วิกฤตเศรษฐกิจสหรัฐฯ : ผลกระทบต่อโลกและต่อไทย
ตีพิมพ์ใน: หนังสือพิมพ์ไทยโพสต์
1. วิกฤตแฮมเบอร์เกอร์
กรณีวิกฤต subprime ได้ก่อให้เกิดผลกระทบต่อตลาดหุ้นสหรัฐฯและตลาดหุ้นทั่วโลก และทำท่าว่า ฟองสบู่ของเศรษฐกิจสหรัฐฯอาจจะแตกก็ได้ ซึ่งหากเป็นเช่นนั้น จะทำให้เศรษฐกิจสหรัฐฯเข้าสู่ภาวะวิกฤต ซึ่งจะก่อให้เกิดผลกระทบต่อเศรษฐกิจโลก และเศรษฐกิจของไทยอย่างหลีกเลี่ยงไม่พ้น
ต้นตอของวิกฤตแฮมเบอร์เกอร์เป็นผลมาจาก ปัญหาที่เคยเกิดขึ้นกับไทยเมื่อ 10 ปีที่แล้ว คือ ปัญหาของการขาดสภาพคล่อง ที่เป็นผลมาจากการปล่อยกู้ในภาคอสังหาริมทรัพย์ และได้มีการนำเอาเงินกู้ดังกล่าวไปเปลี่ยนสภาพและปล่อยกู้ต่อให้ธนาคารต่างๆ ทั่วโลก ผลสืบเนื่องจึงเป็นลักษณะลูกโซ่ ทำให้ธนาคารต่างๆทั่วโลกมีความไม่แน่ใจในค่าของเงินกู้ดังกล่าว และเริ่มมีความเสี่ยงในการปล่อยกู้ เริ่มมีความไม่เชื่อมั่นในสถานะทางการเงินของธนาคารต่างๆ ทั่วโลก ทำให้ทั้งธนาคาร สถาบันการเงิน บริษัทและผู้บริโภค มีความยากลำบากในการกู้เงิน
ยังไม่มีใครคาดการณ์ได้ว่า ผลกระทบของวิกฤต subprime จะรุนแรงมากน้อยแค่ไหน บางคนมองว่า อาจจะเป็นเพียงทำให้เศรษฐกิจสหรัฐฯชะลอตัวลง แต่บางคนกลับมองว่า เศรษฐกิจสหรัฐฯกำลังเข้าสู่ภาวะเศรษฐกิจถดถอย (recession) โดยเมื่อเร็ว ๆ นี้ สถาบันการเงินยักษ์ใหญ่ของสหรัฐฯคือ Goldman Sachs ได้ออกมาประกาศว่า เศรษฐกิจสหรัฐฯในปีนี้กำลังเข้าสู่ภาวะถดถอย พูดง่ายๆ ก็คือ ในปี 2008 นี้ เศรษฐกิจสหรัฐฯจะติดลบ
รัฐบาล Bush ได้พยายามผลักดันมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ โดยมีการตั้งวงเงินไว้ถึง 150,000 ล้านเหรียญ ซึ่งมาตรการดังกล่าวก็เพิ่งได้ผ่านสภาผู้แทนราษฎรของสหรัฐฯไปเมื่อไม่กี่วันมานี้ นอกจากนี้ ธนาคารกลางสหรัฐฯได้ดำเนินนโยบายทางการเงินโดยการลดอัตราดอกเบี้ยลง จาก 4.25% เหลือ 3.5% ซึ่งนับเป็นการลดอัตราดอกเบี้ยที่มากที่สุดในรอบ 20 ปี อย่างไรก็ตาม มาตรการต่างๆ เหล่านี้ ก็ยังไม่เพียงพอที่จะสร้างความเชื่อมั่นให้แก่นักลงทุน และอาจส่งผลกระทบอย่างมหาศาลต่อเศรษฐกิจโลก
2. ผลกระทบต่อโลก
2.1 ตลาดหุ้น
หลังจากวิกฤตแฮมเบอร์เกอร์ได้ทรุดหนักลงเรื่อย ๆ ก็ได้ก่อให้เกิดผลกระทบต่อตลาดหุ้นทั่วโลก ทำให้ตลาดหุ้นในประเทศต่าง ๆ ดัชนีราคาหุ้นตกต่ำลงอย่างมาก ได้มีการประเมินว่า ความเสียหายโดยเฉพาะในช่วง 3 สัปดาห์ของเดือนมกราคมนี้ มีถึง 5 ล้านล้านเหรียญสหรัฐฯ ตลาดหุ้นในประเทศต่าง ๆ มีมูลค่าลดลงกว่า 20%
ในวันที่ 21 มกราคมที่ผ่านมา ดัชนีราคาหุ้นในประเทศต่าง ๆ ตกต่ำลงอย่างมาก ถือว่าเป็นวันที่การค้าขายในตลาดหุ้นย่ำแย่ที่สุดนับตั้งแต่วันที่ 11 กันยายน ปี 2001 อาทิ ตลาดหุ้นเซี่ยงไฮ้ ดัชนีลดลงถึง 17% ส่วน Bank of China กำลังจะประกาศการขาดทุนครั้งใหญ่จากการลงทุนที่เกี่ยวเนื่องกับ subprime ของสหรัฐฯ เช่นเดียวกับธนาคารใหญ่ของเยอรมนีก็ขาดทุนถึง 1,400 ล้านเหรียญ ซึ่งเกี่ยวเนื่องจากการเข้าไปลงทุนใน subprime
2.2 การค้า
ผลกระทบอีกประการหนึ่งที่เป็นผลมาจากวิกฤตแฮมเบอร์เกอร์คือ ผลกระทบต่อการค้าของโลก โดยมีแนวโน้มว่า จากวิกฤตเศรษฐกิจสหรัฐฯซึ่งอาจนำไปสู่ภาวะเศรษฐกิจถดถอยจะทำให้กระแสนโยบายปกป้องทางการค้าของสหรัฐฯเพิ่มสูงขึ้นอย่างมาก
แนวโน้มที่สหรัฐฯจะมีนโยบายปกป้องทางการค้าและต่อต้านเสรีนิยมมากขึ้นในอนาคตนั้น นอกจากจะเป็นผลมาจากวิกฤตแฮมเบอร์เกอร์แล้ว ยังเป็นผลจากปัจจัยอื่น ๆ ประการแรกคือ การเพิ่มขึ้นของการขาดดุลการค้าของสหรัฐฯ โดยเมื่อปีที่แล้ว สหรัฐฯขาดดุลการค้าถึง 8 แสนล้านเหรียญ ซึ่งมากที่สุดในประวัติศาสตร์ นอกจากนี้ แนวโน้มการย้ายฐานการทำงานออกไปนอกประเทศมากขึ้น โดยเฉพาะในอุตสาหกรรมภาคบริการต่าง ๆ อาทิ การย้ายฐานการให้บริการโทรคมนาคมสื่อสารไปอยู่ที่อินเดีย ซึ่งทำให้คนอเมริกันตกงานเป็นจำนวนมาก
ขณะนี้จึงกลายเป็นว่า เรื่องใหญ่ที่กลายเป็นเรื่องที่สำคัญที่สุดในการรณรงค์หาเสียงเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯคนใหม่ก็คือเรื่องเศรษฐกิจ ไม่ใช่นโยบายต่างประเทศหรืออิรัก ผู้สมัครจากพรรคเดโมแครต ก็มีแนวโน้มที่จะมีนโยบายทางการค้าที่มีลักษณะปกป้องทางการค้า แนวนโยบายของพรรคเดโมแครตคือ การให้ความสำคัญกับคนงานสหรัฐฯที่ตกงานเพราะการค้าเสรี ดังนั้น ทั้งHillary Clinton และ Obama ก็คัดค้าน FTA โดย Hillary ได้กล่าวว่า หากเธอได้เป็นประธานาธิบดี ก็จะเอาข้อตกลง FTA มาทบทวนกันใหม่ โดยเฉพาะการศึกษาผลกระทบต่อคนงานอเมริกัน Hillaryได้เคยประกาศว่า NAFTA นั้นทำให้คนอเมริกันตกงาน ดังนั้น จึงมีแนวโน้มว่า นโยบายการค้าของสหรัฐฯ ภายใต้รัฐบาลเดโมแครต จะชะลอการเจรจา FTA และจะมีนโยบายต่อต้านการค้าเสรีมากขึ้น ซึ่งจะส่งผลกระทบไปทั่วโลก
มีแนวโน้มว่า สภาคองเกรสที่พรรคเดโมแครตมีเสียงข้างมาก ก็กำลังผลักดันกฎหมายปกป้องทางการค้าหลายฉบับ ตัวอย่างเช่น เมื่อเร็วๆ นี้ได้มีการเสนอร่างกฎหมายที่จะไม่ให้สถานะ MFN ต่อจีน นอกจากนี้ ยังมีการเสนอร่างกฎหมาย Fair Currency Act โดยระบุว่าจีน ดำเนินนโยบายอัตราการแลกเปลี่ยน ที่เป็นการละเมิดต่อกฎหมายการค้าของสหรัฐฯ ซึ่งจะต้องได้รับการตอบโต้โดยการขึ้นภาษีต่อสินค้านำเข้าจากจีน และสถานะ Fast Track Authority ของ Bush ก็ไม่ได้รับการต่ออายุ ทำให้รัฐบาล Bush ตกอยู่ในฐานะลำบากมากในการเจรจา FTA กับประเทศต่าง ๆ
ผลกระทบของวิกฤตแฮมเบอร์เกอร์ ได้เริ่มส่งผลกระทบต่อการส่งออกของประเทศต่างๆ ไปยังตลาดสหรัฐฯแล้ว ความต้องการการนำเข้าสินค้าของสหรัฐฯกำลังลดลงอย่างชัดเจน อาทิ บริษัท Kubota ของญี่ปุ่นซึ่งส่งออกรถแทรคเตอร์ไปยังตลาดสหรัฐฯ ยอดส่งออกลดลง 5% และปีนี้คงจะลดลงเพิ่มมากขึ้น สำหรับในจีน การส่งออกสินค้าสิ่งทอไปสหรัฐฯลดลงถึง 20% อย่างไรก็ตาม ผลกระทบของวิกฤตแฮมเบอร์เกอร์ จะขึ้นอยู่กับว่า ประเทศนั้น ๆ พึ่งพาการส่งออกไปยังตลาดสหรัฐฯมากน้อยเพียงใด ประเทศในเอเชียส่วนใหญ่จะพึ่งพาการส่งออกไปยังตลาดสหรัฐฯเป็นส่วนใหญ่ ไม่ว่าจะเป็น ญี่ปุ่น จีน มาเลเซีย สิงค์โปร์ และไทย
3. ผลกระทบต่อไทย
3.1 ตลาดหุ้นและการลงทุน
ประเทศไทยก็ได้รับผลกระทบจากวิกฤตแฮมเบอร์เกอร์ ผลกระทบที่ชัดเจนที่สุดคือ ผลกระทบต่อตลาดหุ้นของไทย ทำให้ดัชนีตลาดหุ้นของไทยตกต่ำลงอย่างมาก
นอกจากนี้ แนวโน้มในระยะยาวคือ ผลกระทบต่อการลงทุนของสหรัฐฯในประเทศไทย การลงทุนของสหรัฐฯในไทยปัจจุบันมีมูลค่าประมาณ 2 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐฯ สหรัฐฯถือเป็นประเทศที่มาลงทุนในไทยมากเป็นอันดับ 2 รองจากญี่ปุ่น แต่จากวิกฤตแฮมเบอร์เกอร์ มีแนวโน้มจะทำให้การลงทุนของสหรัฐฯในไทยลดลงอย่างแน่นอน
3.2 การค้า
สหรัฐฯเป็นตลาดการส่งออกที่ใหญ่ที่สุดของไทย โดยปีที่แล้ว ไทยส่งออกไปสหรัฐฯมีมูลค่า 15,000 ล้านเหรียญ หรือเกือบ 20% ของการส่งออกทั้งหมดของไทย ดังนั้น ผลกระทบจากวิกฤตแฮมเบอร์เกอร์จะกระทบต่อการส่งออกสินค้าไทยไปยังสหรัฐฯอย่างแน่นอน ทั้งนี้เพราะอุปสงค์ของสหรัฐฯคงจะลดลง รวมทั้งไทยก็จะเจอมาตรการกีดกันทางการค้าในรูปแบบต่างๆ สินค้าหลัก ๆ ที่ไทยส่งออกไปสหรัฐฯที่จะได้รับผลกระทบ คงหนีไม่พ้นสินค้าสิ่งทอ สินค้าเกษตร โดยเฉพาะสินค้า กุ้ง ไก่ และข้าวหอมมะลิ การส่งออกชิ้นส่วนยานยนตร์ การส่งออกปลาทูน่ากระป๋อง สินค้าเหล็ก และสินค้าสับปะรดกระป๋อง เป็นต้น
4. แนวโน้ม
ขณะนี้ยังไม่มีความชัดเจนว่า วิกฤตแฮมเบอร์เกอร์จะส่งผลกระทบรุนแรงมากแค่ไหนต่อเศรษฐกิจของสหรัฐฯ Goldman Sachs ก็ไม่ได้คาดการว่าเศรษฐกิจสหรัฐฯจะถดถอยอย่างรุนแรง แต่จะเป็นการถดถอยในระดับปานกลาง และมีความเป็นไปได้ว่า เศรษฐกิจสหรัฐฯอาจจะพลิกฟื้นกลับมาโตได้อีกในปี 2009 ขณะนี้จึงมีการถกเถียงกันระหว่างผู้เชี่ยวชาญทางด้านเศรษฐกิจว่า เศรษฐกิจสหรัฐฯกำลังเข้าสู่ภาวะถดถอยจริงๆ หรือไม่ หรืออาจจะเป็นเพียงแค่ชะลอตัวลงเท่านั้น
ถึงแม้ว่า ประเทศต่าง ๆ ในโลกจะได้รับผลกระทบต่อวิกฤตแฮมเบอร์เกอร์ แต่หลาย ๆ ประเทศก็เตรียมรับมือกับวิกฤตการณ์ดังกล่าวไว้แล้ว ประเทศอุตสาหกรรมหลายประเทศ ก็มีแผนที่จะป้องกันการเกิดภาวะเศรษฐกิจถดถอย ในขณะที่ประเทศอุตสาหกรรมใหม่ก็มีความพร้อมมากขึ้นที่จะป้องกันผลกระทบจากวิกฤตเศรษฐกิจแฮมเบอร์เกอร์ หลายๆ ประเทศในเอเชียเคยได้รับบทเรียนจากวิกฤตเศรษฐกิจต้มยำกุ้งเมื่อ 10 ปีที่แล้ว และได้มีมาตรการรับมือ โดยเฉพาะการสำรองเงินทุนสำรองระหว่างประเทศไว้เป็นจำนวนมหาศาล และมีระบบอัตราแลกเปลี่ยนแบบยืดหยุ่น ซึ่งจะทำให้โอกาสที่จะเกิดวิกฤตต้มยำกุ้งรอบ 2 เป็นไปค่อนข้างยาก หลาย ๆ ประเทศเตรียมรับมือวิกฤตแฮมเบอร์เกอร์ด้วยการหันมาเน้นกระตุ้นอุปสงค์ภายในประเทศ ลดการพึ่งพาตลาดสหรัฐฯ หันไปกระชับความร่วมมือในลักษณะการรวมกลุ่มทางการค้า และแสวงหาตลาดทางเลือกอื่น ๆ เพิ่มมากขึ้น
วันอังคารที่ 17 มิถุนายน พ.ศ. 2551
ประชาคมโลก กับวิกฤตพายุ Nagis
ประชาคมโลก กับวิกฤตพายุ Nagis
ตีพิมพ์ใน: หนังสือพิมพ์ไทยโพสต์
สถานการณ์ปัจจุบัน
หลังจากที่พายุไซโคลน Nagis ได้พัดถล่มพม่ามาตั้งแต่ช่วงต้นเดือน ขณะนี้ทางการพม่าได้ประกาศว่า มีผู้เสียชีวิตไปแล้วกว่า 80,000 คน และมีผู้สูญหายอีกประมาณ 55,000 คน รวมแล้วคงมีผู้เสียชีวิตกว่าแสนคน โดยทางสหประชาชาติได้ประเมินว่า คงจะมีผู้เสียชีวิตประมาณ 130,000 คน
นอกจากนี้ ยังมีผู้ที่ประสบความยากลำบาก ขาดทั้งอาหาร น้ำ และที่อยู่อาศัย อีกประมาณ 2,500,000 คน แต่เวลาได้ล่วงเลยไป 3 อาทิตย์แล้ว รัฐบาลทหารพม่าไม่สามารถให้ความช่วยเหลือแก่คนเหล่านี้ได้
ที่สำคัญไปกว่านั้นคือ ความช่วยเหลือจากนานาชาติก็ถูกกีดกัน โดยเฉพาะความช่วยเหลือจากตะวันตก ที่รัฐบาลทหารพม่ากลัวว่า จะเป็นช่องทางในการเข้ามาแทรกแซง และกระทบต่อระบอบเผด็จการของตน ขณะนี้ ความช่วยเหลือจึงมีอยู่น้อยมาก ขาดทั้งอาหาร น้ำ ที่อยู่อาศัย ขาดทั้งการลำเลียงขนส่ง ขาดทั้งผู้ที่จะเข้าไปช่วยเหลือ รวมทั้งอุปกรณ์ต่าง ๆ โดยทาง UN ประเมินว่า ความช่วยเหลือขณะนี้เข้าถึงได้เพียง 10% เท่านั้น ของจำนวนคน 2.5 ล้านคน
World Food Program หรือ WFP ซึ่งเป็นองค์กรหลักในการให้ความช่วยเหลือทางอาหาร ขณะนี้ มีอาหารที่จะต้องแจกจ่ายประมาณ 375 ตันต่อวัน แต่ขณะนี้ ลำเลียงและแจกจ่ายได้เพียง 10-20% เท่านั้น
บทบาทของตะวันตก
ในช่วงที่ผ่านมา ประชาคมโลกได้พยายามที่จะเข้าไปช่วยเหลือพม่า โดยประเทศร่ำรวยน่าจะมีศักยภาพที่จะช่วยเหลือได้มาก
สหรัฐฯได้พยายามที่จะส่งความช่วยเหลือเข้าไป แต่รัฐบาลทหารพม่าซึ่งมองสหรัฐฯเป็นศัตรู ก็ไม่ยอมรับความช่วยเหลือ จนมาเมื่อวันที่ 12 พฤษภาคมนี้เอง หลังจากถูกกดดันอย่างหนักจากประชาคมโลก รัฐบาลพม่าจึงยอมให้เครื่องบินสหรัฐฯ C130 ลำเลียงความช่วยเหลือเข้าไปในพม่าได้เป็นลำแรก ในเครื่องบินลำดังกล่าว มีนายพล Keating ผู้บัญชาการกองกำลังของสหรัฐฯในภาคพื้นแปซิฟิก อยู่ด้วย และนายพล Keating ได้พบปะกับผู้นำทหารพม่าที่สนามบินย่างกุ้งด้วย ถือเป็นครั้งแรกในรอบหลายสิบปี ที่มีการพบปะกันระหว่างทหารสหรัฐฯกับทหารพม่า อย่างไรก็ตาม การเจรจาก็ล้มเหลว และ Keating ก็ต้องบินกลับ เพราะทางฝ่ายทหารพม่าไม่ยอมรับ การที่สหรัฐฯจะส่งทหารเข้าไปช่วย
สหรัฐฯนั้น มีศักยภาพอย่างมากในการจัดการกับภัยพิบัติ เมื่อตอนคลื่นยักษ์ซึนามิ ปี 2004 สหรัฐฯได้มีบทบาทสำคัญ โดยในขณะนี้ มีทหารประมาณ 4,000 คน เครื่องบิน C130 อยู่ 6 เครื่อง เฮลิคอปเตอร์กว่า 10 ลำ จอดรออยู่ในประเทศไทย และมีเรือรบอีก 3 ลำ ลอยลำอยู่ใกล้ชายฝั่งของพม่า พร้อมจะให้ความช่วยเหลือภายใน 24 ชั่วโมง แต่พม่าก็ปฏิเสธการให้ความช่วยเหลือดังกล่าว
ประธานาธิบดี Bush ถึงกับออกมากล่าวว่า ความล่าช้าในการให้ความช่วยเหลือ แสดงให้เห็นถึงการเมินเฉยของรัฐบาลพม่า และกล่าวหารัฐบาลทหารพม่าว่า ความล่าช้าในการช่วยเหลือทำให้คนต้องเสียชีวิตเพิ่มขึ้นอีกเป็นจำนวนมาก
สำหรับสหภาพยุโรป ได้มีการประชุมกันที่กรุงบรัสเซลส์ และได้มีมติที่จะใช้ทุกวิถีทางเพื่อที่จะให้ความช่วยเหลือต่อชาวพม่า EU ได้ส่งผู้แทนพิเศษชื่อ Louise Michel เดินทางไปกรุงย่างกุ้ง และได้พบปะเจรจากับรัฐมนตรีพม่าที่เกี่ยวข้อง แต่ก็ไร้ผล
รัฐมนตรีต่างประเทศฝรั่งเศส คือ Bernard Kouchner จึงเสนอให้คณะมนตรีความมั่นคงมีมติแทรกแซงด้วยหลักการมนุษยธรรม ภายใต้หลักการที่เรียกว่า “ความรับผิดชอบในการปกป้อง” (responsibility to protect) โดยหลักการดังกล่าว ได้ตกลงกันในการประชุมสุดยอดของ UN เมื่อปี 2005 โดยมองว่า หากรัฐบาลล้มเหลวและปล่อยให้มีการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ หรือรัฐบาลกลายเป็นกลไกในการก่ออาชญากรรมต่อมนุษยชาติแล้ว ประชาคมโลกก็มีสิทธิจะเข้าไปแทรกแซง โดยทางฝรั่งเศสได้บอกว่า พฤติกรรมของรัฐบาลทหารพม่าในขณะนี้ เข้าข่ายการก่ออาชญากรรมต่อมนุษยชาติ
อย่างไรก็ตาม ประเทศที่เป็นพันธมิตรกับพม่าก็ออกมาคัดค้าน โดยเฉพาะจีน รัสเซีย และเวียดนาม โดยบอกว่า การแทรกแซงจะทำได้ ต้องเป็นกรณีการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ และอาชญากรรมต่อมนุษยชาติเท่านั้น ซึ่งในกรณีของพม่าในขณะนี้ไม่เข้าข่าย
นอกจากนี้ หลายๆฝ่ายใน UN ไม่เห็นด้วยกับข้อเสนอของฝรั่งเศส เพราะมองว่า จะทำให้สถานการณ์เลวร้ายลงไปอีก จะก่อให้เกิดการเผชิญหน้ากับรัฐบาลทหารพม่า และจะเป็นการตัดช่องทางในการติดต่อเจรจากับรัฐบาลทหารพม่า สหรัฐฯและอังกฤษซึ่งโดยปกติแล้วจะเป็นพันธมิตรกับฝรั่งเศส แต่ในกรณีนี้ ก็ไม่ประกาศสนับสนุนข้อเสนอของฝรั่งเศส
บทบาทของ UN
สำหรับ UN นั้น ได้พยายามที่จะเข้ามามีบทบาทในการให้ความช่วยเหลือ โดยเฉพาะเลขาธิการ UN คือ Ban Ki Moon ได้พยายามติดต่อทางโทรศัพท์กับผู้นำพม่าคือ นายพล ตัน ฉ่วย แต่ก็ไร้ผล นาย Ban จึงได้แสดงความห่วงใยและบอกว่า เป็นสิ่งที่ยอมรับไม่ได้ต่อการเฉื่อยชาของรัฐบาลพม่า
ต่อมา นาย Ban ได้ส่งรองเลขาฯUN รับผิดชอบด้านมนุษยธรรม คือ Sir John Holmes เดินทางไปพม่า เมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม เพื่อเจรจากับทางฝ่ายพม่า
และล่าสุด นาย Ban ได้ตัดสินใจที่จะเดินทางไปพม่า และพบปะกับทางฝ่ายพม่า ขณะที่ผมกำลังเขียนบทความนี้ นาย Ban กำลังจะพบปะเจรจากับทางฝ่ายทหารพม่า และ UN กับอาเซียนกำลังจะจัดให้มีการประชุมระหว่างประเทศที่เรียกว่า high level pledging conference ที่กรุงย่างกุ้งในวันที่ 25 พฤษภาคมนี้
บทบาทของอาเซียน
เป็นที่น่าผิดหวังเป็นอย่างยิ่ง ที่ตลอดเวลา 3 สัปดาห์ที่ผ่านมา อาเซียนแทบไม่มีบทบาทอะไรเลย ทั้งๆ ที่พม่าเป็นสมาชิกของอาเซียนแท้ๆ แต่กลับกลายเป็นว่า ประเทศตะวันตกและ UN กลายเป็นตัวแสดงสำคัญที่กดดันและเสนอความช่วยเหลือ ตลอดเวลาที่ผ่านมา อาเซียนกลับไม่ได้ทำอะไรเลย มีเพียง ดร.สุรินทร์ พิศสุวรรณ เลขาฯอาเซียนที่ออกมาเรียกร้อง และมีการให้ความช่วยเหลือในระดับทวิภาคีเท่านั้น โดยเฉพาะ ความช่วยเหลือจากประเทศไทย
จนเมื่อวันที่ 19 พฤษภาคมที่ผ่านมา อาเซียนถึงได้จัดการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียนสมัยพิเศษ ที่สิงค์โปร์
อาเซียนนั้น จริงๆ แล้ว มีปฏิญญาที่จะจัดการกับภัยพิบัติมาตั้งแต่ปี 1976 และต่อมาก็มีการจัดทำข้อตกลงความร่วมมือในการจัดการกับภัยพิบัติ แต่เป็นที่น่าผิดหวังเป็นอย่างยิ่ง ที่ข้อตกลงเหล่านี้ เป็นเพียงแค่กระดาษ เพราะเมื่อถึงภาวะวิกฤตจริงๆ อาเซียนก็ไม่สามารถดำเนินการให้ความช่วยเหลือใด ๆได้
อย่างไรก็ตาม ผลการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียน เมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม ก็ถือเป็นความคืบหน้าของอาเซียนในการที่จะมีบทบาทในเรื่องนี้ ถึงแม้จะช้ามาก แต่ก็ยังดีกว่าไม่ทำอะไรเลย
โดยที่ประชุมได้ตกลงที่จะจัดตั้งกลไกประสานงานของอาเซียนขึ้นมา โดยจะใช้ตัวอย่างจากในกรณีของซึนามิเมื่อปี 2004 กลไกดังกล่าวจะช่วยในเรื่องของการประสานความช่วยเหลือจากนานาชาติ แต่ขณะนี้ ก็ยังไม่ได้กำหนดรูปร่างหน้าตาว่า กลไกดังกล่าวจะเป็นอย่างไร
นอกจากนี้ ที่ประชุมได้จัดตั้ง คณะทำงานพิเศษ โดยมีเลขาธิการอาเซียน คือ ดร. สุรินทร์ พิศสุวรรณเป็นหัวหน้า และกำหนดที่จะส่งดร.สุรินทร์ ไปพม่า อย่างไรก็ตาม ผมมองว่า อาเซียนนั้นเชื่องช้าเป็นอย่างมาก เพราะกว่าที่เราจะส่งผู้แทนอาเซียนเข้าไป คือเลขาฯอาเซียน ทาง EU ก็ได้ส่งผู้แทนเข้าไปแล้ว และเลขาฯUN ก็ได้เข้าไปแล้ว อาเซียนเข้าไปช้ากว่าเพื่อน
เราคงจะต้องจับตามอง การประชุมที่อาเซียนกับ UN จะร่วมกันจัดขึ้นที่กรุงย่างกุ้งในวันที่ 25 พฤษภาคมนี้ ผมหวังว่า อาเซียน UN และประเทศที่น่าจะเข้าร่วมด้วยคือ จีน อินเดีย สหรัฐฯ คงจะสามารถหว่านล้อมให้พม่าเปิดประตูให้แก่ความช่วยเหลือจากนานาชาติ เพื่อที่จะเข้าไปช่วยเหลือชาวพม่ากว่า 2 ล้านคนได้ทัน
ตีพิมพ์ใน: หนังสือพิมพ์ไทยโพสต์
สถานการณ์ปัจจุบัน
