นโยบายต่างประเทศของไทย (ตอนที่ 2)
ตีพิมพ์ใน สยามรัฐสัปดาหวิจารณ์ ปีที่ 57 ฉบับที่ 35 วันศุกร์ที่ 21 - วันพฤหัสบดีที่ 27 พฤษภาคม 2553
คอลัมน์โลกทรรศน์ตอนที่แล้ว ผมได้วิเคราะห์เกี่ยวกับภาพรวมนโยบายต่างประเทศของไทย รวมทั้งปัญหาความสัมพันธ์ไทยกับประเทศเพื่อนบ้านไปแล้ว ในตอนที่ 2 นี้ จะมาวิเคราะห์ต่อเกี่ยวกับแนวทางในการฟื้นฟูความสัมพันธ์กับประเทศเพื่อนบ้าน และบทบาทของไทยในเวทีอาเซียน
ประเทศเพื่อนบ้าน (ต่อ)
ผมว่า รัฐบาลต้องชัดเจนในการมองว่า การฟื้นฟูความสัมพันธ์กับประเทศเพื่อนบ้าน ต้องถือเป็นเรื่องสำคัญอันดับหนึ่ง ในเรื่องนโยบายต่างประเทศของไทย ซึ่งตรงนี้ มีปัญหามากที่สุด คือตรงอื่นนั้น พอไปได้ แต่ที่มีปัญหามากที่สุดคือ เรื่องไทยกับประเทศเพื่อนบ้าน ดังนั้น จะต้องระดมพลังในการรวบรวมความคิดว่า เราจะแก้อย่างไร ซึ่งผมมองว่า วิธีแก้นี้ จะต้องใช้เวลา ที่ผมได้เรียนไปแล้วว่า ลึกๆแล้ว คือปัญหาเรื่องความไม่ไว้วางใจกัน ซึ่งจะต้องไปแก้ที่รากเหง้าของปัญหา เรื่องของการที่เขาไม่ไว้ใจเรา โดยเฉพาะเรื่องที่กลัวเราไปครอบงำทางเศรษฐกิจ ตรงนี้ เราควรจะต้องไปปรับใหม่ ในเรื่องการการดำเนินความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจ ในแบบที่เราจะต้องไม่ถูกมองว่า เราไปตักตวงผลประโยชน์เขา หรือเราไปครอบงำเขา คือ ต้องมีลักษณะได้ประโยชน์ทั้งสองฝ่าย เป็น win-win game
ทีนี้ เราจะไปบอกนักธุรกิจเราอย่างไรให้เป็นอย่างนั้น รัฐบาลจะไปบอกนักธุรกิจอย่างไร ในเมื่อธรรมชาติของนักธุรกิจ ก็ต้องหาประโยชน์ส่วนตน และถ้าเผื่อไม่มีอะไรไปบีบ ให้ต้องให้เขาบ้าง ก็ไม่ค่อยอยากให้ ถ้าในแบบของผมคือ ทางฝ่ายธุรกิจ เราไปบีบมากคงจะไม่ได้ เพราะเขาก็ต้องมีอิสระของเขาในการดำเนินธุรกิจ แต่ในเรื่องของจิตสำนึก เราคงจะต้องพยายามที่จะปลูกฝัง มีเวทีหลายเวทีที่รัฐบาลกับภาคธุรกิจได้มาเจอกัน ตรงนี้คงต้องมีการผลักดันให้เป็นวาระแห่งชาติในเรื่องนี้ แต่สิ่งที่รัฐบาลสามารถทำได้มากกว่านั้นคือ ความสัมพันธ์กับรัฐ ที่รัฐบาลสามารถทำได้เองคือ ในเรื่องของการไปปรับความสัมพันธ์กับรัฐบาลประเทศเพื่อนบ้าน ในเรื่องของการที่จะต้องส่งเสริมความสัมพันธ์ทางด้านเศรษฐกิจ การให้ความช่วยเหลือทางด้านเศรษฐกิจ เช่น เอาเงินไปให้กู้บ้าง เอาเงินไปช่วยให้เปล่าบ้าง ลาวอยากจะฝึกอะไร เราก็ไปฝึกให้ อยากจะเรียนในไทยก็ให้มาเรียน ให้การช่วยเหลือทำนองนี้ คือต้องมีเรื่องให้ความช่วยเหลือ ต้องช่วยผลักดัน ให้เขามีการพัฒนาขึ้นมาใกล้กับเรา ไม่ให้ห่างกันมากขนาดนี้
อีกเรื่องที่รัฐบาลต้องทำคือ เรื่องของการส่งเสริมความสัมพันธ์ในระดับประชาชน ซึ่งจะไปช่วยในเรื่องของการแก้ความรู้สึกลึกๆ ในเรื่องของประวัติศาสตร์ อาจต้องมีการชำระประวัติศาสตร์ ตั้งกรรมการระหว่างประเทศขึ้นมา เพื่อมาดูเรื่องประวัติศาสตร์ให้ตรงกัน ประเทศยุโรป เรื่องของสงครามโลกครั้งที่ 1 และ 2 ผมว่าเขาทำ และตอนนี้ เขาก็ประสบความสำเร็จในเรื่องว่าประวัติศาสตร์ต่างๆ ซึ่งเขาทิ้งไปหมดแล้ว มาเริ่มกันใหม่ ผมว่าทำได้หลายอย่าง แต่สิ่งหนึ่งที่สามารถทำได้ และเห็นได้ชัดเจนคือ ในเรื่องของการแก้ไขตำราเรียน ซึ่งอาจจะต้องมีการตั้งคณะกรรมการขึ้นมา เพื่อให้มีข้อเท็จจริงตรงกันมากขึ้น
นอกจากนั้น ยังมีปัญหาเฉพาะเรื่องที่เราต้องแก้ เช่น เรื่องของไทยกับกัมพูชา ซึ่งมีปัญหาใหญ่ เช่น เรื่องของเขาพระวิหาร ซึ่งจะต้องแก้ด้วยการเจรจา แก้ปัญหาเรื่องเขตทับซ้อน เรื่องว่าจะทำอย่างไร ในเรื่องที่เขาพระวิหารจะเป็นมรดกโลก เราคงจะต้องผลักดันในเรื่องของการร่วมกันบริหารจัดการมรดกโลก ตรงนี้ ผมว่า น่าจะออกมาเป็น win-win ได้ คือในเรื่องของปัญหาเขตทับซ้อน 4.6 ตารางกิโลเมตร มีตัวอย่างมาแล้ว ในเรื่องที่จะแก้ปัญหานี้ได้ เช่น JDA ไทยกับมาเลเซีย ซึ่งเป็นเขตทับซ้อนในทะเล ที่เราตกลงกันไม่ได้ว่า เป็นของใคร ทีนี้เราก็มาจัดการบริหารร่วมกัน ใช้ประโยชน์ร่วมกัน อันนี้จะมา apply ใช้ได้ ในกรณีเขตทับซ้อนระหว่างไทยกับกัมพูชา ในเมื่อยังแก้กันยากว่า ใครเป็นเจ้าของที่แท้จริง เราก็มาใช้ประโยชน์ร่วมกันดีกว่า มาบริหารร่วมกันดีกว่า อันนี้น่าจะเป็นทางออก ซึ่งคงต้องใช้เวลาในการเจรจา
ส่วนปัญหาเรื่องเขตแดน ตรงนี้คงต้องใช้เวลา คือเรามีคณะกรรมการปักปันเขตแดนอยู่แล้ว ระหว่างไทยกับกัมพูชา ไทยกับพม่า ไทยกับลาว อันนี้คงต้องเดินหน้าต่อไป ซึ่งเรื่องนี้ คงต้องยอมรับว่า ต้องใช้เวลา
อาเซียน
อันนี้ คงจะต้องเป็นแนวทาง ในการฟื้นฟูความสัมพันธ์ระหว่างเรากับประเทศเพื่อนบ้าน แต่อย่างที่ผมได้เรียนในตอนต้นแล้วว่า ในเรื่องของความสัมพันธ์ระหว่างประเทศของไทยนั้นความสัมพันธ์กับประเทศเพื่อนบ้าน เป็นเพียงส่วนหนึ่งเท่านั้นเอง แต่ยังมีอีกหลายส่วน ที่เราต้องดำเนินการ ในส่วนที่ผมอยากจะกล่าวถึงต่อไปคือ เรื่องของอาเซียน เรื่องของเวทีพหุภาคีต่างๆที่ไทยเป็นสมาชิก อาเซียนเป็นเวทีที่สำคัญมากสำหรับไทย เพราะเราเป็นคนผลักดัน ที่ทำให้มีอาเซียนเกิดขึ้นมาเมื่อ 42 ปีที่แล้ว ตลอดเวลาที่ผ่านมา อาเซียนให้ประโยชน์เราได้มาก เพราะว่าไทยต้องยอมรับว่า เราเป็นประเทศเล็ก ซึ่งในเวทีโลก ประเทศใหญ่จะได้เปรียบ ดังนั้น เมื่อเราเป็นประเทศเล็ก ทางเดียวที่เราจะมีเสียงดังขึ้นมาคือ การรวมตัวกันเป็นกลุ่มขึ้นมา ซึ่งอาเซียนนี้ หากเรารวมตัวกันให้ดี เราพูดเป็นสียงเดียวกัน มีตลาดเดียวกัน ก็จะทำให้ไทยได้ประโยชน์มากในผลประโยชน์แห่งชาติตรงนี้ ขณะนี้ อาเซียนเป็นประเทศคู่ค้าที่สำคัญที่สุดของไทยไปแล้ว ในอดีตจะเป็นญี่ปุ่น อเมริกา เป็นมหาอำนาจ แต่ตอนนี้ ไม่ใช่แล้ว และเรื่องการลงทุน อาเซียนก็เป็นแหล่งลงทุนที่สำคัญมากสำหรับไทย
จริงๆแล้ว อาเซียนมีหลายเรื่อง มีเรื่องของการที่จะผลักดันความร่วมมือในด้านการเมือง ความมั่นคง เศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม ซึ่งจะมีการจัดตั้งประชาคมอาเซียนขึ้นภายในปี 2015 ประชาคมนี้แบ่งออกเป็นสามประชาคมย่อย คือ ประชาคมการเมือง ประชาคมเศรษฐกิจ และประชาคมสังคมวัฒนธรรม
ประชาคมการเมืองและความมั่นคง จะเน้นในเรื่องที่เราจะมาร่วมมือในด้านการเมืองและความมั่นคงอย่างไร ทำให้อาเซียนเป็นกลไกที่จะแก้ไขความขัดแย้งอย่างไร อันนี้จะเป็นประโยชน์ เพราะว่า ตลอดเวลาที่ผ่านมา เราคงจะจำได้ว่า สมัยที่มีคอมมิวนิสต์ สมัยสงครามเย็น อาเซียนก็เป็นประโยชน์ต่อไทยมาก ในการเป็นปราการในการต่อต้านคอมมิวนิสต์ อาเซียนเป็นประโยชน์ต่อเรา ในสมัยที่มีปัญหากัมพูชา ตอนที่เวียดนามไปยึดเขมร เราได้ใช้อาเซียนให้เป็นประโยชน์ อาเซียนเป็นกลไก เป็นเครื่องมือ ในการดำเนินนโยบายทางด้านความมั่นคงของไทยมาโดยตลอด ในอนาคตที่เรากำลังจะสร้างเป็นประชาคมการเมืองขึ้นมา ก็จะเป็นประโยชน์ต่อไทยเป็นอย่างมาก
ไทยเคยเป็นผู้นำในอาเซียนมาโดยตลอด แต่ระยะหลังนี้ เราแผ่วลงไป เพราะหลายสาเหตุ สาเหตุหนึ่งมาจากวิกฤตต้มยำกุ้ง ทำให้สถานะของไทยตกต่ำลงไป หลังๆ เราก็มาทะเลาะกันเอง ทำให้เราไม่มีเวลาที่จะไปนำใคร ตอนนี้ สิงคโปร์มาแรงมากในอาเซียน ซึ่งเขาพยายามที่จะผลักดันให้ตัวเองเป็นผู้นำทางความคิด เช่นเดียวกับอินโดนีเซียและมาเลเซีย ส่วนเวียดนามก็กำลังเล็งๆ อยู่ ปีนี้เวียดนามเป็นประธานอาเซียน ซึ่งเขาก็ตั้งเป้าหมายเต็มที่ และมีความทะเยอทะยานมาก ที่จะผงาดขึ้นมาเป็นตัวแสดงที่สำคัญในภูมิภาคนี้ ดังนั้น ในขณะนี้ เรามีคู่แข่ง ทั้งสิงคโปร์ มาเลเซีย อินโดนีเซีย และเวียดนาม
จุดยืนของไทยคือ อาเซียนมีประโยชน์ต่อเรา ทั้งในด้านการเมือง ความมั่นคง และเศรษฐกิจ ซึ่งทางด้านเศรษฐกิจ หากเราเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนได้ เป็นตลาดร่วมอาเซียนได้ เราจะได้ประโยชน์ ทั้งในด้านการค้า การลงทุน และการเงิน ดังนั้นเราจะต้องกลับมามีบทบาทนำในอาเซียน ในการจัดตั้งประชาคมอาเซียน
วันจันทร์ที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2553
นโยบายต่างประเทศของไทย (ตอนที่ 1)
นโยบายต่างประเทศของไทย (ตอนที่ 1)
ตีพิมพ์ใน สยามรัฐสัปดาหวิจารณ์ ปีที่ 57 ฉบับที่ 34 วันศุกร์ที่ 14 - วันพฤหัสบดีที่ 20 พฤษภาคม 2553
คอลัมน์โลกทรรศน์ตอนนี้ และในอีก 2 ตอนข้างหน้า จะเป็นการวิเคราะห์เกี่ยวกับนโยบายต่างประเทศของไทย โดยในตอนที่ 1 จะเป็นการวิเคราะห์ถึงภาพรวมของนโยบายต่างประเทศไทยและนโยบายต่อประเทศเพื่อนบ้าน โดยเฉพาะปัญหาความสัมพันธ์ไทยกับประเทศเพื่อนบ้าน สำหรับตอนที่ 2 ในสัปดาห์หน้า จะวิเคราะห์ต่อเกี่ยวกับนโยบายต่อประเทศเพื่อนบ้าน โดยจะเน้นข้อเสนอการฟื้นฟูความสัมพันธ์กับประเทศเพื่อนบ้าน หลังจากนั้น จะวิเคราะห์บทบาทของไทยในเวทีพหุภาคี โดยจะเน้นไปที่บทบาทของไทยในอาเซียน ส่วนตอนที่ 3 ตอนสุดท้าย จะเน้นความสัมพันธ์ไทยกับมหาอำนาจ และในส่วนสุดท้ายจะเสนอ grand strategy ข้อเสนอนโยบายต่างประเทศในเชิงรุกของไทย
ภาพรวม
เรื่องความสัมพันธ์ระหว่างประเทศของไทย เรื่องนโยบายต่างประเทศของไทย เราอาจจะมองข้ามไป เรามักนึกไปว่าเป็นเรื่องไกลตัว แต่จริงๆ แล้ว เป็นเรื่องใกล้ตัว เพราะว่ากระทบกับเราทุกคน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการค้า เรื่องเศรษฐกิจ เรื่องการเมือง กระทบกันไปหมด ในเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ วันนี้ ผมจะชี้ให้เห็นว่า เป็นเรื่องใกล้ตัว
จุดยืนของเราในเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ มีหลักการสำคัญมากอันหนึ่ง คือ เราจะทำอะไร ต้องดูในเรื่องของผลประโยชน์แห่งชาติ อันนี้จะเป็นจุดที่ผู้กำหนดนโยบายต่างประเทศต้องคำนึงถึงตลอดเวลา ในเรื่องผลประโยชน์แห่งชาติ ทีนี้ เราจะให้คำจำกัดความอย่างไรกับผลประโยชน์แห่งชาติ
เรื่องใหญ่ๆ ของไทย ที่เราต้องดำเนินความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ดำเนินการทางการทูต เรื่องแรกคือ เราจะเอายังไงกับประเทศเพื่อนบ้าน ความสัมพันธ์กับประเทศเพื่อนบ้าน เป็นเรื่องสำคัญมาก เพราะว่า ยังไงเราก็ต้องอยู่กับประเทศเพื่อนบ้าน เรายกประเทศหนีไปไม่ได้ เพราะฉะนั้น เราต้องมีความสัมพันธ์ที่ดีกับประเทศเพื่อบ้าน อันนี้เป็นจุดใหญ่มากสำหรับประเทศไทย เราจะมีความสัมพันธ์อย่างไรกับประเทศเพื่อนบ้าน
