การประชุมสุดยอดปฏิรูประบบการเงินโลก
สยามรัฐสัปดาหวิจารณ์ ปีที่ 56 ฉบับที่ 7 วันศุกร์ที่ 7 - วันพฤหัสบดีที่ 13 พฤศจิกายน 2551
แผนการจัดประชุมสุดยอด
ภายหลังจากเกิดวิกฤติการเงินลุกลามไปทั่วโลก ผู้นำของโลกตะวันตกเริ่มตื่นตัวที่จะหามาตรการแก้ไขอย่างจริงจัง โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้นำของยุโรป โดยประธานาธิบดีของฝรั่งเศส Nicolas Sarkozy และ ประธานคณะกรรมาธิการยุโรป คือ นาย Jose Manuel Barroso ได้เดินทางไปพบปะกับประธานาธิบดี Bush เมื่อวันที่ 18 ตุลาคมที่ผ่านมา เพื่อหว่านล้อมให้ประธานาธิบดี Bush จัดการประชุมสุดยอดเพื่อปฏิรูประบบการเงินโลก
ต่อมาเมื่อวันที่ 22 ตุลาคม Dana Perino โฆษกทำเนียบขาว ได้ออกมาประกาศว่าการประชุมสุดยอดครั้งแรก กำหนดจะมีขึ้นในวันที่ 15 พฤศจิกายน ที่ Washington D.C. โดยจะเป็นการประชุมสุดยอดกลุ่ม G-20 เป็นครั้งแรก ทำเนียบขาวได้บอกว่า ผู้นำของสมาชิกกลุ่ม G-20 ได้รับเชิญให้มาร่วมประชุมสุดยอด เพื่อหารือเรื่องวิกฤติการเงินในขณะนี้ รวมทั้งสาเหตุและมาตรการการปฏิรูประบบการเงินโลก การประชุมสุดยอดคงจะหารือถึงผลกระทบของวิกฤติต่อประเทศกำลังพัฒนาด้วย
การประชุมสุดยอดครั้งนี้ จะมีชื่ออย่างเป็นทางการว่า “Summit on Financial Markets and the World Economy” การประชุมในวันที่ 15 พฤศจิกายนจะเป็นการประชุมสุดยอดครั้งแรก ซึ่งต่อไปจะมีการประชุมอีกหลายครั้ง ในการประชุมครั้งแรกนั้น คงจะเน้นตกลงกันในเรื่องของหลักการหลักๆ ส่วนในเรื่องรายละเอียดนั้น คงจะจัดตั้งคณะทำงานขึ้นมา เพื่อศึกษาและเสนอต่อการประชุมสุดยอดครั้งต่อไป
ทางทำเนียบขาวมองว่า ในการประชุมสุดยอดครั้งนี้ คงจะมีแนวคิดหลายแนวคิดเกี่ยวกับข้อเสนอการปฏิรูป และมองว่าในการประชุมครั้งแรก คงจะยังไม่มีรายละเอียดในเรื่องมาตรการ คงจะเป็นการตกลงกันกว้างๆ
ส่วนประเทศที่เข้าประชุมนั้น ตามที่ได้กล่าวแล้ว คือกลุ่ม G-20 ซึ่งเป็นกลุ่มที่สหรัฐตั้งขึ้นมาในช่วงหลังเกิดวิกฤติต้มยำกุ้งในปี 1999 โดยเป็นการขยายวงออกไปจากกลุ่ม G-8 เพื่อให้ครอบคลุมกลุ่มมหาอำนาจใหม่ และกลุ่มประเทศกำลังพัฒนา โดยนอกจากกลุ่ม G-8 แล้ว มี 3 ประเทศจากละตินอเมริกา ได้แก่ อาร์เจนตินา บราซิล และเม็กซิโก ส่วนประเทศจากเอเชีย มีจีน อินเดีย เกาหลีใต้ และอินโดนีเซีย ตะวันออกกลางมี ซาอุดีอาระเบีย และตุรกี ส่วนแอฟริกา มีประเทศแอฟริกาใต้
นอกจากนี้ ทางสหรัฐได้เชิญผู้อำนวยการ IMF ประธานธนาคารโลก และเลขาธิการ UN เข้าร่วมประชุมด้วย แต่โดยที่ในวันที่ 15 พฤศจิกายนนั้น จะรู้แล้วว่าใครจะเป็นประธานาธิบดีคนใหม่ของสหรัฐ แต่ทางทำเนียบขาว ก็ยังไม่แน่ใจว่า ว่าที่ประธานาธิบดีคนใหม่ จะได้รับเชิญเข้าร่วมการประชุมสุดยอดครั้งนี้หรือไม่
ท่าทีของตะวันตก
โดยภาพรวมแล้ว สหรัฐมีท่าทีไม่ค่อยเห็นด้วยกับการปฏิรูประบบการเงินโลก โดย Bush ได้ออกมาพูดหลายครั้งว่า การปฏิรูประบบการเงินโลกจะต้องไม่กระทบต่อระบบทุนนิยมเสรี ระบบกลไกตลาดและการค้าเสรี ซึ่งเป็นหลักการพื้นฐานของระบบทุนนิยมแบบอเมริกัน โดยสหรัฐมีท่าทีไม่เห็นด้วยกับข้อเสนอของทางยุโรป ที่ต้องการให้มีการปฏิรูปแบบถอนรากถอนโคน
ผมดูแล้ว ท่าทีของสหรัฐน่าจะออกมาในลักษณะสนับสนุนให้มีการปฏิรูปบ้างเล็กน้อย โดยคงจะเน้นในเรื่องของการเพิ่มความเข้มงวดการทำธุรกรรมทางการเงิน การเพิ่มความโปร่งใสให้กับระบบการเงิน และการเพิ่มบทบาทของ IMF
อย่างไรก็ตาม ท่าทีของสหรัฐคงจะได้รับการต่อต้านอย่างหนักจากประเทศยุโรปและประเทศกำลังพัฒนา ซึ่งมองว่าต้นตอของวิกฤติคราวนี้ ก็คือ ทุนนิยมแบบอเมริกันนั่นเอง โดยกระแสโลกในขณะนี้ คือ การต้องการจะถอยห่างจากระบบทุนนิยมแบบอเมริกัน อย่างไรก็ตาม รัฐบาลสหรัฐก็คงจะคัดค้านอย่างเต็มที่ต่อข้อเสนอการปฏิรูป ที่จะเป็นการทำลายทุนนิยมแบบอเมริกัน โดยสหรัฐคงจะยืนยันในหลักการว่า กลไกภาครัฐควรจะเข้าไปแทรกแซงกลไกตลาดให้น้อยที่สุด
อย่างไรก็ดี เราคงจะต้องจับตาดูกันต่อว่า ผู้นำคนใหม่ของสหรัฐ จะมีการปรับเปลี่ยนนโยบายอย่างไร โดยผมมองว่า หาก Obama ชนะการเลือกตั้งคราวนี้ นโยบายของ Obama ในการปฏิรูประบบการเงินโลก น่าจะมีท่าทีประนีประนอมกว่าท่าทีของรัฐบาล Bush หรือของ McCain
หันมามองท่าทีของฝั่งยุโรป จะเห็นชัดเจนว่า แตกต่างจากท่าทีของสหรัฐอย่างมาก โดยผู้นำของยุโรปหลายคนได้ออกมาเสนอให้มีการปฏิรูประบบการเงินโลกอย่างถอนรากถอนโคน Gordon Brown นายกรัฐมนตรีอังกฤษ ได้กล่าวว่า วิกฤติการเงินครั้งนี้ จะต้องมีการเปลี่ยนแปลงระบบอย่างมาก เช่นเดียวกับ นาย Sarkozy ประธานาธิบดีฝรั่งเศส ได้เรียกร้องให้มีการปฏิรูป การควบคุมระบบการเงินโลก การควบคุมสอดส่องการทำธุรกรรมทางการเงินและธนาคาร ผู้นำยุโรปหลายคนเสนอให้มีการจัดตั้งกลไกควบคุมระบบการเงินโลกขึ้นมาใหม่ Sarkozy ได้ย้ำว่าต้องมีการปฏิรูประบบทุนนิยมโลกครั้งใหญ่ โดย Sarkozy ถึงกับประกาศว่า ยุโรปต้องการระบบการเงินโลกใหม่ หรือ เรียกว่า Bretton Woods II แต่ข้อเสนอของทางยุโรป ก็คงจะได้รับการต่อต้านจากสหรัฐอย่างแน่นอน
ท่าทีของเอเชีย
จากการวิเคราะห์ข้างต้น อาจจะทำให้มองว่า การปฏิรูประบบการเงินโลกครั้งนี้ คงจะเป็นการถกเถียงกันระหว่างยุโรปกับอเมริกาเท่านั้น แต่จริงๆแล้ว ยังมีประเทศอีกกลุ่มหนึ่งที่มีบทบาทมากขึ้นเรื่อยๆ นั่นคือ กลุ่มประเทศกำลังพัฒนาที่ไม่ใช่ตะวันตก
ซึ่งหากจะแยกแยะกลุ่ม G-20 แล้ว จะมีประเทศตะวันตกเพียง 7 ประเทศ รวม EU ก็อาจจะเป็น 8 แต่ 12 ประเทศที่เหลือ เป็นประเทศที่ไม่ใช่ตะวันตก และส่วนใหญ่เป็นประเทศกำลังพัฒนามหาอำนาจใหม่ ซึ่งกลุ่มประเทศเหล่านี้ ส่วนใหญ่เป็นประเทศจากเอเชีย ซึ่งมีมุมมองการปฏิรูประบบการเงินโลกที่ต่างจากตะวันตก
แนวโน้มที่สำคัญอย่างยิ่งของวิวัฒนาการของระบบเศรษฐกิจโลกในปัจจุบัน คือ แนวโน้มการผงาดขึ้นมาของเอเชีย ซึ่งมีประชากรเกินกว่าครึ่งหนึ่งของประชากรโลก และมีขนาดเศรษฐกิจ 1 ใน 3 ของขนาดเศรษฐกิจโลก
ดังนั้น ในขณะที่ตะวันตกซึ่งน่าจะมีท่าทีผลักดันการเพิ่มบทบาทของ IMF และธนาคารโลกในการปฏิรูประบบการเงินโลกนั้น แต่สำหรับเอเชียนั้น มีความรู้สึกขมขื่นกับ IMF และธนาคารโลกเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การที่ทั้ง IMF และธนาคารโลกถูกครอบงำโดยตะวันตกอย่างสิ้นเชิง ผู้อำนวยการ IMF จะเป็นชาวยุโรปมาโดยตลอด ในขณะที่ประธานธนาคารโลก จะเป็นคนอเมริกันมาโดยตลอด สหรัฐเป็นประเทศที่ครอบงำสถาบันทั้งสอง และเป็นประเทศเดียวที่มีสิทธิยับยั้งในประเด็นสำคัญๆของทั้งสององค์กร
ประสบการณ์ของเอเชียนั้น มีความขมขื่นกับ IMF มาโดยตลอด โดยไม่ใช่แต่จะถูกกีดกัน ไม่มีสิทธิ์มีเสียงใน IMF เท่านั้น แต่เอเชียจำได้ดีว่า ในช่วงวิกฤติต้มยำกุ้งปี 1997 IMF ได้เข้ามามีอำนาจบาตรใหญ่ในการกอบกู้วิกฤติต้มยำกุ้ง และมีมาตรการต่างๆที่บีบคั้นประเทศที่กู้เงินจาก IMF เป็นอย่างมาก ซึ่งหลายฝ่ายมองว่า IMF นั้น ดำเนินมาตรการต่างๆ ก็เพื่อสอดรับกับผลประโยชน์ของสหรัฐนั่นเอง ในช่วงนั้น ญี่ปุ่น ได้เคยเสนอจัดตั้งกองทุนการเงินแห่งเอเชีย แต่ก็ถูกสหรัฐคัดค้านอย่างเต็มที่ เพราะมองว่าจะมาเป็นคู่แข่งของ IMF
