ยุทธศาสตร์สหรัฐฯต่อเอเชีย ปี 2011 (ตอนที่ 1)
ตีพิมพ์ใน สยามรัฐสัปดาหวิจารณ์ ฉบับวันพฤหัสบดีที่ 15-วันศุกร์ที่ 21 เมษายน 2554
เมื่อวันที่ 31 มีนาคม Kurt Campbell อธิบดีกรมเอเชียตะวันออกและแปซิฟิก กระทรวงต่างประเทศสหรัฐฯ ได้แถลงนโยบายต่างประเทศสหรัฐฯต่อเอเชีย ต่อคณะกรรมาธิการต่างประเทศ สภาคองเกรส คอลัมน์โลกทรรศน์ จะสรุป และวิเคราะห์คำแถลงดังกล่าว โดยจะแบ่งเป็น 3 ตอน ตอนที่ 1 จะสรุปยุทธศาสตร์ของสหรัฐฯในภาพรวม และยุทธศาสตร์ที่ 1 ซึ่งเน้นเรื่องการกระชับความสัมพันธ์กับพันธมิตรหลัก สำหรับในตอนที่ 2 จะสรุปยุทธศาสตร์ที่ 2 ในด้านการกระชับความสัมพันธ์กับพันธมิตรใหม่ๆ ยุทธศาสตร์ที่ 3 คือ ยุทธศาสตร์ต่อจีน และยุทธศาสตร์ที่ 4 ในเรื่อง สถาปัตยกรรมในภูมิภาค ส่วนในตอนที่ 3 ซึ่งจะเป็นตอนสุดท้าย จะสรุปยุทธศาสตร์ที่ 5 คือ ยุทธศาสตร์ด้านเศรษฐกิจ และจะนำเสนอบทวิเคราะห์ของผมต่อยุทธศาสตร์ทั้ง 5 ดังกล่าว
ภาพรวม
ในตอนต้นของคำแถลง Campbell ได้กล่าวถึงความสำคัญของเอเชียต่อสหรัฐฯว่า ประวัติศาสตร์โลกในศตวรรษที่ 21 จะถูกเขียนขึ้นในเอเชีย อิทธิพลของภูมิภาคกำลังเพิ่มมากขึ้น และจะเป็นกุญแจสำคัญสำหรับอนาคตและความสำเร็จของสหรัฐฯ เอเชียกำลังมีความสำคัญต่อเศรษฐกิจโลก และมีอิทธิพลอย่างมากต่อการจัดการปัญหาของโลก
อย่างไรก็ตาม เอเชียยังมีสิ่งท้าทายหลายประการ ไม่ว่าจะเป็น ปัญหาเกาหลีเหนือและพม่า การแข่งขันทางทหาร การแพร่ขยายของอาวุธนิวเคลียร์ การก่อการร้าย วิกฤติการเงิน ความยากจน รัฐบาลที่อ่อนแอ กรณีพิพาทเรื่องพรมแดน การแข่งขันในเรื่องทรัพยากรธรรมชาติและพลังงาน รวมถึงปัญหาข้ามชาติอื่นๆ ปัญหาเหล่านี้ จำเป็นอย่างยิ่งที่สหรัฐฯจะต้องร่วมมือกับประเทศต่างๆในภูมิภาค เพื่อแก้ไขปัญหาเหล่านี้
Campbell ได้กล่าวเหมือนกับเป็น grand strategy ของสหรัฐฯว่า การเป็นผู้นำของสหรัฐฯในภูมิภาค ถือเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งต่อผลประโยชน์ของสหรัฐฯในระยะยาว รัฐบาล Obama จึงมีนโยบายที่จะปฏิสัมพันธ์ และเล่นบทบาทที่โดดเด่นในภูมิภาค พลังอำนาจทางภูมิรัฐศาสตร์กำลังเปลี่ยนขั้วจากตะวันตกมาตะวันออก และเอเชียจะเป็นแกนหลักของการเปลี่ยนขั้วดังกล่าว การเปลี่ยนแปลงดังกล่าว จะนำไปสู่ทั้งสิ่งท้าทาย และโอกาสสำหรับสหรัฐฯ ดังนั้น สหรัฐฯจะต้องเผชิญกับสิ่งท้าทาย และตักตวงโอกาส ด้วยยุทธศาสตร์ปฏิสัมพันธ์อย่างเข้มข้น และสมบูรณ์เบ็ดเสร็จ
รัฐบาล Obama ได้กำหนดยุทธศาสตร์ต่อเอเชียไว้ 5 ยุทธศาสตร์ด้วยกัน
ยุทธศาสตร์ที่ 1 กระชับความสัมพันธ์กับพันธมิตร
ยุทธศาสตร์นี้จะเน้นความสัมพันธ์กับพันธมิตรทั้ง 5 ของสหรัฐฯ ได้แก่ ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ ออสเตรเลีย ไทย และฟิลิปปินส์ ความสัมพันธ์กับพันธมิตรทั้ง 5 ถือเป็นรากฐานสำคัญของยุทธศาสตร์ปฏิสัมพันธ์ของสหรัฐฯในภูมิภาค
ญี่ปุ่น : การเป็นพันธมิตรกับญี่ปุ่น ถือเป็นแกนหลักของยุทธศาสตร์ปฏิสัมพันธ์ในเอเชีย ความสัมพันธ์ระหว่างสหรัฐฯกับญี่ปุ่นยังคงเข้มข้น และครอบคลุมเบ็ดเสร็จ
เกาหลีใต้ : สหรัฐฯกำลังพัฒนาพันธมิตรทางทหารกับเกาหลีใต้ และตอกย้ำพันธกรณีที่จะปกป้องเกาหลีใต้ และจะคงกองกำลังทางทหารในคาบสมุทรเกาหลีต่อไป
นอกจากนี้ มีกรอบความร่วมมือ 3 ฝ่าย ระหว่าง สหรัฐฯ ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ เกิดขึ้น ซึ่งเล่นบทบาทสำคัญในการสร้างสันติภาพในภูมิภาค โดยเฉพาะ การเผชิญกับภัยคุกคามจากเกาหลีเหนือ ในการประชุมรัฐมนตรี 3 ฝ่าย หรือ ไตรภาคี ระหว่าง สหรัฐฯ ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ ในเดือน ธันวาคม ปีที่แล้ว ทั้ง 3 ประเทศได้ออกแถลงการณ์ร่วม กำหนดจุดยืนร่วมกัน ต่อกรณีปัญหาเกาหลีเหนือ นอกจากนี้ สหรัฐฯ ได้ร่วมมือกับญี่ปุ่นและเกาหลีใต้ ในกรอบการเจรจา 6 ฝ่าย เพื่อทำให้คาบสมุทรเกาหลีปราศจากอาวุธนิวเคลียร์
ออสเตรเลีย : ซึ่งก็เป็นแกนหลักของความมั่นคงในภูมิภาคเช่นเดียวกัน ออสเตรเลียเป็นประเทศนอกนาโต้ ที่ส่งกองกำลังทหารจำนวนมากที่สุดไปร่วมรบในอัฟกานิสถาน นอกจากนี้ สหรัฐฯได้พัฒนากรอบความร่วมมือ 3 ฝ่าย ระหว่าง สหรัฐฯ ออสเตรเลีย และญี่ปุ่น ที่เรียกว่า Trilateral Strategic Dialogue ด้วย
ฟิลิปปินส์ : สหรัฐฯร่วมมือกับฟิลิปปินส์ในด้านความมั่นคงทางทะเล และการจัดการภัยพิบัติ ในเดือนมกราคมที่ผ่านมา ได้มีการจัดประชุมครั้งแรก ระหว่าง ฟิลิปปินส์กับสหรัฐฯ ซึ่งเป็นการประชุมร่วมระหว่าง กระทรวงต่างประเทศ และกระทรวงกลาโหม ของสหรัฐฯกับฟิลิปปินส์
ไทย : สำหรับไทย ที่เป็นพันธมิตรในเอเชียตะวันออกที่เก่าแก่ที่สุดของสหรัฐฯ ได้มีความร่วมมือกันหลายเรื่อง โดยกองทัพเรือไทยกับสหรัฐฯร่วมมือกันในการจัดส่งเรือรบไปยังเขตน่านน้ำโซมาเลีย เพื่อจัดการกับปัญหาโจรสลัด นอกจากนี้ ไทยได้ส่งกองกำลังเข้าร่วมกับกองกำลังรักษาสันติภาพของ UN ใน Darfur ด้วย
ความสัมพันธ์ทางทหาร ระหว่างสหรัฐฯ กับไทย และฟิลิปปินส์ ได้ครอบคลุมถึงการซ้อมรบร่วม การแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวกรอง การให้ความช่วยเหลือในด้าน logistics การพัฒนาบุคลากร และฝึกอบรมต่างๆ โดยเฉพาะในด้านการรักษาสันติภาพ และการปราบปรามโจรสลัด
(โปรดอ่านต่อตอนที่ 2 ในคอลัมน์โลกทรรศน์สัปดาห์หน้า ซึ่งจะกล่าวถึง ยุทธศาสตร์ที่ 2 ในด้านการกระชับความสัมพันธ์กับพันธมิตรใหม่ๆ ยุทธศาสตร์ที่ 3 คือ ยุทธศาสตร์ต่อจีน และยุทธศาสตร์ที่ 4 ในเรื่อง สถาปัตยกรรมในภูมิภาค)
วันพฤหัสบดีที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2554
วันจันทร์ที่ 25 เมษายน พ.ศ. 2554
ระเบียบโลกใหม่ปี 2020 : ผลกระทบและการปรับตัวของไทย (ตอนจบ)
ระเบียบโลกใหม่ปี 2020 : ผลกระทบและการปรับตัวของไทย (ตอนจบ)
ตีพิมพ์ใน ไทยโพสต์ ฉบับวันพฤหัสบดีที่ 21 เมษายน 2554
คอลัมน์กระบวนทรรศน์ตอนที่แล้ว ผมได้วิเคราะห์ภูมิหลังของระเบียบโลกปี 2020 โดยได้พูดถึงระเบียบโลกในยุคหลังสงครามเย็น และระเบียบโลกในปัจจุบันไปแล้ว สำหรับคอลัมน์ในตอนนี้ ซึ่งจะเป็นตอนจบ ผมจะมาวิเคราะห์ต่อถึงแนวโน้มระเบียบโลกใหม่ในอนาคตอีก 10 ปี ข้างหน้า คือ ประมาณปี 2020 และผลกระทบ รวมทั้งข้อเสนอการปรับตัวของไทย เพื่อรองรับต่อระเบียบโลกใหม่ดังกล่าว
ระเบียบโลกใหม่ปี 2020
ตอนนี้ เรามาดูกันถึงอนาคตในอีก 10 ปีข้างหน้าว่า ระเบียบโลกใหม่ในปี 2020 จะมีรูปร่างหน้าตาอย่างไร
• ขั้วอำนาจของระเบียบโลกใหม่
ผมมองว่า ระเบียบโลกในอีก 10 ปีข้างหน้า สหรัฐฯจะยังคงเป็นอันดับ 1 อยู่ โดยอำนาจทาง
ทหาร สหรัฐฯจะยังคงแข็งแกร่งอยู่
แต่อำนาจทางเศรษฐกิจ สหรัฐฯ อาจจะแผ่วลง จีนคงจะผงาดขึ้นมา แต่อเมริกายังจะเหนือกว่าจีนอยู่ ในแง่ของขนาดเศรษฐกิจ โดยเฉพาะในช่วง 10 ปีข้างหน้า แต่หากมองไปถึงอีก 20-30 ปีข้างหน้า จีนจะแซงหน้าสหรัฐฯกลายเป็นประเทศที่มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่ที่สุดในโลก
ในด้านการเมือง อเมริกาจะยังคงมีอิทธิพลทางการเมืองในระเบียบโลกอยู่ จากการที่ครอบงำโลกมานาน และจะยังคงครอบงำโลกต่อไป ตัวอย่างอิทธิพลทางการเมืองของสหรัฐฯ เช่น อิทธิพลใน UN ในการจัดการด้านความมั่นคง อิทธิพลใน NATO ที่เป็นพันธมิตรของสหรัฐฯ และสหรัฐฯ มีพันธมิตรอยู่ทั่วโลก อย่างเช่น ไทย ญี่ปุ่น สิงคโปร์ ออสเตรเลีย จะยังคงเป็นพันธมิตรหลักๆของสหรัฐฯ ผมคิดว่า อีก 10 ปี ข้างหน้า ก็ยังคงจะไม่เปลี่ยน เพราะอำนาจทางทหาร สหรัฐฯ ก็มั่นคง อำนาจทางการเมือง ก็มั่นคง เพราะฉะนั้น เวลาสหรัฐฯพูดอะไร ประเทศอื่นก็ต้องฟัง เวลาเกิดปัญหาอะไรขึ้นมาในโลก ประเทศต่างๆก็ต้องมองหาอเมริกาว่า จะเป็นผู้นำในการแก้ปัญหาอย่างไร เช่น ปัญหาลิเบีย ก็ต้องมองไปที่อเมริกาว่า สหรัฐฯจะมีบทบาทในการโค่น Gaddafi ลงไปได้อย่างไร เพราะฉะนั้น อเมริกายังคงเป็นผู้นำในการแก้ปัญหาของโลกอยู่ ใน UN อเมริกายังมีอิทธิพลอยู่มาก อย่างเช่น เลขาธิการ UN ก็ต้องได้รับการยอมรับจากอเมริกา เวทีเศรษฐกิจโลกก็ชัด ถึงแม้ว่าอำนาจทางเศรษฐกิจของสหรัฐฯจะแผ่วลง แต่การบริหารจัดการเศรษฐกิจโลก กลไกสำคัญ คือ G8, G20, IMF และ World Bank ซึ่งกลไกเหล่านี้ อเมริกาครอบงำอยู่ทั้งหมด
อย่างไรก็ตาม ผมมองว่า ในปี 2020 ขั้วอำนาจของระเบียบโลก จะไม่เป็น unipolar หรือขั้วเดียวอย่างสมบูรณ์แบบ แต่จะเป็นระบบลูกผสม กึ่งขั้วเดียวกึ่งหลายขั้ว หรือที่ภาษาอังกฤษเรียกว่า uni-multipolar คือ หนึ่งขั้วแบบ 20 ปีที่แล้ว ก็ไม่ใช่แล้ว เพราะการผงาดขึ้นมาของจีนและอินเดีย ในอีก 10 ปีข้างหน้า จะชัดขึ้น ซึ่งจะทำให้ระเบียบโลกพัฒนาไปสู่ระบบหลายขั้วอำนาจ ระเบียบโลกจึงกำลังจะเปลี่ยนผ่านอย่างช้าๆจากระบบหนึ่งขั้วอำนาจไปสู่ระบบหลายขั้วอำนาจ แต่ก็ยังไปไม่ถึงจุดนั้น คือ ในปี 2020 จะยังไม่เป็นระบบหลายขั้วอำนาจอยู่ดี แต่จะเป็นอย่างที่ผมบอก คือ เป็นระบบลูกผสม กึ่งหนึ่งขั้วกึ่งหลายขั้ว
ในปี 2020 อเมริกาจะไม่ได้โดดเด่นอยู่บนยอดปิระมิดแต่เพียงผู้เดียวเหมือนในช่วง 20 ปีที่ผ่านมา แต่จะมี จีนและอินเดีย ไล่ตามขึ้นมา จะทำให้ระเบียบโลกเปลี่ยนไป และสหรัฐฯจะคุมเกมได้ยากขึ้น เพราะมหาอำนาจใหม่จะมีอำนาจมากขึ้น และจะนำไปสู่ความขัดแย้งระหว่างมหาอำนาจมากขึ้น เพราะมหาอำนาจใหม่ โดยเฉพาะจีน มีความทะเยอทะยานมาก ในการที่จะผงาดขึ้นมา และเศรษฐกิจของจีนกำลังจะใหญ่ขึ้นมาเทียบเท่าอเมริกาแล้ว และจีนก็ไม่ชอบอเมริกา และต้องการแข่งกับอเมริกา
เพราะฉะนั้น ในอีก 10 ปีข้างหน้า ความขัดแย้งระหว่างจีนกับสหรัฐฯ จะเพิ่มมากขึ้น ปีที่แล้ว เราได้เห็นแล้วว่า อเมริกากับจีนขัดแย้งกันหลายเรื่อง
ผมมองว่า ความขัดแย้งระหว่างจีนกับอเมริกาจะมีความรุนแรงเป็นอันดับ 1 ส่วนความขัดแย้งระหว่างสหรัฐฯกับรัสเซีย จะมีความรุนแรงเป็นอันดับ 2 รัสเซียมีอำนาจการต่อรองเพิ่มมากขึ้น โดยมีทรัพยากรน้ำมันและก๊าซธรรมชาติมหาศาล รัสเซียไม่ชอบสหรัฐฯ เพราะมองว่า สหรัฐฯกำลังดำเนินยุทธศาสตร์ปิดล้อมรัสเซีย (เหมือนกับจีน ซึ่งก็มองว่าอเมริกากำลังปิดล้อมจีนอยู่) ความขัดแย้งระหว่างรัสเซียกับตะวันตก จึงมีแนวโน้มสูงขึ้น โดยเฉพาะ หากอเมริกายังคงพยายามขยายอิทธิพลเข้าสู่เขตอิทธิพลเดิมของรัสเซีย คือ ยุโรปตะวันออก ประเทศอดีตสหภาพโซเวียต อาทิ ยูเครน คาบสมุทรบอลข่าน และเทือกเขาคอเคซัส
