ้าน แต่ก็ยังเหมือนเป็นนักโทษในประเทศพม่า เพราะยังมีการละเมิดสิทธิมนุษยชนอยู่ นักโทษทางการเมืองกว่า 2 พันคนยังถูกคุมขังอยู่ ดังนั้น สหรัฐฯ จึงเรียกร้องให้รัฐบาลพม่าปล่อยตัวนักโทษทางการเมืองทั้งหมด
ส่วน บัน คี มุน เลขาธิการ UN ก็ได้เรียกร้องให้รัฐบาลพม่าปล่อยตัวนักโทษทางการเมืองที่เหลืออยู่ทั้งหมด
ในขณะที่ประธานาธิบดี Nicolas Sarkozy ของฝรั่งเศส ได้ประกาศว่า ฝรั่งเศสให้ความสนใจอย่างมากต่อสถานะของ ออง ซาน ซูจี และเรียกร้องให้รัฐบาลพม่าให้อิสระเสรีภาพอย่างเต็มที่แก่นาง เช่นเดียวกับทาง EU ได้เรียกร้องในทำนองเดียวกัน คือให้รัฐบาลพม่าให้สิทธิเสรีภาพอย่างเต็มที่แก่นาง รวมถึงการเรียกร้องให้มีการปล่อยตัวนักโทษทางการเมืองทั้งหมด
เป็นที่น่าสังเกตว่า ยังไม่มีการประกาศท่าทีในเรื่องนี้จากพันธมิตรของพม่า อย่างเช่น จีนและอาเซียน โดยอาเซียนยังไม่ได้มีท่าทีอย่างเป็นทางการในเรื่องนี้ มีเพียงแต่คำให้สัมภาษณ์ของ ดร.สุรินทร์ พิษสุวรรณ เลขาธิการอาเซียน ว่ารู้สึกโล่งอกต่อข่าวการปล่อยตัว และหวังว่านางซูจี จะสามารถเล่นบทในการสร้างความปรองดองแห่งชาติได้ และหวังว่านักโทษทางการเมืองที่เหลือจะได้รับประโยชน์จากท่าทีที่เปลี่ยนไปของรัฐบาลพม่าในเรื่องนี้
แนวโน้ม
จากสถานการณ์การเมืองพม่าที่เปลี่ยนแปลงไป โดยเฉพาะการเลือกตั้งและการปล่อยตัวนางซูจี นั้น จึงมีคำถามว่า แนวโน้มในอนาคตของการเมืองพม่าจะเปลี่ยนแปลงไปอย่างไร
ประเด็นแรกคือ การเลือกตั้งในครั้งนี้ถึงแม้จะถูกโจมตีว่า ไม่มีความโปร่งใส แต่จากการที่ได้มีการจัดการเลือกตั้ง ผมจึงมองว่า รัฐบาลใหม่ของพม่าที่มาจากการเลือกตั้งที่ถึงแม้จะไม่โปร่งใส แต่ก็จะมีความชอบธรรมมากขึ้น ดังนั้นจะทำให้กระแสการต่อต้าน แรงกดดัน และมาตรการคว่ำบาตรลดลง ซึ่งเราก็เริ่มได้เห็นแล้วจากการเปลี่ยนท่าทีของสหรัฐฯ ล่าสุด โดยในวันที่ 17 พฤศจิกายนนี้ โฆษกกระทรวงต่างประเทศสหรัฐฯ ได้ออกมาแถลงว่า สหรัฐฯ มีแผนที่จะเปิดฉากการเจรจากับรัฐบาลใหม่ของพม่า โดยสหรัฐฯ บอกว่า กำลังเตรียมที่จะปรับความสัมพันธ์กับพม่าใหม่ ซึ่งพม่ากำลังจะมีรัฐบาลใหม่ ถึงแม้ว่าจะเป็นที่น่าผิดหวังว่า รัฐบาลใหม่ไม่ได้มาจากกระบวนการทางการเมืองที่มีความชอบธรรม แต่อย่างไรก็ตาม รัฐบาลสหรัฐฯ ก็มีแผนที่จะปฏิสัมพันธ์กับรัฐบาลใหม่นี้