หลังจากที่พายุไซโคลน Nagis ได้พัดถล่มพม่ามาตั้งแต่ช่วงต้นเดือน ขณะนี้ทางการพม่าได้ประกาศว่า มีผู้เสียชีวิตไปแล้วกว่า 80,000 คน และมีผู้สูญหายอีกประมาณ 55,000 คน รวมแล้วคงมีผู้เสียชีวิตกว่าแสนคน โดยทางสหประชาชาติได้ประเมินว่า คงจะมีผู้เสียชีวิตประมาณ 130,000 คน
นอกจากนี้ ยังมีผู้ที่ประสบความยากลำบาก ขาดทั้งอาหาร น้ำ และที่อยู่อาศัย อีกประมาณ 2,500,000 คน แต่เวลาได้ล่วงเลยไป 3 อาทิตย์แล้ว รัฐบาลทหารพม่าไม่สามารถให้ความช่วยเหลือแก่คนเหล่านี้ได้
ที่สำคัญไปกว่านั้นคือ ความช่วยเหลือจากนานาชาติก็ถูกกีดกัน โดยเฉพาะความช่วยเหลือจากตะวันตก ที่รัฐบาลทหารพม่ากลัวว่า จะเป็นช่องทางในการเข้ามาแทรกแซง และกระทบต่อระบอบเผด็จการของตน ขณะนี้ ความช่วยเหลือจึงมีอยู่น้อยมาก ขาดทั้งอาหาร น้ำ ที่อยู่อาศัย ขาดทั้งการลำเลียงขนส่ง ขาดทั้งผู้ที่จะเข้าไปช่วยเหลือ รวมทั้งอุปกรณ์ต่าง ๆ โดยทาง UN ประเมินว่า ความช่วยเหลือขณะนี้เข้าถึงได้เพียง 10% เท่านั้น ของจำนวนคน 2.5 ล้านคน
World Food Program หรือ WFP ซึ่งเป็นองค์กรหลักในการให้ความช่วยเหลือทางอาหาร ขณะนี้ มีอาหารที่จะต้องแจกจ่ายประมาณ 375 ตันต่อวัน แต่ขณะนี้ ลำเลียงและแจกจ่ายได้เพียง 10-20% เท่านั้น
บทบาทของตะวันตก
ในช่วงที่ผ่านมา ประชาคมโลกได้พยายามที่จะเข้าไปช่วยเหลือพม่า โดยประเทศร่ำรวยน่าจะมีศักยภาพที่จะช่วยเหลือได้มาก
สหรัฐฯได้พยายามที่จะส่งความช่วยเหลือเข้าไป แต่รัฐบาลทหารพม่าซึ่งมองสหรัฐฯเป็นศัตรู ก็ไม่ยอมรับความช่วยเหลือ จนมาเมื่อวันที่ 12 พฤษภาคมนี้เอง หลังจากถูกกดดันอย่างหนักจากประชาคมโลก รัฐบาลพม่าจึงยอมให้เครื่องบินสหรัฐฯ C130 ลำเลียงความช่วยเหลือเข้าไปในพม่าได้เป็นลำแรก ในเครื่องบินลำดังกล่าว มีนายพล Keating ผู้บัญชาการกองกำลังของสหรัฐฯในภาคพื้นแปซิฟิก อยู่ด้วย และนายพล Keating ได้พบปะกับผู้นำทหารพม่าที่สนามบินย่างกุ้งด้วย ถือเป็นครั้งแรกในรอบหลายสิบปี ที่มีการพบปะกันระหว่างทหารสหรัฐฯกับทหารพม่า อย่างไรก็ตาม การเจรจาก็ล้มเหลว และ Keating ก็ต้องบินกลับ เพราะทางฝ่ายทหารพม่าไม่ยอมรับ การที่สหรัฐฯจะส่งทหารเข้าไปช่วย
สหรัฐฯนั้น มีศักยภาพอย่างมากในการจัดการกับภัยพิบัติ เมื่อตอนคลื่นยักษ์ซึนามิ ปี 2004 สหรัฐฯได้มีบทบาทสำคัญ โดยในขณะนี้ มีทหารประมาณ 4,000 คน เครื่องบิน C130 อยู่ 6 เครื่อง เฮลิคอปเตอร์กว่า 10 ลำ จอดรออยู่ในประเทศไทย และมีเรือรบอีก 3 ลำ ลอยลำอยู่ใกล้ชายฝั่งของพม่า พร้อมจะให้ความช่วยเหลือภายใน 24 ชั่วโมง แต่พม่าก็ปฏิเสธการให้ความช่วยเหลือดังกล่าว
ประธานาธิบดี Bush ถึงกับออกมากล่าวว่า ความล่าช้าในการให้ความช่วยเหลือ แสดงให้เห็นถึงการเมินเฉยของรัฐบาลพม่า และกล่าวหารัฐบาลทหารพม่าว่า ความล่าช้าในการช่วยเหลือทำให้คนต้องเสียชีวิตเพิ่มขึ้นอีกเป็นจำนวนมาก
สำหรับสหภาพยุโรป ได้มีการประชุมกันที่กรุงบรัสเซลส์ และได้มีมติที่จะใช้ทุกวิถีทางเพื่อที่จะให้ความช่วยเหลือต่อชาวพม่า EU ได้ส่งผู้แทนพิเศษชื่อ Louise Michel เดินทางไปกรุงย่างกุ้ง และได้พบปะเจรจากับรัฐมนตรีพม่าที่เกี่ยวข้อง แต่ก็ไร้ผล
รัฐมนตรีต่างประเทศฝรั่งเศส คือ Bernard Kouchner จึงเสนอให้คณะมนตรีความมั่นคงมีมติแทรกแซงด้วยหลักการมนุษยธรรม ภายใต้หลักการที่เรียกว่า “ความรับผิดชอบในการปกป้อง” (responsibility to protect) โดยหลักการดังกล่าว ได้ตกลงกันในการประชุมสุดยอดของ UN เมื่อปี 2005 โดยมองว่า หากรัฐบาลล้มเหลวและปล่อยให้มีการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ หรือรัฐบาลกลายเป็นกลไกในการก่ออาชญากรรมต่อมนุษยชาติแล้ว ประชาคมโลกก็มีสิทธิจะเข้าไปแทรกแซง โดยทางฝรั่งเศสได้บอกว่า พฤติกรรมของรัฐบาลทหารพม่าในขณะนี้ เข้าข่ายการก่ออาชญากรรมต่อมนุษยชาติ
อย่างไรก็ตาม ประเทศที่เป็นพันธมิตรกับพม่าก็ออกมาคัดค้าน โดยเฉพาะจีน รัสเซีย และเวียดนาม โดยบอกว่า การแทรกแซงจะทำได้ ต้องเป็นกรณีการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ และอาชญากรรมต่อมนุษยชาติเท่านั้น ซึ่งในกรณีของพม่าในขณะนี้ไม่เข้าข่าย
นอกจากนี้ หลายๆฝ่ายใน UN ไม่เห็นด้วยกับข้อเสนอของฝรั่งเศส เพราะมองว่า จะทำให้สถานการณ์เลวร้ายลงไปอีก จะก่อให้เกิดการเผชิญหน้ากับรัฐบาลทหารพม่า และจะเป็นการตัดช่องทางในการติดต่อเจรจากับรัฐบาลทหารพม่า สหรัฐฯและอังกฤษซึ่งโดยปกติแล้วจะเป็นพันธมิตรกับฝรั่งเศส แต่ในกรณีนี้ ก็ไม่ประกาศสนับสนุนข้อเสนอของฝรั่งเศส
บทบาทของ UN
สำหรับ UN นั้น ได้พยายามที่จะเข้ามามีบทบาทในการให้ความช่วยเหลือ โดยเฉพาะเลขาธิการ UN คือ Ban Ki Moon ได้พยายามติดต่อทางโทรศัพท์กับผู้นำพม่าคือ นายพล ตัน ฉ่วย แต่ก็ไร้ผล นาย Ban จึงได้แสดงความห่วงใยและบอกว่า เป็นสิ่งที่ยอมรับไม่ได้ต่อการเฉื่อยชาของรัฐบาลพม่า
ต่อมา นาย Ban ได้ส่งรองเลขาฯUN รับผิดชอบด้านมนุษยธรรม คือ Sir John Holmes เดินทางไปพม่า เมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม เพื่อเจรจากับทางฝ่ายพม่า
และล่าสุด นาย Ban ได้ตัดสินใจที่จะเดินทางไปพม่า และพบปะกับทางฝ่ายพม่า ขณะที่ผมกำลังเขียนบทความนี้ นาย Ban กำลังจะพบปะเจรจากับทางฝ่ายทหารพม่า และ UN กับอาเซียนกำลังจะจัดให้มีการประชุมระหว่างประเทศที่เรียกว่า high level pledging conference ที่กรุงย่างกุ้งในวันที่ 25 พฤษภาคมนี้
บทบาทของอาเซียน
เป็นที่น่าผิดหวังเป็นอย่างยิ่ง ที่ตลอดเวลา 3 สัปดาห์ที่ผ่านมา อาเซียนแทบไม่มีบทบาทอะไรเลย ทั้งๆ ที่พม่าเป็นสมาชิกของอาเซียนแท้ๆ แต่กลับกลายเป็นว่า ประเทศตะวันตกและ UN กลายเป็นตัวแสดงสำคัญที่กดดันและเสนอความช่วยเหลือ ตลอดเวลาที่ผ่านมา อาเซียนกลับไม่ได้ทำอะไรเลย มีเพียง ดร.สุรินทร์ พิศสุวรรณ เลขาฯอาเซียนที่ออกมาเรียกร้อง และมีการให้ความช่วยเหลือในระดับทวิภาคีเท่านั้น โดยเฉพาะ ความช่วยเหลือจากประเทศไทย
จนเมื่อวันที่ 19 พฤษภาคมที่ผ่านมา อาเซียนถึงได้จัดการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียนสมัยพิเศษ ที่สิงค์โปร์
อาเซียนนั้น จริงๆ แล้ว มีปฏิญญาที่จะจัดการกับภัยพิบัติมาตั้งแต่ปี 1976 และต่อมาก็มีการจัดทำข้อตกลงความร่วมมือในการจัดการกับภัยพิบัติ แต่เป็นที่น่าผิดหวังเป็นอย่างยิ่ง ที่ข้อตกลงเหล่านี้ เป็นเพียงแค่กระดาษ เพราะเมื่อถึงภาวะวิกฤตจริงๆ อาเซียนก็ไม่สามารถดำเนินการให้ความช่วยเหลือใด ๆได้
อย่างไรก็ตาม ผลการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียน เมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม ก็ถือเป็นความคืบหน้าของอาเซียนในการที่จะมีบทบาทในเรื่องนี้ ถึงแม้จะช้ามาก แต่ก็ยังดีกว่าไม่ทำอะไรเลย
โดยที่ประชุมได้ตกลงที่จะจัดตั้งกลไกประสานงานของอาเซียนขึ้นมา โดยจะใช้ตัวอย่างจากในกรณีของซึนามิเมื่อปี 2004 กลไกดังกล่าวจะช่วยในเรื่องของการประสานความช่วยเหลือจากนานาชาติ แต่ขณะนี้ ก็ยังไม่ได้กำหนดรูปร่างหน้าตาว่า กลไกดังกล่าวจะเป็นอย่างไร
นอกจากนี้ ที่ประชุมได้จัดตั้ง คณะทำงานพิเศษ โดยมีเลขาธิการอาเซียน คือ ดร. สุรินทร์ พิศสุวรรณเป็นหัวหน้า และกำหนดที่จะส่งดร.สุรินทร์ ไปพม่า อย่างไรก็ตาม ผมมองว่า อาเซียนนั้นเชื่องช้าเป็นอย่างมาก เพราะกว่าที่เราจะส่งผู้แทนอาเซียนเข้าไป คือเลขาฯอาเซียน ทาง EU ก็ได้ส่งผู้แทนเข้าไปแล้ว และเลขาฯUN ก็ได้เข้าไปแล้ว อาเซียนเข้าไปช้ากว่าเพื่อน
เราคงจะต้องจับตามอง การประชุมที่อาเซียนกับ UN จะร่วมกันจัดขึ้นที่กรุงย่างกุ้งในวันที่ 25 พฤษภาคมนี้ ผมหวังว่า อาเซียน UN และประเทศที่น่าจะเข้าร่วมด้วยคือ จีน อินเดีย สหรัฐฯ คงจะสามารถหว่านล้อมให้พม่าเปิดประตูให้แก่ความช่วยเหลือจากนานาชาติ เพื่อที่จะเข้าไปช่วยเหลือชาวพม่ากว่า 2 ล้านคนได้ทัน
วิกฤตราคาน้ำมัน: ผลกระทบต่อการเมืองโลก
วิกฤตราคาน้ำมัน: ผลกระทบต่อการเมืองโลก
ตีพิมพ์ใน: หนังสือพิมพ์ไทยโพสต์
บทนำ
วิกฤตราคาน้ำมัน กำลังเป็นปัญหาใหญ่ของโลก และเมื่อน้ำมันมีราคาสูงถึงกว่า 130 เหรียญต่อบาเรล เราก็เริ่มมองเห็นว่า วิกฤตราคาน้ำมันกำลังจะส่งผลกระทบต่อการเมืองโลกอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ น้ำมันจึงกลายเป็นสินค้าที่มีความสำคัญยิ่งต่อภูมิรัฐศาสตร์ เพราะเกือบทุกสิ่งทุกอย่างต้องพึ่งพาพลังงานจากน้ำมัน ทุกประเทศต้องการน้ำมัน ดังนั้น เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงราคาและจำนวนน้ำมันที่เหลืออยู่ จึงส่งผลกระทบ ก่อให้เกิดความเปลี่ยนแปลงต่อความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ
อาจกล่าวได้ว่า ในยุคหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ระบบการเมืองโลกได้ผ่านยุคสมัยต่างๆ ที่สำคัญมา 3 ยุค คือ ยุคสงครามเย็น ยุคหลังสงครามเย็น และยุคหลังเหตุการณ์ 11 กันยาฯ จนถึงปัจจุบัน ประเด็นหลักคือ สงครามต่อต้านการก่อการร้าย โดยมีสหรัฐฯเป็นผู้นำ ต่อสู้กับกลุ่มก่อการร้ายมุสลิมหัวรุนแรง แต่วิกฤตราคาน้ำมันในขณะนี้ ได้ทำให้ปัญหาการก่อการร้ายลดความสำคัญลงไป เรื่องความมั่นคงทางพลังงานกลายเป็นเรื่องสำคัญที่สุด เราจึงกำลังเข้าสู่ยุคใหม่ของการเมืองโลกหรือไม่
ตะวันออกกลาง
วิกฤตราคาน้ำมันได้ก่อให้เกิดผู้ชนะและผู้แพ้ในเวทีการเมืองโลก และผู้ชนะที่สำคัญคือประเทศผู้ส่งออกน้ำมันรายใหญ่ โดยเฉพาะประเทศที่สามารถมีเงินเหลือใช้จากการขายน้ำมัน แต่บางประเทศที่เป็นประเทศผู้ส่งออกน้ำมัน แต่ต้องใช้จ่ายรายได้จากน้ำมันสำหรับการพัฒนาเศรษฐกิจภายในประเทศ ก็อาจจะไม่ได้ประโยชน์มากนัก เช่น เวเนซุเอลา อินโดนีเซีย และไนจีเรีย ดังนั้น ประเทศผู้ชนะในเกมราคาน้ำมันในครั้งนี้คือ ประเทศในตะวันออกกลาง ซาอุดิอาระเบีย และประเทศรอบอ่าวเปอร์เชีย กำลังมีรายได้เพิ่มขึ้นมหาศาล และจะนำไปสู่ความมั่งคั่ง และอำนาจทางการเมืองระหว่างประเทศในอนาคต
รัสเซีย
รัสเซียก็เป็นอีกประเทศหนึ่งที่เป็นผู้ชนะ รัสเซียเป็นประเทศผู้ส่งออกน้ำมันและก๊าซธรรมชาติรายใหญ่ของโลก ประเทศในยุโรปต่างต้องพึ่งพาการนำเข้าน้ำมันและก๊าซธรรมชาติจากรัสเซีย รายได้จากการขายน้ำมัน จะทำให้รัสเซียผงาดขึ้นมาเป็นอภิมหาอำนาจในเวทีโลกในอนาคต และรัสเซียจะมีไพ่ใบสำคัญที่จะใช้ black mail ประเทศในยุโรป ประเทศในยุโรปก็รู้ตัวดีว่า รัสเซียถือไพ่เหนือกว่า และกำลังอ่อนข้อลง เห็นได้จากการประชุมสุดยอด NATO ครั้งล่าสุด ประเทศยุโรปไม่เห็นด้วยกับข้อเสนอของสหรัฐฯ ที่จะดึงเอายูเครน และจอร์เจียมาเป็นสมาชิก NATO เพราะรู้ดีว่า รัสเซียคงไม่พอใจแน่
ตะวันตกกำลังมองรัสเซียว่า กำลังใช้การส่งออกพลังงานเป็นอาวุธในการ black mail ประเทศต่างๆ ตัวอย่างเช่น การตัดการส่งก๊าซต่อยูเครนและต่อยุโรปตะวันตกเมื่อไม่นานมานี้ รองประธานาธิบดีสหรัฐฯ Dick Cheney ได้โจมตีรัสเซียในเรื่องนี้อย่างรุนแรง และสหรัฐฯก็มีแผนที่จะสร้างพันธมิตรทางพลังงานเพื่อต่อต้านรัสเซีย โดยจะเห็นได้จาก การเอาใจประเทศในเอเชียกลาง ซึ่งมีน้ำมันและก๊าซธรรมชาติมหาศาล
อย่างไรก็ตาม รัสเซียก็ได้หว่านล้อมให้คาซัคสถาน และเติร์กเมนิสถาน สร้างท่อก๊าซผ่านรัสเซีย ซึ่งเป็นการทำลายแผนของตะวันตกที่ต้องการให้สร้างท่อก๊าซโดยไม่ผ่านรัสเซีย
เอเชีย
สำหรับประเทศผู้แพ้ในเกมราคาน้ำมันครั้งนี้ คือ ประเทศในภูมิภาคเอเชีย ซึ่งต้องนำเข้าน้ำมันและพึ่งพาน้ำมันในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจที่ยังเน้นในเรื่องของอุตสาหกรรมการผลิตสินค้าส่งออก ประเทศที่จะได้รับผลกระทบหนักได้แก่ ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ และประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่ต้องนำเข้าน้ำมัน เช่น ไทย
สำหรับสหรัฐฯนั้น ก็แตกต่างจากประเทศในเอเชีย โดยสหรัฐฯไม่ได้กระทบกระเทือนมากนักจากวิกฤตราคาน้ำมัน ทั้งนี้เพราะ สหรัฐฯมีแหล่งน้ำมันสำรองอยู่มาก และเศรษฐกิจสหรัฐฯได้พัฒนาไปสู่เศรษฐกิจภาคบริการอย่างเต็มตัวแล้ว จึงไม่ต้องพึ่งพาน้ำมันเหมือนกับเศรษฐกิจของประเทศในเอเชีย ที่เน้นการผลิตสินค้าอุตสาหกรรม
จีน
ประเทศที่น่าจะได้รับผลกระทบหนักที่สุดคือ จีน เพราะที่ผ่านมา การเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของจีน ทำให้จีนต้องการนำเข้าพลังงานน้ำมันเพิ่มขึ้นเป็นอย่างมาก และเมื่อราคาน้ำมันสูงขึ้น ก็จะส่งผลกระทบต่อการพัฒนาเศรษฐกิจของจีนเป็นอย่างมาก
แนวโน้มคือ เราจะเห็นจีนมีนโยบายก้าวร้าวมากขึ้นเรื่อยๆ ในการแสวงหาแหล่งพลังงานน้ำมันทั่วโลก จีนนำเข้าน้ำมันจากตะวันออกกลางจาก 3 ประเทศหลักคือ อิรัก อิหร่าน และซาอุดิอาระเบีย ในอิหร่าน จีนได้ลงทุนในการสำรวจและผลิตน้ำมันในอิหร่านซึ่งมีมูลค่ากว่า 1 แสนล้านเหรียญ สำหรับซาอุดิอาระเบีย จีนก็พยายามจะตีสนิท ในปี 2002 ซาอุดิอาระเบียกลายเป็นประเทศส่งออกน้ำมันรายใหญ่ที่สุดให้แก่จีน
การที่จีนตีสนิทกับประเทศต่างๆ ในทวีปแอฟริกา อาทิ ซูดาน ก็เพื่อหวังผลในเรื่องน้ำมัน ทำให้สหรัฐฯไม่สามารถผลักดันการคว่ำบาตรรัฐบาลซูดานในคณะมนตรีความมั่นคงได้ ในกรณีฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ใน Darfur
เช่นเดียวกับในกรณีของพม่า การที่ตะวันตกไม่สามารถคว่ำบาตรรัฐบาลเผด็จการทหารพม่าได้ ก็เพราะจีนให้ความช่วยเหลืออยู่ โดยสิ่งตอบแทนที่จีนได้คือ การนำเข้าทรัพยากรธรรมชาติ น้ำมัน และก๊าซธรรมชาติจากพม่า
การแข่งขันทางทหาร
ผลกระทบของวิกฤตราคาน้ำมันต่อการเมืองโลกอีกเรื่องหนึ่งคือ ทำให้เกิดการแข่งขันกันทางทหาร การแข่งขันกันสะสมอาวุธ งบประมาณการใช้จ่ายทางทหารทั่วโลกกำลังเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ สาเหตุสำคัญก็เนื่องมาจาก ความเป็นห่วงในเรื่องความมั่นคงของทรัพยากรพลังงานน้ำมัน ประเทศต่างๆ จึงสะสมกำลังทางทหารในอัตราที่สูง อย่างไม่เคยปรากฏมาก่อนตั้งแต่สงครามเย็นสิ้นสุดลง
แหล่งน้ำมัน
ดังนั้น จากวิกฤตการณ์ราคาน้ำมัน จะทำให้การต่อสู้แข่งขันเพื่อเข้าถึงแหล่งน้ำมันมีความรุนแรงและขัดแย้งกันมากขึ้นในอนาคต มหาอำนาจไม่ว่าจะเป็นสหรัฐฯ รัสเซีย จีน ญี่ปุ่น ยุโรป ต่างก็แสวงหาการครอบงำแหล่งน้ำมันและก๊าซธรรมชาติ
กรณีการต่อสู้แข่งขันกันในการสร้างท่อส่งน้ำมันและก๊าซในทะเลสาบแคสเปี้ยน กำลังเป็นกรณีสำคัญในการแข่งขันทางภูมิรัฐศาสตร์ระหว่างมหาอำนาจ
โครงการสร้างท่อส่งน้ำมันขนาดใหญ่ที่อยู่ระหว่างการพิจารณาได้แก่ โครงการท่อน้ำมันจากตะวันตกของคาซัคสถานไปยังจีน ระยะทาง 3,700 ไมล์ โครงการท่อน้ำมันจากเมืองบากูไปตุรกี และโครงการท่อน้ำมันในไซบีเรีย
ท่อส่งน้ำมันในอดีต ส่วนมากจะมุ่งสู่ตลาดในยุโรปและสหรัฐฯ แต่ในอนาคตความต้องการจะมาจากจีน อินเดีย และประเทศอุตสาหกรรมใหม่ในเอเชีย ประเทศเหล่านี้ก็ต้องการท่อส่งน้ำมันที่มุ่งไปยังประเทศของตน
การแข่งขันทางด้านภูมิรัฐศาสตร์ก็เกิดขึ้น ในกรณีท่อส่งน้ำมันทางตะวันออกของไซบีเรีย จีนต้องการให้ท่อส่งน้ำมันดังกล่าวมุ่งสู่ตะวันออกเฉียงเหนือของจีน แต่รัสเซียไม่ต้องการเส้นทางนั้น แต่จะขยายเส้นทางไปถึงชายฝั่งตะวันออกที่เมืองท่านาคุตก้า ซึ่งญี่ปุ่นก็ต้องการเพราะอยู่ใกล้ญี่ปุ่น
สำหรับท่อส่งน้ำมันอีกเส้นหนึ่งซึ่งสหรัฐฯต้องการมาก คือ การก่อสร้างท่อส่งน้ำมันจากเมืองบากูริมฝั่งทะเลสาบแคสเปี้ยน ผ่านประเทศจอร์เจียไปถึงชายฝั่งทะเลเมดิเตอร์เรเนียนของตุรกี โดยไม่ยอมให้สร้างท่อน้ำมันผ่านรัสเซีย
ในภาพรวม มหาอำนาจต่างๆ โดยเฉพาะ สหรัฐฯ จีนและรัสเซีย กำลังต่อสู้แข่งขันกัน ที่จะเข้ามามีอิทธิพลในแหล่งพลังงานน้ำมันทั่วโลก โดยเฉพาะในตะวันออกกลาง เอเชียกลาง และแถบทะเลสาบแคสเปี้ยน
นอกจากนี้ จุดอันตรายอีกจุดหนึ่งคือ บริเวณที่มีความจัดแย้ง อ้างกรรมสิทธิ์ทับซ้อนกันทางทะเล เช่น ความขัดแย้งในหมู่เกาะสแปรตลีย์ ความขัดแย้งในเกาะเซนซากุ ระหว่างจีนกับญี่ปุ่น ความขัดแย้งเหล่านี้ ลึก ๆ แล้วเกิดขึ้นเพราะ มีการคาดว่า บริเวณเหล่านี้จะเป็นแหล่งทรัพยากรน้ำมัน และก๊าซธรรมชาติ ดังนั้น วิกฤตราคาน้ำมันจะทำให้บริเวณเหล่านี้ มีแนวโน้มที่จะเกิดความขัดแย้งเพิ่มมากขึ้นในอนาคตด้วย
ตีพิมพ์ใน: หนังสือพิมพ์ไทยโพสต์
บทนำ
วิกฤตราคาน้ำมัน กำลังเป็นปัญหาใหญ่ของโลก และเมื่อน้ำมันมีราคาสูงถึงกว่า 130 เหรียญต่อบาเรล เราก็เริ่มมองเห็นว่า วิกฤตราคาน้ำมันกำลังจะส่งผลกระทบต่อการเมืองโลกอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ น้ำมันจึงกลายเป็นสินค้าที่มีความสำคัญยิ่งต่อภูมิรัฐศาสตร์ เพราะเกือบทุกสิ่งทุกอย่างต้องพึ่งพาพลังงานจากน้ำมัน ทุกประเทศต้องการน้ำมัน ดังนั้น เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงราคาและจำนวนน้ำมันที่เหลืออยู่ จึงส่งผลกระทบ ก่อให้เกิดความเปลี่ยนแปลงต่อความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ
อาจกล่าวได้ว่า ในยุคหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ระบบการเมืองโลกได้ผ่านยุคสมัยต่างๆ ที่สำคัญมา 3 ยุค คือ ยุคสงครามเย็น ยุคหลังสงครามเย็น และยุคหลังเหตุการณ์ 11 กันยาฯ จนถึงปัจจุบัน ประเด็นหลักคือ สงครามต่อต้านการก่อการร้าย โดยมีสหรัฐฯเป็นผู้นำ ต่อสู้กับกลุ่มก่อการร้ายมุสลิมหัวรุนแรง แต่วิกฤตราคาน้ำมันในขณะนี้ ได้ทำให้ปัญหาการก่อการร้ายลดความสำคัญลงไป เรื่องความมั่นคงทางพลังงานกลายเป็นเรื่องสำคัญที่สุด เราจึงกำลังเข้าสู่ยุคใหม่ของการเมืองโลกหรือไม่