ทีนี้พอออกไปนอกกรอบของประเทศเพื่อนบ้าน จะมีกรอบเวทีพหุภาคีต่างๆ อย่างเช่น อาเซียน ซึ่งเราร่วมมือกันอยู่ นอกจากอาเซียนแล้ว เรายังมี APEC มีหลายเวทีที่ทับซ้อนกัน แล้วไทยจะเอาอย่างไร ขณะนี้ มีการเกิดขึ้นของสิ่งที่นักการทูตเรียกว่า สถาปัตยกรรมในภูมิภาค หรือที่ภาษาอังกฤษเรียกว่า Regional Architecture ตอนนี้ กำลังมี debate กันมาก ถกเถียงกันมากว่า ระบบของความสัมพันธ์ระหว่างประเทศในภูมิภาค หรือสถาบันในภูมิภาค ควรจะมีรูปร่าง หน้าตาอย่างไร แล้วองค์กรไหน สถาบันไหน ควรจะเป็นแกนกลางของระบบ ไทยควรจะต้องกำหนดจุดยืนว่า เราจะเอาอย่างไร
พอไกลตัวออกไปอีก จะเป็นเรื่องมหาอำนาจ มหาอำนาจมีทั้งสหรัฐ จีน อินเดีย ญี่ปุ่น พอเกินจากนี้ออกไป จะเป็นเรื่องของเวทีใหญ่ๆ เช่น UN WTO และภูมิภาคอื่นๆ นี่เป็นเรื่องที่เยอะแยะมากมายมหาศาล ในสิ่งที่ไทยจะต้องกำหนดจุดยืน และเราจะต้องดำเนินการอย่างไรให้เราได้ประโยชน์
ประเทศเพื่อนบ้าน
กลับมาที่เรื่องประเทศเพื่อนบ้าน อย่างที่บอกไปแล้วว่า เรื่องสำคัญคือ เขาเป็นประเทศเพื่อนบ้านของเรา อย่างไรก็ต้องมีความสัมพันธ์ที่ดี แต่ก็มีประเด็นหลายเรื่อง ที่มีปัญหาขึ้นมา เช่นเรื่องการละเมิดสิทธิมนุษยชนในพม่า มีเรื่องความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจ ที่เราต้องค้าขายและติดต่อกับเขา ไทยไปลงทุนในประเทศเพื่อนบ้านมาก พม่าก็ไป ลาวก็ไป กัมพูชาก็เหมือนกัน ปัญหาคือ เราจะกำหนดนโยบายอย่างไร
ปัญหาที่ทำให้เกิดเรื่องยุ่งยากขึ้นมาคือ ไทยกับประเทศเพื่อนบ้านมีประวัติศาสตร์ ประวัติศาสตร์คืออะไร เราคงจำกันได้ว่า สองร้อยปีก่อน พม่าเคยมาตีกรุงศรีอยุธยาแตก ประเทศเพื่อนบ้านมีประวัติศาสตร์ร่วมกัน ซึ่งมักเป็นประวัติศาสตร์ที่ไม่ดี เป็นประวัติศาสตร์ที่เจ็บปวด ขมขื่น กับประเทศเพื่อนบ้าน โดยเฉพาะไทยกับพม่า ซึ่งมีประวัติศาสตร์ที่ขมขื่นด้วยกันทั้งคู่ มีทั้งที่เขามาบุกเรา และเราไปบุกเขา
ปัญหาที่เกิดขึ้นคือ แต่ละประเทศพยายามที่จะสร้างประวัติศาสตร์ของตัวเองขึ้นมา และพยายามบอกว่า ตัวเองเป็นพระเอก ประเทศเพื่อนบ้านเป็นผู้ร้าย ไทยเราก็เป็นแบบนี้ เรามักจะมองว่าเราเป็นพระเอก ประเทศเพื่อนบ้านเป็นผู้ร้าย เลยกลายเป็นเรื่องของมิติทางประวัติศาสตร์เกิดขึ้น เลยทำให้เรามองประเทศเพื่อนบ้านในแง่ลบ เช่นกับพม่า เขมร มาเลเซีย ในขณะที่ประเทศเพื่อนบ้าน เขาก็มองเราในแง่ลบ คือ ปฏิเสธไม่ได้เลยว่า มองไปที่ประเทศเพื่อนบ้าน ถามว่า ประเทศไหนรักเราบ้าง คำตอบคือ แทบไม่มีใครรักเราเลย ลึกๆ แล้ว ลองไปถามพม่าว่า เขาชอบเราไหม เขาก็ไม่ชอบเรา ไม่ไว้ใจเรา ถามว่าเขมรเขาชอบเราไหม ไว้ใจเราไหม เขาก็ไม่ไว้ใจเรา มาเลเซียก็เหมือนกัน เวียดนามก็เหมือนกัน ลาวก็เหมือนกัน เขาก็ไม่ไว้ใจเรา นี่คือสถานการณ์ที่เกิดขึ้น ที่ทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างเรากับประเทศเพื่อนบ้าน อยู่ในสถานการณ์ลำบาก
สถานการณ์ปัจจุบันซ้ำเติมอดีตเข้าไปอีก ยี่สิบปีที่ผ่านมา ที่เป็นยุคทองของเรา เราก็ไปลงทุนในประเทศเพื่อนบ้าน ค้าขายกับประเทศเพื่อนบ้าน เราเข้าไปตักตวงผลประโยชน์ เราไปดำเนินธุรกิจแบบฉวยโอกาสมากเกินไป เราถูกมองว่าเป็นนักฉวยโอกาส อันนี้เป็นการซ้ำเติมความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับประเทศเพื่อนบ้าน ที่ทำให้เขามองเราว่า เราเข้าไปครอบงำเขาทางเศรษฐกิจ ทั้งในเรื่องการค้า การลงทุน ธุรกิจ
นอกจากนี้ ไทยก็เจริญกว่าประเทศเพื่อนบ้าน ในแง่ของเศรษฐกิจ และในเชิงวัฒนธรรมด้วย ซึ่งทางด้านวัฒนธรรม ตอนนี้ เรามีการส่งออกหนัง ละครไทย เพลงไทย ซึ่งเขาก็บริโภควัฒนธรรมเรา แต่ในขณะเดียวกัน เขาก็มีความรู้สึกในลักษณะ love-hate relationship คือ มองว่า เรากำลังครอบงำทางวัฒนธรรม ผู้นำของประเทศเพื่อนบ้าน จึงแสดงออกในลักษณะคล้ายๆ ต่อต้านออกมา คงจะจำกันได้กับเหตุการณ์เผาสถานทูตที่กัมพูชา ซึ่งเกิดจากดาราเราถูกกล่าวอ้างว่า จะไปเอานครวัดกลับมา ทำให้ชาวเขมรไม่พอใจ สิ่งเหล่านี้ เป็นปัญหาที่ฝังรากลึก
(โปรดติดตามอ่านตอนที่ 2 ในคอลัมน์โลกทรรศน์ สัปดาห์หน้า)
ตีพิมพ์ใน สยามรัฐสัปดาหวิจารณ์ ปีที่ 57 ฉบับที่ 34 วันศุกร์ที่ 14 - วันพฤหัสบดีที่ 20 พฤษภาคม 2553
คอลัมน์โลกทรรศน์ตอนนี้ และในอีก 2 ตอนข้างหน้า จะเป็นการวิเคราะห์เกี่ยวกับนโยบายต่างประเทศของไทย โดยในตอนที่ 1 จะเป็นการวิเคราะห์ถึงภาพรวมของนโยบายต่างประเทศไทยและนโยบายต่อประเทศเพื่อนบ้าน โดยเฉพาะปัญหาความสัมพันธ์ไทยกับประเทศเพื่อนบ้าน สำหรับตอนที่ 2 ในสัปดาห์หน้า จะวิเคราะห์ต่อเกี่ยวกับนโยบายต่อประเทศเพื่อนบ้าน โดยจะเน้นข้อเสนอการฟื้นฟูความสัมพันธ์กับประเทศเพื่อนบ้าน หลังจากนั้น จะวิเคราะห์บทบาทของไทยในเวทีพหุภาคี โดยจะเน้นไปที่บทบาทของไทยในอาเซียน ส่วนตอนที่ 3 ตอนสุดท้าย จะเน้นความสัมพันธ์ไทยกับมหาอำนาจ และในส่วนสุดท้ายจะเสนอ grand strategy ข้อเสนอนโยบายต่างประเทศในเชิงรุกของไทย
ภาพรวม
เรื่องความสัมพันธ์ระหว่างประเทศของไทย เรื่องนโยบายต่างประเทศของไทย เราอาจจะมองข้ามไป เรามักนึกไปว่าเป็นเรื่องไกลตัว แต่จริงๆ แล้ว เป็นเรื่องใกล้ตัว เพราะว่ากระทบกับเราทุกคน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการค้า เรื่องเศรษฐกิจ เรื่องการเมือง กระทบกันไปหมด ในเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ วันนี้ ผมจะชี้ให้เห็นว่า เป็นเรื่องใกล้ตัว
จุดยืนของเราในเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ มีหลักการสำคัญมากอันหนึ่ง คือ เราจะทำอะไร ต้องดูในเรื่องของผลประโยชน์แห่งชาติ อันนี้จะเป็นจุดที่ผู้กำหนดนโยบายต่างประเทศต้องคำนึงถึงตลอดเวลา ในเรื่องผลประโยชน์แห่งชาติ ทีนี้ เราจะให้คำจำกัดความอย่างไรกับผลประโยชน์แห่งชาติ
เรื่องใหญ่ๆ ของไทย ที่เราต้องดำเนินความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ดำเนินการทางการทูต เรื่องแรกคือ เราจะเอายังไงกับประเทศเพื่อนบ้าน ความสัมพันธ์กับประเทศเพื่อนบ้าน เป็นเรื่องสำคัญมาก เพราะว่า ยังไงเราก็ต้องอยู่กับประเทศเพื่อนบ้าน เรายกประเทศหนีไปไม่ได้ เพราะฉะนั้น เราต้องมีความสัมพันธ์ที่ดีกับประเทศเพื่อบ้าน อันนี้เป็นจุดใหญ่มากสำหรับประเทศไทย เราจะมีความสัมพันธ์อย่างไรกับประเทศเพื่อนบ้าน
ทีนี้พอออกไปนอกกรอบของประเทศเพื่อนบ้าน จะมีกรอบเวทีพหุภาคีต่างๆ อย่างเช่น อาเซียน ซึ่งเราร่วมมือกันอยู่ นอกจากอาเซียนแล้ว เรายังมี APEC มีหลายเวทีที่ทับซ้อนกัน แล้วไทยจะเอาอย่างไร ขณะนี้ มีการเกิดขึ้นของสิ่งที่นักการทูตเรียกว่า สถาปัตยกรรมในภูมิภาค หรือที่ภาษาอังกฤษเรียกว่า Regional Architecture ตอนนี้ กำลังมี debate กันมาก ถกเถียงกันมากว่า ระบบของความสัมพันธ์ระหว่างประเทศในภูมิภาค หรือสถาบันในภูมิภาค ควรจะมีรูปร่าง หน้าตาอย่างไร แล้วองค์กรไหน สถาบันไหน ควรจะเป็นแกนกลางของระบบ ไทยควรจะต้องกำหนดจุดยืนว่า เราจะเอาอย่างไร
พอไกลตัวออกไปอีก จะเป็นเรื่องมหาอำนาจ มหาอำนาจมีทั้งสหรัฐ จีน อินเดีย ญี่ปุ่น พอเกินจากนี้ออกไป จะเป็นเรื่องของเวทีใหญ่ๆ เช่น UN WTO และภูมิภาคอื่นๆ นี่เป็นเรื่องที่เยอะแยะมากมายมหาศาล ในสิ่งที่ไทยจะต้องกำหนดจุดยืน และเราจะต้องดำเนินการอย่างไรให้เราได้ประโยชน์
ประเทศเพื่อนบ้าน
กลับมาที่เรื่องประเทศเพื่อนบ้าน อย่างที่บอกไปแล้วว่า เรื่องสำคัญคือ เขาเป็นประเทศเพื่อนบ้านของเรา อย่างไรก็ต้องมีความสัมพันธ์ที่ดี แต่ก็มีประเด็นหลายเรื่อง ที่มีปัญหาขึ้นมา เช่นเรื่องการละเมิดสิทธิมนุษยชนในพม่า มีเรื่องความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจ ที่เราต้องค้าขายและติดต่อกับเขา ไทยไปลงทุนในประเทศเพื่อนบ้านมาก พม่าก็ไป ลาวก็ไป กัมพูชาก็เหมือนกัน ปัญหาคือ เราจะกำหนดนโยบายอย่างไร
ปัญหาที่ทำให้เกิดเรื่องยุ่งยากขึ้นมาคือ ไทยกับประเทศเพื่อนบ้านมีประวัติศาสตร์ ประวัติศาสตร์คืออะไร เราคงจำกันได้ว่า สองร้อยปีก่อน พม่าเคยมาตีกรุงศรีอยุธยาแตก ประเทศเพื่อนบ้านมีประวัติศาสตร์ร่วมกัน ซึ่งมักเป็นประวัติศาสตร์ที่ไม่ดี เป็นประวัติศาสตร์ที่เจ็บปวด ขมขื่น กับประเทศเพื่อนบ้าน โดยเฉพาะไทยกับพม่า ซึ่งมีประวัติศาสตร์ที่ขมขื่นด้วยกันทั้งคู่ มีทั้งที่เขามาบุกเรา และเราไปบุกเขา
ปัญหาที่เกิดขึ้นคือ แต่ละประเทศพยายามที่จะสร้างประวัติศาสตร์ของตัวเองขึ้นมา และพยายามบอกว่า ตัวเองเป็นพระเอก ประเทศเพื่อนบ้านเป็นผู้ร้าย ไทยเราก็เป็นแบบนี้ เรามักจะมองว่าเราเป็นพระเอก ประเทศเพื่อนบ้านเป็นผู้ร้าย เลยกลายเป็นเรื่องของมิติทางประวัติศาสตร์เกิดขึ้น เลยทำให้เรามองประเทศเพื่อนบ้านในแง่ลบ เช่นกับพม่า เขมร มาเลเซีย ในขณะที่ประเทศเพื่อนบ้าน เขาก็มองเราในแง่ลบ คือ ปฏิเสธไม่ได้เลยว่า มองไปที่ประเทศเพื่อนบ้าน ถามว่า ประเทศไหนรักเราบ้าง คำตอบคือ แทบไม่มีใครรักเราเลย ลึกๆ แล้ว ลองไปถามพม่าว่า เขาชอบเราไหม เขาก็ไม่ชอบเรา ไม่ไว้ใจเรา ถามว่าเขมรเขาชอบเราไหม ไว้ใจเราไหม เขาก็ไม่ไว้ใจเรา มาเลเซียก็เหมือนกัน เวียดนามก็เหมือนกัน ลาวก็เหมือนกัน เขาก็ไม่ไว้ใจเรา นี่คือสถานการณ์ที่เกิดขึ้น ที่ทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างเรากับประเทศเพื่อนบ้าน อยู่ในสถานการณ์ลำบาก
สถานการณ์ปัจจุบันซ้ำเติมอดีตเข้าไปอีก ยี่สิบปีที่ผ่านมา ที่เป็นยุคทองของเรา เราก็ไปลงทุนในประเทศเพื่อนบ้าน ค้าขายกับประเทศเพื่อนบ้าน เราเข้าไปตักตวงผลประโยชน์ เราไปดำเนินธุรกิจแบบฉวยโอกาสมากเกินไป เราถูกมองว่าเป็นนักฉวยโอกาส อันนี้เป็นการซ้ำเติมความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับประเทศเพื่อนบ้าน ที่ทำให้เขามองเราว่า เราเข้าไปครอบงำเขาทางเศรษฐกิจ ทั้งในเรื่องการค้า การลงทุน ธุรกิจ