เมื่อ 2-3 ปีที่แล้ว ก็เกิดปัญหาขึ้นมาแล้ว โดยในสมัยรัฐบาลบุช สหรัฐฯตัดสินใจจะดึงยูเครนและจอร์เจียเข้ามาเป็นสมาชิกนาโต้ ซึ่งทำให้รัสเซียโกรธมาก นำไปสู่สงครามระหว่างรัสเซียกับจอร์เจีย ในปี 2008 ซึ่งแสดงให้เห็นว่า รัสเซียพร้อมที่จะใช้กำลังทางทหาร ในอนาคต ความขัดแย้งระหว่างรัสเซียกับตะวันตก จึงอาจจะรุนแรงมากขึ้น
ความสัมพันธ์ระหว่างสหรัฐฯกับจีนและรัสเซีย มีแนวโน้มขัดแย้งมากขึ้นในอนาคต ซึ่งจะต่างกับความสัมพันธ์กับมหาอำนาจใหม่บางประเทศ อย่างเช่น บราซิล ซึ่งไม่ได้เป็นมหาอำนาจทางทหาร แต่มีอำนาจทางเศรษฐกิจมากขึ้น บราซิลจะไม่ขัดแย้งกับอเมริกามากเท่าไร เช่นเดียวกับญี่ปุ่น ที่เป็นมหาอำนาจทางเศรษฐกิจ แต่ยอมอเมริกามาตลอด อินเดียก็ไม่น่าจะมีปัญหาอะไรกับอเมริกา เพราะอินเดียยอมอเมริกา ต่างกับจีนและรัสเซีย ที่ไม่ยอมอเมริกา
• การปะทะกันทางอารยธรรม
ลักษณะอีกประการของระเบียบโลกใหม่ในอีก 10 ปีข้างหน้า คือ แนวโน้มของการปะทะ
กันทางอารยธรรม (clash of civilizations) ตามทฤษฎีของ Huntington ซึ่งประเด็นหลักของทฤษฎีนี้ คือ ความขัดแย้งในโลกในอนาคต จะมีสาเหตุมาจากความขัดแย้งทางด้านวัฒนธรรม ศาสนา และชาติพันธุ์
10 ปีที่แล้ว ในปี 2001 เกิดเหตุการณ์ 11 กันยาฯ ชี้ให้เห็นในระดับหนึ่งว่า การปะทะกันทางอารยธรรมได้เกิดขึ้นแล้ว จากการที่ชาวมุสลิมกลุ่มหนึ่งที่ไม่ชอบอเมริกา และเป็นกลุ่มหัวรุนแรง ก่อวินาศกรรมครั้งใหญ่ และหลังจากนั้น การก่อการร้ายก็เพิ่มขึ้นทั่วโลก กลุ่มหัวรุนแรงที่มีอุดมการณ์ในแนวเดียวกับ al Qaeda และ Bin Laden เพิ่มขึ้นทั่วโลก เป้าหมาย คือ การตั้งรัฐอิสลามขึ้น ด้วยการปกครองโดยผู้นำศาสนา และขจัดอิทธิพลของตะวันตกให้หมดไปจากโลกมุสลิม
ความขัดแย้งทางอารยธรรม อีก 10 ปีข้างหน้า มีแนวโน้มว่า อาจจะรุนแรงมากขึ้น ชาวมุสลิมเคร่งศาสนามากขึ้น มีแนวคิดต่อต้านตะวันตก ต่อต้านโลกาภิวัฒน์มากขึ้น โดยเฉพาะกลุ่มหัวรุนแรงมองว่า วัฒนธรรมดั้งเดิมของสังคมมุสลิมกำลังถูกทำลาย และได้รับผลกระทบอย่างหนักจากกระแสโลกาภิวัฒน์ และค่านิยมตะวันตกที่ถาโถมเข้ามา ทำให้ชาวมุสลิมได้รับผลกระทบจากค่านิยมตะวันตกมากขึ้นเรื่อยๆ จริยธรรมเริ่มเสื่อมลง สังคมมุสลิมเสื่อมลง กลุ่มมุสลิมหัวรุนแรงจึงยอมไม่ได้ และต้องการที่จะปกป้องศาสนา โดยมองว่า ทุกอย่างที่เป็นตะวันตกเป็นสิ่งชั่วร้ายทั้งสิ้น ดังนั้น จึงต้องทำสงครามศาสนา หรือ Jihad กับโลกตะวันตก
• โลกาภิบาล
ลักษณะประการที่ 3 ของระเบียบโลกใหม่ในปี 2020 คือ โลกาภิบาล ที่ภาษาอังกฤษเรียกว่า
global governance คือ จะมีการบริหารจัดการในระดับโลกมากขึ้น โลกจะมีลักษณะเป็นประชาคมโลกมากขึ้น ประเทศต่างๆจะตระหนักมากขึ้นว่า โลกมีปัญหาร่วมกัน ทุกประเทศจะต้องร่วมกันแก้ปัญหา เพราะฉะนั้น บทบาทขององค์การระหว่างประเทศจะเพิ่มมากขึ้น เช่น ปัญหาภาวะโลกร้อน เป็นปัญหาใหญ่ของโลก ไม่มีประเทศไหนจะแก้ปัญหาภาวะโลกร้อนได้แต่เพียงลำพัง แต่ต้องอาศัยความร่วมมือจากทั้งโลกร่วมกันแก้ ในอนาคต ปัญหาในลักษณะนี้จะเพิ่มมากขึ้น นำไปสู่การที่ประเทศต่างๆจะร่วมมือกันมากขึ้น
• ทรัพยากร
ลักษณะประการที่ 4 ของระเบียบโลกปี 2020 คือ ความขัดแย้งในอนาคต จะเป็นความขัดแย้ง
ในการแย่งชิงทรัพยากรธรรมชาติ โดยเฉพาะการแย่งชิง น้ำ น้ำมัน และอาหาร ในปี 2020 ทรัพยากรและพลังงาน จะลดลง จะเกิดการแย่งชิงกันมากขึ้น ในอีก 10 ปีข้างหน้า น้ำสะอาดจะลดน้อยลง อาจเนื่องมาจากภาวะโลกร้อน และปัจจัยอื่นๆ ซึ่งอาจนำไปสู่สงครามแย่งชิงทรัพยากรน้ำในอนาคต อย่างเช่นในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ก็มีปัญหาเรื่องแม่โขง คือ จีนสร้างเขื่อนกันน้ำไว้ใช้คนเดียว หน้าแล้ง น้ำก็แห้ง ประเทศปลายน้ำก็ไม่มีน้ำใช้ ทำให้ประเทศเหล่านี้ไม่พอใจจีนที่กักน้ำไว้ใช้คนเดียว ปัญหาในทำนองนี้ อาจจะกลายเป็นปัญหาใหญ่ในอนาคต ซึ่งอาจนำไปสู่ความขัดแย้งถึงขั้นสงครามได้
ผลกระทบและการปรับตัวของไทย
จากการวิเคราะห์แนวโน้มระเบียบโลกปี 2020 ดังกล่าวข้างต้น จะส่งผลกระทบต่อไทยอย่างไร และไทย
จะต้องปรับตัวเพื่อรองรับต่อผลกระทบดังกล่าวอย่างไร
ผมขอเสนอแนวทางการปรับตัวของไทยเป็นข้อๆ ดังนี้
• การที่ระเบียบโลกในปี 2020 จะมีลักษณะเป็นระบบลูกผสม คือ หนึ่งขั้วผสมหลายขั้ว
หมายความว่า ไทยจะต้องเตรียมพร้อมในการที่จะรองรับระเบียบโลกใหม่ ในอดีต เราพึ่งพาอเมริกาประเทศเดียว แต่ในอนาคต เราจะต้องปรับยุทธศาสตร์การทูตให้ใกล้ชิดกับมหาอำนาจใหม่มากขึ้น อีก 10 ปีข้างหน้า เราจะต้องปรับเปลี่ยนยุทธศาสตร์ต่อมหาอำนาจ โดยต้องปรับยุทธศาสตร์ใหม่ เพื่อเข้าหามหาอำนาจใหม่มากขึ้น โดยเฉพาะกับ จีน อินเดีย รัสเซีย และบราซิล
นอกจากนี้ ยังมีมหาอำนาจใหม่อีกกลุ่มหนึ่ง คือ ในปี 2050 ได้มีการจัดอันดับว่า ประเทศใดจะมีขนาดเศรษฐกิจที่ใหญ่ 20 อันดับแรกของโลก เพราะฉะนั้น ประเทศใน 20 อันดับนี้ เราจะต้องเริ่มปรับเปลี่ยน และให้ความสำคัญกับประเทศเหล่านี้มากขึ้น ยกตัวอย่างเช่น เม็กซิโก อาร์เจนตินา บราซิล ตุรกี แอฟริกาใต้ ซาอุดิอาระเบีย และอียิปต์ เป็นต้น
• สำหรับปัญหาการก่อการร้าย การปะทะกันทางอารยธรรม และความขัดแย้งทางด้านชาติพันธุ์
และศาสนา ซึ่งจะเป็นแนวโน้มในอนาคตนั้น ไทยจะต้องเตรียมที่จะรับมือในเรื่องนี้ เราคงจะต้องพยายามที่จะ หาหนทางที่จะอยู่ร่วมกันอย่างสันติ แม้ว่าจะมีความแตกต่างกันในเรื่องศาสนา เราจะต้องพยายามไม่เข้าไปอยู่ท่ามกลางความขัดแย้งทางอารยธรรม โดยเฉพาะความขัดแย้งระหว่างตะวันตกกับอิสลาม
• สำหรับเรื่อง ธรรมาภิบาล หรือ global governance นั้น ในอีก 10 ปีข้างหน้า
องค์การระหว่างประเทศจะมีบทบาทมากขึ้น ทั้งในระดับโลกและในระดับภูมิภาค ระดับโลก เช่น UN ในระดับภูมิภาค เช่น อาเซียน เพราะฉะนั้น ไทยจะต้องรีบเข้าไปมีบทบาทในองค์กรเหล่านี้ โดยเฉพาะในอาเซียน เราจะต้องมีบทบาทนำ
• สำหรับแนวโน้ม The Rise of Asia หรือการผงาดขึ้นมาของเอเชียนั้น ชัดเจนมากขึ้นเรื่อยๆ
ไทยจะต้องเตรียมยุทธศาสตร์เพื่อที่จะทำให้ไทยเป็นส่วนหนึ่งของ “ศตวรรษแห่งเอเชีย”
• ส่วนความขัดแย้งเหนือ-ใต้ ที่จะยังคงมีอยู่ต่อไปในอีก 10 ปีข้างหน้านั้น ไทยต้องมี
ยุทธศาสตร์รองรับว่า เราจะมีท่าทีอย่างไรในการเจรจาเหนือ-ใต้ เราจะมีท่าทีอย่างไรในการเจรจาภาวะโลกร้อน และการเจรจาในเวที WTO
• ส่วนเรื่องสุดท้าย คือ เรื่องความขัดแย้งในการแย่งชิงทรัพยากร เราต้องเตรียมรับมือ เพราะ
ไทยเป็นประเทศที่มีทรัพยากรธรรมชาติไม่เพียงพอ โดยเฉพาะพลังงาน รัฐบาลต้องเอาจริงเอาจังในเรื่องนี้ ซึ่งควรเป็นวาระแห่งชาติเรื่องหนึ่ง ประเทศอย่างเช่น จีนและอินเดีย เอาจริงเอาจังมากกับเรื่องนี้ จีนมียุทธศาสตร์ชัดเจนมากในการที่จะไปแสวงหาแหล่งทรัพยากร โดยเฉพาะ น้ำมัน จากทั่วโลก โดยไปตีสนิทกับประเทศที่มีน้ำมัน อย่างเช่น ซูดาน อิหร่าน แต่ไทยยังไม่มียุทธศาสตร์ในเชิงรุกในเรื่องนี้
ตีพิมพ์ใน ไทยโพสต์ ฉบับวันพฤหัสบดีที่ 21 เมษายน 2554
คอลัมน์กระบวนทรรศน์ตอนที่แล้ว ผมได้วิเคราะห์ภูมิหลังของระเบียบโลกปี 2020 โดยได้พูดถึงระเบียบโลกในยุคหลังสงครามเย็น และระเบียบโลกในปัจจุบันไปแล้ว สำหรับคอลัมน์ในตอนนี้ ซึ่งจะเป็นตอนจบ ผมจะมาวิเคราะห์ต่อถึงแนวโน้มระเบียบโลกใหม่ในอนาคตอีก 10 ปี ข้างหน้า คือ ประมาณปี 2020 และผลกระทบ รวมทั้งข้อเสนอการปรับตัวของไทย เพื่อรองรับต่อระเบียบโลกใหม่ดังกล่าว
ระเบียบโลกใหม่ปี 2020
ตอนนี้ เรามาดูกันถึงอนาคตในอีก 10 ปีข้างหน้าว่า ระเบียบโลกใหม่ในปี 2020 จะมีรูปร่างหน้าตาอย่างไร
• ขั้วอำนาจของระเบียบโลกใหม่
ผมมองว่า ระเบียบโลกในอีก 10 ปีข้างหน้า สหรัฐฯจะยังคงเป็นอันดับ 1 อยู่ โดยอำนาจทาง
ทหาร สหรัฐฯจะยังคงแข็งแกร่งอยู่
แต่อำนาจทางเศรษฐกิจ สหรัฐฯ อาจจะแผ่วลง จีนคงจะผงาดขึ้นมา แต่อเมริกายังจะเหนือกว่าจีนอยู่ ในแง่ของขนาดเศรษฐกิจ โดยเฉพาะในช่วง 10 ปีข้างหน้า แต่หากมองไปถึงอีก 20-30 ปีข้างหน้า จีนจะแซงหน้าสหรัฐฯกลายเป็นประเทศที่มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่ที่สุดในโลก
ในด้านการเมือง อเมริกาจะยังคงมีอิทธิพลทางการเมืองในระเบียบโลกอยู่ จากการที่ครอบงำโลกมานาน และจะยังคงครอบงำโลกต่อไป ตัวอย่างอิทธิพลทางการเมืองของสหรัฐฯ เช่น อิทธิพลใน UN ในการจัดการด้านความมั่นคง อิทธิพลใน NATO ที่เป็นพันธมิตรของสหรัฐฯ และสหรัฐฯ มีพันธมิตรอยู่ทั่วโลก อย่างเช่น ไทย ญี่ปุ่น สิงคโปร์ ออสเตรเลีย จะยังคงเป็นพันธมิตรหลักๆของสหรัฐฯ ผมคิดว่า อีก 10 ปี ข้างหน้า ก็ยังคงจะไม่เปลี่ยน เพราะอำนาจทางทหาร สหรัฐฯ ก็มั่นคง อำนาจทางการเมือง ก็มั่นคง เพราะฉะนั้น เวลาสหรัฐฯพูดอะไร ประเทศอื่นก็ต้องฟัง เวลาเกิดปัญหาอะไรขึ้นมาในโลก ประเทศต่างๆก็ต้องมองหาอเมริกาว่า จะเป็นผู้นำในการแก้ปัญหาอย่างไร เช่น ปัญหาลิเบีย ก็ต้องมองไปที่อเมริกาว่า สหรัฐฯจะมีบทบาทในการโค่น Gaddafi ลงไปได้อย่างไร เพราะฉะนั้น อเมริกายังคงเป็นผู้นำในการแก้ปัญหาของโลกอยู่ ใน UN อเมริกายังมีอิทธิพลอยู่มาก อย่างเช่น เลขาธิการ UN ก็ต้องได้รับการยอมรับจากอเมริกา เวทีเศรษฐกิจโลกก็ชัด ถึงแม้ว่าอำนาจทางเศรษฐกิจของสหรัฐฯจะแผ่วลง แต่การบริหารจัดการเศรษฐกิจโลก กลไกสำคัญ คือ G8, G20, IMF และ World Bank ซึ่งกลไกเหล่านี้ อเมริกาครอบงำอยู่ทั้งหมด
อย่างไรก็ตาม ผมมองว่า ในปี 2020 ขั้วอำนาจของระเบียบโลก จะไม่เป็น unipolar หรือขั้วเดียวอย่างสมบูรณ์แบบ แต่จะเป็นระบบลูกผสม กึ่งขั้วเดียวกึ่งหลายขั้ว หรือที่ภาษาอังกฤษเรียกว่า uni-multipolar คือ หนึ่งขั้วแบบ 20 ปีที่แล้ว ก็ไม่ใช่แล้ว เพราะการผงาดขึ้นมาของจีนและอินเดีย ในอีก 10 ปีข้างหน้า จะชัดขึ้น ซึ่งจะทำให้ระเบียบโลกพัฒนาไปสู่ระบบหลายขั้วอำนาจ ระเบียบโลกจึงกำลังจะเปลี่ยนผ่านอย่างช้าๆจากระบบหนึ่งขั้วอำนาจไปสู่ระบบหลายขั้วอำนาจ แต่ก็ยังไปไม่ถึงจุดนั้น คือ ในปี 2020 จะยังไม่เป็นระบบหลายขั้วอำนาจอยู่ดี แต่จะเป็นอย่างที่ผมบอก คือ เป็นระบบลูกผสม กึ่งหนึ่งขั้วกึ่งหลายขั้ว