ตะวันออกกลาง
วิกฤตราคาน้ำมันได้ก่อให้เกิดผู้ชนะและผู้แพ้ในเวทีการเมืองโลก และผู้ชนะที่สำคัญคือประเทศผู้ส่งออกน้ำมันรายใหญ่ โดยเฉพาะประเทศที่สามารถมีเงินเหลือใช้จากการขายน้ำมัน แต่บางประเทศที่เป็นประเทศผู้ส่งออกน้ำมัน แต่ต้องใช้จ่ายรายได้จากน้ำมันสำหรับการพัฒนาเศรษฐกิจภายในประเทศ ก็อาจจะไม่ได้ประโยชน์มากนัก เช่น เวเนซุเอลา อินโดนีเซีย และไนจีเรีย ดังนั้น ประเทศผู้ชนะในเกมราคาน้ำมันในครั้งนี้คือ ประเทศในตะวันออกกลาง ซาอุดิอาระเบีย และประเทศรอบอ่าวเปอร์เชีย กำลังมีรายได้เพิ่มขึ้นมหาศาล และจะนำไปสู่ความมั่งคั่ง และอำนาจทางการเมืองระหว่างประเทศในอนาคต
รัสเซีย
รัสเซียก็เป็นอีกประเทศหนึ่งที่เป็นผู้ชนะ รัสเซียเป็นประเทศผู้ส่งออกน้ำมันและก๊าซธรรมชาติรายใหญ่ของโลก ประเทศในยุโรปต่างต้องพึ่งพาการนำเข้าน้ำมันและก๊าซธรรมชาติจากรัสเซีย รายได้จากการขายน้ำมัน จะทำให้รัสเซียผงาดขึ้นมาเป็นอภิมหาอำนาจในเวทีโลกในอนาคต และรัสเซียจะมีไพ่ใบสำคัญที่จะใช้ black mail ประเทศในยุโรป ประเทศในยุโรปก็รู้ตัวดีว่า รัสเซียถือไพ่เหนือกว่า และกำลังอ่อนข้อลง เห็นได้จากการประชุมสุดยอด NATO ครั้งล่าสุด ประเทศยุโรปไม่เห็นด้วยกับข้อเสนอของสหรัฐฯ ที่จะดึงเอายูเครน และจอร์เจียมาเป็นสมาชิก NATO เพราะรู้ดีว่า รัสเซียคงไม่พอใจแน่
ตะวันตกกำลังมองรัสเซียว่า กำลังใช้การส่งออกพลังงานเป็นอาวุธในการ black mail ประเทศต่างๆ ตัวอย่างเช่น การตัดการส่งก๊าซต่อยูเครนและต่อยุโรปตะวันตกเมื่อไม่นานมานี้ รองประธานาธิบดีสหรัฐฯ Dick Cheney ได้โจมตีรัสเซียในเรื่องนี้อย่างรุนแรง และสหรัฐฯก็มีแผนที่จะสร้างพันธมิตรทางพลังงานเพื่อต่อต้านรัสเซีย โดยจะเห็นได้จาก การเอาใจประเทศในเอเชียกลาง ซึ่งมีน้ำมันและก๊าซธรรมชาติมหาศาล
อย่างไรก็ตาม รัสเซียก็ได้หว่านล้อมให้คาซัคสถาน และเติร์กเมนิสถาน สร้างท่อก๊าซผ่านรัสเซีย ซึ่งเป็นการทำลายแผนของตะวันตกที่ต้องการให้สร้างท่อก๊าซโดยไม่ผ่านรัสเซีย
เอเชีย
สำหรับประเทศผู้แพ้ในเกมราคาน้ำมันครั้งนี้ คือ ประเทศในภูมิภาคเอเชีย ซึ่งต้องนำเข้าน้ำมันและพึ่งพาน้ำมันในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจที่ยังเน้นในเรื่องของอุตสาหกรรมการผลิตสินค้าส่งออก ประเทศที่จะได้รับผลกระทบหนักได้แก่ ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ และประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่ต้องนำเข้าน้ำมัน เช่น ไทย
สำหรับสหรัฐฯนั้น ก็แตกต่างจากประเทศในเอเชีย โดยสหรัฐฯไม่ได้กระทบกระเทือนมากนักจากวิกฤตราคาน้ำมัน ทั้งนี้เพราะ สหรัฐฯมีแหล่งน้ำมันสำรองอยู่มาก และเศรษฐกิจสหรัฐฯได้พัฒนาไปสู่เศรษฐกิจภาคบริการอย่างเต็มตัวแล้ว จึงไม่ต้องพึ่งพาน้ำมันเหมือนกับเศรษฐกิจของประเทศในเอเชีย ที่เน้นการผลิตสินค้าอุตสาหกรรม
จีน
ประเทศที่น่าจะได้รับผลกระทบหนักที่สุดคือ จีน เพราะที่ผ่านมา การเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของจีน ทำให้จีนต้องการนำเข้าพลังงานน้ำมันเพิ่มขึ้นเป็นอย่างมาก และเมื่อราคาน้ำมันสูงขึ้น ก็จะส่งผลกระทบต่อการพัฒนาเศรษฐกิจของจีนเป็นอย่างมาก
แนวโน้มคือ เราจะเห็นจีนมีนโยบายก้าวร้าวมากขึ้นเรื่อยๆ ในการแสวงหาแหล่งพลังงานน้ำมันทั่วโลก จีนนำเข้าน้ำมันจากตะวันออกกลางจาก 3 ประเทศหลักคือ อิรัก อิหร่าน และซาอุดิอาระเบีย ในอิหร่าน จีนได้ลงทุนในการสำรวจและผลิตน้ำมันในอิหร่านซึ่งมีมูลค่ากว่า 1 แสนล้านเหรียญ สำหรับซาอุดิอาระเบีย จีนก็พยายามจะตีสนิท ในปี 2002 ซาอุดิอาระเบียกลายเป็นประเทศส่งออกน้ำมันรายใหญ่ที่สุดให้แก่จีน
การที่จีนตีสนิทกับประเทศต่างๆ ในทวีปแอฟริกา อาทิ ซูดาน ก็เพื่อหวังผลในเรื่องน้ำมัน ทำให้สหรัฐฯไม่สามารถผลักดันการคว่ำบาตรรัฐบาลซูดานในคณะมนตรีความมั่นคงได้ ในกรณีฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ใน Darfur
เช่นเดียวกับในกรณีของพม่า การที่ตะวันตกไม่สามารถคว่ำบาตรรัฐบาลเผด็จการทหารพม่าได้ ก็เพราะจีนให้ความช่วยเหลืออยู่ โดยสิ่งตอบแทนที่จีนได้คือ การนำเข้าทรัพยากรธรรมชาติ น้ำมัน และก๊าซธรรมชาติจากพม่า
การแข่งขันทางทหาร
ผลกระทบของวิกฤตราคาน้ำมันต่อการเมืองโลกอีกเรื่องหนึ่งคือ ทำให้เกิดการแข่งขันกันทางทหาร การแข่งขันกันสะสมอาวุธ งบประมาณการใช้จ่ายทางทหารทั่วโลกกำลังเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ สาเหตุสำคัญก็เนื่องมาจาก ความเป็นห่วงในเรื่องความมั่นคงของทรัพยากรพลังงานน้ำมัน ประเทศต่างๆ จึงสะสมกำลังทางทหารในอัตราที่สูง อย่างไม่เคยปรากฏมาก่อนตั้งแต่สงครามเย็นสิ้นสุดลง
แหล่งน้ำมัน
ดังนั้น จากวิกฤตการณ์ราคาน้ำมัน จะทำให้การต่อสู้แข่งขันเพื่อเข้าถึงแหล่งน้ำมันมีความรุนแรงและขัดแย้งกันมากขึ้นในอนาคต มหาอำนาจไม่ว่าจะเป็นสหรัฐฯ รัสเซีย จีน ญี่ปุ่น ยุโรป ต่างก็แสวงหาการครอบงำแหล่งน้ำมันและก๊าซธรรมชาติ
กรณีการต่อสู้แข่งขันกันในการสร้างท่อส่งน้ำมันและก๊าซในทะเลสาบแคสเปี้ยน กำลังเป็นกรณีสำคัญในการแข่งขันทางภูมิรัฐศาสตร์ระหว่างมหาอำนาจ
โครงการสร้างท่อส่งน้ำมันขนาดใหญ่ที่อยู่ระหว่างการพิจารณาได้แก่ โครงการท่อน้ำมันจากตะวันตกของคาซัคสถานไปยังจีน ระยะทาง 3,700 ไมล์ โครงการท่อน้ำมันจากเมืองบากูไปตุรกี และโครงการท่อน้ำมันในไซบีเรีย
ท่อส่งน้ำมันในอดีต ส่วนมากจะมุ่งสู่ตลาดในยุโรปและสหรัฐฯ แต่ในอนาคตความต้องการจะมาจากจีน อินเดีย และประเทศอุตสาหกรรมใหม่ในเอเชีย ประเทศเหล่านี้ก็ต้องการท่อส่งน้ำมันที่มุ่งไปยังประเทศของตน
การแข่งขันทางด้านภูมิรัฐศาสตร์ก็เกิดขึ้น ในกรณีท่อส่งน้ำมันทางตะวันออกของไซบีเรีย จีนต้องการให้ท่อส่งน้ำมันดังกล่าวมุ่งสู่ตะวันออกเฉียงเหนือของจีน แต่รัสเซียไม่ต้องการเส้นทางนั้น แต่จะขยายเส้นทางไปถึงชายฝั่งตะวันออกที่เมืองท่านาคุตก้า ซึ่งญี่ปุ่นก็ต้องการเพราะอยู่ใกล้ญี่ปุ่น
สำหรับท่อส่งน้ำมันอีกเส้นหนึ่งซึ่งสหรัฐฯต้องการมาก คือ การก่อสร้างท่อส่งน้ำมันจากเมืองบากูริมฝั่งทะเลสาบแคสเปี้ยน ผ่านประเทศจอร์เจียไปถึงชายฝั่งทะเลเมดิเตอร์เรเนียนของตุรกี โดยไม่ยอมให้สร้างท่อน้ำมันผ่านรัสเซีย
ในภาพรวม มหาอำนาจต่างๆ โดยเฉพาะ สหรัฐฯ จีนและรัสเซีย กำลังต่อสู้แข่งขันกัน ที่จะเข้ามามีอิทธิพลในแหล่งพลังงานน้ำมันทั่วโลก โดยเฉพาะในตะวันออกกลาง เอเชียกลาง และแถบทะเลสาบแคสเปี้ยน
นอกจากนี้ จุดอันตรายอีกจุดหนึ่งคือ บริเวณที่มีความจัดแย้ง อ้างกรรมสิทธิ์ทับซ้อนกันทางทะเล เช่น ความขัดแย้งในหมู่เกาะสแปรตลีย์ ความขัดแย้งในเกาะเซนซากุ ระหว่างจีนกับญี่ปุ่น ความขัดแย้งเหล่านี้ ลึก ๆ แล้วเกิดขึ้นเพราะ มีการคาดว่า บริเวณเหล่านี้จะเป็นแหล่งทรัพยากรน้ำมัน และก๊าซธรรมชาติ ดังนั้น วิกฤตราคาน้ำมันจะทำให้บริเวณเหล่านี้ มีแนวโน้มที่จะเกิดความขัดแย้งเพิ่มมากขึ้นในอนาคตด้วย
ปัญหาการค้าไทย-สหรัฐฯ ปี 2008
ปัญหาการค้าไทย-สหรัฐฯ ปี 2008
ตีพิมพ์ใน : หนังสือพิมพ์ไทยโพสต์
เมื่อเร็ว ๆ นี้ สำนักงานผู้แทนการค้าหรือ USTR ของสหรัฐฯ ได้จัดทำรายงานประจำปี 2008 เสนอต่อสภาคองเกรส เกี่ยวกับปัญหาทางการค้ากับประเทศต่างๆ ทั่วโลก รวมทั้งประเทศไทยด้วย คอลัมน์กระบวนทรรศน์ในวันนี้ ผมจะได้วิเคราะห์รายงานดังกล่าว โดยเฉพาะในส่วนที่เกี่ยวกับไทย ดังนี้
ภาพรวม
รายงานระบุว่า ตัวเลขในปี 2007 สหรัฐฯขาดดุลการค้าต่อไทยคิดเป็น 14,300 ล้านเหรียญ โดยสหรัฐฯส่งออกมาไทยมูลค่า 8,400 ล้านเหรียญ ในขณะที่นำเข้าจากไทยมูลค่า 22,800 ล้านเหรียญ ไทยถือเป็นตลาดใหญ่อันดับที่ 27 ของสหรัฐฯ นอกจากนี้ มูลค่าการลงทุนของสหรัฐฯในไทยคิดเป็น 8,200 ล้านเหรียญในปี 2006
สำหรับการเจรจา FTA ไทย-สหรัฐฯนั้น รายงานระบุว่า การเจรจาเริ่มมาตั้งแต่เดือนมิถุนายน ปี 2004 และมีการเจรจาไปแล้ว 7 รอบจนถึงปี 2006 แต่การเจรจาก็ต้องยุติลงภายหลังรัฐประหารในเดือนกันยายนปี 2006 ท่าทีของสหรัฐฯที่ปรากฏในรายงานระบุว่า สหรัฐฯยังไม่เปิดเผยท่าทีว่าอยากจะเจรจา FTA กับไทย ซึ่งผิดกับรายงานของเมื่อปีที่แล้ว ที่ท่าทีของสหรัฐฯคือจะเจรจาต่อหลังจากไทยมีรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง แต่สำหรับในรายงานปีนี้ ท่าทีกลับเปลี่ยนเป็นว่า สหรัฐฯจะติดตามและประเมินพัฒนาการของไทย ภายหลังมีรัฐบาลใหม่ และจะได้กำหนดขั้นตอนที่เหมาะสมต่อความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจของประเทศทั้งสองต่อไป
ปัญหาภาษีศุลกากร
ปัญหาแรกที่รายงานของ USTR หยิบยกขึ้นมาคือ การที่ไทยมีภาษีศุลกากรที่สูง ทำให้เป็นอุปสรรคต่อการส่งออกของสินค้าสหรัฐฯมายังไทย ภาษาที่สูงครอบคลุมสินค้าเกษตร ยานยนตร์ เครื่องดื่ม สิ่งทอและสินค้ากระดาษ
สำหรับสินค้าเกษตรนั้น รายงานระบุว่า ไทยมีภาษีที่สูงนับเป็นอุปสรรคสำคัญต่อการส่งออก โดยในปี 2007 การส่งออกสินค้าเกษตรของสหรัฐฯมายังไทย คิดเป็นมูลค่า 870 ล้านเหรียญ อย่างไรก็ตาม รายงานประเมินว่า หากไทยลดภาษีและลดมาตรการบิดเบือนทางการค้าลง จะทำให้การส่งออกสินค้าเกษตรมายังไทยเพิ่มขึ้นได้ถึง 1,500 ล้านเหรียญต่อปี
ภาษีของไทยที่เกี่ยวกับสินค้าอาหารนั้น อยู่ระหว่าง 30-40 % ซึ่งถือว่าสูงที่สุดในกลุ่มประเทศอาเซียน บางรายการสูงถึง 90% ภาษีเกี่ยวกับเนื้อ ผลไม้สด และผักสด ก็มีอัตราสูง และที่หนักที่สุดคือ ภาษีการนำเข้าไวน์จากสหรัฐฯซึ่งโดนภาษีเกือบ 400%
สำหรับภาษีที่เกี่ยวข้องกับสินค้ายานยนตร์นั้น ก็ถือว่าสูงที่สุดในอาเซียน โดยภาษีสำหรับรถยนต์โดยสารสูงถึง 80%
นอกจากนี้ ภาษีเกี่ยวกับสินค้าสิ่งทอของสหรัฐฯก็สูงประมาณ 20-30%
ทรัพย์สินทางปัญญา
ในรายงานของ USTR ได้โจมตีไทยว่า ได้มีการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาอย่างมากในไทย และขาดการบังคับใช้กฎหมาย ขาดการลงโทษผู้กระทำผิด ทำให้อุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับทรัพย์สินทางปัญญาของสหรัฐฯ สูญเสียรายได้ในปี 2006 ถึง 308 ล้านเหรียญ
ในปี 2007 ไทยได้ถูกยกระดับในรายงาน special 301 เกี่ยวกับการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญา จากระดับ watch list หรือประเทศที่ต้องจับตามอง ซึ่งไทยอยู่ในระดับนี้มาตั้งแต่ปี 1994 แต่ในปี 2007 ไทยถูกยกระดับขึ้นเป็น priority watch list หรือประเทศที่ต้องเฝ้าจับตามองเป็นพิเศษ ซึ่งในปี 2007 ไทยเป็นประเทศเดียวในโลกที่ถูกยกระดับ ซึ่งในสายตาของสหรัฐฯสะท้อนให้เห็นถึงความเสื่อมลงของการปกป้องทรัพย์สินทางปัญญาในไทย
ในด้านสิทธิบัตรนั้น รายงานได้ระบุว่า หน่วยงานสิทธิบัตรของไทยไม่มีทรัพยากรเพียงพอ ทำให้การยื่นจดทะเบียนสิทธิบัตรล่าช้า ต้องใช้เวลา 5-10 ปีหรือมากกว่านั้น โดยเฉพาะในกรณีสิทธิบัตรยา ในขณะที่การเสนอขอจดทะเบียนสิทธิบัตรเพิ่มขึ้นแต่จำนวนสิทธิบัตรกลับลดลง ในเดือนมกราคม ปี 2008 สภาได้อนุมัติแผนการของไทยที่จะเข้าร่วมเป็นสมาชิก Paris Convention และ Patent Cooperation Treaty แต่ในขณะนี้รัฐบาลไทยก็ยังอยู่ในระหว่างการเตรียมการที่จะภาคยานุวัติ
สำหรับในเรื่องสิทธิบัตรยานั้น เราคงจำกันได้ว่า เมื่อปีที่แล้วก็มีปัญหาเกิดขึ้นในเรื่อง CL ซึ่งถูกมองว่า อาจจะเป็นสาเหตุทำให้ไทยถูกยกระดับ เป็น PWL สำหรับรายงานของ USTR ในปีนี้ก็ยังคงตอกย้ำเรื่อง CL โดยท่าทีของสหรัฐฯคือ ยอมรับว่าไทยมีสิทธิที่จะทำ CL เพื่อแก้ปัญหาภาวะวิกฤตด้านสาธารณสุข แต่สหรัฐฯก็ไม่พอใจไทยโดยมองว่า ไม่มีความโปร่งใสในกระบวนการทำ CL และมีแนวโน้มว่า ฝ่ายไทยจะขยายจำนวนยาที่จะทำ CL มากขึ้น
ในกรณีของลิขสิทธิ์นั้น ในรายงานระบุว่า ถึงแม้ว่าไทยจะมีกฎหมายใหม่ที่ครอบคลุมเกี่ยวกับ ซีดี หรือดีวีดี แต่รายงานก็ระบุว่า กฎหมายดังกล่าวยังมีช่องโหว่หลายเรื่อง ฝ่ายสหรัฐฯจะเดินหน้าต่อไปในการบีบไทยเพื่อให้แก้ไขข้อบกพร่องดังกล่าว นอกจากนี้ รายงานดังกล่าวยังได้โจมตีไทยว่า ไทยยังไม่ยอมที่จะภาคยานุวัติสนธิสัญญาต่างๆที่เกี่ยวกับลิขสิทธิ์
เช่นเดียวกับในกรณีของเครื่องหมายการค้า รายงานระบุว่า ไทยยังไม่ยอมเข้าร่วมกับ Madrid Protocol
รายงาน USTR โจมตีไทยอย่างมากในเรื่องการบังคับใช้กฎหมายในเรื่องทรัพย์สินทางปัญญา และบอกว่า หน่วยงานของไทยไร้ประสิทธิภาพในเรื่องนี้ กรมสอบสวนคดีพิเศษ หรือ DSI ถูกโจมตีว่า ไม่มีประสิทธิภาพในการจัดการกับการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญา ส่วนศาลทรัพย์สินทางปัญญาก็ไม่มีประสิทธิภาพ เพราะมักจะเป็นการลงโทษที่เบาเกินไปที่จะป้องปรามพฤติกรรมการละเมิดได้
อุตสาหกรรมลิขสิทธิ์ของสหรัฐฯได้แสดงความห่วงใยต่อการเพิ่มขึ้นของการละเมิดลิขสิทธิ์ของซีดีและดีวีดีในไทย กฎหมายที่เกี่ยวกับเรื่องนี้ก็ไม่มีประสิทธิภาพ การลงโทษก็อ่อนเกินไปที่จะป้องปรามการละเมิด และหน่วยงานรัฐบาลไทยก็ไม่มีประสิทธิภาพ
การค้าภาคบริการ
สำหรับในด้านการค้าภาคบริการนั้น รายงานของ USTR ได้โจมตีไทยในหลายสาขา โดยในด้านโทรคมนาคมนั้น ถึงแม้ว่ารายงานจะระบุว่ามีความคืบหน้าในการปฏิรูปกฎระเบียบด้านโทรคมนาคม แต่ก็ยังมีอุปสรรคอย่างมากต่อการลงทุนจากต่างชาติในสาขานี้
สำหรับในด้านการเงินนั้น รายงานระบุว่า ยังมีข้อจำกัดเกี่ยวกับการทำธุรกิจของต่างชาติในสาขานี้ สถาบันการเงินต่างชาติได้รับอนุญาตให้ถือหุ้นเพียง 49% ในสถาบันการเงินของไทย โดยจะต้องพิจารณาเป็นกรณีๆไป
นอกจากนี้ ภายใต้กฎหมายเกี่ยวกับธนาคารของไทย ปี 1962 อนุญาตให้ชาวต่างชาติถือหุ้นได้เพียง 25% ในธนาคารของไทย อย่างไรก็ตาม รายงานระบุว่า กฎหมายเกี่ยวกับสถาบันการเงินฉบับใหม่ได้เพิ่มสัดส่วนการถือหุ้นเป็น 49% แต่ธนาคารต่างชาติที่ทำธุรกิจในไทยก็ยังประสบปัญหาหลายด้าน อาทิ ฝ่ายไทยอนุญาตให้มีสาขาได้เพียง 1 สาขา
สำหรับในสาขาด้านการขนส่งนั้น รายงานของ USTR ระบุว่า กฎหมายไทยอนุญาตให้ต่างชาติถือหุ้นในธุรกิจการขนส่งได้เพียง 49% ซึ่งเป็นอุปสรรคต่อการลงทุนโดยเฉพาะในธุรกิจการให้บริการไปรษณีย์ด่วนพิเศษ
สำหรับในสาขาด้านโรงพยาบาลนั้น รายงานระบุว่า นโยบายของรัฐบาลไทยสร้างข้อจำกัดอย่างมากต่อการลงทุนจากต่างชาติ โดยเฉพาะการไม่มีความโปร่งใสในเรื่องหลักเกณฑ์การถือหุ้นและการบริหารโรงพยาบาล
กล่าวโดยสรุป จะเห็นได้ว่า รายงานของ USTR ในปี 2008 นี้ ได้ชี้ให้เห็นว่า รัฐบาลสหรัฐฯได้มองว่าไทยมีอุปสรรคทางการค้าต่อผลประโยชน์ด้านการค้าของสหรัฐฯอยู่มากมายหลายเรื่อง ซึ่งหากในอนาคต ถ้ามีการรื้อฟื้นการเจรจา FTA ขึ้นมา ผมก็แน่ใจว่า ประเด็นเหล่านี้ทางฝ่ายสหรัฐฯคงจะหยิบยกขึ้นมาเจรจา และกดดันไทยอย่างแน่นอน
ตีพิมพ์ใน : หนังสือพิมพ์ไทยโพสต์
เมื่อเร็ว ๆ นี้ สำนักงานผู้แทนการค้าหรือ USTR ของสหรัฐฯ ได้จัดทำรายงานประจำปี 2008 เสนอต่อสภาคองเกรส เกี่ยวกับปัญหาทางการค้ากับประเทศต่างๆ ทั่วโลก รวมทั้งประเทศไทยด้วย คอลัมน์กระบวนทรรศน์ในวันนี้ ผมจะได้วิเคราะห์รายงานดังกล่าว โดยเฉพาะในส่วนที่เกี่ยวกับไทย ดังนี้
ภาพรวม
รายงานระบุว่า ตัวเลขในปี 2007 สหรัฐฯขาดดุลการค้าต่อไทยคิดเป็น 14,300 ล้านเหรียญ โดยสหรัฐฯส่งออกมาไทยมูลค่า 8,400 ล้านเหรียญ ในขณะที่นำเข้าจากไทยมูลค่า 22,800 ล้านเหรียญ ไทยถือเป็นตลาดใหญ่อันดับที่ 27 ของสหรัฐฯ นอกจากนี้ มูลค่าการลงทุนของสหรัฐฯในไทยคิดเป็น 8,200 ล้านเหรียญในปี 2006
สำหรับการเจรจา FTA ไทย-สหรัฐฯนั้น รายงานระบุว่า การเจรจาเริ่มมาตั้งแต่เดือนมิถุนายน ปี 2004 และมีการเจรจาไปแล้ว 7 รอบจนถึงปี 2006 แต่การเจรจาก็ต้องยุติลงภายหลังรัฐประหารในเดือนกันยายนปี 2006 ท่าทีของสหรัฐฯที่ปรากฏในรายงานระบุว่า สหรัฐฯยังไม่เปิดเผยท่าทีว่าอยากจะเจรจา FTA กับไทย ซึ่งผิดกับรายงานของเมื่อปีที่แล้ว ที่ท่าทีของสหรัฐฯคือจะเจรจาต่อหลังจากไทยมีรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง แต่สำหรับในรายงานปีนี้ ท่าทีกลับเปลี่ยนเป็นว่า สหรัฐฯจะติดตามและประเมินพัฒนาการของไทย ภายหลังมีรัฐบาลใหม่ และจะได้กำหนดขั้นตอนที่เหมาะสมต่อความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจของประเทศทั้งสองต่อไป
ปัญหาภาษีศุลกากร
ปัญหาแรกที่รายงานของ USTR หยิบยกขึ้นมาคือ การที่ไทยมีภาษีศุลกากรที่สูง ทำให้เป็นอุปสรรคต่อการส่งออกของสินค้าสหรัฐฯมายังไทย ภาษาที่สูงครอบคลุมสินค้าเกษตร ยานยนตร์ เครื่องดื่ม สิ่งทอและสินค้ากระดาษ
สำหรับสินค้าเกษตรนั้น รายงานระบุว่า ไทยมีภาษีที่สูงนับเป็นอุปสรรคสำคัญต่อการส่งออก โดยในปี 2007 การส่งออกสินค้าเกษตรของสหรัฐฯมายังไทย คิดเป็นมูลค่า 870 ล้านเหรียญ อย่างไรก็ตาม รายงานประเมินว่า หากไทยลดภาษีและลดมาตรการบิดเบือนทางการค้าลง จะทำให้การส่งออกสินค้าเกษตรมายังไทยเพิ่มขึ้นได้ถึง 1,500 ล้านเหรียญต่อปี
