Obama Doctrine
ตีพิมพ์ในสยามรัฐสัปดาหวิจารณ์ ประจำวันศุกร์ที่ 8 – วันพฤหัสบดีที่ 14 เมษายน 2554
เมื่อช่วงสัปดาห์ที่แล้ว ประธานาธิบดี Obama ได้กล่าวสุนทรพจน์ ประกาศหลักการ การใช้กำลังทางทหารของสหรัฐฯ โดยเกี่ยวโยงกับกรณีของสงครามในลิเบีย คอลัมน์โลกทรรศน์ในวันนี้ จะวิเคราะห์หลักการดังกล่าว ซึ่งอาจเรียกเป็นภาษาอังกฤษว่า Obama Doctrine ดังนี้
Obama Doctrine
เมื่อวันที่ 28 มีนาคมที่ผ่านมา Obama ได้กล่าวสุนทรพจน์ที่ National Defense University ประกาศหลักการ การใช้กำลังทางทหารของสหรัฐฯ โดยเฉพาะกรณีของลิเบีย ซึ่งสุนทรพจน์ในครั้งนี้ อาจจะกล่าวได้ว่าเป็น Obama Doctrine หรือ หลักการของ Obama ในการใช้กำลัง ซึ่งหลักการดังกล่าว มีสาระสำคัญ ดังนี้
Obama ได้กล่าวในตอนแรกว่า สหรัฐฯได้เล่นบทผู้นำ ในการส่งเสริมความมั่นคงของโลก และเสรีภาพ อย่างไรก็ตาม มีความเสี่ยงและผลลบจากการใช้กำลังทางทหาร ดังนั้น สหรัฐฯ จะต้องระมัดระวัง พยายามไม่ใช้กำลังทางทหารในการแก้ปัญหาของโลก แต่หากปัญหาดังกล่าว กระทบต่อความมั่นคง ผลประโยชน์ และค่านิยมของสหรัฐฯ สหรัฐฯก็จำเป็นที่จะต้องใช้กำลังทางทหาร
Obama ได้กล่าวเป็นหลักการพื้นฐานว่า ตัวเขาในตำแหน่งประธานาธิบดี มีตำแหน่งเป็นผู้นำกองทัพด้วย ดังนั้น การตัดสินใจใช้กำลัง จึงสำคัญอย่างยิ่ง และเขาได้กล่าวว่า สหรัฐฯจะไม่รีรอ ที่จะใช้กำลังทางทหาร อย่างทันที เด็ดขาด หากจำเป็น เพื่อป้องกันประเทศ โดยเฉพาะ เมื่อผลประโยชน์ทางด้านความมั่นคงแห่งชาติได้รับผลประทบโดยตรง และนี่คือเหตุผลสำคัญ ที่สหรัฐฯ ทำสงครามต่อต้านการก่อการร้าย โดยเฉพาะกับกลุ่ม al Qaeda และส่งทหารเข้าไปรบกับนักรบ Taliban ในอัฟกานิสถาน
อย่างไรก็ตาม มีหลายกรณี ที่ความมั่นคงปลอดภัย ไม่ได้ถูกคุกคามโดยตรง แต่ผลประโยชน์และค่านิยมได้รับผลกระทบ อาทิ ปัญหาเรื่องภัยพิบัติ การป้องกันการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ สิทธิมนุษยชน และผลประโยชน์ทางด้านเศรษฐกิจ ในกรณีเหล่านี้ บางครั้ง สหรัฐฯ อาจจะต้องตัดสินใจใช้กำลัง แต่ในกรณีลักษณะนี้ สหรัฐฯจะไม่ใช้กำลังเพียงประเทศเดียว แต่จะเน้นการระดมความร่วมมือของประชาคมโลก คือ เน้น พหุภาคีนิยม โดยการเป็นผู้นำของสหรัฐฯ จะไม่เป็นไปในลักษณะการบุกเดี่ยว ลุยเดี่ยว แต่จะดึงเอาพันธมิตรเข้ามาด้วย
ลิเบีย
นั่นคือ Obama Doctrine หรือหลักการของ Obama ในการใช้กำลัง ซึ่งหลักการดังกล่าว ได้ถูกนำมาใช้ครั้งแรกในกรณีของสงครามลิเบีย
เมื่อ Gaddafi เลือกที่จะโจมตีและเข่นฆ่าประชาชน และกองกำลังของ Gaddafi กำลังจะเข้าโจมตีเมือง Benghazi ฐานที่มั่นของฝ่ายต่อต้าน ซึ่งในที่สุด Obama ก็บอกว่า สหรัฐฯไม่มีทางเลือก ที่จะต้องใช้กำลังทหารเพื่อยุติการเข่นฆ่าประชาชน แต่ในการดำเนินการทางทหาร สหรัฐฯไม่ได้ดำเนินการแต่เพียงฝ่ายเดียว แต่มีพันธมิตรที่ใกล้ชิด โดยเฉพาะอังกฤษกับฝรั่งเศส เข้าร่วมด้วย ซึ่งการดำเนินการทางทหารก็บรรลุเป้าหมาย คือ การยุติการเข่นฆ่าประชาชนของ Gaddafi แต่บทบาทของสหรัฐฯจะเป็นบทบาทที่จำกัด สหรัฐฯจะไม่ส่งกองกำลังภาคพื้นดินเข้าไปในลิเบีย และสหรัฐฯได้ส่งมอบภารกิจทางทหารให้กับนาโต้
