2 ปี นโยบายต่างประเทศรัฐบาลอภิสิทธิ์ (ตอนจบ)
ตีพิมพ์ในหนังสือพิมพ์ไทยโพสต์ ฉบับประจำวันพฤหัสบดีที่ 24 กุมภาพันธ์ 2554
คอลัมน์กระบวนทรรศน์ตอนที่แล้ว ผมได้พูดถึงภูมิหลังของนโยบายต่างประเทศไทย และได้ประเมินนโยบายต่างประเทศของรัฐบาลอภิสิทธิ์ในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา โดยได้พูดถึงความสำเร็จไปแล้ว คอลัมน์กระบวนทรรศน์ในวันนี้ จะมาวิเคราะห์ต่อ โดยจะประเมินถึงความล้มเหลว และในตอนสุดท้ายของบทความ ผมจะนำเสนอข้อเสนอแนะด้วยว่า นโยบายต่างประเทศของไทย ในอนาคต ควรจะเป็นอย่างไร
ความล้มเหลว
ตอนที่แล้ว ผมพูดถึงความสำเร็จไปแล้ว ตอนนี้ จะมาดูความล้มเหลวบ้าง
ความล้มเหลวที่ผมมอง ประการแรก คือ โจทย์สำคัญ คือ ไทยจะต้องมีนโยบายต่างประเทศในเชิงรุก แต่ 2 ปีที่ผ่านมา ผมแทบจะไม่เห็นนโยบายต่างประเทศในเชิงรุกของรัฐบาลอภิสิทธิ์เลย คือเดินหน้าไป ทำกันไปประชุมกันไป แต่ก็ไม่ได้มีอะไรที่เป็นผลงานชิ้นโบว์แดงเลย ไม่มี masterpiece ไม่มีนโยบายในเชิงรุก ไม่มี grand strategy และความล้มเหลวครั้งใหญ่ของนโยบายรัฐบาลอภิสิทธิ์ก็คือ ความสัมพันธ์กับประเทศเพื่อนบ้าน โดยเฉพาะกับกัมพูชา
สำหรับในการเป็นประธานอาเซียน ความสำเร็จคือ การจัดประชุมสุดยอด ครั้งที่ 14 ได้ แต่เราจำได้ไหมครับว่า การประชุมสุดยอดอีกครั้งที่พัทยา เกิดอะไรขึ้น สิ่งที่เกิดขึ้นคือ การประชุมล่มกลางคัน บางคนอาจจะโทษว่า การประชุมล่มเพราะเสื้อแดง แต่เราก็ต้องโทษรัฐบาลด้วย รัฐบาลประเมินสถานการณ์อย่างไร รัฐบาลปล่อยให้เสื้อแดงบุกเข้าไปในที่ประชุมได้อย่างไร รัฐบาลต้องรับผิดชอบ สิ่งที่เกิดขึ้นที่พัทยาทำให้ประเทศไทยเสียชื่อมาก ผมคิดว่า ไม่เคยเกิดเหตุการณ์แบบนี้ในการประชุมใหญ่ๆ ในระดับระหว่างประเทศ ถือว่าเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์โลกที่การประชุมใหญ่ๆ อย่างนี้ล่มกลางคัน และผู้นำประเทศมหาอำนาจ อย่างเช่น จีน ญี่ปุ่น เกาหลี ต้องหนีลงเรือ หนีขึ้นเฮลิคอปเตอร์ หนีกันกุลีกุจอกันไปหมด มันไม่เคยเกิดขึ้นในประวัติศาสตร์การประชุมระดับโลกเลยครับ เรื่องนี้ทำให้ประเทศไทยเสียชื่อมาก ประเทศเพื่อนบ้านเรา ตัวอย่างสมเด็จฮุนเซน ก็ออกมาเหน็บแนมว่า “ถ้าไทยเราจัดประชุมไม่ได้ ก็ไม่ต้องจัด เป็นประธานอาเซียนไม่ได้ ก็ไม่ต้องเป็น ให้คนอื่นเขาเป็นดีกว่า” เรื่องนี้ไทยเสียหายมาก เราเล่นบทประธานอาเซียนได้ไม่เต็มที่ เราเก่งมากที่เปลี่ยน “โอกาส” ให้กลายเป็น “วิกฤต” จริงๆ แล้ว เราควรใช้โอกาสจากการที่เราเป็นประธานอาเซียนให้เป็นประโยชน์ แต่ในที่สุด เราก็เปลี่ยนโอกาสให้กลายเป็นวิกฤตครับ
สำหรับบทบาทของไทยในเวทีภูมิภาคในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา ไทยมีบทบาทอย่างไรในอาเซียน มีบทบาทอย่างไรในอาเซียน + 1 อาเซียน + 3 และอาเซียน + 6 หรือที่เราเรียกว่า EAS คำตอบของผมก็คือ เราไม่มีบทบาทที่โดดเด่น เราไม่มีบทบาทในเชิงรุก
สำหรับบทบาทของไทยในเวทีโลก 2 ปีที่ผ่านมา นายกอภิสิทธิ์ได้เข้าร่วมประชุมเวทีการประชุมในระดับโลกหลายเวที แต่ไทยก็ไม่มีบทบาทในเชิงรุก เราได้แต่เข้าไปร่วมประชุม แต่ไม่ได้ผลักดันอะไรให้เป็นชิ้นเป็นอัน ไม่ว่าจะเป็นเวที G20 เวที UN และเวที World Economic Forum เราเป็นเพียงตัวประกอบ เล่นตามเกมมหาอำนาจเท่านั้น
สำหรับความสัมพันธ์กับมหาอำนาจ ในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา รัฐบาลอภิสิทธิ์ก็ไม่มีนโยบายในเชิงรุกเช่นกัน ไม่มีผลงานชิ้นโบว์แดงอีกเช่นกัน
สุดท้าย ความสัมพันธ์กับภูมิภาคอื่นๆ ถามว่า 2 ปีที่ผ่านมา มีผลงานอะไรที่เป็นผลงานชิ้นโบว์แดงบ้างกับตะวันออกกลาง อัฟริกา ยุโรป และละตินอเมริกา คำตอบก็คือ ไม่มี เราไม่มีนโยบายในเชิงรุก