ภาษีของไทยที่เกี่ยวกับสินค้าอาหารนั้น อยู่ระหว่าง 30-40 % ซึ่งถือว่าสูงที่สุดในกลุ่มประเทศอาเซียน บางรายการสูงถึง 90% ภาษีเกี่ยวกับเนื้อ ผลไม้สด และผักสด ก็มีอัตราสูง และที่หนักที่สุดคือ ภาษีการนำเข้าไวน์จากสหรัฐฯซึ่งโดนภาษีเกือบ 400%
สำหรับภาษีที่เกี่ยวข้องกับสินค้ายานยนตร์นั้น ก็ถือว่าสูงที่สุดในอาเซียน โดยภาษีสำหรับรถยนต์โดยสารสูงถึง 80%
นอกจากนี้ ภาษีเกี่ยวกับสินค้าสิ่งทอของสหรัฐฯก็สูงประมาณ 20-30%
ทรัพย์สินทางปัญญา
ในรายงานของ USTR ได้โจมตีไทยว่า ได้มีการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาอย่างมากในไทย และขาดการบังคับใช้กฎหมาย ขาดการลงโทษผู้กระทำผิด ทำให้อุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับทรัพย์สินทางปัญญาของสหรัฐฯ สูญเสียรายได้ในปี 2006 ถึง 308 ล้านเหรียญ
ในปี 2007 ไทยได้ถูกยกระดับในรายงาน special 301 เกี่ยวกับการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญา จากระดับ watch list หรือประเทศที่ต้องจับตามอง ซึ่งไทยอยู่ในระดับนี้มาตั้งแต่ปี 1994 แต่ในปี 2007 ไทยถูกยกระดับขึ้นเป็น priority watch list หรือประเทศที่ต้องเฝ้าจับตามองเป็นพิเศษ ซึ่งในปี 2007 ไทยเป็นประเทศเดียวในโลกที่ถูกยกระดับ ซึ่งในสายตาของสหรัฐฯสะท้อนให้เห็นถึงความเสื่อมลงของการปกป้องทรัพย์สินทางปัญญาในไทย
ในด้านสิทธิบัตรนั้น รายงานได้ระบุว่า หน่วยงานสิทธิบัตรของไทยไม่มีทรัพยากรเพียงพอ ทำให้การยื่นจดทะเบียนสิทธิบัตรล่าช้า ต้องใช้เวลา 5-10 ปีหรือมากกว่านั้น โดยเฉพาะในกรณีสิทธิบัตรยา ในขณะที่การเสนอขอจดทะเบียนสิทธิบัตรเพิ่มขึ้นแต่จำนวนสิทธิบัตรกลับลดลง ในเดือนมกราคม ปี 2008 สภาได้อนุมัติแผนการของไทยที่จะเข้าร่วมเป็นสมาชิก Paris Convention และ Patent Cooperation Treaty แต่ในขณะนี้รัฐบาลไทยก็ยังอยู่ในระหว่างการเตรียมการที่จะภาคยานุวัติ
สำหรับในเรื่องสิทธิบัตรยานั้น เราคงจำกันได้ว่า เมื่อปีที่แล้วก็มีปัญหาเกิดขึ้นในเรื่อง CL ซึ่งถูกมองว่า อาจจะเป็นสาเหตุทำให้ไทยถูกยกระดับ เป็น PWL สำหรับรายงานของ USTR ในปีนี้ก็ยังคงตอกย้ำเรื่อง CL โดยท่าทีของสหรัฐฯคือ ยอมรับว่าไทยมีสิทธิที่จะทำ CL เพื่อแก้ปัญหาภาวะวิกฤตด้านสาธารณสุข แต่สหรัฐฯก็ไม่พอใจไทยโดยมองว่า ไม่มีความโปร่งใสในกระบวนการทำ CL และมีแนวโน้มว่า ฝ่ายไทยจะขยายจำนวนยาที่จะทำ CL มากขึ้น
ในกรณีของลิขสิทธิ์นั้น ในรายงานระบุว่า ถึงแม้ว่าไทยจะมีกฎหมายใหม่ที่ครอบคลุมเกี่ยวกับ ซีดี หรือดีวีดี แต่รายงานก็ระบุว่า กฎหมายดังกล่าวยังมีช่องโหว่หลายเรื่อง ฝ่ายสหรัฐฯจะเดินหน้าต่อไปในการบีบไทยเพื่อให้แก้ไขข้อบกพร่องดังกล่าว นอกจากนี้ รายงานดังกล่าวยังได้โจมตีไทยว่า ไทยยังไม่ยอมที่จะภาคยานุวัติสนธิสัญญาต่างๆที่เกี่ยวกับลิขสิทธิ์
เช่นเดียวกับในกรณีของเครื่องหมายการค้า รายงานระบุว่า ไทยยังไม่ยอมเข้าร่วมกับ Madrid Protocol
รายงาน USTR โจมตีไทยอย่างมากในเรื่องการบังคับใช้กฎหมายในเรื่องทรัพย์สินทางปัญญา และบอกว่า หน่วยงานของไทยไร้ประสิทธิภาพในเรื่องนี้ กรมสอบสวนคดีพิเศษ หรือ DSI ถูกโจมตีว่า ไม่มีประสิทธิภาพในการจัดการกับการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญา ส่วนศาลทรัพย์สินทางปัญญาก็ไม่มีประสิทธิภาพ เพราะมักจะเป็นการลงโทษที่เบาเกินไปที่จะป้องปรามพฤติกรรมการละเมิดได้
อุตสาหกรรมลิขสิทธิ์ของสหรัฐฯได้แสดงความห่วงใยต่อการเพิ่มขึ้นของการละเมิดลิขสิทธิ์ของซีดีและดีวีดีในไทย กฎหมายที่เกี่ยวกับเรื่องนี้ก็ไม่มีประสิทธิภาพ การลงโทษก็อ่อนเกินไปที่จะป้องปรามการละเมิด และหน่วยงานรัฐบาลไทยก็ไม่มีประสิทธิภาพ
การค้าภาคบริการ
สำหรับในด้านการค้าภาคบริการนั้น รายงานของ USTR ได้โจมตีไทยในหลายสาขา โดยในด้านโทรคมนาคมนั้น ถึงแม้ว่ารายงานจะระบุว่ามีความคืบหน้าในการปฏิรูปกฎระเบียบด้านโทรคมนาคม แต่ก็ยังมีอุปสรรคอย่างมากต่อการลงทุนจากต่างชาติในสาขานี้
สำหรับในด้านการเงินนั้น รายงานระบุว่า ยังมีข้อจำกัดเกี่ยวกับการทำธุรกิจของต่างชาติในสาขานี้ สถาบันการเงินต่างชาติได้รับอนุญาตให้ถือหุ้นเพียง 49% ในสถาบันการเงินของไทย โดยจะต้องพิจารณาเป็นกรณีๆไป
นอกจากนี้ ภายใต้กฎหมายเกี่ยวกับธนาคารของไทย ปี 1962 อนุญาตให้ชาวต่างชาติถือหุ้นได้เพียง 25% ในธนาคารของไทย อย่างไรก็ตาม รายงานระบุว่า กฎหมายเกี่ยวกับสถาบันการเงินฉบับใหม่ได้เพิ่มสัดส่วนการถือหุ้นเป็น 49% แต่ธนาคารต่างชาติที่ทำธุรกิจในไทยก็ยังประสบปัญหาหลายด้าน อาทิ ฝ่ายไทยอนุญาตให้มีสาขาได้เพียง 1 สาขา
สำหรับในสาขาด้านการขนส่งนั้น รายงานของ USTR ระบุว่า กฎหมายไทยอนุญาตให้ต่างชาติถือหุ้นในธุรกิจการขนส่งได้เพียง 49% ซึ่งเป็นอุปสรรคต่อการลงทุนโดยเฉพาะในธุรกิจการให้บริการไปรษณีย์ด่วนพิเศษ
สำหรับในสาขาด้านโรงพยาบาลนั้น รายงานระบุว่า นโยบายของรัฐบาลไทยสร้างข้อจำกัดอย่างมากต่อการลงทุนจากต่างชาติ โดยเฉพาะการไม่มีความโปร่งใสในเรื่องหลักเกณฑ์การถือหุ้นและการบริหารโรงพยาบาล
กล่าวโดยสรุป จะเห็นได้ว่า รายงานของ USTR ในปี 2008 นี้ ได้ชี้ให้เห็นว่า รัฐบาลสหรัฐฯได้มองว่าไทยมีอุปสรรคทางการค้าต่อผลประโยชน์ด้านการค้าของสหรัฐฯอยู่มากมายหลายเรื่อง ซึ่งหากในอนาคต ถ้ามีการรื้อฟื้นการเจรจา FTA ขึ้นมา ผมก็แน่ใจว่า ประเด็นเหล่านี้ทางฝ่ายสหรัฐฯคงจะหยิบยกขึ้นมาเจรจา และกดดันไทยอย่างแน่นอน
สถานการณ์การก่อการร้ายปี 2008
สถานการณ์การก่อการร้ายปี 2008
ตีพิมพ์ใน: หนังสือพิมพ์ไทยโพสต์
เมื่อไม่กี่วันมานี้ กระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯได้เผยแพร่เอกสารรายงานประจำปี เกี่ยวกับการประเมินสถานการณ์การก่อการร้ายในรอบปีที่ผ่านมา เสนอต่อสภาคองเกรส ผมเห็นว่ารายงานนี้มีความสำคัญ จึงจะนำมาสรุปและวิเคราะห์ ในคอลัมน์กระบวนทรรศน์ในวันนี้
ภาพรวม
ในรายงานดังกล่าวได้ระบุว่า ในปี 2007 ที่ผ่านมา มีการก่อวินาศกรรมถึง 15,000 ครั้งทั่วโลก เพิ่มขึ้นจากปี 2006 เล็กน้อย
สำหรับองค์กรเครือข่ายที่เป็นภัยคุกคามมากที่สุด คือ อัล เคด้า ซึ่งได้มีการปรับตัวในหลาย ๆ ด้าน ดังนี้
• อัล เคด้าได้มีการย้ายฐานที่มั่นใหม่ ไปอยู่ในพรมแดนระหว่างปากีสถานและอัฟกานิสถาน
• อัล เคด้ามีสมาชิกเพิ่มมากขึ้น
• สำหรับผู้นำ แม้ว่าผู้นำคนสำคัญจะถูกสังหาร คือ Al Zawahiri แต่ อัล เคด้าก็ได้สรรหาผู้นำรุ่นใหม่เข้ามาทดแทน
• เครือข่ายอัล เคด้าได้มีการปรับตัว และขยายเครือข่ายไปทั่วตะวันออกกลาง แอฟริกาเหนือและยุโรป
• อัลเคด้าได้ใช้วิธีการใหม่ๆ ในการต่อสู้กับสงครามต่อต้านการก่อการร้ายของสหรัฐฯ โดยในระยะหลังได้เน้นสงครามโฆษณาชวนเชื่อ เน้นการสนับสนุนจากชาวมุสลิม บ่อนทำลายความเชื่อมั่นของตะวันตก เน้นการสร้างภาพว่า อัล เคด้าคือขบวนการในระดับโลก และฉวยโอกาสจากความไม่พอใจในระดับท้องถิ่น
นอกจากนี้ อัล เคด้ายังได้ใช้การปฏิบัติการด้านข้อมูลในรูปแบบใหม่คือ การใช้อิน
เทอร์เนตในการโฆษณาชวนเชื่อ การแสวงหาสมาชิกใหม่ และการแสวงหาเงินสนับสนุน
อัล เคด้าได้ฉวยโอกาสจากสงครามในอิรัก สงครามในอัฟกานิสถานและซูดาน และ
ความขัดแย้งในระดับท้องถิ่น เพื่อปลุกระดมและปลูกฝังแนวคิดหัวรุนแรง โดยมีขั้นตอนคือการปลูกฝังประชาชนที่มีความรู้สึกผิดหวังให้ยอมรับแนวคิดหัวรุนแรง เห็นใจผู้ก่อการร้าย ขั้นต่อไปก็กลายเป็นผู้สนับสนุน และในที่สุดก็กลายเป็นผู้ก่อการร้าย
สำหรับในระดับภูมิภาคนั้น ในแอฟริกา กลุ่มก่อการร้ายได้มีการเชื่อมโยงกับอัล เคด้า
มากขึ้น กลุ่มสำคัญได้แก่ Al Qaeda in Islamic Maghreb ซึ่งมีส่วนอย่างสำคัญในการก่อวินาศกรรมครั้งใหญ่เมื่อเดือนธันวาคมที่ผ่านมาในอัลจีเรีย
สำหรับในอิรัก องค์กร Al Qaeda in Iraq (AQI) ก็มีบทบาทสำคัญ อย่างไรก็ตาม
รายงานของกระทรวงต่างประเทศสหรัฐฯ ระบุว่า หลังจากที่สหรัฐฯได้ปรับยุทธศาสตร์ใหม่ในอิรัก โดยมีการจัดทำแผนที่เรียกว่า Baghdad Security Plan เครือข่าย AQI บทบาทก็ลดลง ชาวอิรักนิกายซุนหนี่ก็มีกระแสต่อต้าน AQI มากขึ้นเรื่อยๆ
ในโซมาเลีย มีองค์กร Al Qaeda in East Africa ซึ่งเกือบจะยึดอำนาจรัฐในโซมาเลียได้
แต่ในปี 2006 เอธิโอเปียได้ส่งทหารเข้าไปปราบปราม ขณะนี้ความขัดแย้งก็ยังคาราคาซังอยู่
อีกกลุ่มที่สำคัญคือ กลุ่มตาลีบันที่มีความเชื่อมโยงกับอัล เคด้าอย่างเหนียวแน่น
ขณะนี้นักรบตาลีบันได้ฟื้นคืนชีพ และได้ทำให้อัฟกานิสถานปั่นป่วน และกำลังลามเข้าไปในปากีสถาน
สำหรับรัฐบาลที่สนับสนุนการก่อการร้ายนั้น ในรายงานของกระทรวงต่างประเทศสหรัฐฯ ระบุว่า อิหร่านเป็นประเทศที่สนับสนุนการก่อการร้ายมากที่สุด โดยอิหร่านสนับสนุนการก่อการร้ายในอิรัก และสนับสนุนกลุ่มเฮซโบล่าห์ และกลุ่มก่อการร้ายปาเลสไตน์อีกหลายกลุ่ม
นอกจากอิหร่านแล้ว ก็มีซีเรียที่กำลังถูกเพ่งเล็งอย่างหนัก โดยสหรัฐฯกล่าวหาว่า 90% ของผู้ก่อการร้ายที่เข้าไปในอิรัก ผ่านเข้ามาทางซีเรีย
นอกจากนี้ อิหร่านและเกาหลีเหนือ ถูกมองว่า เป็นอันตรายอย่างยิ่ง เพราะอาจส่งต่ออาวุธร้ายแรงให้แก่ผู้ก่อการร้าย
เอเชียตะวันออกเฉียงใต้
สำหรับภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้นั้น รายงานระบุว่า กลุ่มเจมมา อิสลามิย่าห์ หรือ JI คือกลุ่มที่เป็นภัยคุกคามมากที่สุด
อย่างไรก็ตาม มาตรการต่อต้านการก่อการร้ายของอินโดนีเซียและฟิลิปปินส์ทำให้บทบาทของ JI ลดลง โดยรัฐบาลอินโดนีเซียได้เพิ่มมาตรการบังคับใช้กฎหมาย และทำลายเครือข่าย JI ในเกาะสุลาเวสี และเกาะชวา
นอกจากนี้ รัฐบาลฟิลิปปินส์ยังประสบความสำเร็จในการปราบปรามกลุ่มอาบูซายาฟ โดยผู้นำ อาบูซายาฟคือ Janjalani ได้ถูกสังหารไปเมื่อเดือนมกราคมที่ผ่านมา
อย่างไรก็ตาม อุปสรรคสำคัญของการต่อต้านการก่อการร้ายในภูมิภาคคือ การที่อินโดนีเซียและฟิลิปปินส์มีเกาะเล็กเกาะน้อยมากมายหลายพันเกาะ ทำให้ยากแก่การสอดส่องดูแลความเคลื่อนไหวของขบวนการก่อการร้าย
สำหรับในกรณีของไทยนั้น รายงานระบุว่า ไทยร่วมมือกับสหรัฐฯอย่างดี เห็นได้จากการจับผู้นำ JI คือฮัมบาลีได้ในปี 2003 ไทยได้มีมาตรการที่จะไม่ให้ไทยเป็นแหล่งซ่องสุมของขบวนการก่อการร้าย อย่างไรก็ตาม ปัญหาใหญ่ของไทยคือ ปัญหาการก่อการร้ายใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งตั้งแต่ปี 2004 ความรุนแรงได้เพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ
รายงานระบุว่า ไทยกับมาเลเซียมีความขัดแย้งกัน ทั้งนี้เพราะ กลุ่มก่อการร้ายมีเชื้อสายมาเลย์และเป็นชาวมุสลิม ทางฝ่ายสหรัฐฯกลัวว่า อาจจะมีการเชื่อมโยงกันระหว่างกลุ่มแบ่งแยกดินแดนของไทยกับกลุ่มก่อการร้ายในอินโดนีเซียและมาเลเซีย รัฐบาลไทยกล่าวหามาเลเซียหลายครั้ง อาทิ รัฐบาลทักษิณเคยกล่าวหาว่า มีค่ายฝึกผู้ก่อการร้ายในรัฐกลันตันของมาเลเซีย และรัฐบาลสุรยุทธ์ก็อ้างว่า ร้านอาหารไทยในมาเลเซียสนับสนุนทางการเงินแก่ขบวนการแบ่งแยกดินแดน
แต่คำถาม ที่ยังไม่มีคำตอบชัดเจนคือ ขบวนการแบ่งแยกดินแดนของไทยมีความเชื่อมโยงกับขบวนการก่อการร้ายสากลหรือไม่ และได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลต่างชาติหรือไม่ ในรายงานระบุว่า ยังไม่มีหลักฐานชัดเจน แต่ก็มีรายงานข่าวระบุว่า ขบวนการ PULO มีการปฏิบัติการอย่างเปิดเผยในซีเรีย และผู้นำของกลุ่มแบ่งแยกดินแดนได้ลี้ภัยอยู่ในยุโรปและได้หลบซ่อนอยู่ในมาเลเซีย
มาตรการต่อต้านการก่อการร้าย
ในรายงานของกระทรวงต่างประเทศสหรัฐฯ ระบุว่า สหรัฐฯกำลังดำเนินยุทธศาสตร์ที่มีลักษณะสมบูรณ์เบ็ดเสร็จ โดยมีมาตรการเหล่านี้
• การปกป้องประชาชนจากการถูกก่อวินาศกรรม
• การโดดเดี่ยวผู้ก่อการร้าย
• การได้รับการสนับสนุนจากประชาชน
• เน้นงานข่าวกรองเพื่อที่จะกำจัดผู้ก่อการร้ายโดยให้มีผลข้างเคียงกระทบต่อประชาชนน้อยที่สุด
• สกัดกั้นขบวนการก่อการร้าย ไม่ว่าจะเป็นการติดต่อสื่อสาร การโฆษณาชวนเชื่อ การวางแผนก่อวินาศกรรม และการสนับสนุนทางการเงิน
• ขจัดเงื่อนไขขั้นพื้นฐานที่ผู้ก่อการร้ายจะใช้ในการปลุกระดม
• เน้นความร่วมมือระหว่างประเทศ โดยรัฐบาลสหรัฐฯได้ริเริ่มมาตรการใหม่เรียกว่า Regional Strategic Initiative
กล่าวโดยสรุป รายงานของกระทรวงต่างประเทศสหรัฐฯ คุยโอ้อวดว่า ในปี 2007 แม้จะมี
ภัยคุกคามมากขึ้น แต่มาตรการการก่อการร้ายก็มีการปรับปรุงให้ดีขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการป้องกันการก่อการร้ายในอังกฤษ เยอรมนีและเดนมาร์ก การกำจัดผู้นำขบวนการก่อการร้าย การเพิ่มความมั่นคง ทั้งในด้านพรมแดน การขนส่ง การเพิ่มการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวกรองในด้านต่างๆ การตัดเส้นทางการเงิน รวมทั้งการต่อสู้ทางอุดมการณ์เพื่อลดกระแสแนวคิดหัวรุนแรง
ตีพิมพ์ใน: หนังสือพิมพ์ไทยโพสต์
เมื่อไม่กี่วันมานี้ กระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯได้เผยแพร่เอกสารรายงานประจำปี เกี่ยวกับการประเมินสถานการณ์การก่อการร้ายในรอบปีที่ผ่านมา เสนอต่อสภาคองเกรส ผมเห็นว่ารายงานนี้มีความสำคัญ จึงจะนำมาสรุปและวิเคราะห์ ในคอลัมน์กระบวนทรรศน์ในวันนี้
ภาพรวม
ในรายงานดังกล่าวได้ระบุว่า ในปี 2007 ที่ผ่านมา มีการก่อวินาศกรรมถึง 15,000 ครั้งทั่วโลก เพิ่มขึ้นจากปี 2006 เล็กน้อย
สำหรับองค์กรเครือข่ายที่เป็นภัยคุกคามมากที่สุด คือ อัล เคด้า ซึ่งได้มีการปรับตัวในหลาย ๆ ด้าน ดังนี้
• อัล เคด้าได้มีการย้ายฐานที่มั่นใหม่ ไปอยู่ในพรมแดนระหว่างปากีสถานและอัฟกานิสถาน
• อัล เคด้ามีสมาชิกเพิ่มมากขึ้น
• สำหรับผู้นำ แม้ว่าผู้นำคนสำคัญจะถูกสังหาร คือ Al Zawahiri แต่ อัล เคด้าก็ได้สรรหาผู้นำรุ่นใหม่เข้ามาทดแทน
• เครือข่ายอัล เคด้าได้มีการปรับตัว และขยายเครือข่ายไปทั่วตะวันออกกลาง แอฟริกาเหนือและยุโรป
• อัลเคด้าได้ใช้วิธีการใหม่ๆ ในการต่อสู้กับสงครามต่อต้านการก่อการร้ายของสหรัฐฯ โดยในระยะหลังได้เน้นสงครามโฆษณาชวนเชื่อ เน้นการสนับสนุนจากชาวมุสลิม บ่อนทำลายความเชื่อมั่นของตะวันตก เน้นการสร้างภาพว่า อัล เคด้าคือขบวนการในระดับโลก และฉวยโอกาสจากความไม่พอใจในระดับท้องถิ่น
นอกจากนี้ อัล เคด้ายังได้ใช้การปฏิบัติการด้านข้อมูลในรูปแบบใหม่คือ การใช้อิน
เทอร์เนตในการโฆษณาชวนเชื่อ การแสวงหาสมาชิกใหม่ และการแสวงหาเงินสนับสนุน
อัล เคด้าได้ฉวยโอกาสจากสงครามในอิรัก สงครามในอัฟกานิสถานและซูดาน และ
ความขัดแย้งในระดับท้องถิ่น เพื่อปลุกระดมและปลูกฝังแนวคิดหัวรุนแรง โดยมีขั้นตอนคือการปลูกฝังประชาชนที่มีความรู้สึกผิดหวังให้ยอมรับแนวคิดหัวรุนแรง เห็นใจผู้ก่อการร้าย ขั้นต่อไปก็กลายเป็นผู้สนับสนุน และในที่สุดก็กลายเป็นผู้ก่อการร้าย
สำหรับในระดับภูมิภาคนั้น ในแอฟริกา กลุ่มก่อการร้ายได้มีการเชื่อมโยงกับอัล เคด้า
มากขึ้น กลุ่มสำคัญได้แก่ Al Qaeda in Islamic Maghreb ซึ่งมีส่วนอย่างสำคัญในการก่อวินาศกรรมครั้งใหญ่เมื่อเดือนธันวาคมที่ผ่านมาในอัลจีเรีย
สำหรับในอิรัก องค์กร Al Qaeda in Iraq (AQI) ก็มีบทบาทสำคัญ อย่างไรก็ตาม
รายงานของกระทรวงต่างประเทศสหรัฐฯ ระบุว่า หลังจากที่สหรัฐฯได้ปรับยุทธศาสตร์ใหม่ในอิรัก โดยมีการจัดทำแผนที่เรียกว่า Baghdad Security Plan เครือข่าย AQI บทบาทก็ลดลง ชาวอิรักนิกายซุนหนี่ก็มีกระแสต่อต้าน AQI มากขึ้นเรื่อยๆ
ในโซมาเลีย มีองค์กร Al Qaeda in East Africa ซึ่งเกือบจะยึดอำนาจรัฐในโซมาเลียได้
แต่ในปี 2006 เอธิโอเปียได้ส่งทหารเข้าไปปราบปราม ขณะนี้ความขัดแย้งก็ยังคาราคาซังอยู่
อีกกลุ่มที่สำคัญคือ กลุ่มตาลีบันที่มีความเชื่อมโยงกับอัล เคด้าอย่างเหนียวแน่น
ขณะนี้นักรบตาลีบันได้ฟื้นคืนชีพ และได้ทำให้อัฟกานิสถานปั่นป่วน และกำลังลามเข้าไปในปากีสถาน
สำหรับรัฐบาลที่สนับสนุนการก่อการร้ายนั้น ในรายงานของกระทรวงต่างประเทศสหรัฐฯ ระบุว่า อิหร่านเป็นประเทศที่สนับสนุนการก่อการร้ายมากที่สุด โดยอิหร่านสนับสนุนการก่อการร้ายในอิรัก และสนับสนุนกลุ่มเฮซโบล่าห์ และกลุ่มก่อการร้ายปาเลสไตน์อีกหลายกลุ่ม
นอกจากอิหร่านแล้ว ก็มีซีเรียที่กำลังถูกเพ่งเล็งอย่างหนัก โดยสหรัฐฯกล่าวหาว่า 90% ของผู้ก่อการร้ายที่เข้าไปในอิรัก ผ่านเข้ามาทางซีเรีย
นอกจากนี้ อิหร่านและเกาหลีเหนือ ถูกมองว่า เป็นอันตรายอย่างยิ่ง เพราะอาจส่งต่ออาวุธร้ายแรงให้แก่ผู้ก่อการร้าย
เอเชียตะวันออกเฉียงใต้
สำหรับภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้นั้น รายงานระบุว่า กลุ่มเจมมา อิสลามิย่าห์ หรือ JI คือกลุ่มที่เป็นภัยคุกคามมากที่สุด
อย่างไรก็ตาม มาตรการต่อต้านการก่อการร้ายของอินโดนีเซียและฟิลิปปินส์ทำให้บทบาทของ JI ลดลง โดยรัฐบาลอินโดนีเซียได้เพิ่มมาตรการบังคับใช้กฎหมาย และทำลายเครือข่าย JI ในเกาะสุลาเวสี และเกาะชวา
นอกจากนี้ รัฐบาลฟิลิปปินส์ยังประสบความสำเร็จในการปราบปรามกลุ่มอาบูซายาฟ โดยผู้นำ อาบูซายาฟคือ Janjalani ได้ถูกสังหารไปเมื่อเดือนมกราคมที่ผ่านมา
อย่างไรก็ตาม อุปสรรคสำคัญของการต่อต้านการก่อการร้ายในภูมิภาคคือ การที่อินโดนีเซียและฟิลิปปินส์มีเกาะเล็กเกาะน้อยมากมายหลายพันเกาะ ทำให้ยากแก่การสอดส่องดูแลความเคลื่อนไหวของขบวนการก่อการร้าย