นอกจากนี้ ไทยก็เจริญกว่าประเทศเพื่อนบ้าน ในแง่ของเศรษฐกิจ และในเชิงวัฒนธรรมด้วย ซึ่งทางด้านวัฒนธรรม ตอนนี้ เรามีการส่งออกหนัง ละครไทย เพลงไทย ซึ่งเขาก็บริโภควัฒนธรรมเรา แต่ในขณะเดียวกัน เขาก็มีความรู้สึกในลักษณะ love-hate relationship คือ มองว่า เรากำลังครอบงำทางวัฒนธรรม ผู้นำของประเทศเพื่อนบ้าน จึงแสดงออกในลักษณะคล้ายๆ ต่อต้านออกมา คงจะจำกันได้กับเหตุการณ์เผาสถานทูตที่กัมพูชา ซึ่งเกิดจากดาราเราถูกกล่าวอ้างว่า จะไปเอานครวัดกลับมา ทำให้ชาวเขมรไม่พอใจ สิ่งเหล่านี้ เป็นปัญหาที่ฝังรากลึก
(โปรดติดตามอ่านตอนที่ 2 ในคอลัมน์โลกทรรศน์ สัปดาห์หน้า)
ผลการประชุมธนาคารโลกปี 2010
ผลการประชุมธนาคารโลกปี 2010
ตีพิมพ์ในสยามรัฐสัปดาหวิจารณ์ ปีที่ 57 ฉบับที่ 33 วันศุกร์ที่ 7 - วันพฤหัสบดีที่ 13 พฤษภาคม 2553
ทุกๆ ปี จะมีการประชุมใหญ่ของธนาคารโลกและกองทุนการเงินระหว่างประเทศหรือ IMF ในช่วงปลายเดือนเมษายนที่กรุงวอชิงตัน ดีซี คอลัมน์โลกทรรศน์ในวันนี้ จะสรุปวิเคราะห์ผลการประชุมดังกล่าว ดังนี้
การเพิ่มบทบาทของประเทศกำลังพัฒนา
สำหรับไฮไลท์ ของการประชุมในครั้งนี้ คือ การเพิ่มอำนาจในการลงคะแนนเสียง (voting power) ให้กับประเทศกำลังพัฒนา โดยได้มีการตัดสินใจเพิ่มอำนาจในการลงคะแนนเสียงให้แก่ประเทศกำลังพัฒนาคิดเป็น 47% (เพิ่มขึ้น 3.13%) ในขณะที่สหรัฐมีอำนาจในการลงคะแนนเสียง 15.85% ซึ่งถือว่าเป็นประเทศที่มี voting power มากที่สุด รองลงมาเป็นญี่ปุ่น มี 6.84% ในขณะที่จีนขยับขึ้นมาเป็นอันดับ 3 มี voting power เพิ่มขึ้นเป็น 4.42%
การที่จีนมี voting power เพิ่มขึ้นถือเป็นไฮไลท์ ของการประชุมในครั้งนี้ เพราะในอดีต จีนมีเพียง 2.77% แต่การก้าวกระโดดขึ้นมาเป็นอันดับ 3 ทำให้จีนแซงหน้าประเทศในยุโรปไปหมด ไม่ว่าจะเป็นเยอรมัน อังกฤษ ฝรั่งเศส ซึ่งเป็นการสะท้อนถึงการผงาดขึ้นมาของจีนทางด้านเศรษฐกิจ นอกจากนี้ ประเทศกำลังพัฒนาอื่นๆ ก็ได้ voting power เพิ่มเช่นเดียวกันโดยเฉพาะ บราซิล อินเดีย อินโดนีเซีย และเวียดนาม รัสเซียก็ได้ voting power เพิ่มขึ้นเป็น 2.77%
Robert Zoelick ประธานธนาคารโลกชาวอเมริกัน ได้แถลงข่าวว่า การเปลี่ยนแปลงในเรื่องของ voting power ในครั้งนี้ เป็นการสะท้อนถึงความเป็นจริงถึงระบบเศรษฐกิจโลกที่มีหลายขั้วอำนาจ ซึ่งประเทศกำลังพัฒนาได้กลายเป็นผู้เล่นสำคัญ
สำหรับ Timothy Geithner รัฐมนตรีกระทรวงการคลังสหรัฐ ได้กล่าวในทำนองเดียวกันว่า อำนาจในการลงคะแนนเสียงครั้งใหม่นี้ เป็นการสะท้อนถึงบทบาทของประเทศกำลังพัฒนาในระบบเศรษฐกิจโลก และเป็นการปกป้องเสียงของประเทศเล็กและประเทศยากจน โดย Geithner ย้ำว่า ในครั้งนี้สหรัฐไม่มีความประสงค์ที่จะเพิ่ม voting power ของตน
อย่างไรก็ตาม ได้มีข่าวออกมาว่า การเจรจาในเรื่องนี้ได้มีมาหลายเดือนแล้ว และมีความตึงเครียดและมีความขัดแย้งเกิดขึ้น เพราะหลายๆ ประเทศโดยเฉพาะประเทศยุโรปไม่ยอมลด voting power ของตน ในขณะที่บางประเทศก็ไม่พอใจต่อผลการประชุมในครั้งนี้ โดยรัฐมนตรีคลังของอัฟริกาใต้ ได้ออกมาแสดงความผิดหวังต่อผลการประชุม โดยได้บอกว่า รู้สึกผิดหวังที่กระบวนการในครั้งนี้มีผลทำให้ voting power ของประเทศในอัฟริกาลดลง โดยเฉพาะ voting power ของ อัฟริกาใต้และไนจีเรียได้ลดลง นอกจากนี้ รัฐมนตรีคลังของบราซิลได้ออกมาบอกว่า โดยภาพรวมแล้วประเทศกำลังพัฒนายังไม่มีเสียงเพียงพอในธนาคารโลก
การแก้ปัญหาความยากจน
บทบาทหลักของธนาคารโลกในปัจจุบันคือ การให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่ประเทศยากจน ในการประชุมครั้งนี้ ที่ประชุมซึ่งมีสมาชิก 186 ประเทศ ได้ตกลงที่จะเพิ่มเงินทุนในธนาคารโลกอีก 86,000 ล้านเหรียญ เพื่อเป็นเงินกู้สำหรับประเทศกำลังพัฒนา การเพิ่มเงินทุนในครั้งนี้ทำให้เงินทุนของธนาคารโลกเพิ่มขึ้นเป็น 276,000 ล้านเหรียญ
ประธานธนาคารโลก Zoelick ได้กล่าวว่า การเพิ่มทุนในครั้งนี้ จะเอาไปใช้ประโยชน์ในการสร้างงานและช่วยเหลือคนยากจน โดยการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน การช่วยเหลือกิจการขนาดกลางและขนาดย่อมหรือ SME และช่วยเหลือคนยากจนที่ได้รับผลกระทบจากวิกฤติเศรษฐกิจ
การเพิ่มทุนของธนาคารโลกในครั้งนี้นับเป็นเรื่องสำคัญ ทั้งนี้เพราะ จากรายงานของธนาคารโลกที่มีชื่อว่า Global Monitoring Report ประจำปี 2010 ได้รายงานว่า วิกฤติเศรษฐกิจโลกได้ส่งผลกระทบต่อมาตรการแก้ไขปัญหาความยากจนในประเทศกำลังพัฒนา และส่งผลกระทบต่อการที่จะบรรลุเป้าหมายของสหประชาชาติ ที่เรียกว่า Millennium Development Goals หรือ MDG ที่ได้ตั้งเป้าไว้ว่า จะลดจำนวนคนยากจนลง จากจำนวนในปี 1990 ลดลงให้ได้ครึ่งหนึ่งภายในปี 2015
ผลกระทบจากวิกฤติเศรษฐกิจโลกได้กระทบต่อปัญหาความยากจนในหลายมิติ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการขาดแคลนอาหาร ปัญหาสุขอนามัย การเข้าถึงน้ำสะอาด
อย่างไรก็ตาม ในรายงานดังกล่าว ได้สรุปในแง่บวกว่า ในอีก 5 ปีข้างหน้า จำนวนคนยากจนที่มีรายได้ไม่ถึง 1 เหรียญต่อวันนั้น จะมีอยู่ประมาณ 920 ล้านคน ซึ่งจะลดลงจากตัวเลขในปี 1990 ที่มีคนยากจนอยู่ถึง 1,800 ล้านคน
บทวิเคราะห์
ผมมองว่า ถึงแม้การประชุมธนาคารโลกในครั้งนี้จะมีความคืบหน้าในการเพิ่ม voting power ให้กับประเทศกำลังพัฒนา โดยเฉพาะให้กับประเทศจีนก็ตาม แต่การปฏิรูปสถาบันการเงินโลก ยังคงจะต้องใช้เวลาอีกยาวนาน กว่าจะมีความโปร่งใสและธรรมาภิบาลอย่างแท้จริง
ทั้งนี้เพราะตั้งแต่การก่อตั้ง ทั้งธนาคารโลกและ IMF ได้ถูกครอบงำโดยตะวันตกมาโดยตลอด คือจริงๆ แล้ว สหรัฐเป็นคนที่สร้างธนาคารโลกและ IMF ขึ้นมาหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ทั้ง 2 สถาบันจึงถูกครอบงำโดยสหรัฐและตะวันตกโดยสิ้นเชิง ทั้งธนาคารโลกและ IMF มีการจัดสรรอำนาจการลงคะแนนเสียงอย่างลำเอียงให้กับตะวันตก โดยใน IMF ยุโรปมี voting power ถึง 30% และสหรัฐมีถึง 20% ในขณะที่ประธานธนาคารโลกก็ถูกผูกขาดโดยคนอเมริกันมาโดยตลอด เช่นเดียวกับผู้อำนวยการ IMF ก็ถูกผูกขาดโดยคนยุโรปมาโดยตลอด
ก่อนหน้านี้ ในการประชุมสุดยอด G20 ที่พิตสเบิร์ก เมื่อเดือนกันยายนปีที่แล้ว ได้มีข้อเสนอให้มีการเพิ่ม voting power ใน IMF ให้กับประเทศในเอเชีย เพิ่มขึ้น 10% แต่ในการประชุม G20 ที่พิตสเบิร์ก ตกลงจะเพิ่มให้เพียง 2.5% และจะเพิ่ม voting power ให้กับประเทศกำลังพัฒนาเพียง 5% เท่านั้น และทั้งสหรัฐและยุโรปก็ยังคงหวงเก้าอี้ โดยไม่ยอมที่จะให้ประธานธนาคารโลกคนใหม่มาจากประเทศที่ไม่ใช่สหรัฐ และไม่ยอมให้ผู้อำนวยการ IMF คนใหม่ มาจากประเทศที่ไม่ใช่ยุโรป
IMF จะมีการทบทวนโควตาการลงคะแนนเสียงในปี 2011 จีนได้เสนอให้ตัดโควตา voting power ของประเทศร่ำรวยลง 7% เราคงต้องจับตาดูกันต่อว่า การปฏิรูปธนาคารโลกและ IMF จะมีความคืบหน้าไปได้มากน้อยแค่ไหน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง คงต้องจับตาดูกันต่อว่า อีกนานเท่าไรเราถึงจะมีประธานธนาคารโลกที่ไม่ใช่คนอเมริกันและผู้อำนวยการใหญ่ IMF ที่ไม่ใช่คนยุโร
ตีพิมพ์ในสยามรัฐสัปดาหวิจารณ์ ปีที่ 57 ฉบับที่ 33 วันศุกร์ที่ 7 - วันพฤหัสบดีที่ 13 พฤษภาคม 2553
ทุกๆ ปี จะมีการประชุมใหญ่ของธนาคารโลกและกองทุนการเงินระหว่างประเทศหรือ IMF ในช่วงปลายเดือนเมษายนที่กรุงวอชิงตัน ดีซี คอลัมน์โลกทรรศน์ในวันนี้ จะสรุปวิเคราะห์ผลการประชุมดังกล่าว ดังนี้
การเพิ่มบทบาทของประเทศกำลังพัฒนา
สำหรับไฮไลท์ ของการประชุมในครั้งนี้ คือ การเพิ่มอำนาจในการลงคะแนนเสียง (voting power) ให้กับประเทศกำลังพัฒนา โดยได้มีการตัดสินใจเพิ่มอำนาจในการลงคะแนนเสียงให้แก่ประเทศกำลังพัฒนาคิดเป็น 47% (เพิ่มขึ้น 3.13%) ในขณะที่สหรัฐมีอำนาจในการลงคะแนนเสียง 15.85% ซึ่งถือว่าเป็นประเทศที่มี voting power มากที่สุด รองลงมาเป็นญี่ปุ่น มี 6.84% ในขณะที่จีนขยับขึ้นมาเป็นอันดับ 3 มี voting power เพิ่มขึ้นเป็น 4.42%
การที่จีนมี voting power เพิ่มขึ้นถือเป็นไฮไลท์ ของการประชุมในครั้งนี้ เพราะในอดีต จีนมีเพียง 2.77% แต่การก้าวกระโดดขึ้นมาเป็นอันดับ 3 ทำให้จีนแซงหน้าประเทศในยุโรปไปหมด ไม่ว่าจะเป็นเยอรมัน อังกฤษ ฝรั่งเศส ซึ่งเป็นการสะท้อนถึงการผงาดขึ้นมาของจีนทางด้านเศรษฐกิจ นอกจากนี้ ประเทศกำลังพัฒนาอื่นๆ ก็ได้ voting power เพิ่มเช่นเดียวกันโดยเฉพาะ บราซิล อินเดีย อินโดนีเซีย และเวียดนาม รัสเซียก็ได้ voting power เพิ่มขึ้นเป็น 2.77%
Robert Zoelick ประธานธนาคารโลกชาวอเมริกัน ได้แถลงข่าวว่า การเปลี่ยนแปลงในเรื่องของ voting power ในครั้งนี้ เป็นการสะท้อนถึงความเป็นจริงถึงระบบเศรษฐกิจโลกที่มีหลายขั้วอำนาจ ซึ่งประเทศกำลังพัฒนาได้กลายเป็นผู้เล่นสำคัญ
สำหรับ Timothy Geithner รัฐมนตรีกระทรวงการคลังสหรัฐ ได้กล่าวในทำนองเดียวกันว่า อำนาจในการลงคะแนนเสียงครั้งใหม่นี้ เป็นการสะท้อนถึงบทบาทของประเทศกำลังพัฒนาในระบบเศรษฐกิจโลก และเป็นการปกป้องเสียงของประเทศเล็กและประเทศยากจน โดย Geithner ย้ำว่า ในครั้งนี้สหรัฐไม่มีความประสงค์ที่จะเพิ่ม voting power ของตน
อย่างไรก็ตาม ได้มีข่าวออกมาว่า การเจรจาในเรื่องนี้ได้มีมาหลายเดือนแล้ว และมีความตึงเครียดและมีความขัดแย้งเกิดขึ้น เพราะหลายๆ ประเทศโดยเฉพาะประเทศยุโรปไม่ยอมลด voting power ของตน ในขณะที่บางประเทศก็ไม่พอใจต่อผลการประชุมในครั้งนี้ โดยรัฐมนตรีคลังของอัฟริกาใต้ ได้ออกมาแสดงความผิดหวังต่อผลการประชุม โดยได้บอกว่า รู้สึกผิดหวังที่กระบวนการในครั้งนี้มีผลทำให้ voting power ของประเทศในอัฟริกาลดลง โดยเฉพาะ voting power ของ อัฟริกาใต้และไนจีเรียได้ลดลง นอกจากนี้ รัฐมนตรีคลังของบราซิลได้ออกมาบอกว่า โดยภาพรวมแล้วประเทศกำลังพัฒนายังไม่มีเสียงเพียงพอในธนาคารโลก
การแก้ปัญหาความยากจน