ในปี 2020 อเมริกาจะไม่ได้โดดเด่นอยู่บนยอดปิระมิดแต่เพียงผู้เดียวเหมือนในช่วง 20 ปีที่ผ่านมา แต่จะมี จีนและอินเดีย ไล่ตามขึ้นมา จะทำให้ระเบียบโลกเปลี่ยนไป และสหรัฐฯจะคุมเกมได้ยากขึ้น เพราะมหาอำนาจใหม่จะมีอำนาจมากขึ้น และจะนำไปสู่ความขัดแย้งระหว่างมหาอำนาจมากขึ้น เพราะมหาอำนาจใหม่ โดยเฉพาะจีน มีความทะเยอทะยานมาก ในการที่จะผงาดขึ้นมา และเศรษฐกิจของจีนกำลังจะใหญ่ขึ้นมาเทียบเท่าอเมริกาแล้ว และจีนก็ไม่ชอบอเมริกา และต้องการแข่งกับอเมริกา
เพราะฉะนั้น ในอีก 10 ปีข้างหน้า ความขัดแย้งระหว่างจีนกับสหรัฐฯ จะเพิ่มมากขึ้น ปีที่แล้ว เราได้เห็นแล้วว่า อเมริกากับจีนขัดแย้งกันหลายเรื่อง
ผมมองว่า ความขัดแย้งระหว่างจีนกับอเมริกาจะมีความรุนแรงเป็นอันดับ 1 ส่วนความขัดแย้งระหว่างสหรัฐฯกับรัสเซีย จะมีความรุนแรงเป็นอันดับ 2 รัสเซียมีอำนาจการต่อรองเพิ่มมากขึ้น โดยมีทรัพยากรน้ำมันและก๊าซธรรมชาติมหาศาล รัสเซียไม่ชอบสหรัฐฯ เพราะมองว่า สหรัฐฯกำลังดำเนินยุทธศาสตร์ปิดล้อมรัสเซีย (เหมือนกับจีน ซึ่งก็มองว่าอเมริกากำลังปิดล้อมจีนอยู่) ความขัดแย้งระหว่างรัสเซียกับตะวันตก จึงมีแนวโน้มสูงขึ้น โดยเฉพาะ หากอเมริกายังคงพยายามขยายอิทธิพลเข้าสู่เขตอิทธิพลเดิมของรัสเซีย คือ ยุโรปตะวันออก ประเทศอดีตสหภาพโซเวียต อาทิ ยูเครน คาบสมุทรบอลข่าน และเทือกเขาคอเคซัส
เมื่อ 2-3 ปีที่แล้ว ก็เกิดปัญหาขึ้นมาแล้ว โดยในสมัยรัฐบาลบุช สหรัฐฯตัดสินใจจะดึงยูเครนและจอร์เจียเข้ามาเป็นสมาชิกนาโต้ ซึ่งทำให้รัสเซียโกรธมาก นำไปสู่สงครามระหว่างรัสเซียกับจอร์เจีย ในปี 2008 ซึ่งแสดงให้เห็นว่า รัสเซียพร้อมที่จะใช้กำลังทางทหาร ในอนาคต ความขัดแย้งระหว่างรัสเซียกับตะวันตก จึงอาจจะรุนแรงมากขึ้น
ความสัมพันธ์ระหว่างสหรัฐฯกับจีนและรัสเซีย มีแนวโน้มขัดแย้งมากขึ้นในอนาคต ซึ่งจะต่างกับความสัมพันธ์กับมหาอำนาจใหม่บางประเทศ อย่างเช่น บราซิล ซึ่งไม่ได้เป็นมหาอำนาจทางทหาร แต่มีอำนาจทางเศรษฐกิจมากขึ้น บราซิลจะไม่ขัดแย้งกับอเมริกามากเท่าไร เช่นเดียวกับญี่ปุ่น ที่เป็นมหาอำนาจทางเศรษฐกิจ แต่ยอมอเมริกามาตลอด อินเดียก็ไม่น่าจะมีปัญหาอะไรกับอเมริกา เพราะอินเดียยอมอเมริกา ต่างกับจีนและรัสเซีย ที่ไม่ยอมอเมริกา
• การปะทะกันทางอารยธรรม
ลักษณะอีกประการของระเบียบโลกใหม่ในอีก 10 ปีข้างหน้า คือ แนวโน้มของการปะทะ
กันทางอารยธรรม (clash of civilizations) ตามทฤษฎีของ Huntington ซึ่งประเด็นหลักของทฤษฎีนี้ คือ ความขัดแย้งในโลกในอนาคต จะมีสาเหตุมาจากความขัดแย้งทางด้านวัฒนธรรม ศาสนา และชาติพันธุ์
10 ปีที่แล้ว ในปี 2001 เกิดเหตุการณ์ 11 กันยาฯ ชี้ให้เห็นในระดับหนึ่งว่า การปะทะกันทางอารยธรรมได้เกิดขึ้นแล้ว จากการที่ชาวมุสลิมกลุ่มหนึ่งที่ไม่ชอบอเมริกา และเป็นกลุ่มหัวรุนแรง ก่อวินาศกรรมครั้งใหญ่ และหลังจากนั้น การก่อการร้ายก็เพิ่มขึ้นทั่วโลก กลุ่มหัวรุนแรงที่มีอุดมการณ์ในแนวเดียวกับ al Qaeda และ Bin Laden เพิ่มขึ้นทั่วโลก เป้าหมาย คือ การตั้งรัฐอิสลามขึ้น ด้วยการปกครองโดยผู้นำศาสนา และขจัดอิทธิพลของตะวันตกให้หมดไปจากโลกมุสลิม
ความขัดแย้งทางอารยธรรม อีก 10 ปีข้างหน้า มีแนวโน้มว่า อาจจะรุนแรงมากขึ้น ชาวมุสลิมเคร่งศาสนามากขึ้น มีแนวคิดต่อต้านตะวันตก ต่อต้านโลกาภิวัฒน์มากขึ้น โดยเฉพาะกลุ่มหัวรุนแรงมองว่า วัฒนธรรมดั้งเดิมของสังคมมุสลิมกำลังถูกทำลาย และได้รับผลกระทบอย่างหนักจากกระแสโลกาภิวัฒน์ และค่านิยมตะวันตกที่ถาโถมเข้ามา ทำให้ชาวมุสลิมได้รับผลกระทบจากค่านิยมตะวันตกมากขึ้นเรื่อยๆ จริยธรรมเริ่มเสื่อมลง สังคมมุสลิมเสื่อมลง กลุ่มมุสลิมหัวรุนแรงจึงยอมไม่ได้ และต้องการที่จะปกป้องศาสนา โดยมองว่า ทุกอย่างที่เป็นตะวันตกเป็นสิ่งชั่วร้ายทั้งสิ้น ดังนั้น จึงต้องทำสงครามศาสนา หรือ Jihad กับโลกตะวันตก
• โลกาภิบาล
ลักษณะประการที่ 3 ของระเบียบโลกใหม่ในปี 2020 คือ โลกาภิบาล ที่ภาษาอังกฤษเรียกว่า
global governance คือ จะมีการบริหารจัดการในระดับโลกมากขึ้น โลกจะมีลักษณะเป็นประชาคมโลกมากขึ้น ประเทศต่างๆจะตระหนักมากขึ้นว่า โลกมีปัญหาร่วมกัน ทุกประเทศจะต้องร่วมกันแก้ปัญหา เพราะฉะนั้น บทบาทขององค์การระหว่างประเทศจะเพิ่มมากขึ้น เช่น ปัญหาภาวะโลกร้อน เป็นปัญหาใหญ่ของโลก ไม่มีประเทศไหนจะแก้ปัญหาภาวะโลกร้อนได้แต่เพียงลำพัง แต่ต้องอาศัยความร่วมมือจากทั้งโลกร่วมกันแก้ ในอนาคต ปัญหาในลักษณะนี้จะเพิ่มมากขึ้น นำไปสู่การที่ประเทศต่างๆจะร่วมมือกันมากขึ้น
• ทรัพยากร
ลักษณะประการที่ 4 ของระเบียบโลกปี 2020 คือ ความขัดแย้งในอนาคต จะเป็นความขัดแย้ง
ในการแย่งชิงทรัพยากรธรรมชาติ โดยเฉพาะการแย่งชิง น้ำ น้ำมัน และอาหาร ในปี 2020 ทรัพยากรและพลังงาน จะลดลง จะเกิดการแย่งชิงกันมากขึ้น ในอีก 10 ปีข้างหน้า น้ำสะอาดจะลดน้อยลง อาจเนื่องมาจากภาวะโลกร้อน และปัจจัยอื่นๆ ซึ่งอาจนำไปสู่สงครามแย่งชิงทรัพยากรน้ำในอนาคต อย่างเช่นในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ก็มีปัญหาเรื่องแม่โขง คือ จีนสร้างเขื่อนกันน้ำไว้ใช้คนเดียว หน้าแล้ง น้ำก็แห้ง ประเทศปลายน้ำก็ไม่มีน้ำใช้ ทำให้ประเทศเหล่านี้ไม่พอใจจีนที่กักน้ำไว้ใช้คนเดียว ปัญหาในทำนองนี้ อาจจะกลายเป็นปัญหาใหญ่ในอนาคต ซึ่งอาจนำไปสู่ความขัดแย้งถึงขั้นสงครามได้
ผลกระทบและการปรับตัวของไทย
จากการวิเคราะห์แนวโน้มระเบียบโลกปี 2020 ดังกล่าวข้างต้น จะส่งผลกระทบต่อไทยอย่างไร และไทย
จะต้องปรับตัวเพื่อรองรับต่อผลกระทบดังกล่าวอย่างไร
ผมขอเสนอแนวทางการปรับตัวของไทยเป็นข้อๆ ดังนี้
• การที่ระเบียบโลกในปี 2020 จะมีลักษณะเป็นระบบลูกผสม คือ หนึ่งขั้วผสมหลายขั้ว
หมายความว่า ไทยจะต้องเตรียมพร้อมในการที่จะรองรับระเบียบโลกใหม่ ในอดีต เราพึ่งพาอเมริกาประเทศเดียว แต่ในอนาคต เราจะต้องปรับยุทธศาสตร์การทูตให้ใกล้ชิดกับมหาอำนาจใหม่มากขึ้น อีก 10 ปีข้างหน้า เราจะต้องปรับเปลี่ยนยุทธศาสตร์ต่อมหาอำนาจ โดยต้องปรับยุทธศาสตร์ใหม่ เพื่อเข้าหามหาอำนาจใหม่มากขึ้น โดยเฉพาะกับ จีน อินเดีย รัสเซีย และบราซิล
นอกจากนี้ ยังมีมหาอำนาจใหม่อีกกลุ่มหนึ่ง คือ ในปี 2050 ได้มีการจัดอันดับว่า ประเทศใดจะมีขนาดเศรษฐกิจที่ใหญ่ 20 อันดับแรกของโลก เพราะฉะนั้น ประเทศใน 20 อันดับนี้ เราจะต้องเริ่มปรับเปลี่ยน และให้ความสำคัญกับประเทศเหล่านี้มากขึ้น ยกตัวอย่างเช่น เม็กซิโก อาร์เจนตินา บราซิล ตุรกี แอฟริกาใต้ ซาอุดิอาระเบีย และอียิปต์ เป็นต้น
• สำหรับปัญหาการก่อการร้าย การปะทะกันทางอารยธรรม และความขัดแย้งทางด้านชาติพันธุ์
และศาสนา ซึ่งจะเป็นแนวโน้มในอนาคตนั้น ไทยจะต้องเตรียมที่จะรับมือในเรื่องนี้ เราคงจะต้องพยายามที่จะ หาหนทางที่จะอยู่ร่วมกันอย่างสันติ แม้ว่าจะมีความแตกต่างกันในเรื่องศาสนา เราจะต้องพยายามไม่เข้าไปอยู่ท่ามกลางความขัดแย้งทางอารยธรรม โดยเฉพาะความขัดแย้งระหว่างตะวันตกกับอิสลาม
• สำหรับเรื่อง ธรรมาภิบาล หรือ global governance นั้น ในอีก 10 ปีข้างหน้า
องค์การระหว่างประเทศจะมีบทบาทมากขึ้น ทั้งในระดับโลกและในระดับภูมิภาค ระดับโลก เช่น UN ในระดับภูมิภาค เช่น อาเซียน เพราะฉะนั้น ไทยจะต้องรีบเข้าไปมีบทบาทในองค์กรเหล่านี้ โดยเฉพาะในอาเซียน เราจะต้องมีบทบาทนำ
• สำหรับแนวโน้ม The Rise of Asia หรือการผงาดขึ้นมาของเอเชียนั้น ชัดเจนมากขึ้นเรื่อยๆ
ไทยจะต้องเตรียมยุทธศาสตร์เพื่อที่จะทำให้ไทยเป็นส่วนหนึ่งของ “ศตวรรษแห่งเอเชีย”
• ส่วนความขัดแย้งเหนือ-ใต้ ที่จะยังคงมีอยู่ต่อไปในอีก 10 ปีข้างหน้านั้น ไทยต้องมี
ยุทธศาสตร์รองรับว่า เราจะมีท่าทีอย่างไรในการเจรจาเหนือ-ใต้ เราจะมีท่าทีอย่างไรในการเจรจาภาวะโลกร้อน และการเจรจาในเวที WTO
• ส่วนเรื่องสุดท้าย คือ เรื่องความขัดแย้งในการแย่งชิงทรัพยากร เราต้องเตรียมรับมือ เพราะ
ไทยเป็นประเทศที่มีทรัพยากรธรรมชาติไม่เพียงพอ โดยเฉพาะพลังงาน รัฐบาลต้องเอาจริงเอาจังในเรื่องนี้ ซึ่งควรเป็นวาระแห่งชาติเรื่องหนึ่ง ประเทศอย่างเช่น จีนและอินเดีย เอาจริงเอาจังมากกับเรื่องนี้ จีนมียุทธศาสตร์ชัดเจนมากในการที่จะไปแสวงหาแหล่งทรัพยากร โดยเฉพาะ น้ำมัน จากทั่วโลก โดยไปตีสนิทกับประเทศที่มีน้ำมัน อย่างเช่น ซูดาน อิหร่าน แต่ไทยยังไม่มียุทธศาสตร์ในเชิงรุกในเรื่องนี้
วันจันทร์ที่ 11 เมษายน พ.ศ. 2554
Obama Doctrine
Obama Doctrine
ตีพิมพ์ในสยามรัฐสัปดาหวิจารณ์ ประจำวันศุกร์ที่ 8 – วันพฤหัสบดีที่ 14 เมษายน 2554
เมื่อช่วงสัปดาห์ที่แล้ว ประธานาธิบดี Obama ได้กล่าวสุนทรพจน์ ประกาศหลักการ การใช้กำลังทางทหารของสหรัฐฯ โดยเกี่ยวโยงกับกรณีของสงครามในลิเบีย คอลัมน์โลกทรรศน์ในวันนี้ จะวิเคราะห์หลักการดังกล่าว ซึ่งอาจเรียกเป็นภาษาอังกฤษว่า Obama Doctrine ดังนี้
Obama Doctrine
เมื่อวันที่ 28 มีนาคมที่ผ่านมา Obama ได้กล่าวสุนทรพจน์ที่ National Defense University ประกาศหลักการ การใช้กำลังทางทหารของสหรัฐฯ โดยเฉพาะกรณีของลิเบีย ซึ่งสุนทรพจน์ในครั้งนี้ อาจจะกล่าวได้ว่าเป็น Obama Doctrine หรือ หลักการของ Obama ในการใช้กำลัง ซึ่งหลักการดังกล่าว มีสาระสำคัญ ดังนี้
Obama ได้กล่าวในตอนแรกว่า สหรัฐฯได้เล่นบทผู้นำ ในการส่งเสริมความมั่นคงของโลก และเสรีภาพ อย่างไรก็ตาม มีความเสี่ยงและผลลบจากการใช้กำลังทางทหาร ดังนั้น สหรัฐฯ จะต้องระมัดระวัง พยายามไม่ใช้กำลังทางทหารในการแก้ปัญหาของโลก แต่หากปัญหาดังกล่าว กระทบต่อความมั่นคง ผลประโยชน์ และค่านิยมของสหรัฐฯ สหรัฐฯก็จำเป็นที่จะต้องใช้กำลังทางทหาร
