ผลการประชุม G 20 เพื่อการปฏิรูประบบการเงินโลก
ไทยโพสต์ เสาร์ที่ 22 พฤศจิกายน 2551 ปีที่ 13 ฉบับที่ 4407
เมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายนที่ผ่านมา ได้มีการจัดประชุมสุดยอด G 20 ขึ้นเป็นครั้งแรก เพื่อหารือถึงการปฏิรูประบบการเงินโลก คอลัมน์กระบวนทรรศน์ในวันนี้ ผมจะได้วิเคราะห์ถึงผลการประชุมในครั้งนี้ และประเมินความสำเร็จและความล้มเหลว
ภูมิหลัง
ภายหลังจากเกิดวิกฤติการเงินลุกลามไปทั่วโลก ผู้นำโลกตะวันตกเริ่มตื่นตัวที่จะหาวิธีการแก้ไขอย่างจริงจัง โดยสหรัฐได้เป็นเจ้าภาพจัดประชุมสุดยอด G 20 ครั้งแรกขึ้น ในวันที่ 15 พฤศจิกายนที่กรุง Washington D.C. การประชุมครั้งนี้มีชื่ออย่างเป็นทางการว่า “Summit on Financial Markets and the World Economy” การประชุมวันที่ 15 เป็นการประชุมสุดยอดครั้งแรก ซึ่งตามแผนจะมีการประชุมอีกหลายครั้ง การประชุมครั้งแรกเน้นเรื่องการตกลงหลักการกว้างๆ ส่วนรายละเอียดนั้น จะให้รัฐมนตรีคลังศึกษาและเสนอต่อการประชุมสุดยอดครั้งต่อไป
ผลการประชุม
สำหรับผลการประชุมซึ่งได้แถลงออกมาในรูปของปฏิญญา ได้เน้นว่า จากภาวะเศรษฐกิจที่กำลังทรุดหนักลงทั่วโลก ที่ประชุมจึงตกลงที่จะต้องมีนโยบายเพื่อตอบสนอง โดยเน้นในเรื่องความร่วมมือเศรษฐกิจมหภาคให้ใกล้ชิดยิ่งขึ้น และจะร่วมมือกันผลักดันมาตรการเพื่อสร้างเสถียรภาพให้กับระบบการเงิน ที่ประชุม G 20 ได้เน้นบทบาทของ IMF โดยเฉพาะบทบาทในการตอบสนองต่อวิกฤติการณ์ มาตรการเสริมสภาพคล่อง และการปรับปรุงกลไกต่างๆ เพื่อให้มีความยืดหยุ่นมากขึ้น G 20 ยังได้เน้นบทบาทของธนาคารโลก และธนาคารเพื่อการพัฒนาพหุภาคีต่างๆ โดยย้ำว่า สถาบันเหล่านี้จะต้องมีทรัพยากรเพียงพอ ที่จะเล่นบทในการกอบกู้วิกฤติ
ที่ประชุมจะได้มีมาตรการปฏิรูปเพื่อเสริมสร้างความแข็งแกร่งให้กับตลาดการเงิน และให้มีกลไกควบคุมตรวจสอบสถาบันการเงิน โดยการควบคุมตรวจสอบนั้น ถือเป็นความรับผิดชอบของรัฐบาลแต่ละประเทศ อย่างไรก็ตาม ตลาดการเงินในปัจจุบัน มีขอบเขตขยายไปทั่วโลก ดังนั้น จึงจำเป็นต้องมีความร่วมมือระหว่างประเทศ และต้องมีการเสริมสร้างมาตรฐานระหว่างประเทศ เพื่อปกป้องเสถียรภาพทางการเงินระหว่างประเทศ
ที่ประชุม G 20 ได้ตกลงหลักการ 5 ประการในการปฏิรูป
หลักการประการแรก คือ การเสริมสร้างความโปร่งใส โดยเน้นการสร้างความโปร่งใสในตลาดการเงิน
หลักการประการที่ 2 คือ การเสริมสร้างการควบคุมตรวจสอบ โดยจะต้องส่งเสริมกลไกควบคุมตรวจสอบ การบริหารจัดการความเสี่ยง
หลักการประการที่ 3 การส่งเสริมหลักธรรมาภิบาลในตลาดการเงิน โดยจะต้องมีการปกป้องทั้งผู้บริโภคและผู้ลงทุน หลีกเลี่ยงผลประโยชน์ทับซ้อน การบิดเบือนกลไกตลาดอย่างผิดกฎหมาย
หลักการประการที่ 4 เป็นเรื่องของการส่งเสริมความร่วมมือระหว่างประเทศ โดยเน้นในเรื่องของการกำหนดมาตรการ กำหนดการควบคุมตรวจสอบสถาบันการเงิน โดยส่งเสริมความร่วมมือ และประสานงานในการควบคุมตรวจสอบ ซึ่งรวมถึงการไหลเวียนของเงินทุนข้ามชาติ
หลักการสุดท้าย หลักการประการที่ 5 คือ การปฏิรูปสถาบันการเงินระหว่างประเทศ G 20 ตกลงจะให้มีการปฏิรูปสถาบัน Bretton Woods (คือ IMF และธนาคารโลก) โดยจะต้องทำให้สถาบันดังกล่าว สะท้อนถึงการเปลี่ยนแปลงของโครงสร้างเศรษฐกิจโลก เพื่อจะทำให้สถาบันดังกล่าวมีความชอบธรรม และมีประสิทธิภาพมากขึ้น ดังนั้น ประเทศกำลังพัฒนาจึงควรจะมีสิทธิ์มีเสียงในสถาบันเหล่านี้มากขึ้น
อย่างไรก็ตาม ในตอนท้ายของปฏิญญา ก็มีข้อความในลักษณะติดเบรกการปฏิรูป ซึ่งน่าจะเป็นการผลักดันจากทางฝ่ายสหรัฐ โดยในปฏิญญาได้กล่าวในตอนท้ายว่า การปฏิรูปเหล่านี้จะสำเร็จได้ จะต้องตั้งอยู่บนพื้นฐานและหลักการของตลาดเสรี และจะต้องหลีกเลี่ยงไม่ให้มีมาตรการควบคุมสถาบันการเงินมากเกินไป
ในตอนสุดท้าย กลุ่ม G 20 ได้มีการตกลงว่า จะมีการประชุมครั้งต่อไป ในช่วงเดือนเมษายน 2009
ความสำเร็จหรือความล้มเหลว?