ส่วนอีกประเด็นหนึ่งคือ บทบาทของ ออง ซาน ซูจี ในอนาคต ซึ่งยังมีความไม่แน่นอนว่า นางจะมีบทบาทต่อไปอย่างไรในสถานการณ์การเมืองที่เปลี่ยนแปลงไป การที่รัฐบาลทหารพม่ายอมปล่อยตัวนางออกมา ก็เพราะรัฐบาลมองว่า นางจะไม่เป็นพิษเป็นภัยอีกต่อไป
ถึงแม้ว่า ซูจี จะตอกย้ำว่า จะเดินหน้าปฏิรูปประเทศต่อไป แต่ก็มีคำถามหลายคำถามว่า นางจะทำได้หรือไม่ โดย ซูจี ได้บอกว่า มีแผนที่จะหารือกับพรรคการเมืองต่างๆ กว่า 30 พรรค แต่พรรคการเมืองเหล่านี้ก็กำลังระมัดระวังไม่อยากจะเป็นศัตรูกับรัฐบาลทหารพม่า จึงอาจจะไม่อยากเป็นพันธมิตรกับพรรค NLD ของซูจี ซึ่งขณะนี้ก็เป็นพรรคที่ผิดกฎหมาย
มีความเป็นไปได้ว่า รัฐบาลทหารพม่าคงจะจับตามองความเคลื่อนไหวของ ซูจี อย่างใกล้ชิด และคงจะไม่ปล่อยให้นางมีอิสระเสรีภาพที่นางจะทำอะไรได้อย่างเต็มที่ อย่าลืมว่า การปล่อยตัวนางซูจี ครั้งนี้ไม่ใช่เป้นครั้งแรก ซูจี ถูกกักบริเวณครั้งแรกในปี 1989 และในปี 1995 ก็ได้รับการปล่อยตัว แต่พอมาถึงปี 2000 ก็ถูกกักบริเวณอีก ปี 2002 ได้รับการปล่อยตัว แต่ปี 2003 ก็ถูกกักบริเวณอีกครั้งหนึ่ง ครั้งนี้จึงเป็นการถูกปล่อยตัวครั้งที่ 3 ดังนั้น จึงไม่มีหลักประกันว่านางจะไม่ถูกจับกุมและถูกกักบริเวณอีกในอนาคต
ดังนั้น การปล่อยตัวนางซูจี ในครั้งนี้ ไม่น่าจะมีผลกระทบมากมายอะไรนักต่อการเมืองพม่า มีบางคนเปรียบเทียบซูจี กับ Nelson Mandela ในกรณีของ Mandela ถูกจำคุกอยู่ 27 ปี หลังจากถูกปล่อยตัวออกมา ก็มีการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ในแอฟริกาใต้ และ Mandela ได้รับเลือกตั้งเป็นประธานาธิบดี แต่ในกรณีของซูจี คงจะเป็นไปได้ยากที่จะเป็นเหมือน Mandela หรือที่เรียกว่า “Mandela Moment” ทั้งนี้เพราะรัฐบาลทหารพม่าคงจะไม่ยอมสูญเสียอำนาจไปง่ายๆ
ตีพิมพ์ใน ไทยโพสต์ วันพฤหัสบดีที่ 18 พฤศติกายน 2553
ในช่วงสัปดาห์ที่แล้ว ได้มีเหตุการณ์สำคัญ 2 เรื่องเกิดขึ้นในพม่าคือ การเลือกตั้งและการปล่อยตัว ออง ซาน ซูจี คอลัมน์กระบวนทรรศน์ในวันนี้ จะวิเคราะห์สถานการณ์ดังกล่าว ดังนี้
การเลือกตั้ง
• ภูมิหลัง
ครั้งสุดท้ายที่พม่าได้มีการเลือกตั้งคือ ในปี 1990 เมื่อประมาณ 20 ปีมาแล้ว ในครั้งนั้น พรรค National League for Democracy หรือ NLD ซึ่งนำโดย ออง ซาน ซูจี ชนะการเลือกตั้ง แต่รัฐบาลทหารไม่ยอมรับการเลือกตั้ง ยังคงคุมอำนาจต่อไป และกักบริเวณซูจีมาเกือบตลอด ในตอนหลัง หลังจากถูกกดดันจากนานาชาติ ได้มีการร่างรัฐธรรมนูญขึ้นมา และในที่สุด ได้มีการเลือกตั้งในวันที่ 7 พฤศจิกายนที่ผ่านมา