Obama ได้กล่าวเป็นหลักการพื้นฐานว่า ตัวเขาในตำแหน่งประธานาธิบดี มีตำแหน่งเป็นผู้นำกองทัพด้วย ดังนั้น การตัดสินใจใช้กำลัง จึงสำคัญอย่างยิ่ง และเขาได้กล่าวว่า สหรัฐฯจะไม่รีรอ ที่จะใช้กำลังทางทหาร อย่างทันที เด็ดขาด หากจำเป็น เพื่อป้องกันประเทศ โดยเฉพาะ เมื่อผลประโยชน์ทางด้านความมั่นคงแห่งชาติได้รับผลประทบโดยตรง และนี่คือเหตุผลสำคัญ ที่สหรัฐฯ ทำสงครามต่อต้านการก่อการร้าย โดยเฉพาะกับกลุ่ม al Qaeda และส่งทหารเข้าไปรบกับนักรบ Taliban ในอัฟกานิสถาน
อย่างไรก็ตาม มีหลายกรณี ที่ความมั่นคงปลอดภัย ไม่ได้ถูกคุกคามโดยตรง แต่ผลประโยชน์และค่านิยมได้รับผลกระทบ อาทิ ปัญหาเรื่องภัยพิบัติ การป้องกันการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ สิทธิมนุษยชน และผลประโยชน์ทางด้านเศรษฐกิจ ในกรณีเหล่านี้ บางครั้ง สหรัฐฯ อาจจะต้องตัดสินใจใช้กำลัง แต่ในกรณีลักษณะนี้ สหรัฐฯจะไม่ใช้กำลังเพียงประเทศเดียว แต่จะเน้นการระดมความร่วมมือของประชาคมโลก คือ เน้น พหุภาคีนิยม โดยการเป็นผู้นำของสหรัฐฯ จะไม่เป็นไปในลักษณะการบุกเดี่ยว ลุยเดี่ยว แต่จะดึงเอาพันธมิตรเข้ามาด้วย
ลิเบีย
นั่นคือ Obama Doctrine หรือหลักการของ Obama ในการใช้กำลัง ซึ่งหลักการดังกล่าว ได้ถูกนำมาใช้ครั้งแรกในกรณีของสงครามลิเบีย
เมื่อ Gaddafi เลือกที่จะโจมตีและเข่นฆ่าประชาชน และกองกำลังของ Gaddafi กำลังจะเข้าโจมตีเมือง Benghazi ฐานที่มั่นของฝ่ายต่อต้าน ซึ่งในที่สุด Obama ก็บอกว่า สหรัฐฯไม่มีทางเลือก ที่จะต้องใช้กำลังทหารเพื่อยุติการเข่นฆ่าประชาชน แต่ในการดำเนินการทางทหาร สหรัฐฯไม่ได้ดำเนินการแต่เพียงฝ่ายเดียว แต่มีพันธมิตรที่ใกล้ชิด โดยเฉพาะอังกฤษกับฝรั่งเศส เข้าร่วมด้วย ซึ่งการดำเนินการทางทหารก็บรรลุเป้าหมาย คือ การยุติการเข่นฆ่าประชาชนของ Gaddafi แต่บทบาทของสหรัฐฯจะเป็นบทบาทที่จำกัด สหรัฐฯจะไม่ส่งกองกำลังภาคพื้นดินเข้าไปในลิเบีย และสหรัฐฯได้ส่งมอบภารกิจทางทหารให้กับนาโต้
อย่างไรก็ตาม มีชาวอเมริกันที่ได้ตั้งคำถามว่า สหรัฐฯควรที่จะแทรกแซงทางทหารในครั้งนี้หรือไม่ โดยมองว่า สหรัฐฯไม่ควรทำตัวเป็นตำรวจโลก โดยเฉพาะขณะนี้ มีปัญหาภายในอยู่มากมาย ซึ่ง Obama ได้ตอบคำถามนี้ว่า ในแง่หลักการแล้ว สหรัฐฯไม่สามารถใช้กำลังทางทหาร จัดการกับการเข่นฆ่าประชาชนในทุกที่ในโลกนี้ได้ แต่ในกรณีของลิเบีย กำลังประสบกับการเข่นฆ่าประชาชนที่มีความรุนแรงมาก และสหรัฐฯก็มีความสามารถที่จะยุติความรุนแรงดังกล่าว โดยมีความชอบธรรมจาก UNSC มีแนวร่วมการสนับสนุนจากนานาชาติ และจากโลกอาหรับ และสหรัฐฯสามารถหยุดยั้งกองกำลังของ Gaddafi ได้ โดยไม่จำเป็นต้องส่งกองกำลังภาคพื้นดินเข้าไป Obama มองว่า หากสหรัฐฯปฏิเสธความรับผิดชอบ ก็เท่ากับเป็นการทรยศต่อความเป็นอเมริกัน บางประเทศอาจทำเป็นมองไม่เห็น และเมินเฉยต่อความรุนแรงดังกล่าว แต่สำหรับสหรัฐฯ สำหรับประธานาธิบดี Obama ไม่สามารถปฏิเสธความรับผิดชอบนี้ได้
อย่างไรก็ตาม มีชาวอเมริกันอีกกลุ่มหนึ่งที่มองตรงกันข้าม คือมองว่า ปฏิบัติการทางทหารของสหรัฐฯ ไม่ควรจำกัดอยู่แค่การปกป้องประชาชน แต่ควรมีเป้าหมายในการล้มล้าง Gaddafi เลย ซึ่ง Obama ได้ตอบโต้แนวคิดดังกล่าวว่า ลิเบียจะดีขึ้นแน่ หากไม่มี Gaddafi และเขาก็สนับสนุนเป้าหมายในการกำจัด Gaddafi แต่วิธีการในการบรรลุเป้าหมายดังกล่าว ควรจะเป็นวิธีการที่ไม่ใช้กำลังทางทหาร หากสหรัฐฯเลือกที่จะใช้กำลังในการเปลี่ยนระบอบในลิเบีย จะเป็นความผิดพลาดครั้งยิ่งใหญ่ เพราะสหรัฐฯจะต้องส่งกองกำลังภาคพื้นดินเข้าไปในลิเบีย และจะต้องเกิดความสูญเสียเป็นจำนวนมาก Obama ได้เปรียบเทียบว่า การส่งทหารเข้าไปในลิเบีย ก็เท่ากับกำลังก่อสงครามอิรัก ภาค 2 ซึ่งสงครามอิรักใช้เวลาในการเปลี่ยนระบอบถึง 8 ปี และทหารสหรัฐฯเสียชีวิตไปหลายพันคน ไม่นับชาวอิรักที่เสียชีวิตเป็นจำนวนมาก และสูญเสียเงินในการทำสงครามถึง 1 ล้านล้านเหรียญ บทเรียนของสงครามอิรัก ทำให้ Obama คิดว่า ไม่ควรให้เกิดขึ้นอีกในลิเบีย
ในตอนท้ายของสุนทรพจน์ Obama บอกว่า มาตรการของสหรัฐฯในขณะนี้ จะเป็นมาตรการทางอ้อม คือ การตัดเส้นทางอาวุธของ Gaddafi ตัดเส้นทางการเงิน สนับสนุนฝ่ายต่อต้าน และร่วมมือกับประเทศอื่นๆในการโค่นล้ม Gaddafi แต่คงต้องใช้เวลา คือ Gaddafi คงจะไม่ถูกโค่นล้มในเร็ววัน
บทวิเคราะห์
• ผมมองว่า การประกาศ Obama Doctrine หรือหลักการใช้กำลังของ Obama ในครั้งนี้ ทำให้
เห็นชัดเจนมากขึ้น เกี่ยวกับนโยบายของ Obama ทางด้านการทหาร ซึ่งในช่วงที่ผ่านมา มีความกำกวมอยู่มาก อย่างไรก็ตาม Obama Doctrine แตกต่างไปอย่างมาก จากแนวคิดเดิมของ Obama จากตอนที่เขาเป็นประธานาธิบดีใหม่ๆ ซึ่งในตอนนั้น Obama พยายามจะฉายภาพว่า เขาจะปฏิรูปนโยบายต่างประเทศของสหรัฐฯใหม่ และจะผลักดันโลกให้เข้าสู่ยุคใหม่ของความร่วมมือ ซึ่งเป็นแนวคิดแบบเสรีนิยม และอุดมคตินิยม แต่ 2 ปีที่ผ่านมา ได้ทำให้แนวนโยบายอุดมคตินิยมของ Obama ประสบปัญหาอย่างหนัก เพราะธรรมชาติของการเมืองโลก สวนทางกับแนวคิดของ Obama คือ ในโลกแห่งความเป็นจริงนั้น เป็นโลกของสัจนิยม ที่เต็มไปด้วยความขัดแย้ง Obama Doctrine ได้ชี้ให้เห็นว่า Obama กำลังมีแนวคิดที่เป็นสัจนิยมมากขึ้นเรื่อยๆ อย่างไรก็ตาม นโยบายของ Obama ก็แตกต่างจากในสมัยของ Bush ที่มีลักษณะเป็นสัจนิยมแบบสุดโต่ง โดยยุทธศาสตร์ของ Obama มีลักษณะเป็นลูกผสม ระหว่างสัจนิยมกับอุดมคตินิยม แต่ก็มีแนวโน้มที่จะเป็นสัจนิยมมากขึ้นเรื่อยๆ และความเป็นอุดมคตินิยมก็ลดลงเรื่อยๆ
• สำหรับยุทธศาสตร์ต่อลิเบียของ Obama นั้น ก็ออกมาในแนวลูกผสมเหมือนกัน คือ มีความเป็น
สัจนิยมในการตัดสินใจใช้กำลังทางทหาร แต่ยังคงมีมิติของอุดมคตินิยมหรือเสรีนิยมอยู่ โดยเฉพาะในส่วนที่ สหรัฐฯจะพยายามลดบทบาท และขยายปฏิบัติการทางทหารให้เป็นลักษณะของพหุภาคี และจำกัดขอบเขตปฏิบัติการทางทหาร เป็นเพียงแค่ป้องกันการเข่นฆ่าประชาชน แต่ไม่ถึงขั้น การบุกโจมตีลิเบียเพื่อเปลี่ยนระบอบ
• สำหรับแนวโน้มบทบาทของสหรัฐฯในสงครามลิเบียในอนาคตนั้น Obama ได้ยืนกรานแล้ว
ว่า จะไม่ใช้กำลังภาคพื้นดิน บุกลิเบียเพื่อเปลี่ยนระบอบ สาเหตุสำคัญ คือ ลิเบียไม่มีความสำคัญพอ ทั้งในด้านผลประโยชน์ทางการเมือง และเศรษฐกิจ ที่จะทำให้สหรัฐฯต้องแทรกแซงทางทหาร และ Obama ก็ปวดหัวอยู่มากพอแล้วในสงครามอัฟกานิสถาน Obama ไม่ต้องการให้เกิดสงครามอิรัก ภาค 2
นอกจากนี้ ผมมองว่า ยังมีอีกสาเหตุหนึ่งที่ Obama ไม่ต้องการใช้กำลังโค่น Gaddafi แต่ Obama ไม่ได้ประกาศสาเหตุนั้นในสุนทรพจน์ นั่นก็คือ ความวิตกกังวลว่า หาก Gaddafi ถูกโค่นล้มลง จะเกิดสุญญากาศทางการเมืองในลิเบีย ฝ่ายต่อต้าน Gaddafi ก็ไม่มีหลักประกันว่า จะสร้างเสถียรภาพทางการเมืองได้ สถาบันทหารของลิเบียก็อ่อนแอมาก ดังนั้น จึงมีแนวโน้มว่า จะเกิดความวุ่นวายทางการเมือง และสภาวะอนาธิปไตยในยุคหลัง Gaddafi ลิเบียอาจกลายเป็นรัฐที่ล้มเหลว เหมือนอัฟกานิสถาน ก่อนที่นักรบ Taliban จะเข้ายึดอำนาจ ซึ่งทำให้สหรัฐฯวิตกกังวลว่า สภาวะดังกล่าว จะทำให้กลุ่มก่อการร้ายหัวรุนแรง โดยเฉพาะ al Qaeda อาจจะฉวยโอกาสเข้ายึดอำนาจรัฐในลิเบียได้
ดังนั้น ยุทธศาสตร์ในระยะยาวของ Obama ที่ยังไม่ได้ประกาศ น่าจะเป็น ยุทธศาสตร์การปิดล้อม หรือ containment คือ ยุทธศาสตร์การจำกัดบทบาทของ Gaddafi ซึ่งจะเหมือนกับยุทธศาสตร์ที่สหรัฐฯเคยใช้ในการปิดล้อมอิรัก ในสมัย Saddam Hussein และเหมือนกับยุทธศาสตร์ของสหรัฐฯที่ใช้ในการปิดล้อมอิหร่าน และเกาหลีเหนือ ในปัจจุบัน
ตีพิมพ์ในสยามรัฐสัปดาหวิจารณ์ ประจำวันศุกร์ที่ 8 – วันพฤหัสบดีที่ 14 เมษายน 2554
เมื่อช่วงสัปดาห์ที่แล้ว ประธานาธิบดี Obama ได้กล่าวสุนทรพจน์ ประกาศหลักการ การใช้กำลังทางทหารของสหรัฐฯ โดยเกี่ยวโยงกับกรณีของสงครามในลิเบีย คอลัมน์โลกทรรศน์ในวันนี้ จะวิเคราะห์หลักการดังกล่าว ซึ่งอาจเรียกเป็นภาษาอังกฤษว่า Obama Doctrine ดังนี้
Obama Doctrine
เมื่อวันที่ 28 มีนาคมที่ผ่านมา Obama ได้กล่าวสุนทรพจน์ที่ National Defense University ประกาศหลักการ การใช้กำลังทางทหารของสหรัฐฯ โดยเฉพาะกรณีของลิเบีย ซึ่งสุนทรพจน์ในครั้งนี้ อาจจะกล่าวได้ว่าเป็น Obama Doctrine หรือ หลักการของ Obama ในการใช้กำลัง ซึ่งหลักการดังกล่าว มีสาระสำคัญ ดังนี้
Obama ได้กล่าวในตอนแรกว่า สหรัฐฯได้เล่นบทผู้นำ ในการส่งเสริมความมั่นคงของโลก และเสรีภาพ อย่างไรก็ตาม มีความเสี่ยงและผลลบจากการใช้กำลังทางทหาร ดังนั้น สหรัฐฯ จะต้องระมัดระวัง พยายามไม่ใช้กำลังทางทหารในการแก้ปัญหาของโลก แต่หากปัญหาดังกล่าว กระทบต่อความมั่นคง ผลประโยชน์ และค่านิยมของสหรัฐฯ สหรัฐฯก็จำเป็นที่จะต้องใช้กำลังทางทหาร
Obama ได้กล่าวเป็นหลักการพื้นฐานว่า ตัวเขาในตำแหน่งประธานาธิบดี มีตำแหน่งเป็นผู้นำกองทัพด้วย ดังนั้น การตัดสินใจใช้กำลัง จึงสำคัญอย่างยิ่ง และเขาได้กล่าวว่า สหรัฐฯจะไม่รีรอ ที่จะใช้กำลังทางทหาร อย่างทันที เด็ดขาด หากจำเป็น เพื่อป้องกันประเทศ โดยเฉพาะ เมื่อผลประโยชน์ทางด้านความมั่นคงแห่งชาติได้รับผลประทบโดยตรง และนี่คือเหตุผลสำคัญ ที่สหรัฐฯ ทำสงครามต่อต้านการก่อการร้าย โดยเฉพาะกับกลุ่ม al Qaeda และส่งทหารเข้าไปรบกับนักรบ Taliban ในอัฟกานิสถาน
อย่างไรก็ตาม มีหลายกรณี ที่ความมั่นคงปลอดภัย ไม่ได้ถูกคุกคามโดยตรง แต่ผลประโยชน์และค่านิยมได้รับผลกระทบ อาทิ ปัญหาเรื่องภัยพิบัติ การป้องกันการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ สิทธิมนุษยชน และผลประโยชน์ทางด้านเศรษฐกิจ ในกรณีเหล่านี้ บางครั้ง สหรัฐฯ อาจจะต้องตัดสินใจใช้กำลัง แต่ในกรณีลักษณะนี้ สหรัฐฯจะไม่ใช้กำลังเพียงประเทศเดียว แต่จะเน้นการระดมความร่วมมือของประชาคมโลก คือ เน้น พหุภาคีนิยม โดยการเป็นผู้นำของสหรัฐฯ จะไม่เป็นไปในลักษณะการบุกเดี่ยว ลุยเดี่ยว แต่จะดึงเอาพันธมิตรเข้ามาด้วย
ลิเบีย
นั่นคือ Obama Doctrine หรือหลักการของ Obama ในการใช้กำลัง ซึ่งหลักการดังกล่าว ได้ถูกนำมาใช้ครั้งแรกในกรณีของสงครามลิเบีย