อย่างไรก็ตาม มีชาวอเมริกันที่ได้ตั้งคำถามว่า สหรัฐฯควรที่จะแทรกแซงทางทหารในครั้งนี้หรือไม่ โดยมองว่า สหรัฐฯไม่ควรทำตัวเป็นตำรวจโลก โดยเฉพาะขณะนี้ มีปัญหาภายในอยู่มากมาย ซึ่ง Obama ได้ตอบคำถามนี้ว่า ในแง่หลักการแล้ว สหรัฐฯไม่สามารถใช้กำลังทางทหาร จัดการกับการเข่นฆ่าประชาชนในทุกที่ในโลกนี้ได้ แต่ในกรณีของลิเบีย กำลังประสบกับการเข่นฆ่าประชาชนที่มีความรุนแรงมาก และสหรัฐฯก็มีความสามารถที่จะยุติความรุนแรงดังกล่าว โดยมีความชอบธรรมจาก UNSC มีแนวร่วมการสนับสนุนจากนานาชาติ และจากโลกอาหรับ และสหรัฐฯสามารถหยุดยั้งกองกำลังของ Gaddafi ได้ โดยไม่จำเป็นต้องส่งกองกำลังภาคพื้นดินเข้าไป Obama มองว่า หากสหรัฐฯปฏิเสธความรับผิดชอบ ก็เท่ากับเป็นการทรยศต่อความเป็นอเมริกัน บางประเทศอาจทำเป็นมองไม่เห็น และเมินเฉยต่อความรุนแรงดังกล่าว แต่สำหรับสหรัฐฯ สำหรับประธานาธิบดี Obama ไม่สามารถปฏิเสธความรับผิดชอบนี้ได้
อย่างไรก็ตาม มีชาวอเมริกันอีกกลุ่มหนึ่งที่มองตรงกันข้าม คือมองว่า ปฏิบัติการทางทหารของสหรัฐฯ ไม่ควรจำกัดอยู่แค่การปกป้องประชาชน แต่ควรมีเป้าหมายในการล้มล้าง Gaddafi เลย ซึ่ง Obama ได้ตอบโต้แนวคิดดังกล่าวว่า ลิเบียจะดีขึ้นแน่ หากไม่มี Gaddafi และเขาก็สนับสนุนเป้าหมายในการกำจัด Gaddafi แต่วิธีการในการบรรลุเป้าหมายดังกล่าว ควรจะเป็นวิธีการที่ไม่ใช้กำลังทางทหาร หากสหรัฐฯเลือกที่จะใช้กำลังในการเปลี่ยนระบอบในลิเบีย จะเป็นความผิดพลาดครั้งยิ่งใหญ่ เพราะสหรัฐฯจะต้องส่งกองกำลังภาคพื้นดินเข้าไปในลิเบีย และจะต้องเกิดความสูญเสียเป็นจำนวนมาก Obama ได้เปรียบเทียบว่า การส่งทหารเข้าไปในลิเบีย ก็เท่ากับกำลังก่อสงครามอิรัก ภาค 2 ซึ่งสงครามอิรักใช้เวลาในการเปลี่ยนระบอบถึง 8 ปี และทหารสหรัฐฯเสียชีวิตไปหลายพันคน ไม่นับชาวอิรักที่เสียชีวิตเป็นจำนวนมาก และสูญเสียเงินในการทำสงครามถึง 1 ล้านล้านเหรียญ บทเรียนของสงครามอิรัก ทำให้ Obama คิดว่า ไม่ควรให้เกิดขึ้นอีกในลิเบีย
ในตอนท้ายของสุนทรพจน์ Obama บอกว่า มาตรการของสหรัฐฯในขณะนี้ จะเป็นมาตรการทางอ้อม คือ การตัดเส้นทางอาวุธของ Gaddafi ตัดเส้นทางการเงิน สนับสนุนฝ่ายต่อต้าน และร่วมมือกับประเทศอื่นๆในการโค่นล้ม Gaddafi แต่คงต้องใช้เวลา คือ Gaddafi คงจะไม่ถูกโค่นล้มในเร็ววัน
บทวิเคราะห์
• ผมมองว่า การประกาศ Obama Doctrine หรือหลักการใช้กำลังของ Obama ในครั้งนี้ ทำให้
เห็นชัดเจนมากขึ้น เกี่ยวกับนโยบายของ Obama ทางด้านการทหาร ซึ่งในช่วงที่ผ่านมา มีความกำกวมอยู่มาก อย่างไรก็ตาม Obama Doctrine แตกต่างไปอย่างมาก จากแนวคิดเดิมของ Obama จากตอนที่เขาเป็นประธานาธิบดีใหม่ๆ ซึ่งในตอนนั้น Obama พยายามจะฉายภาพว่า เขาจะปฏิรูปนโยบายต่างประเทศของสหรัฐฯใหม่ และจะผลักดันโลกให้เข้าสู่ยุคใหม่ของความร่วมมือ ซึ่งเป็นแนวคิดแบบเสรีนิยม และอุดมคตินิยม แต่ 2 ปีที่ผ่านมา ได้ทำให้แนวนโยบายอุดมคตินิยมของ Obama ประสบปัญหาอย่างหนัก เพราะธรรมชาติของการเมืองโลก