อย่างไรก็ตาม ในรัฐธรรมนูญกำหนดให้ 25% ในรัฐสภาต้องมาจากทหาร นอกจากนั้นพรรคการเมืองที่ชนะการเลือกตั้งได้คะแนนเสียง 80% คือ พรรค Union Solidarity and Development Party (USDP) เป็นพรรคที่รัฐบาลทหารตั้งขึ้นมา และผู้นำทหารหลายคนก็ลาออกไปสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกพรรค USDP เพราะฉะนั้น รัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งในครั้งนี้ คงจะเป็นรัฐบาลทหารเหมือนเดิม แต่เปลี่ยนชุดจากชุดทหารมาเป็นชุดพลเรือนเท่านั้น และมีความเป็นไปได้มากว่านายพลตาน ฉ่วย จะได้รับการเลือกตั้งให้เป็นประธานสภา ซึ่งจะมีอำนาจในการจัดตั้งรัฐบาลและคณะรัฐมนตรี
ในส่วนของพรรค NLD และ ออง ซาน ซูจี บอยคอตการเลือกตั้ง เพราะกฎหมายเลือกตั้งกำหนดว่า บุคคลที่เคยถูกดำเนินคดีทางกฎหมายจะไม่มีสิทธิ์ลงรับเลือกตั้ง ซึ่งรวมถึง ซูจีด้วย จากการบอยคอตการเลือกตั้งทำให้พรรค NLD ต้องถูกยุบไปตามกฎหมายเลือกตั้ง นอกจากนี้ มีพรรคของชนกลุ่มน้อยหลายกลุ่มที่บอยคอตการเลือกตั้งเหมือนกัน และหลายๆ เขตที่เป็นเขตของชนกลุ่มน้อยก็ไม่ได้มีการเลือกตั้ง ซึ่งภายหลังการเลือกตั้ง ปรากฏว่า กลุ่มกบฏชาวกระเหรี่ยงได้เปิดศึกปะทะกับฝ่ายรัฐบาล เพื่อเป็นการประท้วงการเลือกตั้ง ทำให้ชาวกระเหรี่ยงกว่า 2 หมื่นคนลี้ภัยสงครามเข้ามาในประเทศไทย บริเวณจุดที่มีการสู้รบคือ เมืองเมียวดี และผู้ลี้ภัยที่ทะลักเข้ามาไทยคือ บริเวณแม่สอดและด่านเจดีย์สามองค์
รัฐบาลทหารพม่าไม่ยอมให้ผู้สื่อข่าวต่างประเทศ และไม่ยอมให้ผู้สังเกตการณ์นานาชาติเข้าไปสังเกตการณ์เลือกตั้ง
• ปฏิกิริยาจากประชาคมโลก
ด้วยเหตุที่การเลือกตั้งครั้งนี้ เห็นได้ชัดว่าไม่บริสุทธิ์ ยุติธรรม และปราศจากความโปร่งใส ดังนั้นจึงได้รับการโจมตีอย่างหนักจากฝ่ายต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากตะวันตก โดยทางสหรัฐฯ ประธานาธิบดีโอบามาได้ออกมาโจมตีการเลือกตั้งว่า ไม่ free และไม่ fair ทำให้การเลือกตั้งครั้งนี้ไม่มีความชอบธรรม นอกจากนี้ รัฐบาลทหารพม่ายังคงคุมขังนักโทษทางการเมืองกว่า 2 พันคน กฎหมายเลือกตั้งที่ไม่ยุติธรรมทำให้พรรค NLD ไม่ได้เข้าร่วม และรัฐบาลปฏิเสธการลงทะเบียนของพรรคการเมืองจากกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ ด้วยเหตุนี้ สหรัฐฯ จะเดินหน้าต่อไป ในยุทธศาสตร์การกดดันร่วมกับการปฏิสัมพันธ์ สหรัฐฯ เรียกร้องให้รัฐบาลพม่าปล่อยตัวนักโทษทางการเมืองทั้งหมด รวมทั้ง ออง ซาน ซูจี