ดังนั้น เราคงจะต้องจับตามองว่า ในการประชุมสุดยอดในวันที่ 15 พฤศจิกายนนี้ ประเทศกำลังพัฒนาโดยเฉพาะจากเอเชีย จะมีท่าทีอย่างไร โดยเฉพาะต่อข้อเสนอของตะวันตกที่จะให้มีการเพิ่มบทบาทของ IMF ดังกล่าวข้างต้น
วันพฤหัสบดีที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551
การปฏิรูประบบการเงินโลก
การปฏิรูประบบการเงินโลก
ไทยโพสต์ ปีที่ 12 ฉบับที่ 4377 วันพฤหัสบดีที่ 23 ตุลาคม 2551
หลังจากที่วิกฤติการเงินสหรัฐได้ลุกลามกลายเป็นวิกฤติการเงินโลกไปแล้ว ล่าสุดได้มีความพยายามจากผู้นำตะวันตก ที่จะผลักดันให้มีการปฏิรูประบบการเงินโลกขึ้น คอลัมน์กระบวนทรรศน์ในวันนี้ จะวิเคราะห์ถึงความพยายามผลักดันการปฏิรูประบบการเงินโลก ท่าทีของประเทศต่างๆ รูปร่างหน้าตาของการปฏิรูป รวมทั้งอุปสรรคต่อการปฏิรูป
แถลงการณ์ร่วม
ในช่วงสุดสัปดาห์ที่ผ่านมา ทางฝ่ายยุโรปได้เดินหน้าผลักดันให้มีการปฏิรูประบบการเงินโลก โดยประธานาธิบดีฝรั่งเศส Nicolas Sarkozy ในฐานะประธาน EU และ นาย Jose Manuel Barroso ประธานคณะกรรมาธิการยุโรป ได้เดินทางไปกรุง Washington D.C. เพื่อหารือกับประธานาธิบดี Bush โดยภายหลังการหารือกันได้มีการออกแถลงการณ์ร่วมแจ้งว่า จะมีการจัดประชุมสุดยอดเพื่อการปฏิรูประบบการเงินโลกขึ้น สถานที่คงเป็นในสหรัฐ และช่วงเวลา คงเป็นภายหลังการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐ โดยมีแผนที่จะจัดประชุมสุดยอดหลายครั้ง โดยทั้งยุโรปและสหรัฐเห็นพ้องว่า ควรจะต้องมีการผลักดันให้มีการปฏิรูประบบการเงินโลกขึ้น อย่างไรก็ตาม เมื่อลงไปรายละเอียด ท่าทีของสหรัฐและยุโรปก็แตกต่างกัน
ท่าทีของสหรัฐ
ในการประชุมดังกล่าวข้างต้น ประธานาธิบดี Bush ได้แถลงว่า วิกฤติการณ์การเงินในครั้งนี้ จำเป็นจะต้องมีการปฏิรูประบบการเงินโลก แต่ Bush ก็ได้กล่าวว่า การปฏิรูประบบการเงินโลกจะต้องไม่ทำลายระบบกลไกตลาดเสรี และต้องไม่กระทบต่อระบบทุนนิยมเสรีในแนวที่สหรัฐสนับสนุนมาโดยตลอด Bush ได้แสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่า ไม่เห็นด้วยกับข้อเสนอของทางฝ่ายยุโรป ที่ต้องการให้มีการปฏิรูปแบบถอนรากถอนโคน โดยกล่าวย้ำว่าการปฏิรูปจะต้องไม่กระเทือนถึงระบบทุนนิยมประชาธิปไตย ตลาดเสรี และการค้าเสรี
ในเบื้องลึกนั้น สหรัฐซึ่งยังเป็นอภิมหาอำนาจอันดับ 1 ของโลก ยังคงมีความหวาดระแวงต่อข้อเสนอของประเทศอื่นๆ ที่อาจจะทำให้อิทธิพลของสหรัฐในโลกลดลง และอาจจะทำให้โลกเปลี่ยนจากระบบหนึ่งขั้วอำนาจไปเป็นระบบหลายขั้วอำนาจ โดย Bush ยังคงยืนยันว่า สหรัฐจะต้องเล่นบทเป็นผู้นำโลกต่อไปในการปฏิรูประบบการเงินโลก หลักฐานที่ชี้ให้เห็นว่าสหรัฐยังคงหวงแหนสถานะการเป็นผู้นำโลก คือ การบอกปัดข้อเสนอของเลขาธิการสหประชาชาติ คือ นาย Ban Kee Mun ที่เสนอจะให้มีการประชุมสุดยอดในกรอบของ UN
ท่าทีของสหรัฐนั้น ก็คงออกมาในลักษณะให้มีการปฏิรูปบ้างเล็กน้อย แต่ไม่ใช่เป็นการถอนรากถอนโคน โดยสหรัฐน่าจะเน้นเรื่องของการสร้างความโปร่งใสในระบบการเงินโลก การกำหนดกฎเกณฑ์การเคลื่อนย้ายของเงินทุน การลงทุน และการปรับปรุงบทบาทการควบคุมดูแลระบบการเงินโลกโดยสถาบันการเงินโลก
ท่าทีของยุโรป
แต่สำหรับผู้นำยุโรปนั้น มีท่าทีต่างจากท่าทีของสหรัฐค่อนข้างมาก โดยยุโรปต้องการให้มีการปฏิรูปแบบถอนรากถอนโคน มีการพูดถึงขั้นให้มีการจัดระเบียบเศรษฐกิจโลกใหม่ ที่เรียกว่า “Bretton Woods II” โดยนาย Barroso ถึงกลับประกาศกร้าวว่า เราต้องการระเบียบการเงินโลกใหม่ โดยยุโรปเน้นที่จะต้องมีการแทรกแซงกลไกตลาด และมีกฎระเบียบควบคุมระบบการเงินโลกที่เข้มงวด ยุโรปต้องการให้การประชุมสุดยอดที่จะมีขึ้น หารือถึงการสร้างรูปแบบใหม่ของทุนนิยม และให้มีการควบคุมระบบการเงินอย่างมีประสิทธิภาพทั่วโลก
นาย Sarkozy ได้ย้ำถึงความเร่งด่วนของวิกฤติการณ์การเงินโลก ที่มีความจำเป็นที่จะต้องมีการแก้ไขวิกฤติในระดับโลก โดยกล่าวย้ำว่า พวก hedge fund และธุรกรรมที่ไม่โปร่งใสต่างๆ เป็นต้นตอของวิกฤติ และต่อไป จะต้องเข้าไปควบคุมอย่างจริงจัง Sarkozy ย้ำว่า “ระบบการเงินโลกและระบบทุนนิยมโลกในปัจจุบัน เป็นสิ่งยอมรับไม่ได้ ระบบทุนนิยมปัจจุบันถือเป็นการทรยศหักหลังต่อระบบทุนนิยมที่เรายึดมั่นอยู่”
ในขณะที่นายกรัฐมนตรีอังกฤษ Gordon Brown ซึ่งมาจากพรรคแรงงานของอังกฤษ มีอุดมการณ์แนวปฏิรูปอยู่แล้ว จึงได้เสนอที่จะให้มีการปฏิรูประบบทุนนิยมโลกอย่างถอนรากถอนโคน โดยนาย Brown ได้เสนอให้มีการจัดตั้งกลไกเพื่อที่จะเข้ามาควบคุมตรวจสอบสถาบันการเงิน 30 สถาบันที่ใหญ่ที่สุดของโลก ซึ่งส่วนใหญ่เป็นสถาบันของสหรัฐ Brown เสนอว่าน่าจะต้องมีการปฏิรูปองค์กรการเงินโลกที่ตั้งขึ้นมาตั้งแต่หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ที่เรารู้จักกันในชื่อว่า Bretton Woods Brown ยังได้เสนอให้มีการปฏิรูป IMF โดยให้เล่นบทบาทเป็นระบบเตือนภัยล่วงหน้า สำหรับป้องกันไม่ให้วิกฤติเกิดขึ้นอีก Brown ได้เสนอว่า ขณะนี้โลกต้องการความโปร่งใสมากขึ้น และระบบโลกาภิบาลทางด้านการเงิน
ข้อเสนอการปฏิรูประบบการเงินโลก
สำหรับแผนการจัดประชุมสุดยอดเพื่อปฏิรูประบบการเงินโลกนั้น ผู้นำตะวันตกได้กำหนดว่าควรจะมีหลายครั้ง โดยครั้งแรก จะเน้นในเรื่องของการพิจารณาความคืบหน้าในการกอบกู้วิกฤติการเงินโลกในขณะนี้ และจะพยายามตกลงกันในเรื่องของหลักการปฏิรูประบบการเงินโลก ส่วนการประชุมสุดยอดครั้งต่อๆไป จะเป็นการหารือถึงมาตรการต่างๆในรายละเอียดเพื่อนำไปสู่การปฏิรูป
สำหรับประเทศที่จะเข้าร่วมการประชุมสุดยอดนั้น ทางตะวันตกวางแผนว่า กลุ่มแกนหลักคือ G-8 และจะเชิญประเทศนอกกลุ่ม G-8 ที่สำคัญเข้าร่วม อาทิ จีน อินเดีย บราซิล เกาหลีใต้
ขณะนี้ได้มีข้อเสนอออกมาหลายข้อเสนอ โดยมีการมุ่งเป้าไปที่การปฏิรูป IMF อย่างไรก็ตาม ขณะนี้ IMF มีสมาชิกกว่า 150 ประเทศ แต่สมาชิกก็ยังไม่สามารถที่จะตกลงกันได้ ว่า IMF ควรจะมีบทบาทอย่างไร โดยเฉพาะในการปฏิรูป IMF
บางคนจึงมองว่า หากไม่สามารถปฏิรูป IMF ได้ ก็ควรมีการจัดตั้งองค์กรใหม่ขึ้นมา เพื่อมาควบคุมระบบการเงินโลก โดยในกลางเดือนพฤศจิกายนนี้ จะมีการประชุมกลุ่มประเทศ G-20 ที่บราซิล ซึ่งได้มีข้อเสนอให้ประเทศกลุ่มนี้ ผลักดันจัดตั้งกลไกใหม่ ในลักษณะการตั้งวงเงินกู้ล่วงหน้าระหว่างกัน และให้มีการตั้งสำนักเลขาธิการ เพื่อเพิ่มความโปร่งใสและการควบคุมตรวจสอบ จริงๆแล้ว IMF ควรจะเล่นบทสำนักเลขาธิการดังกล่าว แต่ก็มีหลายประเทศคัดค้าน จึงอาจต้องมีการตั้งกลไกใหม่ขึ้น