· โดยภาพรวมแล้ว ถ้าจะให้ผมประเมิน ถ้าดูจากความคาดหวังก่อนการประชุมว่าการประชุมครั้งนี้ จะเป็นการประชุมครั้งประวัติศาสตร์ โดยอาจจะมีข้อตกลงการปฏิรูประบบการเงินโลกแบบถอนรากถอนโคน แต่ผลออกมาแล้ว ปรากฏว่า เป็นที่น่าผิดหวัง เพราะข้อตกลงต่างๆไม่ได้มีลักษณะการปฏิรูปอย่างจริงจัง มาตรการส่วนใหญ่มีลักษณะเป็นการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงเล็กน้อย โดยไม่ได้มีมาตรการที่เป็นรูปธรรม ที่จะกอบกู้วิกฤติการเงินโลกครั้งใหญ่ครั้งนี้ได้
อย่างไรก็ตาม การประชุมครั้งนี้ก็ถือเป็นครั้งประวัติศาสตร์ เพราะเป็นการประชุมสุดยอดครั้งแรกของกลุ่ม G 20 โดยก่อนหน้านี้ การประชุมสุดยอดจะมีระดับ G 8 เท่านั้น ก่อนหน้านี้ ตะวันตกยังคงหวงก้าง ไม่อยากขยายวงออกไปรวมประเทศกำลังพัฒนา แต่จากวิกฤติคราวนี้ ทำให้ตะวันตกต้องกัดฟันขยายวงจาก G 8 เป็น G 20 ซึ่งเราคงต้องดูกันต่อไปว่า การประชุมสุดยอด G 20 จะกลายเป็นกลไกถาวรในอนาคตได้หรือไม่ ซึ่งถ้าเป็นเช่นนั้น ก็เท่ากับเป็นการยกระดับบทบาทของประเทศกำลังพัฒนา โดยเฉพาะการยกระดับบทบาทของจีนและอินเดีย แต่ผมยังไม่แน่ใจ เพราะการประชุมสุดยอด G 20 อาจจะเป็นลักษณะเฉพาะกิจก็ได้
· หลังจากการประชุมเสร็จสิ้นลง มีหลายฝ่ายมองว่า การประชุมครั้งนี้ล้มเหลว เพราะไม่ได้มีการปฏิรูปอย่างจริงจัง และมาตรการต่างๆก็ไม่ได้มีอะไรใหม่ เป็นมาตรการที่รู้ๆกันอยู่แล้ว และหลายๆเรื่องก็กำลังดำเนินการอยู่แล้ว มาตรการเหล่านี้ ดูแล้วเหมือนจะเป็นมาตรการ “ซ่อม” มากกว่าจะเป็นมาตรการปฏิรูประบบการเงินโลกอย่างจริงจัง
· นอกจากนี้ มาตรการที่ G 20 ตกลง ส่วนใหญ่เป็นหลักการกว้างๆ ไม่ค่อยมีรายละเอียด และหลายมาตรการก็กำกวมว่า จะเป็นมาตรการของแต่ละประเทศ หรือจะเป็นมาตรการความร่วมมือระหว่างประเทศ
· ดัชนีบ่งชี้ถึงความล้มเหลวของการประชุม G 20 คือ การตอบสนองของตลาดหุ้นทั่วโลก หลังจากทราบข่าวผลการประชุม ปรากฏว่า ตลาดหุ้นทั่วโลกไม่ได้ดีขึ้น บางแห่งหุ้นก็ตกลงเสียด้วยซ้ำ โดยนักวิเคราะห์หุ้นมองว่า เป็นผลมาจากตลาดหุ้นไม่เห็นว่า การประชุมจะช่วยกอบกู้วิกฤติการเงินโลกได้อย่างไร โดยมองว่าการประชุมมีผลเพียงในเชิงสัญลักษณ์เท่านั้น ไม่มีผลในเชิงรูปธรรม ตลาดหุ้นรู้สึกผิดหวังที่ไม่ได้มีการประกาศมาตรการความร่วมมืออย่างจริงจัง โดยเฉพาะความร่วมมือในมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ
· ความล้มเหลวของการประชุม G 20 ในครั้งนี้ เป็นผลมาจาก ท่าทีที่ขัดแย้งกัน ระหว่างสหรัฐ ยุโรป และเอเชีย
โดยทางยุโรปนั้น มีท่าทีชัดเจน ที่ต้องการให้มีการปฏิรูประบบการเงินโลกอย่างถอนรากถอนโคน ทั้ง Gordon Brown นายกรัฐมนตรีอังกฤษ และนาย Nicolas Sarkozy ประธานาธิบดีฝรั่งเศส ก็พูดเป็นเสียงเดียวกัน เรียกร้องให้มีการปฏิรูป ควบคุมระบบการเงินโลก ผู้นำยุโรปหลายคนเสนอให้มีการจัดตั้งกลไกควบคุมระบบการเงินโลกขึ้นมาใหม่ ให้มีการปฏิรูประบบทุนนิยมโลกครั้งใหญ่ ยุโรปต้องการระบบการเงินโลกใหม่ หรือ Bretton Woods II