บทบาทหลักของธนาคารโลกในปัจจุบันคือ การให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่ประเทศยากจน ในการประชุมครั้งนี้ ที่ประชุมซึ่งมีสมาชิก 186 ประเทศ ได้ตกลงที่จะเพิ่มเงินทุนในธนาคารโลกอีก 86,000 ล้านเหรียญ เพื่อเป็นเงินกู้สำหรับประเทศกำลังพัฒนา การเพิ่มเงินทุนในครั้งนี้ทำให้เงินทุนของธนาคารโลกเพิ่มขึ้นเป็น 276,000 ล้านเหรียญ
ประธานธนาคารโลก Zoelick ได้กล่าวว่า การเพิ่มทุนในครั้งนี้ จะเอาไปใช้ประโยชน์ในการสร้างงานและช่วยเหลือคนยากจน โดยการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน การช่วยเหลือกิจการขนาดกลางและขนาดย่อมหรือ SME และช่วยเหลือคนยากจนที่ได้รับผลกระทบจากวิกฤติเศรษฐกิจ
การเพิ่มทุนของธนาคารโลกในครั้งนี้นับเป็นเรื่องสำคัญ ทั้งนี้เพราะ จากรายงานของธนาคารโลกที่มีชื่อว่า Global Monitoring Report ประจำปี 2010 ได้รายงานว่า วิกฤติเศรษฐกิจโลกได้ส่งผลกระทบต่อมาตรการแก้ไขปัญหาความยากจนในประเทศกำลังพัฒนา และส่งผลกระทบต่อการที่จะบรรลุเป้าหมายของสหประชาชาติ ที่เรียกว่า Millennium Development Goals หรือ MDG ที่ได้ตั้งเป้าไว้ว่า จะลดจำนวนคนยากจนลง จากจำนวนในปี 1990 ลดลงให้ได้ครึ่งหนึ่งภายในปี 2015
ผลกระทบจากวิกฤติเศรษฐกิจโลกได้กระทบต่อปัญหาความยากจนในหลายมิติ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการขาดแคลนอาหาร ปัญหาสุขอนามัย การเข้าถึงน้ำสะอาด
อย่างไรก็ตาม ในรายงานดังกล่าว ได้สรุปในแง่บวกว่า ในอีก 5 ปีข้างหน้า จำนวนคนยากจนที่มีรายได้ไม่ถึง 1 เหรียญต่อวันนั้น จะมีอยู่ประมาณ 920 ล้านคน ซึ่งจะลดลงจากตัวเลขในปี 1990 ที่มีคนยากจนอยู่ถึง 1,800 ล้านคน
บทวิเคราะห์
ผมมองว่า ถึงแม้การประชุมธนาคารโลกในครั้งนี้จะมีความคืบหน้าในการเพิ่ม voting power ให้กับประเทศกำลังพัฒนา โดยเฉพาะให้กับประเทศจีนก็ตาม แต่การปฏิรูปสถาบันการเงินโลก ยังคงจะต้องใช้เวลาอีกยาวนาน กว่าจะมีความโปร่งใสและธรรมาภิบาลอย่างแท้จริง
ทั้งนี้เพราะตั้งแต่การก่อตั้ง ทั้งธนาคารโลกและ IMF ได้ถูกครอบงำโดยตะวันตกมาโดยตลอด คือจริงๆ แล้ว สหรัฐเป็นคนที่สร้างธนาคารโลกและ IMF ขึ้นมาหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ทั้ง 2 สถาบันจึงถูกครอบงำโดยสหรัฐและตะวันตกโดยสิ้นเชิง ทั้งธนาคารโลกและ IMF มีการจัดสรรอำนาจการลงคะแนนเสียงอย่างลำเอียงให้กับตะวันตก โดยใน IMF ยุโรปมี voting power ถึง 30% และสหรัฐมีถึง 20% ในขณะที่ประธานธนาคารโลกก็ถูกผูกขาดโดยคนอเมริกันมาโดยตลอด เช่นเดียวกับผู้อำนวยการ IMF ก็ถูกผูกขาดโดยคนยุโรปมาโดยตลอด
ก่อนหน้านี้ ในการประชุมสุดยอด G20 ที่พิตสเบิร์ก เมื่อเดือนกันยายนปีที่แล้ว ได้มีข้อเสนอให้มีการเพิ่ม voting power ใน IMF ให้กับประเทศในเอเชีย เพิ่มขึ้น 10% แต่ในการประชุม G20 ที่พิตสเบิร์ก ตกลงจะเพิ่มให้เพียง 2.5% และจะเพิ่ม voting power ให้กับประเทศกำลังพัฒนาเพียง 5% เท่านั้น และทั้งสหรัฐและยุโรปก็ยังคงหวงเก้าอี้ โดยไม่ยอมที่จะให้ประธานธนาคารโลกคนใหม่มาจากประเทศที่ไม่ใช่สหรัฐ และไม่ยอมให้ผู้อำนวยการ IMF คนใหม่ มาจากประเทศที่ไม่ใช่ยุโรป
IMF จะมีการทบทวนโควตาการลงคะแนนเสียงในปี 2011 จีนได้เสนอให้ตัดโควตา voting power ของประเทศร่ำรวยลง 7% เราคงต้องจับตาดูกันต่อว่า การปฏิรูปธนาคารโลกและ IMF จะมีความคืบหน้าไปได้มากน้อยแค่ไหน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง คงต้องจับตาดูกันต่อว่า อีกนานเท่าไรเราถึงจะมีประธานธนาคารโลกที่ไม่ใช่คนอเมริกันและผู้อำนวยการใหญ่ IMF ที่ไม่ใช่คนยุโร
ตะวันออกกลางในยุคหลังสงครามอิรัก
ตะวันออกกลางในยุคหลังสงครามอิรัก
ตีพิมพ์ใน สยามรัฐสัปดาหวิจารณ์ ปีที่ 57 ฉบับที่ 32 วันศุกร์ที่ 30 เมษายน - วันพฤหัสบดีที่ 6 พฤษภาคม 2553
ภายหลังจากที่สหรัฐได้ทำสงครามบุกยึดครองอิรัก เมื่อปี 2003 เวลาได้ผ่านไปแล้ว 7 ปี สถานการณ์ในภูมิภาคตะวันออกกกลางได้เปลี่ยนไปมาก ซึ่งหลายเรื่องก็เป็นผลมาจากสงครามอิรักนั่นเอง คอลัมน์โลกทรรศน์ในวันนี้จะวิเคราะห์สถานการณ์ในตะวันออกกลางในปัจจุบัน ซึ่งเป็นผลต่อเนื่องจากสงครามอิรัก ดังนี้
การผงาดขึ้นมาของอิหร่าน
การบุกยึดครองอิรักของสหรัฐ ได้ส่งผลกระทบต่อดุลยภาพแห่งอำนาจในภูมิภาค ก่อนหน้าสงครามอิรัก การถ่วงดุลอำนาจในภูมิภาคเป็นการถ่วงดุลกันระหว่างอาหรับกับอิหร่าน โดยมีรัฐบาลซัดดัม เป็นรัฐกันชนสำคัญในการคานอำนาจอิหร่าน อย่างไรก็ตามภายหลังสงครามอิรักดุลแห่งอำนาจก็ได้อิงไปทางอิหร่าน ดังนั้นการโค่นล้มระบอบซัดดัม จึงทำให้ชาติอาหรับเกิดความหวาดระแวงว่าอิหร่านจะผงาดขึ้นมาครบงำตะวันออกกกลาง
อิหร่านได้ฉวยโอกาสจากสุญญากาศแห่งอำนาจดังกล่าว แต่อิหร่านก็ประสบกับอุปสรรคหลายประการในการที่จะผงาดขึ้นมาครอบงำภูมิภาค อิหร่านร่ำรวยจากการขายน้ำมันและการปลุกระดมลัทธิชาตินิยม ทำให้ตั้งแต่ปี 2003 อิหร่านได้พยายมจะขยายอิทธิพลในตะวันออกกลาง โดยอิหร่านก็มีพันธมิตรที่เหนียวแน่น คือ กลุ่ม HAMAS และ Hizballah โดย HAMAZ ก็ได้รับชัยชนะในการเลือกตั้งในฉนวนกาซ่า ในขณะที่ Hizballah ได้ต่อสู้กับกองทัพอิสราเอลในปี 2006 เหตุการณ์เหล่านี้ทำให้ชาติอาหรับ โดยเฉพาะในกลุ่มนิกายซุนนีย์มองว่า อิหร่านและกลุ่มชีอะห์กำลังได้รับชัยชนะ
อย่างไรก็ตาม อิหร่านได้ประสบกับข้อจำกัดในการขยายอิทธิพล โดย Hizballah ได้พ่ายแพ้การเลือกตั้งในปี 2009 ในขณะที่อิหร่านเอง ก็เกิดความวุ่นวายทางการเมืองภายหลังการเลือกตั้งประธานาธิบดีในปี 2009 ซึ่งเป็นอุปสรรคในการขยายอิทธิพลของอิหร่าน นอกจากนั้น ในช่วงที่ผ่านมา ภาพลักษณ์ของอิหร่านเป็นลบมากขึ้นในสายตาชาวอาหรับ โดยเฉพาะบทบาทของอิหร่านที่เข้าไปแทรกแซงสถานการณ์ในอิรัก
การตอบสนองของชาติอาหรับที่เกี่ยวกับการผงาดขึ้นมาของอิหร่านมีหลายรูปแบบ แต่ส่วนใหญ่จะมีลักษณะการผสมผสานระหว่างยุทธศาสตร์การปฏิสัมพันธ์ การถ่วงดุลอำนาจและการสกัดกั้น โลกอาหรับมีภาพอิหร่านที่มีทั้งเป็นลบและเป็นบวก ภาพที่เป็นลบคือ การที่อิหร่านเข้าไปวุ่นวายในอิรัก และการท้าทายชาวมุสลิมนิการซุนนีย์ (ชาวอิหร่านนับถือศาสนาอิสลามนิกายชีอะห์) แต่ภาพในแง่บวกของอิหร่านคือ การลุกขึ้นมาท้าทายตะวันตก และการต่อต้านอิสราเอล อย่างไรก็ตาม ในโลกอาหรับไม่มีประเทศที่เล่นบทเป็นตัวถ่วงดุลอำนาจอิหร่านอย่างเด่นชัด จึงกลายเป็นว่าตัวแสดงสำคัญในตะวันออกกลาง กลายเป็นประเทศที่ไม่ใช่อาหรับ คือ อิสราเอล ตุรกี อิหร่าน และสหรัฐ
การผงาดขึ้นมาของอิหร่านยังเกี่ยวพันกับเรื่องวิกฤตินิวเคลียร์อิหร่าน โดยทางตะวันตกและสหรัฐได้กล่าวหาอิหร่านว่า กำลังแอบพัฒนาอาวุธนิวเคลียร์ ตะวันตกได้พยายามกดดันอิหร่านด้วยวิธีการต่างๆ โดยการผลักดันมาตรการคว่ำบาตร แต่ก็ยังไม่ประสบความสำเร็จ
ความขัดแย้ง
สงครามอิรักยังได้ทำให้ความขัดแย้งในภูมิภาคในหลายๆ เรื่องทรุดหนักลง
สงครามอิรักได้ก่อให้เกิดความขัดแย้งระหว่างมุสลิมนิกายชีอะห์และมุสลิมนิกายซุนนีย์ โดยเฉพาะในอิรัก หลังสงคราม ได้เกิดความขัดแย้งกันอย่างรุนแรง ระหว่างชาวอิรักนิกายชีอะห์กับซุนนีย์ ถึงขั้นเกือบจะเป็นสงครามกลางเมือง ซึ่งความขัดแย้งระหว่างสองนิกายได้แพร่ขยายไปในหลายๆ ประเทศในตะวันออกกลาง
สงครามอิรักยังได้ทำให้ความขัดแย้งระหว่างชาว Kurd กับหลายประเทศทรุดหนักลง โดยสงครามอิรักได้ทำให้ชาว Kurd ในอิรัก เรียกร้องการปกครองตนเอง ซึ่งมีผลทำให้เกิดกระแสเดียวกันขึ้นในหมู่ชาว Kurd ที่อาศัยอยู่ใน ซีเรีย ตุรกี และอิหร่าน โดยเฉพาะกลุ่มแบ่งแยกดินแดนของชาว Kurd ในตุรกี คือกลุ่ม PKK ได้อาศัยทางตอนเหนือของอิรักเป็นแหล่งซ่องสุม ขบวนการแบ่งแยกดินแดนของชาว Kurd ทำให้ ซีเรีย ตุรกี และอิหร่าน พยายามร่วมมือกัน ซึ่งทำให้แผนของสหรัฐที่จะดึงซีเรียออกจากอิทธิพลของอิหร่านเป็นไปได้ยากยิ่งขึ้น
และสงครามอิรักไม่ได้ทำให้ความขัดแย้งระหว่างอิสราเอลและปาเลสไตน์ดีขึ้น ในทางตรงกันข้าม กลับนำไปสู่ความขัดแย้งที่ทวีความรุนแรงมากยิ่งขึ้น แม้ว่ารัฐบาลโอบามาจะพยายามแก้ปัญหา โดยเสนอทางแก้ที่เรียกว่า two state solution คือการให้รัฐอิสราเอลและรัฐปาเลสไตน์อยู่ร่วมกันอย่างสันติ แต่เส้นทางสันติภาพในตะวันออกกลางก็เต็มไปด้วยอุปสรรค เพราะมีหลายเรื่องที่ยากที่จะหาข้อยุติ อาทิ เขตแดนของรัฐปาเลสไตน์ สถานะของกรุงเยรูซาเลม สถานะของผู้ลี้ภัยชาวปาเลสไตน์กว่า 5 ล้านคน และปัญหาการตั้งถิ่นฐานของชาวยิวในเขต West Bank
ขบวนการก่อการร้าย
หลังสงครามอิรัก ขบวนการก่อการร้าย โดยเฉพาะกลุ่ม Al-Qa’ida ไม่ได้หมดไป แต่ในทางตรงกันข้าม กลับแพร่ขยายออกไปมากขึ้น โดยหลังสงคราม อิรักได้กลายเป็นศูนย์กลางของการทำสงครามศาสนาหรือสงคราม Jihad เพื่อต่อต้านสหรัฐ อย่างไรก็ตาม กลุ่ม Al-Qa’ida in Iraq แม้ในตอนแรกจะได้รับการสนับสนุนจากชาวอาหรับ แต่ในระยะหลังๆ ก็เสื่อมความนิยมลง แต่แม้ว่าบทบาทของ Al-Qa’ida ในอิรักจะลดลง แต่กลับกลายเป็นว่า บทบาทของ Al-Qa’ida ในประเทศอื่นๆ ในตะวันออกกลางกลับเพิ่มมากขึ้น การก่อการร้ายมีแนวโน้มจะลุกลามขยายตัว โดยเฉพาะใน เยเมนและโซมาเลีย สงครามในอัฟกานิสถานและปากีสถานก็ได้เลวร้ายลงเรื่อยๆ เพราะทั้งนักรบตาลีบันและ Al-Qa’ida ได้ฟื้นคืนชีพ แหล่งซ่องสุมใหม่อยู่บริเวณพรมแดนระหว่างปากีสถานกับอัฟกานิสถาน โดยนักรบตาลีบันได้ยึดครองพื้นที่ในอัฟกานิสถานและปากีสถานได้มากขึ้นเรื่อยๆ
ประชาธิปไตย
สาเหตุหนึ่งที่ประธานาธิบดีบุชอ้าง ในการทำสงครามอิรักก็เพื่อสร้างประชาธิปไตยให้เกิดขึ้นในอิรัก โดยหวังว่าประชาธิปไตยในอิรักจะส่งผลกระทบเป็น domino effect จะทำให้ประชาธิปไตยเกิดขึ้นทั่วตะวันออกกลาง แต่ผลที่เกิดขึ้น กลับเป็นไปในทางตรงกันข้าม 7 ปีที่ผ่านมา ประชาธิปไตยในอิรักและอัฟกานิสถานก็ง่อนแง่น และยังไม่มีแนวโน้มว่าประเทศในตะวันออกกลางอื่นๆ จะพัฒนาไปสู่การเป็นประชาธิปไตย ในทางตรงกันข้าม สงครามอิรักกลับเป็นตัวยับยั้งการปฏิรูปทางการเมือง เพราะรัฐบาลอาหรับมองเห็นแล้วว่า สิ่งที่เกิดขึ้นในอิรักจะสร้างความหายนะให้กับประเทศตน กลับกลายเป็นว่า ชาวอาหรับกลับหันมาสนับสนุนรัฐบาลเผด็จการ มากกว่าจะเดินหน้าสู่ประชาธิปไตยที่จะนำไปสู่ความวุ่นวายทางการเมือง โดยชาวอาหรับมองว่าประชาธิปไตยเป็นสิ่งที่สหรัฐยัดเยียดเข้ามา และมองว่าประชาธิปไตยในอิรักเป็นปัจจัยที่ทำให้เกิดความวุ่นวายถึงขั้นเกือบจะเป็นสงครามกลางเมือง