การปฏิรูป IMF นั้น คงจะมีปัญหาแน่นอน เพราะสหรัฐคงจะไม่สนับสนุนและคงจะยืนยันในหลักการทุนนิยมเสรีต่อไป โดยเน้นกลไกตลาด ในขณะที่ประเทศในเอเชีย ซึ่งเมื่อปี 1997 เกิดวิกฤติต้มยำกุ้ง ก็ได้รับบทเรียนอย่างแสนสาหัสมาแล้ว จากมาตรการของ IMF ตั้งแต่นั้นมา ประเทศในเอเชียก็สูญเสียศรัทธาใน IMF ซ้ำร้ายไปกว่านั้น ประเทศในเอเชียก็ไม่มีสิทธิมีเสียงในสถาบันนี้เลย
ผมอยากจะวิเคราะห์ต่อไปว่า อนาคตของการปฏิรูประบบการเงินโลกคงไม่ง่าย เพราะมีอุปสรรคหลายเรื่อง ปัญหาใหญ่คือ ตัวตั้งตัวตีของการปฏิรูปในครั้งนี้คือ กลุ่มประเทศตะวันตก คือ กลุ่ม G-8 ซึ่งขณะนี้ กลุ่มG-8 กำลังประสบวิกฤติศรัทธาอย่างหนัก เพราะ G-8 ไม่ได้สะท้อนโครงสร้างและระบบเศรษฐกิจโลกในปัจจุบัน และไม่ได้เป็นตัวแทนของประชาคมโลกอย่างแท้จริง
การผงาดขึ้นมาของประเทศมหาอำนาจใหม่ อาทิ จีน อินเดีย และประเทศกำลังพัฒนา กำลังท้าทายการครอบงำองค์กรโลกของตะวันตกมากขึ้นเรื่อยๆ โดยประเทศมหาอำนาจใหม่เหล่านี้ ต้องการที่จะให้มีการปฏิรูปโครงสร้างใหม่ของระบบโลกไปในทิศทางที่ตนต้องการ แต่ไม่ใช่ไปในทิศทางที่ตะวันตกต้องการ
ในอดีต กลุ่ม G-8 เคยมีบทบาทอย่างมากในการประสานท่าทีต่อการแก้ปัญหาเศรษฐกิจโลก แต่ในปัจจุบัน โครงสร้างเศรษฐกิจโลกได้เปลี่ยนแปลงไปมาก จึงทำให้การประชุม G-8 ในปัจจุบัน ไม่มีความหมาย และไม่มีความชอบธรรม
สำหรับองค์กรการเงินโลกหลักคือ IMF และธนาคารโลกนั้น สหรัฐก็เป็นตัวตั้งตัวตีจัดตั้งขึ้นมาในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ในตอนนั้น สหรัฐเป็นประเทศเดียวที่ผูกขาดอำนาจในการจัดระเบียบเศรษฐกิจโลก สหรัฐจึงได้ใช้อำนาจดังกล่าวสร้างระบบเศรษฐกิจโลกขึ้นมา ที่เราเรียกว่า Bretton Woods System
อย่างไรก็ตาม โครงสร้างอำนาจเศรษฐกิจโลกได้เปลี่ยนไปมาก โดยเฉพาะการผงาดขึ้นมาของกลุ่มประเทศกำลังพัฒนา และมหาอำนาจที่ไม่ใช่ตะวันตก แต่ประเทศเหล่านี้ ก็ไม่มีบทบาทใน IMF และธนาคารโลกเลย โดยตลอดเวลาที่ผ่านมา ผู้อำนวยการ IMF มาจากยุโรปโดยตลอด และประธานธนาคารโลก ก็ถูกผูกขาดโดยคนอเมริกันมาโดยตลอด นอกจากนี้ ประเทศกำลังพัฒนา ก็ไม่มีอำนาจการลงคะแนนเสียง (voting power) ใน IMF โดยมีการให้ voting power กับสหรัฐและยุโรปเป็นอย่างมาก โดยประเทศกำลังพัฒนาแทบจะไม่มี voting power เลย
ไทยโพสต์ ปีที่ 12 ฉบับที่ 4377 วันพฤหัสบดีที่ 23 ตุลาคม 2551
หลังจากที่วิกฤติการเงินสหรัฐได้ลุกลามกลายเป็นวิกฤติการเงินโลกไปแล้ว ล่าสุดได้มีความพยายามจากผู้นำตะวันตก ที่จะผลักดันให้มีการปฏิรูประบบการเงินโลกขึ้น คอลัมน์กระบวนทรรศน์ในวันนี้ จะวิเคราะห์ถึงความพยายามผลักดันการปฏิรูประบบการเงินโลก ท่าทีของประเทศต่างๆ รูปร่างหน้าตาของการปฏิรูป รวมทั้งอุปสรรคต่อการปฏิรูป
แถลงการณ์ร่วม
ในช่วงสุดสัปดาห์ที่ผ่านมา ทางฝ่ายยุโรปได้เดินหน้าผลักดันให้มีการปฏิรูประบบการเงินโลก โดยประธานาธิบดีฝรั่งเศส Nicolas Sarkozy ในฐานะประธาน EU และ นาย Jose Manuel Barroso ประธานคณะกรรมาธิการยุโรป ได้เดินทางไปกรุง Washington D.C. เพื่อหารือกับประธานาธิบดี Bush โดยภายหลังการหารือกันได้มีการออกแถลงการณ์ร่วมแจ้งว่า จะมีการจัดประชุมสุดยอดเพื่อการปฏิรูประบบการเงินโลกขึ้น สถานที่คงเป็นในสหรัฐ และช่วงเวลา คงเป็นภายหลังการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐ โดยมีแผนที่จะจัดประชุมสุดยอดหลายครั้ง โดยทั้งยุโรปและสหรัฐเห็นพ้องว่า ควรจะต้องมีการผลักดันให้มีการปฏิรูประบบการเงินโลกขึ้น อย่างไรก็ตาม เมื่อลงไปรายละเอียด ท่าทีของสหรัฐและยุโรปก็แตกต่างกัน
ท่าทีของสหรัฐ
ในการประชุมดังกล่าวข้างต้น ประธานาธิบดี Bush ได้แถลงว่า วิกฤติการณ์การเงินในครั้งนี้ จำเป็นจะต้องมีการปฏิรูประบบการเงินโลก แต่ Bush ก็ได้กล่าวว่า การปฏิรูประบบการเงินโลกจะต้องไม่ทำลายระบบกลไกตลาดเสรี และต้องไม่กระทบต่อระบบทุนนิยมเสรีในแนวที่สหรัฐสนับสนุนมาโดยตลอด Bush ได้แสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่า ไม่เห็นด้วยกับข้อเสนอของทางฝ่ายยุโรป ที่ต้องการให้มีการปฏิรูปแบบถอนรากถอนโคน โดยกล่าวย้ำว่าการปฏิรูปจะต้องไม่กระเทือนถึงระบบทุนนิยมประชาธิปไตย ตลาดเสรี และการค้าเสรี
ในเบื้องลึกนั้น สหรัฐซึ่งยังเป็นอภิมหาอำนาจอันดับ 1 ของโลก ยังคงมีความหวาดระแวงต่อข้อเสนอของประเทศอื่นๆ ที่อาจจะทำให้อิทธิพลของสหรัฐในโลกลดลง และอาจจะทำให้โลกเปลี่ยนจากระบบหนึ่งขั้วอำนาจไปเป็นระบบหลายขั้วอำนาจ โดย Bush ยังคงยืนยันว่า สหรัฐจะต้องเล่นบทเป็นผู้นำโลกต่อไปในการปฏิรูประบบการเงินโลก หลักฐานที่ชี้ให้เห็นว่าสหรัฐยังคงหวงแหนสถานะการเป็นผู้นำโลก คือ การบอกปัดข้อเสนอของเลขาธิการสหประชาชาติ คือ นาย Ban Kee Mun ที่เสนอจะให้มีการประชุมสุดยอดในกรอบของ UN
ท่าทีของสหรัฐนั้น ก็คงออกมาในลักษณะให้มีการปฏิรูปบ้างเล็กน้อย แต่ไม่ใช่เป็นการถอนรากถอนโคน โดยสหรัฐน่าจะเน้นเรื่องของการสร้างความโปร่งใสในระบบการเงินโลก การกำหนดกฎเกณฑ์การเคลื่อนย้ายของเงินทุน การลงทุน และการปรับปรุงบทบาทการควบคุมดูแลระบบการเงินโลกโดยสถาบันการเงินโลก
ท่าทีของยุโรป
แต่สำหรับผู้นำยุโรปนั้น มีท่าทีต่างจากท่าทีของสหรัฐค่อนข้างมาก โดยยุโรปต้องการให้มีการปฏิรูปแบบถอนรากถอนโคน มีการพูดถึงขั้นให้มีการจัดระเบียบเศรษฐกิจโลกใหม่ ที่เรียกว่า “Bretton Woods II” โดยนาย Barroso ถึงกลับประกาศกร้าวว่า เราต้องการระเบียบการเงินโลกใหม่ โดยยุโรปเน้นที่จะต้องมีการแทรกแซงกลไกตลาด และมีกฎระเบียบควบคุมระบบการเงินโลกที่เข้มงวด ยุโรปต้องการให้การประชุมสุดยอดที่จะมีขึ้น หารือถึงการสร้างรูปแบบใหม่ของทุนนิยม และให้มีการควบคุมระบบการเงินอย่างมีประสิทธิภาพทั่วโลก
นาย Sarkozy ได้ย้ำถึงความเร่งด่วนของวิกฤติการณ์การเงินโลก ที่มีความจำเป็นที่จะต้องมีการแก้ไขวิกฤติในระดับโลก โดยกล่าวย้ำว่า พวก hedge fund และธุรกรรมที่ไม่โปร่งใสต่างๆ เป็นต้นตอของวิกฤติ และต่อไป จะต้องเข้าไปควบคุมอย่างจริงจัง Sarkozy ย้ำว่า “ระบบการเงินโลกและระบบทุนนิยมโลกในปัจจุบัน เป็นสิ่งยอมรับไม่ได้ ระบบทุนนิยมปัจจุบันถือเป็นการทรยศหักหลังต่อระบบทุนนิยมที่เรายึดมั่นอยู่”
ในขณะที่นายกรัฐมนตรีอังกฤษ Gordon Brown ซึ่งมาจากพรรคแรงงานของอังกฤษ มีอุดมการณ์แนวปฏิรูปอยู่แล้ว จึงได้เสนอที่จะให้มีการปฏิรูประบบทุนนิยมโลกอย่างถอนรากถอนโคน โดยนาย Brown ได้เสนอให้มีการจัดตั้งกลไกเพื่อที่จะเข้ามาควบคุมตรวจสอบสถาบันการเงิน 30 สถาบันที่ใหญ่ที่สุดของโลก ซึ่งส่วนใหญ่เป็นสถาบันของสหรัฐ Brown เสนอว่าน่าจะต้องมีการปฏิรูปองค์กรการเงินโลกที่ตั้งขึ้นมาตั้งแต่หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ที่เรารู้จักกันในชื่อว่า Bretton Woods Brown ยังได้เสนอให้มีการปฏิรูป IMF โดยให้เล่นบทบาทเป็นระบบเตือนภัยล่วงหน้า สำหรับป้องกันไม่ให้วิกฤติเกิดขึ้นอีก Brown ได้เสนอว่า ขณะนี้โลกต้องการความโปร่งใสมากขึ้น และระบบโลกาภิบาลทางด้านการเงิน
ข้อเสนอการปฏิรูประบบการเงินโลก