เพราะฉะนั้น จากการประเมินข้างต้น ก็พอจะสรุปได้ว่า ผลงานด้านการต่างประเทศของรัฐบาลอภิสิทธิ์ประสบความสำเร็จในบางเรื่อง แต่ก็ล้มเหลวในหลายเรื่อง ผมจึงให้เกรดรวมเป็นเกรดประมาณ C+ หรือ B- ครับ
ข้อเสนอนโยบายต่างประเทศไทยในอนาคต
ผมได้บอกไปแล้วว่า ผมจะไม่ประเมินเพียงอย่างเดียว แต่จะเสนอแนะด้วย ผมจะเสนอว่า นโยบายต่างประเทศไทยในอนาคตควรจะเป็นอย่างไร
• grand strategy
ข้อเสนอประการแรกของผม คือ ไทยควรมี grand strategy และนโยบายในเชิงรุก สิ่งที่รัฐบาล
อภิสิทธิ์ขาดมาก คือ ขาดนโยบายในเชิงรุก ขาด grand strategy ขาดยุทธศาสตร์ใหญ่ ในการที่จะผลักดันให้ไทยเป็นศูนย์กลางในอาเซียน ผลักดันให้ไทยโดดเด่นในเวทีภูมิภาค และในเวทีโลกได้อีกครั้งหนึ่ง เราขาดยุทธศาสตร์ใหญ่ ที่จะทำให้ความสัมพันธ์ไทยกับประเทศเพื่อนบ้านกลับมาดีเหมือนเดิม และเราก็ขาด grand strategy ในการกำหนดความสัมพันธ์กับมหาอำนาจด้วย
• ประเทศเพื่อนบ้าน
โจทย์ใหญ่ที่สุดของไทยในอนาคต คือ ยุทธศาสตร์การฟื้นฟูความสัมพันธ์กับประเทศเพื่อนบ้าน ถามว่า ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับประเทศเพื่อนบ้านเป็นอย่างไร คำตอบคือ ความสัมพันธ์ไม่ค่อยดี พม่าก็ไม่ชอบเรา เราก็ไม่ชอบพม่า เขมรไม่ชอบเรา เราก็ไม่ชอบเขมร ลาวก็เบื่อเรา เพราะไทยก็ชอบบอกว่า ไทยเป็นพี่ ลาวเป็นน้อง เขาก็เบื่อเรา ถึงแม้จะพูดภาษาเดียวกัน แต่หลังๆ ลาวก็ไปสนิทกับเวียดนามและจีนมากกว่าไทย
เพราะฉะนั้น โจทย์ที่สำคัญต่อนโยบายประเทศไทยมากที่สุด คือ เราจะมีความสัมพันธ์ที่ดีอย่างไรกับเพื่อนบ้าน เรายกประเทศหนีไปไม่ได้ ยังไงเราก็ต้องอยู่กับเขาตรงนี้ ไม่มีประโยชน์อะไรที่จะไปมีเรื่องกับประเทศเพื่อนบ้าน เราควรจะมีความสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน เราควรที่จะมีมิตรไมตรีต่อกัน อยู่กันแบบฉันท์มิตร
แล้วอะไรที่เป็นต้นตอของปัญหาความขัดแย้งที่เกิดขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ความขัดแย้งไทยกับกัมพูชา ผมมองว่า มีหลายสาเหตุที่เป็นรากเหง้าของปัญหา ตั้งแต่ปัจจัยทางประวัติศาสตร์ การมองเพื่อนบ้านเป็นศัตรูซึ่งฝังรากลึก เราไม่มีความไว้วางใจซึ่งกันและกัน เพื่อนบ้านก็ไม่ไว้ใจไทย ไทยก็ไม่ไว้วางใจเพื่อนบ้าน เพื่อนบ้านมองว่า ไทยครอบงำเศรษฐกิจเขา นักธุรกิจไทยเข้าไปตักตวงผลประโยชน์ ฉวยโอกาสจากประเทศเขา แล้วไทยยังครอบงำทางวัฒนธรรมอีกด้วย ขณะนี้ ประเทศต่างๆในภูมิภาค ก็หันมาส่งเสริมลัทธิชาตินิยมแบบสุดโต่ง ซึ่งยิ่งทำให้เกิดความเกลียดชังกันเพิ่มขึ้น
เพราะฉะนั้น เราจะต้องแก้ที่รากเหง้าของปัญหา คือ ประวัติศาสตร์ เราต้องแก้ในเรื่องของตำราเรียนประวัติศาสตร์ ต้องมีการชำระประวัติศาสตร์ ต้องสร้างคนรุ่นใหม่ที่มองเพื่อนบ้านว่าไม่ได้เป็นศัตรู แต่เป็นมิตรกับเรา ซึ่งต้องใช้เวลาในการสร้างคนรุ่นใหม่ ที่มีทัศนคติที่ดีต่อประเทศเพื่อนบ้าน ต้องสร้างความไว้วางใจซึ่งกันและกัน ต้องทำให้เพื่อนบ้านมีความรู้สึกว่า เราไม่ได้ไปครอบงำเศรษฐกิจเขา เราไม่ได้ครอบงำวัฒนธรรมเขา เราจะอยู่กันอย่างมีมิตรไมตรีจิตต่อกัน และลัทธิชาตินิยมก็ควรที่จะลดลง
ความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจกับประเทศเพื่อนบ้านก็สำคัญ โดยไทยจะต้องให้ความช่วยเหลือทางเศรษฐกิจ เรามีสถานะทางเศรษฐกิจดีกว่าประเทศเพื่อนบ้านมาก ในแง่ของระดับการพัฒนาทางเศรษฐกิจ เมื่อมีช่องว่างห่างกันมาก ก็จะเกิดปัญหากระทบกระทั่งกันง่าย เพราะฉะนั้น เราจะต้องลดช่องว่างแห่งการพัฒนา ส่งเสริมความสัมพันธ์ในระดับประชาชน ชำระประวัติศาสตร์ แก้ไขตำราเรียน แก้ปัญหาพื้นที่ทับซ้อนอย่างบูรณาการ