สำหรับในกรณีของไทยนั้น รายงานระบุว่า ไทยร่วมมือกับสหรัฐฯอย่างดี เห็นได้จากการจับผู้นำ JI คือฮัมบาลีได้ในปี 2003 ไทยได้มีมาตรการที่จะไม่ให้ไทยเป็นแหล่งซ่องสุมของขบวนการก่อการร้าย อย่างไรก็ตาม ปัญหาใหญ่ของไทยคือ ปัญหาการก่อการร้ายใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งตั้งแต่ปี 2004 ความรุนแรงได้เพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ
รายงานระบุว่า ไทยกับมาเลเซียมีความขัดแย้งกัน ทั้งนี้เพราะ กลุ่มก่อการร้ายมีเชื้อสายมาเลย์และเป็นชาวมุสลิม ทางฝ่ายสหรัฐฯกลัวว่า อาจจะมีการเชื่อมโยงกันระหว่างกลุ่มแบ่งแยกดินแดนของไทยกับกลุ่มก่อการร้ายในอินโดนีเซียและมาเลเซีย รัฐบาลไทยกล่าวหามาเลเซียหลายครั้ง อาทิ รัฐบาลทักษิณเคยกล่าวหาว่า มีค่ายฝึกผู้ก่อการร้ายในรัฐกลันตันของมาเลเซีย และรัฐบาลสุรยุทธ์ก็อ้างว่า ร้านอาหารไทยในมาเลเซียสนับสนุนทางการเงินแก่ขบวนการแบ่งแยกดินแดน
แต่คำถาม ที่ยังไม่มีคำตอบชัดเจนคือ ขบวนการแบ่งแยกดินแดนของไทยมีความเชื่อมโยงกับขบวนการก่อการร้ายสากลหรือไม่ และได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลต่างชาติหรือไม่ ในรายงานระบุว่า ยังไม่มีหลักฐานชัดเจน แต่ก็มีรายงานข่าวระบุว่า ขบวนการ PULO มีการปฏิบัติการอย่างเปิดเผยในซีเรีย และผู้นำของกลุ่มแบ่งแยกดินแดนได้ลี้ภัยอยู่ในยุโรปและได้หลบซ่อนอยู่ในมาเลเซีย
มาตรการต่อต้านการก่อการร้าย
ในรายงานของกระทรวงต่างประเทศสหรัฐฯ ระบุว่า สหรัฐฯกำลังดำเนินยุทธศาสตร์ที่มีลักษณะสมบูรณ์เบ็ดเสร็จ โดยมีมาตรการเหล่านี้
• การปกป้องประชาชนจากการถูกก่อวินาศกรรม
• การโดดเดี่ยวผู้ก่อการร้าย
• การได้รับการสนับสนุนจากประชาชน
• เน้นงานข่าวกรองเพื่อที่จะกำจัดผู้ก่อการร้ายโดยให้มีผลข้างเคียงกระทบต่อประชาชนน้อยที่สุด
• สกัดกั้นขบวนการก่อการร้าย ไม่ว่าจะเป็นการติดต่อสื่อสาร การโฆษณาชวนเชื่อ การวางแผนก่อวินาศกรรม และการสนับสนุนทางการเงิน
• ขจัดเงื่อนไขขั้นพื้นฐานที่ผู้ก่อการร้ายจะใช้ในการปลุกระดม
• เน้นความร่วมมือระหว่างประเทศ โดยรัฐบาลสหรัฐฯได้ริเริ่มมาตรการใหม่เรียกว่า Regional Strategic Initiative
กล่าวโดยสรุป รายงานของกระทรวงต่างประเทศสหรัฐฯ คุยโอ้อวดว่า ในปี 2007 แม้จะมี
ภัยคุกคามมากขึ้น แต่มาตรการการก่อการร้ายก็มีการปรับปรุงให้ดีขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการป้องกันการก่อการร้ายในอังกฤษ เยอรมนีและเดนมาร์ก การกำจัดผู้นำขบวนการก่อการร้าย การเพิ่มความมั่นคง ทั้งในด้านพรมแดน การขนส่ง การเพิ่มการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวกรองในด้านต่างๆ การตัดเส้นทางการเงิน รวมทั้งการต่อสู้ทางอุดมการณ์เพื่อลดกระแสแนวคิดหัวรุนแรง
การประเมินภัยคุกคามปี 2551
การประเมินภัยคุกคามปี 2551
ตีพิมพ์ใน: หนังสือพิมพ์ไทยโพสต์
เมื่อเร็วๆ นี้ ได้มีการเผยแพร่เอกสารของผู้อำนวยการสำนักข่าวกรองแห่งชาติสหรัฐฯ รายงานต่อวุฒิสภาสหรัฐฯ เกี่ยวกับการประเมินภัยคุกคามต่อสหรัฐฯในช่วงปี 2008 คอลัมน์กระบวนทรรศน์ในวันนี้ ผมจะได้นำเอกสารดังกล่าวมาสรุป โดยถึงแม้ว่าจะเป็นการมองในมุมมองของสหรัฐฯ แต่ก็น่าจะเป็นประโยชน์ต่อฝ่ายไทยเรา เพราะจะเป็นการฉายภาพให้เห็นถึงภัยคุกคามที่สำคัญ ๆ ในภาพรวม
การก่อการร้าย
สำนักข่าวกรองสหรัฐฯให้ความสำคัญต่อภัยที่มาจากการก่อการร้ายมากที่สุด โดยในตอนแรกได้กล่าวถึงความสำเร็จในช่วงรอบปีที่ผ่านมา ไม่มีการโจมตีครั้งใหญ่เกิดขึ้น โดยมองว่า เป็นเพราะทางฝ่ายสหรัฐฯได้ทำลายแผนการก่อวินาศกรรมขององค์กรอัล เคด้า หลายครั้ง
องค์กรก่อการร้ายที่ถือว่าเป็นภัยคุกคามที่สำคัญที่สุดคือ อัล เคด้า โดยขณะนี้ ผู้นำ อัล เคด้า ได้มีฐานที่มั่นสำคัญอยู่ในพรมแดนปากีสถานกับอัฟกานิสถาน ทำให้อัล เคด้ากลับมามีความได้เปรียบเหมือนคราวที่มีฐานที่มั่นอยู่ในอัฟกานิสถาน และได้ใช้ฐานที่มั่นดังกล่าวในการสนับสนุนนักรบตาลีบันในอัฟกานิสถาน และเป็นแหล่งฝึกผู้ก่อการร้ายรุ่นใหม่ สำหรับการก่อวินาศกรรมทั่วโลก นอกจากนี้ ผู้นำของอัล เคด้าคือ Osama Bin Laden ยังคงมีบทบาทสำคัญในการสร้างเอกภาพให้เกิดขึ้นในองค์กร ฝ่ายสหรัฐฯประเมินว่า อัล เคด้ามีแผนการที่จะโจมตีสหรัฐฯ และกำลังพยายามที่จะมีอาวุธร้ายแรงในครอบครอง
สำหรับเครือข่ายอัล เคด้าในภูมิภาคอื่น ๆ ที่สำคัญ ได้แก่ Al Qaeda in Iraq (AQI) มีบทบาทสำคัญในการก่อวินาศกรรมในอิรัก และมีแผนที่จะโจมตีสหรัฐฯด้วย โดยสมาชิก AQI กว่าร้อยคนได้เคลื่อนย้ายออกจากอิรัก และกำลังสร้างเครือข่ายอยู่ในภูมิภาคต่าง ๆ ทั่วโลก
เครือข่ายอัล เคด้าอีกเครือข่ายหนึ่งคือ Al Qaeda in the Lands of the Islamic Maghreb (AQIM) เป็นเครือข่ายที่มีบทบาทสำคัญที่สุดในแอฟริกาเหนือ โดยเมื่อเดือนธันวาคมที่ผ่านมา เครือข่ายนี้ได้ก่อวินาศกรรมที่เมือง Algiers ทำให้มีผู้เสียชีวิตไปเกือบ 100 คน นอกจากนี้ เครือข่ายอัล เคด้ายังพยายามเพิ่มบทบาทในคาบสมุทรอาราเบีย โดยมีแผนจะก่อวินาศกรรมในซาอุดิอาระเบีย เยเมน UAE และบาเรน
สำหรับในแอฟริกาตะวันออก กองกำลังของเอธิโอเปียที่ได้บุกเข้าไปในโซมาเลีย ได้ทำให้บทบาทของ Al Qaeda in East Africa ลดลง และสำหรับเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ กลุ่ม Jemaah Islamiya (JI) และ Abu Sayyaf ถือเป็นกลุ่มก่อการร้ายที่คุกคามต่อผลประโยชน์ของสหรัฐฯในภูมิภาคมากที่สุด
ผมมองว่า ปัญหาการก่อการร้ายคงจะไม่จบง่าย ๆ แต่จะมีแนวโน้มหนักขึ้นเรื่อย ๆ ทั้งนี้ มาจากสาเหตุใหญ่ในการดำเนินนโยบายที่ผิดพลาดของรัฐบาลบุช ที่เน้นการปราบปรามและละเลยการแก้ที่รากเหง้าของปัญหา
อาวุธร้ายแรง
ภัยคุกคามที่มีความสำคัญเป็นอันดับ 2 คือ อันตรายจากอาวุธร้ายแรง โดยเฉพาะภัยคุกคามจากการพัฒนาอาวุธร้ายแรงของอิหร่าน เกาหลีเหนือ และจากขบวนการก่อการร้าย
สำหรับในกรณีของอิหร่านนั้น หน่วยงานข่าวกรองสหรัฐฯรายงานว่า อิหร่านได้ยุติแผนการพัฒนาอาวุธนิวเคลียร์ของตนตั้งแต่ปี 2003 แต่ก็ไม่แน่ใจว่าอิหร่านจะกลับมาพัฒนาอาวุธนิวเคลียร์อีกครั้งเมื่อไร และอิหร่านยังคงเดินหน้าเสริมสร้างสมรรถนะแร่ยูเรเนียม รวมทั้งการพัฒนาขีปนาวุธพิสัยไกล แต่มีการประเมินว่า อิหร่านจะสามารถพัฒนาสมรรถนะแร่ยูเรเนียมจนถึงขั้นพัฒนาอาวุธนิวเคลียร์ได้ประมาณช่วงปลายปี 2009
ผมมองว่า ความขัดแย้งระหว่างสหรัฐฯกับ อิหร่าน จะยังคงตึงเครียดต่อไป สหรัฐฯไม่เพียงแต่กังวลเรื่องอาวุธนิวเคลียร์ของอิหร่านเท่านั้น แต่ยังกังวลถึงอิทธิพลของอิหร่านในตะวันออกกลางด้วย ดังนั้น ในปีนี้ สหรัฐฯจึงจะดำเนินนโยบายปิดล้อมและสกัดกั้นการขยายอิทธิพลของอิหร่านต่อไป
สำหรับในกรณีเกาหลีเหนือ ก็พัฒนาอาวุธนิวเคลียร์และขีปนาวุธที่คุกคามต่อเสถียรภาพของภูมิภาค โดยเกาหลีเหนือได้ขายขีปนาวุธให้กับประเทศในตะวันออกกลางรวมทั้งอิหร่าน และทางฝ่ายสหรัฐฯวิตกกังวลว่า เกาหลีเหนือจะขายอาวุธนิวเคลียร์ให้กับประเทศอื่น นอกจากนี้ สหรัฐฯยังวิตกกังวลเกี่ยวกับขีปนาวุธพิสัยไกล Taepo Dong 2 ซึ่งมีศักยภาพที่จะติดหัวรบอาวุธนิวเคลียร์และอาจยิงไปไกลได้ถึงแผ่นดินใหญ่สหรัฐฯ
เกาหลีเหนือได้ทดลองอาวุธนิวเคลียร์สำเร็จเมื่อเดือนตุลาคมปี 2006 และหลังจากนั้นได้กลับมาเจรจา 6 ฝ่ายในปีที่แล้ว และตกลงว่าจะยุติการพัฒนาพลังงานนิวเคลียร์ แต่ในที่สุดเกาหลีเหนือก็ไม่ทำตามคำมั่นสัญญา โดยยังไม่ยอมยุติโครงการนิวเคลียร์ซึ่งกำหนดเส้นตายไว้ในวันที่ 31 ธันวาคมที่ผ่านมา
ผมคิดว่า ยังไม่มีความแน่นอนว่า ปัญหาเกาหลีเหนือจะยุติอย่างไร ผมคิดว่าคงเป็นไปได้ยากที่เกาหลีเหนือจะยุติการมีอาวุธนิวเคลียร์ในครอบครอง
อิรัก
สำหรับสถานการณ์ในอิรักและอัฟกานิสถานยังคงคุกรุ่น จากเอกสารของหน่วยงานข่าวกรองสหรัฐฯรายงานว่า ปีที่แล้ว สถานการณ์ในอัฟกานิสถานทรุดหนักลงมีการโจมตีจากนักรบตาลีบันมากขึ้น นักรบตาลีบันได้ขยายการโจมตีสู่ทางใต้และรอบๆ เมือง Kabul
อย่างไรก็ตาม สถานการณ์ในอิรักโดยรวมแล้วดูดีขึ้น โดยจำนวนประชาชนผู้เสียชีวิตจากความรุนแรงลดลงครึ่งหนึ่ง อย่างไรก็ตาม ปัจจัยภายในยังคงเป็นปัญหาใหญ่ โดยเฉพาะความขัดแย้งระหว่างชีอะห์ กับซุนหนี่ และองค์กร Al Qaeda in Iraq ยังคงมุ่งบ่อนทำลายความมั่นคง นอกจากนี้ อิหร่านก็แอบสนับสนุนกลุ่มติดอาวุธชีอะห์ และประมาณ 90% ของระเบิดฆ่าตัวตายในอิรักเป็นฝีมือของผู้ก่อการร้ายที่มาจากนอกประเทศ โดยมีผู้ก่อการร้ายประมาณ 50-80 คนเดินทางเข้ามาในอิรักทุกเดือนโดยผ่านทางซีเรีย
สำหรับวิกฤตอิรักนี้ ผมขอกล่าวเสริมว่า บุชได้ประกาศเมื่อปีที่แล้วว่า จะค่อยๆ ถอนทหารออกจากอิรัก ดังนั้น ในปีนี้เราน่าจะได้เห็นสหรัฐฯค่อย ๆ ถอนทหารออกมาประมาณ 30,000 คน แต่ยังมีความไม่แน่นอนว่า สถานการณ์ในอิรักจะเปลี่ยนแปลงไปอย่างไร สงครามอิรักอาจจะก่อให้เกิดลกระทบต่อภูมิภาคทอดยาวไปนับสิบปี
ปากีสถาน
ภัยคุกคามที่มาจากปากีสถานคือ สถานการณ์การเมือง และความมั่นคงปลอดภัยของอาวุธนิวเคลียร์ รายงานของหน่วยงานข่าวกรองสหรัฐฯประเมินว่า ความปลอดภัยของอาวุธนิวเคลียร์ปากีสถาน ยังอยู่ในภาวะน่าวิตก นอกจากนี้ สถานการณ์การเมืองก็มีแนวโน้มรุนแรงมากขึ้นเรื่อยๆ โดยเฉพาะการก่อวินาศกรรมของกลุ่มก่อการร้าย การเพิ่มขึ้นของระเบิดฆ่าตัวตายจากกลุ่มหัวรุนแรงปากีสถานซึ่งเป็นพันธมิตรกับกลุ่มอัล เคด้า การลอบสังหารอดีตนายกรัฐมนตรี Benezir Bhutto โดยกลุ่มก่อการร้าย ทำให้สถานการณ์ในปากีสถานอยู่ในขั้นวิกฤต
ผมมองว่า สิ่งเลวร้ายที่สุดที่จะเกิดขึ้นคือ ขบวนการก่อการร้ายมุสลิมหัวรุนแรงสามารถเข้ายึดอำนาจทางการเมืองในปากีสถานได้ และรัฐบาลหัวรุนแรงจะมีอาวุธนิวเคลียร์ในครอบครอง
รัสเซีย
ภัยคุกคามลำดับต่อมา ต่อผลประโยชน์ของสหรัฐฯคือ การผงาดขึ้นมาของรัสเซีย รายงานข่าวกรองสหรัฐฯประเมินว่า เศรษฐกิจรัสเซียกำลังขยายตัวอย่างรวดเร็ว โดยในช่วง 4 ปีข้างหน้า พลังอำนาจแห่งชาติรัสเซียจะเพิ่มมากขึ้นในทุก ๆ มิติ ไม่ว่าจะเป็นด้านเศรษฐกิจ พลังงาน การทูต การทหาร
ขณะนี้ รัสเซียกำลังจ้องที่จะเข้าควบคุมแหล่งพลังงาน และเครือข่ายการขนส่งครอบคลุมยุโรปและเอเชียตะวันออก โดยรัสเซียพยายามที่จะเข้าควบคุมการขนส่งพลังงานและก๊าซจากทะเลสาบแคสเปี้ยน และเข้าควบคุมเส้นทางการขนส่งพลังงานจากตะวันออกสู่ตะวันตก
นอกจากนี้ รัสเซียกำลังเพิ่มสมรรถนะภาพทางทหารขึ้นเป็นอย่างมากหลังจากการล่มสลายของสหภาพโซเวียต โดยได้มีความเคลื่อนไหวทางทหารหลายเรื่อง ไม่ว่าจะเป็นการซ้อมรบกับประเทศเพื่อนบ้าน และการเพิ่มกำลังทหารเข้าสู่แถบเทือกเขาคอเคซัส เพื่อเผชิญหน้ากับประเทศจอร์เจีย เพื่อแสดงให้เห็นถึงการครองความเป็นเจ้าในภูมิภาคทางทหารของรัสเซีย
ในเอกสารหน่วยงานข่าวกรองสหรัฐฯไม่ได้พูดถึงประเด็นนี้ แต่ผมอยากจะฟันธงว่า ตะวันตกโดยมีสหรัฐฯเป็นผู้นำกำลังมียุทธศาสตร์ปิดล้อมรัสเซีย สหรัฐฯมองรัสเซียเป็นลบมากขึ้นเรื่อยๆ โดยมองว่า นโยบายรัสเซียขัดแย้งกับตะวันตกมากขึ้นเรื่อยๆ ทำให้รัสเซียเป็นปฏิปักษ์กับสหรัฐฯและตะวันตกมากขึ้นเรื่อยๆ ความขัดแย้งจะทวีความรุนแรงมากขึ้น และสงครามเย็นภาค 2 อาจจะเกิดขึ้นได้
คาบสมุทรบอลข่าน
เอกสารหน่วยงานข่าวกรองสหรัฐฯระบุว่า คาบสมุทรบอลข่านจะเป็นจุดอันตรายในปี 2008 โดยการประกาศเอกราชของโคโซโวจากเซอร์เบียจะทำให้ความขัดแย้งทางเชื้อชาติขยายตัว โดยจะทำให้ชาว Serb ที่อาศัยอยู่ในโคโซโว ลุกฮือขึ้นต่อต้าน รวมทั้งการต่อต้านจากเซอร์เบีย และอาจขยายตัวทำให้ความขัดแย้งทางเชื้อชาติลุกเป็นไฟขึ้นอีกครั้งในบอสเนีย นอกจากนี้ ชาว Albanian ในมาเซโดเนียและตอนใต้ของเซอร์เบียอาจกดดันเพื่อประกาศเอกราชหรือไปรวมชาติกับโคโซโว โดยสรุปแล้ว ผมขอมองเสริมว่า คาบสมุทรบอลข่านหลังการประกาศเอกราชของโคโซโวทำท่าจะลุกเป็นไฟ
จีน
ภัยคุกคามประเด็นสุดท้ายที่จะกล่าวถึงคือ ภัยคุกคามที่จะมาจากจีน โดยรายงานข่าวกรองสหรัฐฯระบุว่า จีนกำลังผงาดขึ้นมาเป็นมหาอำนาจในระดับภูมิภาคและมีผลประโยชน์ในระดับโลก ขณะนี้จีนกำลังเข้าไปเกี่ยวพันกับในภูมิภาคต่างๆ ในโลก ทั้งนี้เพื่อผลประโยชน์ทางด้านเศรษฐกิจและการเมือง โดยเฉพาะการเข้าถึงตลาด และแหล่งทรัพยากรธรรมชาติและพลังงาน จีนกำลังดำเนินการทูตในเชิงรุก บุกเข้าไปในแอฟริกา และลาตินอเมริกา โดยเฉพาะเพื่อแสวงหาทรัพยากรธรรมชาติและน้ำมัน ซึ่งทำให้อิทธิพลของจีนในภูมิภาคและในโลกเพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะการสร้างภาพว่า จีนจะเป็นประเทศผู้นำของประเทศกำลังพัฒนา
นอกจากนี้ รายงานข่าวกรองสหรัฐฯยังโจมตีจีนว่า ขายอาวุธให้กับประเทศต่าง ๆ ซึ่งนำไปสู่การไร้เสถียรภาพในแอฟริกา และลาตินอเมริกา รวมทั้งการขายอาวุธในตะวันออกกลางและการขายขีปนาวุธให้อิหร่าน นอกจากนี้ กองทัพจีนก็กำลังเพิ่มศักยภาพทางทหารขึ้นอย่างมาก
ดังนั้น ผมจึงขอสรุปว่า การผงาดขึ้นมาเป็นอภิมหาอำนาจของจีน สหรัฐฯกำลังมองว่าเป็นภัยคุกคาม เพราะจะเป็นการท้าทายการครองความเป็นเจ้าของสหรัฐฯในโลก สหรัฐฯจึงคงจะดำเนินนโยบายปิดล้อมจีนโดยเฉพาะทางทหารต่อไป
ตีพิมพ์ใน: หนังสือพิมพ์ไทยโพสต์
เมื่อเร็วๆ นี้ ได้มีการเผยแพร่เอกสารของผู้อำนวยการสำนักข่าวกรองแห่งชาติสหรัฐฯ รายงานต่อวุฒิสภาสหรัฐฯ เกี่ยวกับการประเมินภัยคุกคามต่อสหรัฐฯในช่วงปี 2008 คอลัมน์กระบวนทรรศน์ในวันนี้ ผมจะได้นำเอกสารดังกล่าวมาสรุป โดยถึงแม้ว่าจะเป็นการมองในมุมมองของสหรัฐฯ แต่ก็น่าจะเป็นประโยชน์ต่อฝ่ายไทยเรา เพราะจะเป็นการฉายภาพให้เห็นถึงภัยคุกคามที่สำคัญ ๆ ในภาพรวม
การก่อการร้าย
สำนักข่าวกรองสหรัฐฯให้ความสำคัญต่อภัยที่มาจากการก่อการร้ายมากที่สุด โดยในตอนแรกได้กล่าวถึงความสำเร็จในช่วงรอบปีที่ผ่านมา ไม่มีการโจมตีครั้งใหญ่เกิดขึ้น โดยมองว่า เป็นเพราะทางฝ่ายสหรัฐฯได้ทำลายแผนการก่อวินาศกรรมขององค์กรอัล เคด้า หลายครั้ง
องค์กรก่อการร้ายที่ถือว่าเป็นภัยคุกคามที่สำคัญที่สุดคือ อัล เคด้า โดยขณะนี้ ผู้นำ อัล เคด้า ได้มีฐานที่มั่นสำคัญอยู่ในพรมแดนปากีสถานกับอัฟกานิสถาน ทำให้อัล เคด้ากลับมามีความได้เปรียบเหมือนคราวที่มีฐานที่มั่นอยู่ในอัฟกานิสถาน และได้ใช้ฐานที่มั่นดังกล่าวในการสนับสนุนนักรบตาลีบันในอัฟกานิสถาน และเป็นแหล่งฝึกผู้ก่อการร้ายรุ่นใหม่ สำหรับการก่อวินาศกรรมทั่วโลก นอกจากนี้ ผู้นำของอัล เคด้าคือ Osama Bin Laden ยังคงมีบทบาทสำคัญในการสร้างเอกภาพให้เกิดขึ้นในองค์กร ฝ่ายสหรัฐฯประเมินว่า อัล เคด้ามีแผนการที่จะโจมตีสหรัฐฯ และกำลังพยายามที่จะมีอาวุธร้ายแรงในครอบครอง
สำหรับเครือข่ายอัล เคด้าในภูมิภาคอื่น ๆ ที่สำคัญ ได้แก่ Al Qaeda in Iraq (AQI) มีบทบาทสำคัญในการก่อวินาศกรรมในอิรัก และมีแผนที่จะโจมตีสหรัฐฯด้วย โดยสมาชิก AQI กว่าร้อยคนได้เคลื่อนย้ายออกจากอิรัก และกำลังสร้างเครือข่ายอยู่ในภูมิภาคต่าง ๆ ทั่วโลก
เครือข่ายอัล เคด้าอีกเครือข่ายหนึ่งคือ Al Qaeda in the Lands of the Islamic Maghreb (AQIM) เป็นเครือข่ายที่มีบทบาทสำคัญที่สุดในแอฟริกาเหนือ โดยเมื่อเดือนธันวาคมที่ผ่านมา เครือข่ายนี้ได้ก่อวินาศกรรมที่เมือง Algiers ทำให้มีผู้เสียชีวิตไปเกือบ 100 คน นอกจากนี้ เครือข่ายอัล เคด้ายังพยายามเพิ่มบทบาทในคาบสมุทรอาราเบีย โดยมีแผนจะก่อวินาศกรรมในซาอุดิอาระเบีย เยเมน UAE และบาเรน
สำหรับในแอฟริกาตะวันออก กองกำลังของเอธิโอเปียที่ได้บุกเข้าไปในโซมาเลีย ได้ทำให้บทบาทของ Al Qaeda in East Africa ลดลง และสำหรับเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ กลุ่ม Jemaah Islamiya (JI) และ Abu Sayyaf ถือเป็นกลุ่มก่อการร้ายที่คุกคามต่อผลประโยชน์ของสหรัฐฯในภูมิภาคมากที่สุด
ผมมองว่า ปัญหาการก่อการร้ายคงจะไม่จบง่าย ๆ แต่จะมีแนวโน้มหนักขึ้นเรื่อย ๆ ทั้งนี้ มาจากสาเหตุใหญ่ในการดำเนินนโยบายที่ผิดพลาดของรัฐบาลบุช ที่เน้นการปราบปรามและละเลยการแก้ที่รากเหง้าของปัญหา
อาวุธร้ายแรง
ภัยคุกคามที่มีความสำคัญเป็นอันดับ 2 คือ อันตรายจากอาวุธร้ายแรง โดยเฉพาะภัยคุกคามจากการพัฒนาอาวุธร้ายแรงของอิหร่าน เกาหลีเหนือ และจากขบวนการก่อการร้าย
สำหรับในกรณีของอิหร่านนั้น หน่วยงานข่าวกรองสหรัฐฯรายงานว่า อิหร่านได้ยุติแผนการพัฒนาอาวุธนิวเคลียร์ของตนตั้งแต่ปี 2003 แต่ก็ไม่แน่ใจว่าอิหร่านจะกลับมาพัฒนาอาวุธนิวเคลียร์อีกครั้งเมื่อไร และอิหร่านยังคงเดินหน้าเสริมสร้างสมรรถนะแร่ยูเรเนียม รวมทั้งการพัฒนาขีปนาวุธพิสัยไกล แต่มีการประเมินว่า อิหร่านจะสามารถพัฒนาสมรรถนะแร่ยูเรเนียมจนถึงขั้นพัฒนาอาวุธนิวเคลียร์ได้ประมาณช่วงปลายปี 2009
ผมมองว่า ความขัดแย้งระหว่างสหรัฐฯกับ อิหร่าน จะยังคงตึงเครียดต่อไป สหรัฐฯไม่เพียงแต่กังวลเรื่องอาวุธนิวเคลียร์ของอิหร่านเท่านั้น แต่ยังกังวลถึงอิทธิพลของอิหร่านในตะวันออกกลางด้วย ดังนั้น ในปีนี้ สหรัฐฯจึงจะดำเนินนโยบายปิดล้อมและสกัดกั้นการขยายอิทธิพลของอิหร่านต่อไป