สำหรับแผนการจัดประชุมสุดยอดเพื่อปฏิรูประบบการเงินโลกนั้น ผู้นำตะวันตกได้กำหนดว่าควรจะมีหลายครั้ง โดยครั้งแรก จะเน้นในเรื่องของการพิจารณาความคืบหน้าในการกอบกู้วิกฤติการเงินโลกในขณะนี้ และจะพยายามตกลงกันในเรื่องของหลักการปฏิรูประบบการเงินโลก ส่วนการประชุมสุดยอดครั้งต่อๆไป จะเป็นการหารือถึงมาตรการต่างๆในรายละเอียดเพื่อนำไปสู่การปฏิรูป
สำหรับประเทศที่จะเข้าร่วมการประชุมสุดยอดนั้น ทางตะวันตกวางแผนว่า กลุ่มแกนหลักคือ G-8 และจะเชิญประเทศนอกกลุ่ม G-8 ที่สำคัญเข้าร่วม อาทิ จีน อินเดีย บราซิล เกาหลีใต้
ขณะนี้ได้มีข้อเสนอออกมาหลายข้อเสนอ โดยมีการมุ่งเป้าไปที่การปฏิรูป IMF อย่างไรก็ตาม ขณะนี้ IMF มีสมาชิกกว่า 150 ประเทศ แต่สมาชิกก็ยังไม่สามารถที่จะตกลงกันได้ ว่า IMF ควรจะมีบทบาทอย่างไร โดยเฉพาะในการปฏิรูป IMF
บางคนจึงมองว่า หากไม่สามารถปฏิรูป IMF ได้ ก็ควรมีการจัดตั้งองค์กรใหม่ขึ้นมา เพื่อมาควบคุมระบบการเงินโลก โดยในกลางเดือนพฤศจิกายนนี้ จะมีการประชุมกลุ่มประเทศ G-20 ที่บราซิล ซึ่งได้มีข้อเสนอให้ประเทศกลุ่มนี้ ผลักดันจัดตั้งกลไกใหม่ ในลักษณะการตั้งวงเงินกู้ล่วงหน้าระหว่างกัน และให้มีการตั้งสำนักเลขาธิการ เพื่อเพิ่มความโปร่งใสและการควบคุมตรวจสอบ จริงๆแล้ว IMF ควรจะเล่นบทสำนักเลขาธิการดังกล่าว แต่ก็มีหลายประเทศคัดค้าน จึงอาจต้องมีการตั้งกลไกใหม่ขึ้น
การปฏิรูป IMF นั้น คงจะมีปัญหาแน่นอน เพราะสหรัฐคงจะไม่สนับสนุนและคงจะยืนยันในหลักการทุนนิยมเสรีต่อไป โดยเน้นกลไกตลาด ในขณะที่ประเทศในเอเชีย ซึ่งเมื่อปี 1997 เกิดวิกฤติต้มยำกุ้ง ก็ได้รับบทเรียนอย่างแสนสาหัสมาแล้ว จากมาตรการของ IMF ตั้งแต่นั้นมา ประเทศในเอเชียก็สูญเสียศรัทธาใน IMF ซ้ำร้ายไปกว่านั้น ประเทศในเอเชียก็ไม่มีสิทธิมีเสียงในสถาบันนี้เลย
ผมอยากจะวิเคราะห์ต่อไปว่า อนาคตของการปฏิรูประบบการเงินโลกคงไม่ง่าย เพราะมีอุปสรรคหลายเรื่อง ปัญหาใหญ่คือ ตัวตั้งตัวตีของการปฏิรูปในครั้งนี้คือ กลุ่มประเทศตะวันตก คือ กลุ่ม G-8 ซึ่งขณะนี้ กลุ่มG-8 กำลังประสบวิกฤติศรัทธาอย่างหนัก เพราะ G-8 ไม่ได้สะท้อนโครงสร้างและระบบเศรษฐกิจโลกในปัจจุบัน และไม่ได้เป็นตัวแทนของประชาคมโลกอย่างแท้จริง
การผงาดขึ้นมาของประเทศมหาอำนาจใหม่ อาทิ จีน อินเดีย และประเทศกำลังพัฒนา กำลังท้าทายการครอบงำองค์กรโลกของตะวันตกมากขึ้นเรื่อยๆ โดยประเทศมหาอำนาจใหม่เหล่านี้ ต้องการที่จะให้มีการปฏิรูปโครงสร้างใหม่ของระบบโลกไปในทิศทางที่ตนต้องการ แต่ไม่ใช่ไปในทิศทางที่ตะวันตกต้องการ
ในอดีต กลุ่ม G-8 เคยมีบทบาทอย่างมากในการประสานท่าทีต่อการแก้ปัญหาเศรษฐกิจโลก แต่ในปัจจุบัน โครงสร้างเศรษฐกิจโลกได้เปลี่ยนแปลงไปมาก จึงทำให้การประชุม G-8 ในปัจจุบัน ไม่มีความหมาย และไม่มีความชอบธรรม
สำหรับองค์กรการเงินโลกหลักคือ IMF และธนาคารโลกนั้น สหรัฐก็เป็นตัวตั้งตัวตีจัดตั้งขึ้นมาในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ในตอนนั้น สหรัฐเป็นประเทศเดียวที่ผูกขาดอำนาจในการจัดระเบียบเศรษฐกิจโลก สหรัฐจึงได้ใช้อำนาจดังกล่าวสร้างระบบเศรษฐกิจโลกขึ้นมา ที่เราเรียกว่า Bretton Woods System
อย่างไรก็ตาม โครงสร้างอำนาจเศรษฐกิจโลกได้เปลี่ยนไปมาก โดยเฉพาะการผงาดขึ้นมาของกลุ่มประเทศกำลังพัฒนา และมหาอำนาจที่ไม่ใช่ตะวันตก แต่ประเทศเหล่านี้ ก็ไม่มีบทบาทใน IMF และธนาคารโลกเลย โดยตลอดเวลาที่ผ่านมา ผู้อำนวยการ IMF มาจากยุโรปโดยตลอด และประธานธนาคารโลก ก็ถูกผูกขาดโดยคนอเมริกันมาโดยตลอด นอกจากนี้ ประเทศกำลังพัฒนา ก็ไม่มีอำนาจการลงคะแนนเสียง (voting power) ใน IMF โดยมีการให้ voting power กับสหรัฐและยุโรปเป็นอย่างมาก โดยประเทศกำลังพัฒนาแทบจะไม่มี voting power เลย
วิกฤติการเงินโลก: ผลกระทบต่อประเทศกำลังพัฒนา
วิกฤติการเงินโลก: ผลกระทบต่อประเทศกำลังพัฒนา
สยามรัฐสัปดาหวิจารณ์ ปีที่ 56 ฉบับที่ 6 วันศุกร์ที่ 31 ตุลาคม - พฤหัสบดีที่ 6 พฤศจิกายน 2551
ขณะนี้วิกฤติการเงินโลก ได้ลุกลามขยายตัวไปทั่วโลกแล้ว โดยเริ่มจากวิกฤติการเงินในสหรัฐก่อน หลังจากนั้น ได้ระบาดเข้าไปในยุโรป และขณะนี้ ได้ลุกลามระบาดไปทั่วโลก โดยเฉพาะการระบาดเข้าสู่เศรษฐกิจของประเทศกำลังพัฒนา
ในช่วงแรกที่เกิดวิกฤติ subprime ใหม่ๆ ประเทศกำลังพัฒนาส่วนใหญ่ เฝ้ามองวิกฤติครั้งนี้ว่าคงจะจำกัดวงอยู่แต่ในโลกตะวันตก ธนาคารส่วนใหญ่ของประเทศกำลังพัฒนา ไม่ได้เกี่ยวข้องโดยตรงกับวิกฤติ subprime แม้ว่าจะมีการพูดกันว่า วิกฤติการเงินครั้งนี้ นับว่าเลวร้ายที่สุด นับตั้งแต่เศรษฐกิจตกต่ำทั่วโลกในช่วงทศวรรษ 1930 แต่ประเทศกำลังพัฒนาส่วนใหญ่ ก็มองว่า น่าจะอยู่ห่างไกลจากศูนย์กลางของมรสุมการเงินในครั้งนี้
อย่างไรก็ตาม ในขณะนี้ ได้เริ่มเห็นชัดเจนแล้วว่า ประทศกำลังพัฒนาไม่สามารถหลีกเลี่ยงวิกฤติครั้งนี้ได้ โดยได้รับผลกระทบทั้งทางตรงและทางอ้อม เงินลงทุนได้เริ่มหดหายไป รวมทั้งตลาดส่งออก และตลาดหุ้นในประเทศกำลังพัฒนาเอง ก็ตกต่ำอย่างหนัก บางตลาด มูลค่าหุ้น หายไปกว่าครึ่ง และค่าเงินสกุลต่างๆก็กำลังตกต่ำอย่างหนัก
ล่าสุด ในวันอังคารที่ 28 ตุลาคม ตลาดหุ้นทั่วโลกยังคงปั่นป่วนและดิ่งลงเหวอย่างต่อเนื่อง โดยที่หนักที่สุด เป็นตลาดหุ้นในเอเชีย โดยตลาดหุ้นนิเคอิของญี่ปุ่น ตกลงไปอีก 6% นับเป็นการตกต่ำที่สุดในรอบ 26 ปี ในขณะที่ตลาดหุ้นฮั่งเส็งของฮ่องกงก็ตกลงถึง 12% ท่ามกลางความหวั่นวิตกว่า มาตรการกอบกู้วิกฤติเศรษฐกิจของประเทศต่างๆ อาจจะไม่ได้ผล และอาจจะสายเกินไปที่จะป้องกันภาวะเศรษฐกิจถดถอยของเศรษฐกิจโลก
สำหรับในกรณีของไทย ก็กำลังปั่นป่วนอย่างหนัก โดยทางสภาอุตสาหกรรมได้ประเมินสถานการณ์ว่า เศรษฐกิจไทย กำลังจะเข้าสู่ภาวะวิกฤติ โดยในปีหน้าจะมีคนตกงานถึงกว่า 1 ล้านคน ไม่ต้องพูดถึงผลกระทบของการส่งออก ท่องเที่ยว และอุตสาหกรรม ขณะนี้ ธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม กำลังระส่ำระสายอย่างหนัก และกำลังจะล้มละลายกันเป็นแถว ตลาดหุ้นไทยก็ตกต่ำลงอย่างหนัก ขณะนี้ หลุด 400 จุดไปแล้ว
การส่งออก
ผลกระทบประการสำคัญของวิกฤติการเงินโลกต่อประเทศกำลังพัฒนา เรื่องแรกคือ การส่งออก การถดถอยลงของอุปสงค์ในตลาดสหรัฐและยุโรป ได้ส่งผลกระทบเป็นอย่างมากต่อการส่งออกของประเทศกำลังพัฒนา รวมทั้งประเทศไทยด้วย ซึ่งตลาดส่งออกหลักของไทยยังคงอยู่ที่สหรัฐและยุโรป ขณะนี้ มีการประเมินว่า การส่งออกของไทยไปตลาดตะวันตก ลดลงไปกว่า 30% แล้ว
นอกจากนี้ ปัญหาที่เกี่ยวเนื่องกันคือ การตกต่ำลงอย่างมากของราคาสินค้าโภคภัณฑ์ ซึ่งเป็นสินค้าส่งออกที่สำคัญของประเทศกำลังพัฒนา ไม่ว่าจะเป็นราคาสินค้าเกษตรและราคาแร่ธาตุต่างๆ ในกรณีของไทย ก็กำลังประสบปัญหาอย่างหนัก จากภาวะสินค้าเกษตรตกต่ำ โดยเฉพาะราคาข้าวโพด มันสำปะหลัง และยางพารา สำหรับประเทศกำลังพัฒนาอื่นๆ ก็ประสบปัญหาเช่นเดียวกับไทย ประเทศแอฟริกาใต้ ซึ่งเป็นผู้ส่งออกแร่ธาตุสำคัญ กำลังประสบวิกฤติอย่างหนัก โดยเฉพาะราคา platinum และทอง ทำให้ค่าเงินของแอฟริกาใต้ตกต่ำลงอย่างน่ากลัว บราซิลซึ่งเป็นอีกประเทศหนึ่งที่ส่งออกสินค้าโภคภัณฑ์รายใหญ่ คิดเป็น 9% ของGDP ก็เจอปัญหาเช่นเดียวกัน