ปัญหาความขัดแย้งกับกัมพูชานั้น เป็นเรื่องที่ต้องรีบแก้ เราต้องหยุดการเผชิญหน้า หันกลับมาเจรจา เรื่องปัญหาพื้นที่ทับซ้อน และเจรจาปักปันเขตแดน โดยต้องหาสูตรที่เป็น win – win คือ เราได้ เขาก็ได้
• มหาอำนาจ
สำหรับยุทธศาสตร์ต่อมหาอำนาจเก่านั้น ผมไม่ค่อยห่วง เพราะว่า ไทยเข้ากับมหาอำนาจได้ดี
อยู่แล้ว ผิดกับเรื่องของประเทศเพื่อนบ้าน ซึ่งเรามีปัญหามาโดยตลอด กับมหาอำนาจ ผมไม่ห่วง อย่างไทยกับสหรัฐฯ คงจะไม่มีปัญหา เราจะมีความสัมพันธ์ และเป็นมิตรกับสหรัฐฯต่อไป เช่นเดียวกับความสัมพันธ์ ไทย – จีน ไทย – อินเดีย ไทย – ญี่ปุ่น ผมว่าไม่น่ามีปัญหา ไม่ได้เป็นโจทย์ใหญ่สำหรับเรา
แต่โจทย์ใหญ่ของไทยในอนาคต คือ ความสัมพันธ์กับมหาอำนาจเศรษฐกิจใหม่ ในปี 2050
-บราซิลจะมีขนาดเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับ 7 ของโลก
-เม็กซิโก อันดับ 8
-ตุรกี อันดับ 12
-เกาหลีใต้ อันดับ 13
-ออสเตรเลีย อันดับ 17
-อาร์เจนติน่า อันดับ 18
-อียิปต์ อันดับ 19
-ซาอุดิอาระเบีย อันดับ 21
-และไทย จะอยู่อันดับ 22
เพราะฉะนั้น ประเทศเหล่านี้ น่าจะเป็นประเทศเป้าหมายที่ไทยจะต้องให้ความสำคัญเป็นพิเศษ โดยเฉพาะความสัมพันธ์ทางด้านเศรษฐกิจกับประเทศเหล่านี้ ที่ถือว่ากำลังจะเป็นคลื่นลูกใหม่ ที่จะขึ้นมาเป็นมหาอำนาจเศรษฐกิจใหม่ในอนาคต
• เวทีภูมิภาค
ส่วนบทบาทไทยในเวทีภูมิภาคนั้น อาเซียนจะต้องเป็นหัวใจของยุทธศาสตร์พหุภาคีของไทย โดยจะต้องมีการพลิกฟื้นบทบาทนำของไทยในอาเซียน บทบาทนำใน อาเซียน + 1 อาเซียน + 3 และบทบาทนำในการสร้างสถาปัตยกรรมในภูมิภาค ในเรื่องของเวทีพหุภาคีต่างๆ ผมว่า เราอย่าสับสน อาเซียนนั้นเป็นเวทีที่สำคัญที่สุด ในภูมิภาค มีเวทีพหุภาคีอื่นๆ อาทิ เอเปค แต่เราต้องเห็นชัดเจน เราต้องมีธงชัดเจนว่า อาเซียนสำคัญที่สุด
• เวทีโลก
สำหรับบทบาทไทยในเวทีโลก เป้าหมายในระยะยาว คือ ไทยต้องมีบทบาทมากขึ้นในเวที
โลก ใน UN , WTO ธนาคารโลก ฯลฯ ปัจจุบัน ไทยแทบจะไม่มีบทบาทอะไรเลยในเวทีโลกเหล่านี้ ขนาดเศรษฐกิจของไทยก็ไม่ได้เล็ก ในปี 2050 เราจะอยู่อันดับ 22 ของโลก เพราะฉะนั้น เราน่าจะมีบทบาทในระดับโลกเพิ่มมากขึ้น โดยในอนาคต ไทยควรจะพยายามผลักดันเข้าเป็นสมาชิก OECD ซึ่งเป็นองค์กรของประเทศอุตสาหกรรม ซึ่งก็จะสอดรับกับเป้าหมายในระยะยาวของไทยในอนาคตที่ผมอยากจะเสนอ คือ การผลักดันให้ไทยกลายเป็นประเทศอุตสาหกรรมใหม่
วันพฤหัสบดีที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554
2 ปี นโยบายต่างประเทศรัฐบาลอภิสิทธิ์ (ตอนที่ 1)
2 ปี นโยบายต่างประเทศรัฐบาลอภิสิทธิ์ (ตอนที่ 1)
ตีพิมพ์ในหนังสือพิมพ์ไทยโพสต์ ฉบับประจำวันพฤหัสบดีที่ 10 กุมภาพันธ์ 2554
คอลัมน์กระบวนทรรศน์ตอนนี้ และตอนหน้า จะเป็นการประเมินนโยบายต่างประเทศของรัฐบาลอภิสิทธิ์ โดย outline คือ ในตอนแรก ผมจะพูดถึงภูมิหลังของนโยบายต่างประเทศ เสร็จแล้วก็จะประเมินนโยบายต่างประเทศของรัฐบาลอภิสิทธิ์ในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา ซึ่งผมจะชี้ให้เห็นว่า มีทั้งความสำเร็จและความล้มเหลว ส่วนตอนสุดท้าย ผมจะไม่ประเมินเพียงอย่างเดียว แต่จะมีข้อเสนอแนะด้วยว่า นโยบายต่างประเทศของไทย ในอนาคต ควรจะเป็นอย่างไร
ภูมิหลัง
ตอนนี้มาดูในแง่ของภูมิหลังก่อน โดยผมจะเล่าให้ฟังเรื่องนโยบายต่างประเทศของไทย ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน
ในสมัยสงครามเย็น นโยบายไทยเน้นอยู่เรื่องเดียว คือ เรามีภัยคอมมิวนิสต์ และเราก็ดำเนินนโยบายในการที่จะ ไปเอาอเมริกามาช่วยป้องกันภัยคอมมิวนิสต์ เราดำเนินนโยบายต่างๆ ที่เกี่ยวกับการต่อต้านคอมมิวนิสต์