สำหรับ Hillary Clinton รัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐฯ ก็กล่าวในทำนองเดียวกันว่า ผิดหวังเป็นอย่างมากในการเลือกตั้งครั้งนี้ การเลือกตั้งไม่มีความบริสุทธิ์ ยุติธรรม โดยเฉพาะการไม่ให้ผู้สังเกตการณ์จากต่างชาติเข้าไป สหรัฐฯ จะดำเนินยุทธศาสตร์กดดันต่อไป โดยสหรัฐฯ จะเจรจากับผู้นำพม่า เรียกร้องให้ปล่อยตัวนักโทษทางการเมือง โดยหากพม่าไม่ดำเนินมาตรการดังกล่าว สหรัฐฯ จะดำเนินการคว่ำบาตรพม่าต่อไป
สำหรับรัฐบาลตะวันตกอื่นๆ ก็มีท่าทีออกมาในทำนองเดียวกัน เช่น ออสเตรเลียออกแถลงการณ์ร่วมกับสหรัฐฯ แสดงความผิดหวังกับการเลือกตั้ง ในขณะที่สหภาพยุโรปเรียกร้องให้มีการปล่อยตัวนักโทษทางการเมือง และผิดหวังกับการเลือกตั้ง รัฐมนตรีต่างประเทศอังกฤษมีท่าทีในทำนองเดียวกัน เช่นเดียวกับญี่ปุ่น รู้สึกผิดหวังต่อการเลือกตั้ง บัน คี มุน เลขาธิการ UN ก็ได้แสดงจุดยืนว่า การเลือกตั้งครั้งนี้ไม่มีความโปร่งใส
อย่างไรก็ตาม มีจีนกับอาเซียน ที่แสดงความยินดีกับการเลือกตั้งในครั้งนี้ โดยโฆษกกระทรวงต่างประเทศจีนได้ออกมากล่าวยินดีกับการเลือกตั้งว่า พม่ากำลังเดินหน้าสู่การมีรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง และเป็นก้าวสำคัญในการเดินหน้า road map สู่ประชาธิปไตย ในขณะที่อาเซียน ก็ได้ออกแถลงการณ์โดย รัฐมนตรีต่างประเทศเวียดนาม ในฐานะประธานอาเซียน ว่าอาเซียนยินดีต่อการเลือกตั้งในครั้งนี้ และถือเป็นก้าวสำคัญต่อการดำเนิน road map สู่ประชาธิปไตย และอาเซียนขอให้พม่าเดินหน้าในกระบวนการประชาธิปไตยและความปรองดองแห่งชาติต่อไป
ออง ซาน ซูจี
• การปล่อยตัว
ในขณะที่ทั่วโลกกำลังวิพากษ์วิจารณ์การเลือกตั้งในพม่า รัฐบาลทหารพม่าก็ใช้ยุทธศาสตร์ที่แยบยลเบี่ยงเบนความสนใจ ด้วยการประกาศปล่อยตัว ออง ซาน ซูจี ในวันที่ 12 พฤศจิกายนที่ผ่านมา
หลังจากได้รับการปล่อยตัว ซูจี ได้กล่าวสุนทรพจน์ ในวันอาทิตย์ที่ 14 พฤศจิกายน เน้นว่า จะเดินหน้าในการต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยต่อไป และได้เรียกร้องให้มีเสรีภาพในการพูด และกระตุ้นให้ผู้คนที่สนับสนุนนาง ลุกขึ้นต่อสู้เรียกร้องสิทธิของตน มีอีกหลายเรื่องที่ ซูจี จะเดินหน้าผลักดันคือ การปล่อยตัวนักโทษการเมือง ความขัดแย้งทางชาติพันธุ์ รวมทั้งรัฐธรรมนูญและการเลือกตั้งที่ไม่เป็นธรรม โดย ซูจี ได้บอกว่า จะเดินหน้าร่วมกับประชาชนทั้งในประเทศและต่างประเทศ