แต่รัฐบาล Bush กลับมีท่าทีไม่เห็นด้วยกับข้อเสนอการปฏิรูปของยุโรป โดย Bush ได้ออกมาพูดหลายครั้งว่า การปฏิรูประบบการเงินโลกจะต้องไม่กระทบต่อระบบทุนนิยมเสรี ระบบกลไกตลาด และการค้าเสรี ซึ่งเป็นหลักการพื้นฐานของทุนนิยมแบบอเมริกัน รัฐบาล Bush ยังคงยืนยันในหลักการว่า กลไกภาครัฐควรจะเข้าไปแทรกแซงกลไกตลาดให้น้อยที่สุด
เบื้องหลังท่าทีของสหรัฐ ก็คือ สหรัฐซึ่งเป็นอภิมหาอำนาจอำนาจอันดับ 1 ของโลก มีความหวาดระแวงต่อข้อเสนอของประเทศอื่นๆ ที่จะทำให้อิทธิพลของสหรัฐในระบบการเงินโลกลดลง โดย Bush ยังคงยืนยันว่า สหรัฐจะต้องเล่นบทเป็นผู้นำโลกต่อไปในการปฏิรูประบบการเงินโลก
แต่สำหรับท่าทีของประเทศกำลังพัฒนา โดยเฉพาะประเทศจากเอเชียนั้น มีท่าทีไม่ค่อยเห็นด้วยกับข้อเสนอของตะวันตก ที่ต้องการผลักดันการเพิ่มบทบาทของ IMF และธนาคารโลก ทั้งนี้ เพราะเอเชียไม่มีสิทธิ์มีเสียงในองค์กรดังกล่าว และมีประวัติศาสตร์อันขมขื่นกับ IMF ซึ่งถูกมองว่า ถูกครอบงำโดยตะวันตก โดยเฉพาะโดยสหรัฐอย่างสิ้นเชิง นอกจากนี้ ประสบการณ์ของเอเชียในช่วงวิกฤติต้มยำกุ้งปี 1997 นั้น IMF ก็ได้เข้ามามีอำนาจบาตรใหญ่ และบีบคั้นประเทศที่กู้เงินจาก IMF เป็นอย่างมาก ซึ่งเอเชียมองว่า มาตรการต่างๆของ IMF สอดรับกับผลประโยชน์ของสหรัฐนั่นเอง
· ความล้มเหลวของการประชุม G 20 ประการสุดท้ายที่ผมอยากจะกล่าวถึง คือ ท่าทีของสหรัฐในการประชุมครั้งนี้ เป็นท่าทีของรัฐบาล Bush ซึ่งจะบริหารประเทศได้อีกไม่กี่วัน ในขณะที่ ว่าที่ประธานาธิบดีคนใหม่ คือ นาย Barack Obama กลับไม่ได้มีบทบาทในการประชุม ดังนั้น จึงดูเหมือนกับว่า การประชุมครั้งนี้ คงจะไม่มีความหมาย เพราะค่อนข้างแน่นอนว่า รัฐบาล Obama คงจะมีท่าทีที่แตกต่างจากรัฐบาล Bush ดังนั้น ในที่สุดแล้ว เราคงจะต้องรอถึงเดือนเมษายน ปีหน้า ถึงจะเห็นถึงท่าทีของรัฐบาล Obama ในการประชุม G 20 ครั้งหน้าว่า จะส่งผลกระทบต่อการปฏิรูประบบการเงินโลกได้มากน้อยแค่ไหน
วันอังคารที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551
Obama กับสถานการณ์การเมืองโลก
Obama กับสถานการณ์การเมืองโลก
สยามรัฐสัปดาหวิจารณ์ ปีที่ 56 ฉบับที่ 9 วันศุกร์ที่ 21-พฤหัสบดีที่ 27 พฤศจิกายน 2551
คอลัมน์โลกทรรศน์ตอนที่แล้ว ผมได้วิเคราะห์ถึงนโยบายต่างประเทศของ Obama และผลกระทบต่อโลกไปแล้ว คอลัมน์ในวันนี้ ผมจะมาวิเคราะห์ต่อ เกี่ยวกับสถานการณ์การเมือง ความมั่นคงโลก ที่จะเป็นเรื่องใหญ่ๆ และเป็นการบ้านใหญ่สำหรับประธานาธิบดี Obama ถึงแม้ว่าเรื่องการกอบกู้วิกฤติการเงินสหรัฐ คงจะเป็นเรื่องที่ Obama ให้ความสำคัญมากที่สุด แต่สถานการณ์การเมืองโลก ก็คงจะไม่ปล่อยให้ Obama อยู่เฉยๆได้
อิรัก
การบ้านชิ้นแรกของประธานาธิบดี Obama คือการแก้ปัญหาอิรัก