มหาอำนาจ
ประเด็นสุดท้ายคือ ผลกระทบของสงครามอิรักต่อบทบาทของมหาอำนาจในตะวันออกกลาง เห็นได้ชัดว่า บทบาทของสหรัฐได้ตกต่ำลง โดยเฉพาะความล้มเหลวภายหลังสงครามอิรัก อิทธิพลของสหรัฐกำลังลดลงเรื่อยๆ ในขณะที่อิทธิพลของมหาอำนาจอื่นๆ กำลังเพิ่มขึ้นโดยเฉพาะรัสเซียกับจีน จากความล้มเหลวของสหรัฐในอิรัก ทำให้ประเทศต่างๆ ในตะวันออกกลางเริ่มไม่มีความมั่นใจต่อสมรรถภาพของสหรัฐ จึงได้เริ่มหันไปตีสนิทกับจีนและรัสเซียมากขึ้น โลกอาหรับได้สูญเสียความเชื่อมั่นต่อสถานะของสหรัฐในการเล่นบทเป็นผู้ให้หลักประกันความมั่นคง
ทั้งนี้ ตั้งแต่ปี 2003 ทั้งจีนและรัสเซียได้พยายามเพิ่มบทบาทมากขึ้นในตะวันออกกลาง โดยรัสเซียได้พยายามที่จะท้าทายอิทธิพลของสหรัฐ และพยายามเข้าไปมีบทบาทในการเป็นตัวกลางแก้ความขัดแย้งระหว่างอิสราเอลกับอาหรับ อย่างไรก็ตาม อิทธิพลของรัสเซียในภูมิภาคก็ยังมีข้อจำกัด
สำหรับในส่วนของจีน ก็มียุทธศาสตร์ที่พยายามเน้นในเรื่องความมั่นคงด้านพลังงาน โดยพยายามตีสนิทกับประเทศในตะวันออกกลางเพื่อซื้อน้ำมันเป็นหลัก ดังนั้นบทบาทจีนจะเพิ่มมากขึ้นเฉพาะทางด้านเศรษฐกิจ แต่บทบาททางด้านการทหารและการเมืองยังมีจำกัด
อย่างไรก็ตาม ถึงแม้ว่าโลกอาหรับจะมีท่าทีในทำนองต้องการดึงรัสเซียกับจีนมาถ่วงดุลสหรัฐ แต่ลึกๆ แล้ว รัสเซียกับจีนก็ไม่สามารถมาแทนที่สหรัฐได้ ในการเล่นบทเป็นผู้นำในการสร้างระเบียบความมั่นคงในภูมิภาค
ตีพิมพ์ใน สยามรัฐสัปดาหวิจารณ์ ปีที่ 57 ฉบับที่ 32 วันศุกร์ที่ 30 เมษายน - วันพฤหัสบดีที่ 6 พฤษภาคม 2553
ภายหลังจากที่สหรัฐได้ทำสงครามบุกยึดครองอิรัก เมื่อปี 2003 เวลาได้ผ่านไปแล้ว 7 ปี สถานการณ์ในภูมิภาคตะวันออกกกลางได้เปลี่ยนไปมาก ซึ่งหลายเรื่องก็เป็นผลมาจากสงครามอิรักนั่นเอง คอลัมน์โลกทรรศน์ในวันนี้จะวิเคราะห์สถานการณ์ในตะวันออกกลางในปัจจุบัน ซึ่งเป็นผลต่อเนื่องจากสงครามอิรัก ดังนี้
การผงาดขึ้นมาของอิหร่าน
การบุกยึดครองอิรักของสหรัฐ ได้ส่งผลกระทบต่อดุลยภาพแห่งอำนาจในภูมิภาค ก่อนหน้าสงครามอิรัก การถ่วงดุลอำนาจในภูมิภาคเป็นการถ่วงดุลกันระหว่างอาหรับกับอิหร่าน โดยมีรัฐบาลซัดดัม เป็นรัฐกันชนสำคัญในการคานอำนาจอิหร่าน อย่างไรก็ตามภายหลังสงครามอิรักดุลแห่งอำนาจก็ได้อิงไปทางอิหร่าน ดังนั้นการโค่นล้มระบอบซัดดัม จึงทำให้ชาติอาหรับเกิดความหวาดระแวงว่าอิหร่านจะผงาดขึ้นมาครบงำตะวันออกกกลาง
อิหร่านได้ฉวยโอกาสจากสุญญากาศแห่งอำนาจดังกล่าว แต่อิหร่านก็ประสบกับอุปสรรคหลายประการในการที่จะผงาดขึ้นมาครอบงำภูมิภาค อิหร่านร่ำรวยจากการขายน้ำมันและการปลุกระดมลัทธิชาตินิยม ทำให้ตั้งแต่ปี 2003 อิหร่านได้พยายมจะขยายอิทธิพลในตะวันออกกลาง โดยอิหร่านก็มีพันธมิตรที่เหนียวแน่น คือ กลุ่ม HAMAS และ Hizballah โดย HAMAZ ก็ได้รับชัยชนะในการเลือกตั้งในฉนวนกาซ่า ในขณะที่ Hizballah ได้ต่อสู้กับกองทัพอิสราเอลในปี 2006 เหตุการณ์เหล่านี้ทำให้ชาติอาหรับ โดยเฉพาะในกลุ่มนิกายซุนนีย์มองว่า อิหร่านและกลุ่มชีอะห์กำลังได้รับชัยชนะ
อย่างไรก็ตาม อิหร่านได้ประสบกับข้อจำกัดในการขยายอิทธิพล โดย Hizballah ได้พ่ายแพ้การเลือกตั้งในปี 2009 ในขณะที่อิหร่านเอง ก็เกิดความวุ่นวายทางการเมืองภายหลังการเลือกตั้งประธานาธิบดีในปี 2009 ซึ่งเป็นอุปสรรคในการขยายอิทธิพลของอิหร่าน นอกจากนั้น ในช่วงที่ผ่านมา ภาพลักษณ์ของอิหร่านเป็นลบมากขึ้นในสายตาชาวอาหรับ โดยเฉพาะบทบาทของอิหร่านที่เข้าไปแทรกแซงสถานการณ์ในอิรัก
การตอบสนองของชาติอาหรับที่เกี่ยวกับการผงาดขึ้นมาของอิหร่านมีหลายรูปแบบ แต่ส่วนใหญ่จะมีลักษณะการผสมผสานระหว่างยุทธศาสตร์การปฏิสัมพันธ์ การถ่วงดุลอำนาจและการสกัดกั้น โลกอาหรับมีภาพอิหร่านที่มีทั้งเป็นลบและเป็นบวก ภาพที่เป็นลบคือ การที่อิหร่านเข้าไปวุ่นวายในอิรัก และการท้าทายชาวมุสลิมนิการซุนนีย์ (ชาวอิหร่านนับถือศาสนาอิสลามนิกายชีอะห์) แต่ภาพในแง่บวกของอิหร่านคือ การลุกขึ้นมาท้าทายตะวันตก และการต่อต้านอิสราเอล อย่างไรก็ตาม ในโลกอาหรับไม่มีประเทศที่เล่นบทเป็นตัวถ่วงดุลอำนาจอิหร่านอย่างเด่นชัด จึงกลายเป็นว่าตัวแสดงสำคัญในตะวันออกกลาง กลายเป็นประเทศที่ไม่ใช่อาหรับ คือ อิสราเอล ตุรกี อิหร่าน และสหรัฐ
การผงาดขึ้นมาของอิหร่านยังเกี่ยวพันกับเรื่องวิกฤตินิวเคลียร์อิหร่าน โดยทางตะวันตกและสหรัฐได้กล่าวหาอิหร่านว่า กำลังแอบพัฒนาอาวุธนิวเคลียร์ ตะวันตกได้พยายามกดดันอิหร่านด้วยวิธีการต่างๆ โดยการผลักดันมาตรการคว่ำบาตร แต่ก็ยังไม่ประสบความสำเร็จ
ความขัดแย้ง
สงครามอิรักยังได้ทำให้ความขัดแย้งในภูมิภาคในหลายๆ เรื่องทรุดหนักลง
สงครามอิรักได้ก่อให้เกิดความขัดแย้งระหว่างมุสลิมนิกายชีอะห์และมุสลิมนิกายซุนนีย์ โดยเฉพาะในอิรัก หลังสงคราม ได้เกิดความขัดแย้งกันอย่างรุนแรง ระหว่างชาวอิรักนิกายชีอะห์กับซุนนีย์ ถึงขั้นเกือบจะเป็นสงครามกลางเมือง ซึ่งความขัดแย้งระหว่างสองนิกายได้แพร่ขยายไปในหลายๆ ประเทศในตะวันออกกลาง
สงครามอิรักยังได้ทำให้ความขัดแย้งระหว่างชาว Kurd กับหลายประเทศทรุดหนักลง โดยสงครามอิรักได้ทำให้ชาว Kurd ในอิรัก เรียกร้องการปกครองตนเอง ซึ่งมีผลทำให้เกิดกระแสเดียวกันขึ้นในหมู่ชาว Kurd ที่อาศัยอยู่ใน ซีเรีย ตุรกี และอิหร่าน โดยเฉพาะกลุ่มแบ่งแยกดินแดนของชาว Kurd ในตุรกี คือกลุ่ม PKK ได้อาศัยทางตอนเหนือของอิรักเป็นแหล่งซ่องสุม ขบวนการแบ่งแยกดินแดนของชาว Kurd ทำให้ ซีเรีย ตุรกี และอิหร่าน พยายามร่วมมือกัน ซึ่งทำให้แผนของสหรัฐที่จะดึงซีเรียออกจากอิทธิพลของอิหร่านเป็นไปได้ยากยิ่งขึ้น
และสงครามอิรักไม่ได้ทำให้ความขัดแย้งระหว่างอิสราเอลและปาเลสไตน์ดีขึ้น ในทางตรงกันข้าม กลับนำไปสู่ความขัดแย้งที่ทวีความรุนแรงมากยิ่งขึ้น แม้ว่ารัฐบาลโอบามาจะพยายามแก้ปัญหา โดยเสนอทางแก้ที่เรียกว่า two state solution คือการให้รัฐอิสราเอลและรัฐปาเลสไตน์อยู่ร่วมกันอย่างสันติ แต่เส้นทางสันติภาพในตะวันออกกลางก็เต็มไปด้วยอุปสรรค เพราะมีหลายเรื่องที่ยากที่จะหาข้อยุติ อาทิ เขตแดนของรัฐปาเลสไตน์ สถานะของกรุงเยรูซาเลม สถานะของผู้ลี้ภัยชาวปาเลสไตน์กว่า 5 ล้านคน และปัญหาการตั้งถิ่นฐานของชาวยิวในเขต West Bank
ขบวนการก่อการร้าย
หลังสงครามอิรัก ขบวนการก่อการร้าย โดยเฉพาะกลุ่ม Al-Qa’ida ไม่ได้หมดไป แต่ในทางตรงกันข้าม กลับแพร่ขยายออกไปมากขึ้น โดยหลังสงคราม อิรักได้กลายเป็นศูนย์กลางของการทำสงครามศาสนาหรือสงคราม Jihad เพื่อต่อต้านสหรัฐ อย่างไรก็ตาม กลุ่ม Al-Qa’ida in Iraq แม้ในตอนแรกจะได้รับการสนับสนุนจากชาวอาหรับ แต่ในระยะหลังๆ ก็เสื่อมความนิยมลง แต่แม้ว่าบทบาทของ Al-Qa’ida ในอิรักจะลดลง แต่กลับกลายเป็นว่า บทบาทของ Al-Qa’ida ในประเทศอื่นๆ ในตะวันออกกลางกลับเพิ่มมากขึ้น การก่อการร้ายมีแนวโน้มจะลุกลามขยายตัว โดยเฉพาะใน เยเมนและโซมาเลีย สงครามในอัฟกานิสถานและปากีสถานก็ได้เลวร้ายลงเรื่อยๆ เพราะทั้งนักรบตาลีบันและ Al-Qa’ida ได้ฟื้นคืนชีพ แหล่งซ่องสุมใหม่อยู่บริเวณพรมแดนระหว่างปากีสถานกับอัฟกานิสถาน โดยนักรบตาลีบันได้ยึดครองพื้นที่ในอัฟกานิสถานและปากีสถานได้มากขึ้นเรื่อยๆ
ประชาธิปไตย
สาเหตุหนึ่งที่ประธานาธิบดีบุชอ้าง ในการทำสงครามอิรักก็เพื่อสร้างประชาธิปไตยให้เกิดขึ้นในอิรัก โดยหวังว่าประชาธิปไตยในอิรักจะส่งผลกระทบเป็น domino effect จะทำให้ประชาธิปไตยเกิดขึ้นทั่วตะวันออกกลาง แต่ผลที่เกิดขึ้น กลับเป็นไปในทางตรงกันข้าม 7 ปีที่ผ่านมา ประชาธิปไตยในอิรักและอัฟกานิสถานก็ง่อนแง่น และยังไม่มีแนวโน้มว่าประเทศในตะวันออกกลางอื่นๆ จะพัฒนาไปสู่การเป็นประชาธิปไตย ในทางตรงกันข้าม สงครามอิรักกลับเป็นตัวยับยั้งการปฏิรูปทางการเมือง เพราะรัฐบาลอาหรับมองเห็นแล้วว่า สิ่งที่เกิดขึ้นในอิรักจะสร้างความหายนะให้กับประเทศตน กลับกลายเป็นว่า ชาวอาหรับกลับหันมาสนับสนุนรัฐบาลเผด็จการ มากกว่าจะเดินหน้าสู่ประชาธิปไตยที่จะนำไปสู่ความวุ่นวายทางการเมือง โดยชาวอาหรับมองว่าประชาธิปไตยเป็นสิ่งที่สหรัฐยัดเยียดเข้ามา และมองว่าประชาธิปไตยในอิรักเป็นปัจจัยที่ทำให้เกิดความวุ่นวายถึงขั้นเกือบจะเป็นสงครามกลางเมือง
มหาอำนาจ
ประเด็นสุดท้ายคือ ผลกระทบของสงครามอิรักต่อบทบาทของมหาอำนาจในตะวันออกกลาง เห็นได้ชัดว่า บทบาทของสหรัฐได้ตกต่ำลง โดยเฉพาะความล้มเหลวภายหลังสงครามอิรัก อิทธิพลของสหรัฐกำลังลดลงเรื่อยๆ ในขณะที่อิทธิพลของมหาอำนาจอื่นๆ กำลังเพิ่มขึ้นโดยเฉพาะรัสเซียกับจีน จากความล้มเหลวของสหรัฐในอิรัก ทำให้ประเทศต่างๆ ในตะวันออกกลางเริ่มไม่มีความมั่นใจต่อสมรรถภาพของสหรัฐ จึงได้เริ่มหันไปตีสนิทกับจีนและรัสเซียมากขึ้น โลกอาหรับได้สูญเสียความเชื่อมั่นต่อสถานะของสหรัฐในการเล่นบทเป็นผู้ให้หลักประกันความมั่นคง
ทั้งนี้ ตั้งแต่ปี 2003 ทั้งจีนและรัสเซียได้พยายามเพิ่มบทบาทมากขึ้นในตะวันออกกลาง โดยรัสเซียได้พยายามที่จะท้าทายอิทธิพลของสหรัฐ และพยายามเข้าไปมีบทบาทในการเป็นตัวกลางแก้ความขัดแย้งระหว่างอิสราเอลกับอาหรับ อย่างไรก็ตาม อิทธิพลของรัสเซียในภูมิภาคก็ยังมีข้อจำกัด
สำหรับในส่วนของจีน ก็มียุทธศาสตร์ที่พยายามเน้นในเรื่องความมั่นคงด้านพลังงาน โดยพยายามตีสนิทกับประเทศในตะวันออกกลางเพื่อซื้อน้ำมันเป็นหลัก ดังนั้นบทบาทจีนจะเพิ่มมากขึ้นเฉพาะทางด้านเศรษฐกิจ แต่บทบาททางด้านการทหารและการเมืองยังมีจำกัด