สวนทางกับแนวคิดของ Obama คือ ในโลกแห่งความเป็นจริงนั้น เป็นโลกของสัจนิยม ที่เต็มไปด้วยความขัดแย้ง Obama Doctrine ได้ชี้ให้เห็นว่า Obama กำลังมีแนวคิดที่เป็นสัจนิยมมากขึ้นเรื่อยๆ อย่างไรก็ตาม นโยบายของ Obama ก็แตกต่างจากในสมัยของ Bush ที่มีลักษณะเป็นสัจนิยมแบบสุดโต่ง โดยยุทธศาสตร์ของ Obama มีลักษณะเป็นลูกผสม ระหว่างสัจนิยมกับอุดมคตินิยม แต่ก็มีแนวโน้มที่จะเป็นสัจนิยมมากขึ้นเรื่อยๆ และความเป็นอุดมคตินิยมก็ลดลงเรื่อยๆ
• สำหรับยุทธศาสตร์ต่อลิเบียของ Obama นั้น ก็ออกมาในแนวลูกผสมเหมือนกัน คือ มีความเป็น
สัจนิยมในการตัดสินใจใช้กำลังทางทหาร แต่ยังคงมีมิติของอุดมคตินิยมหรือเสรีนิยมอยู่ โดยเฉพาะในส่วนที่ สหรัฐฯจะพยายามลดบทบาท และขยายปฏิบัติการทางทหารให้เป็นลักษณะของพหุภาคี และจำกัดขอบเขตปฏิบัติการทางทหาร เป็นเพียงแค่ป้องกันการเข่นฆ่าประชาชน แต่ไม่ถึงขั้น การบุกโจมตีลิเบียเพื่อเปลี่ยนระบอบ
• สำหรับแนวโน้มบทบาทของสหรัฐฯในสงครามลิเบียในอนาคตนั้น Obama ได้ยืนกรานแล้ว
ว่า จะไม่ใช้กำลังภาคพื้นดิน บุกลิเบียเพื่อเปลี่ยนระบอบ สาเหตุสำคัญ คือ ลิเบียไม่มีความสำคัญพอ ทั้งในด้านผลประโยชน์ทางการเมือง และเศรษฐกิจ ที่จะทำให้สหรัฐฯต้องแทรกแซงทางทหาร และ Obama ก็ปวดหัวอยู่มากพอแล้วในสงครามอัฟกานิสถาน Obama ไม่ต้องการให้เกิดสงครามอิรัก ภาค 2
นอกจากนี้ ผมมองว่า ยังมีอีกสาเหตุหนึ่งที่ Obama ไม่ต้องการใช้กำลังโค่น Gaddafi แต่ Obama ไม่ได้ประกาศสาเหตุนั้นในสุนทรพจน์ นั่นก็คือ ความวิตกกังวลว่า หาก Gaddafi ถูกโค่นล้มลง จะเกิดสุญญากาศทางการเมืองในลิเบีย ฝ่ายต่อต้าน Gaddafi ก็ไม่มีหลักประกันว่า จะสร้างเสถียรภาพทางการเมืองได้ สถาบันทหารของลิเบียก็อ่อนแอมาก ดังนั้น จึงมีแนวโน้มว่า จะเกิดความวุ่นวายทางการเมือง และสภาวะอนาธิปไตยในยุคหลัง Gaddafi ลิเบียอาจกลายเป็นรัฐที่ล้มเหลว เหมือนอัฟกานิสถาน ก่อนที่นักรบ Taliban จะเข้ายึดอำนาจ ซึ่งทำให้สหรัฐฯวิตกกังวลว่า สภาวะดังกล่าว จะทำให้กลุ่มก่อการร้ายหัวรุนแรง โดยเฉพาะ al Qaeda อาจจะฉวยโอกาสเข้ายึดอำนาจรัฐในลิเบียได้
ดังนั้น ยุทธศาสตร์ในระยะยาวของ Obama ที่ยังไม่ได้ประกาศ น่าจะเป็น ยุทธศาสตร์การปิดล้อม หรือ containment คือ ยุทธศาสตร์การจำกัดบทบาทของ Gaddafi ซึ่งจะเหมือนกับยุทธศาสตร์ที่สหรัฐฯเคยใช้ในการปิดล้อมอิรัก ในสมัย Saddam Hussein และเหมือนกับยุทธศาสตร์ของสหรัฐฯที่ใช้ในการปิดล้อมอิหร่าน และเกาหลีเหนือ ในปัจจุบัน
วันจันทร์ที่ 11 เมษายน พ.ศ. 2554
ระเบียบโลกใหม่ปี 2020 : ผลกระทบและการปรับตัวของไทย (ตอนที่ 1)
ระเบียบโลกใหม่ปี 2020 : ผลกระทบและการปรับตัวของไทย (ตอนที่ 1)
ตีพิมพ์ใน ไทยโพสต์ ฉบับวันพฤหัสบดีที่ 7เมษายน 2554
คอลัมน์กระบวนทรรศน์ในตอนนี้และตอนหน้า ผมอยากจะฉายภาพกว้างๆว่า ในช่วง 10 ปีข้างหน้า จะเกิดอะไรขึ้นบ้าง คือ ระเบียบโลกใหม่ในปี 2020 จะเป็นอย่างไร จะมีผลกระทบอะไรบ้าง และไทยเราจะต้องเตรียมรับมืออย่างไร
ระเบียบโลกในยุคหลังสงครามเย็น