การเงิน
วิกฤติการเงินโลกในครั้งนี้ ได้ส่งผลกระทบโดยตรงต่อสถานะการเงินของประเทศกำลังพัฒนา ระบบการเงินของหลายๆประเทศกำลังสั่นคลอน ประเทศที่มีเงินทุนสำรองระหว่างประเทศมาก ก็อาจจะรอดตัวไปได้ อย่างเช่น เกาหลีใต้ ซึ่งมีเงินทุนสำรองอยู่ประมาณ 140,000 ล้านเหรียญ รัสเซียมีอยู่ 540,000 ล้านเหรียญ และประเทศที่มีเงินทุนสำรองมากที่สุดคือ จีน ซึ่งมีกว่า 2 ล้านล้านเหรียญ
สำหรับในกรณีของเกาหลีใต้ รัฐบาลได้ออกมาค้ำประกันวงเงินกู้กว่า 1 แสนล้านเหรียญ รัสเซียก็ได้อัดฉีดเงิน 220,000 ล้านเหรียญเพื่อช่วยอุ้มสถาบันการเงินของตน
แต่สำหรับประเทศที่ไม่มีเงินทุนสำรองเพียงพอ ก็คงหนีไม่พ้นที่จะต้องไปกู้จาก IMF ซึ่งตอนนี้ มีฮังการีและยูเครนได้รับเงินกู้จาก IMF ไปแล้ว และยังมีอีกกว่า 10 ประเทศที่กำลังเจรจากับ IMF อยู่
สำหรับวิกฤติการการเงินในประเทศกำลังพัฒนานั้น เป็นผลต่อเนื่องมาจากวิกฤติการเงินในยุโรปและสหรัฐ โดยเงินกู้จากธนาคารสหรัฐและยุโรปได้เหือดหายไป และมีการถอนทุนจากพวก hedge fund และนักลงทุนในตลาดหุ้น ทำให้ธุรกิจการให้กู้เกิดสะดุด ซึ่งที่ผ่านมา ธุรกิจเงินกู้เป็นตัวกระตุ้นการใช้จ่ายภายในที่สำคัญ แต่เมื่อธุรกิจการให้กู้สะดุด ก็ทำให้การเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจชะลอตัวลง
แต่ผลกระทบในเรื่องนี้ จะแตกต่างกันไปในแต่ละประเทศ โดยประเทศที่ได้เปรียบดุลบัญชีเดินสะพัด โดยเฉพาะจีนและประเทศส่งออกน้ำมัน จะได้รับผลกระทบน้อย แต่ประเทศกำลังพัฒนาส่วนใหญ่ ตกอยู่ในสถานะเสียเปรียบดุลบัญชีเดินสะพัด ซึ่งคิดเป็นกว่า 5%ของ GDP ที่หนักที่สุดคือ ประเทศในยุโรปตะวันออก ซึ่งหลายประเทศขาดดุลบัญชีเดินสะพัดกว่า 10%
นอกจากนี้ ประเทศกำลังพัฒนากำลังประสบกับการไหลออกของเงินทุนอย่างหนัก โดยมีการคาดกันว่า ในปีนี้ เงินทุนไหลเข้าจะลดลงกว่า 30% ของปีที่แล้ว
สำหรับประเทศจีน น่าจะอยู่ในสถานะที่ดีกว่าเพื่อนในกลุ่มประเทศกำลังพัฒนา ทั้งนี้เพราะจีนมีเงินทุนสำรองกว่า 2 ล้านล้านเหรียญ ภาวะเกินดุลบัญชีเดินสะพัด มีการเชื่อมโยงกับสถาบันการเงินในตะวันตกค่อนข้างน้อย และดุลงบประมาณก็เกินดุลเช่นเดียวกัน อย่างไรก็ตาม จีนก็ได้รับผลกระทบอยู่ดี โดยอัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของจีน คาดว่าจะลดลงเหลือแค่ 8% ซึ่งในอดีตนั้น จีนโตเกินกว่า 10% มาโดยตลอด
สำหรับประเทศอื่น ก็จะตกอยู่ในสภาวะล่อแหลม อินเดียขณะนี้ ขาดดุลงบประมาณมหาศาล และขาดดุลบัญชีเดินสะพัดมหาศาล คิดเป็นถึง 3.6% ของ GDP
สถานะการเงินของบราซิลก็น่าเป็นห่วง อย่างไรก็ตาม เศรษฐกิจของบราซิลในช่วงที่ผ่านมา อาจเป็นเพราะบราซิลเคยเกิดวิกฤติการเงินหลายครั้ง จึงทำให้มีบทเรียนเหมือนกับประเทศไทย ซึ่งได้รับบทเรียนจากวิกฤติต้มยำกุ้งมาแล้ว บราซิล จึงได้มีมาตรการกระจายความเสี่ยง กระจายตลาด และมีเงินทุนสำรองค่อนข้างมาก
ซึ่งสถานะของบราซิลก็คล้ายๆกับของไทย คือ บทเรียนจากวิกฤติต้มยำกุ้ง ทำให้ไทยค่อนข้างระมัดระวังตัว โดยไทยมีเงินทุนสำรองอยู่ไม่น้อย มีการกระจายตลาดส่งออกเพิ่มขึ้น มีการปฏิรูปสถาบันการเงิน และเข้มงวดกวดขันในการปล่อยเงินกู้ และมีระบบอัตราแลกเปลี่ยนที่มีความยืดหยุ่นมากขึ้น
แต่ขณะนี้ ประเทศที่ดูน่าเป็นห่วงมากคือ กลุ่มประเทศยุโรปตะวันออก ซึ่งกำลังประสบกับภาวะวิกฤติเศรษฐกิจอย่างหนัก ภาวะหนี้สินของภาครัฐสูง การกู้ยืมเงินของภาคเอกชนก็อยู่ในระดับสูงมาก มีการขาดดุลบัญชีเดินสะพัดอย่างหนัก นโยบายเศรษฐกิจของรัฐบาลก็ไม่มีประสิทธิภาพ และขาดการควบคุมการใช้จ่ายของภาครัฐ ทำให้หลายๆประเทศกำลังจะประสบภาวะล้มละลาย และหลายประเทศก็กำลังแสวงหาความช่วยเหลือจาก IMF
ในช่วงไม่กี่วันที่ผ่านมา IMF ได้ประกาศปล่อยเงินกู้ให้ความช่วยเหลือแก่ฮังการีและยูเครนไปแล้ว ในกรณีของฮังการีนั้น อาการค่อนข้างหนัก โดยเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว ค่าเงินของฮังการีได้ตกลงอย่างมาก และตลาดหุ้นฮังการี ก็ปั่นป่วนอย่างหนัก จนต้องปิดทำการเป็นเวลา 2 วัน IMF จึงได้ทำข้อตกลงกับสหภาพยุโรป โดยเฉพาะกับเยอรมนี ออสเตรีย อิตาลี และธนาคารโลกในการช่วยกันลงขันเงินกู้ให้กับฮังการี สำหรับในกรณีของยูเครนนั้น เมื่อวันที่ 26 ตุลาคม IMF ได้ประกาศวงเงินกู้ 16,000 ล้านเหรียญสหรัฐให้กับยูเครน
สยามรัฐสัปดาหวิจารณ์ ปีที่ 56 ฉบับที่ 6 วันศุกร์ที่ 31 ตุลาคม - พฤหัสบดีที่ 6 พฤศจิกายน 2551
ขณะนี้วิกฤติการเงินโลก ได้ลุกลามขยายตัวไปทั่วโลกแล้ว โดยเริ่มจากวิกฤติการเงินในสหรัฐก่อน หลังจากนั้น ได้ระบาดเข้าไปในยุโรป และขณะนี้ ได้ลุกลามระบาดไปทั่วโลก โดยเฉพาะการระบาดเข้าสู่เศรษฐกิจของประเทศกำลังพัฒนา
ในช่วงแรกที่เกิดวิกฤติ subprime ใหม่ๆ ประเทศกำลังพัฒนาส่วนใหญ่ เฝ้ามองวิกฤติครั้งนี้ว่าคงจะจำกัดวงอยู่แต่ในโลกตะวันตก ธนาคารส่วนใหญ่ของประเทศกำลังพัฒนา ไม่ได้เกี่ยวข้องโดยตรงกับวิกฤติ subprime แม้ว่าจะมีการพูดกันว่า วิกฤติการเงินครั้งนี้ นับว่าเลวร้ายที่สุด นับตั้งแต่เศรษฐกิจตกต่ำทั่วโลกในช่วงทศวรรษ 1930 แต่ประเทศกำลังพัฒนาส่วนใหญ่ ก็มองว่า น่าจะอยู่ห่างไกลจากศูนย์กลางของมรสุมการเงินในครั้งนี้
อย่างไรก็ตาม ในขณะนี้ ได้เริ่มเห็นชัดเจนแล้วว่า ประทศกำลังพัฒนาไม่สามารถหลีกเลี่ยงวิกฤติครั้งนี้ได้ โดยได้รับผลกระทบทั้งทางตรงและทางอ้อม เงินลงทุนได้เริ่มหดหายไป รวมทั้งตลาดส่งออก และตลาดหุ้นในประเทศกำลังพัฒนาเอง ก็ตกต่ำอย่างหนัก บางตลาด มูลค่าหุ้น หายไปกว่าครึ่ง และค่าเงินสกุลต่างๆก็กำลังตกต่ำอย่างหนัก
ล่าสุด ในวันอังคารที่ 28 ตุลาคม ตลาดหุ้นทั่วโลกยังคงปั่นป่วนและดิ่งลงเหวอย่างต่อเนื่อง โดยที่หนักที่สุด เป็นตลาดหุ้นในเอเชีย โดยตลาดหุ้นนิเคอิของญี่ปุ่น ตกลงไปอีก 6% นับเป็นการตกต่ำที่สุดในรอบ 26 ปี ในขณะที่ตลาดหุ้นฮั่งเส็งของฮ่องกงก็ตกลงถึง 12% ท่ามกลางความหวั่นวิตกว่า มาตรการกอบกู้วิกฤติเศรษฐกิจของประเทศต่างๆ อาจจะไม่ได้ผล และอาจจะสายเกินไปที่จะป้องกันภาวะเศรษฐกิจถดถอยของเศรษฐกิจโลก
สำหรับในกรณีของไทย ก็กำลังปั่นป่วนอย่างหนัก โดยทางสภาอุตสาหกรรมได้ประเมินสถานการณ์ว่า เศรษฐกิจไทย กำลังจะเข้าสู่ภาวะวิกฤติ โดยในปีหน้าจะมีคนตกงานถึงกว่า 1 ล้านคน ไม่ต้องพูดถึงผลกระทบของการส่งออก ท่องเที่ยว และอุตสาหกรรม ขณะนี้ ธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม กำลังระส่ำระสายอย่างหนัก และกำลังจะล้มละลายกันเป็นแถว ตลาดหุ้นไทยก็ตกต่ำลงอย่างหนัก ขณะนี้ หลุด 400 จุดไปแล้ว
การส่งออก