สำหรับในกรณีเกาหลีเหนือ ก็พัฒนาอาวุธนิวเคลียร์และขีปนาวุธที่คุกคามต่อเสถียรภาพของภูมิภาค โดยเกาหลีเหนือได้ขายขีปนาวุธให้กับประเทศในตะวันออกกลางรวมทั้งอิหร่าน และทางฝ่ายสหรัฐฯวิตกกังวลว่า เกาหลีเหนือจะขายอาวุธนิวเคลียร์ให้กับประเทศอื่น นอกจากนี้ สหรัฐฯยังวิตกกังวลเกี่ยวกับขีปนาวุธพิสัยไกล Taepo Dong 2 ซึ่งมีศักยภาพที่จะติดหัวรบอาวุธนิวเคลียร์และอาจยิงไปไกลได้ถึงแผ่นดินใหญ่สหรัฐฯ
เกาหลีเหนือได้ทดลองอาวุธนิวเคลียร์สำเร็จเมื่อเดือนตุลาคมปี 2006 และหลังจากนั้นได้กลับมาเจรจา 6 ฝ่ายในปีที่แล้ว และตกลงว่าจะยุติการพัฒนาพลังงานนิวเคลียร์ แต่ในที่สุดเกาหลีเหนือก็ไม่ทำตามคำมั่นสัญญา โดยยังไม่ยอมยุติโครงการนิวเคลียร์ซึ่งกำหนดเส้นตายไว้ในวันที่ 31 ธันวาคมที่ผ่านมา
ผมคิดว่า ยังไม่มีความแน่นอนว่า ปัญหาเกาหลีเหนือจะยุติอย่างไร ผมคิดว่าคงเป็นไปได้ยากที่เกาหลีเหนือจะยุติการมีอาวุธนิวเคลียร์ในครอบครอง
อิรัก
สำหรับสถานการณ์ในอิรักและอัฟกานิสถานยังคงคุกรุ่น จากเอกสารของหน่วยงานข่าวกรองสหรัฐฯรายงานว่า ปีที่แล้ว สถานการณ์ในอัฟกานิสถานทรุดหนักลงมีการโจมตีจากนักรบตาลีบันมากขึ้น นักรบตาลีบันได้ขยายการโจมตีสู่ทางใต้และรอบๆ เมือง Kabul
อย่างไรก็ตาม สถานการณ์ในอิรักโดยรวมแล้วดูดีขึ้น โดยจำนวนประชาชนผู้เสียชีวิตจากความรุนแรงลดลงครึ่งหนึ่ง อย่างไรก็ตาม ปัจจัยภายในยังคงเป็นปัญหาใหญ่ โดยเฉพาะความขัดแย้งระหว่างชีอะห์ กับซุนหนี่ และองค์กร Al Qaeda in Iraq ยังคงมุ่งบ่อนทำลายความมั่นคง นอกจากนี้ อิหร่านก็แอบสนับสนุนกลุ่มติดอาวุธชีอะห์ และประมาณ 90% ของระเบิดฆ่าตัวตายในอิรักเป็นฝีมือของผู้ก่อการร้ายที่มาจากนอกประเทศ โดยมีผู้ก่อการร้ายประมาณ 50-80 คนเดินทางเข้ามาในอิรักทุกเดือนโดยผ่านทางซีเรีย
สำหรับวิกฤตอิรักนี้ ผมขอกล่าวเสริมว่า บุชได้ประกาศเมื่อปีที่แล้วว่า จะค่อยๆ ถอนทหารออกจากอิรัก ดังนั้น ในปีนี้เราน่าจะได้เห็นสหรัฐฯค่อย ๆ ถอนทหารออกมาประมาณ 30,000 คน แต่ยังมีความไม่แน่นอนว่า สถานการณ์ในอิรักจะเปลี่ยนแปลงไปอย่างไร สงครามอิรักอาจจะก่อให้เกิดลกระทบต่อภูมิภาคทอดยาวไปนับสิบปี
ปากีสถาน
ภัยคุกคามที่มาจากปากีสถานคือ สถานการณ์การเมือง และความมั่นคงปลอดภัยของอาวุธนิวเคลียร์ รายงานของหน่วยงานข่าวกรองสหรัฐฯประเมินว่า ความปลอดภัยของอาวุธนิวเคลียร์ปากีสถาน ยังอยู่ในภาวะน่าวิตก นอกจากนี้ สถานการณ์การเมืองก็มีแนวโน้มรุนแรงมากขึ้นเรื่อยๆ โดยเฉพาะการก่อวินาศกรรมของกลุ่มก่อการร้าย การเพิ่มขึ้นของระเบิดฆ่าตัวตายจากกลุ่มหัวรุนแรงปากีสถานซึ่งเป็นพันธมิตรกับกลุ่มอัล เคด้า การลอบสังหารอดีตนายกรัฐมนตรี Benezir Bhutto โดยกลุ่มก่อการร้าย ทำให้สถานการณ์ในปากีสถานอยู่ในขั้นวิกฤต
ผมมองว่า สิ่งเลวร้ายที่สุดที่จะเกิดขึ้นคือ ขบวนการก่อการร้ายมุสลิมหัวรุนแรงสามารถเข้ายึดอำนาจทางการเมืองในปากีสถานได้ และรัฐบาลหัวรุนแรงจะมีอาวุธนิวเคลียร์ในครอบครอง
รัสเซีย
ภัยคุกคามลำดับต่อมา ต่อผลประโยชน์ของสหรัฐฯคือ การผงาดขึ้นมาของรัสเซีย รายงานข่าวกรองสหรัฐฯประเมินว่า เศรษฐกิจรัสเซียกำลังขยายตัวอย่างรวดเร็ว โดยในช่วง 4 ปีข้างหน้า พลังอำนาจแห่งชาติรัสเซียจะเพิ่มมากขึ้นในทุก ๆ มิติ ไม่ว่าจะเป็นด้านเศรษฐกิจ พลังงาน การทูต การทหาร
ขณะนี้ รัสเซียกำลังจ้องที่จะเข้าควบคุมแหล่งพลังงาน และเครือข่ายการขนส่งครอบคลุมยุโรปและเอเชียตะวันออก โดยรัสเซียพยายามที่จะเข้าควบคุมการขนส่งพลังงานและก๊าซจากทะเลสาบแคสเปี้ยน และเข้าควบคุมเส้นทางการขนส่งพลังงานจากตะวันออกสู่ตะวันตก
นอกจากนี้ รัสเซียกำลังเพิ่มสมรรถนะภาพทางทหารขึ้นเป็นอย่างมากหลังจากการล่มสลายของสหภาพโซเวียต โดยได้มีความเคลื่อนไหวทางทหารหลายเรื่อง ไม่ว่าจะเป็นการซ้อมรบกับประเทศเพื่อนบ้าน และการเพิ่มกำลังทหารเข้าสู่แถบเทือกเขาคอเคซัส เพื่อเผชิญหน้ากับประเทศจอร์เจีย เพื่อแสดงให้เห็นถึงการครองความเป็นเจ้าในภูมิภาคทางทหารของรัสเซีย
ในเอกสารหน่วยงานข่าวกรองสหรัฐฯไม่ได้พูดถึงประเด็นนี้ แต่ผมอยากจะฟันธงว่า ตะวันตกโดยมีสหรัฐฯเป็นผู้นำกำลังมียุทธศาสตร์ปิดล้อมรัสเซีย สหรัฐฯมองรัสเซียเป็นลบมากขึ้นเรื่อยๆ โดยมองว่า นโยบายรัสเซียขัดแย้งกับตะวันตกมากขึ้นเรื่อยๆ ทำให้รัสเซียเป็นปฏิปักษ์กับสหรัฐฯและตะวันตกมากขึ้นเรื่อยๆ ความขัดแย้งจะทวีความรุนแรงมากขึ้น และสงครามเย็นภาค 2 อาจจะเกิดขึ้นได้
คาบสมุทรบอลข่าน
เอกสารหน่วยงานข่าวกรองสหรัฐฯระบุว่า คาบสมุทรบอลข่านจะเป็นจุดอันตรายในปี 2008 โดยการประกาศเอกราชของโคโซโวจากเซอร์เบียจะทำให้ความขัดแย้งทางเชื้อชาติขยายตัว โดยจะทำให้ชาว Serb ที่อาศัยอยู่ในโคโซโว ลุกฮือขึ้นต่อต้าน รวมทั้งการต่อต้านจากเซอร์เบีย และอาจขยายตัวทำให้ความขัดแย้งทางเชื้อชาติลุกเป็นไฟขึ้นอีกครั้งในบอสเนีย นอกจากนี้ ชาว Albanian ในมาเซโดเนียและตอนใต้ของเซอร์เบียอาจกดดันเพื่อประกาศเอกราชหรือไปรวมชาติกับโคโซโว โดยสรุปแล้ว ผมขอมองเสริมว่า คาบสมุทรบอลข่านหลังการประกาศเอกราชของโคโซโวทำท่าจะลุกเป็นไฟ
จีน
ภัยคุกคามประเด็นสุดท้ายที่จะกล่าวถึงคือ ภัยคุกคามที่จะมาจากจีน โดยรายงานข่าวกรองสหรัฐฯระบุว่า จีนกำลังผงาดขึ้นมาเป็นมหาอำนาจในระดับภูมิภาคและมีผลประโยชน์ในระดับโลก ขณะนี้จีนกำลังเข้าไปเกี่ยวพันกับในภูมิภาคต่างๆ ในโลก ทั้งนี้เพื่อผลประโยชน์ทางด้านเศรษฐกิจและการเมือง โดยเฉพาะการเข้าถึงตลาด และแหล่งทรัพยากรธรรมชาติและพลังงาน จีนกำลังดำเนินการทูตในเชิงรุก บุกเข้าไปในแอฟริกา และลาตินอเมริกา โดยเฉพาะเพื่อแสวงหาทรัพยากรธรรมชาติและน้ำมัน ซึ่งทำให้อิทธิพลของจีนในภูมิภาคและในโลกเพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะการสร้างภาพว่า จีนจะเป็นประเทศผู้นำของประเทศกำลังพัฒนา
นอกจากนี้ รายงานข่าวกรองสหรัฐฯยังโจมตีจีนว่า ขายอาวุธให้กับประเทศต่าง ๆ ซึ่งนำไปสู่การไร้เสถียรภาพในแอฟริกา และลาตินอเมริกา รวมทั้งการขายอาวุธในตะวันออกกลางและการขายขีปนาวุธให้อิหร่าน นอกจากนี้ กองทัพจีนก็กำลังเพิ่มศักยภาพทางทหารขึ้นอย่างมาก
ดังนั้น ผมจึงขอสรุปว่า การผงาดขึ้นมาเป็นอภิมหาอำนาจของจีน สหรัฐฯกำลังมองว่าเป็นภัยคุกคาม เพราะจะเป็นการท้าทายการครองความเป็นเจ้าของสหรัฐฯในโลก สหรัฐฯจึงคงจะดำเนินนโยบายปิดล้อมจีนโดยเฉพาะทางทหารต่อไป
ไทย กับหลักการไม่แทรกแซงกิจการภายใน (ตอนจบ)
ไทย กับหลักการไม่แทรกแซงกิจการภายใน (ตอนจบ)
ตีพิมพ์ใน: หนังสือพิมพ์ไทยโพสต์
คอลัมน์กระบวนทรรศน์ตอนที่แล้ว ผมได้วิเคราะห์ถึงปัญหาเกี่ยวกับหลักการไม่แทรกแซงกิจการภายใน โดยได้กล่าวถึงประวัติความเป็นมาของหลักการนี้ และวิวัฒนาการมาถึงปัจจุบันที่ความหมายของหลักการนี้ได้เปลี่ยนแปลงไป โดยเฉพาะที่มาเชื่อมโยงกับสิทธิมนุษยชน และเรื่องอำนาจอธิปไตย โดยได้กล่าวถึงหลักการที่เปลี่ยนไปในระดับโลกไปแล้ว สำหรับคอลัมน์กระบวนทรรศน์ในวันนี้ จะมาดูในบริบทของอาเซียน และจะวิเคราะห์ถึงจุดยืนและท่าทีของไทย ต่อหลักการดังกล่าว
อาเซียน
นอกจาก UN แล้ว องค์กรระดับภูมิภาค เช่น EU หรือ OSCE ก็มีกฎเกณฑ์ว่า ทุกประเทศต้องปฏิบัติตามกฎระเบียบ ละเมิดสิทธิมนุษยชนไม่ได้ ถ้าละเมิดสิทธิมนุษยชน EU หรือ OSCE จะเข้าไปแทรกแซงได้ นี่กลายเป็นบรรทัดฐานใหม่ในองค์กรระดับภูมิภาค
สำหรับอาเซียนนั้น ประเทศที่กลัวเรื่องการแทรกแซงกิจการภายใน คือประเทศเผด็จการ ซึ่งรู้ว่าตัวเองทำผิด เป็นเผด็จการ เป็นแกะดำในสังคมโลก และสิ่งที่ตัวเองกลัวที่สุดคือ กลัวว่าจะมีการแทรกแซง ที่จะมาล้มล้างระบอบเผด็จการของตน เพราะฉะนั้น สิ่งที่ประเทศเผด็จการจะป่าวประกาศออกมาตลอดเวลาก็คือ ต้องยึดหลักการไม่แทรกแซงกิจการภายใน เพื่อทำให้ระบอบของตนเองอยู่รอด
จะเห็นได้ชัดเจนเลยว่า ประเทศเผด็จการจะพูดออกมาแนวนี้เหมือนกันหมด คือต้องยึดหลักการไม่แทรกแซงกิจการภายใน จีนเป็นเผด็จการ จีนก็เน้นประเด็นนี้ ขณะเดียวกัน ประเทศประชาธิปไตยก็จะไม่เน้นประเด็นนี้ เพราะไม่กลัวอยู่แล้วว่า ตนจะถูกแทรกแซง เพราะไม่ได้มีความผิดอะไร ตนเองเป็นประชาธิปไตย ตนเองจะกลัวอะไร
แต่ตอนนี้ ในอาเซียน ยังมีประเทศเผด็จการอยู่หลายประเทศ ตั้งแต่พม่า ลาว เวียดนาม เขมรก็ไม่ค่อยดีนัก ไทยเราก็เพิ่งมีปฏิวัติรัฐประหารไป ประชาธิปไตยก็ไม่เต็มใบ มาเลเซีย สิงคโปร์ ประชาธิปไตยก็ไม่เต็มใบ ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซียก็ดีหน่อย บรูไนก็ยังเผด็จการ โดยภาพรวม อาเซียนยังมีประเทศเผด็จการอยู่หลายประเทศ ส่วนใหญ่คือเผด็จการ จุดนี้นี่เอง ทำให้อาเซียนยังคงยึดหลักไม่แทรกแซงกิจการภายใน เพราะเสียงส่วนใหญ่เป็นเผด็จการ
แต่อาเซียนก็ถูกกระแสโลก กระแสสากลบีบมากขึ้นเรื่อยๆ เพราะกระแสสากลระดับโลกเปลี่ยนไปแล้ว กติการะดับโลกเปลี่ยนไปแล้ว ในภูมิภาคอื่นเปลี่ยนไปแล้ว เริ่มมีกติกาใหม่ว่า อำนาจอธิปไตยมีเงื่อนไข เพราะฉะนั้น ในระยะหลังๆ อาเซียนแม้ว่าจะยังตอกย้ำประเด็นนี้อยู่ในทางนิตินัย แต่ในทางพฤตินัย อาเซียนก็ได้มีการผ่อนปรน ในเรื่องการไม่แทรกแซงกิจการภายใน
โดยเฉพาะในกรณีพม่า ถ้าเรายึดหลักการไม่แทรกแซงกิจการภายในแบบ 100% ก็จะต้องไม่มีใครเข้าไปยุ่งเรื่องพม่าเลย แต่ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา อาเซียนก็ออกมาพูด ออกมายุ่ง แม้จะเป็นการยุ่งแบบเล็กน้อย ก็เป็นการเข้าไปแทรกแซง อาเซียนเวลามีประชุมกับพม่า ก็ให้พม่ามาพูดว่า ประชาธิปไตยไปถึงไหนแล้ว ล่าสุดก็เรียกร้องให้พม่าเดินหน้าสู่ประชาธิปไตย ปล่อยตัวนางอองซาน ซูจี นี่เป็นการแทรกแซงโดยพฤตินัย แต่อาเซียนก็ยังสับสนอยู่ คือกลัวๆกล้าๆ
สำหรับความเป็นไปได้ ที่กฎบัตรอาเซียนจะเปลี่ยนแปลงหลักการไม่แทรกแซงกิจการภายใน ก็น่าผิดหวัง เพราะตอนแรก เราหวังว่า กฎบัตรอาเซียนจะเป็นเอกสารที่สำคัญที่สุดของอาเซียน จะเป็นเอกสารที่มองไปข้างหน้า จะเป็น roadmap จะเป็น blue print สำหรับอาเซียน แต่ในที่สุด เมื่อมีการร่างกัน ก็ปรากฏว่า ประเทศเผด็จการ ประเทศน้องใหม่ กลัวนั่นกลัวนี่ กลัวว่าเดี๋ยวอาเซียนจะมีอำนาจมากไป เดี๋ยวจะมาแทรกแซง ก็ตัดตรงนั้นตรงนี้ทิ้ง
บางประเทศกลัวเรื่องข้อเสนอให้มีการโหวต ที่ผ่านมาอาเซียนใช้ระบบ consensus หรือฉันทามติ บางประเทศก็กลัวว่า ถ้ามีการโหวต ประเทศของตัวเองอาจมีปัญหาได้ ตัวอย่างเช่น อาจจะมี 9 ประเทศต้องการแบบนี้ แต่ว่าพม่าไม่เอา ถ้าโหวต พม่าก็แพ้ 9 ต่อ 1 แต่ทีนี้ ถ้าเป็นระบบ consensus ถ้าพม่าไม่เอา พม่าวีโต้ ก็จบ
นอกจากนี้ มีข้อเสนอว่า น่าจะมีกลไกควบคุมตรวจสอบ การละเมิดข้อตกลงอาเซียน ละเมิดกฎบัตร ละเมิดสิทธิมนุษยชน ซึ่งในที่สุด กลไกนี้ถูกตัดไปหมด แต่ว่าก็ยังดี ที่มีมาตราในกฎบัตรอาเซียนระบุว่า จะมีการจัดตั้งกลไกสิทธิมนุษยชนขึ้นมา แต่ก็เป็นการพูดกว้างๆ ว่า จะมีการจัดตั้งกลไกสิทธิมนุษยชนขึ้นมา แต่ว่า รูปร่างหน้าตาจะเป็นอย่างไร ต้องไปคุยกันต่อ ผมเดาว่า การไปคุยกันต่อน่าจะเปิดทางให้พม่าเข้ามามีบทบาท บอกว่าตรงนี้ไม่ได้ ตรงนั้นไม่ได้ กลไกสิทธิมนุษยชนของอาเซียนในที่สุดก็จะไม่มีน้ำยา ก็จะเป็นได้แค่เสือกระดาษ
ในการร่างกฎบัตรอาเซียน ประเด็นเรื่องหลักการไม่แทรกแซงกิจการภายในของประเทศสมาชิก น่าจะเป็นประเด็นสำคัญ ซึ่งควรมีการยืดหยุ่น หลักการยืดหยุ่นได้ถูกเสนอโดย ดร.สุรินทร์ใน ปี 1998 คือ ข้อเสนอ flexible engagement แต่ก็ปรากฏว่า ในที่สุด กฎบัตรอาเซียนก็ยืนตามเดิม คือยึดมั่นในหลักการไม่แทรกแซงกิจการภายใน ก็กลับไปแบบเดิม เป็นการ “ถอยหลังลงคลอง”
ในอนาคต อาเซียนก็อาจเข้าไปแทรกแซงโดยพฤตินัย แบบไม่เป็นทางการ แต่คงยากที่จะเห็นเป็นกฎหมาย เพราะว่า ต้องไปแก้กฎบัตร แล้วใครจะไปแก้หลักการตรงนี้ สมมุติว่ามีคนเสนอว่า ต่อไปเราจะไม่เอาหลักการไม่แทรกแซงกิจการภายใน หลักการนี้ต้องเปลี่ยน แน่นอนที่พม่า ลาว เวียดนาม ต้องออกมาวีโต้แน่ มันก็แก้ไม่ได้ เพราะว่าการแก้กฎบัตรระบุชัดเจนว่า ถ้าจะแก้ ต้องแก้โดย consensus คือทุกประเทศต้องเห็นด้วย มันก็จะวนอยู่อย่างเดิม
จุดยืนของไทยกับหลักการ “ไม่แทรกแซงกิจการภายใน”
สำหรับจุดยืนของไทย ก็ต้องขึ้นอยู่กับผลประโยชน์ของประเทศไทย ขึ้นอยู่กับว่า ไทยจะมองผลประโยชน์ของตนเองอยู่ตรงไหน เรื่องสิทธิมนุษยชน ถ้ามาเทียบกับผลประโยชน์ด้านการเมือง ผลประโยชน์ด้านเศรษฐกิจ ผลประโยชน์ด้านการทหาร ผลประโยชน์ด้านยุทธศาสตร์ ก็เป็นเรื่องรอง
ในกรณีไทย ชัดเจนที่ไทยมีผลประโยชน์ด้านเศรษฐกิจกับพม่ามหาศาล เราซื้อก๊าซธรรมชาติจากพม่านับเป็นพันล้านเหรียญสหรัฐ การส่งออกก๊าซธรรมชาติมาไทยจึงเป็นสินค้าส่งออกที่สำคัญที่สุดของพม่า เท่ากับ 40% ของการส่งออกทั้งหมดของพม่า ไทยจึงเป็นประเทศคู่ค้าอันดับหนึ่งของพม่า เพราะเรื่องก๊าซธรรมชาติ ทำให้ไทยตกอยู่ในสภาวะลำบาก คือถ้าเราไปโจมตีพม่าเรื่องสิทธิมนุษยชน ก็อาจไปกระเทือนผลประโยชน์ทางด้านเศรษฐกิจของเรา เรื่องก๊าซธรรมชาติ นอกจากนั้นเรายังมีการค้าด้านอื่นๆ ยังเข้าไปลงทุนในพม่าอีก รัฐบาลก็กลัวว่าจะกระทบ
แต่การที่คุณนพดล ปัทมะ รัฐมนตรีต่างประเทศ ออกมากล่าวว่า ไทยจะยึดหลักการไม่แทรกแซงกิจการภายใน สำหรับกรณีพม่า ผมว่า จุดยืนของเราที่ดีคือ เราควรจะเงียบๆ คือมีท่าทีแบบกำกวมไว้ ดีที่สุด ไม่แสดงท่าทีชัดเจนว่าจะเอายังไง ผมว่าน่าจะ safe ที่สุด แต่ว่าการที่คุณนพดลออกมาพูดอย่างนี้ ผมว่าไม่ค่อยถูกต้อง ไม่จำเป็นต้องประกาศว่า เราจะยึดมั่นหลักการไม่แทรกแซงกิจการภายใน ไม่จำเป็นต้องฟันธง และเนื่องจากขณะนี้กระแสโลกเปลี่ยนไปมาก การที่ไทยออกมาเน้นประเด็นนี้ จึงดูเหมือนว่า กลายเป็นประเทศที่ตามโลกไม่ทัน เหมือนเป็นประเทศอนุรักษ์นิยม ไม่ก้าวหน้า
ถ้าเราเป็นประเทศเผด็จการ ผมจะไม่แปลกใจเลยว่า เราจะประกาศตรงนี้ออกมา เหมือนอย่างจีน ถ้าจีนประกาศว่าเราจะไม่ยุ่งเกี่ยวกิจการภายในของเพื่อนบ้าน ผมจะไม่แปลกใจ เพราะจีนเป็นเผด็จการ แต่ว่าตอนนี้ไทยเป็นประชาธิปไตยแล้ว แต่ว่าเรายังไปประกาศจุดยืนนี้อีก มันดูขัดกับกระแสสากล อย่างที่บอกตอนต้นว่า เผด็จการก็จะบอกอย่างนี้ ประชาธิปไตยก็จะบอกอีกอย่าง แต่เราเป็นประชาธิปไตย แต่เราไปเหมือนกับเผด็จการ ซึ่งผมคิดว่า ไม่ถูกต้อง
ภาพลักษณ์ไทยในสายตาประชาคมโลก ก็คงจะเสีย ไทยทำไมไปประกาศแบบนี้ มันทวนกระแสสากล
ในสมัยรัฐบาลชวน สมัย ดร.สุรินทร์ พิศสุวรรณ ไทยเล่นบทบาทอีกแบบหนึ่ง ตอนนั้นเราชูธงประชาธิปไตย เน้นเรื่องสิทธิมนุษยชน และเราก็กล้าวิพากษ์วิจารณ์รัฐบาลทหารพม่า รัฐบาลในตอนนั้น อาจมองในเรื่องน้ำหนักว่า เรื่องสิทธิมนุษยชนก็สำคัญ เรื่องเศรษฐกิจก็สำคัญ แต่ว่า รัฐบาลสมัยชวนอาจจะมองว่า เราน่าจะกล้าที่จะวิพากษ์วิจารณ์พม่าได้ แต่พอมาสมัยรัฐบาลทักษิณ ถึงปัจจุบัน ก็มองผลประโยชน์ด้านธุรกิจ ผลประโยชน์ด้านเศรษฐกิจเป็นตัวนำมากเกินไป จนกลายเป็นว่า เราไม่สนใจเรื่องสิทธิมนุษยชนเลย กลายเป็นประเทศที่ดูแล้วอนุรักษ์นิยมจัด ขวาจัด
อันนี้ ผมว่าบทบาทไทยในอาเซียนและประชาคมโลกก็เสียหาย เพราะว่าการที่เราจะเป็นผู้นำอาเซียนได้ ต้องมี moral authority คือ เราต้องทำสิ่งที่ถูกต้อง สิ่งที่ทั่วโลกยอมรับ ต้องทำตัวในลักษณะเป็นพลเมืองที่ดีของโลก แต่ตอนนี้ ในช่วงรัฐบาลทักษิณ มาถึงรัฐบาลสมัคร เราทำตัวเป็นพลเมืองที่ไม่ดีของโลก คือไปสนับสนุนรัฐบาลเผด็จการพม่า จนออกนอกหน้า ดังนั้น ตรงนี้ ทำให้บทบาทการเป็นผู้นำของไทยในอาเซียนก็กระเทือน ขณะที่เมื่อก่อน เรามีบทบาทนำในเรื่องนี้ เคยชูธงประชาธิปไตย สมัยดร.สุรินทร์ ไทยก็ดูดี ดูเด่น ในสายตาโลก แต่มาในปัจจุบัน กลายเป็นว่า เราถอยหลังลงคลอง กลายเป็นว่าคนที่ออกมาพูดเรื่องนี้ ประเทศที่ออกมาวิพากษ์วิจารณ์รัฐบาลทหารพม่า กลายเป็นมาเลเซีย สิงคโปร์ อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ ซึ่งมันกลับตาลปัตรหมด และกลายเป็นว่าไทยกลายเป็น ประเทศที่มาเข้าข้างประเทศเผด็จการ
สิงคโปร์ก็มีผลประโยชน์ทางธุรกิจ มีการลงทุน ค้าขายกับพม่า แต่เขารู้จักเล่น รู้จักพูด เล่นตีสองหน้า จริงๆไทยเราก็เก่งเรื่องตีสองหน้า จริงๆการทูตเราเก่งอยู่แล้ว แต่ประเด็นนี้ เรากลับเล่นไม่เป็น ประเด็นนี้เราระมัดระวังเกินไป กลัวพม่าเกินไป
ตีพิมพ์ใน: หนังสือพิมพ์ไทยโพสต์
คอลัมน์กระบวนทรรศน์ตอนที่แล้ว ผมได้วิเคราะห์ถึงปัญหาเกี่ยวกับหลักการไม่แทรกแซงกิจการภายใน โดยได้กล่าวถึงประวัติความเป็นมาของหลักการนี้ และวิวัฒนาการมาถึงปัจจุบันที่ความหมายของหลักการนี้ได้เปลี่ยนแปลงไป โดยเฉพาะที่มาเชื่อมโยงกับสิทธิมนุษยชน และเรื่องอำนาจอธิปไตย โดยได้กล่าวถึงหลักการที่เปลี่ยนไปในระดับโลกไปแล้ว สำหรับคอลัมน์กระบวนทรรศน์ในวันนี้ จะมาดูในบริบทของอาเซียน และจะวิเคราะห์ถึงจุดยืนและท่าทีของไทย ต่อหลักการดังกล่าว
อาเซียน
นอกจาก UN แล้ว องค์กรระดับภูมิภาค เช่น EU หรือ OSCE ก็มีกฎเกณฑ์ว่า ทุกประเทศต้องปฏิบัติตามกฎระเบียบ ละเมิดสิทธิมนุษยชนไม่ได้ ถ้าละเมิดสิทธิมนุษยชน EU หรือ OSCE จะเข้าไปแทรกแซงได้ นี่กลายเป็นบรรทัดฐานใหม่ในองค์กรระดับภูมิภาค