ทีนี้พอสงครามเย็นสิ้นสุดลง ประมาณปี 1990 ไทยก็เข้าสู่ยุคทอง มันเป็นจังหวะพอดีที่เศรษฐกิจไทยในยุคหลังสงครามเย็น เติบโตขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะในยุคของรัฐบาลพลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ เศรษฐกิจไทยก็เติบโตสูงที่สุดในโลก คือมีอัตราการเจริญเติบโตสูงถึง 13 % เพราะฉะนั้น ในยุคนี้ ถือเป็นยุคทองของประเทศไทย เราเจริญสุดขีดในแง่ของอัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ เราถูกมองว่า กำลังจะเป็นเสือตัวที่ 5 มังกรตัวที่ 5 ของเอเชีย และของโลก
เพราะฉะนั้น ในยุคนี้ นโยบายต่างประเทศไทย ก็มียุทธศาสตร์หลักที่จะทำให้ไทยกลายเป็นผู้นำ กลายเป็นศูนย์กลางทางเศรษฐกิจในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เพราะว่า ตอนนั้น เรามีศักยภาพพอที่เราจะฝันเช่นนั้น ที่จะมียุทธศาสตร์เช่นนั้น ในตอนนั้นเราจึงมียุทธศาสตร์เชื่อมความสัมพันธ์กับประเทศเพื่อนบ้าน มีกรอบสามเหลี่ยม สี่เหลี่ยม และหกเหลี่ยมเศรษฐกิจ
ทุกอย่างก็กำลังเดินไปด้วยดี แต่พอมาถึงปี 1997 ทุกอย่างก็พังหมด หลังจากเกิดวิกฤตต้มยำกุ้ง ความฝันของไทยที่จะเป็นผู้นำในภูมิภาคก็ล่มสลายลง พร้อมกับการล่มสลายของเศรษฐกิจไทย เราย่ำแย่อยู่หลายปี โดยเฉพาะในช่วงปี 1997 จนถึงปี 2000
พอมาถึงปี 2001 พตท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร ก็โดดเข้าสู่เวทีการเมืองพร้อมกับพรรคไทยรักไทย ซึ่งชูนโยบายประชานิยม ชูนโยบายชาตินิยมในด้านการต่างประเทศ พร้อมกับชูนโยบายในเชิงรุก ในสมัยรัฐบาลทักษิณ คือในช่วงปี 2001 – 2006 เราจึงเห็นความคิดริเริ่มต่างๆ มากมายในเรื่องนโยบายต่างประเทศ มีการเจรจา FTA เยอะมาก มีการสร้างกรอบความร่วมมือใหม่ขึ้นมา คือ ACMECS , BIMST – EC และ ACD ถือว่าเป็นยุคที่ไทยกลับมามีบทบาททางการทูตที่โดดเด่นอีกครั้งหนึ่ง โดยเฉพาะการทูตในเชิงรุก แต่ว่าความคิดริเริ่มต่างๆ ของรัฐบาลทักษิณ ในที่สุด ก็พังหมด เพราะมีเรื่องของผลประโยชน์ทับซ้อนเข้ามาเกี่ยวข้อง
เพราะฉะนั้น หลังจากนั้น ก็เกิดเหตุการณ์ 19 กันยายน ปี 2006 ทหารก็ปฏิวัติ และหลังปฏิวัติเกิดอะไรขึ้นกับการทูตไทย การทูตไทยก็หยุดนิ่ง เข้าสู่ยุครัฐบาล “ใส่เกียร์ว่าง” ในยุคนั้น ที่เรามักเรียกว่า รัฐบาลขิงแก่ ก็ใส่เกียร์ว่าง เพราะฉะนั้น การทูตของไทยจึงหยุดหมด สิ่งที่รัฐบาลทักษิณทำ รัฐบาลสุรยุทธ์ก็ไม่ทำ หยุดหมด
หลังจากนั้น พอมีการเลือกตั้ง รัฐบาลสมัคร รัฐบาลสมชาย ก็ไม่ได้ทำอะไรเป็นชิ้นเป็นอัน เพราะเกิดวิกฤติการเมืองขึ้น เสื้อเหลืองก็ชุมนุมประท้วงทุกวัน รัฐบาลสมัคร รัฐบาลสมชาย ก็ไม่ได้ทำอะไร เพราะมัวแต่ต้องคิดว่า จะเอาตัวรอดอย่างไร
รัฐบาลอภิสิทธิ์
หลังจากนั้น เราก็เข้าสู่ยุครัฐบาลอภิสิทธิ์ ตั้งแต่ช่วงต้นปี 2009 ถึงปัจจุบัน โจทย์ในสมัยรัฐบาลอภิสิทธิ์ คืออะไรในเรื่องนโยบายต่างประเทศ โจทย์ก็คือ ตอนนี้มีข้อจำกัดอยู่ 2 ประการ ประการแรก คือ วิกฤติการเมือง ที่ทำให้รัฐบาลสมัคร รัฐบาลสมชาย ทำอะไรไม่ได้ในเรื่องนโยบายต่างประเทศ ไม่มีผลงาน หยุดหมด และวิกฤติการเมืองก็ลามมาถึงรัฐบาลอภิสิทธิ์ ส่วนข้อจำกัดประการที่สอง คือ วิกฤติเศรษฐกิจ วิกฤตแฮมเบอร์เกอร์ ที่เราบางทีเรียกว่า วิกฤติ subprime เพราะฉะนั้น รัฐบาลอภิสิทธิ์จึงเจอ 2 เด้ง ในเรื่องของข้อจำกัด ทั้งวิกฤตการเมืองภายในประเทศ และวิกฤตเศรษฐกิจโลก