ในปี 2006 สถานการณ์ในอิรักทรุดหนักลงอย่างมาก โดยทั้งกลุ่มก่อการร้ายซุนหนี่และชีอะฮ์ ก็โจมตีกองกำลังสหรัฐ และทั้งกลุ่มซุนหนี่และชีอะฮ์ก็ต่อสู้กันเอง จนถึงขั้นกำลังจะเกิดสงครามกลางเมือง ต่อมาหลังจากที่พรรค Democrat ได้ครองเสียงข้างมากในสภา Congress ได้มีกระแสกดดันให้ถอนทหารออกจากอิรัก
อย่างไรก็ตาม รัฐบาล Bush กลับสวนทาง ด้วยการเพิ่มกองกำลังทหารเข้าไปในอิรัก และดูเหมือนกับว่าจะได้ผลในระดับหนึ่ง เพราะหลังจากนั้น ความปั่นป่วนวุ่นวายก็สงบลง นอกจากนี้ รัฐบาล Bush ยังได้เริ่มเจรจากับกลุ่มก่อการร้ายซุนหนี่ ทั้งสหรัฐและกลุ่มซุนหนี่ต้องการให้ฝ่ายชีอะฮ์จัดตั้งรัฐบาลผสมขึ้น
นอกจากนี้ ยังได้เริ่มมีการเจรจาอย่างลับๆกับฝ่ายอิหร่าน ซึ่งสำหรับอิหร่านนั้น ตระหนักดีว่า ความเป็นไปได้ที่จะมีรัฐบาลอิรักที่ pro อิหร่านนั้น คงจะยาก สิ่งที่อิหร่านกลัวที่สุดคือ การกลับคืนมาของรัฐบาลอิรัก นำโดยกลุ่มซุนหนี่ ซึ่งจะกลับไปเหมือนสมัยรัฐบาล Saddam Hussain ซึ่งได้ทำสงครามกับอิหร่านเป็นเวลาเกือบ 10 ปี อิหร่านจึงมองว่า รัฐบาลผสมที่เป็นกลาง น่าจะเป็นทางเลือกที่ดีที่สุด
ผลพวงของความพยายามของรัฐบาล Bush จึงทำให้กลุ่มก่อการร้ายลดบทบาทลง และได้มีรัฐบาลผสมเกิดขึ้น โดยการสนับสนุนจากทั้งทางสหรัฐและอิหร่าน แม้สถานการณ์ในอิรักยังคงเปราะบาง แต่ในปัจจุบันสถานการณ์ก็ดีกว่าเมื่อปี 2006
ดังนั้น โจทย์ใหญ่ของประธานาธิบดี Obama คือ การตัดสินใจว่าจะถอนทหารออกจากอิรักเมื่อไหร่ และอย่างไร Obama ประกาศมาโดยตลอดในช่วงหาเสียงเลือกตั้งว่า ถ้าเขาได้เป็นประธานาธิบดี จะถอนทหารออกจากอิรักภายใน 16 เดือน
ในแง่ยุทธศาสตร์ทางทหารนั้น มีความเร่งด่วนที่จะต้องถอนทหารออกจากอิรักและเพิ่มกำลังทหารในอัฟกานิสถาน ต้องมีกองกำลังสำรองสำหรับสถานการณ์ในปากีสถาน และตอบสนองต่อสถานการณ์ในเขตสหภาพโซเวียตเดิม อย่างเช่นในกรณีสงครามจอร์เจีย
อย่างไรก็ตาม พวกที่ไม่เห็นด้วยกับการถอนทหาร อย่างเช่น McCain และ Bush ก็จะตอกย้ำว่า การถอนทหารออกมาเร็วเกินไป จะทำให้อิรักลุกเป็นไฟ และทำให้เกิดสงครามกลางเมืองในอิรัก ดังนั้น ประเด็นเรื่องการถอนทหารจึงเป็นโจทย์ใหญ่ที่รอการตัดสินใจจาก Obama
อิหร่าน
การบ้านชิ้นที่ 2 ของประธานาธิบดี Obama คือ อิหร่าน
ปัญหาความขัดแย้งเรื่องการพัฒนาอาวุธนิวเคลียร์ของอิหร่าน ยืดเยื้อมาหลายปี ถึงแม้ว่านักวิเคราะห์หลายฝ่ายมองว่า ศักยภาพของอิหร่านในขณะนี้ จะยังคงต้องใช้เวลาอีกหลายปี กว่าจะผลิตอาวุธนิวเคลียร์ได้
Obama ได้เคยประกาศว่า หากเขาได้เป็นประธานาธิบดี เขาพร้อมที่จะเจรจากับผู้นำอิหร่าน เพื่อยุติความขัดแย้ง แต่ในโลกแห่งความเป็นจริง ก็ไม่มีหลักประกันว่า การเจรจาดังกล่าวจะเกิดขึ้นได้ และหากมีการเจรจาเกิดขึ้นจริง ก็ไม่มีหลักประกันว่า จะนำไปสู่การยุติความขัดแย้ง
หาก Obama ต้องการจะถอนทหารจากอิรัก และเพิ่มทหารในอัฟกานิสถาน นั่นหมายความว่า สหรัฐจะต้องได้รับการสนับสนุนจากอิหร่าน เพราะหากอิหร่านไม่เล่นด้วย อิหร่านจะสามารถสร้างความปั่นป่วนในอิรักได้ ดังนั้น โจทย์ใหญ่ของ Obama คือ จะเอาอย่างไรกับอิหร่าน