สำหรับอาเซียนนั้น ประเทศที่กลัวเรื่องการแทรกแซงกิจการภายใน คือประเทศเผด็จการ ซึ่งรู้ว่าตัวเองทำผิด เป็นเผด็จการ เป็นแกะดำในสังคมโลก และสิ่งที่ตัวเองกลัวที่สุดคือ กลัวว่าจะมีการแทรกแซง ที่จะมาล้มล้างระบอบเผด็จการของตน เพราะฉะนั้น สิ่งที่ประเทศเผด็จการจะป่าวประกาศออกมาตลอดเวลาก็คือ ต้องยึดหลักการไม่แทรกแซงกิจการภายใน เพื่อทำให้ระบอบของตนเองอยู่รอด
จะเห็นได้ชัดเจนเลยว่า ประเทศเผด็จการจะพูดออกมาแนวนี้เหมือนกันหมด คือต้องยึดหลักการไม่แทรกแซงกิจการภายใน จีนเป็นเผด็จการ จีนก็เน้นประเด็นนี้ ขณะเดียวกัน ประเทศประชาธิปไตยก็จะไม่เน้นประเด็นนี้ เพราะไม่กลัวอยู่แล้วว่า ตนจะถูกแทรกแซง เพราะไม่ได้มีความผิดอะไร ตนเองเป็นประชาธิปไตย ตนเองจะกลัวอะไร
แต่ตอนนี้ ในอาเซียน ยังมีประเทศเผด็จการอยู่หลายประเทศ ตั้งแต่พม่า ลาว เวียดนาม เขมรก็ไม่ค่อยดีนัก ไทยเราก็เพิ่งมีปฏิวัติรัฐประหารไป ประชาธิปไตยก็ไม่เต็มใบ มาเลเซีย สิงคโปร์ ประชาธิปไตยก็ไม่เต็มใบ ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซียก็ดีหน่อย บรูไนก็ยังเผด็จการ โดยภาพรวม อาเซียนยังมีประเทศเผด็จการอยู่หลายประเทศ ส่วนใหญ่คือเผด็จการ จุดนี้นี่เอง ทำให้อาเซียนยังคงยึดหลักไม่แทรกแซงกิจการภายใน เพราะเสียงส่วนใหญ่เป็นเผด็จการ
แต่อาเซียนก็ถูกกระแสโลก กระแสสากลบีบมากขึ้นเรื่อยๆ เพราะกระแสสากลระดับโลกเปลี่ยนไปแล้ว กติการะดับโลกเปลี่ยนไปแล้ว ในภูมิภาคอื่นเปลี่ยนไปแล้ว เริ่มมีกติกาใหม่ว่า อำนาจอธิปไตยมีเงื่อนไข เพราะฉะนั้น ในระยะหลังๆ อาเซียนแม้ว่าจะยังตอกย้ำประเด็นนี้อยู่ในทางนิตินัย แต่ในทางพฤตินัย อาเซียนก็ได้มีการผ่อนปรน ในเรื่องการไม่แทรกแซงกิจการภายใน
โดยเฉพาะในกรณีพม่า ถ้าเรายึดหลักการไม่แทรกแซงกิจการภายในแบบ 100% ก็จะต้องไม่มีใครเข้าไปยุ่งเรื่องพม่าเลย แต่ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา อาเซียนก็ออกมาพูด ออกมายุ่ง แม้จะเป็นการยุ่งแบบเล็กน้อย ก็เป็นการเข้าไปแทรกแซง อาเซียนเวลามีประชุมกับพม่า ก็ให้พม่ามาพูดว่า ประชาธิปไตยไปถึงไหนแล้ว ล่าสุดก็เรียกร้องให้พม่าเดินหน้าสู่ประชาธิปไตย ปล่อยตัวนางอองซาน ซูจี นี่เป็นการแทรกแซงโดยพฤตินัย แต่อาเซียนก็ยังสับสนอยู่ คือกลัวๆกล้าๆ
สำหรับความเป็นไปได้ ที่กฎบัตรอาเซียนจะเปลี่ยนแปลงหลักการไม่แทรกแซงกิจการภายใน ก็น่าผิดหวัง เพราะตอนแรก เราหวังว่า กฎบัตรอาเซียนจะเป็นเอกสารที่สำคัญที่สุดของอาเซียน จะเป็นเอกสารที่มองไปข้างหน้า จะเป็น roadmap จะเป็น blue print สำหรับอาเซียน แต่ในที่สุด เมื่อมีการร่างกัน ก็ปรากฏว่า ประเทศเผด็จการ ประเทศน้องใหม่ กลัวนั่นกลัวนี่ กลัวว่าเดี๋ยวอาเซียนจะมีอำนาจมากไป เดี๋ยวจะมาแทรกแซง ก็ตัดตรงนั้นตรงนี้ทิ้ง
บางประเทศกลัวเรื่องข้อเสนอให้มีการโหวต ที่ผ่านมาอาเซียนใช้ระบบ consensus หรือฉันทามติ บางประเทศก็กลัวว่า ถ้ามีการโหวต ประเทศของตัวเองอาจมีปัญหาได้ ตัวอย่างเช่น อาจจะมี 9 ประเทศต้องการแบบนี้ แต่ว่าพม่าไม่เอา ถ้าโหวต พม่าก็แพ้ 9 ต่อ 1 แต่ทีนี้ ถ้าเป็นระบบ consensus ถ้าพม่าไม่เอา พม่าวีโต้ ก็จบ
นอกจากนี้ มีข้อเสนอว่า น่าจะมีกลไกควบคุมตรวจสอบ การละเมิดข้อตกลงอาเซียน ละเมิดกฎบัตร ละเมิดสิทธิมนุษยชน ซึ่งในที่สุด กลไกนี้ถูกตัดไปหมด แต่ว่าก็ยังดี ที่มีมาตราในกฎบัตรอาเซียนระบุว่า จะมีการจัดตั้งกลไกสิทธิมนุษยชนขึ้นมา แต่ก็เป็นการพูดกว้างๆ ว่า จะมีการจัดตั้งกลไกสิทธิมนุษยชนขึ้นมา แต่ว่า รูปร่างหน้าตาจะเป็นอย่างไร ต้องไปคุยกันต่อ ผมเดาว่า การไปคุยกันต่อน่าจะเปิดทางให้พม่าเข้ามามีบทบาท บอกว่าตรงนี้ไม่ได้ ตรงนั้นไม่ได้ กลไกสิทธิมนุษยชนของอาเซียนในที่สุดก็จะไม่มีน้ำยา ก็จะเป็นได้แค่เสือกระดาษ
ในการร่างกฎบัตรอาเซียน ประเด็นเรื่องหลักการไม่แทรกแซงกิจการภายในของประเทศสมาชิก น่าจะเป็นประเด็นสำคัญ ซึ่งควรมีการยืดหยุ่น หลักการยืดหยุ่นได้ถูกเสนอโดย ดร.สุรินทร์ใน ปี 1998 คือ ข้อเสนอ flexible engagement แต่ก็ปรากฏว่า ในที่สุด กฎบัตรอาเซียนก็ยืนตามเดิม คือยึดมั่นในหลักการไม่แทรกแซงกิจการภายใน ก็กลับไปแบบเดิม เป็นการ “ถอยหลังลงคลอง”
ในอนาคต อาเซียนก็อาจเข้าไปแทรกแซงโดยพฤตินัย แบบไม่เป็นทางการ แต่คงยากที่จะเห็นเป็นกฎหมาย เพราะว่า ต้องไปแก้กฎบัตร แล้วใครจะไปแก้หลักการตรงนี้ สมมุติว่ามีคนเสนอว่า ต่อไปเราจะไม่เอาหลักการไม่แทรกแซงกิจการภายใน หลักการนี้ต้องเปลี่ยน แน่นอนที่พม่า ลาว เวียดนาม ต้องออกมาวีโต้แน่ มันก็แก้ไม่ได้ เพราะว่าการแก้กฎบัตรระบุชัดเจนว่า ถ้าจะแก้ ต้องแก้โดย consensus คือทุกประเทศต้องเห็นด้วย มันก็จะวนอยู่อย่างเดิม
จุดยืนของไทยกับหลักการ “ไม่แทรกแซงกิจการภายใน”
สำหรับจุดยืนของไทย ก็ต้องขึ้นอยู่กับผลประโยชน์ของประเทศไทย ขึ้นอยู่กับว่า ไทยจะมองผลประโยชน์ของตนเองอยู่ตรงไหน เรื่องสิทธิมนุษยชน ถ้ามาเทียบกับผลประโยชน์ด้านการเมือง ผลประโยชน์ด้านเศรษฐกิจ ผลประโยชน์ด้านการทหาร ผลประโยชน์ด้านยุทธศาสตร์ ก็เป็นเรื่องรอง
ในกรณีไทย ชัดเจนที่ไทยมีผลประโยชน์ด้านเศรษฐกิจกับพม่ามหาศาล เราซื้อก๊าซธรรมชาติจากพม่านับเป็นพันล้านเหรียญสหรัฐ การส่งออกก๊าซธรรมชาติมาไทยจึงเป็นสินค้าส่งออกที่สำคัญที่สุดของพม่า เท่ากับ 40% ของการส่งออกทั้งหมดของพม่า ไทยจึงเป็นประเทศคู่ค้าอันดับหนึ่งของพม่า เพราะเรื่องก๊าซธรรมชาติ ทำให้ไทยตกอยู่ในสภาวะลำบาก คือถ้าเราไปโจมตีพม่าเรื่องสิทธิมนุษยชน ก็อาจไปกระเทือนผลประโยชน์ทางด้านเศรษฐกิจของเรา เรื่องก๊าซธรรมชาติ นอกจากนั้นเรายังมีการค้าด้านอื่นๆ ยังเข้าไปลงทุนในพม่าอีก รัฐบาลก็กลัวว่าจะกระทบ
แต่การที่คุณนพดล ปัทมะ รัฐมนตรีต่างประเทศ ออกมากล่าวว่า ไทยจะยึดหลักการไม่แทรกแซงกิจการภายใน สำหรับกรณีพม่า ผมว่า จุดยืนของเราที่ดีคือ เราควรจะเงียบๆ คือมีท่าทีแบบกำกวมไว้ ดีที่สุด ไม่แสดงท่าทีชัดเจนว่าจะเอายังไง ผมว่าน่าจะ safe ที่สุด แต่ว่าการที่คุณนพดลออกมาพูดอย่างนี้ ผมว่าไม่ค่อยถูกต้อง ไม่จำเป็นต้องประกาศว่า เราจะยึดมั่นหลักการไม่แทรกแซงกิจการภายใน ไม่จำเป็นต้องฟันธง และเนื่องจากขณะนี้กระแสโลกเปลี่ยนไปมาก การที่ไทยออกมาเน้นประเด็นนี้ จึงดูเหมือนว่า กลายเป็นประเทศที่ตามโลกไม่ทัน เหมือนเป็นประเทศอนุรักษ์นิยม ไม่ก้าวหน้า
ถ้าเราเป็นประเทศเผด็จการ ผมจะไม่แปลกใจเลยว่า เราจะประกาศตรงนี้ออกมา เหมือนอย่างจีน ถ้าจีนประกาศว่าเราจะไม่ยุ่งเกี่ยวกิจการภายในของเพื่อนบ้าน ผมจะไม่แปลกใจ เพราะจีนเป็นเผด็จการ แต่ว่าตอนนี้ไทยเป็นประชาธิปไตยแล้ว แต่ว่าเรายังไปประกาศจุดยืนนี้อีก มันดูขัดกับกระแสสากล อย่างที่บอกตอนต้นว่า เผด็จการก็จะบอกอย่างนี้ ประชาธิปไตยก็จะบอกอีกอย่าง แต่เราเป็นประชาธิปไตย แต่เราไปเหมือนกับเผด็จการ ซึ่งผมคิดว่า ไม่ถูกต้อง
ภาพลักษณ์ไทยในสายตาประชาคมโลก ก็คงจะเสีย ไทยทำไมไปประกาศแบบนี้ มันทวนกระแสสากล
ในสมัยรัฐบาลชวน สมัย ดร.สุรินทร์ พิศสุวรรณ ไทยเล่นบทบาทอีกแบบหนึ่ง ตอนนั้นเราชูธงประชาธิปไตย เน้นเรื่องสิทธิมนุษยชน และเราก็กล้าวิพากษ์วิจารณ์รัฐบาลทหารพม่า รัฐบาลในตอนนั้น อาจมองในเรื่องน้ำหนักว่า เรื่องสิทธิมนุษยชนก็สำคัญ เรื่องเศรษฐกิจก็สำคัญ แต่ว่า รัฐบาลสมัยชวนอาจจะมองว่า เราน่าจะกล้าที่จะวิพากษ์วิจารณ์พม่าได้ แต่พอมาสมัยรัฐบาลทักษิณ ถึงปัจจุบัน ก็มองผลประโยชน์ด้านธุรกิจ ผลประโยชน์ด้านเศรษฐกิจเป็นตัวนำมากเกินไป จนกลายเป็นว่า เราไม่สนใจเรื่องสิทธิมนุษยชนเลย กลายเป็นประเทศที่ดูแล้วอนุรักษ์นิยมจัด ขวาจัด
อันนี้ ผมว่าบทบาทไทยในอาเซียนและประชาคมโลกก็เสียหาย เพราะว่าการที่เราจะเป็นผู้นำอาเซียนได้ ต้องมี moral authority คือ เราต้องทำสิ่งที่ถูกต้อง สิ่งที่ทั่วโลกยอมรับ ต้องทำตัวในลักษณะเป็นพลเมืองที่ดีของโลก แต่ตอนนี้ ในช่วงรัฐบาลทักษิณ มาถึงรัฐบาลสมัคร เราทำตัวเป็นพลเมืองที่ไม่ดีของโลก คือไปสนับสนุนรัฐบาลเผด็จการพม่า จนออกนอกหน้า ดังนั้น ตรงนี้ ทำให้บทบาทการเป็นผู้นำของไทยในอาเซียนก็กระเทือน ขณะที่เมื่อก่อน เรามีบทบาทนำในเรื่องนี้ เคยชูธงประชาธิปไตย สมัยดร.สุรินทร์ ไทยก็ดูดี ดูเด่น ในสายตาโลก แต่มาในปัจจุบัน กลายเป็นว่า เราถอยหลังลงคลอง กลายเป็นว่าคนที่ออกมาพูดเรื่องนี้ ประเทศที่ออกมาวิพากษ์วิจารณ์รัฐบาลทหารพม่า กลายเป็นมาเลเซีย สิงคโปร์ อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ ซึ่งมันกลับตาลปัตรหมด และกลายเป็นว่าไทยกลายเป็น ประเทศที่มาเข้าข้างประเทศเผด็จการ
สิงคโปร์ก็มีผลประโยชน์ทางธุรกิจ มีการลงทุน ค้าขายกับพม่า แต่เขารู้จักเล่น รู้จักพูด เล่นตีสองหน้า จริงๆไทยเราก็เก่งเรื่องตีสองหน้า จริงๆการทูตเราเก่งอยู่แล้ว แต่ประเด็นนี้ เรากลับเล่นไม่เป็น ประเด็นนี้เราระมัดระวังเกินไป กลัวพม่าเกินไป
ไทย กับหลักการ “ไม่แทรกแซงกิจการภายใน” (ตอนที่ 1)
ไทย กับหลักการ “ไม่แทรกแซงกิจการภายใน” (ตอนที่ 1)
ตีพิมพ์ใน: หนังสือพิมพ์ไทยโพสต์
คอลัมน์กระบวนทรรศน์ในวันนี้ ผมจะวิเคราะห์ถึงปัญหาเกี่ยวกับหลักการไม่แทรกแซงกิจการภายใน โดยจะได้กล่าวถึงประวัติความเป็นมาของหลักการนี้ และวิวัฒนาการมาถึงปัจจุบันที่ความหมายของหลักการนี้ได้เปลี่ยนแปลงไป โดยเฉพาะที่มาเชื่อมโยงกับสิทธิมนุษยชน และเรื่องอำนาจอธิปไตย โดยในตอนแรก ผมจะได้กล่าวถึงหลักการที่เปลี่ยนไปในระดับโลก และตอนต่อไป จะมาดูในบริบทของอาเซียน และจะวิเคราะห์ถึงจุดยืนและท่าทีของไทย ต่อหลักการดังกล่าว
ประวัติศาสตร์ความเป็นมาในอดีต
หลักการนี้เกิดขึ้นมาพร้อมกันสนธิสัญญา Westphalia ตั้งแต่ ปีค.ศ.1648 คือการเป็นที่มาของการเกิดรัฐชาติ ก่อนหน้านั้น อำนาจอยู่ในมือของศาสนาจักรในยุโรป ในยุคนั้น คำว่าประเทศไม่มี เพราะว่าอาณาจักรหรือกษัตริย์ อำนาจต้องขึ้นอยู่กับวาติกัน สันตะปาปา พอเกิดสนธิสัญญา Westphalia ขึ้นมา สัญญานี้บอกว่า ต่อไปนี้ จะมีการกำหนดเป็นรัฐชาติขึ้นมา (ซึ่งก็คือประเทศในปัจจุบัน) และมีกติกาว่า ประเทศต้องมีอำนาจอธิปไตย อำนาจอธิปไตยหมายความว่า สิ่งที่เกิดขึ้นภายในประเทศ ถือเป็นเรื่องภายในของประเทศนั้น คนอื่นไม่เกี่ยว จึงเกิดหลักการไม่แทรกแซงกิจการภายในของประเทศอื่น กิจการภายใน เป็นอำนาจของประเทศนั้น ถ้าเข้าไปแทรกแซง ก็เป็นการล่วงล้ำอำนาจอธิปไตยของประเทศนั้น
นี่เป็นการกำหนดกติกาใหม่ขึ้น เพื่อไม่ให้ศาสนาจักร ผู้นำศาสนาที่กรุงโรม เข้ามาแทรกแซงอำนาจของกษัตริย์ในสมัยนั้น จึงเกิดหลักเกณฑ์นี้ขึ้นมา ต่อมาหลักเกณฑ์นี้แผ่ขยายออกไป จากการมีรัฐชาติเกิดขึ้นในยุโรป ตอนหลังเมื่อยุโรปล่าอาณานิคม แล้วเกิดเป็นเมืองขึ้นทั่วโลก พอเมืองขึ้นเหล่านี้เป็นเอกราช เมืองขึ้นเหล่านี้ก็เดินตามยุโรป สร้างเป็นรัฐชาติขึ้นมา ตอนนี้มี 190 กว่าประเทศ เป็นหน่วยทางการเมืองที่สำคัญที่สุด เรื่องที่สำคัญคืออำนาจอธิปไตย ก่อนหน้านั้นไม่มีพรมแดนตายตัว พอมีรัฐชาติขึ้นมา มีการตีเส้น มีพรมแดนชัดเจน และมีรัฐบาลกลางเกิดขึ้น และสิ่งที่เกิดขึ้น ในพื้นที่สี่เหลี่ยมของประเทศนี้คือ เป็นเรื่องของประเทศนี้ ประเทศอื่นไม่มีสิทธิ์เข้าไปยุ่ง นี่คือหัวใจของหลักการไม่แทรกแซงกิจการภายใน ตอนหลัง ก็พัฒนากลายเป็นหลักการสากล
การเปลี่ยนแปลงของหลักการในระดับโลกในปัจจุบัน
แต่ต่อมา ก็เกิดปัญหาขึ้นในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 มีการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ เยอรมันนาซีฆ่าชาวยิว 6 ล้านคน แล้วถ้าเรายึดหลักการนี้ว่า มันก็เรื่องของฉัน ฉันจะฆ่าใครยังไงก็ได้ ที่อยู่ในประเทศฉัน คนอื่นไม่เกี่ยว ถ้าฉันจะฆ่าชาวยิว 6 ล้านคนก็เป็นเรื่องของฉัน การยึดหลักการไม่แทรกแซงกิจการภายใน ทำให้เกิดการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ขึ้น เพราะฉะนั้น หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 โลกเริ่มเปลี่ยน เริ่มมีการตั้ง UN เริ่มมีการทำปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนขึ้นมา ก่อนหน้านี้ สิทธิมนุษยชนเป็นเรื่องภายในประเทศ เป็นเรื่องระหว่างผู้ปกครองกับผู้ถูกปกครองภายในประเทศ คนอื่นไม่เกี่ยว แต่หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 หลังจากมี UN หลังจากมีปฏิญญาสากลสิทธิมนุษยชน คำว่า สิทธิมนุษยชนจึงกลายเป็นสากล หมายความว่า ถ้ามีการละเมิดสิทธิมนุษยชนในประเทศ จะอ้างว่านี่เป็นเรื่องภายในของฉัน คนอื่นไม่เกี่ยวต่อไปไม่ได้อีกแล้ว เมื่อมีการละเมิดสิทธิมนุษยชนประชาคมโลกก็มีสิทธิที่จะเข้าไปแทรกแซง เพื่อที่จะปกป้องสิทธิมนุษยชน
ดังนั้น ความเป็นสากลของสิทธิมนุษยชน จึงเป็นการบั่นทอนหลักการไม่แทรกแซงกิจการภายใน
เรื่องสิทธิมนุษยชนกลายเป็นเรื่องสำคัญ และเป็นสาเหตุที่ทำให้ประชาคมโลกบอกว่า รัฐบาลจะเอาเรื่องหลักการไม่แทรกแซงกิจการภายในมาอ้างไม่ได้ หากรัฐบาลเข่นฆ่าประชาชน และฆ่าล้างเผ่าพันธุ์
ต่อมาในช่วงหลังสงครามเย็น เมื่อประมาณเกือบ 20 ปีที่ผ่านมา ก็เกิดสงครามในลักษณะใหม่ คือสงครามไม่ได้เกิดระหว่างประเทศ A กับประเทศ B แต่กลายเป็นสงครามระหว่างคน 2 กลุ่มภายในประเทศ และมีการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์เกิดขึ้นมาก มีลักษณะที่รัฐบาลกลายเป็นกลไกฆ่าล้างเผ่าพันธุ์เสียเอง ตัวอย่างเช่นสงครามใน บอสเนีย เซอร์เบีย โคโซโว ติมอร์ โซมาเลีย ก็เริ่มเป็นประเด็นขึ้นมาว่า เกิดสงครามขึ้นภายในประเทศ มีการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ เพราะฉะนั้น ถ้าจะยึดหลักไม่แทรกแซงกิจการภายในประเทศอื่น ก็ต้องปล่อยให้ฆ่ากันไป สงครามบอสเนียก็ต้องปล่อยให้ฆ่ากันไป จะตายเป็นแสนเป็นล้าน ก็เป็นเรื่องภายในประเทศ แต่ตอนนี้ มนุษยชาติเริ่มพัฒนามาถึงจุดที่ว่า เรามีประชาคมโลกเกิดขึ้นแล้ว UN และ NATO รู้สึกว่า ปล่อยไว้แบบนี้ไม่ได้แล้ว จำเป็นต้องเข้าแทรกแซง ถ้ามีการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ และจะมายึดหลักไม่แทรกแซงกิจการภายในไม่ได้อีกแล้ว
เพราะฉะนั้น ในช่วงที่ผ่านมา concept ของคำว่า “อำนาจอธิปไตย” เริ่มเปลี่ยน คือในอดีต ถือว่า อำนาจอธิปไตยเป็น absolute sovereignty ยุ่งไม่ได้ แต่ในช่วงสิบกว่าปีที่ผ่านมา concept เปลี่ยนในลักษณะว่า อำนาจอธิปไตยเปลี่ยนได้ ถอดถอนได้ อำนาจอธิปไตยไม่ใช่ absolute อีกต่อไป แต่กลายเป็น conditional sovereignty เริ่มมีกติกาใหม่เกิดขึ้นในโลก ว่า ถ้ารัฐบาลดี ประพฤติตัวดี รัฐบาลนั้นจะมีอำนาจอธิปไตย จะไม่มีใครเข้าไปแทรกแซง แต่ถ้ารัฐบาลทำตัวไม่ดี เข่นฆ่าประชาชน เป็นกลไกฆ่าล้างเผ่าพันธุ์เสียเอง รัฐบาลนั้น อำนาจอธิปไตยนั้น จะถูกถอดถอน และประชาคมโลกก็มีสิทธิเข้าไปแทรกแซง
UN ก็เข้าไปแทรกแซง มีconcept เกิดขึ้นเรียกว่า humanitarian intervention หรือการแทรกแซงด้วยหลักการมนุษยธรรม UN ใช้หลักการนี้ คณะมนตรีความมั่นคงก็ใช้หลักการนี้หลายครั้ง
สำหรับระดับของการแทรกแซงก็มีหลายระดับ ถ้าเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนเล็กน้อย เช่นการไม่ให้ประชาชนออกเสียงเลือกตั้ง หรือลิดรอนสิทธิเสรีภาพของสื่อก็ยังไม่ต้องแทรกแซงอะไรกันมาก แต่ถ้าไปถึงขั้นฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ ฆ่ากันตายเป็นแสนเป็นล้าน อันนี้คงจะไม่ได้แล้ว ต้องแทรกแซงแล้ว ตัวอย่างเช่น ตอนนี้เหมือนกับว่าทาง UN ก็แทรกแซงพม่า แต่ก็แทรกแซงเล็กน้อยด้วยการส่ง Gambali ไปเจรจา แต่ไม่ได้มีมาตรการที่จะไปลงโทษ ยังไม่มีมาตรการว่า จะต้องส่งทหารเข้าไปล้มรัฐบาลทหารพม่า
อย่างไรก็ตาม มีคำถามว่า ทำไมบางที UN หรืออเมริกาถึงเข้าไปแทรกแซง ทำไมบางกรณี UN หรือ อเมริกาถึงเฉยๆ คำตอบก็คือ ต้องย้อนกลับไปดูเรื่องผลประโยชน์แห่งชาติว่า การละเมิดสิทธิมนุษยชนมีผลประโยชน์ของอเมริกาเกี่ยวข้องด้วยหรือไม่ อเมริกาจะได้ประโยชน์อะไร ในการเข้าไปแทรกแซง นอกจากเรื่องสิทธิมนุษยชนมีเรื่องอื่นด้วยหรือไม่ ตัวอย่างเช่น ในกรณีของคาบสมุทรบอลข่าน มีผลประโยชน์ทางด้านยุทธศาสตร์ เพราะอเมริกาต้องการเข้าไปในบอลข่าน เพื่อลดอิทธิพลของรัสเซีย เป็นยุทธศาสตร์ใหญ่ของสหรัฐ อเมริกาจึงอยากเข้าไปยุ่งในโคโซโว ในบอสเนียมาก เพราะเข้าไปแล้วจะได้มีอิทธิพลมากขึ้น แต่ในกรณีของ Rwanda มีการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ คนตายเป็นล้านในปี 1994 แต่ตอนนั้น อเมริกากลับเฉยๆ ก็เพราะว่า Rwanda ไม่มีผลประโยชน์อะไรให้อเมริกา ก็เลยเหมือนเป็นการเลือกปฏิบัติ
และก็ต้องดูด้วยว่า จะแทรกแซงได้หรือแทรกแซงไม่ได้ก็ขึ้นอยู่กับว่า เข้าไปแทรกแซงในประเทศเล็กหรือประเทศใหญ่ ถ้าประเทศเล็กก็แทรกแซงได้ง่าย แต่สำหรับประเทศใหญ่ ประเทศมหาอำนาจ ถามว่า ใครจะกล้าเข้าไปแทรกแซงในจีนหรือในรัสเซีย ใครจะกล้าเข้าไปในทิเบต ใครจะกล้าเข้าไป Chechnyaในรัสเซีย ใครจะกล้าเข้าไปยุ่ง ก็ไม่มีใครกล้าเข้าไปยุ่ง อันนี้เลยเป็นการเลือกปฏิบัติ คือ บางกรณีที่แทรกแซงได้ บางกรณีก็แทรกแซงไม่ได้
ตีพิมพ์ใน: หนังสือพิมพ์ไทยโพสต์