จากข้อจำกัดดังกล่าว โจทย์สำคัญในการประเมินรัฐบาลอภิสิทธิ์ คือ รัฐบาลอภิสิทธิ์จะต้องเปลี่ยนนโยบายต่างประเทศไทยจากการทูตเชิงธุรกิจ ซึ่งกลายเป็นฉายาในสมัยรัฐบาลทักษิณ ที่ใช้การทูตในการทำธุรกิจ ให้กลับมาเป็นการทูตในเชิงสุจริตได้อย่างไร นี่เป็นโจทย์ที่หนึ่ง ที่จะต้องทำให้การทูตไทยไม่ใช่กลายเป็นเครื่องมือสนับสนุนผลประโยชน์ของคนบางกลุ่ม แต่การทูตไทย นโยบายต่างประเทศไทย จะต้องสนับสนุนผลประโยชน์แห่งชาติ ซึ่งเป็นหลักการพื้นฐานของความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ คือ นโยบายต่างประเทศต้องตั้งอยู่บนพื้นฐานของผลประโยชน์แห่งชาติ
สำหรับโจทย์ข้อที่สอง คือ ไทยจะกลับมามีบทบาท มีนโยบายในเชิงรุกทางการทูตได้อย่างไร รัฐบาลอภิสิทธิ์จะต้องมีความคิดริเริ่ม นโยบายในเชิงรุก ที่จะทำให้ไทยกลับมาโดดเด่นในเวทีภูมิภาค และในเวทีโลกได้อีกครั้งได้หรือไม่ และจะทำให้ไทยมีความสัมพันธ์ที่ดีกับประเทศเพื่อนบ้าน มีความสัมพันธ์ที่ดีกับประเทศมหาอำนาจได้หรือไม่ นี่คือโจทย์ที่ผมจะเอามาประเมินนโยบายต่างประเทศของรัฐบาลอภิสิทธิ์ในรอบ 2 ปีที่ผ่านมา
ความสำเร็จ
เรามาประเมิน 2 ปี นโยบายต่างประเทศของรัฐบาลอภิสิทธิ์ โดยมาดูที่ความสำเร็จก่อน
ความสำเร็จประการแรก คือ การที่รัฐบาลอภิสิทธิ์ได้นำการทูตไทยให้กลับมาอยู่บนพื้นฐานของการทูตเชิงสุจริต ไม่ใช่การทูตเชิงธุรกิจ
ความสำเร็จอีกประการ คือ ในปี 2009 ไทยเป็นประธานอาเซียน โจทย์สำคัญ คือ ไทยจะต้องใช้โอกาสทองในการเป็นประธานอาเซียนพลิกฟื้นบทบาทของไทยที่ตกต่ำอย่างมากในอาเซียน ให้กลับมามีบทบาทนำในอาเซียนอีกครั้งหนึ่งให้ได้ เพราะฉะนั้น ในเดือนกุมภาพันธ์ ปี 2009 รัฐบาลอภิสิทธิ์ได้จัดประชุมสุดยอดอาเซียนครั้งที่ 14 ขึ้นที่ชะอำ – หัวหิน และก็ประสบความสำเร็จ ไทยก็มีบทบาทที่โดดเด่นขึ้น
ต่อมา ในปลายปี 2009 ไทยได้จัดการประชุมสุดยอดอาเซียนครั้งที่ 15 แต่หลังจากนั้น บทบาทไทยในการเป็นประธานอาเซียนก็หมดวาระลง (ไทยเป็นประธานอาเซียน ตั้งแต่กลางปี 2008 ถึงปลายปี 2009) พอปี 2010 เวียดนามก็เป็นประธานอาเซียน บทบาทไทยก็ลดลง อย่างไรก็ตาม ไทยได้ผลักดันเรื่องหนึ่งที่ผมถือว่าเป็นความสำเร็จของรัฐบาลอภิสิทธิ์ คือ แนวคิดเรื่อง ASEAN Connectivity Master Plan ซึ่งเป็นความคิดริเริ่มของไทย เป็นการผลักดันของไทยในอาเซียนที่จะให้อาเซียนนอกจากจะเป็นประชาคมแล้ว ก็ควรจะมีการเชื่อมต่อเข้าหากัน เพื่อที่จะทำให้ประชาคมมีประสิทธิภาพมากขึ้น
ความสำเร็จอีกประการ คือ บทบาทของนายกฯ อภิสิทธิ์ในเวทีโลก สองปีที่ผ่านมา นายกฯ อภิสิทธิ์ ได้พยายามเดินทางไปเข้าร่วมประชุมในเวทีโลกต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น UN ที่นิวยอร์ก การประชุม G20 ก็ไปประชุมที่ลอนดอน ในเดือนเมษายน ปี 2009 และที่ Pittsburgh ในเดือนกันยายน ปี 2009 ในฐานะประธานอาเซียน และในฐานะประธานอาเซียนก็ไปเข้าร่วมประชุม World Economic Forum ด้วย นายกฯ อภิสิทธิ์ ก็เล่นบทบาทในฐานะประธานอาเซียนได้ดีพอสมควร โดยในปลายปี 2009 ได้มีการประชุมสุดยอดอาเซียน – สหรัฐฯ ครั้งแรกซึ่งในตอนนั้น ไทยยังเป็นประธานอาเซียนอยู่ ดังนั้น นายกอภิสิทธิ์ก็รับหน้าที่เป็นประธานการประชุมสุดยอดอาเซียน-สหรัฐฯร่วมกับประธานาธิบดีโอบามา
อย่างไรก็ตาม จากที่กล่าวมาข้างต้น การที่นายกอภิสิทธิ์เดินทางไปร่วมประชุมในเวทีโลกหลายเวที แต่คำถามสำคัญ คือ เราได้อะไร เราไปแล้ว เราไปผลักดันอะไร และทำให้ไทยโดดเด่นขึ้นหรือไม่ ซึ่งผมก็อยากจะประเมินว่า เราก็ได้แค่ไปปรากฎตัว แต่ว่าบทบาทของไทย คือ บทบาทของนายกอภิสิทธิ์ก็ไม่ได้โดดเด่นอะไร ซึ่งประเด็นนี้ผมจะกลับมาประเมินอีกที