นอกจากนี้ ยังมีปัญหาแทรกซ้อนเกิดขึ้นมาอีก คือ บทบาทของรัสเซีย ซึ่งกำลังพยายามผงาดขึ้นมาแข่งกับสหรัฐ มีความเป็นไปได้ว่า รัสเซียอาจจะมาตีสนิทกับอิหร่าน ดังนั้น โจทย์อีกเรื่องของ Obama คือ จะทำอย่างไรที่จะไม่ทำให้อิหร่านไปเป็นพันธมิตรกับรัสเซีย
อัฟกานิสถาน
การบ้านชิ้นที่ 3 ของ Obama คือ นโยบายต่ออัฟกานิสถาน
ในตอนหาเสียงเลือกตั้ง Obama ย้ำมาตลอดว่า ยุทธศาสตร์สงครามต่อต้านการก่อการร้ายของรัฐบาล Bush นั้น ผิดพลาดเพราะไปเน้นที่อิรัก แทนที่จะเน้นที่อัฟกานิสถาน ซึ่ง Obama มองว่า เป็นศูนย์กลางของขบวนการก่อการร้าย Obama จึงได้เสนอว่า จะต้องเพิ่มกองกำลังทหารเข้าไปในอัฟกานิสถาน
แต่ในทางปฏิบัติ ผมมองว่า ไม่ใช่เรื่องง่ายเลย ที่จะเพิ่มกองกำลังเข้าไปในอัฟกานิสถาน เพราะหลายประเทศใน NATO ก็อยากจะถอนทหารกลับ ขณะนี้ สหรัฐและ NATO มีกองกำลังอยู่ในอัฟกานิสถานประมาณ 50,000 คน ประเด็นทางการทหารก็คือ จะต้องมีกองกำลังทหารเท่าไหร่ถึงจะเพียงพอ หากย้อนไปดูในประวัติศาสตร์ ในช่วงที่รัสเซียยึดอัฟกานิสถาน รัสเซียใช้ทหารถึง 120,000 คน แต่ก็ยังไม่พอ ในที่สุด รัสเซียก็พ่ายแพ้ ต้องถอนทหารกลับไป
นอกจากนี้ โจทย์ใหญ่ในอัฟกานิสถานก็คือ กองกำลังนักรบ Taliban ซึ่งได้ชนะสงครามกลางเมืองในทศวรรษ 90 และสามารถยึดกุมอำนาจรัฐได้ ทั้งนี้ ก็เพราะ Taliban เป็นกองกำลังที่แข็งแกร่งที่สุด ดังนั้น เป็นไปได้มากเลยที่ ถ้าไม่มีทหารสหรัฐ กลุ่ม Taliban ก็จะกลับมายึดอำนาจรัฐได้อีก จริงๆแล้ว สหรัฐไม่เคยชนะ Taliban เพราะตอนที่สหรัฐบุกยึดครองอัฟกานิสถานเมื่อ
ปลายปี 2001 นั้น Taliban ก็ไม่ได้สู้กับสหรัฐ แต่ได้อันตรธานหายไปหมด ดังนั้น Obama จะมีนโยบายอย่างไร เพื่อจะเอาชนะ Taliban ซึ่งไม่ใช่เรื่องง่ายเลย
ปากีสถาน
การบ้านชิ้นที่ 4 ของ Obama คือ นโยบายต่อปากีสถาน
ประเด็นสำคัญคือ ขณะนี้ al-Qaeda ได้มีฐานที่มั่นอยู่ทางตอนเหนือของปากีสถาน ดังนั้น การบ้านที่ยากที่สุดของ Obama คือ ทำอย่างไรถึงจะเอาชนะ และกำจัด al-Qaeda ให้สิ้นซาก
นอกจากนี้ ยังมีปัญหานักรบ Taliban ในปากีสถานด้วย สหรัฐคงจะต้องได้รับความร่วมมือจากกองทัพปากีสถานในการโจมตีกลุ่ม Taliban หรือไม่ สหรัฐจะต้องได้รับอนุญาตจากรัฐบาลปากีสถานให้ไล่ล่ากลุ่ม Taliban
Obama ในตอนหาเสียงเลือกตั้งได้เคยประกาศกร้าวว่า หากเขาได้เป็นประธานาธิบดี ก็พร้อมที่จะส่งกองกำลังเข้าไปในปากีสถาน เพื่อไล่ล่า al-Qaeda และ Taliban ถึงแม้จะไม่ได้รับไฟเขียวจากรัฐบาลปากีสถานก็ตาม ดังนั้น คำถามใหญ่คือ ประธานาธิบดี Obama จะกล้าทำเช่นนั้นหรือ Obama คงจะต้องชั่งน้ำหนักให้ดี ระหว่างการไล่ล่ากลุ่มก่อการร้าย กับผลลบที่จะเกิดขึ้น ที่อาจทำให้ปากีสถานลุกเป็นไฟ และอย่าลืมว่า ปากีสถานนั้น มีอาวุธนิวเคลียร์อยู่ในครอบครอง