จริงๆแล้ว สิ่งที่จะเกิดขึ้นในอีก 10 ปีข้างหน้า หลายๆเรื่อง จะเป็นการต่อยอดจากสิ่งที่เคยเกิดขึ้นมาแล้วในอดีต และจะวิวัฒนาการต่อไป เพราะฉะนั้น หากเราต้องการรู้อนาคต เราต้องย้อนกลับไปดูอดีต โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ตั้งแต่ยุคหลังสงครามเย็น ว่าเกิดอะไรขึ้นบ้าง
ตั้งแต่ยุคหลังสงครามเย็น มี 3 เรื่องใหญ่เกิดขึ้น
• ขั้วอำนาจโลก : เปลี่ยนจาก 2 ขั้วมาเป็น 1 ขั้ว เป็นระบบหนึ่งขั้วอำนาจ กลายเป็นอเมริกา ที่
ผงาดขึ้นมา เป็นอภิมหาอำนาจหนึ่งเดียวในโลก
• โลกาภิวัฒน์ (globalization) : เกิดยุคโลกาภิวัฒน์ในยุคหลังสงครามเย็น เศรษฐกิจโลก การค้า
โลก ขยายตัวเป็นหนึ่งเดียว ทุนนิยมโลก ก็ขยายตัว การเงิน ข้อมูลข่าวสาร ทุกอย่างกลายเป็นโลกาภิวัฒน์หมด โลกกลายเป็นโลกใบเดียว หลังจากสงครามเย็นสิ้นสุดลง
และสิ่งที่เป็นผลจากโลกาภิวัฒน์อีกเรื่อง คือ การเกิดขึ้นขององค์การระหว่างประเทศ ที่ในอดีต อาจไม่
ค่อยมีบทบาทเท่าไร แต่ในช่วง 20 ปีที่ผ่านมา องค์การระหว่างประเทศ มีบทบาทเพิ่มขึ้นอย่างมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง UN WTO IMF รวมถึงองค์กรในระดับภูมิภาค เช่น EU ASEAN องค์กรเหล่านี้เกิดขึ้น เพราะโลกมีโลกาภิวัฒน์มากขึ้น ประชาคมโลกต้องร่วมมือกันมากขึ้น เพื่อจัดการและแก้ไขปัญหาต่างๆ ของโลก
• ความขัดแย้ง : เรื่องที่ 3 ที่ผมคิดว่า เป็นเรื่องใหญ่ ที่เกิดขึ้นในช่วง 20 ปีที่ผ่านมา และจะต่อ
ยอดออกไปในอีก 10 ปีข้างหน้า คือ ความขัดแย้ง สงคราม ซึ่งไม่ได้หมดไป หลายๆคน ในช่วงสงครามเย็นสิ้นสุดใหม่ๆ คิดว่า ต่อไปนี้ โลกเราจะมีแต่สันติภาพ แต่ในที่สุด ก็เกิดความขัดแย้งในรูปแบบใหม่ขึ้น ซึ่งไม่ได้เป็นความขัดแย้งและสงคราม ที่มีสาเหตุมาจากความขัดแย้งทางอุดมการณ์ระหว่างคอมมิวนิสต์ กับทุนนิยมอีกต่อไป แต่ความขัดแย้งในรูปแบบใหม่ ในยุคหลังสงครามเย็น กลายเป็นความขัดแย้ง ที่มีสาเหตุหลัก มาจากความขัดแย้งทางชาติพันธุ์และศาสนา
ในช่วง 20 ปีที่ผ่านมา หลังสงครามเย็น สงครามในรูปแบบใหม่ก็ปะทุขึ้นทั่วโลก ตั้งแต่ สงครามบอสเนีย โคโซโว ความขัดแย้งในคาบสมุทรบอลข่าน สงครามในเทือกเขาคอเคซัส สงครามแบ่งแยกดินแดนของชาว Kurd สงครามในอัฟกานิสถาน และปากีสถาน ก็เป็นสงคราม ที่เกี่ยวข้องกับกลุ่มศาสนาหัวรุนแรง นอกจากนี้ อินเดีย แคชเมียร์ ศรีลังกา พม่า ก็มีสงครามชนกลุ่มน้อย และสงครามชาติพันธุ์ และไทย ก็มีปัญหา 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ เช่นเดียวกับ อินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์ ดังนั้น จะเห็นได้ว่า สงครามในรูปแบบใหม่ ที่เป็นสงครามชาติพันธุ์ และศาสนา ได้ปะทุขึ้นทั่วโลก
ระเบียบโลกในปัจจุบัน
สำหรับระเบียบโลกในปัจจุบัน โดยเฉพาะในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา มีลักษณะสำคัญ ดังนี้
• การก่อการร้าย : หลังจากปี 2001 ระเบียบโลกก็เปลี่ยนแปลงไปอีก มีเรื่องใหม่เกิดขึ้น คือ การ