ส่วนความสัมพันธ์กับประเทศเพื่อนบ้านเป็นอย่างไรในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา ตอนนี้เราอยู่ในหัวข้อของความสำเร็จ ผมจึงจะยังไม่พูดเรื่องปัญหากับกัมพูชา ซึ่งล้มเหลวอย่างสิ้นเชิง แต่ตอนนี้หากพูดถึงความสำเร็จในแง่ความสัมพันธ์กับประเทศเพื่อนบ้าน โดยเฉพาะความสัมพันธ์กับมาเลเซีย ลาว พม่า และเวียดนาม ผมดูแล้วความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับประเทศเหล่านี้ในช่วง 2 ปี ก็โอเค ไม่ได้เลวร้ายอะไร อยู่ในระดับที่พอรับได้ แต่ประเด็นก็คือ ไม่มีอะไรที่เป็น masterpiece หรือเป็นผลงานชิ้นโบว์แดงของรัฐบาลชุดนี้ ซึ่งประเด็นนี้จะเป็นประเด็นที่ผมจะประเมินต่อในหัวข้อความล้มเหลว
สำหรับความสัมพันธ์ไทยกับมหาอำนาจในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา ก็ไม่มีปัญหาอะไร ซึ่งก็เป็นปกติอยู่แล้วระหว่างไทยกับมหาอำนาจ เพราะว่า เราจะเข้ากับมหาอำนาจได้ดี เรามักจะมีปัญหากับประเทศเพื่อนบ้านมากกว่า ซึ่งกับสหรัฐฯ 2 ปีที่ผ่านมา ก็โอเค Hillary Clinton รัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐฯ ก็เดินทางมาเยือนไทย ในเดือนกรกฎาคม ปี 2009 และได้พบปะหารือกับนายกฯ อภิสิทธิ์ สำหรับความสัมพันธ์กับมหาอำนาจอื่นๆ โดยเฉพาะกับจีน และญี่ปุ่น ก็โอเค ความสัมพันธ์กับภูมิภาคอื่นๆ ก็พอจะไปได้ อันนี้ คือ ความสำเร็จครับ
(โปรดอ่านต่อตอนจบในคอลัมน์กระบวนทรรศน์ตอนหน้า ซึ่งผมจะประเมินต่อในส่วนของความล้มเหลว และข้อเสนอนโยบายต่างประเทศไทยในอนาคต)
ตีพิมพ์ในหนังสือพิมพ์ไทยโพสต์ ฉบับประจำวันพฤหัสบดีที่ 10 กุมภาพันธ์ 2554
คอลัมน์กระบวนทรรศน์ตอนนี้ และตอนหน้า จะเป็นการประเมินนโยบายต่างประเทศของรัฐบาลอภิสิทธิ์ โดย outline คือ ในตอนแรก ผมจะพูดถึงภูมิหลังของนโยบายต่างประเทศ เสร็จแล้วก็จะประเมินนโยบายต่างประเทศของรัฐบาลอภิสิทธิ์ในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา ซึ่งผมจะชี้ให้เห็นว่า มีทั้งความสำเร็จและความล้มเหลว ส่วนตอนสุดท้าย ผมจะไม่ประเมินเพียงอย่างเดียว แต่จะมีข้อเสนอแนะด้วยว่า นโยบายต่างประเทศของไทย ในอนาคต ควรจะเป็นอย่างไร
ภูมิหลัง
ตอนนี้มาดูในแง่ของภูมิหลังก่อน โดยผมจะเล่าให้ฟังเรื่องนโยบายต่างประเทศของไทย ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน
ในสมัยสงครามเย็น นโยบายไทยเน้นอยู่เรื่องเดียว คือ เรามีภัยคอมมิวนิสต์ และเราก็ดำเนินนโยบายในการที่จะ ไปเอาอเมริกามาช่วยป้องกันภัยคอมมิวนิสต์ เราดำเนินนโยบายต่างๆ ที่เกี่ยวกับการต่อต้านคอมมิวนิสต์
ทีนี้พอสงครามเย็นสิ้นสุดลง ประมาณปี 1990 ไทยก็เข้าสู่ยุคทอง มันเป็นจังหวะพอดีที่เศรษฐกิจไทยในยุคหลังสงครามเย็น เติบโตขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะในยุคของรัฐบาลพลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ เศรษฐกิจไทยก็เติบโตสูงที่สุดในโลก คือมีอัตราการเจริญเติบโตสูงถึง 13 % เพราะฉะนั้น ในยุคนี้ ถือเป็นยุคทองของประเทศไทย เราเจริญสุดขีดในแง่ของอัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ เราถูกมองว่า กำลังจะเป็นเสือตัวที่ 5 มังกรตัวที่ 5 ของเอเชีย และของโลก
เพราะฉะนั้น ในยุคนี้ นโยบายต่างประเทศไทย ก็มียุทธศาสตร์หลักที่จะทำให้ไทยกลายเป็นผู้นำ กลายเป็นศูนย์กลางทางเศรษฐกิจในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เพราะว่า ตอนนั้น เรามีศักยภาพพอที่เราจะฝันเช่นนั้น ที่จะมียุทธศาสตร์เช่นนั้น ในตอนนั้นเราจึงมียุทธศาสตร์เชื่อมความสัมพันธ์กับประเทศเพื่อนบ้าน มีกรอบสามเหลี่ยม สี่เหลี่ยม และหกเหลี่ยมเศรษฐกิจ
ทุกอย่างก็กำลังเดินไปด้วยดี แต่พอมาถึงปี 1997 ทุกอย่างก็พังหมด หลังจากเกิดวิกฤตต้มยำกุ้ง ความฝันของไทยที่จะเป็นผู้นำในภูมิภาคก็ล่มสลายลง พร้อมกับการล่มสลายของเศรษฐกิจไทย เราย่ำแย่อยู่หลายปี โดยเฉพาะในช่วงปี 1997 จนถึงปี 2000