รัสเซีย
การบ้านชิ้นยากชิ้นที่ 5 ของ Obama ก็คือ นโยบายต่อรัสเซีย
ตั้งแต่การล่มสลายของสหภาพโซเวียต สหรัฐก็ดูถูกดูแคลนรัสเซีย มองว่ากำลังแตกสลาย อ่อนแอ และคงไม่มีความสำคัญในการเมืองโลก สหรัฐจึงได้ดำเนินยุทธศาสตร์ในการปิดล้อมและลดอิทธิพลของรัสเซียเป็นการใหญ่ โดยเฉพาะการขยายสมาชิก NATO เข้าไปในเขตอิทธิพลเดิมของสหภาพโซเวียต ซึ่งล่าสุดก็คือการจะรับยูเครนและจอร์เจียเข้าเป็นสมาชิก NATO จุดนี้เอง จึงเป็นจุดแตกหัก รัสเซีย ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา ก็กลับมาผงาดอีกครั้ง ด้วยพลังงานอำนาจที่ได้จากการส่งออกน้ำมันและก๊าซธรรมชาติ รัสเซียจึงประกาศศักดาการกลับมาเป็นมหาอำนาจด้วยการทำสงครามบุกจอร์เจีย
ดังนั้น โจทย์ใหญ่สำหรับประธานาธิบดี Obama ก็คือ จะทำอย่างไรกับรัสเซีย จะป้องกันการขยายอำนาจของรัสเซียได้อย่างไร ถึงแม้ในตอนหาเสียงเลือกตั้ง Obama จะพูดจาภาษาดอกไม้โดยไม่ได้มองว่ารัสเซียเป็นภัยคุกคาม แต่ในทางปฏิบัติ Obama คงจะต้องเผชิญกับรัสเซียที่จะแข็งกร้าวมากขึ้นเรื่อยๆ
สยามรัฐสัปดาหวิจารณ์ ปีที่ 56 ฉบับที่ 9 วันศุกร์ที่ 21-พฤหัสบดีที่ 27 พฤศจิกายน 2551
คอลัมน์โลกทรรศน์ตอนที่แล้ว ผมได้วิเคราะห์ถึงนโยบายต่างประเทศของ Obama และผลกระทบต่อโลกไปแล้ว คอลัมน์ในวันนี้ ผมจะมาวิเคราะห์ต่อ เกี่ยวกับสถานการณ์การเมือง ความมั่นคงโลก ที่จะเป็นเรื่องใหญ่ๆ และเป็นการบ้านใหญ่สำหรับประธานาธิบดี Obama ถึงแม้ว่าเรื่องการกอบกู้วิกฤติการเงินสหรัฐ คงจะเป็นเรื่องที่ Obama ให้ความสำคัญมากที่สุด แต่สถานการณ์การเมืองโลก ก็คงจะไม่ปล่อยให้ Obama อยู่เฉยๆได้
อิรัก
การบ้านชิ้นแรกของประธานาธิบดี Obama คือการแก้ปัญหาอิรัก
ในปี 2006 สถานการณ์ในอิรักทรุดหนักลงอย่างมาก โดยทั้งกลุ่มก่อการร้ายซุนหนี่และชีอะฮ์ ก็โจมตีกองกำลังสหรัฐ และทั้งกลุ่มซุนหนี่และชีอะฮ์ก็ต่อสู้กันเอง จนถึงขั้นกำลังจะเกิดสงครามกลางเมือง ต่อมาหลังจากที่พรรค Democrat ได้ครองเสียงข้างมากในสภา Congress ได้มีกระแสกดดันให้ถอนทหารออกจากอิรัก
อย่างไรก็ตาม รัฐบาล Bush กลับสวนทาง ด้วยการเพิ่มกองกำลังทหารเข้าไปในอิรัก และดูเหมือนกับว่าจะได้ผลในระดับหนึ่ง เพราะหลังจากนั้น ความปั่นป่วนวุ่นวายก็สงบลง นอกจากนี้ รัฐบาล Bush ยังได้เริ่มเจรจากับกลุ่มก่อการร้ายซุนหนี่ ทั้งสหรัฐและกลุ่มซุนหนี่ต้องการให้ฝ่ายชีอะฮ์จัดตั้งรัฐบาลผสมขึ้น
นอกจากนี้ ยังได้เริ่มมีการเจรจาอย่างลับๆกับฝ่ายอิหร่าน ซึ่งสำหรับอิหร่านนั้น ตระหนักดีว่า ความเป็นไปได้ที่จะมีรัฐบาลอิรักที่ pro อิหร่านนั้น คงจะยาก สิ่งที่อิหร่านกลัวที่สุดคือ การกลับคืนมาของรัฐบาลอิรัก นำโดยกลุ่มซุนหนี่ ซึ่งจะกลับไปเหมือนสมัยรัฐบาล Saddam Hussain ซึ่งได้ทำสงครามกับอิหร่านเป็นเวลาเกือบ 10 ปี อิหร่านจึงมองว่า รัฐบาลผสมที่เป็นกลาง น่าจะเป็นทางเลือกที่ดีที่สุด