ก่อการร้ายสากล โดยหลังจากเกิดเหตุการณ์ 11 กันยาฯ ปี 2001 ทำให้ปัญหาการก่อการร้าย กลายเป็นปัญหาในระดับโลก และสหรัฐฯที่เป็นอภิมหาอำนาจอันดับ 1 ของโลก ต้องเผชิญกับศัตรูตัวใหม่ คือ กลุ่มก่อการร้ายสากล ทำให้ 10 ปีที่ผ่านมา สหรัฐฯต้องวุ่นอยู่กับสงครามต่อต้านการก่อการร้าย และปัญหาการก่อการร้ายก็แพร่ขยายกระจายไปทั่วโลก เป็นการจุดประกายความขัดแย้งทางอารยธรรมและศาสนา ระหว่างตะวันตกกับอิสลาม และเป็นการจุดประกายให้กลุ่มหัวรุนแรงในโลกมุสลิม ที่ตีความศาสนาอิสลามโดยมองว่า ตะวันตกชั่วร้าย และจะต้องทำสงครามศาสนากับตะวันตก จะต้องทำให้โลกมุสลิมกลับมาบริสุทธิ์อีกครั้งหนึ่ง ด้วยการขจัดอิทธิพลของตะวันตก ให้ออกไปจากโลกมุสลิมให้หมด
เหตุการณ์ 11 กันยาฯ จึงเป็นการเปิดศักราชใหม่ ความขัดแย้งระหว่างโลกตะวันตกกับโลกมุสลิม ทำให้สหรัฐฯ เลือดเข้าตา บุกยึดอัฟกานิสถาน และบุกยึดอิรัก แต่การใช้ไม้แข็งของสหรัฐฯ ก็ทำให้โลกมุสลิมยิ่งโกรธแค้นสหรัฐฯมากขึ้น ชาวมุสลิมก็เข้าร่วมกับกลุ่มก่อการร้ายมากขึ้น เพราะมองว่า สหรัฐฯกำลังทำสงครามศาสนาเพื่อจะยึดครองโลกมุสลิม
• มหาอำนาจใหม่ : เรื่องที่ 2 ที่ผมมองว่า เป็นเรื่องที่โดดเด่นในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา คือ การผงาด
ขึ้นมาของมหาอำนาจใหม่ คือ กลุ่ม BRIC ซึ่งย่อมาจาก Brazil, Russia, India, China เป็นกลุ่มมหาอำนาจใหม่ ที่เริ่มผงาดขึ้นมาอย่างชัดเจน ก่อนหน้านี้ จีนก็ดูธรรมดา ไม่ได้ดูน่ากลัวอะไร แต่ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา จีนผงาดขึ้นมาแรงมาก ทำให้เกิดแนวโน้มของความขัดแย้งระหว่างมหาอำนาจมากขึ้น โดยเฉพาะความขัดแย้งระหว่างสหรัฐฯกับจีน
• กระแสต่อต้านโลกาภิวัฒน์ และความขัดแย้งเหนือ-ใต้ : อีกเรื่องที่สำคัญมาก ที่เกิดขึ้นในช่วง
10 ปีที่ผ่านมา คือ การเกิดกระแสสวนกลับ ในช่วงหลังสงครามเย็น เกิดกระแสโลกาภิวัฒน์ขึ้น แต่ในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา ก็เกิดกระแสต่อต้านโลกาภิวัฒน์ขึ้น โดยเฉพาะ หลังจากเกิดวิกฤติต้มยำกุ้ง เริ่มมีการเริ่มมองว่า โลกาภิวัฒน์ดีจริงหรือ การเปิดเสรีทางการค้า และ FTA ดีจริงหรือ การเปิดเสรีทางการเงินดีจริงหรือ เริ่มมีกระแสต่อต้าน และชะลอกระบวนการโลกาภิวัฒน์ลง จึงนำไปสู่ความขัดแย้งในรูปแบบใหม่เกิดขึ้นในระเบียบเศรษฐกิจโลก คือ ความขัดแย้งเหนือ-ใต้ ระหว่างประเทศรวยกับประเทศจน
ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา ประเทศรวยกับประเทศจนก็ขัดแย้งกันอย่างหนัก โดยเฉพาะในเวที WTO ในการเจรจารอบโดฮา ประเทศรวยก็รวมกลุ่มกัน ประเทศจนก็รวมกลุ่มกัน แล้วก็งัดข้อกัน จนตกลงอะไรกันไม่ได้ ทำให้การเจรจารอบโดฮา ทำท่าว่าจะล่ม
เช่นเดียวกับการเจรจาภาวะโลกร้อน ที่โคเปนเฮเกน เมื่อปลายปี 2010 ก็กลายเป็นแบ่งเป็น 2 กลุ่ม ระหว่างประเทศรวยที่พัฒนาแล้วและเป็นประเทศอุตสาหกรรม ที่เป็นตัวก่อปัญหาภาวะโลกร้อน กับประเทศจนที่รวมกลุ่มกัน กดดันให้ประเทศรวยลดก๊าซเรือนกระจกลง แต่ประเทศรวยก็ไม่ยอม เพราะเศรษฐกิจจะเสียหายหนัก การเจรจาจึงล้มเหลว