พอมาถึงปี 2001 พตท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร ก็โดดเข้าสู่เวทีการเมืองพร้อมกับพรรคไทยรักไทย ซึ่งชูนโยบายประชานิยม ชูนโยบายชาตินิยมในด้านการต่างประเทศ พร้อมกับชูนโยบายในเชิงรุก ในสมัยรัฐบาลทักษิณ คือในช่วงปี 2001 – 2006 เราจึงเห็นความคิดริเริ่มต่างๆ มากมายในเรื่องนโยบายต่างประเทศ มีการเจรจา FTA เยอะมาก มีการสร้างกรอบความร่วมมือใหม่ขึ้นมา คือ ACMECS , BIMST – EC และ ACD ถือว่าเป็นยุคที่ไทยกลับมามีบทบาททางการทูตที่โดดเด่นอีกครั้งหนึ่ง โดยเฉพาะการทูตในเชิงรุก แต่ว่าความคิดริเริ่มต่างๆ ของรัฐบาลทักษิณ ในที่สุด ก็พังหมด เพราะมีเรื่องของผลประโยชน์ทับซ้อนเข้ามาเกี่ยวข้อง
เพราะฉะนั้น หลังจากนั้น ก็เกิดเหตุการณ์ 19 กันยายน ปี 2006 ทหารก็ปฏิวัติ และหลังปฏิวัติเกิดอะไรขึ้นกับการทูตไทย การทูตไทยก็หยุดนิ่ง เข้าสู่ยุครัฐบาล “ใส่เกียร์ว่าง” ในยุคนั้น ที่เรามักเรียกว่า รัฐบาลขิงแก่ ก็ใส่เกียร์ว่าง เพราะฉะนั้น การทูตของไทยจึงหยุดหมด สิ่งที่รัฐบาลทักษิณทำ รัฐบาลสุรยุทธ์ก็ไม่ทำ หยุดหมด
หลังจากนั้น พอมีการเลือกตั้ง รัฐบาลสมัคร รัฐบาลสมชาย ก็ไม่ได้ทำอะไรเป็นชิ้นเป็นอัน เพราะเกิดวิกฤติการเมืองขึ้น เสื้อเหลืองก็ชุมนุมประท้วงทุกวัน รัฐบาลสมัคร รัฐบาลสมชาย ก็ไม่ได้ทำอะไร เพราะมัวแต่ต้องคิดว่า จะเอาตัวรอดอย่างไร
รัฐบาลอภิสิทธิ์
หลังจากนั้น เราก็เข้าสู่ยุครัฐบาลอภิสิทธิ์ ตั้งแต่ช่วงต้นปี 2009 ถึงปัจจุบัน โจทย์ในสมัยรัฐบาลอภิสิทธิ์ คืออะไรในเรื่องนโยบายต่างประเทศ โจทย์ก็คือ ตอนนี้มีข้อจำกัดอยู่ 2 ประการ ประการแรก คือ วิกฤติการเมือง ที่ทำให้รัฐบาลสมัคร รัฐบาลสมชาย ทำอะไรไม่ได้ในเรื่องนโยบายต่างประเทศ ไม่มีผลงาน หยุดหมด และวิกฤติการเมืองก็ลามมาถึงรัฐบาลอภิสิทธิ์ ส่วนข้อจำกัดประการที่สอง คือ วิกฤติเศรษฐกิจ วิกฤตแฮมเบอร์เกอร์ ที่เราบางทีเรียกว่า วิกฤติ subprime เพราะฉะนั้น รัฐบาลอภิสิทธิ์จึงเจอ 2 เด้ง ในเรื่องของข้อจำกัด ทั้งวิกฤตการเมืองภายในประเทศ และวิกฤตเศรษฐกิจโลก
จากข้อจำกัดดังกล่าว โจทย์สำคัญในการประเมินรัฐบาลอภิสิทธิ์ คือ รัฐบาลอภิสิทธิ์จะต้องเปลี่ยนนโยบายต่างประเทศไทยจากการทูตเชิงธุรกิจ ซึ่งกลายเป็นฉายาในสมัยรัฐบาลทักษิณ ที่ใช้การทูตในการทำธุรกิจ ให้กลับมาเป็นการทูตในเชิงสุจริตได้อย่างไร นี่เป็นโจทย์ที่หนึ่ง ที่จะต้องทำให้การทูตไทยไม่ใช่กลายเป็นเครื่องมือสนับสนุนผลประโยชน์ของคนบางกลุ่ม แต่การทูตไทย นโยบายต่างประเทศไทย จะต้องสนับสนุนผลประโยชน์แห่งชาติ ซึ่งเป็นหลักการพื้นฐานของความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ คือ นโยบายต่างประเทศต้องตั้งอยู่บนพื้นฐานของผลประโยชน์แห่งชาติ
สำหรับโจทย์ข้อที่สอง คือ ไทยจะกลับมามีบทบาท มีนโยบายในเชิงรุกทางการทูตได้อย่างไร รัฐบาลอภิสิทธิ์จะต้องมีความคิดริเริ่ม นโยบายในเชิงรุก ที่จะทำให้ไทยกลับมาโดดเด่นในเวทีภูมิภาค และในเวทีโลกได้อีกครั้งได้หรือไม่ และจะทำให้ไทยมีความสัมพันธ์ที่ดีกับประเทศเพื่อนบ้าน มีความสัมพันธ์ที่ดีกับประเทศมหาอำนาจได้หรือไม่ นี่คือโจทย์ที่ผมจะเอามาประเมินนโยบายต่างประเทศของรัฐบาลอภิสิทธิ์ในรอบ 2 ปีที่ผ่านมา
ความสำเร็จ
เรามาประเมิน 2 ปี นโยบายต่างประเทศของรัฐบาลอภิสิทธิ์ โดยมาดูที่ความสำเร็จก่อน
ความสำเร็จประการแรก คือ การที่รัฐบาลอภิสิทธิ์ได้นำการทูตไทยให้กลับมาอยู่บนพื้นฐานของการทูตเชิงสุจริต ไม่ใช่การทูตเชิงธุรกิจ
ความสำเร็จอีกประการ คือ ในปี 2009 ไทยเป็นประธานอาเซียน โจทย์สำคัญ คือ ไทยจะต้องใช้โอกาสทองในการเป็นประธานอาเซียนพลิกฟื้นบทบาทของไทยที่ตกต่ำอย่างมากในอาเซียน ให้กลับมามีบทบาทนำในอาเซียนอีกครั้งหนึ่งให้ได้ เพราะฉะนั้น ในเดือนกุมภาพันธ์ ปี 2009 รัฐบาลอภิสิทธิ์ได้จัดประชุมสุดยอดอาเซียนครั้งที่ 14 ขึ้นที่ชะอำ – หัวหิน และก็ประสบความสำเร็จ ไทยก็มีบทบาทที่โดดเด่นขึ้น