ผลพวงของความพยายามของรัฐบาล Bush จึงทำให้กลุ่มก่อการร้ายลดบทบาทลง และได้มีรัฐบาลผสมเกิดขึ้น โดยการสนับสนุนจากทั้งทางสหรัฐและอิหร่าน แม้สถานการณ์ในอิรักยังคงเปราะบาง แต่ในปัจจุบันสถานการณ์ก็ดีกว่าเมื่อปี 2006
ดังนั้น โจทย์ใหญ่ของประธานาธิบดี Obama คือ การตัดสินใจว่าจะถอนทหารออกจากอิรักเมื่อไหร่ และอย่างไร Obama ประกาศมาโดยตลอดในช่วงหาเสียงเลือกตั้งว่า ถ้าเขาได้เป็นประธานาธิบดี จะถอนทหารออกจากอิรักภายใน 16 เดือน
ในแง่ยุทธศาสตร์ทางทหารนั้น มีความเร่งด่วนที่จะต้องถอนทหารออกจากอิรักและเพิ่มกำลังทหารในอัฟกานิสถาน ต้องมีกองกำลังสำรองสำหรับสถานการณ์ในปากีสถาน และตอบสนองต่อสถานการณ์ในเขตสหภาพโซเวียตเดิม อย่างเช่นในกรณีสงครามจอร์เจีย
อย่างไรก็ตาม พวกที่ไม่เห็นด้วยกับการถอนทหาร อย่างเช่น McCain และ Bush ก็จะตอกย้ำว่า การถอนทหารออกมาเร็วเกินไป จะทำให้อิรักลุกเป็นไฟ และทำให้เกิดสงครามกลางเมืองในอิรัก ดังนั้น ประเด็นเรื่องการถอนทหารจึงเป็นโจทย์ใหญ่ที่รอการตัดสินใจจาก Obama
อิหร่าน
การบ้านชิ้นที่ 2 ของประธานาธิบดี Obama คือ อิหร่าน
ปัญหาความขัดแย้งเรื่องการพัฒนาอาวุธนิวเคลียร์ของอิหร่าน ยืดเยื้อมาหลายปี ถึงแม้ว่านักวิเคราะห์หลายฝ่ายมองว่า ศักยภาพของอิหร่านในขณะนี้ จะยังคงต้องใช้เวลาอีกหลายปี กว่าจะผลิตอาวุธนิวเคลียร์ได้
Obama ได้เคยประกาศว่า หากเขาได้เป็นประธานาธิบดี เขาพร้อมที่จะเจรจากับผู้นำอิหร่าน เพื่อยุติความขัดแย้ง แต่ในโลกแห่งความเป็นจริง ก็ไม่มีหลักประกันว่า การเจรจาดังกล่าวจะเกิดขึ้นได้ และหากมีการเจรจาเกิดขึ้นจริง ก็ไม่มีหลักประกันว่า จะนำไปสู่การยุติความขัดแย้ง
หาก Obama ต้องการจะถอนทหารจากอิรัก และเพิ่มทหารในอัฟกานิสถาน นั่นหมายความว่า สหรัฐจะต้องได้รับการสนับสนุนจากอิหร่าน เพราะหากอิหร่านไม่เล่นด้วย อิหร่านจะสามารถสร้างความปั่นป่วนในอิรักได้ ดังนั้น โจทย์ใหญ่ของ Obama คือ จะเอาอย่างไรกับอิหร่าน
นอกจากนี้ ยังมีปัญหาแทรกซ้อนเกิดขึ้นมาอีก คือ บทบาทของรัสเซีย ซึ่งกำลังพยายามผงาดขึ้นมาแข่งกับสหรัฐ มีความเป็นไปได้ว่า รัสเซียอาจจะมาตีสนิทกับอิหร่าน ดังนั้น โจทย์อีกเรื่องของ Obama คือ จะทำอย่างไรที่จะไม่ทำให้อิหร่านไปเป็นพันธมิตรกับรัสเซีย
อัฟกานิสถาน
การบ้านชิ้นที่ 3 ของ Obama คือ นโยบายต่ออัฟกานิสถาน
ในตอนหาเสียงเลือกตั้ง Obama ย้ำมาตลอดว่า ยุทธศาสตร์สงครามต่อต้านการก่อการร้ายของรัฐบาล Bush นั้น ผิดพลาดเพราะไปเน้นที่อิรัก แทนที่จะเน้นที่อัฟกานิสถาน ซึ่ง Obama มองว่า เป็นศูนย์กลางของขบวนการก่อการร้าย Obama จึงได้เสนอว่า จะต้องเพิ่มกองกำลังทหารเข้าไปในอัฟกานิสถาน
แต่ในทางปฏิบัติ ผมมองว่า ไม่ใช่เรื่องง่ายเลย ที่จะเพิ่มกองกำลังเข้าไปในอัฟกานิสถาน เพราะหลายประเทศใน NATO ก็อยากจะถอนทหารกลับ ขณะนี้ สหรัฐและ NATO มีกองกำลังอยู่ในอัฟกานิสถานประมาณ 50,000 คน ประเด็นทางการทหารก็คือ จะต้องมีกองกำลังทหารเท่าไหร่ถึงจะเพียงพอ หากย้อนไปดูในประวัติศาสตร์ ในช่วงที่รัสเซียยึดอัฟกานิสถาน รัสเซียใช้ทหารถึง 120,000 คน แต่ก็ยังไม่พอ ในที่สุด รัสเซียก็พ่ายแพ้ ต้องถอนทหารกลับไป