ความขัดแย้งระหว่างประเทศรวยกับประเทศจนดังกล่าว เป็นผลมาจากการเปลี่ยนแปลงของระเบียบโลกใหม่ ที่ในอดีต ประเทศรวยได้ครอบงำเศรษฐกิจโลกทั้งหมด แต่ปัจจุบัน เมื่อประเทศจนมารวมตัวกันมากขึ้น อำนาจการต่อรองก็มากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่ง อำนาจการต่อรองของกลุ่มประเทศจนได้เพิ่มขึ้นอย่างมาก จากการผงาดขึ้นมาของ จีน อินเดีย และบราซิล ซึ่งเป็นประเทศมหาอำนาจใหม่ และประเทศมหาอำนาจใหม่เหล่านี้ ก็ประกาศว่า ประเทศตนยังเป็นประเทศจน จึงเข้าร่วมกับประเทศจน ทำให้กลุ่มของประเทศจน มีอำนาจการต่อรองเพิ่มขึ้นเป็นอย่างมาก และสามารถงัดข้อและต่อกรกับประเทศรวยได้
• การผงาดขึ้นมาของเอเชีย : ลักษณะสำคัญอีกประการหนึ่งของระเบียบโลกในปัจจุบัน คือ
การผงาดขึ้นมาของเอเชีย ซึ่งมาแรงมากในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา การผงาดขึ้นมาของเอเชีย รวมถึงการผงาดขึ้นมาของ จีน อินเดีย ญี่ปุ่น เกาหลี ไต้หวัน และอาเซียน กลุ่มนี้กำลังมาแรงมาก และแน่นอนว่า ในอนาคต จะมีบทบาทอย่างมากต่อระเบียบโลกใหม่ เพราะฐานต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ฐานเศรษฐกิจ กำลังจะย้ายฐานจากตะวันตกมาตะวันออก และเอเชียจะกลายเป็นศูนย์กลางของเศรษฐกิจโลกในอนาคต ซึ่งจะส่งผลกระทบอย่างมากต่อระเบียบโลกในอนาคต
(โปรดติดตามอ่านตอนจบ ในคอลัมน์กระบวนทรรศน์ตอนหน้า ในหนังสือพิมพ์ไทยโพสต์ ฉบับวันพฤหัสบดีที่ 21 เมษายน 2554)
ตีพิมพ์ใน ไทยโพสต์ ฉบับวันพฤหัสบดีที่ 7เมษายน 2554
คอลัมน์กระบวนทรรศน์ในตอนนี้และตอนหน้า ผมอยากจะฉายภาพกว้างๆว่า ในช่วง 10 ปีข้างหน้า จะเกิดอะไรขึ้นบ้าง คือ ระเบียบโลกใหม่ในปี 2020 จะเป็นอย่างไร จะมีผลกระทบอะไรบ้าง และไทยเราจะต้องเตรียมรับมืออย่างไร
ระเบียบโลกในยุคหลังสงครามเย็น
จริงๆแล้ว สิ่งที่จะเกิดขึ้นในอีก 10 ปีข้างหน้า หลายๆเรื่อง จะเป็นการต่อยอดจากสิ่งที่เคยเกิดขึ้นมาแล้วในอดีต และจะวิวัฒนาการต่อไป เพราะฉะนั้น หากเราต้องการรู้อนาคต เราต้องย้อนกลับไปดูอดีต โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ตั้งแต่ยุคหลังสงครามเย็น ว่าเกิดอะไรขึ้นบ้าง
ตั้งแต่ยุคหลังสงครามเย็น มี 3 เรื่องใหญ่เกิดขึ้น
• ขั้วอำนาจโลก : เปลี่ยนจาก 2 ขั้วมาเป็น 1 ขั้ว เป็นระบบหนึ่งขั้วอำนาจ กลายเป็นอเมริกา ที่
ผงาดขึ้นมา เป็นอภิมหาอำนาจหนึ่งเดียวในโลก
• โลกาภิวัฒน์ (globalization) : เกิดยุคโลกาภิวัฒน์ในยุคหลังสงครามเย็น เศรษฐกิจโลก การค้า
โลก ขยายตัวเป็นหนึ่งเดียว ทุนนิยมโลก ก็ขยายตัว การเงิน ข้อมูลข่าวสาร ทุกอย่างกลายเป็นโลกาภิวัฒน์หมด โลกกลายเป็นโลกใบเดียว หลังจากสงครามเย็นสิ้นสุดลง
และสิ่งที่เป็นผลจากโลกาภิวัฒน์อีกเรื่อง คือ การเกิดขึ้นขององค์การระหว่างประเทศ ที่ในอดีต อาจไม่
ค่อยมีบทบาทเท่าไร แต่ในช่วง 20 ปีที่ผ่านมา องค์การระหว่างประเทศ มีบทบาทเพิ่มขึ้นอย่างมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง UN WTO IMF รวมถึงองค์กรในระดับภูมิภาค เช่น EU ASEAN องค์กรเหล่านี้เกิดขึ้น เพราะโลกมีโลกาภิวัฒน์มากขึ้น ประชาคมโลกต้องร่วมมือกันมากขึ้น เพื่อจัดการและแก้ไขปัญหาต่างๆ ของโลก
• ความขัดแย้ง : เรื่องที่ 3 ที่ผมคิดว่า เป็นเรื่องใหญ่ ที่เกิดขึ้นในช่วง 20 ปีที่ผ่านมา และจะต่อ