ผลกระทบประการสำคัญของวิกฤติการเงินโลกต่อประเทศกำลังพัฒนา เรื่องแรกคือ การส่งออก การถดถอยลงของอุปสงค์ในตลาดสหรัฐและยุโรป ได้ส่งผลกระทบเป็นอย่างมากต่อการส่งออกของประเทศกำลังพัฒนา รวมทั้งประเทศไทยด้วย ซึ่งตลาดส่งออกหลักของไทยยังคงอยู่ที่สหรัฐและยุโรป ขณะนี้ มีการประเมินว่า การส่งออกของไทยไปตลาดตะวันตก ลดลงไปกว่า 30% แล้ว
นอกจากนี้ ปัญหาที่เกี่ยวเนื่องกันคือ การตกต่ำลงอย่างมากของราคาสินค้าโภคภัณฑ์ ซึ่งเป็นสินค้าส่งออกที่สำคัญของประเทศกำลังพัฒนา ไม่ว่าจะเป็นราคาสินค้าเกษตรและราคาแร่ธาตุต่างๆ ในกรณีของไทย ก็กำลังประสบปัญหาอย่างหนัก จากภาวะสินค้าเกษตรตกต่ำ โดยเฉพาะราคาข้าวโพด มันสำปะหลัง และยางพารา สำหรับประเทศกำลังพัฒนาอื่นๆ ก็ประสบปัญหาเช่นเดียวกับไทย ประเทศแอฟริกาใต้ ซึ่งเป็นผู้ส่งออกแร่ธาตุสำคัญ กำลังประสบวิกฤติอย่างหนัก โดยเฉพาะราคา platinum และทอง ทำให้ค่าเงินของแอฟริกาใต้ตกต่ำลงอย่างน่ากลัว บราซิลซึ่งเป็นอีกประเทศหนึ่งที่ส่งออกสินค้าโภคภัณฑ์รายใหญ่ คิดเป็น 9% ของGDP ก็เจอปัญหาเช่นเดียวกัน
การเงิน
วิกฤติการเงินโลกในครั้งนี้ ได้ส่งผลกระทบโดยตรงต่อสถานะการเงินของประเทศกำลังพัฒนา ระบบการเงินของหลายๆประเทศกำลังสั่นคลอน ประเทศที่มีเงินทุนสำรองระหว่างประเทศมาก ก็อาจจะรอดตัวไปได้ อย่างเช่น เกาหลีใต้ ซึ่งมีเงินทุนสำรองอยู่ประมาณ 140,000 ล้านเหรียญ รัสเซียมีอยู่ 540,000 ล้านเหรียญ และประเทศที่มีเงินทุนสำรองมากที่สุดคือ จีน ซึ่งมีกว่า 2 ล้านล้านเหรียญ
สำหรับในกรณีของเกาหลีใต้ รัฐบาลได้ออกมาค้ำประกันวงเงินกู้กว่า 1 แสนล้านเหรียญ รัสเซียก็ได้อัดฉีดเงิน 220,000 ล้านเหรียญเพื่อช่วยอุ้มสถาบันการเงินของตน
แต่สำหรับประเทศที่ไม่มีเงินทุนสำรองเพียงพอ ก็คงหนีไม่พ้นที่จะต้องไปกู้จาก IMF ซึ่งตอนนี้ มีฮังการีและยูเครนได้รับเงินกู้จาก IMF ไปแล้ว และยังมีอีกกว่า 10 ประเทศที่กำลังเจรจากับ IMF อยู่
สำหรับวิกฤติการการเงินในประเทศกำลังพัฒนานั้น เป็นผลต่อเนื่องมาจากวิกฤติการเงินในยุโรปและสหรัฐ โดยเงินกู้จากธนาคารสหรัฐและยุโรปได้เหือดหายไป และมีการถอนทุนจากพวก hedge fund และนักลงทุนในตลาดหุ้น ทำให้ธุรกิจการให้กู้เกิดสะดุด ซึ่งที่ผ่านมา ธุรกิจเงินกู้เป็นตัวกระตุ้นการใช้จ่ายภายในที่สำคัญ แต่เมื่อธุรกิจการให้กู้สะดุด ก็ทำให้การเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจชะลอตัวลง
แต่ผลกระทบในเรื่องนี้ จะแตกต่างกันไปในแต่ละประเทศ โดยประเทศที่ได้เปรียบดุลบัญชีเดินสะพัด โดยเฉพาะจีนและประเทศส่งออกน้ำมัน จะได้รับผลกระทบน้อย แต่ประเทศกำลังพัฒนาส่วนใหญ่ ตกอยู่ในสถานะเสียเปรียบดุลบัญชีเดินสะพัด ซึ่งคิดเป็นกว่า 5%ของ GDP ที่หนักที่สุดคือ ประเทศในยุโรปตะวันออก ซึ่งหลายประเทศขาดดุลบัญชีเดินสะพัดกว่า 10%
นอกจากนี้ ประเทศกำลังพัฒนากำลังประสบกับการไหลออกของเงินทุนอย่างหนัก โดยมีการคาดกันว่า ในปีนี้ เงินทุนไหลเข้าจะลดลงกว่า 30% ของปีที่แล้ว
สำหรับประเทศจีน น่าจะอยู่ในสถานะที่ดีกว่าเพื่อนในกลุ่มประเทศกำลังพัฒนา ทั้งนี้เพราะจีนมีเงินทุนสำรองกว่า 2 ล้านล้านเหรียญ ภาวะเกินดุลบัญชีเดินสะพัด มีการเชื่อมโยงกับสถาบันการเงินในตะวันตกค่อนข้างน้อย และดุลงบประมาณก็เกินดุลเช่นเดียวกัน อย่างไรก็ตาม จีนก็ได้รับผลกระทบอยู่ดี โดยอัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของจีน คาดว่าจะลดลงเหลือแค่ 8% ซึ่งในอดีตนั้น จีนโตเกินกว่า 10% มาโดยตลอด
สำหรับประเทศอื่น ก็จะตกอยู่ในสภาวะล่อแหลม อินเดียขณะนี้ ขาดดุลงบประมาณมหาศาล และขาดดุลบัญชีเดินสะพัดมหาศาล คิดเป็นถึง 3.6% ของ GDP
สถานะการเงินของบราซิลก็น่าเป็นห่วง อย่างไรก็ตาม เศรษฐกิจของบราซิลในช่วงที่ผ่านมา อาจเป็นเพราะบราซิลเคยเกิดวิกฤติการเงินหลายครั้ง จึงทำให้มีบทเรียนเหมือนกับประเทศไทย ซึ่งได้รับบทเรียนจากวิกฤติต้มยำกุ้งมาแล้ว บราซิล จึงได้มีมาตรการกระจายความเสี่ยง กระจายตลาด และมีเงินทุนสำรองค่อนข้างมาก
ซึ่งสถานะของบราซิลก็คล้ายๆกับของไทย คือ บทเรียนจากวิกฤติต้มยำกุ้ง ทำให้ไทยค่อนข้างระมัดระวังตัว โดยไทยมีเงินทุนสำรองอยู่ไม่น้อย มีการกระจายตลาดส่งออกเพิ่มขึ้น มีการปฏิรูปสถาบันการเงิน และเข้มงวดกวดขันในการปล่อยเงินกู้ และมีระบบอัตราแลกเปลี่ยนที่มีความยืดหยุ่นมากขึ้น
แต่ขณะนี้ ประเทศที่ดูน่าเป็นห่วงมากคือ กลุ่มประเทศยุโรปตะวันออก ซึ่งกำลังประสบกับภาวะวิกฤติเศรษฐกิจอย่างหนัก ภาวะหนี้สินของภาครัฐสูง การกู้ยืมเงินของภาคเอกชนก็อยู่ในระดับสูงมาก มีการขาดดุลบัญชีเดินสะพัดอย่างหนัก นโยบายเศรษฐกิจของรัฐบาลก็ไม่มีประสิทธิภาพ และขาดการควบคุมการใช้จ่ายของภาครัฐ ทำให้หลายๆประเทศกำลังจะประสบภาวะล้มละลาย และหลายประเทศก็กำลังแสวงหาความช่วยเหลือจาก IMF
ในช่วงไม่กี่วันที่ผ่านมา IMF ได้ประกาศปล่อยเงินกู้ให้ความช่วยเหลือแก่ฮังการีและยูเครนไปแล้ว ในกรณีของฮังการีนั้น อาการค่อนข้างหนัก โดยเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว ค่าเงินของฮังการีได้ตกลงอย่างมาก และตลาดหุ้นฮังการี ก็ปั่นป่วนอย่างหนัก จนต้องปิดทำการเป็นเวลา 2 วัน IMF จึงได้ทำข้อตกลงกับสหภาพยุโรป โดยเฉพาะกับเยอรมนี ออสเตรีย อิตาลี และธนาคารโลกในการช่วยกันลงขันเงินกู้ให้กับฮังการี สำหรับในกรณีของยูเครนนั้น เมื่อวันที่ 26 ตุลาคม IMF ได้ประกาศวงเงินกู้ 16,000 ล้านเหรียญสหรัฐให้กับยูเครน
การเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯ ตอนที่ 7
การเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯ(ตอนที่ 7)
นโยบายต่อเอเชียของ Obama และ McCain
สยามรัฐสัปดาหวิจารณ์ ปีที่ 56 ฉบับที่ 5 วันศุกร์ที่ 24 - วันพฤหัสบดีที่ 30 ตุลาคม 2551
ขณะนี้การเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐกำลังเข้าโค้งสุดท้ายแล้ว ขณะนี้ Obama มีคะแนนนำ McCain อยู่ เราคงต้องจับตาดูในวันที่ 4 พฤศจิกายนนี้ว่า จะออกหัวออกก้อยอย่างไร แต่สำหรับคอลัมน์โลกทรรศน์ในวันนี้ จะมาวิเคราะห์ว่า นโยบายของ Obama และ McCain ต่อเอเชียนั้นแตกต่างกันอย่างไร
ภาพรวม
Obama และ McCain นั้น มีความแตกต่างกันอย่างมากในแนวนโยบาย เพราะ Obama เป็นเสรีนิยมและเป็นสายพิราบ ขณะที่ McCain เป็นอนุรักษ์นิยมตัวยง และมีแนวนโยบายต่างประเทศแบบสายเหยี่ยวแบบสุดๆ
นโยบายต่างประเทศของ Obama นั้น เป็นไปตามแนวเสรีนิยมที่เน้นการมองโลกในแง่ดี เน้นการสร้างความร่วมมือระหว่างประเทศ เน้นสันติภาพและไม่นิยมการใช้กำลัง อย่างไรก็ตาม เมื่อมาดูนโยบายต่างประเทศของ McCain ก็ต่างจาก Obama แบบขาวกับดำ โดย McCain มองว่าโลกกำลังเข้าสู่ยุคสงครามเย็นใหม่ จะเป็นการต่อสู้ระหว่างความดีกับความเลว ระหว่างประชาธิปไตยกับเผด็จการ McCain มีนโยบายชาตินิยมแบบสุดโต่ง โดยมองว่าสหรัฐมีภารกิจที่ยิ่งใหญ่ คือ การสร้างประชาธิปไตยและต่อต้านเผด็จการทั่วโลก