• ปฏิกิริยาจากประชาคมโลก
หลังจาก ซูจี ได้รับการปล่อยตัว ฝ่ายต่างๆ โดยเฉพาะตะวันตกได้ออกมาแสดงความยินดี
ประธานาธิบดีโอบามากล่าวว่า ซูจี เป็นวีรสตรีของเขา และเป็นแรงบันดาลใจให้กับทุกคนที่ต่อสู้เพื่อสิทธิมนุษยชนทั้งในพม่าและทั่วโลก สหรัฐฯ ยินดีต่อการปล่อยตัวในครั้งนี้ อย่างไรก็ตาม ถึงแม้ ซูจี จะไม่ได้ถูกคุมขังในบ้าน แต่ก็ยังเหมือนเป็นนักโทษในประเทศพม่า เพราะยังมีการละเมิดสิทธิมนุษยชนอยู่ นักโทษทางการเมืองกว่า 2 พันคนยังถูกคุมขังอยู่ ดังนั้น สหรัฐฯ จึงเรียกร้องให้รัฐบาลพม่าปล่อยตัวนักโทษทางการเมืองทั้งหมด
ส่วน บัน คี มุน เลขาธิการ UN ก็ได้เรียกร้องให้รัฐบาลพม่าปล่อยตัวนักโทษทางการเมืองที่เหลืออยู่ทั้งหมด
ในขณะที่ประธานาธิบดี Nicolas Sarkozy ของฝรั่งเศส ได้ประกาศว่า ฝรั่งเศสให้ความสนใจอย่างมากต่อสถานะของ ออง ซาน ซูจี และเรียกร้องให้รัฐบาลพม่าให้อิสระเสรีภาพอย่างเต็มที่แก่นาง เช่นเดียวกับทาง EU ได้เรียกร้องในทำนองเดียวกัน คือให้รัฐบาลพม่าให้สิทธิเสรีภาพอย่างเต็มที่แก่นาง รวมถึงการเรียกร้องให้มีการปล่อยตัวนักโทษทางการเมืองทั้งหมด
เป็นที่น่าสังเกตว่า ยังไม่มีการประกาศท่าทีในเรื่องนี้จากพันธมิตรของพม่า อย่างเช่น จีนและอาเซียน โดยอาเซียนยังไม่ได้มีท่าทีอย่างเป็นทางการในเรื่องนี้ มีเพียงแต่คำให้สัมภาษณ์ของ ดร.สุรินทร์ พิษสุวรรณ เลขาธิการอาเซียน ว่ารู้สึกโล่งอกต่อข่าวการปล่อยตัว และหวังว่านางซูจี จะสามารถเล่นบทในการสร้างความปรองดองแห่งชาติได้ และหวังว่านักโทษทางการเมืองที่เหลือจะได้รับประโยชน์จากท่าทีที่เปลี่ยนไปของรัฐบาลพม่าในเรื่องนี้
แนวโน้ม
จากสถานการณ์การเมืองพม่าที่เปลี่ยนแปลงไป โดยเฉพาะการเลือกตั้งและการปล่อยตัวนางซูจี นั้น จึงมีคำถามว่า แนวโน้มในอนาคตของการเมืองพม่าจะเปลี่ยนแปลงไปอย่างไร