ยอดออกไปในอีก 10 ปีข้างหน้า คือ ความขัดแย้ง สงคราม ซึ่งไม่ได้หมดไป หลายๆคน ในช่วงสงครามเย็นสิ้นสุดใหม่ๆ คิดว่า ต่อไปนี้ โลกเราจะมีแต่สันติภาพ แต่ในที่สุด ก็เกิดความขัดแย้งในรูปแบบใหม่ขึ้น ซึ่งไม่ได้เป็นความขัดแย้งและสงคราม ที่มีสาเหตุมาจากความขัดแย้งทางอุดมการณ์ระหว่างคอมมิวนิสต์ กับทุนนิยมอีกต่อไป แต่ความขัดแย้งในรูปแบบใหม่ ในยุคหลังสงครามเย็น กลายเป็นความขัดแย้ง ที่มีสาเหตุหลัก มาจากความขัดแย้งทางชาติพันธุ์และศาสนา
ในช่วง 20 ปีที่ผ่านมา หลังสงครามเย็น สงครามในรูปแบบใหม่ก็ปะทุขึ้นทั่วโลก ตั้งแต่ สงครามบอสเนีย โคโซโว ความขัดแย้งในคาบสมุทรบอลข่าน สงครามในเทือกเขาคอเคซัส สงครามแบ่งแยกดินแดนของชาว Kurd สงครามในอัฟกานิสถาน และปากีสถาน ก็เป็นสงคราม ที่เกี่ยวข้องกับกลุ่มศาสนาหัวรุนแรง นอกจากนี้ อินเดีย แคชเมียร์ ศรีลังกา พม่า ก็มีสงครามชนกลุ่มน้อย และสงครามชาติพันธุ์ และไทย ก็มีปัญหา 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ เช่นเดียวกับ อินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์ ดังนั้น จะเห็นได้ว่า สงครามในรูปแบบใหม่ ที่เป็นสงครามชาติพันธุ์ และศาสนา ได้ปะทุขึ้นทั่วโลก
ระเบียบโลกในปัจจุบัน
สำหรับระเบียบโลกในปัจจุบัน โดยเฉพาะในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา มีลักษณะสำคัญ ดังนี้
• การก่อการร้าย : หลังจากปี 2001 ระเบียบโลกก็เปลี่ยนแปลงไปอีก มีเรื่องใหม่เกิดขึ้น คือ การ
ก่อการร้ายสากล โดยหลังจากเกิดเหตุการณ์ 11 กันยาฯ ปี 2001 ทำให้ปัญหาการก่อการร้าย กลายเป็นปัญหาในระดับโลก และสหรัฐฯที่เป็นอภิมหาอำนาจอันดับ 1 ของโลก ต้องเผชิญกับศัตรูตัวใหม่ คือ กลุ่มก่อการร้ายสากล ทำให้ 10 ปีที่ผ่านมา สหรัฐฯต้องวุ่นอยู่กับสงครามต่อต้านการก่อการร้าย และปัญหาการก่อการร้ายก็แพร่ขยายกระจายไปทั่วโลก เป็นการจุดประกายความขัดแย้งทางอารยธรรมและศาสนา ระหว่างตะวันตกกับอิสลาม และเป็นการจุดประกายให้กลุ่มหัวรุนแรงในโลกมุสลิม ที่ตีความศาสนาอิสลามโดยมองว่า ตะวันตกชั่วร้าย และจะต้องทำสงครามศาสนากับตะวันตก จะต้องทำให้โลกมุสลิมกลับมาบริสุทธิ์อีกครั้งหนึ่ง ด้วยการขจัดอิทธิพลของตะวันตก ให้ออกไปจากโลกมุสลิมให้หมด
เหตุการณ์ 11 กันยาฯ จึงเป็นการเปิดศักราชใหม่ ความขัดแย้งระหว่างโลกตะวันตกกับโลกมุสลิม ทำให้สหรัฐฯ เลือดเข้าตา บุกยึดอัฟกานิสถาน และบุกยึดอิรัก แต่การใช้ไม้แข็งของสหรัฐฯ ก็ทำให้โลกมุสลิมยิ่งโกรธแค้นสหรัฐฯมากขึ้น ชาวมุสลิมก็เข้าร่วมกับกลุ่มก่อการร้ายมากขึ้น เพราะมองว่า สหรัฐฯกำลังทำสงครามศาสนาเพื่อจะยึดครองโลกมุสลิม
• มหาอำนาจใหม่ : เรื่องที่ 2 ที่ผมมองว่า เป็นเรื่องที่โดดเด่นในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา คือ การผงาด
ขึ้นมาของมหาอำนาจใหม่ คือ กลุ่ม BRIC ซึ่งย่อมาจาก Brazil, Russia, India, China เป็นกลุ่มมหาอำนาจใหม่ ที่เริ่มผงาดขึ้นมาอย่างชัดเจน ก่อนหน้านี้ จีนก็ดูธรรมดา ไม่ได้ดูน่ากลัวอะไร แต่ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา จีนผงาดขึ้นมาแรงมาก ทำให้เกิดแนวโน้มของความขัดแย้งระหว่างมหาอำนาจมากขึ้น โดยเฉพาะความขัดแย้งระหว่างสหรัฐฯกับจีน