สำหรับในเอเชียนั้น Obama มองว่าควรจะปฏิรูปนโยบายใหม่ โดยเน้นการพัฒนาสถาบันความร่วมมือในเอเชีย ในอดีต สหรัฐเน้นความสัมพันธ์ทวิภาคีมากเกินไป แต่สำหรับ McCain นโยบายของเขากลับเป็นคนละเรื่องกับ Obama โดย McCain มุ่งเป้าไปที่การเล่นงานประเทศเผด็จการในเอเชีย โดยเฉพาะ เกาหลีเหนือ จีน และพม่า McCain เน้นสร้างพันธมิตรของประเทศประชาธิปไตยในภูมิภาค เพื่อร่วมมือกันเล่นงานประเทศเผด็จการ
Obama ได้โจมตีนโยบายของ Bush ต่อเอเชียว่า เป็นแนวคิดที่ล้าสมัย ให้ความสำคัญกับเรื่องสงครามต่อต้านการก่อการร้ายและอาวุธร้ายแรงมากเกินไป ทำให้เอเชียได้สูญเสียความเชื่อมั่นในการเป็นผู้นำของสหรัฐ สงครามอิรักได้ทำให้สหรัฐไม่สามารถให้ความสำคัญกับเอเชียเท่าที่ควร Obama เชื่อว่า สหรัฐควรจะกลับมาส่งเสริมพันธมิตรและสถาปนาเวทีพหุภาคี และกอบกู้ชื่อเสียงของสหรัฐกลับคืนมาโดยจะต้องมีการปรับเปลี่ยนนโยบายเพื่อสอดรับกับการเปลี่ยนแปลงในเอเชีย โดยเฉพาะการผงาดขึ้นมาของจีนและอินเดีย และแนวโน้มพัฒนาการของสถาบันในภูมิภาค
ในขณะที่ McCain กลับมองว่าสหรัฐจะต้องสานต่อนโยบายของ Bush เน้นการเป็นผู้นำของสหรัฐ โดย McCain กลับมองสวนทางกับ Obama ว่า สหรัฐขณะนี้ได้รับเสียงสนับสนุนจากประเทศในเอเชียเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ
จีน
สำหรับจีนนั้น McCain มองว่าเป็นศัตรู และจีนกำลังพัฒนากองกำลังทหารขนานใหญ่เพื่อท้าทายสหรัฐและครองความเป็นเจ้าในภูมิภาค จีนเป็นประเทศเผด็จการและเป็นอันธพาลคุกคามไต้หวัน รวมทั้งใกล้ชิดกับประเทศเผด็จการต่างๆทั่วโลก อาทิ พม่า ซูดาน McCain ยังกล่าวหาจีนว่ากำลังพยายามสร้างกลุ่มเอเชียขึ้นมา โดยจะมีจีนเป็นผู้นำ เพื่อกีดกันสหรัฐออกไปจากเอเชีย
แต่สำหรับ Obama มองจีนต่างจาก McCain อย่างสิ้นเชิง โดย Obama มองจีนในแง่บวก และมองว่าการผงาดขึ้นมาของจีน จะทำให้จีนมีบทบาทความรับผิดชอบต่อโลกมากขึ้น Obama มองว่า จะต้องมีการปรับนโยบายใหม่ต่อจีนซึ่งจะต่างจากนโยบายของ Bush ในช่วง 8 ปีที่ผ่านมา สหรัฐกับจีนสามารถร่วมมือกันได้ในหลายๆเรื่อง อย่างเช่น ความร่วมมือในการเจรจา 6 ฝ่าย ในปัญหาเกาหลีเหนือ ปัญหาภาวะโลกร้อนก็ต้องการความร่วมมือระหว่าง 2 ประเทศเป็นอย่างยิ่ง เพราะทั้งจีนและสหรัฐกลายเป็นประเทศที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกมากที่สุด Obama ยังมองว่าจะสร้างความร่วมมือกับจีนในการป้องกันการพัฒนาอาวุธนิวเคลียร์ของอิหร่าน ความร่วมมือในการยุติการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ในดาร์ฟู และการส่งเสริมประชาธิปไตย
ในขณะที่ McCain มองจีนในแง่ลบ ไม่ว่าจะเป็นการพัฒนากำลังทหาร นโยบายเศรษฐกิจที่มีลักษณะกีดกันทางการค้า การละเมิดสิทธิมนุษยชน และความสัมพันธ์กับซูดานและพม่า ดังนั้นในสายตาของ McCain ประธานาธิบดีคนใหม่จะต้องสร้างพันธมิตรกับประเทศในเอเชียเพื่อกดดันจีน
ญี่ปุ่น
สำหรับนโยบายต่อญี่ปุ่นนั้น ในสายตาของ McCain ซึ่งมองโลกเป็นขาวกับดำนั้น ก็มองว่าพันธมิตรระหว่างสหรัฐกับญี่ปุ่นจะมีความสำคัญ โดยเฉพาะในกรณีที่จะร่วมมือกันกดดันเกาหลีเหนือและจีน McCain เน้นว่าพันธมิตรระหว่างสหรัฐและญี่ปุ่นจะมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการมีปฏิสัมพันธ์กับจีน นอกจากนี้ McCain เน้นว่า พันธมิตรสหรัฐ – ญี่ปุ่นไม่เพียงแต่ตั้งอยู่บนผลประโยชน์ร่วมกันเท่านั้น แต่ยังตั้งอยู่บนพื้นฐานของค่านิยมร่วมกันอีกด้วย นั่นคือ ค่านิยมประชาธิปไตยซึ่ง McCain ให้ความสำคัญเป็นอย่างมาก
ในขณะที่ Obama ก็ให้ความสำคัญกับพันธมิตรสหรัฐ - ญี่ปุ่นเหมือนกัน แต่กลับโจมตีรัฐบาล Bush ว่ากลับไปให้ความสำคัญกับเรื่องอื่นๆ (อาทิ สงครามอิรัก) จนละเลยความสัมพันธ์กับญี่ปุ่น Obama มองว่าความร่วมมือระหว่างสหรัฐกับญี่ปุ่น ควรเป็นในเชิงบวก โดยร่วมมือกันเผชิญกับสิ่งท้าทายต่างๆของโลก
ผมมองว่าข้อแตกต่างระหว่าง McCain กับ Obama ในประเด็นนี้คือ McCain มองว่าญี่ปุ่นจะเป็นพันธมิตรหลักในการปิดล้อมจีน แต่ Obama ไม่ได้มองในลักษณะนั้น แต่กลับมองว่าพันธมิตรสหรัฐ - ญี่ปุ่นน่าจะมุ่งไปสู่ความร่วมมือกันในการแก้ปัญหาต่างๆของโลก
เกาหลีเหนือ
สำหรับในการพัฒนาอาวุธนิวเคลียร์ของเกาหลีเหนือนั้น จุดยืนหลักของ Obama คือการเน้นการเจรจาและสันติวิธี โดยมองว่าการที่รัฐบาล Bush ได้ตัดสินใจถอนเกาหลีเหนือออกจากรายชื่อประเทศที่สนับสนุนการก่อการร้ายนั้นเป็นสิ่งที่ถูกต้อง และมองว่าในช่วง 8 ปีที่ผ่านมา ได้ชี้ให้เห็นถึงความจำเป็นที่จะเผชิญกับภัยคุกคามจากเกาหลีเหนือด้วยการทูตทั้งพหุภาคีและทวิภาคี
ในขณะที่ McCain มองว่าการทูตอย่างเดียวนั้น ไม่เพียงพอ และเขาไม่คิดว่าเกาหลีเหนือจะยอมยุติการพัฒนาอาวุธนิวเคลียร์ด้วยการเจรจาอย่างเดียว โดย McCain สนับสนุนให้มีความร่วมมือกับพันธมิตรอย่างใกล้ชิด โดยเฉพาะกับเกาหลีใต้และญี่ปุ่น รวมทั้งมาตรการจากคณะมนตรีความมั่นคง
ข้อแตกต่างที่สำคัญที่ผมเห็นคือ Obama จะเน้นการทูต รวมทั้งการเจรจา 2 ฝ่าย ซึ่ง McCain ไม่เห็นด้วย ในขณะที่ McCain มองว่า การจัดการเกาหลีเหนือนั้นจะต้องใช้มาตรการอย่างอื่น นอกเหนือจากการทูต
การค้า
McCain มีนโยบายต่างประเทศด้านการเมืองความมั่นคงแบบสายเหยี่ยว แต่สำหรับด้านการค้านั้น McCain มีจุดยืนด้านการค้าเหมือนอนุรักษ์นิยมคนอื่นๆ คือเน้นการค้าเสรี โดย McCain ประกาศสนับสนุนการค้าเสรีอย่างเต็มที่ และจะขยายการทำ FTA กับประเทศต่างๆทั่วโลก สำหรับในเอเชีย McCain มองว่าสหรัฐควรจะเป็นผู้นำในการเปิดเสรีการค้าในเอเชีย ด้วยการเดินหน้าเจรจา FTA กับมาเลเซียและไทยต่อ โดยมองว่า FTA ที่สหรัฐเซ็นกับประเทศในเอเชียไปแล้ว คือ กับสิงคโปร์ เกาหลีใต้ และออสเตรเลีย ทำให้สหรัฐได้รับผลประโยชน์ทางด้านเศรษฐกิจ McCain ได้กล่าวโจมตีนักการเมืองสหรัฐที่ต่อต้าน FTA ซึ่งรวมถึง Obama ด้วย
สำหรับ Obama นั้น มีท่าทีต่อต้าน FTA มากขึ้น โดยมองว่า FTA ส่งผลกระทบในทางลบต่อคนงานในสหรัฐ และประกาศต่อต้านเขตการค้าเสรีอเมริกาเหนือ หรือ NAFTA เพื่อเป็นการเอาใจคนงานอเมริกันซึ่งเป็นฐานเสียงสำคัญของพรรคเดโมแครต Obama เน้นว่า หากสหรัฐจะเจรจา FTA ต่อ ก็ควรเป็น FTA ที่มีคุณภาพ และควรมีเนื้อหาเชื่อมโยงการค้ากับมาตรฐานแรงงานและสิ่งแวดล้อมด้วย
นโยบายต่อเอเชียของ Obama และ McCain
สยามรัฐสัปดาหวิจารณ์ ปีที่ 56 ฉบับที่ 5 วันศุกร์ที่ 24 - วันพฤหัสบดีที่ 30 ตุลาคม 2551
ขณะนี้การเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐกำลังเข้าโค้งสุดท้ายแล้ว ขณะนี้ Obama มีคะแนนนำ McCain อยู่ เราคงต้องจับตาดูในวันที่ 4 พฤศจิกายนนี้ว่า จะออกหัวออกก้อยอย่างไร แต่สำหรับคอลัมน์โลกทรรศน์ในวันนี้ จะมาวิเคราะห์ว่า นโยบายของ Obama และ McCain ต่อเอเชียนั้นแตกต่างกันอย่างไร
ภาพรวม
Obama และ McCain นั้น มีความแตกต่างกันอย่างมากในแนวนโยบาย เพราะ Obama เป็นเสรีนิยมและเป็นสายพิราบ ขณะที่ McCain เป็นอนุรักษ์นิยมตัวยง และมีแนวนโยบายต่างประเทศแบบสายเหยี่ยวแบบสุดๆ