ต่อมา ในปลายปี 2009 ไทยได้จัดการประชุมสุดยอดอาเซียนครั้งที่ 15 แต่หลังจากนั้น บทบาทไทยในการเป็นประธานอาเซียนก็หมดวาระลง (ไทยเป็นประธานอาเซียน ตั้งแต่กลางปี 2008 ถึงปลายปี 2009) พอปี 2010 เวียดนามก็เป็นประธานอาเซียน บทบาทไทยก็ลดลง อย่างไรก็ตาม ไทยได้ผลักดันเรื่องหนึ่งที่ผมถือว่าเป็นความสำเร็จของรัฐบาลอภิสิทธิ์ คือ แนวคิดเรื่อง ASEAN Connectivity Master Plan ซึ่งเป็นความคิดริเริ่มของไทย เป็นการผลักดันของไทยในอาเซียนที่จะให้อาเซียนนอกจากจะเป็นประชาคมแล้ว ก็ควรจะมีการเชื่อมต่อเข้าหากัน เพื่อที่จะทำให้ประชาคมมีประสิทธิภาพมากขึ้น
ความสำเร็จอีกประการ คือ บทบาทของนายกฯ อภิสิทธิ์ในเวทีโลก สองปีที่ผ่านมา นายกฯ อภิสิทธิ์ ได้พยายามเดินทางไปเข้าร่วมประชุมในเวทีโลกต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น UN ที่นิวยอร์ก การประชุม G20 ก็ไปประชุมที่ลอนดอน ในเดือนเมษายน ปี 2009 และที่ Pittsburgh ในเดือนกันยายน ปี 2009 ในฐานะประธานอาเซียน และในฐานะประธานอาเซียนก็ไปเข้าร่วมประชุม World Economic Forum ด้วย นายกฯ อภิสิทธิ์ ก็เล่นบทบาทในฐานะประธานอาเซียนได้ดีพอสมควร โดยในปลายปี 2009 ได้มีการประชุมสุดยอดอาเซียน – สหรัฐฯ ครั้งแรกซึ่งในตอนนั้น ไทยยังเป็นประธานอาเซียนอยู่ ดังนั้น นายกอภิสิทธิ์ก็รับหน้าที่เป็นประธานการประชุมสุดยอดอาเซียน-สหรัฐฯร่วมกับประธานาธิบดีโอบามา
อย่างไรก็ตาม จากที่กล่าวมาข้างต้น การที่นายกอภิสิทธิ์เดินทางไปร่วมประชุมในเวทีโลกหลายเวที แต่คำถามสำคัญ คือ เราได้อะไร เราไปแล้ว เราไปผลักดันอะไร และทำให้ไทยโดดเด่นขึ้นหรือไม่ ซึ่งผมก็อยากจะประเมินว่า เราก็ได้แค่ไปปรากฎตัว แต่ว่าบทบาทของไทย คือ บทบาทของนายกอภิสิทธิ์ก็ไม่ได้โดดเด่นอะไร ซึ่งประเด็นนี้ผมจะกลับมาประเมินอีกที
ส่วนความสัมพันธ์กับประเทศเพื่อนบ้านเป็นอย่างไรในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา ตอนนี้เราอยู่ในหัวข้อของความสำเร็จ ผมจึงจะยังไม่พูดเรื่องปัญหากับกัมพูชา ซึ่งล้มเหลวอย่างสิ้นเชิง แต่ตอนนี้หากพูดถึงความสำเร็จในแง่ความสัมพันธ์กับประเทศเพื่อนบ้าน โดยเฉพาะความสัมพันธ์กับมาเลเซีย ลาว พม่า และเวียดนาม ผมดูแล้วความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับประเทศเหล่านี้ในช่วง 2 ปี ก็โอเค ไม่ได้เลวร้ายอะไร อยู่ในระดับที่พอรับได้ แต่ประเด็นก็คือ ไม่มีอะไรที่เป็น masterpiece หรือเป็นผลงานชิ้นโบว์แดงของรัฐบาลชุดนี้ ซึ่งประเด็นนี้จะเป็นประเด็นที่ผมจะประเมินต่อในหัวข้อความล้มเหลว
สำหรับความสัมพันธ์ไทยกับมหาอำนาจในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา ก็ไม่มีปัญหาอะไร ซึ่งก็เป็นปกติอยู่แล้วระหว่างไทยกับมหาอำนาจ เพราะว่า เราจะเข้ากับมหาอำนาจได้ดี เรามักจะมีปัญหากับประเทศเพื่อนบ้านมากกว่า ซึ่งกับสหรัฐฯ 2 ปีที่ผ่านมา ก็โอเค Hillary Clinton รัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐฯ ก็เดินทางมาเยือนไทย ในเดือนกรกฎาคม ปี 2009 และได้พบปะหารือกับนายกฯ อภิสิทธิ์ สำหรับความสัมพันธ์กับมหาอำนาจอื่นๆ โดยเฉพาะกับจีน และญี่ปุ่น ก็โอเค ความสัมพันธ์กับภูมิภาคอื่นๆ ก็พอจะไปได้ อันนี้ คือ ความสำเร็จครับ
(โปรดอ่านต่อตอนจบในคอลัมน์กระบวนทรรศน์ตอนหน้า ซึ่งผมจะประเมินต่อในส่วนของความล้มเหลว และข้อเสนอนโยบายต่างประเทศไทยในอนาคต)
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)