อย่างไรก็ตาม ถึงแม้ว่าโลกอาหรับจะมีท่าทีในทำนองต้องการดึงรัสเซียกับจีนมาถ่วงดุลสหรัฐ แต่ลึกๆ แล้ว รัสเซียกับจีนก็ไม่สามารถมาแทนที่สหรัฐได้ ในการเล่นบทเป็นผู้นำในการสร้างระเบียบความมั่นคงในภูมิภาค
วันอาทิตย์ที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2553
สหรัฐกับสถาปัตยกรรมในภูมิภาค (ตอนที่ 2)
สหรัฐกับสถาปัตยกรรมในภูมิภาค (ตอนที่ 2)
ตีพิมพ์ใน ไทยโพสต์ ฉบับวันศุกร์ ที่ 7 พฤษภาคม พ.ศ.2553
ในคอลัมน์กระบวนทรรศน์ หนังสือพิมพ์ไทยโพสต์ ฉบับวันที่ 29 มกราคม 2553 ผมได้เขียนเกี่ยวกับสหรัฐกับสถาปัตยกรรมในภูมิภาค ตอนที่ 1 ไปแล้ว คอลัมน์กระบวนทรรศน์ในวันนี้ ผมจะมาวิเคราะห์ต่อ เกี่ยวกับยุทธศาสตร์ล่าสุดของสหรัฐ ดังนี้
ยุทธศาสตร์สหรัฐ
ยุทธศาสตร์หลักของสหรัฐต่อสถาปัตยกรรมในภูมิภาคคือ การทำให้สหรัฐเป็นแกนกลางของสถาปัตยกรรมในภูมิภาค (US as the core of regional architecture) โดยยุทธศาสตร์จะมีลักษณะเป็นหลายๆ วง ซ้อนทับกัน โดยมีสหรัฐอยู่วงในสุด วงที่ 2 คือความสัมพันธ์ทวิภาคีกับพันธมิตร วงที่ 3 คือ เวทีเฉพาะกิจและเวทีอนุภูมิภาค วงที่ 4 คือ เวที APEC วงที่ 5 คือ เวที EAS และวงที่ 6 คือ สถาบันใหม่
สำหรับในวันนี้ ผมจะวิเคราะห์รายละเอียดในวงที่ 3 คือ เวทีอนุภูมิภาค ซึ่งขณะนี้กำลังมีการผลักดัน FTA อนุภูมิภาค ที่เรียกว่า Trans-Pacific Partnership หรือ TPP
สิ่งท้าทาย
เมื่อเร็วๆ นี้ Fred Bergsten นักเศรษฐศาสตร์อเมริกัน อดีตกุนซือนโยบายเศรษฐกิจสมัยรัฐบาลคลินตัน ได้กล่าวสุนทรพจน์ ซึ่งมีเนื้อหาสำคัญเกี่ยวกับบูรณาการทางเศรษฐกิจในเอเชีย ที่จะส่งผลกระทบต่อสหรัฐเป็นอย่างมาก และสหรัฐจะต้องตอบสนองด้วยการผลักดัน TPP ขึ้นมา
Bergsten ได้วิเคราะห์ว่า สถาปัตยกรรมและบูรณาการในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก กำลังมีแนวโน้มที่บูรณาการในภูมิภาค จะเป็นไปในลักษณะที่ประเทศในเอเชียจะรวมตัวกันเองโดยไม่มีสหรัฐ หลักฐานสำคัญคือ การเกิดขึ้นของ FTA อาเซียน+1 อาทิ FTA อาเซียน-จีน อาเซียน-ญี่ปุ่น อาเซียน-เกาหลี อาเซียน-อินเดีย เป็นต้น นอกจากนี้ ยังมีข้อเสนอการจัดตั้งเขตการค้าเสรีเอเชียตะวันออกในกรอบอาเซียน+3 (อาเซียน+จีน+ญี่ปุ่น+เกาหลี) ซึ่งจะไม่มีสหรัฐ ในด้านการเงิน ได้มีการจัดตั้งความคิดริเริ่มเชียงใหม่ (Chiang Mai Initiative) ซึ่งกำลังจะพัฒนาไปเป็นกองทุนการเงินแห่งเอเชีย (Asian Monetary Fund) Bergsten มองว่าสิ่งเหล่านี้ ในที่สุด จะนำไปสู่การจัดตั้ง Asian Bloc โดยกลุ่มเศรษฐกิจนี้จะกลายเป็นกลุ่มเศรษฐกิจที่ใหญ่ที่สุดในโลก
Bergsten วิเคราะห์ว่า แนวโน้มดังกล่าวจะส่งผลกระทบอย่างมากต่อโลก โดยจะส่งผลกระทบในทางลบต่อประเทศนอกกลุ่ม รวมทั้งต่อสหรัฐ เท่ากับเป็นการขีดเส้นแบ่งกลางมหาสมุทรแปซิฟิก ซึ่งจะนำไปสู่การแตกสลายของภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก
Bergsten มองว่า ผลกระทบจะไม่จำกัดวงอยู่แต่เฉพาะทางด้านเศรษฐกิจ แต่จะลามไปถึงด้านการเมืองและความมั่นคงด้วย เพราะจะกระทบต่อความสัมพันธ์ระหว่างสหรัฐกับประเทศต่างๆ ในภูมิภาคเอเชียตะวันออก แต่ประเทศในภูมิภาคไม่ต้องการที่จะเลือกระหว่างเอเชียกับสหรัฐ ดังนั้นการแตกสลายของภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิกจึงเป็นเรื่องน่าห่วงมาก
Trans-Pacific Partnership (TPP)
อย่างไรก็ตาม Bergsten มองว่า ยุทธศาสตร์ของรัฐบาลโอบามาในการผลักดัน FTA ในกรอบ Trans-Pacific Partnership หรือ TPP จะเป็นยุทธศาสตร์สำคัญในการเผชิญกับสิ่งท้าทายดังกล่าวข้างต้น โดยรัฐบาลโอบามาได้ตัดสินใจที่จะเข้าร่วมการเจรจา TPP ซึ่งเป็น FTA ที่ได้เริ่มจาก 4 ประเทศ คือ ชิลี สิงคโปร์ นิวซีแลนด์ และบรูไน และต่อมาได้ขยายจำนวนสมาชิก โดยมีสหรัฐ ออสเตรเลีย เปรู และเวียดนาม เข้าร่วม
Bergsten ได้เสนอเป้าหมายของการพัฒนา TPP ต่อไป โดยตั้งเป้าว่าจะต้องมีความคืบหน้าที่เด่นชัดในระหว่างการประชุมสุดยอด APEC ที่ฮาวาย ในปี 2011 โดยสหรัฐควรจะต้องผลักดัน 2 เรื่อง เรื่องแรกคือ จะต้องเจรจาข้อตกลง FTA ให้เรียบร้อยระหว่าง 8 ประเทศสมาชิก และหลังจากนั้น จะต้องพยายามเพิ่มจำนวนสมาชิกออกไป ประเทศที่มีแนวโน้มจะเข้าร่วมในอนาคตคือ แคนาดา มาเลเซียก็ได้แสดงความสนใจ และประเทศสมาชิกอาเซียนอีก 1 หรือ 2 ประเทศอาจเข้าร่วม ส่วนญี่ปุ่นอาจตัดสินใจเข้าร่วม TPP ในช่วงที่ญี่ปุ่นเป็นเจ้าภาพการประชุมสุดยอด APEC ที่ โยโกฮามา ปลายปีนี้ ส่วนเกาหลีใต้มีแนวโน้มจะเข้าร่วมเช่นเดียวกัน
ผมมองว่า เป้าหมายของสหรัฐคือ จะใช้ TPP เป็นแกนกลางสำคัญของการทำ FTA ในภูมิภาค โดยจะค่อยๆ ขยายจำนวนสมาชิกออกไปเรื่อยๆ จนในที่สุด อาจจะบรรลุเป้าหมายที่สหรัฐได้ตั้งไว้ คือ TPP อาจจะกลายเป็น Free Trade Area of the Asia-Pacific (FTAAP) ซึ่งเคยเป็นข้อเสนอที่สหรัฐเสนอในกรอบ APEC แต่ไม่ได้รับการสนับสนุน สหรัฐคงจะได้บทเรียนว่า ถ้าจะจัดตั้ง FTA ทั้งภูมิภาคเลย อาจจะลำบาก ดังนั้น จึงน่าจะหันมาใช้ยุทธศาสตร์ใหม่ คือเริ่มจากไม่กี่ประเทศก่อน แล้วค่อยขยายออกไป
สำหรับแนวโน้มคือ สหรัฐคงจะเริ่มผลักดัน TPP ในการประชุมสุดยอด APEC ที่โยโกฮามา ประเทศญี่ปุ่น ในเดือนพฤศจิกายน ปีนี้ และพอถึงปี 2011 สหรัฐจะเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมสุดยอด APEC ที่ฮาวาย ผมเดาว่า TPP คงจะเป็นไฮไลท์ของการประชุมสุดยอด APEC ที่ฮาวาย
ยุทธศาสตร์คู่ขนาน
นอกจากนี้ ในสุนทรพจน์ของ Bergsten เขาได้เสนอแนวคิดใหม่ที่อาจจะเรียกได้ว่ายุทธศาสตร์คู่ขนาน คือมองว่า การผลักดัน TPP นั้น ควรจะมีลักษณะเกื้อกูลกับ FTA ในภูมิภาคที่มีอยู่แล้ว อาทิ FTA อาเซียนกับประเทศต่างๆ และ FTA ในกรอบ อาเซียน+3 และ อาเซียน+6
Bergsten ไม่เห็นด้วยกับแนวคิดของคนอเมริกันไม่น้อย ที่ต่อต้านการจัดตั้งสถาบันทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศในเอเชีย โดยแนวคิดนี้กลัวว่า การบูรณาการของเอเชียจะกีดกันสหรัฐออกไป และมองว่า เป็นแนวโน้มที่อันตราย ซึ่งจะต้องต่อต้าน แนวคิดนี้ยังมองด้วยว่า Asian Bloc จะถูกครอบงำโดยจีน และจะทำให้ดุลแห่งอำนาจในโลกเปลี่ยนไป ดังนั้น จึงต้องต่อต้าน อย่างไรก็ตาม Bergsten ไม่เห็นด้วยกับแนวคิดนี้ และมองว่ายุทธศาสตร์สำคัญคือ ยุทธศาสตร์คู่ขนาน
Bergsten วิเคราะห์ต่อไปว่า ในเอเชีย มีแนวคิดที่จะสนับสนุนการรวมกลุ่มในเอเชียก่อน โดยการจัดตั้งสถาปัตยกรรมในเอเชียก่อน แล้วค่อยขยายออกไปเป็นสถาปัตยกรรมในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก ซึ่ง Bergsten ไม่เห็นด้วยกับแนวคิดนี้ โดยแนวคิดของ Bergsten คือ ยุทธศาสตร์คู่ขนาน คือการจัดตั้งสถาปัตยกรรมในภูมิภาคเอเชีย พร้อมๆ กับการจัดตั้งสถาปัตยกรรมในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก
ผมมองว่า ยุทธศาสตร์คู่ขนานของ Bergsten นั้น ไม่ต่างจากยุทธศาสตร์ ”หลายวง” ของสหรัฐ ที่ผมได้วิเคราะห์ในตอนแรก คือ Bergsten สนับสนุนทั้งวงที่ 3 คือ วงเวทีอนุภูมิภาค วงที่ 4 คือ APEC และวงที่ 5 คือ East Asia Summit หรือ EAS สถาบันเหล่านี้จะพัฒนาคู่ขนานกันไป แต่วาระซ่อนเร้นของสหรัฐคือ วงต่างๆ เหล่านี้ ในที่สุด จะมีสหรัฐอยู่วงในสุด คือสหรัฐจะเป็นแกนกลางของสถาปัตยกรรมในภูมิภาคนั่นเอง
ตีพิมพ์ใน ไทยโพสต์ ฉบับวันศุกร์ ที่ 7 พฤษภาคม พ.ศ.2553
ในคอลัมน์กระบวนทรรศน์ หนังสือพิมพ์ไทยโพสต์ ฉบับวันที่ 29 มกราคม 2553 ผมได้เขียนเกี่ยวกับสหรัฐกับสถาปัตยกรรมในภูมิภาค ตอนที่ 1 ไปแล้ว คอลัมน์กระบวนทรรศน์ในวันนี้ ผมจะมาวิเคราะห์ต่อ เกี่ยวกับยุทธศาสตร์ล่าสุดของสหรัฐ ดังนี้
ยุทธศาสตร์สหรัฐ
ยุทธศาสตร์หลักของสหรัฐต่อสถาปัตยกรรมในภูมิภาคคือ การทำให้สหรัฐเป็นแกนกลางของสถาปัตยกรรมในภูมิภาค (US as the core of regional architecture) โดยยุทธศาสตร์จะมีลักษณะเป็นหลายๆ วง ซ้อนทับกัน โดยมีสหรัฐอยู่วงในสุด วงที่ 2 คือความสัมพันธ์ทวิภาคีกับพันธมิตร วงที่ 3 คือ เวทีเฉพาะกิจและเวทีอนุภูมิภาค วงที่ 4 คือ เวที APEC วงที่ 5 คือ เวที EAS และวงที่ 6 คือ สถาบันใหม่
สำหรับในวันนี้ ผมจะวิเคราะห์รายละเอียดในวงที่ 3 คือ เวทีอนุภูมิภาค ซึ่งขณะนี้กำลังมีการผลักดัน FTA อนุภูมิภาค ที่เรียกว่า Trans-Pacific Partnership หรือ TPP
สิ่งท้าทาย
เมื่อเร็วๆ นี้ Fred Bergsten นักเศรษฐศาสตร์อเมริกัน อดีตกุนซือนโยบายเศรษฐกิจสมัยรัฐบาลคลินตัน ได้กล่าวสุนทรพจน์ ซึ่งมีเนื้อหาสำคัญเกี่ยวกับบูรณาการทางเศรษฐกิจในเอเชีย ที่จะส่งผลกระทบต่อสหรัฐเป็นอย่างมาก และสหรัฐจะต้องตอบสนองด้วยการผลักดัน TPP ขึ้นมา
Bergsten ได้วิเคราะห์ว่า สถาปัตยกรรมและบูรณาการในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก กำลังมีแนวโน้มที่บูรณาการในภูมิภาค จะเป็นไปในลักษณะที่ประเทศในเอเชียจะรวมตัวกันเองโดยไม่มีสหรัฐ หลักฐานสำคัญคือ การเกิดขึ้นของ FTA อาเซียน+1 อาทิ FTA อาเซียน-จีน อาเซียน-ญี่ปุ่น อาเซียน-เกาหลี อาเซียน-อินเดีย เป็นต้น นอกจากนี้ ยังมีข้อเสนอการจัดตั้งเขตการค้าเสรีเอเชียตะวันออกในกรอบอาเซียน+3 (อาเซียน+จีน+ญี่ปุ่น+เกาหลี) ซึ่งจะไม่มีสหรัฐ ในด้านการเงิน ได้มีการจัดตั้งความคิดริเริ่มเชียงใหม่ (Chiang Mai Initiative) ซึ่งกำลังจะพัฒนาไปเป็นกองทุนการเงินแห่งเอเชีย (Asian Monetary Fund) Bergsten มองว่าสิ่งเหล่านี้ ในที่สุด จะนำไปสู่การจัดตั้ง Asian Bloc โดยกลุ่มเศรษฐกิจนี้จะกลายเป็นกลุ่มเศรษฐกิจที่ใหญ่ที่สุดในโลก
Bergsten วิเคราะห์ว่า แนวโน้มดังกล่าวจะส่งผลกระทบอย่างมากต่อโลก โดยจะส่งผลกระทบในทางลบต่อประเทศนอกกลุ่ม รวมทั้งต่อสหรัฐ เท่ากับเป็นการขีดเส้นแบ่งกลางมหาสมุทรแปซิฟิก ซึ่งจะนำไปสู่การแตกสลายของภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก
Bergsten มองว่า ผลกระทบจะไม่จำกัดวงอยู่แต่เฉพาะทางด้านเศรษฐกิจ แต่จะลามไปถึงด้านการเมืองและความมั่นคงด้วย เพราะจะกระทบต่อความสัมพันธ์ระหว่างสหรัฐกับประเทศต่างๆ ในภูมิภาคเอเชียตะวันออก แต่ประเทศในภูมิภาคไม่ต้องการที่จะเลือกระหว่างเอเชียกับสหรัฐ ดังนั้นการแตกสลายของภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิกจึงเป็นเรื่องน่าห่วงมาก
Trans-Pacific Partnership (TPP)
อย่างไรก็ตาม Bergsten มองว่า ยุทธศาสตร์ของรัฐบาลโอบามาในการผลักดัน FTA ในกรอบ Trans-Pacific Partnership หรือ TPP จะเป็นยุทธศาสตร์สำคัญในการเผชิญกับสิ่งท้าทายดังกล่าวข้างต้น โดยรัฐบาลโอบามาได้ตัดสินใจที่จะเข้าร่วมการเจรจา TPP ซึ่งเป็น FTA ที่ได้เริ่มจาก 4 ประเทศ คือ ชิลี สิงคโปร์ นิวซีแลนด์ และบรูไน และต่อมาได้ขยายจำนวนสมาชิก โดยมีสหรัฐ ออสเตรเลีย เปรู และเวียดนาม เข้าร่วม
Bergsten ได้เสนอเป้าหมายของการพัฒนา TPP ต่อไป โดยตั้งเป้าว่าจะต้องมีความคืบหน้าที่เด่นชัดในระหว่างการประชุมสุดยอด APEC ที่ฮาวาย ในปี 2011 โดยสหรัฐควรจะต้องผลักดัน 2 เรื่อง เรื่องแรกคือ จะต้องเจรจาข้อตกลง FTA ให้เรียบร้อยระหว่าง 8 ประเทศสมาชิก และหลังจากนั้น จะต้องพยายามเพิ่มจำนวนสมาชิกออกไป ประเทศที่มีแนวโน้มจะเข้าร่วมในอนาคตคือ แคนาดา มาเลเซียก็ได้แสดงความสนใจ และประเทศสมาชิกอาเซียนอีก 1 หรือ 2 ประเทศอาจเข้าร่วม ส่วนญี่ปุ่นอาจตัดสินใจเข้าร่วม TPP ในช่วงที่ญี่ปุ่นเป็นเจ้าภาพการประชุมสุดยอด APEC ที่ โยโกฮามา ปลายปีนี้ ส่วนเกาหลีใต้มีแนวโน้มจะเข้าร่วมเช่นเดียวกัน
ผมมองว่า เป้าหมายของสหรัฐคือ จะใช้ TPP เป็นแกนกลางสำคัญของการทำ FTA ในภูมิภาค โดยจะค่อยๆ ขยายจำนวนสมาชิกออกไปเรื่อยๆ จนในที่สุด อาจจะบรรลุเป้าหมายที่สหรัฐได้ตั้งไว้ คือ TPP อาจจะกลายเป็น Free Trade Area of the Asia-Pacific (FTAAP) ซึ่งเคยเป็นข้อเสนอที่สหรัฐเสนอในกรอบ APEC แต่ไม่ได้รับการสนับสนุน สหรัฐคงจะได้บทเรียนว่า ถ้าจะจัดตั้ง FTA ทั้งภูมิภาคเลย อาจจะลำบาก ดังนั้น จึงน่าจะหันมาใช้ยุทธศาสตร์ใหม่ คือเริ่มจากไม่กี่ประเทศก่อน แล้วค่อยขยายออกไป
สำหรับแนวโน้มคือ สหรัฐคงจะเริ่มผลักดัน TPP ในการประชุมสุดยอด APEC ที่โยโกฮามา ประเทศญี่ปุ่น ในเดือนพฤศจิกายน ปีนี้ และพอถึงปี 2011 สหรัฐจะเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมสุดยอด APEC ที่ฮาวาย ผมเดาว่า TPP คงจะเป็นไฮไลท์ของการประชุมสุดยอด APEC ที่ฮาวาย
ยุทธศาสตร์คู่ขนาน
นอกจากนี้ ในสุนทรพจน์ของ Bergsten เขาได้เสนอแนวคิดใหม่ที่อาจจะเรียกได้ว่ายุทธศาสตร์คู่ขนาน คือมองว่า การผลักดัน TPP นั้น ควรจะมีลักษณะเกื้อกูลกับ FTA ในภูมิภาคที่มีอยู่แล้ว อาทิ FTA อาเซียนกับประเทศต่างๆ และ FTA ในกรอบ อาเซียน+3 และ อาเซียน+6
Bergsten ไม่เห็นด้วยกับแนวคิดของคนอเมริกันไม่น้อย ที่ต่อต้านการจัดตั้งสถาบันทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศในเอเชีย โดยแนวคิดนี้กลัวว่า การบูรณาการของเอเชียจะกีดกันสหรัฐออกไป และมองว่า เป็นแนวโน้มที่อันตราย ซึ่งจะต้องต่อต้าน แนวคิดนี้ยังมองด้วยว่า Asian Bloc จะถูกครอบงำโดยจีน และจะทำให้ดุลแห่งอำนาจในโลกเปลี่ยนไป ดังนั้น จึงต้องต่อต้าน อย่างไรก็ตาม Bergsten ไม่เห็นด้วยกับแนวคิดนี้ และมองว่ายุทธศาสตร์สำคัญคือ ยุทธศาสตร์คู่ขนาน
Bergsten วิเคราะห์ต่อไปว่า ในเอเชีย มีแนวคิดที่จะสนับสนุนการรวมกลุ่มในเอเชียก่อน โดยการจัดตั้งสถาปัตยกรรมในเอเชียก่อน แล้วค่อยขยายออกไปเป็นสถาปัตยกรรมในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก ซึ่ง Bergsten ไม่เห็นด้วยกับแนวคิดนี้ โดยแนวคิดของ Bergsten คือ ยุทธศาสตร์คู่ขนาน คือการจัดตั้งสถาปัตยกรรมในภูมิภาคเอเชีย พร้อมๆ กับการจัดตั้งสถาปัตยกรรมในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก
ผมมองว่า ยุทธศาสตร์คู่ขนานของ Bergsten นั้น ไม่ต่างจากยุทธศาสตร์ ”หลายวง” ของสหรัฐ ที่ผมได้วิเคราะห์ในตอนแรก คือ Bergsten สนับสนุนทั้งวงที่ 3 คือ วงเวทีอนุภูมิภาค วงที่ 4 คือ APEC และวงที่ 5 คือ East Asia Summit หรือ EAS สถาบันเหล่านี้จะพัฒนาคู่ขนานกันไป แต่วาระซ่อนเร้นของสหรัฐคือ วงต่างๆ เหล่านี้ ในที่สุด จะมีสหรัฐอยู่วงในสุด คือสหรัฐจะเป็นแกนกลางของสถาปัตยกรรมในภูมิภาคนั่นเอง
วันอังคารที่ 4 พฤษภาคม พ.ศ. 2553
ความคืบหน้าในการจัดตั้งประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน
ความคืบหน้าในการจัดตั้งประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน
สยามรัฐสัปดาห์วิจารณ์ ปีที่ 57 ฉบับที่ 31 วันศุกร์ที่ 23 - วันพฤหัสบดีที่ 29 เมษายน 2553
เมื่อช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา ได้มีการประชุมสุดยอดอาเซียนครั้งที่ 16 ที่ กรุงฮานอย ประเทศเวียดนาม เรื่องสำคัญเรื่องหนึ่งคือ การพิจารณาความคืบหน้าในการจัดตั้งประชาคมอาเซียนภายในปี 2015 คอลัมน์โลกทรรศน์ในวันนี้ จะวิเคราะห์ความคืบหน้าในการจัดตั้งประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้
ภูมิหลัง
แนวคิดเรื่องการจัดตั้งประชาคมอาเซียน ได้เริ่มมีมาตั้งแต่ปี 2003 ในการประชุมสุดยอดที่บาหลี อินโดนีเซีย ได้มีการจัดทำ Bali Concord 2 ขึ้น ซึ่งได้ตั้งเป้าหมายว่าจะมีการจัดตั้งประชาคมอาเซียนขึ้นภายในปี 2020 แต่ต่อมาได้ร่นมาเป็นปี 2015
สำหรับประชาคมเศรษฐกิจนั้น ในปี 2004 ได้มีการทำแผนปฏิบัติการกำหนดมาตรการต่างๆ ที่จะนำไปสู่การจัดตั้งประชาคม ต่อมาปี 2007 ได้มีการจัดทำ blueprint หรือแผนงาน ซึ่งมีรายละเอียดมากขึ้นเกี่ยวกับแผนงานการจัดตั้งประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ล่าสุดในการประชุมสุดยอดอาเซียนครั้งที่ 16 ที่เวียดนาม ได้มีการพิจารณาเอกสาร ASEAN Economic Community Scorecard ซึ่งเป็นเอกสารที่ติดตามความคืบหน้าในการดำเนินมาตรการต่างๆ ที่อยู่ใน blueprint รายงานดังกล่าวขอเรียกย่อๆ ว่า AEC Scorecard ได้ครอบคลุมช่วงเวลาในปี 2008 ถึง 2009
การเปิดเสรีการค้าสินค้า
ใน AEC blueprint ได้มีการกำหนดเป้าหมายหลักของประชาคมเศรษฐกิจว่า จะมีการจัดตั้งตลาดเดียวหรือตลาดร่วมและฐานการผลิตเดียว (single market and production base) โดยจะมี 5 องค์ประกอบด้วยกันได้แก่ การไหลเวียนอย่างเสรีของสินค้า การไหลเวียนอย่างเสรีของบริการ การไหลเวียนอย่างเสรีของการลงทุน การไหลเวียนที่มีความเสรีมากขึ้นสำหรับเงินทุน และการไหลเวียนเสรีสำหรับแรงงานมีฝีมือ
สำหรับความคืบหน้าในการเปิดเสรีการค้าสินค้านั้น ถือได้ว่ามีความคืบหน้ามากที่สุด โดยตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม ปีนี้ อัตราภาษีของสินค้าที่ค้าขายกันระหว่างอาเซียนได้ลดลงอยู่ที่ 0 - 5 % โดยอัตราเฉลี่ยของอัตราภาษีอยู่ที่ 0.9 % ปริมาณการค้าระหว่างอาเซียนด้วยกันก็เพิ่มขึ้นอย่างมาก โดยในปี 2008 มีมูลค่าการค้าถึงเกือบ 460,000 ล้านเหรียญ ในเดือนพฤษภาคมปีนี้ ข้อตกลง ASEAN Trade in Goods Agreement จะมีผลบังคับใช้
อย่างไรก็ตาม ปัญหาการเปิดเสรีขณะนี้อยู่ที่เรื่องการขจัดมาตรการที่มิใช่ภาษี Non Tariff Barriers หรือ NTB อาเซียนได้มีการจัดทำกรอบการอำนวยความสะดวกทางการค้า (ASEAN Trade Facilitation Framework) เพื่อที่จะขจัดปัญหา NTB โดยเฉพาะเรื่องขั้นตอนศุลกากร กระบวนการทางการค้า มาตรฐานสินค้า และมาตรการด้านสุขอนามัย
การเปิดเสรีการค้าภาคบริการ
สำหรับการเปิดเสรีการค้าภาคบริการนั้น อาเซียนตั้งเป้าหมายว่า จะเปิดเสรีโดยเริ่มต้นจาก 4 สาขา ได้แก่ การขนส่งทางอากาศ E-ASEAN ด้านสุขอนามัย และการท่องเที่ยว ซึ่งจะเปิดเสรีให้ได้ภายในปี 2010 หลังจากนั้น จะเปิดเสรีทุกสาขาที่เหลือ ให้ได้ภายในปี 2015 อย่างไรก็ตาม สาขาที่น่าจะมีปัญหาคือ การเปิดเสรีสาขาการเงิน
ใน AEC Scorecard ได้รายงานว่า ได้มีการเจรจาตกลงไปแล้ว 7 รายการ ภายใต้ข้อตกลงที่เรียกว่า ASEAN Framework Agreement on Services (AFAS) ซึ่งสาขาที่มีความคืบหน้าในการเปิดเสรีภาคบริการได้แก่ สาขาการบริการทางธุรกิจ การบริการด้านสิ่งแวดล้อม ด้านสุขภาพ การก่อสร้าง การขนส่งทางทะเล การจัดจำหน่ายสินค้า สาขาโทรคมนาคม การศึกษาและการท่องเที่ยว
การเปิดเสรีด้านการลงทุน
สำหรับการเปิดเสรีด้านการลงทุนนั้น ใน AEC Scorecard ได้รายงานความคืบหน้า การจัดทำความตกลงที่เรียกว่า ASEAN Comprehensive Investment Agreement ซึ่งเน้นเรื่องการปกป้องการลงทุน การมีกฎระเบียบด้านการลงทุนที่มีความโปร่งใส ส่งเสริมอาเซียนให้เป็นเขตการลงทุนเดียว และเปิดเสรีกฎระเบียบการลงทุนของสมาชิกอาเซียน ที่จะนำไปสู่การลงทุนเสรีและเปิดกว้างภายในปี 2015 โดยจะมีการประกาศใช้ข้อตกลงดังกล่าวในเดือนสิงหาคม ปีนี้
การเปิดเสรีการไหลเวียนของเงินทุน
สำหรับในด้านการไหลเวียนของเงินทุนนั้น อาเซียนยังไม่สามารถตั้งเป้าหมายให้เสรี 100 % ได้ ใน AEC blueprint จึงได้แค่ตั้งเป้าหมายให้การไหลเวียนของเงินทุนมีความเสรีมากขึ้นเท่านั้น ซึ่งในภาษาอังกฤษใช้คำว่า freer flow of capital แทนที่จะใช้คำว่า free flow of capital
อย่างไรก็ตาม ใน AEC Scorecard ได้รายงานว่า อาเซียนได้มีมาตรการที่จะให้การไหลเวียนของเงินทุนมีความเสรีมากขึ้น โดยในเดือนเมษายนปี 2009 ได้มีการให้การรับรองต่อแผนดำเนินการเพื่อนำไปสู่การพัฒนาตลาดการเงินของอาเซียนอย่างบูรณาการ (integrated ASEAN capital market)
นอกจากนี้ เพื่อที่จะให้มีการเคลื่อนย้ายเงินทุนอย่างเสรีมากขึ้น ประเทศสมาชิกอาเซียนส่วนใหญ่ได้ลดข้อจำกัดในเรื่องของการลงทุนจากต่างชาติ อย่างไรก็ตาม ประเทศอาเซียนบางประเทศยังมีข้อจำกัดในเรื่องนี้อยู่ อาเซียนจึงได้มีการกำหนดกฎเกณฑ์ที่จะให้มีการไหลเวียนของการลงทุนจากต่างประเทศ (FDI) ให้มีความเสรีมากขึ้น รวมทั้งความพยายามที่จะให้การลงทุนในตลาดหลักทรัพย์มีการไหลเวียนและมีความเสรีมากขึ้น รวมทั้งให้มีการลดข้อจำกัดในเรื่องของระบบอัตราแลกเปลี่ยนด้วย
การเปิดเสรีด้านแรงงาน