• กระแสต่อต้านโลกาภิวัฒน์ และความขัดแย้งเหนือ-ใต้ : อีกเรื่องที่สำคัญมาก ที่เกิดขึ้นในช่วง
10 ปีที่ผ่านมา คือ การเกิดกระแสสวนกลับ ในช่วงหลังสงครามเย็น เกิดกระแสโลกาภิวัฒน์ขึ้น แต่ในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา ก็เกิดกระแสต่อต้านโลกาภิวัฒน์ขึ้น โดยเฉพาะ หลังจากเกิดวิกฤติต้มยำกุ้ง เริ่มมีการเริ่มมองว่า โลกาภิวัฒน์ดีจริงหรือ การเปิดเสรีทางการค้า และ FTA ดีจริงหรือ การเปิดเสรีทางการเงินดีจริงหรือ เริ่มมีกระแสต่อต้าน และชะลอกระบวนการโลกาภิวัฒน์ลง จึงนำไปสู่ความขัดแย้งในรูปแบบใหม่เกิดขึ้นในระเบียบเศรษฐกิจโลก คือ ความขัดแย้งเหนือ-ใต้ ระหว่างประเทศรวยกับประเทศจน
ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา ประเทศรวยกับประเทศจนก็ขัดแย้งกันอย่างหนัก โดยเฉพาะในเวที WTO ในการเจรจารอบโดฮา ประเทศรวยก็รวมกลุ่มกัน ประเทศจนก็รวมกลุ่มกัน แล้วก็งัดข้อกัน จนตกลงอะไรกันไม่ได้ ทำให้การเจรจารอบโดฮา ทำท่าว่าจะล่ม
เช่นเดียวกับการเจรจาภาวะโลกร้อน ที่โคเปนเฮเกน เมื่อปลายปี 2010 ก็กลายเป็นแบ่งเป็น 2 กลุ่ม ระหว่างประเทศรวยที่พัฒนาแล้วและเป็นประเทศอุตสาหกรรม ที่เป็นตัวก่อปัญหาภาวะโลกร้อน กับประเทศจนที่รวมกลุ่มกัน กดดันให้ประเทศรวยลดก๊าซเรือนกระจกลง แต่ประเทศรวยก็ไม่ยอม เพราะเศรษฐกิจจะเสียหายหนัก การเจรจาจึงล้มเหลว
ความขัดแย้งระหว่างประเทศรวยกับประเทศจนดังกล่าว เป็นผลมาจากการเปลี่ยนแปลงของระเบียบโลกใหม่ ที่ในอดีต ประเทศรวยได้ครอบงำเศรษฐกิจโลกทั้งหมด แต่ปัจจุบัน เมื่อประเทศจนมารวมตัวกันมากขึ้น อำนาจการต่อรองก็มากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่ง อำนาจการต่อรองของกลุ่มประเทศจนได้เพิ่มขึ้นอย่างมาก จากการผงาดขึ้นมาของ จีน อินเดีย และบราซิล ซึ่งเป็นประเทศมหาอำนาจใหม่ และประเทศมหาอำนาจใหม่เหล่านี้ ก็ประกาศว่า ประเทศตนยังเป็นประเทศจน จึงเข้าร่วมกับประเทศจน ทำให้กลุ่มของประเทศจน มีอำนาจการต่อรองเพิ่มขึ้นเป็นอย่างมาก และสามารถงัดข้อและต่อกรกับประเทศรวยได้
• การผงาดขึ้นมาของเอเชีย : ลักษณะสำคัญอีกประการหนึ่งของระเบียบโลกในปัจจุบัน คือ
การผงาดขึ้นมาของเอเชีย ซึ่งมาแรงมากในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา การผงาดขึ้นมาของเอเชีย รวมถึงการผงาดขึ้นมาของ จีน อินเดีย ญี่ปุ่น เกาหลี ไต้หวัน และอาเซียน กลุ่มนี้กำลังมาแรงมาก และแน่นอนว่า ในอนาคต จะมีบทบาทอย่างมากต่อระเบียบโลกใหม่ เพราะฐานต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ฐานเศรษฐกิจ กำลังจะย้ายฐานจากตะวันตกมาตะวันออก และเอเชียจะกลายเป็นศูนย์กลางของเศรษฐกิจโลกในอนาคต ซึ่งจะส่งผลกระทบอย่างมากต่อระเบียบโลกในอนาคต
(โปรดติดตามอ่านตอนจบ ในคอลัมน์กระบวนทรรศน์ตอนหน้า ในหนังสือพิมพ์ไทยโพสต์ ฉบับวันพฤหัสบดีที่ 21 เมษายน 2554)
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)