นอกจากนี้ โจทย์ใหญ่ในอัฟกานิสถานก็คือ กองกำลังนักรบ Taliban ซึ่งได้ชนะสงครามกลางเมืองในทศวรรษ 90 และสามารถยึดกุมอำนาจรัฐได้ ทั้งนี้ ก็เพราะ Taliban เป็นกองกำลังที่แข็งแกร่งที่สุด ดังนั้น เป็นไปได้มากเลยที่ ถ้าไม่มีทหารสหรัฐ กลุ่ม Taliban ก็จะกลับมายึดอำนาจรัฐได้อีก จริงๆแล้ว สหรัฐไม่เคยชนะ Taliban เพราะตอนที่สหรัฐบุกยึดครองอัฟกานิสถานเมื่อ
ปลายปี 2001 นั้น Taliban ก็ไม่ได้สู้กับสหรัฐ แต่ได้อันตรธานหายไปหมด ดังนั้น Obama จะมีนโยบายอย่างไร เพื่อจะเอาชนะ Taliban ซึ่งไม่ใช่เรื่องง่ายเลย
ปากีสถาน
การบ้านชิ้นที่ 4 ของ Obama คือ นโยบายต่อปากีสถาน
ประเด็นสำคัญคือ ขณะนี้ al-Qaeda ได้มีฐานที่มั่นอยู่ทางตอนเหนือของปากีสถาน ดังนั้น การบ้านที่ยากที่สุดของ Obama คือ ทำอย่างไรถึงจะเอาชนะ และกำจัด al-Qaeda ให้สิ้นซาก
นอกจากนี้ ยังมีปัญหานักรบ Taliban ในปากีสถานด้วย สหรัฐคงจะต้องได้รับความร่วมมือจากกองทัพปากีสถานในการโจมตีกลุ่ม Taliban หรือไม่ สหรัฐจะต้องได้รับอนุญาตจากรัฐบาลปากีสถานให้ไล่ล่ากลุ่ม Taliban
Obama ในตอนหาเสียงเลือกตั้งได้เคยประกาศกร้าวว่า หากเขาได้เป็นประธานาธิบดี ก็พร้อมที่จะส่งกองกำลังเข้าไปในปากีสถาน เพื่อไล่ล่า al-Qaeda และ Taliban ถึงแม้จะไม่ได้รับไฟเขียวจากรัฐบาลปากีสถานก็ตาม ดังนั้น คำถามใหญ่คือ ประธานาธิบดี Obama จะกล้าทำเช่นนั้นหรือ Obama คงจะต้องชั่งน้ำหนักให้ดี ระหว่างการไล่ล่ากลุ่มก่อการร้าย กับผลลบที่จะเกิดขึ้น ที่อาจทำให้ปากีสถานลุกเป็นไฟ และอย่าลืมว่า ปากีสถานนั้น มีอาวุธนิวเคลียร์อยู่ในครอบครอง
รัสเซีย
การบ้านชิ้นยากชิ้นที่ 5 ของ Obama ก็คือ นโยบายต่อรัสเซีย
ตั้งแต่การล่มสลายของสหภาพโซเวียต สหรัฐก็ดูถูกดูแคลนรัสเซีย มองว่ากำลังแตกสลาย อ่อนแอ และคงไม่มีความสำคัญในการเมืองโลก สหรัฐจึงได้ดำเนินยุทธศาสตร์ในการปิดล้อมและลดอิทธิพลของรัสเซียเป็นการใหญ่ โดยเฉพาะการขยายสมาชิก NATO เข้าไปในเขตอิทธิพลเดิมของสหภาพโซเวียต ซึ่งล่าสุดก็คือการจะรับยูเครนและจอร์เจียเข้าเป็นสมาชิก NATO จุดนี้เอง จึงเป็นจุดแตกหัก รัสเซีย ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา ก็กลับมาผงาดอีกครั้ง ด้วยพลังงานอำนาจที่ได้จากการส่งออกน้ำมันและก๊าซธรรมชาติ รัสเซียจึงประกาศศักดาการกลับมาเป็นมหาอำนาจด้วยการทำสงครามบุกจอร์เจีย
ดังนั้น โจทย์ใหญ่สำหรับประธานาธิบดี Obama ก็คือ จะทำอย่างไรกับรัสเซีย จะป้องกันการขยายอำนาจของรัสเซียได้อย่างไร ถึงแม้ในตอนหาเสียงเลือกตั้ง Obama จะพูดจาภาษาดอกไม้โดยไม่ได้มองว่ารัสเซียเป็นภัยคุกคาม แต่ในทางปฏิบัติ Obama คงจะต้องเผชิญกับรัสเซียที่จะแข็งกร้าวมากขึ้นเรื่อยๆ
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)