เมื่อ Gaddafi เลือกที่จะโจมตีและเข่นฆ่าประชาชน และกองกำลังของ Gaddafi กำลังจะเข้าโจมตีเมือง Benghazi ฐานที่มั่นของฝ่ายต่อต้าน ซึ่งในที่สุด Obama ก็บอกว่า สหรัฐฯไม่มีทางเลือก ที่จะต้องใช้กำลังทหารเพื่อยุติการเข่นฆ่าประชาชน แต่ในการดำเนินการทางทหาร สหรัฐฯไม่ได้ดำเนินการแต่เพียงฝ่ายเดียว แต่มีพันธมิตรที่ใกล้ชิด โดยเฉพาะอังกฤษกับฝรั่งเศส เข้าร่วมด้วย ซึ่งการดำเนินการทางทหารก็บรรลุเป้าหมาย คือ การยุติการเข่นฆ่าประชาชนของ Gaddafi แต่บทบาทของสหรัฐฯจะเป็นบทบาทที่จำกัด สหรัฐฯจะไม่ส่งกองกำลังภาคพื้นดินเข้าไปในลิเบีย และสหรัฐฯได้ส่งมอบภารกิจทางทหารให้กับนาโต้
อย่างไรก็ตาม มีชาวอเมริกันที่ได้ตั้งคำถามว่า สหรัฐฯควรที่จะแทรกแซงทางทหารในครั้งนี้หรือไม่ โดยมองว่า สหรัฐฯไม่ควรทำตัวเป็นตำรวจโลก โดยเฉพาะขณะนี้ มีปัญหาภายในอยู่มากมาย ซึ่ง Obama ได้ตอบคำถามนี้ว่า ในแง่หลักการแล้ว สหรัฐฯไม่สามารถใช้กำลังทางทหาร จัดการกับการเข่นฆ่าประชาชนในทุกที่ในโลกนี้ได้ แต่ในกรณีของลิเบีย กำลังประสบกับการเข่นฆ่าประชาชนที่มีความรุนแรงมาก และสหรัฐฯก็มีความสามารถที่จะยุติความรุนแรงดังกล่าว โดยมีความชอบธรรมจาก UNSC มีแนวร่วมการสนับสนุนจากนานาชาติ และจากโลกอาหรับ และสหรัฐฯสามารถหยุดยั้งกองกำลังของ Gaddafi ได้ โดยไม่จำเป็นต้องส่งกองกำลังภาคพื้นดินเข้าไป Obama มองว่า หากสหรัฐฯปฏิเสธความรับผิดชอบ ก็เท่ากับเป็นการทรยศต่อความเป็นอเมริกัน บางประเทศอาจทำเป็นมองไม่เห็น และเมินเฉยต่อความรุนแรงดังกล่าว แต่สำหรับสหรัฐฯ สำหรับประธานาธิบดี Obama ไม่สามารถปฏิเสธความรับผิดชอบนี้ได้
อย่างไรก็ตาม มีชาวอเมริกันอีกกลุ่มหนึ่งที่มองตรงกันข้าม คือมองว่า ปฏิบัติการทางทหารของสหรัฐฯ ไม่ควรจำกัดอยู่แค่การปกป้องประชาชน แต่ควรมีเป้าหมายในการล้มล้าง Gaddafi เลย ซึ่ง Obama ได้ตอบโต้แนวคิดดังกล่าวว่า ลิเบียจะดีขึ้นแน่ หากไม่มี Gaddafi และเขาก็สนับสนุนเป้าหมายในการกำจัด Gaddafi แต่วิธีการในการบรรลุเป้าหมายดังกล่าว ควรจะเป็นวิธีการที่ไม่ใช้กำลังทางทหาร หากสหรัฐฯเลือกที่จะใช้กำลังในการเปลี่ยนระบอบในลิเบีย จะเป็นความผิดพลาดครั้งยิ่งใหญ่ เพราะสหรัฐฯจะต้องส่งกองกำลังภาคพื้นดินเข้าไปในลิเบีย และจะต้องเกิดความสูญเสียเป็นจำนวนมาก Obama ได้เปรียบเทียบว่า การส่งทหารเข้าไปในลิเบีย ก็เท่ากับกำลังก่อสงครามอิรัก ภาค 2 ซึ่งสงครามอิรักใช้เวลาในการเปลี่ยนระบอบถึง 8 ปี และทหารสหรัฐฯเสียชีวิตไปหลายพันคน ไม่นับชาวอิรักที่เสียชีวิตเป็นจำนวนมาก และสูญเสียเงินในการทำสงครามถึง 1 ล้านล้านเหรียญ บทเรียนของสงครามอิรัก ทำให้ Obama คิดว่า ไม่ควรให้เกิดขึ้นอีกในลิเบีย
ในตอนท้ายของสุนทรพจน์ Obama บอกว่า มาตรการของสหรัฐฯในขณะนี้ จะเป็นมาตรการทางอ้อม คือ การตัดเส้นทางอาวุธของ Gaddafi ตัดเส้นทางการเงิน สนับสนุนฝ่ายต่อต้าน และร่วมมือกับประเทศอื่นๆในการโค่นล้ม Gaddafi แต่คงต้องใช้เวลา คือ Gaddafi คงจะไม่ถูกโค่นล้มในเร็ววัน
บทวิเคราะห์
• ผมมองว่า การประกาศ Obama Doctrine หรือหลักการใช้กำลังของ Obama ในครั้งนี้ ทำให้
เห็นชัดเจนมากขึ้น เกี่ยวกับนโยบายของ Obama ทางด้านการทหาร ซึ่งในช่วงที่ผ่านมา มีความกำกวมอยู่มาก อย่างไรก็ตาม Obama Doctrine แตกต่างไปอย่างมาก จากแนวคิดเดิมของ Obama จากตอนที่เขาเป็นประธานาธิบดีใหม่ๆ ซึ่งในตอนนั้น Obama พยายามจะฉายภาพว่า เขาจะปฏิรูปนโยบายต่างประเทศของสหรัฐฯใหม่ และจะผลักดันโลกให้เข้าสู่ยุคใหม่ของความร่วมมือ ซึ่งเป็นแนวคิดแบบเสรีนิยม และอุดมคตินิยม แต่ 2 ปีที่ผ่านมา ได้ทำให้แนวนโยบายอุดมคตินิยมของ Obama ประสบปัญหาอย่างหนัก เพราะธรรมชาติของการเมืองโลก สวนทางกับแนวคิดของ Obama คือ ในโลกแห่งความเป็นจริงนั้น เป็นโลกของสัจนิยม ที่เต็มไปด้วยความขัดแย้ง Obama Doctrine ได้ชี้ให้เห็นว่า Obama กำลังมีแนวคิดที่เป็นสัจนิยมมากขึ้นเรื่อยๆ อย่างไรก็ตาม นโยบายของ Obama ก็แตกต่างจากในสมัยของ Bush ที่มีลักษณะเป็นสัจนิยมแบบสุดโต่ง โดยยุทธศาสตร์ของ Obama มีลักษณะเป็นลูกผสม ระหว่างสัจนิยมกับอุดมคตินิยม แต่ก็มีแนวโน้มที่จะเป็นสัจนิยมมากขึ้นเรื่อยๆ และความเป็นอุดมคตินิยมก็ลดลงเรื่อยๆ
• สำหรับยุทธศาสตร์ต่อลิเบียของ Obama นั้น ก็ออกมาในแนวลูกผสมเหมือนกัน คือ มีความเป็น
สัจนิยมในการตัดสินใจใช้กำลังทางทหาร แต่ยังคงมีมิติของอุดมคตินิยมหรือเสรีนิยมอยู่ โดยเฉพาะในส่วนที่ สหรัฐฯจะพยายามลดบทบาท และขยายปฏิบัติการทางทหารให้เป็นลักษณะของพหุภาคี และจำกัดขอบเขตปฏิบัติการทางทหาร เป็นเพียงแค่ป้องกันการเข่นฆ่าประชาชน แต่ไม่ถึงขั้น การบุกโจมตีลิเบียเพื่อเปลี่ยนระบอบ
• สำหรับแนวโน้มบทบาทของสหรัฐฯในสงครามลิเบียในอนาคตนั้น Obama ได้ยืนกรานแล้ว
ว่า จะไม่ใช้กำลังภาคพื้นดิน บุกลิเบียเพื่อเปลี่ยนระบอบ สาเหตุสำคัญ คือ ลิเบียไม่มีความสำคัญพอ ทั้งในด้านผลประโยชน์ทางการเมือง และเศรษฐกิจ ที่จะทำให้สหรัฐฯต้องแทรกแซงทางทหาร และ Obama ก็ปวดหัวอยู่มากพอแล้วในสงครามอัฟกานิสถาน Obama ไม่ต้องการให้เกิดสงครามอิรัก ภาค 2
นอกจากนี้ ผมมองว่า ยังมีอีกสาเหตุหนึ่งที่ Obama ไม่ต้องการใช้กำลังโค่น Gaddafi แต่ Obama ไม่ได้ประกาศสาเหตุนั้นในสุนทรพจน์ นั่นก็คือ ความวิตกกังวลว่า หาก Gaddafi ถูกโค่นล้มลง จะเกิดสุญญากาศทางการเมืองในลิเบีย ฝ่ายต่อต้าน Gaddafi ก็ไม่มีหลักประกันว่า จะสร้างเสถียรภาพทางการเมืองได้ สถาบันทหารของลิเบียก็อ่อนแอมาก ดังนั้น จึงมีแนวโน้มว่า จะเกิดความวุ่นวายทางการเมือง และสภาวะอนาธิปไตยในยุคหลัง Gaddafi ลิเบียอาจกลายเป็นรัฐที่ล้มเหลว เหมือนอัฟกานิสถาน ก่อนที่นักรบ Taliban จะเข้ายึดอำนาจ ซึ่งทำให้สหรัฐฯวิตกกังวลว่า สภาวะดังกล่าว จะทำให้กลุ่มก่อการร้ายหัวรุนแรง โดยเฉพาะ al Qaeda อาจจะฉวยโอกาสเข้ายึดอำนาจรัฐในลิเบียได้
ดังนั้น ยุทธศาสตร์ในระยะยาวของ Obama ที่ยังไม่ได้ประกาศ น่าจะเป็น ยุทธศาสตร์การปิดล้อม หรือ containment คือ ยุทธศาสตร์การจำกัดบทบาทของ Gaddafi ซึ่งจะเหมือนกับยุทธศาสตร์ที่สหรัฐฯเคยใช้ในการปิดล้อมอิรัก ในสมัย Saddam Hussein และเหมือนกับยุทธศาสตร์ของสหรัฐฯที่ใช้ในการปิดล้อมอิหร่าน และเกาหลีเหนือ ในปัจจุบัน
ระเบียบโลกใหม่ปี 2020 : ผลกระทบและการปรับตัวของไทย (ตอนที่ 1)
ระเบียบโลกใหม่ปี 2020 : ผลกระทบและการปรับตัวของไทย (ตอนที่ 1)
ตีพิมพ์ใน ไทยโพสต์ ฉบับวันพฤหัสบดีที่ 7เมษายน 2554
คอลัมน์กระบวนทรรศน์ในตอนนี้และตอนหน้า ผมอยากจะฉายภาพกว้างๆว่า ในช่วง 10 ปีข้างหน้า จะเกิดอะไรขึ้นบ้าง คือ ระเบียบโลกใหม่ในปี 2020 จะเป็นอย่างไร จะมีผลกระทบอะไรบ้าง และไทยเราจะต้องเตรียมรับมืออย่างไร
ระเบียบโลกในยุคหลังสงครามเย็น
จริงๆแล้ว สิ่งที่จะเกิดขึ้นในอีก 10 ปีข้างหน้า หลายๆเรื่อง จะเป็นการต่อยอดจากสิ่งที่เคยเกิดขึ้นมาแล้วในอดีต และจะวิวัฒนาการต่อไป เพราะฉะนั้น หากเราต้องการรู้อนาคต เราต้องย้อนกลับไปดูอดีต โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ตั้งแต่ยุคหลังสงครามเย็น ว่าเกิดอะไรขึ้นบ้าง
ตั้งแต่ยุคหลังสงครามเย็น มี 3 เรื่องใหญ่เกิดขึ้น
• ขั้วอำนาจโลก : เปลี่ยนจาก 2 ขั้วมาเป็น 1 ขั้ว เป็นระบบหนึ่งขั้วอำนาจ กลายเป็นอเมริกา ที่
ผงาดขึ้นมา เป็นอภิมหาอำนาจหนึ่งเดียวในโลก
• โลกาภิวัฒน์ (globalization) : เกิดยุคโลกาภิวัฒน์ในยุคหลังสงครามเย็น เศรษฐกิจโลก การค้า
โลก ขยายตัวเป็นหนึ่งเดียว ทุนนิยมโลก ก็ขยายตัว การเงิน ข้อมูลข่าวสาร ทุกอย่างกลายเป็นโลกาภิวัฒน์หมด โลกกลายเป็นโลกใบเดียว หลังจากสงครามเย็นสิ้นสุดลง
และสิ่งที่เป็นผลจากโลกาภิวัฒน์อีกเรื่อง คือ การเกิดขึ้นขององค์การระหว่างประเทศ ที่ในอดีต อาจไม่
ค่อยมีบทบาทเท่าไร แต่ในช่วง 20 ปีที่ผ่านมา องค์การระหว่างประเทศ มีบทบาทเพิ่มขึ้นอย่างมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง UN WTO IMF รวมถึงองค์กรในระดับภูมิภาค เช่น EU ASEAN องค์กรเหล่านี้เกิดขึ้น เพราะโลกมีโลกาภิวัฒน์มากขึ้น ประชาคมโลกต้องร่วมมือกันมากขึ้น เพื่อจัดการและแก้ไขปัญหาต่างๆ ของโลก
• ความขัดแย้ง : เรื่องที่ 3 ที่ผมคิดว่า เป็นเรื่องใหญ่ ที่เกิดขึ้นในช่วง 20 ปีที่ผ่านมา และจะต่อ
ยอดออกไปในอีก 10 ปีข้างหน้า คือ ความขัดแย้ง สงคราม ซึ่งไม่ได้หมดไป หลายๆคน ในช่วงสงครามเย็นสิ้นสุดใหม่ๆ คิดว่า ต่อไปนี้ โลกเราจะมีแต่สันติภาพ แต่ในที่สุด ก็เกิดความขัดแย้งในรูปแบบใหม่ขึ้น ซึ่งไม่ได้เป็นความขัดแย้งและสงคราม ที่มีสาเหตุมาจากความขัดแย้งทางอุดมการณ์ระหว่างคอมมิวนิสต์ กับทุนนิยมอีกต่อไป แต่ความขัดแย้งในรูปแบบใหม่ ในยุคหลังสงครามเย็น กลายเป็นความขัดแย้ง ที่มีสาเหตุหลัก มาจากความขัดแย้งทางชาติพันธุ์และศาสนา
ในช่วง 20 ปีที่ผ่านมา หลังสงครามเย็น สงครามในรูปแบบใหม่ก็ปะทุขึ้นทั่วโลก ตั้งแต่ สงครามบอสเนีย โคโซโว ความขัดแย้งในคาบสมุทรบอลข่าน สงครามในเทือกเขาคอเคซัส สงครามแบ่งแยกดินแดนของชาว Kurd สงครามในอัฟกานิสถาน และปากีสถาน ก็เป็นสงคราม ที่เกี่ยวข้องกับกลุ่มศาสนาหัวรุนแรง นอกจากนี้ อินเดีย แคชเมียร์ ศรีลังกา พม่า ก็มีสงครามชนกลุ่มน้อย และสงครามชาติพันธุ์ และไทย ก็มีปัญหา 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ เช่นเดียวกับ อินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์ ดังนั้น จะเห็นได้ว่า สงครามในรูปแบบใหม่ ที่เป็นสงครามชาติพันธุ์ และศาสนา ได้ปะทุขึ้นทั่วโลก
ระเบียบโลกในปัจจุบัน
สำหรับระเบียบโลกในปัจจุบัน โดยเฉพาะในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา มีลักษณะสำคัญ ดังนี้
• การก่อการร้าย : หลังจากปี 2001 ระเบียบโลกก็เปลี่ยนแปลงไปอีก มีเรื่องใหม่เกิดขึ้น คือ การ
