ตีพิมพ์ในหนังสือพิมพ์ไทยโพสต์
ฉบับวันที่
12 กรกฎาคม 2555
สถานการณ์และแนวโน้ม
วิกฤตหนี้ของยุโรป
โดยเฉพาะประเทศที่ใช้เงินEuro17 ประเทศ
ที่เรียกว่า Eurozone นั้น กำลังเข้าขั้นวิกฤต
และมีแนวโน้มจะทรุดหนักลงเรื่อยๆ โดยในตอนแรกรัฐบาลที่ประสบภาวะหนี้สิน ได้แก่
กรีซ ไอร์แลนด์ และโปรตุเกส ต่อมา วิกฤตได้ลุกลามเข้าสู่อิตาลีและสเปน
ซึ่งเป็นประเทศที่เศรษฐกิจขนาดใหญ่ แม้ว่าจะได้มีการพยายามกอบกู้วิกฤต
ทั้งในกรอบของ EU,IMF และ G20 แต่สถานการณ์ก็ยังไม่ดีขึ้น
สถานการณ์ล่าสุด
แม้ว่าจะได้มีการเลือกตั้งใหม่ที่กรีซและพรรคการเมืองที่สนับสนุนนโยบายรัดเข็มขัดได้รับชัยชนะแล้วก็ตาม
แต่ก็ปรากฏว่า วิกฤตได้ลุกลามเข้าสู่สเปนอย่างรวดเร็ว
จนทำให้มีการตื่นกลัวกันว่าวิกฤต Eurozoneกำลังจะลุกลามบานปลายกันไปใหญ่ แม้ว่าล่าสุดจะมีความพยายามจัดประชุมสุดยอด
EU หลายครั้ง แต่มาตรการกอบกู้วิกฤตก็ยังไม่เพียงพอ
ขณะนี้มีแนวคิดแตกออกเป็น 2 แนว แนวคิดหนึ่งเรียกร้องให้มีบูรณาการในยุโรปมากขึ้น
แต่อีกแนวคิดหนึ่งต้องการกดดันให้ประเทศที่มีปัญหาเลิกใช้เงิน Euro
ตัวแสดงสำคัญในการกอบกู้วิกฤต
คือ เยอรมนี แต่ชาวเยอรมันก็แตกแยกกัน เพราะถ้าจะเอาจริงๆ เยอรมนีจะต้องลงขันจ่ายเงินเพื่ออัดฉีดเงินช่วยเหลือประเทศที่มีปัญหาเป็นจำนวนเงินมหาศาล
ซึ่งชาวเยอรมันบางกลุ่มก็คัดค้านไม่เห็นด้วยกับการที่จะต้องจ่ายเงินเป็นจำนวนมากเพื่อช่วยประเทศอื่น นอกจากนี้ เยอรมนีก็รู้ดีว่า
อาจจะต้องช่วยทั้งอิตาลี สเปน โปรตุเกส และกรีซ ซึ่งก็คงจะช่วยไม่ไหว
สำหรับฝรั่งเศสก็เป็นตัวแสดงสำคัญอีกประเทศ
แต่แม้ว่าประธานาธิบดี Francois Hollande จะได้กล่าวว่า
ฝรั่งเศสพร้อมที่จะยืดหยุ่นสำหรับมาตรการรัดเข็มขัดกับประเทศที่มีปัญหา
แต่โจทย์สำคัญสำหรับฝรั่งเศส คือ เศรษฐกิจของฝรั่งเศสเองก็เปราะบาง ซึ่งอาจจะได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของวิกฤตEurozone ได้
ผลกระทบ
· ภาพรวม
วิกฤต
Eurozoneที่เกิดขึ้น
รวมทั้งสถานการณ์ล่าสุดและแนวโน้มในอนาคต
กำลังส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจโลกเป็นอย่างมาก สร้างความปั่นป่วนให้กับตลาดหุ้นทั่วโลก ทำให้เกิดความวิตกกังวลมากขึ้นเรื่อยๆว่า
กำลังจะเกิดวิกฤตเศรษฐกิจโลกครั้งใหม่
โดยยังไม่มีความแน่นอนว่ามาตรการกอบกู้วิกฤตของ EU จะสามารถกอบกู้วิกฤตได้หรือไม่
ดังนั้นโอกาสที่วิกฤตจะลุกลามบานปลายจนกลายเป็นวิกฤตเศรษฐกิจโลกครั้งใหญ่ก็อาจเป็นไปได้
โดยเฉพาะถ้าเกิดการล่มสลายของ Eurozoneก็จะทำให้เศรษฐกิจโลกเข้าสู่สภาวะเศรษฐกิจตกต่ำหรือ
great depression คือสภาวะเศรษฐกิจตกต่ำครั้งใหม่ที่รุนแรงมากที่สุดในรอบ