ประเด็นแรกคือ การเลือกตั้งในครั้งนี้ถึงแม้จะถูกโจมตีว่า ไม่มีความโปร่งใส แต่จากการที่ได้มีการจัดการเลือกตั้ง ผมจึงมองว่า รัฐบาลใหม่ของพม่าที่มาจากการเลือกตั้งที่ถึงแม้จะไม่โปร่งใส แต่ก็จะมีความชอบธรรมมากขึ้น ดังนั้นจะทำให้กระแสการต่อต้าน แรงกดดัน และมาตรการคว่ำบาตรลดลง ซึ่งเราก็เริ่มได้เห็นแล้วจากการเปลี่ยนท่าทีของสหรัฐฯ ล่าสุด โดยในวันที่ 17 พฤศจิกายนนี้ โฆษกกระทรวงต่างประเทศสหรัฐฯ ได้ออกมาแถลงว่า สหรัฐฯ มีแผนที่จะเปิดฉากการเจรจากับรัฐบาลใหม่ของพม่า โดยสหรัฐฯ บอกว่า กำลังเตรียมที่จะปรับความสัมพันธ์กับพม่าใหม่ ซึ่งพม่ากำลังจะมีรัฐบาลใหม่ ถึงแม้ว่าจะเป็นที่น่าผิดหวังว่า รัฐบาลใหม่ไม่ได้มาจากกระบวนการทางการเมืองที่มีความชอบธรรม แต่อย่างไรก็ตาม รัฐบาลสหรัฐฯ ก็มีแผนที่จะปฏิสัมพันธ์กับรัฐบาลใหม่นี้
ส่วนอีกประเด็นหนึ่งคือ บทบาทของ ออง ซาน ซูจี ในอนาคต ซึ่งยังมีความไม่แน่นอนว่า นางจะมีบทบาทต่อไปอย่างไรในสถานการณ์การเมืองที่เปลี่ยนแปลงไป การที่รัฐบาลทหารพม่ายอมปล่อยตัวนางออกมา ก็เพราะรัฐบาลมองว่า นางจะไม่เป็นพิษเป็นภัยอีกต่อไป
ถึงแม้ว่า ซูจี จะตอกย้ำว่า จะเดินหน้าปฏิรูปประเทศต่อไป แต่ก็มีคำถามหลายคำถามว่า นางจะทำได้หรือไม่ โดย ซูจี ได้บอกว่า มีแผนที่จะหารือกับพรรคการเมืองต่างๆ กว่า 30 พรรค แต่พรรคการเมืองเหล่านี้ก็กำลังระมัดระวังไม่อยากจะเป็นศัตรูกับรัฐบาลทหารพม่า จึงอาจจะไม่อยากเป็นพันธมิตรกับพรรค NLD ของซูจี ซึ่งขณะนี้ก็เป็นพรรคที่ผิดกฎหมาย
มีความเป็นไปได้ว่า รัฐบาลทหารพม่าคงจะจับตามองความเคลื่อนไหวของ ซูจี อย่างใกล้ชิด และคงจะไม่ปล่อยให้นางมีอิสระเสรีภาพที่นางจะทำอะไรได้อย่างเต็มที่ อย่าลืมว่า การปล่อยตัวนางซูจี ครั้งนี้ไม่ใช่เป้นครั้งแรก ซูจี ถูกกักบริเวณครั้งแรกในปี 1989 และในปี 1995 ก็ได้รับการปล่อยตัว แต่พอมาถึงปี 2000 ก็ถูกกักบริเวณอีก ปี 2002 ได้รับการปล่อยตัว แต่ปี 2003 ก็ถูกกักบริเวณอีกครั้งหนึ่ง ครั้งนี้จึงเป็นการถูกปล่อยตัวครั้งที่ 3 ดังนั้น จึงไม่มีหลักประกันว่านางจะไม่ถูกจับกุมและถูกกักบริเวณอีกในอนาคต
ดังนั้น การปล่อยตัวนางซูจี ในครั้งนี้ ไม่น่าจะมีผลกระทบมากมายอะไรนักต่อการเมืองพม่า มีบางคนเปรียบเทียบซูจี กับ Nelson Mandela ในกรณีของ Mandela ถูกจำคุกอยู่ 27 ปี หลังจากถูกปล่อยตัวออกมา ก็มีการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ในแอฟริกาใต้ และ Mandela ได้รับเลือกตั้งเป็นประธานาธิบดี แต่ในกรณีของซูจี คงจะเป็นไปได้ยากที่จะเป็นเหมือน Mandela หรือที่เรียกว่า “Mandela Moment” ทั้งนี้เพราะรัฐบาลทหารพม่าคงจะไม่ยอมสูญเสียอำนาจไปง่ายๆ
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)