ก่อการร้ายสากล โดยหลังจากเกิดเหตุการณ์ 11 กันยาฯ ปี 2001 ทำให้ปัญหาการก่อการร้าย กลายเป็นปัญหาในระดับโลก และสหรัฐฯที่เป็นอภิมหาอำนาจอันดับ 1 ของโลก ต้องเผชิญกับศัตรูตัวใหม่ คือ กลุ่มก่อการร้ายสากล ทำให้ 10 ปีที่ผ่านมา สหรัฐฯต้องวุ่นอยู่กับสงครามต่อต้านการก่อการร้าย และปัญหาการก่อการร้ายก็แพร่ขยายกระจายไปทั่วโลก เป็นการจุดประกายความขัดแย้งทางอารยธรรมและศาสนา ระหว่างตะวันตกกับอิสลาม และเป็นการจุดประกายให้กลุ่มหัวรุนแรงในโลกมุสลิม ที่ตีความศาสนาอิสลามโดยมองว่า ตะวันตกชั่วร้าย และจะต้องทำสงครามศาสนากับตะวันตก จะต้องทำให้โลกมุสลิมกลับมาบริสุทธิ์อีกครั้งหนึ่ง ด้วยการขจัดอิทธิพลของตะวันตก ให้ออกไปจากโลกมุสลิมให้หมด
เหตุการณ์ 11 กันยาฯ จึงเป็นการเปิดศักราชใหม่ ความขัดแย้งระหว่างโลกตะวันตกกับโลกมุสลิม ทำให้สหรัฐฯ เลือดเข้าตา บุกยึดอัฟกานิสถาน และบุกยึดอิรัก แต่การใช้ไม้แข็งของสหรัฐฯ ก็ทำให้โลกมุสลิมยิ่งโกรธแค้นสหรัฐฯมากขึ้น ชาวมุสลิมก็เข้าร่วมกับกลุ่มก่อการร้ายมากขึ้น เพราะมองว่า สหรัฐฯกำลังทำสงครามศาสนาเพื่อจะยึดครองโลกมุสลิม
• มหาอำนาจใหม่ : เรื่องที่ 2 ที่ผมมองว่า เป็นเรื่องที่โดดเด่นในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา คือ การผงาด
ขึ้นมาของมหาอำนาจใหม่ คือ กลุ่ม BRIC ซึ่งย่อมาจาก Brazil, Russia, India, China เป็นกลุ่มมหาอำนาจใหม่ ที่เริ่มผงาดขึ้นมาอย่างชัดเจน ก่อนหน้านี้ จีนก็ดูธรรมดา ไม่ได้ดูน่ากลัวอะไร แต่ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา จีนผงาดขึ้นมาแรงมาก ทำให้เกิดแนวโน้มของความขัดแย้งระหว่างมหาอำนาจมากขึ้น โดยเฉพาะความขัดแย้งระหว่างสหรัฐฯกับจีน
• กระแสต่อต้านโลกาภิวัฒน์ และความขัดแย้งเหนือ-ใต้ : อีกเรื่องที่สำคัญมาก ที่เกิดขึ้นในช่วง
10 ปีที่ผ่านมา คือ การเกิดกระแสสวนกลับ ในช่วงหลังสงครามเย็น เกิดกระแสโลกาภิวัฒน์ขึ้น แต่ในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา ก็เกิดกระแสต่อต้านโลกาภิวัฒน์ขึ้น โดยเฉพาะ หลังจากเกิดวิกฤติต้มยำกุ้ง เริ่มมีการเริ่มมองว่า โลกาภิวัฒน์ดีจริงหรือ การเปิดเสรีทางการค้า และ FTA ดีจริงหรือ การเปิดเสรีทางการเงินดีจริงหรือ เริ่มมีกระแสต่อต้าน และชะลอกระบวนการโลกาภิวัฒน์ลง จึงนำไปสู่ความขัดแย้งในรูปแบบใหม่เกิดขึ้นในระเบียบเศรษฐกิจโลก คือ ความขัดแย้งเหนือ-ใต้ ระหว่างประเทศรวยกับประเทศจน
ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา ประเทศรวยกับประเทศจนก็ขัดแย้งกันอย่างหนัก โดยเฉพาะในเวที WTO ในการเจรจารอบโดฮา ประเทศรวยก็รวมกลุ่มกัน ประเทศจนก็รวมกลุ่มกัน แล้วก็งัดข้อกัน จนตกลงอะไรกันไม่ได้ ทำให้การเจรจารอบโดฮา ทำท่าว่าจะล่ม
เช่นเดียวกับการเจรจาภาวะโลกร้อน ที่โคเปนเฮเกน เมื่อปลายปี 2010 ก็กลายเป็นแบ่งเป็น 2 กลุ่ม ระหว่างประเทศรวยที่พัฒนาแล้วและเป็นประเทศอุตสาหกรรม ที่เป็นตัวก่อปัญหาภาวะโลกร้อน กับประเทศจนที่รวมกลุ่มกัน กดดันให้ประเทศรวยลดก๊าซเรือนกระจกลง แต่ประเทศรวยก็ไม่ยอม เพราะเศรษฐกิจจะเสียหายหนัก การเจรจาจึงล้มเหลว
ความขัดแย้งระหว่างประเทศรวยกับประเทศจนดังกล่าว เป็นผลมาจากการเปลี่ยนแปลงของระเบียบโลกใหม่ ที่ในอดีต ประเทศรวยได้ครอบงำเศรษฐกิจโลกทั้งหมด แต่ปัจจุบัน เมื่อประเทศจนมารวมตัวกันมากขึ้น อำนาจการต่อรองก็มากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่ง อำนาจการต่อรองของกลุ่มประเทศจนได้เพิ่มขึ้นอย่างมาก จากการผงาดขึ้นมาของ จีน อินเดีย และบราซิล ซึ่งเป็นประเทศมหาอำนาจใหม่ และประเทศมหาอำนาจใหม่เหล่านี้ ก็ประกาศว่า ประเทศตนยังเป็นประเทศจน จึงเข้าร่วมกับประเทศจน ทำให้กลุ่มของประเทศจน มีอำนาจการต่อรองเพิ่มขึ้นเป็นอย่างมาก และสามารถงัดข้อและต่อกรกับประเทศรวยได้
• การผงาดขึ้นมาของเอเชีย : ลักษณะสำคัญอีกประการหนึ่งของระเบียบโลกในปัจจุบัน คือ
การผงาดขึ้นมาของเอเชีย ซึ่งมาแรงมากในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา การผงาดขึ้นมาของเอเชีย รวมถึงการผงาดขึ้นมาของ จีน อินเดีย ญี่ปุ่น เกาหลี ไต้หวัน และอาเซียน กลุ่มนี้กำลังมาแรงมาก และแน่นอนว่า ในอนาคต จะมีบทบาทอย่างมากต่อระเบียบโลกใหม่ เพราะฐานต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ฐานเศรษฐกิจ กำลังจะย้ายฐานจากตะวันตกมาตะวันออก และเอเชียจะกลายเป็นศูนย์กลางของเศรษฐกิจโลกในอนาคต ซึ่งจะส่งผลกระทบอย่างมากต่อระเบียบโลกในอนาคต
(โปรดติดตามอ่านตอนจบ ในคอลัมน์กระบวนทรรศน์ตอนหน้า ในหนังสือพิมพ์ไทยโพสต์ ฉบับวันพฤหัสบดีที่ 21 เมษายน 2554)
ตีพิมพ์ใน ไทยโพสต์ ฉบับวันพฤหัสบดีที่ 7เมษายน 2554
คอลัมน์กระบวนทรรศน์ในตอนนี้และตอนหน้า ผมอยากจะฉายภาพกว้างๆว่า ในช่วง 10 ปีข้างหน้า จะเกิดอะไรขึ้นบ้าง คือ ระเบียบโลกใหม่ในปี 2020 จะเป็นอย่างไร จะมีผลกระทบอะไรบ้าง และไทยเราจะต้องเตรียมรับมืออย่างไร
ระเบียบโลกในยุคหลังสงครามเย็น
จริงๆแล้ว สิ่งที่จะเกิดขึ้นในอีก 10 ปีข้างหน้า หลายๆเรื่อง จะเป็นการต่อยอดจากสิ่งที่เคยเกิดขึ้นมาแล้วในอดีต และจะวิวัฒนาการต่อไป เพราะฉะนั้น หากเราต้องการรู้อนาคต เราต้องย้อนกลับไปดูอดีต โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ตั้งแต่ยุคหลังสงครามเย็น ว่าเกิดอะไรขึ้นบ้าง
ตั้งแต่ยุคหลังสงครามเย็น มี 3 เรื่องใหญ่เกิดขึ้น
• ขั้วอำนาจโลก : เปลี่ยนจาก 2 ขั้วมาเป็น 1 ขั้ว เป็นระบบหนึ่งขั้วอำนาจ กลายเป็นอเมริกา ที่
ผงาดขึ้นมา เป็นอภิมหาอำนาจหนึ่งเดียวในโลก
• โลกาภิวัฒน์ (globalization) : เกิดยุคโลกาภิวัฒน์ในยุคหลังสงครามเย็น เศรษฐกิจโลก การค้า
โลก ขยายตัวเป็นหนึ่งเดียว ทุนนิยมโลก ก็ขยายตัว การเงิน ข้อมูลข่าวสาร ทุกอย่างกลายเป็นโลกาภิวัฒน์หมด โลกกลายเป็นโลกใบเดียว หลังจากสงครามเย็นสิ้นสุดลง
และสิ่งที่เป็นผลจากโลกาภิวัฒน์อีกเรื่อง คือ การเกิดขึ้นขององค์การระหว่างประเทศ ที่ในอดีต อาจไม่
ค่อยมีบทบาทเท่าไร แต่ในช่วง 20 ปีที่ผ่านมา องค์การระหว่างประเทศ มีบทบาทเพิ่มขึ้นอย่างมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง UN WTO IMF รวมถึงองค์กรในระดับภูมิภาค เช่น EU ASEAN องค์กรเหล่านี้เกิดขึ้น เพราะโลกมีโลกาภิวัฒน์มากขึ้น ประชาคมโลกต้องร่วมมือกันมากขึ้น เพื่อจัดการและแก้ไขปัญหาต่างๆ ของโลก
• ความขัดแย้ง : เรื่องที่ 3 ที่ผมคิดว่า เป็นเรื่องใหญ่ ที่เกิดขึ้นในช่วง 20 ปีที่ผ่านมา และจะต่อ
ยอดออกไปในอีก 10 ปีข้างหน้า คือ ความขัดแย้ง สงคราม ซึ่งไม่ได้หมดไป หลายๆคน ในช่วงสงครามเย็นสิ้นสุดใหม่ๆ คิดว่า ต่อไปนี้ โลกเราจะมีแต่สันติภาพ แต่ในที่สุด ก็เกิดความขัดแย้งในรูปแบบใหม่ขึ้น ซึ่งไม่ได้เป็นความขัดแย้งและสงคราม ที่มีสาเหตุมาจากความขัดแย้งทางอุดมการณ์ระหว่างคอมมิวนิสต์ กับทุนนิยมอีกต่อไป แต่ความขัดแย้งในรูปแบบใหม่ ในยุคหลังสงครามเย็น กลายเป็นความขัดแย้ง ที่มีสาเหตุหลัก มาจากความขัดแย้งทางชาติพันธุ์และศาสนา
ในช่วง 20 ปีที่ผ่านมา หลังสงครามเย็น สงครามในรูปแบบใหม่ก็ปะทุขึ้นทั่วโลก ตั้งแต่ สงครามบอสเนีย โคโซโว ความขัดแย้งในคาบสมุทรบอลข่าน สงครามในเทือกเขาคอเคซัส สงครามแบ่งแยกดินแดนของชาว Kurd สงครามในอัฟกานิสถาน และปากีสถาน ก็เป็นสงคราม ที่เกี่ยวข้องกับกลุ่มศาสนาหัวรุนแรง นอกจากนี้ อินเดีย แคชเมียร์ ศรีลังกา พม่า ก็มีสงครามชนกลุ่มน้อย และสงครามชาติพันธุ์ และไทย ก็มีปัญหา 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ เช่นเดียวกับ อินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์ ดังนั้น จะเห็นได้ว่า สงครามในรูปแบบใหม่ ที่เป็นสงครามชาติพันธุ์ และศาสนา ได้ปะทุขึ้นทั่วโลก
ระเบียบโลกในปัจจุบัน
สำหรับระเบียบโลกในปัจจุบัน โดยเฉพาะในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา มีลักษณะสำคัญ ดังนี้
• การก่อการร้าย : หลังจากปี 2001 ระเบียบโลกก็เปลี่ยนแปลงไปอีก มีเรื่องใหม่เกิดขึ้น คือ การ
ก่อการร้ายสากล โดยหลังจากเกิดเหตุการณ์ 11 กันยาฯ ปี 2001 ทำให้ปัญหาการก่อการร้าย กลายเป็นปัญหาในระดับโลก และสหรัฐฯที่เป็นอภิมหาอำนาจอันดับ 1 ของโลก ต้องเผชิญกับศัตรูตัวใหม่ คือ กลุ่มก่อการร้ายสากล ทำให้ 10 ปีที่ผ่านมา สหรัฐฯต้องวุ่นอยู่กับสงครามต่อต้านการก่อการร้าย และปัญหาการก่อการร้ายก็แพร่ขยายกระจายไปทั่วโลก เป็นการจุดประกายความขัดแย้งทางอารยธรรมและศาสนา ระหว่างตะวันตกกับอิสลาม และเป็นการจุดประกายให้กลุ่มหัวรุนแรงในโลกมุสลิม ที่ตีความศาสนาอิสลามโดยมองว่า ตะวันตกชั่วร้าย และจะต้องทำสงครามศาสนากับตะวันตก จะต้องทำให้โลกมุสลิมกลับมาบริสุทธิ์อีกครั้งหนึ่ง ด้วยการขจัดอิทธิพลของตะวันตก ให้ออกไปจากโลกมุสลิมให้หมด
เหตุการณ์ 11 กันยาฯ จึงเป็นการเปิดศักราชใหม่ ความขัดแย้งระหว่างโลกตะวันตกกับโลกมุสลิม ทำให้สหรัฐฯ เลือดเข้าตา บุกยึดอัฟกานิสถาน และบุกยึดอิรัก แต่การใช้ไม้แข็งของสหรัฐฯ ก็ทำให้โลกมุสลิมยิ่งโกรธแค้นสหรัฐฯมากขึ้น ชาวมุสลิมก็เข้าร่วมกับกลุ่มก่อการร้ายมากขึ้น เพราะมองว่า สหรัฐฯกำลังทำสงครามศาสนาเพื่อจะยึดครองโลกมุสลิม
• มหาอำนาจใหม่ : เรื่องที่ 2 ที่ผมมองว่า เป็นเรื่องที่โดดเด่นในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา คือ การผงาด
ขึ้นมาของมหาอำนาจใหม่ คือ กลุ่ม BRIC ซึ่งย่อมาจาก Brazil, Russia, India, China เป็นกลุ่มมหาอำนาจใหม่ ที่เริ่มผงาดขึ้นมาอย่างชัดเจน ก่อนหน้านี้ จีนก็ดูธรรมดา ไม่ได้ดูน่ากลัวอะไร แต่ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา จีนผงาดขึ้นมาแรงมาก ทำให้เกิดแนวโน้มของความขัดแย้งระหว่างมหาอำนาจมากขึ้น โดยเฉพาะความขัดแย้งระหว่างสหรัฐฯกับจีน
• กระแสต่อต้านโลกาภิวัฒน์ และความขัดแย้งเหนือ-ใต้ : อีกเรื่องที่สำคัญมาก ที่เกิดขึ้นในช่วง
10 ปีที่ผ่านมา คือ การเกิดกระแสสวนกลับ ในช่วงหลังสงครามเย็น เกิดกระแสโลกาภิวัฒน์ขึ้น แต่ในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา ก็เกิดกระแสต่อต้านโลกาภิวัฒน์ขึ้น โดยเฉพาะ หลังจากเกิดวิกฤติต้มยำกุ้ง เริ่มมีการเริ่มมองว่า โลกาภิวัฒน์ดีจริงหรือ การเปิดเสรีทางการค้า และ FTA ดีจริงหรือ การเปิดเสรีทางการเงินดีจริงหรือ เริ่มมีกระแสต่อต้าน และชะลอกระบวนการโลกาภิวัฒน์ลง จึงนำไปสู่ความขัดแย้งในรูปแบบใหม่เกิดขึ้นในระเบียบเศรษฐกิจโลก คือ ความขัดแย้งเหนือ-ใต้ ระหว่างประเทศรวยกับประเทศจน
ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา ประเทศรวยกับประเทศจนก็ขัดแย้งกันอย่างหนัก โดยเฉพาะในเวที WTO ในการเจรจารอบโดฮา ประเทศรวยก็รวมกลุ่มกัน ประเทศจนก็รวมกลุ่มกัน แล้วก็งัดข้อกัน จนตกลงอะไรกันไม่ได้ ทำให้การเจรจารอบโดฮา ทำท่าว่าจะล่ม
เช่นเดียวกับการเจรจาภาวะโลกร้อน ที่โคเปนเฮเกน เมื่อปลายปี 2010 ก็กลายเป็นแบ่งเป็น 2 กลุ่ม ระหว่างประเทศรวยที่พัฒนาแล้วและเป็นประเทศอุตสาหกรรม ที่เป็นตัวก่อปัญหาภาวะโลกร้อน กับประเทศจนที่รวมกลุ่มกัน กดดันให้ประเทศรวยลดก๊าซเรือนกระจกลง แต่ประเทศรวยก็ไม่ยอม เพราะเศรษฐกิจจะเสียหายหนัก การเจรจาจึงล้มเหลว
ความขัดแย้งระหว่างประเทศรวยกับประเทศจนดังกล่าว เป็นผลมาจากการเปลี่ยนแปลงของระเบียบโลกใหม่ ที่ในอดีต ประเทศรวยได้ครอบงำเศรษฐกิจโลกทั้งหมด แต่ปัจจุบัน เมื่อประเทศจนมารวมตัวกันมากขึ้น อำนาจการต่อรองก็มากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่ง อำนาจการต่อรองของกลุ่มประเทศจนได้เพิ่มขึ้นอย่างมาก จากการผงาดขึ้นมาของ จีน อินเดีย และบราซิล ซึ่งเป็นประเทศมหาอำนาจใหม่ และประเทศมหาอำนาจใหม่เหล่านี้ ก็ประกาศว่า ประเทศตนยังเป็นประเทศจน จึงเข้าร่วมกับประเทศจน ทำให้กลุ่มของประเทศจน มีอำนาจการต่อรองเพิ่มขึ้นเป็นอย่างมาก และสามารถงัดข้อและต่อกรกับประเทศรวยได้
• การผงาดขึ้นมาของเอเชีย : ลักษณะสำคัญอีกประการหนึ่งของระเบียบโลกในปัจจุบัน คือ
การผงาดขึ้นมาของเอเชีย ซึ่งมาแรงมากในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา การผงาดขึ้นมาของเอเชีย รวมถึงการผงาดขึ้นมาของ จีน อินเดีย ญี่ปุ่น เกาหลี ไต้หวัน และอาเซียน กลุ่มนี้กำลังมาแรงมาก และแน่นอนว่า ในอนาคต จะมีบทบาทอย่างมากต่อระเบียบโลกใหม่ เพราะฐานต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ฐานเศรษฐกิจ กำลังจะย้ายฐานจากตะวันตกมาตะวันออก และเอเชียจะกลายเป็นศูนย์กลางของเศรษฐกิจโลกในอนาคต ซึ่งจะส่งผลกระทบอย่างมากต่อระเบียบโลกในอนาคต
(โปรดติดตามอ่านตอนจบ ในคอลัมน์กระบวนทรรศน์ตอนหน้า ในหนังสือพิมพ์ไทยโพสต์ ฉบับวันพฤหัสบดีที่ 21 เมษายน 2554)
วันอังคารที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2554
สงครามลิเบีย (ตอนที่ 2)
สงครามลิเบีย (ตอนที่ 2)
ตีพิมพ์ใน สยามรัฐสัปดาหวิจารณ์ ฉบับวันศุกร์ที่ 1 – วันพฤหัสบดีที่ 7 เมษายน 2554
สงครามลิเบีย ได้ผ่านไปเกือบ 2 สัปดาห์แล้ว แต่ยังไม่มีทีท่าว่า จะจบลงได้อย่างไร แนวโน้ม
ขณะนี้ คือ น่าจะกลายเป็นสงครามที่ยืดเยื้อ ซึ่งปัจจัยสำคัญประการหนึ่ง ที่จะเป็นอุปสรรคต่อการบรรลุเป้าหมายของตะวันตก และจะทำให้สงครามยืดเยื้อ คือ ความแตกแยกระหว่างประเทศต่างๆที่เกี่ยวข้อง คอลัมน์โลกทรรศน์ในวันนี้ จะมาวิเคราะห์ท่าทีของประเทศต่างๆ ที่เกี่ยวข้องในสงครามลิเบีย ดังนี้
• ฝรั่งเศส : ซึ่งเป็นประเทศตะวันตกที่มีบทบาทมากที่สุดมาตั้งแต่แรก ฝรั่งเศสได้สนับสนุน
อย่างเต็มที่ ที่จะให้มีการแทรกแซงทางทหารเพื่อล้มรัฐบาล Gaddafi มีบทบาทสำคัญในการชักชวนให้สันนิบาตอาหรับสนับสนุนข้อเสนอเขตห้ามบินของฝรั่งเศส และฝรั่งเศสก็เป็นประเทศแรก ที่ยิงกระสุนนัดแรกโจมตีลิเบีย ในวันที่ 19 มีนาคม ซึ่งเป็นการเปิดฉากสงครามลิเบีย และเล่นบทชัดเจนในความพยายามเป็นผู้นำในสงครามครั้งนี้
นอกจากนั้น ฝรั่งเศสยังเป็นประเทศแรกที่ให้การรับรองรัฐบาลของฝ่ายกบฏ ซึ่งมีชื่อว่า Libya
Interim Transitional National Council หรือที่เรียกสั้นๆว่า Interim Governing Council โดยสาเหตุหลักที่ฝรั่งเศสพยายามออกมาเล่นบทเป็นพระเอกในสงครามครั้งนี้ ก็เพราะ ยุทธศาสตร์ซ่อนเร้น ที่ฝรั่งเศสมีความทะเยอทะยานที่จะกลับมาเป็นมหาอำนาจที่เคยโดดเด่นในอดีต โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ฝรั่งเศสมีเป้าหมายที่จะผงาดขึ้นมาเป็นผู้นำในภูมิภาคเมดิเตอร์เรเนียน
• อังกฤษ : ซึ่งร่วมมือกับฝรั่งเศสอย่างใกล้ชิด โดยนายกรัฐมนตรี David Cameron ได้ประกาศ
ต่อสภา ตั้งแต่ปลายเดือนกุมภาพันธ์ว่า ได้ขอให้ฝ่ายทหารจัดทำแผนการเขตห้ามบินเหนือลิเบีย และได้ร่วมกับฝรั่งเศสในการเสนอข้อมติ UNSC ที่ 1973 ประกาศเขตห้ามบิน และอนุมัติให้มีการใช้กำลังทางทหารต่อลิเบีย Cameron มีบทบาทสำคัญในการหว่านล้อมให้สหรัฐฯเข้าร่วมกับอังกฤษและฝรั่งเศส โดยเมื่อเกิดสงคราม อังกฤษมีบทบาทอย่างมาก ทั้งในการใช้เรือดำน้ำยิงขีปนาวุธ และใช้เครื่องบินรบโจมตีกองกำลังของ Gaddafi
• สหรัฐฯ : ภายในรัฐบาล Obama มีความคิดเห็นที่แตกต่างกัน โดยฝ่ายหนึ่งต้องการโค่น
Gaddafi แต่อีกฝ่ายไม่ต้องการให้สหรัฐฯก่อสงครามในโลกมุสลิมอีก โดยฝ่ายที่ต้องการให้สหรัฐฯเข้าร่วมกับอังกฤษ และฝรั่งเศส ตัวแสดงสำคัญ คือ Hillary Clinton รัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐฯ ในขณะที่อีกฝ่ายหนึ่ง ซึ่งมี Robert Gates รัฐมนตรีกลาโหมสหรัฐฯ เป็นตัวหลัก มองว่า การประกาศเขตห้ามบิน ในที่สุด จะนำสหรัฐฯถลำลึกเข้าสู่สงครามยืดเยื้อ เหมือนกับสงครามในอัฟกานิสถาน และสงครามอิรัก อย่างไรก็ตาม ในที่สุด Obama ได้ตัดสินใจสนับสนุนแนวคิดของฝ่ายแรก คือ การเข้าร่วมกับอังกฤษ และฝรั่งเศส แต่ก็ยังกังวลว่า สงครามจะยืดเยื้อ จึงประกาศจะไม่เป็นผู้นำในสงครามครั้งนี้ โดยให้ฝรั่งเศสและอังกฤษ เล่นบทเป็นพระเอกแทน สหรัฐฯจะพยายามเกี่ยวข้องกับสงครามให้น้อยที่สุด Obama ประกาศจะไม่ส่งกองกำลังทหารบกเข้าไปในลิเบีย
ดังนั้น เป้าหมายของสหรัฐฯ จึงแตกต่างจากเป้าหมายของฝรั่งเศสและอังกฤษ ที่ต้องการโค่นล้มรัฐบาล Gaddafi โดยเป้าหมายของสหรัฐฯ คือ ไม่ต้องการเข้าไปยุ่งกับสงครามอย่างเต็มตัว แม้ว่า ในตอนแรก สหรัฐฯจำเป็นต้องเล่นบทเป็นผู้นำในการโจมตีทางทหาร แต่ตอนหลัง ได้โอนบทบาทดังกล่าวให้กับนาโต้ ดังนั้น ความแตกแยกระหว่างสหรัฐ กับอังกฤษและฝรั่งเศส จึงเป็นอุปสรรคสำคัญ ของการทำสงครามในครั้งนี้ ซึ่งแตกต่างจากสงครามในอดีต โดยเฉพาะ สงครามในเซอร์เบีย และโคโซโว
• เยอรมนี : ความแตกแยกสำคัญในโลกตะวันตก เกิดขึ้นเมื่อเยอรมนี ไม่เห็นด้วยกับอังกฤษและ
ฝรั่งเศสในการทำสงครามครั้งนี้ โดยเยอรมนี ไม่เห็นด้วยมาตั้งแต่แรก ในการที่ตะวันตกจะไปแทรกแซงทางทหารในลิเบีย โดยมองว่า การแทรกแซงทางทหาร มีความเสี่ยงและความไม่แน่นอนสูงมาก ดังนั้น เยอรมนี ในฐานะสมาชิกไม่ถาวรของ UNSC จึงงดออกเสียง ไม่สนับสนุนข้อมติของอังกฤษและฝรั่งเศส นายกรัฐมนตรีของเยอรมนี Angela Markel ได้ออกมาพูดคัดค้านท่าทีของฝรั่งเศส และท่าทีของ Sarkozy หลายครั้ง โดย Markel ได้แสดงความไม่เห็นด้วยเป็นอย่างมากต่อแนวคิดเขตห้ามบิน โดยผู้นำเยอรมัน ก็คงจะอ่านกระแสของชาวเยอรมันในขณะนี้ได้ชัด โดย 2 ใน 3 ของชาวเยอรมัน ไม่เห็นด้วย ต่อการที่เยอรมนีส่งกองกำลังทหารเข้าไปในอัฟกานิสถาน ดังนั้น รัฐบาล Markel ก็คงจะไม่อยากที่จะเข้าร่วมกับสงครามครั้งใหม่อีก เยอรมนีได้ปฏิเสธที่จะส่งกองกำลังทหารเข้าร่วมกับอังกฤษและฝรั่งเศสในสงครามลิเบีย
• อิตาลี : ซึ่งเป็นเจ้าอาณานิคมเก่าของลิเบีย จึงมีความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจที่แน่นแฟ้นกับลิเบีย
โดยเฉพาะ การนำเข้าน้ำมันและก๊าซธรรมชาติจากลิเบีย นายกรัฐมนตรีอิตาลี คือ Silvio Berlusconi ก็มีความสัมพันธ์ที่ดีกับ Gaddafi ดังนั้น อิตาลี จึงไม่อยากสนับสนุนการแทรกแซงทางทหารต่อลิเบีย ท่าทีของอิตาลี คือ หากจะมีมาตรการทางทหาร ก็ควรดำเนินในกรอบของนาโต้
• BRIC : ส่วนท่าทีของมหาอำนาจเศรษฐกิจใหม่ ซึ่งเรียกกลุ่มนี้ว่า BRIC ซึ่งย่อมาจาก Brazil,
Russia, India, China เริ่มที่จะมีท่าทีขัดแย้งกับตะวันตกมากขึ้นเรื่อยๆ โดยรัสเซียกับจีน ไม่เห็นด้วยกับการใช้กำลังทางทหารต่อลิเบีย ซี่งบราซิลกับอินเดีย ก็สนับสนุนท่าทีของ รัสเซียและจีน โดยทั้ง 4 ประเทศ งดออกเสียงในการลงมติข้อเสนอการใช้กำลังทางทหารต่อลิเบีย ใน UNSC
อย่างไรก็ตาม ในตอนแรก ตะวันตกกังวลว่า รัสเซียกับจีน อาจจะใช้สิทธิยับยั้ง วีโต้ข้อมติของ
ตะวันตก แต่ในที่สุด ก็เพียงแค่งดออกเสียง ซึ่งแสดงให้เห็นว่า ประเทศเหล่านี้ ยังไม่อยากขัดแย้งกับตะวันตกมากจนเกินไป
อย่างไรก็ดี ข้อมติในตอนแรก เน้นเรื่องของการจัดตั้งเขตห้ามบิน แต่หลังจากเกิดสงคราม
และมีการโจมตีทางทหาร ประเทศเหล่านี้ ก็มองว่า ตะวันตกทำเกินขอบเขต และเริ่มมีท่าทีคัดค้านสงครามมากขึ้นเรื่อยๆ
นายกรัฐมนตรีรัสเซีย Vladimir Putin ถึงกับประกาศกร้าวว่า ปฏิบัติการทางทหารครั้งนี้ ดู
เหมือนจะเป็นการประกาศสงครามครูเสดครั้งใหม่
ส่วนจีน ก็มีผลประโยชน์ โดยเฉพาะการนำเข้าน้ำมันจากลิเบีย และท่าทีจีนที่ผ่านมา คือ การต่อต้านการแทรกแซงกิจการภายใน อย่างไรก็ตาม จีนก็ไม่ได้วีโต้ข้อมติของตะวันตก เพียงแค่งดออกเสียง แต่หลังจากเกิดสงคราม ท่าทีจีนก็เปลี่ยนไป เป็นต่อต้านปฏิบัติการทางทหารของตะวันตกมากขึ้นเรื่อยๆ โดยบทบรรณาธิการ หนังสือพิมพ์ People’s Daily ของพรรคอมมิวนิสต์จีน ได้ประกาศว่า การโจมตีลิเบียในครั้งนี้ ถือเป็นการละเมิดกฎหมายระหว่างประเทศ
สำหรับอินเดีย ในฐานะสมาชิกไม่ถาวรของ UNSC ก็ได้งดออกเสียง และได้เรียกร้องให้มีการหยุดยิงในลิเบีย สภาล่างของอินเดีย ก็ได้ผ่านข้อมติประณามปฏิบัติการทางทหาร โดย Pranab Mukherjee ประธานสภา ได้กล่าวว่า เป็นสิ่งที่ไม่ถูกต้องที่ประเทศเพียง 2-3 ประเทศ จะตัดสินใจที่จะเปลี่ยนระบอบในอีกประเทศหนึ่ง
• สันนิบาตอาหรับ : ปัจจัยสำคัญอีกประการ สำหรับอนาคตของสงครามลิเบีย คือ การสนับสนุน