คอลัมน์กระบวนทรรศน์ในวันนี้ ผมจะวิเคราะห์ถึงปัญหาเกี่ยวกับหลักการไม่แทรกแซงกิจการภายใน โดยจะได้กล่าวถึงประวัติความเป็นมาของหลักการนี้ และวิวัฒนาการมาถึงปัจจุบันที่ความหมายของหลักการนี้ได้เปลี่ยนแปลงไป โดยเฉพาะที่มาเชื่อมโยงกับสิทธิมนุษยชน และเรื่องอำนาจอธิปไตย โดยในตอนแรก ผมจะได้กล่าวถึงหลักการที่เปลี่ยนไปในระดับโลก และตอนต่อไป จะมาดูในบริบทของอาเซียน และจะวิเคราะห์ถึงจุดยืนและท่าทีของไทย ต่อหลักการดังกล่าว
ประวัติศาสตร์ความเป็นมาในอดีต
หลักการนี้เกิดขึ้นมาพร้อมกันสนธิสัญญา Westphalia ตั้งแต่ ปีค.ศ.1648 คือการเป็นที่มาของการเกิดรัฐชาติ ก่อนหน้านั้น อำนาจอยู่ในมือของศาสนาจักรในยุโรป ในยุคนั้น คำว่าประเทศไม่มี เพราะว่าอาณาจักรหรือกษัตริย์ อำนาจต้องขึ้นอยู่กับวาติกัน สันตะปาปา พอเกิดสนธิสัญญา Westphalia ขึ้นมา สัญญานี้บอกว่า ต่อไปนี้ จะมีการกำหนดเป็นรัฐชาติขึ้นมา (ซึ่งก็คือประเทศในปัจจุบัน) และมีกติกาว่า ประเทศต้องมีอำนาจอธิปไตย อำนาจอธิปไตยหมายความว่า สิ่งที่เกิดขึ้นภายในประเทศ ถือเป็นเรื่องภายในของประเทศนั้น คนอื่นไม่เกี่ยว จึงเกิดหลักการไม่แทรกแซงกิจการภายในของประเทศอื่น กิจการภายใน เป็นอำนาจของประเทศนั้น ถ้าเข้าไปแทรกแซง ก็เป็นการล่วงล้ำอำนาจอธิปไตยของประเทศนั้น
นี่เป็นการกำหนดกติกาใหม่ขึ้น เพื่อไม่ให้ศาสนาจักร ผู้นำศาสนาที่กรุงโรม เข้ามาแทรกแซงอำนาจของกษัตริย์ในสมัยนั้น จึงเกิดหลักเกณฑ์นี้ขึ้นมา ต่อมาหลักเกณฑ์นี้แผ่ขยายออกไป จากการมีรัฐชาติเกิดขึ้นในยุโรป ตอนหลังเมื่อยุโรปล่าอาณานิคม แล้วเกิดเป็นเมืองขึ้นทั่วโลก พอเมืองขึ้นเหล่านี้เป็นเอกราช เมืองขึ้นเหล่านี้ก็เดินตามยุโรป สร้างเป็นรัฐชาติขึ้นมา ตอนนี้มี 190 กว่าประเทศ เป็นหน่วยทางการเมืองที่สำคัญที่สุด เรื่องที่สำคัญคืออำนาจอธิปไตย ก่อนหน้านั้นไม่มีพรมแดนตายตัว พอมีรัฐชาติขึ้นมา มีการตีเส้น มีพรมแดนชัดเจน และมีรัฐบาลกลางเกิดขึ้น และสิ่งที่เกิดขึ้น ในพื้นที่สี่เหลี่ยมของประเทศนี้คือ เป็นเรื่องของประเทศนี้ ประเทศอื่นไม่มีสิทธิ์เข้าไปยุ่ง นี่คือหัวใจของหลักการไม่แทรกแซงกิจการภายใน ตอนหลัง ก็พัฒนากลายเป็นหลักการสากล
การเปลี่ยนแปลงของหลักการในระดับโลกในปัจจุบัน
แต่ต่อมา ก็เกิดปัญหาขึ้นในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 มีการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ เยอรมันนาซีฆ่าชาวยิว 6 ล้านคน แล้วถ้าเรายึดหลักการนี้ว่า มันก็เรื่องของฉัน ฉันจะฆ่าใครยังไงก็ได้ ที่อยู่ในประเทศฉัน คนอื่นไม่เกี่ยว ถ้าฉันจะฆ่าชาวยิว 6 ล้านคนก็เป็นเรื่องของฉัน การยึดหลักการไม่แทรกแซงกิจการภายใน ทำให้เกิดการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ขึ้น เพราะฉะนั้น หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 โลกเริ่มเปลี่ยน เริ่มมีการตั้ง UN เริ่มมีการทำปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนขึ้นมา ก่อนหน้านี้ สิทธิมนุษยชนเป็นเรื่องภายในประเทศ เป็นเรื่องระหว่างผู้ปกครองกับผู้ถูกปกครองภายในประเทศ คนอื่นไม่เกี่ยว แต่หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 หลังจากมี UN หลังจากมีปฏิญญาสากลสิทธิมนุษยชน คำว่า สิทธิมนุษยชนจึงกลายเป็นสากล หมายความว่า ถ้ามีการละเมิดสิทธิมนุษยชนในประเทศ จะอ้างว่านี่เป็นเรื่องภายในของฉัน คนอื่นไม่เกี่ยวต่อไปไม่ได้อีกแล้ว เมื่อมีการละเมิดสิทธิมนุษยชนประชาคมโลกก็มีสิทธิที่จะเข้าไปแทรกแซง เพื่อที่จะปกป้องสิทธิมนุษยชน
ดังนั้น ความเป็นสากลของสิทธิมนุษยชน จึงเป็นการบั่นทอนหลักการไม่แทรกแซงกิจการภายใน
เรื่องสิทธิมนุษยชนกลายเป็นเรื่องสำคัญ และเป็นสาเหตุที่ทำให้ประชาคมโลกบอกว่า รัฐบาลจะเอาเรื่องหลักการไม่แทรกแซงกิจการภายในมาอ้างไม่ได้ หากรัฐบาลเข่นฆ่าประชาชน และฆ่าล้างเผ่าพันธุ์
ต่อมาในช่วงหลังสงครามเย็น เมื่อประมาณเกือบ 20 ปีที่ผ่านมา ก็เกิดสงครามในลักษณะใหม่ คือสงครามไม่ได้เกิดระหว่างประเทศ A กับประเทศ B แต่กลายเป็นสงครามระหว่างคน 2 กลุ่มภายในประเทศ และมีการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์เกิดขึ้นมาก มีลักษณะที่รัฐบาลกลายเป็นกลไกฆ่าล้างเผ่าพันธุ์เสียเอง ตัวอย่างเช่นสงครามใน บอสเนีย เซอร์เบีย โคโซโว ติมอร์ โซมาเลีย ก็เริ่มเป็นประเด็นขึ้นมาว่า เกิดสงครามขึ้นภายในประเทศ มีการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ เพราะฉะนั้น ถ้าจะยึดหลักไม่แทรกแซงกิจการภายในประเทศอื่น ก็ต้องปล่อยให้ฆ่ากันไป สงครามบอสเนียก็ต้องปล่อยให้ฆ่ากันไป จะตายเป็นแสนเป็นล้าน ก็เป็นเรื่องภายในประเทศ แต่ตอนนี้ มนุษยชาติเริ่มพัฒนามาถึงจุดที่ว่า เรามีประชาคมโลกเกิดขึ้นแล้ว UN และ NATO รู้สึกว่า ปล่อยไว้แบบนี้ไม่ได้แล้ว จำเป็นต้องเข้าแทรกแซง ถ้ามีการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ และจะมายึดหลักไม่แทรกแซงกิจการภายในไม่ได้อีกแล้ว
เพราะฉะนั้น ในช่วงที่ผ่านมา concept ของคำว่า “อำนาจอธิปไตย” เริ่มเปลี่ยน คือในอดีต ถือว่า อำนาจอธิปไตยเป็น absolute sovereignty ยุ่งไม่ได้ แต่ในช่วงสิบกว่าปีที่ผ่านมา concept เปลี่ยนในลักษณะว่า อำนาจอธิปไตยเปลี่ยนได้ ถอดถอนได้ อำนาจอธิปไตยไม่ใช่ absolute อีกต่อไป แต่กลายเป็น conditional sovereignty เริ่มมีกติกาใหม่เกิดขึ้นในโลก ว่า ถ้ารัฐบาลดี ประพฤติตัวดี รัฐบาลนั้นจะมีอำนาจอธิปไตย จะไม่มีใครเข้าไปแทรกแซง แต่ถ้ารัฐบาลทำตัวไม่ดี เข่นฆ่าประชาชน เป็นกลไกฆ่าล้างเผ่าพันธุ์เสียเอง รัฐบาลนั้น อำนาจอธิปไตยนั้น จะถูกถอดถอน และประชาคมโลกก็มีสิทธิเข้าไปแทรกแซง
UN ก็เข้าไปแทรกแซง มีconcept เกิดขึ้นเรียกว่า humanitarian intervention หรือการแทรกแซงด้วยหลักการมนุษยธรรม UN ใช้หลักการนี้ คณะมนตรีความมั่นคงก็ใช้หลักการนี้หลายครั้ง
สำหรับระดับของการแทรกแซงก็มีหลายระดับ ถ้าเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนเล็กน้อย เช่นการไม่ให้ประชาชนออกเสียงเลือกตั้ง หรือลิดรอนสิทธิเสรีภาพของสื่อก็ยังไม่ต้องแทรกแซงอะไรกันมาก แต่ถ้าไปถึงขั้นฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ ฆ่ากันตายเป็นแสนเป็นล้าน อันนี้คงจะไม่ได้แล้ว ต้องแทรกแซงแล้ว ตัวอย่างเช่น ตอนนี้เหมือนกับว่าทาง UN ก็แทรกแซงพม่า แต่ก็แทรกแซงเล็กน้อยด้วยการส่ง Gambali ไปเจรจา แต่ไม่ได้มีมาตรการที่จะไปลงโทษ ยังไม่มีมาตรการว่า จะต้องส่งทหารเข้าไปล้มรัฐบาลทหารพม่า
อย่างไรก็ตาม มีคำถามว่า ทำไมบางที UN หรืออเมริกาถึงเข้าไปแทรกแซง ทำไมบางกรณี UN หรือ อเมริกาถึงเฉยๆ คำตอบก็คือ ต้องย้อนกลับไปดูเรื่องผลประโยชน์แห่งชาติว่า การละเมิดสิทธิมนุษยชนมีผลประโยชน์ของอเมริกาเกี่ยวข้องด้วยหรือไม่ อเมริกาจะได้ประโยชน์อะไร ในการเข้าไปแทรกแซง นอกจากเรื่องสิทธิมนุษยชนมีเรื่องอื่นด้วยหรือไม่ ตัวอย่างเช่น ในกรณีของคาบสมุทรบอลข่าน มีผลประโยชน์ทางด้านยุทธศาสตร์ เพราะอเมริกาต้องการเข้าไปในบอลข่าน เพื่อลดอิทธิพลของรัสเซีย เป็นยุทธศาสตร์ใหญ่ของสหรัฐ อเมริกาจึงอยากเข้าไปยุ่งในโคโซโว ในบอสเนียมาก เพราะเข้าไปแล้วจะได้มีอิทธิพลมากขึ้น แต่ในกรณีของ Rwanda มีการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ คนตายเป็นล้านในปี 1994 แต่ตอนนั้น อเมริกากลับเฉยๆ ก็เพราะว่า Rwanda ไม่มีผลประโยชน์อะไรให้อเมริกา ก็เลยเหมือนเป็นการเลือกปฏิบัติ
และก็ต้องดูด้วยว่า จะแทรกแซงได้หรือแทรกแซงไม่ได้ก็ขึ้นอยู่กับว่า เข้าไปแทรกแซงในประเทศเล็กหรือประเทศใหญ่ ถ้าประเทศเล็กก็แทรกแซงได้ง่าย แต่สำหรับประเทศใหญ่ ประเทศมหาอำนาจ ถามว่า ใครจะกล้าเข้าไปแทรกแซงในจีนหรือในรัสเซีย ใครจะกล้าเข้าไปในทิเบต ใครจะกล้าเข้าไป Chechnyaในรัสเซีย ใครจะกล้าเข้าไปยุ่ง ก็ไม่มีใครกล้าเข้าไปยุ่ง อันนี้เลยเป็นการเลือกปฏิบัติ คือ บางกรณีที่แทรกแซงได้ บางกรณีก็แทรกแซงไม่ได้
ประวัติ
รศ. ดร. ประภัสสร์ เทพชาตรี
1.
การศึกษา
·
ระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษา : โรงเรียนอัสสัมชัญ (บางรัก)
·
ปริญญาตรี : รัฐศาสตร์บัณฑิต
สาขาการระหว่างประเทศ
คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
·
ปริญญาโท : M.A. in
Political Science ( International Relations)
Ohio University, U.S.A.
·
ปริญญาเอก : Ph.D.
in Political Science ( International Relations) University
of Georgia, U.S.A.
2. ตำแหน่งหน้าที่ในปัจจุบัน
·
ผู้อำนวยการศูนย์อาเซียนศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
· รองศาสตราจารย์ ระดับ 9 ประจำคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
· นายก สมาคมอเมริกาศึกษาในประเทศไทย
· สมาชิก
กลุ่มด้านยุทธศาสตร์ คลังสมอง วปอ.เพื่อสังคม
· กรรมการ
คณะกรรมการบริหารวิทยาลัยนานาชาติปรีดี พนมยงค์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
· อนุกรรมการด้านบุคลากร
ภายใต้คณะกรรมการประชาคมอาเซียน สำนักงานเลขาธิการผู้แทนราษฎร
3.
ประวัติการทำงานในอดีต
· ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
· รองคณบดีฝ่ายวิจัยและพัฒนา คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
· กรรมการ
คณะกรรมการบริหารงานวิจัย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
· กรรมการ
คณะกรรมการที่ปรึกษา ศูนย์ศึกษายุทธศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ
80 พรรษา กองทัพไทย
·
กรรมการ
คณะกรรมการจัดทำพจนานุกรมศัพท์รัฐศาสตร์ราชบัณฑิตยสถาน
·
ที่ปรึกษา
คณะกรรมการความร่วมมือด้านวิชาการเอเชียตะวันออก กระทรวงการต่างประเทศ
·
ผู้อำนวยการ
ศูนย์ศึกษานโยบายระหว่างประเทศ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
· กรรมการ สมาคมสังคมศาสตร์แห่งประเทศไทย
· เจ้าหน้าที่การทูต 7
กรมเอเชียตะวันออก กระทรวงการต่างประเทศ
· กงสุล สถานกงสุลใหญ่ ณ
นครโอซากา ประเทศญี่ปุ่น
·
เลขานุการโท กรมอาเซียน
กระทรวงการต่างประเทศ
·
เลขานุการตรี กรมเศรษฐกิจ
กระทรวงการต่างประเทศ
4. งานเขียน
·
2556
-
“สู่การจัดตั้งประชาคมอาเซียน” ใน วิเทศคดี วิเทโศบาย
รวมบทความด้านการระหว่างประเทศในโอกาสเกษียณอายุราชการ รองศาตราจารย์ ดร.โคริน
เฟื่องเกษม. กรุงเทพฯ : ภาพพิมพ์
, 2556 : 100 – 128.
·
2555
- สถานการณ์โลกปี
2011-2012. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์เสมาธรรม , 2555.
- ไทยกับการเตรียมความพร้อมสู่ประชาคมอาเซียน
2015. กรุงเทพฯ : มิสเตอร์ก๊อปปี้ , 2555.
·
2554
-
ความสัมพันธ์ไทย-สหรัฐฯ : อดีต ปัจจุบัน และอนาคต. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2554. (โครงการจัดพิมพ์และเผยแพร่ผลงานวิจัย คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ลำดับที่ 1)
- ประชาคมอาเซียน. กรุงเทพฯ
: สำนักพิมพ์เสมาธรรม , 2554.
- ยุทธศาสตร์สหรัฐฯต่อเอเชียตะวันออกเฉียงใต้. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์เสมาธรรม,2554.
- สถานการณ์โลกปี 2553 และแนวโน้มปี 2554. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์เสมาธรรม ,2554.
- ยุทธศาสตร์สหรัฐฯต่อเอเชียตะวันออกเฉียงใต้. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์เสมาธรรม,2554.
- สถานการณ์โลกปี 2553 และแนวโน้มปี 2554. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์เสมาธรรม ,2554.
·
2553
- “A Thai Perspective : Regionalism An Asian
Conversation ” The Asialink Essay Vol.2 No.4 (2010) P.11-13.
- ประชาคมเอเชียตะวันออก. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์เสมาธรรม , 2553.
- ประชาคมเอเชียตะวันออก. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์เสมาธรรม , 2553.
· 2552
- ไทยกับการเป็นประธานอาเซียน. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์เสมาธรรม (บรรณาธิการ)
- การประชุมสุดยอดอาเซียนครั้งที่
14.
กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์เสมาธรรม,(หนังสือวิชาการลำดับที่
5โครงการอาเซียนศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์) (บรรณาธิการ)
- ประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์เสมาธรรม, (หนังสือวิชาการลำดับที่ 4โครงการอาเซียนศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์) (บรรณาธิการ)
-
“The Rise of China and India and Its Implications for Southeast Asia : A Thai
Perspective” The
Rise of China and India : A New Asian Drama, in Lam Peng Er and Lim Tai Wei (ed.), published by World
Scientific Publishing Co.Pte.Ltd. (2009)
- ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์เสมาธรรม, (หนังสือวิชาการ ลำดับที่ 2โครงการอาเซียนศึกษา
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์) (บรรณาธิการ)
- สู่ประชาคมอาเซียน
2015.
กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย,
(หนังสือวิชาการลำดับที่
1 โครงการอาเซียนศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์) (บรรณาธิการ)
- ประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน.
กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์เสมาธรรม, (หนังสือวิชาการลำดับที่
2โครงการอาเซียนศึกษา
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์)
(บรรณาธิการ)
·
2550
- การก่อการร้ายสากล. กรุงเทพฯ : สถาบันพระปกเกล้า, บริษัท งานดีครีเอชั่น จำกัด ,
2550.
· 2549
- “ASEAN-Japan
Cooperation: Towards an East Asian Community” in Siriporn
Wajjwalku (ed.), Japan-ASEAN Beyond Economic Partnership:
Toward an East
Asian Community? Bangkok,
Borpitt Printing, 2006.
- หน่วยที่
4 “เศรษฐกิจการเมืองโลกยุคหลังสงครามเย็น” เอกสารการสอนชุดกระแส
โลกศึกษา หน่วยที่ 1-7 นนทบุรี: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช 2548. หน้า 4-1 ถึง 4-56.
โลกศึกษา หน่วยที่ 1-7 นนทบุรี: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช 2548. หน้า 4-1 ถึง 4-56.
· 2548
-
“หน่วยที่ 9 ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับญี่ปุ่น” เอกสารการสอนชุดความสัมพันธ์
ระหว่างไทยกับต่างประเทศ หน่วยที่ 6-10 นนทบุรี:
สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช 2548. หน้า 9-1 ถึง 9-55.
ระหว่างไทยกับต่างประเทศ หน่วยที่ 6-10 นนทบุรี:
สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช 2548. หน้า 9-1 ถึง 9-55.
·
2546
-
“วิสัยทัศน์นโยบายต่างประเทศในสหัสวรรษใหม่” อุโฆษสาร 2000
สังคมไทยจาก
พุทธศตวรรษที่ 25 สู่คริสตศตวรรษที่ 21 เล่ม 2กรุงเทพฯ: สมาคมอัสสัมชัญ 2546.
พุทธศตวรรษที่ 25 สู่คริสตศตวรรษที่ 21 เล่ม 2กรุงเทพฯ: สมาคมอัสสัมชัญ 2546.
·
2545
-
สถานการณ์โลกปี 2545 ผลกระทบต่อไทย กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัย
ธรรมศาสตร์ 2545
(บรรณาธิการ)
-“วิสัยทัศน์นโยบายต่างประเทศไทยในสหัสวรรษใหม่” สราญรมย์ ปี 29 (2545)
·
2544
- รวมงานเขียนและปาฐกถา เรื่อง
การต่างประเทศของไทยจากอดีตถึงปัจจุบัน
กรุงเทพฯ: ธาราฉัตรการพิมพ์ 2544.
- “โครงสร้างและกระบวนการของความสัมพันธ์ไทย-ญี่ปุ่น” ใน นครินทร์
เมฆไตรรัตน์ และคณะบรรณาธิการ นรนิติ เศรษฐบุตร : 60 ปี กีรตยาจารย์ เล่มหนึ่ง กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 2544 น.41 – 64
เมฆไตรรัตน์ และคณะบรรณาธิการ นรนิติ เศรษฐบุตร : 60 ปี กีรตยาจารย์ เล่มหนึ่ง กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 2544 น.41 – 64
-
บทบาทของสหประชาชาติในสหัสวรรษใหม่ กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
2544.
·
2543
- นโยบายต่างประเทศของไทย : จากวิกฤตเศรษฐกิจสู่สหัสวรรษใหม่. กรุงเทพฯ :
โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2543.
·
2542
- “Thailand’s Foreign
Policy in The
Era of Economic
Crisis.” MIR Newsletter
Vol. No.3 (January – March 1999) : 3 – 4
Vol. No.3 (January – March 1999) : 3 – 4
·
2529
- “Political Economy
of Global Trade
Problems : The Regime Perspective.”
วารสารสราญรมย์ (2529) : 52-60
วารสารสราญรมย์ (2529) : 52-60
5. สถานที่ปฏิบัติงาน ศูนย์อาเซียนศึกษา
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ห้อง 115 อาคารโดมบริหาร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ศูนย์รังสิต
โทร.
: 02-564-4444-79 ต่อ 1552
โทรสาร :
02-564-4444-79 ต่อ 1555
E-mail : prapat@tu.ac.th
-----------------------------------------------------
18 กันยายน 2557
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)