70 ปี
· ผลกระทบต่อมหาอำนาจเศรษฐกิจ
วิกฤต
Eurozoneจะส่งผลกระทบต่อวิกฤตเศรษฐกิจโลกทั้งทางตรงและทางอ้อม
สำหรับทางอ้อมคือจะไปกระทบต่อเศรษฐกิจของมหาอำนาจ ซึ่งจะส่งผลกระทบเป็นลูกโซ่ต่อเศรษฐกิจโลก
โดยเฉพาะสำหรับสหรัฐนั้น
แม้ว่าสหรัฐจะส่งออกไป Eurozoneคิดเป็นเพียง1-2%
ของ GDP แต่ธนาคารสหรัฐก็ทำธุรกรรมทางการเงินกับธนาคารยุโรป
จึงอาจได้รับผลกระทบ นอกจากนี้บรรษัทข้ามชาติใหญ่ๆของสหรัฐก็เข้าไปลงทุนในยุโรปเป็นจำนวนมหาศาล
วิกฤตเศรษฐกิจยุโรปจะกระทบต่อการลงทุนของสหรัฐและต่อมูลค่าหุ้นของสหรัฐ ด้วย
สำหรับมหาอำนาจเศรษฐกิจอีกประเทศ
คือ จีน ก็คงจะได้รับผลกระทบ ซึ่งสถานการณ์ล่าสุดได้ชี้ให้เห็นว่าเศรษฐกิจจีนกำลังชะลอตัวลงEU นำเข้าสินค้าจากจีนคิดเป็นสัดส่วน 1 ใน 5 ของการส่งออกทั้งหมดของจีน
สำหรับอินเดีย
นั้น พึ่งพาการส่งออกน้อยกว่าจีน โดยการส่งออกของอินเดียคิดเป็น 22% ของ GDP
ในขณะที่จีนมีสัดส่วนถึง 30% ดังนั้นผลกระทบจากวิกฤตEurozoneต่ออินเดียจึงมีไม่มากนัก
สำหรับมหาอำนาจเศรษฐกิจเกิดใหม่
อาทิ บราซิล รัสเซีย ประเทศเหล่านี้พึ่งพาการส่งออกวัตถุดิบ
โดยยุโรปเป็นผู้บริโภครายสำคัญ ปัญหาคือวิกฤต Eurozoneทำให้ราคาสินค้าเหล่านี้ตกต่ำลง ซึ่งก็ได้เห็นแล้วจากราคาน้ำมันที่ลดลงเรื่อยๆ
โดยจะทำให้ประเทศเหล่านี้ได้รับผลกระทบจากการที่รายได้จากการส่งออกลดลง
· ผลกระทบต่อไทย
สำหรับประเทศไทย
นั้น หากวิกฤต Eurozoneบานปลายก็จะส่งผลกระทบต่อไทยอย่างรุนแรงทั้งทางด้านการค้า
การลงทุนและการท่องเที่ยว
ในด้านการค้า
EU มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่ที่สุดในโลก คือประมาณ 27% ของเศรษฐกิจโลกEurozoneเป็นตลาดส่งออกที่สำคัญของไทย
สัดส่วนของตลาดตะวันตกคิดเป็น 30% ของการส่งออกของไทย
ดังนั้นจึงมีความเป็นไปได้ค่อนข้างมากว่า การส่งออกของไทยในปีนี้จะหดตัวลง
โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากวิกฤตลุกลามบานปลายจนกลายเป็นวิกฤตเศรษฐกิจโลก
สำหรับผลกระทบทางด้านการลงทุน
ประเทศยุโรปเป็นประเทศที่มาลงทุนในลำดับต้นๆของไทย หากวิกฤตบานปลายนักลงทุนยุโรปก็จะลดการลงทุนในไทยลง
รวมทั้งตลาดหุ้นและตลาดการเงินด้วย
กล่าวโดยสรุปจะเห็นได้ว่า
วิกฤต Eurozoneยังคงเป็นเรื่องที่น่าเป็นห่วงเป็นอย่างมาก
โดยเฉพาะหากเกิด worst-case scenario คือวิกฤตลุกลามบานปลายจนกลายเป็นวิกฤตเศรษฐกิจโลกก็จะส่งผลกระทบต่อไทยเป็นอย่างมาก
เราจึงควรต้องติดตามเรื่องนี้อย่างใกล้ชิดว่าจะมีแนวโน้มไปในทิศทางใด และคงจะต้องรีบเตรียมรับมือ
หากวิกฤตรลุกลามบานปลาย
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น