สำหรับในด้านการเคลื่อนย้ายแรงงานนั้น อาเซียนยังไม่สามารถเปิดเสรีได้ 100% AEC blueprint ได้แต่เพียงตั้งเป้าหมายเปิดเสรีเฉพาะแรงงานมีฝีมือเท่านั้น แต่ไม่ได้มีการพูดถึงการเปิดเสรีแรงงานไร้ฝีมือ
ใน AEC Scorecard ได้รายงานว่า อาเซียนพยายามที่จะเปิดเสรีแรงงานมีฝีมือ อาทิ การเปิดเสรีแรงงานมีฝีมือในด้านการแพทย์ นักบัญชี วิศวกร พยาบาล และสถาปนิก เป็นต้น
ในตอนท้ายของ AEC Scorecard ได้สรุปว่า ในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา อาเซียนได้ประสบความสำเร็จในการดำเนินมาตรการต่างๆ ที่จะนำไปสู่การจัดตั้งประชาคมเศรษฐกิจในปี 2015 โดย AEC Scorecard ได้ประเมินว่า ขณะนี้มาตรการต่างๆ ได้คืบหน้าไปแล้ว 82%
บทวิเคราะห์
จากที่ได้กล่าวข้างต้น จะเห็นได้ว่า ใน AEC Scorecard ได้ชี้ให้เห็นความคืบหน้าในการจัดตั้งประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน อย่างไรก็ตาม ผมมองว่า ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนตั้งเป้าหมายว่าจะเป็นตลาดร่วมภายในปี 2015 นั้น ถ้าดูตามทฤษฎีแล้ว จะเป็นตลาดร่วมที่ไม่สมบูรณ์ ทั้งนี้เพราะตามทฤษฎี ตลาดร่วมต้องมี 4 เสรี คือ เสรีในการค้าสินค้า เสรีการค้าภาคบริการ เสรีในการเคลื่อนย้ายเงินทุน และเสรีในการเคลื่อนย้ายแรงงาน แต่ในปี 2015 อาเซียนจะมีเสรีเพียง 2 ตัวเท่านั้น คือ เสรีการค้าสินค้ากับเสรีภาคบริการ ส่วนการเคลื่อนย้ายเงินทุนและการเคลื่อนย้ายแรงงาน อาเซียนยังไม่สามารถจะเปิดเสรีได้ 100%
อุปสรรคสำคัญในการจัดตั้งตลาดร่วมอาเซียนคือ ช่องว่างระหว่างประเทศรวยและประเทศจน ซึ่งยังคงมีความแตกต่างกันมาก ประเทศอาเซียนยังมองประเทศสมาชิกอื่นเป็นคู่แข่งทางเศรษฐกิจ แทนที่จะเป็นหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจ นอกจากนี้ อาเซียนยังมีปัญหาทั้งบูรณาการในเชิงลึกและเชิงกว้าง ปัญหาบูรณาการในเชิงลึกคือ ไม่ใช่เรื่องง่ายเลยที่อาเซียนจะบรรลุเป้าหมายการจัดตั้งตลาดร่วมอาเซียนอย่างสมบูรณ์แบบ ในขณะที่ปัญหาการบูรณาการในเชิงกว้างคือ ถึงแม้อาเซียนจะรวมตัวอย่างเข้มข้นแค่ไหนหรือในเชิงลึกแค่ไหน แต่อาเซียนก็ยังคงเป็นเพียงกลุ่มของประเทศเล็กๆ 10 ประเทศเท่านั้น
สยามรัฐสัปดาห์วิจารณ์ ปีที่ 57 ฉบับที่ 31 วันศุกร์ที่ 23 - วันพฤหัสบดีที่ 29 เมษายน 2553
เมื่อช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา ได้มีการประชุมสุดยอดอาเซียนครั้งที่ 16 ที่ กรุงฮานอย ประเทศเวียดนาม เรื่องสำคัญเรื่องหนึ่งคือ การพิจารณาความคืบหน้าในการจัดตั้งประชาคมอาเซียนภายในปี 2015 คอลัมน์โลกทรรศน์ในวันนี้ จะวิเคราะห์ความคืบหน้าในการจัดตั้งประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้
ภูมิหลัง
แนวคิดเรื่องการจัดตั้งประชาคมอาเซียน ได้เริ่มมีมาตั้งแต่ปี 2003 ในการประชุมสุดยอดที่บาหลี อินโดนีเซีย ได้มีการจัดทำ Bali Concord 2 ขึ้น ซึ่งได้ตั้งเป้าหมายว่าจะมีการจัดตั้งประชาคมอาเซียนขึ้นภายในปี 2020 แต่ต่อมาได้ร่นมาเป็นปี 2015
สำหรับประชาคมเศรษฐกิจนั้น ในปี 2004 ได้มีการทำแผนปฏิบัติการกำหนดมาตรการต่างๆ ที่จะนำไปสู่การจัดตั้งประชาคม ต่อมาปี 2007 ได้มีการจัดทำ blueprint หรือแผนงาน ซึ่งมีรายละเอียดมากขึ้นเกี่ยวกับแผนงานการจัดตั้งประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ล่าสุดในการประชุมสุดยอดอาเซียนครั้งที่ 16 ที่เวียดนาม ได้มีการพิจารณาเอกสาร ASEAN Economic Community Scorecard ซึ่งเป็นเอกสารที่ติดตามความคืบหน้าในการดำเนินมาตรการต่างๆ ที่อยู่ใน blueprint รายงานดังกล่าวขอเรียกย่อๆ ว่า AEC Scorecard ได้ครอบคลุมช่วงเวลาในปี 2008 ถึง 2009
การเปิดเสรีการค้าสินค้า
ใน AEC blueprint ได้มีการกำหนดเป้าหมายหลักของประชาคมเศรษฐกิจว่า จะมีการจัดตั้งตลาดเดียวหรือตลาดร่วมและฐานการผลิตเดียว (single market and production base) โดยจะมี 5 องค์ประกอบด้วยกันได้แก่ การไหลเวียนอย่างเสรีของสินค้า การไหลเวียนอย่างเสรีของบริการ การไหลเวียนอย่างเสรีของการลงทุน การไหลเวียนที่มีความเสรีมากขึ้นสำหรับเงินทุน และการไหลเวียนเสรีสำหรับแรงงานมีฝีมือ
สำหรับความคืบหน้าในการเปิดเสรีการค้าสินค้านั้น ถือได้ว่ามีความคืบหน้ามากที่สุด โดยตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม ปีนี้ อัตราภาษีของสินค้าที่ค้าขายกันระหว่างอาเซียนได้ลดลงอยู่ที่ 0 - 5 % โดยอัตราเฉลี่ยของอัตราภาษีอยู่ที่ 0.9 % ปริมาณการค้าระหว่างอาเซียนด้วยกันก็เพิ่มขึ้นอย่างมาก โดยในปี 2008 มีมูลค่าการค้าถึงเกือบ 460,000 ล้านเหรียญ ในเดือนพฤษภาคมปีนี้ ข้อตกลง ASEAN Trade in Goods Agreement จะมีผลบังคับใช้
อย่างไรก็ตาม ปัญหาการเปิดเสรีขณะนี้อยู่ที่เรื่องการขจัดมาตรการที่มิใช่ภาษี Non Tariff Barriers หรือ NTB อาเซียนได้มีการจัดทำกรอบการอำนวยความสะดวกทางการค้า (ASEAN Trade Facilitation Framework) เพื่อที่จะขจัดปัญหา NTB โดยเฉพาะเรื่องขั้นตอนศุลกากร กระบวนการทางการค้า มาตรฐานสินค้า และมาตรการด้านสุขอนามัย
การเปิดเสรีการค้าภาคบริการ
สำหรับการเปิดเสรีการค้าภาคบริการนั้น อาเซียนตั้งเป้าหมายว่า จะเปิดเสรีโดยเริ่มต้นจาก 4 สาขา ได้แก่ การขนส่งทางอากาศ E-ASEAN ด้านสุขอนามัย และการท่องเที่ยว ซึ่งจะเปิดเสรีให้ได้ภายในปี 2010 หลังจากนั้น จะเปิดเสรีทุกสาขาที่เหลือ ให้ได้ภายในปี 2015 อย่างไรก็ตาม สาขาที่น่าจะมีปัญหาคือ การเปิดเสรีสาขาการเงิน
ใน AEC Scorecard ได้รายงานว่า ได้มีการเจรจาตกลงไปแล้ว 7 รายการ ภายใต้ข้อตกลงที่เรียกว่า ASEAN Framework Agreement on Services (AFAS) ซึ่งสาขาที่มีความคืบหน้าในการเปิดเสรีภาคบริการได้แก่ สาขาการบริการทางธุรกิจ การบริการด้านสิ่งแวดล้อม ด้านสุขภาพ การก่อสร้าง การขนส่งทางทะเล การจัดจำหน่ายสินค้า สาขาโทรคมนาคม การศึกษาและการท่องเที่ยว
การเปิดเสรีด้านการลงทุน
สำหรับการเปิดเสรีด้านการลงทุนนั้น ใน AEC Scorecard ได้รายงานความคืบหน้า การจัดทำความตกลงที่เรียกว่า ASEAN Comprehensive Investment Agreement ซึ่งเน้นเรื่องการปกป้องการลงทุน การมีกฎระเบียบด้านการลงทุนที่มีความโปร่งใส ส่งเสริมอาเซียนให้เป็นเขตการลงทุนเดียว และเปิดเสรีกฎระเบียบการลงทุนของสมาชิกอาเซียน ที่จะนำไปสู่การลงทุนเสรีและเปิดกว้างภายในปี 2015 โดยจะมีการประกาศใช้ข้อตกลงดังกล่าวในเดือนสิงหาคม ปีนี้
การเปิดเสรีการไหลเวียนของเงินทุน
สำหรับในด้านการไหลเวียนของเงินทุนนั้น อาเซียนยังไม่สามารถตั้งเป้าหมายให้เสรี 100 % ได้ ใน AEC blueprint จึงได้แค่ตั้งเป้าหมายให้การไหลเวียนของเงินทุนมีความเสรีมากขึ้นเท่านั้น ซึ่งในภาษาอังกฤษใช้คำว่า freer flow of capital แทนที่จะใช้คำว่า free flow of capital
อย่างไรก็ตาม ใน AEC Scorecard ได้รายงานว่า อาเซียนได้มีมาตรการที่จะให้การไหลเวียนของเงินทุนมีความเสรีมากขึ้น โดยในเดือนเมษายนปี 2009 ได้มีการให้การรับรองต่อแผนดำเนินการเพื่อนำไปสู่การพัฒนาตลาดการเงินของอาเซียนอย่างบูรณาการ (integrated ASEAN capital market)
นอกจากนี้ เพื่อที่จะให้มีการเคลื่อนย้ายเงินทุนอย่างเสรีมากขึ้น ประเทศสมาชิกอาเซียนส่วนใหญ่ได้ลดข้อจำกัดในเรื่องของการลงทุนจากต่างชาติ อย่างไรก็ตาม ประเทศอาเซียนบางประเทศยังมีข้อจำกัดในเรื่องนี้อยู่ อาเซียนจึงได้มีการกำหนดกฎเกณฑ์ที่จะให้มีการไหลเวียนของการลงทุนจากต่างประเทศ (FDI) ให้มีความเสรีมากขึ้น รวมทั้งความพยายามที่จะให้การลงทุนในตลาดหลักทรัพย์มีการไหลเวียนและมีความเสรีมากขึ้น รวมทั้งให้มีการลดข้อจำกัดในเรื่องของระบบอัตราแลกเปลี่ยนด้วย
การเปิดเสรีด้านแรงงาน
สำหรับในด้านการเคลื่อนย้ายแรงงานนั้น อาเซียนยังไม่สามารถเปิดเสรีได้ 100% AEC blueprint ได้แต่เพียงตั้งเป้าหมายเปิดเสรีเฉพาะแรงงานมีฝีมือเท่านั้น แต่ไม่ได้มีการพูดถึงการเปิดเสรีแรงงานไร้ฝีมือ
ใน AEC Scorecard ได้รายงานว่า อาเซียนพยายามที่จะเปิดเสรีแรงงานมีฝีมือ อาทิ การเปิดเสรีแรงงานมีฝีมือในด้านการแพทย์ นักบัญชี วิศวกร พยาบาล และสถาปนิก เป็นต้น
ในตอนท้ายของ AEC Scorecard ได้สรุปว่า ในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา อาเซียนได้ประสบความสำเร็จในการดำเนินมาตรการต่างๆ ที่จะนำไปสู่การจัดตั้งประชาคมเศรษฐกิจในปี 2015 โดย AEC Scorecard ได้ประเมินว่า ขณะนี้มาตรการต่างๆ ได้คืบหน้าไปแล้ว 82%
บทวิเคราะห์
จากที่ได้กล่าวข้างต้น จะเห็นได้ว่า ใน AEC Scorecard ได้ชี้ให้เห็นความคืบหน้าในการจัดตั้งประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน อย่างไรก็ตาม ผมมองว่า ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนตั้งเป้าหมายว่าจะเป็นตลาดร่วมภายในปี 2015 นั้น ถ้าดูตามทฤษฎีแล้ว จะเป็นตลาดร่วมที่ไม่สมบูรณ์ ทั้งนี้เพราะตามทฤษฎี ตลาดร่วมต้องมี 4 เสรี คือ เสรีในการค้าสินค้า เสรีการค้าภาคบริการ เสรีในการเคลื่อนย้ายเงินทุน และเสรีในการเคลื่อนย้ายแรงงาน แต่ในปี 2015 อาเซียนจะมีเสรีเพียง 2 ตัวเท่านั้น คือ เสรีการค้าสินค้ากับเสรีภาคบริการ ส่วนการเคลื่อนย้ายเงินทุนและการเคลื่อนย้ายแรงงาน อาเซียนยังไม่สามารถจะเปิดเสรีได้ 100%
อุปสรรคสำคัญในการจัดตั้งตลาดร่วมอาเซียนคือ ช่องว่างระหว่างประเทศรวยและประเทศจน ซึ่งยังคงมีความแตกต่างกันมาก ประเทศอาเซียนยังมองประเทศสมาชิกอื่นเป็นคู่แข่งทางเศรษฐกิจ แทนที่จะเป็นหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจ นอกจากนี้ อาเซียนยังมีปัญหาทั้งบูรณาการในเชิงลึกและเชิงกว้าง ปัญหาบูรณาการในเชิงลึกคือ ไม่ใช่เรื่องง่ายเลยที่อาเซียนจะบรรลุเป้าหมายการจัดตั้งตลาดร่วมอาเซียนอย่างสมบูรณ์แบบ ในขณะที่ปัญหาการบูรณาการในเชิงกว้างคือ ถึงแม้อาเซียนจะรวมตัวอย่างเข้มข้นแค่ไหนหรือในเชิงลึกแค่ไหน แต่อาเซียนก็ยังคงเป็นเพียงกลุ่มของประเทศเล็กๆ 10 ประเทศเท่านั้น
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)