จากโลกอาหรับ ที่ผ่านมา สันนิบาตอาหรับ ได้มีมติสนับสนุนการจัดตั้งเขตห้ามบินในลิเบีย ซึ่งนำไปสู่การลงมติข้อมติของ UNSC ที่ 1973 อย่างไรก็ตาม หากวิเคราะห์ดูผลการประชุมของสันนิบาตอาหรับในวันที่ 12 มีนาคม ซึ่งมีสมาชิกทั้งหมด 22 ประเทศนั้น ก็มีหลายประเทศที่ไม่เห็นด้วยกับมติสนับสนุนเขตห้ามบิน อาทิ อัลจีเรีย ซูดาน ซีเรีย และเยเมน
อย่างไรก็ตาม หลังจากที่ตะวันตกโจมตีลิเบีย ก็ได้ก่อให้เกิดแนวโน้มการต่อต้านจากโลกอาหรับมากขึ้นเรื่อยๆ โดยเลขาธิการของสันนิบาตอาหรับ Amr Moussa ได้ออกมาประณาม แสดงความไม่พอใจต่อปฏิบัติการทางทหารของตะวันตก ที่เขามองว่า ทำเกินเลยจากเป้าหมายการจัดตั้งเขตห้ามบิน โดยเน้นว่า ข้อมติ 1973 ของ UNSC ไม่ได้อนุมัติให้มีการแทรกแซงทางทหาร และไม่ได้อนุมัติให้มีการบุกโจมตีลิเบีย โดยเขากล่าวว่า ข้อมติของ UNSC เน้นการจัดตั้งเขตห้ามบินเท่านั้น ดังนั้น กระแสการต่อต้านจากโลกอาหรับ ก็เพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ จนในที่สุด โลกอาหรับ และโลกมุสลิม อาจมองว่า สงครามลิเบีย ก็เป็นอีกสงครามหนึ่ง ที่ตะวันตกโจมตีโลกมุสลิม
กล่าวโดยสรุป ความแตกแยกของประชาคมโลกในสงครามลิเบียในขณะนี้ ก็จะทำให้สงครามคงจะจบลงได้ยากและยืดเยื้อ การขาดเอกภาพของประชาคมโลกในครั้งนี้ จึงเป็นอุปสรรคสำคัญ ต่อการบรรลุเป้าหมายของตะวันตก ที่ต้องการจะโค่นล้มรัฐบาล Gaddafi ลงให้ได้
ตีพิมพ์ใน สยามรัฐสัปดาหวิจารณ์ ฉบับวันศุกร์ที่ 1 – วันพฤหัสบดีที่ 7 เมษายน 2554
สงครามลิเบีย ได้ผ่านไปเกือบ 2 สัปดาห์แล้ว แต่ยังไม่มีทีท่าว่า จะจบลงได้อย่างไร แนวโน้ม
ขณะนี้ คือ น่าจะกลายเป็นสงครามที่ยืดเยื้อ ซึ่งปัจจัยสำคัญประการหนึ่ง ที่จะเป็นอุปสรรคต่อการบรรลุเป้าหมายของตะวันตก และจะทำให้สงครามยืดเยื้อ คือ ความแตกแยกระหว่างประเทศต่างๆที่เกี่ยวข้อง คอลัมน์โลกทรรศน์ในวันนี้ จะมาวิเคราะห์ท่าทีของประเทศต่างๆ ที่เกี่ยวข้องในสงครามลิเบีย ดังนี้
• ฝรั่งเศส : ซึ่งเป็นประเทศตะวันตกที่มีบทบาทมากที่สุดมาตั้งแต่แรก ฝรั่งเศสได้สนับสนุน
อย่างเต็มที่ ที่จะให้มีการแทรกแซงทางทหารเพื่อล้มรัฐบาล Gaddafi มีบทบาทสำคัญในการชักชวนให้สันนิบาตอาหรับสนับสนุนข้อเสนอเขตห้ามบินของฝรั่งเศส และฝรั่งเศสก็เป็นประเทศแรก ที่ยิงกระสุนนัดแรกโจมตีลิเบีย ในวันที่ 19 มีนาคม ซึ่งเป็นการเปิดฉากสงครามลิเบีย และเล่นบทชัดเจนในความพยายามเป็นผู้นำในสงครามครั้งนี้
นอกจากนั้น ฝรั่งเศสยังเป็นประเทศแรกที่ให้การรับรองรัฐบาลของฝ่ายกบฏ ซึ่งมีชื่อว่า Libya
Interim Transitional National Council หรือที่เรียกสั้นๆว่า Interim Governing Council โดยสาเหตุหลักที่ฝรั่งเศสพยายามออกมาเล่นบทเป็นพระเอกในสงครามครั้งนี้ ก็เพราะ ยุทธศาสตร์ซ่อนเร้น ที่ฝรั่งเศสมีความทะเยอทะยานที่จะกลับมาเป็นมหาอำนาจที่เคยโดดเด่นในอดีต โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ฝรั่งเศสมีเป้าหมายที่จะผงาดขึ้นมาเป็นผู้นำในภูมิภาคเมดิเตอร์เรเนียน
• อังกฤษ : ซึ่งร่วมมือกับฝรั่งเศสอย่างใกล้ชิด โดยนายกรัฐมนตรี David Cameron ได้ประกาศ
ต่อสภา ตั้งแต่ปลายเดือนกุมภาพันธ์ว่า ได้ขอให้ฝ่ายทหารจัดทำแผนการเขตห้ามบินเหนือลิเบีย และได้ร่วมกับฝรั่งเศสในการเสนอข้อมติ UNSC ที่ 1973 ประกาศเขตห้ามบิน และอนุมัติให้มีการใช้กำลังทางทหารต่อลิเบีย Cameron มีบทบาทสำคัญในการหว่านล้อมให้สหรัฐฯเข้าร่วมกับอังกฤษและฝรั่งเศส โดยเมื่อเกิดสงคราม อังกฤษมีบทบาทอย่างมาก ทั้งในการใช้เรือดำน้ำยิงขีปนาวุธ และใช้เครื่องบินรบโจมตีกองกำลังของ Gaddafi
• สหรัฐฯ : ภายในรัฐบาล Obama มีความคิดเห็นที่แตกต่างกัน โดยฝ่ายหนึ่งต้องการโค่น
Gaddafi แต่อีกฝ่ายไม่ต้องการให้สหรัฐฯก่อสงครามในโลกมุสลิมอีก โดยฝ่ายที่ต้องการให้สหรัฐฯเข้าร่วมกับอังกฤษ และฝรั่งเศส ตัวแสดงสำคัญ คือ Hillary Clinton รัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐฯ ในขณะที่อีกฝ่ายหนึ่ง ซึ่งมี Robert Gates รัฐมนตรีกลาโหมสหรัฐฯ เป็นตัวหลัก มองว่า การประกาศเขตห้ามบิน ในที่สุด จะนำสหรัฐฯถลำลึกเข้าสู่สงครามยืดเยื้อ เหมือนกับสงครามในอัฟกานิสถาน และสงครามอิรัก อย่างไรก็ตาม ในที่สุด Obama ได้ตัดสินใจสนับสนุนแนวคิดของฝ่ายแรก คือ การเข้าร่วมกับอังกฤษ และฝรั่งเศส แต่ก็ยังกังวลว่า สงครามจะยืดเยื้อ จึงประกาศจะไม่เป็นผู้นำในสงครามครั้งนี้ โดยให้ฝรั่งเศสและอังกฤษ เล่นบทเป็นพระเอกแทน สหรัฐฯจะพยายามเกี่ยวข้องกับสงครามให้น้อยที่สุด Obama ประกาศจะไม่ส่งกองกำลังทหารบกเข้าไปในลิเบีย
ดังนั้น เป้าหมายของสหรัฐฯ จึงแตกต่างจากเป้าหมายของฝรั่งเศสและอังกฤษ ที่ต้องการโค่นล้มรัฐบาล Gaddafi โดยเป้าหมายของสหรัฐฯ คือ ไม่ต้องการเข้าไปยุ่งกับสงครามอย่างเต็มตัว แม้ว่า ในตอนแรก สหรัฐฯจำเป็นต้องเล่นบทเป็นผู้นำในการโจมตีทางทหาร แต่ตอนหลัง ได้โอนบทบาทดังกล่าวให้กับนาโต้ ดังนั้น ความแตกแยกระหว่างสหรัฐ กับอังกฤษและฝรั่งเศส จึงเป็นอุปสรรคสำคัญ ของการทำสงครามในครั้งนี้ ซึ่งแตกต่างจากสงครามในอดีต โดยเฉพาะ สงครามในเซอร์เบีย และโคโซโว
• เยอรมนี : ความแตกแยกสำคัญในโลกตะวันตก เกิดขึ้นเมื่อเยอรมนี ไม่เห็นด้วยกับอังกฤษและ
ฝรั่งเศสในการทำสงครามครั้งนี้ โดยเยอรมนี ไม่เห็นด้วยมาตั้งแต่แรก ในการที่ตะวันตกจะไปแทรกแซงทางทหารในลิเบีย โดยมองว่า การแทรกแซงทางทหาร มีความเสี่ยงและความไม่แน่นอนสูงมาก ดังนั้น เยอรมนี ในฐานะสมาชิกไม่ถาวรของ UNSC จึงงดออกเสียง ไม่สนับสนุนข้อมติของอังกฤษและฝรั่งเศส นายกรัฐมนตรีของเยอรมนี Angela Markel ได้ออกมาพูดคัดค้านท่าทีของฝรั่งเศส และท่าทีของ Sarkozy หลายครั้ง โดย Markel ได้แสดงความไม่เห็นด้วยเป็นอย่างมากต่อแนวคิดเขตห้ามบิน โดยผู้นำเยอรมัน ก็คงจะอ่านกระแสของชาวเยอรมันในขณะนี้ได้ชัด โดย 2 ใน 3 ของชาวเยอรมัน ไม่เห็นด้วย ต่อการที่เยอรมนีส่งกองกำลังทหารเข้าไปในอัฟกานิสถาน ดังนั้น รัฐบาล Markel ก็คงจะไม่อยากที่จะเข้าร่วมกับสงครามครั้งใหม่อีก เยอรมนีได้ปฏิเสธที่จะส่งกองกำลังทหารเข้าร่วมกับอังกฤษและฝรั่งเศสในสงครามลิเบีย
• อิตาลี : ซึ่งเป็นเจ้าอาณานิคมเก่าของลิเบีย จึงมีความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจที่แน่นแฟ้นกับลิเบีย
โดยเฉพาะ การนำเข้าน้ำมันและก๊าซธรรมชาติจากลิเบีย นายกรัฐมนตรีอิตาลี คือ Silvio Berlusconi ก็มีความสัมพันธ์ที่ดีกับ Gaddafi ดังนั้น อิตาลี จึงไม่อยากสนับสนุนการแทรกแซงทางทหารต่อลิเบีย ท่าทีของอิตาลี คือ หากจะมีมาตรการทางทหาร ก็ควรดำเนินในกรอบของนาโต้
• BRIC : ส่วนท่าทีของมหาอำนาจเศรษฐกิจใหม่ ซึ่งเรียกกลุ่มนี้ว่า BRIC ซึ่งย่อมาจาก Brazil,
Russia, India, China เริ่มที่จะมีท่าทีขัดแย้งกับตะวันตกมากขึ้นเรื่อยๆ โดยรัสเซียกับจีน ไม่เห็นด้วยกับการใช้กำลังทางทหารต่อลิเบีย ซี่งบราซิลกับอินเดีย ก็สนับสนุนท่าทีของ รัสเซียและจีน โดยทั้ง 4 ประเทศ งดออกเสียงในการลงมติข้อเสนอการใช้กำลังทางทหารต่อลิเบีย ใน UNSC
อย่างไรก็ตาม ในตอนแรก ตะวันตกกังวลว่า รัสเซียกับจีน อาจจะใช้สิทธิยับยั้ง วีโต้ข้อมติของ
ตะวันตก แต่ในที่สุด ก็เพียงแค่งดออกเสียง ซึ่งแสดงให้เห็นว่า ประเทศเหล่านี้ ยังไม่อยากขัดแย้งกับตะวันตกมากจนเกินไป
อย่างไรก็ดี ข้อมติในตอนแรก เน้นเรื่องของการจัดตั้งเขตห้ามบิน แต่หลังจากเกิดสงคราม
และมีการโจมตีทางทหาร ประเทศเหล่านี้ ก็มองว่า ตะวันตกทำเกินขอบเขต และเริ่มมีท่าทีคัดค้านสงครามมากขึ้นเรื่อยๆ
นายกรัฐมนตรีรัสเซีย Vladimir Putin ถึงกับประกาศกร้าวว่า ปฏิบัติการทางทหารครั้งนี้ ดู
เหมือนจะเป็นการประกาศสงครามครูเสดครั้งใหม่
ส่วนจีน ก็มีผลประโยชน์ โดยเฉพาะการนำเข้าน้ำมันจากลิเบีย และท่าทีจีนที่ผ่านมา คือ การต่อต้านการแทรกแซงกิจการภายใน อย่างไรก็ตาม จีนก็ไม่ได้วีโต้ข้อมติของตะวันตก เพียงแค่งดออกเสียง แต่หลังจากเกิดสงคราม ท่าทีจีนก็เปลี่ยนไป เป็นต่อต้านปฏิบัติการทางทหารของตะวันตกมากขึ้นเรื่อยๆ โดยบทบรรณาธิการ หนังสือพิมพ์ People’s Daily ของพรรคอมมิวนิสต์จีน ได้ประกาศว่า การโจมตีลิเบียในครั้งนี้ ถือเป็นการละเมิดกฎหมายระหว่างประเทศ
สำหรับอินเดีย ในฐานะสมาชิกไม่ถาวรของ UNSC ก็ได้งดออกเสียง และได้เรียกร้องให้มีการหยุดยิงในลิเบีย สภาล่างของอินเดีย ก็ได้ผ่านข้อมติประณามปฏิบัติการทางทหาร โดย Pranab Mukherjee ประธานสภา ได้กล่าวว่า เป็นสิ่งที่ไม่ถูกต้องที่ประเทศเพียง 2-3 ประเทศ จะตัดสินใจที่จะเปลี่ยนระบอบในอีกประเทศหนึ่ง
• สันนิบาตอาหรับ : ปัจจัยสำคัญอีกประการ สำหรับอนาคตของสงครามลิเบีย คือ การสนับสนุน
จากโลกอาหรับ ที่ผ่านมา สันนิบาตอาหรับ ได้มีมติสนับสนุนการจัดตั้งเขตห้ามบินในลิเบีย ซึ่งนำไปสู่การลงมติข้อมติของ UNSC ที่ 1973 อย่างไรก็ตาม หากวิเคราะห์ดูผลการประชุมของสันนิบาตอาหรับในวันที่ 12 มีนาคม ซึ่งมีสมาชิกทั้งหมด 22 ประเทศนั้น ก็มีหลายประเทศที่ไม่เห็นด้วยกับมติสนับสนุนเขตห้ามบิน อาทิ อัลจีเรีย ซูดาน ซีเรีย และเยเมน
อย่างไรก็ตาม หลังจากที่ตะวันตกโจมตีลิเบีย ก็ได้ก่อให้เกิดแนวโน้มการต่อต้านจากโลกอาหรับมากขึ้นเรื่อยๆ โดยเลขาธิการของสันนิบาตอาหรับ Amr Moussa ได้ออกมาประณาม แสดงความไม่พอใจต่อปฏิบัติการทางทหารของตะวันตก ที่เขามองว่า ทำเกินเลยจากเป้าหมายการจัดตั้งเขตห้ามบิน โดยเน้นว่า ข้อมติ 1973 ของ UNSC ไม่ได้อนุมัติให้มีการแทรกแซงทางทหาร และไม่ได้อนุมัติให้มีการบุกโจมตีลิเบีย โดยเขากล่าวว่า ข้อมติของ UNSC เน้นการจัดตั้งเขตห้ามบินเท่านั้น ดังนั้น กระแสการต่อต้านจากโลกอาหรับ ก็เพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ จนในที่สุด โลกอาหรับ และโลกมุสลิม อาจมองว่า สงครามลิเบีย ก็เป็นอีกสงครามหนึ่ง ที่ตะวันตกโจมตีโลกมุสลิม
กล่าวโดยสรุป ความแตกแยกของประชาคมโลกในสงครามลิเบียในขณะนี้ ก็จะทำให้สงครามคงจะจบลงได้ยากและยืดเยื้อ การขาดเอกภาพของประชาคมโลกในครั้งนี้ จึงเป็นอุปสรรคสำคัญ ต่อการบรรลุเป้าหมายของตะวันตก ที่ต้องการจะโค่นล้มรัฐบาล Gaddafi ลงให้ได้
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)