นโยบายต่างประเทศของ Obama นั้น เป็นไปตามแนวเสรีนิยมที่เน้นการมองโลกในแง่ดี เน้นการสร้างความร่วมมือระหว่างประเทศ เน้นสันติภาพและไม่นิยมการใช้กำลัง อย่างไรก็ตาม เมื่อมาดูนโยบายต่างประเทศของ McCain ก็ต่างจาก Obama แบบขาวกับดำ โดย McCain มองว่าโลกกำลังเข้าสู่ยุคสงครามเย็นใหม่ จะเป็นการต่อสู้ระหว่างความดีกับความเลว ระหว่างประชาธิปไตยกับเผด็จการ McCain มีนโยบายชาตินิยมแบบสุดโต่ง โดยมองว่าสหรัฐมีภารกิจที่ยิ่งใหญ่ คือ การสร้างประชาธิปไตยและต่อต้านเผด็จการทั่วโลก
สำหรับในเอเชียนั้น Obama มองว่าควรจะปฏิรูปนโยบายใหม่ โดยเน้นการพัฒนาสถาบันความร่วมมือในเอเชีย ในอดีต สหรัฐเน้นความสัมพันธ์ทวิภาคีมากเกินไป แต่สำหรับ McCain นโยบายของเขากลับเป็นคนละเรื่องกับ Obama โดย McCain มุ่งเป้าไปที่การเล่นงานประเทศเผด็จการในเอเชีย โดยเฉพาะ เกาหลีเหนือ จีน และพม่า McCain เน้นสร้างพันธมิตรของประเทศประชาธิปไตยในภูมิภาค เพื่อร่วมมือกันเล่นงานประเทศเผด็จการ
Obama ได้โจมตีนโยบายของ Bush ต่อเอเชียว่า เป็นแนวคิดที่ล้าสมัย ให้ความสำคัญกับเรื่องสงครามต่อต้านการก่อการร้ายและอาวุธร้ายแรงมากเกินไป ทำให้เอเชียได้สูญเสียความเชื่อมั่นในการเป็นผู้นำของสหรัฐ สงครามอิรักได้ทำให้สหรัฐไม่สามารถให้ความสำคัญกับเอเชียเท่าที่ควร Obama เชื่อว่า สหรัฐควรจะกลับมาส่งเสริมพันธมิตรและสถาปนาเวทีพหุภาคี และกอบกู้ชื่อเสียงของสหรัฐกลับคืนมาโดยจะต้องมีการปรับเปลี่ยนนโยบายเพื่อสอดรับกับการเปลี่ยนแปลงในเอเชีย โดยเฉพาะการผงาดขึ้นมาของจีนและอินเดีย และแนวโน้มพัฒนาการของสถาบันในภูมิภาค
ในขณะที่ McCain กลับมองว่าสหรัฐจะต้องสานต่อนโยบายของ Bush เน้นการเป็นผู้นำของสหรัฐ โดย McCain กลับมองสวนทางกับ Obama ว่า สหรัฐขณะนี้ได้รับเสียงสนับสนุนจากประเทศในเอเชียเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ
จีน
สำหรับจีนนั้น McCain มองว่าเป็นศัตรู และจีนกำลังพัฒนากองกำลังทหารขนานใหญ่เพื่อท้าทายสหรัฐและครองความเป็นเจ้าในภูมิภาค จีนเป็นประเทศเผด็จการและเป็นอันธพาลคุกคามไต้หวัน รวมทั้งใกล้ชิดกับประเทศเผด็จการต่างๆทั่วโลก อาทิ พม่า ซูดาน McCain ยังกล่าวหาจีนว่ากำลังพยายามสร้างกลุ่มเอเชียขึ้นมา โดยจะมีจีนเป็นผู้นำ เพื่อกีดกันสหรัฐออกไปจากเอเชีย
แต่สำหรับ Obama มองจีนต่างจาก McCain อย่างสิ้นเชิง โดย Obama มองจีนในแง่บวก และมองว่าการผงาดขึ้นมาของจีน จะทำให้จีนมีบทบาทความรับผิดชอบต่อโลกมากขึ้น Obama มองว่า จะต้องมีการปรับนโยบายใหม่ต่อจีนซึ่งจะต่างจากนโยบายของ Bush ในช่วง 8 ปีที่ผ่านมา สหรัฐกับจีนสามารถร่วมมือกันได้ในหลายๆเรื่อง อย่างเช่น ความร่วมมือในการเจรจา 6 ฝ่าย ในปัญหาเกาหลีเหนือ ปัญหาภาวะโลกร้อนก็ต้องการความร่วมมือระหว่าง 2 ประเทศเป็นอย่างยิ่ง เพราะทั้งจีนและสหรัฐกลายเป็นประเทศที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกมากที่สุด Obama ยังมองว่าจะสร้างความร่วมมือกับจีนในการป้องกันการพัฒนาอาวุธนิวเคลียร์ของอิหร่าน ความร่วมมือในการยุติการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ในดาร์ฟู และการส่งเสริมประชาธิปไตย
ในขณะที่ McCain มองจีนในแง่ลบ ไม่ว่าจะเป็นการพัฒนากำลังทหาร นโยบายเศรษฐกิจที่มีลักษณะกีดกันทางการค้า การละเมิดสิทธิมนุษยชน และความสัมพันธ์กับซูดานและพม่า ดังนั้นในสายตาของ McCain ประธานาธิบดีคนใหม่จะต้องสร้างพันธมิตรกับประเทศในเอเชียเพื่อกดดันจีน
ญี่ปุ่น
สำหรับนโยบายต่อญี่ปุ่นนั้น ในสายตาของ McCain ซึ่งมองโลกเป็นขาวกับดำนั้น ก็มองว่าพันธมิตรระหว่างสหรัฐกับญี่ปุ่นจะมีความสำคัญ โดยเฉพาะในกรณีที่จะร่วมมือกันกดดันเกาหลีเหนือและจีน McCain เน้นว่าพันธมิตรระหว่างสหรัฐและญี่ปุ่นจะมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการมีปฏิสัมพันธ์กับจีน นอกจากนี้ McCain เน้นว่า พันธมิตรสหรัฐ – ญี่ปุ่นไม่เพียงแต่ตั้งอยู่บนผลประโยชน์ร่วมกันเท่านั้น แต่ยังตั้งอยู่บนพื้นฐานของค่านิยมร่วมกันอีกด้วย นั่นคือ ค่านิยมประชาธิปไตยซึ่ง McCain ให้ความสำคัญเป็นอย่างมาก
ในขณะที่ Obama ก็ให้ความสำคัญกับพันธมิตรสหรัฐ - ญี่ปุ่นเหมือนกัน แต่กลับโจมตีรัฐบาล Bush ว่ากลับไปให้ความสำคัญกับเรื่องอื่นๆ (อาทิ สงครามอิรัก) จนละเลยความสัมพันธ์กับญี่ปุ่น Obama มองว่าความร่วมมือระหว่างสหรัฐกับญี่ปุ่น ควรเป็นในเชิงบวก โดยร่วมมือกันเผชิญกับสิ่งท้าทายต่างๆของโลก
ผมมองว่าข้อแตกต่างระหว่าง McCain กับ Obama ในประเด็นนี้คือ McCain มองว่าญี่ปุ่นจะเป็นพันธมิตรหลักในการปิดล้อมจีน แต่ Obama ไม่ได้มองในลักษณะนั้น แต่กลับมองว่าพันธมิตรสหรัฐ - ญี่ปุ่นน่าจะมุ่งไปสู่ความร่วมมือกันในการแก้ปัญหาต่างๆของโลก
เกาหลีเหนือ
สำหรับในการพัฒนาอาวุธนิวเคลียร์ของเกาหลีเหนือนั้น จุดยืนหลักของ Obama คือการเน้นการเจรจาและสันติวิธี โดยมองว่าการที่รัฐบาล Bush ได้ตัดสินใจถอนเกาหลีเหนือออกจากรายชื่อประเทศที่สนับสนุนการก่อการร้ายนั้นเป็นสิ่งที่ถูกต้อง และมองว่าในช่วง 8 ปีที่ผ่านมา ได้ชี้ให้เห็นถึงความจำเป็นที่จะเผชิญกับภัยคุกคามจากเกาหลีเหนือด้วยการทูตทั้งพหุภาคีและทวิภาคี
ในขณะที่ McCain มองว่าการทูตอย่างเดียวนั้น ไม่เพียงพอ และเขาไม่คิดว่าเกาหลีเหนือจะยอมยุติการพัฒนาอาวุธนิวเคลียร์ด้วยการเจรจาอย่างเดียว โดย McCain สนับสนุนให้มีความร่วมมือกับพันธมิตรอย่างใกล้ชิด โดยเฉพาะกับเกาหลีใต้และญี่ปุ่น รวมทั้งมาตรการจากคณะมนตรีความมั่นคง
ข้อแตกต่างที่สำคัญที่ผมเห็นคือ Obama จะเน้นการทูต รวมทั้งการเจรจา 2 ฝ่าย ซึ่ง McCain ไม่เห็นด้วย ในขณะที่ McCain มองว่า การจัดการเกาหลีเหนือนั้นจะต้องใช้มาตรการอย่างอื่น นอกเหนือจากการทูต
การค้า
McCain มีนโยบายต่างประเทศด้านการเมืองความมั่นคงแบบสายเหยี่ยว แต่สำหรับด้านการค้านั้น McCain มีจุดยืนด้านการค้าเหมือนอนุรักษ์นิยมคนอื่นๆ คือเน้นการค้าเสรี โดย McCain ประกาศสนับสนุนการค้าเสรีอย่างเต็มที่ และจะขยายการทำ FTA กับประเทศต่างๆทั่วโลก สำหรับในเอเชีย McCain มองว่าสหรัฐควรจะเป็นผู้นำในการเปิดเสรีการค้าในเอเชีย ด้วยการเดินหน้าเจรจา FTA กับมาเลเซียและไทยต่อ โดยมองว่า FTA ที่สหรัฐเซ็นกับประเทศในเอเชียไปแล้ว คือ กับสิงคโปร์ เกาหลีใต้ และออสเตรเลีย ทำให้สหรัฐได้รับผลประโยชน์ทางด้านเศรษฐกิจ McCain ได้กล่าวโจมตีนักการเมืองสหรัฐที่ต่อต้าน FTA ซึ่งรวมถึง Obama ด้วย
สำหรับ Obama นั้น มีท่าทีต่อต้าน FTA มากขึ้น โดยมองว่า FTA ส่งผลกระทบในทางลบต่อคนงานในสหรัฐ และประกาศต่อต้านเขตการค้าเสรีอเมริกาเหนือ หรือ NAFTA เพื่อเป็นการเอาใจคนงานอเมริกันซึ่งเป็นฐานเสียงสำคัญของพรรคเดโมแครต Obama เน้นว่า หากสหรัฐจะเจรจา FTA ต่อ ก็ควรเป็น FTA ที่มีคุณภาพ และควรมีเนื้อหาเชื่อมโยงการค้ากับมาตรฐานแรงงานและสิ่งแวดล้อมด้วย
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)