สภาวะแวดล้อมระหว่างประเทศในอนาคต : ผลกระทบต่อไทย
ตีพิมพ์ใน ไทยโพสต์ ฉบับวันพฤหัสบดีที่ 30 มิถุนายน 2554
คอลัมน์กระบวนทรรศน์ในวันนี้ จะวิเคราะห์สภาวะแวดล้อมระหว่างประเทศในอนาคต และผลกระทบที่จะมีต่อไทย โดยผมจะแบ่งการวิเคราะห์ออกเป็นสภาวะแวดล้อมทางด้านการเมืองความมั่นคง และสภาวะแวดล้อมทางด้านเศรษฐกิจ โดยในแต่ละด้าน จะแบ่งย่อยออกเป็น ระดับโลก ระดับภูมิภาค และระดับทวิภาคี
สภาวะแวดล้อมด้านการเมืองความมั่นคง
• ระดับโลก
สำหรับการวิเคราะห์ตรงนี้ จะเน้นการวิเคราะห์ระบบการเมืองความมั่นคงโลกในอนาคต และประเด็นปัญหาสำคัญๆ
สำหรับในเรื่องระบบการเมืองความมั่นคงโลกนั้น ในอดีตและปัจจุบัน เป็นระบบ 1 ขั้วอำนาจ ที่มีสหรัฐฯเป็นอภิมหาอำนาจหนึ่งเดียวในโลก หากเปรียบระบบโลกเป็นปิรามิด ในปัจจุบัน มีสหรัฐฯอยู่บนยอดปิรามิดเพียงประเทศเดียว สหรัฐฯมีพลังอำนาจแห่งชาติที่ครบเครื่องในทุกๆด้าน ทั้งอำนาจทางทหาร เศรษฐกิจ เทคโนโลยี และวัฒนธรรม สหรัฐฯเป็นผู้นำในระบบโลก โดยครอบงำองค์กรระหว่างประเทศ อาทิ UN นอกจากนั้น สหรัฐฯก็มีเครือข่ายทางทหารทั่วโลก โดยเฉพาะพันธมิตรนาโต้
อย่างไรก็ตาม ในอนาคต มีแนวโน้มชัดเจนว่า มหาอำนาจใหม่กำลังจะผงาดขึ้นมา โดยเฉพาะจีน อินเดีย บราซิล และรัสเซีย สำหรับ จีน ถือว่ามาแรงที่สุด ในอนาคต จีนจะมีขนาดเศรษฐกิจที่ใหญ่ที่สุดในโลก และอิทธิพลของจีนจะขยายออกไปเรื่อยๆ ดังนั้น ระบบโลกมีแนวโน้มจะเปลี่ยนจากระบบ 1 ขั้วอำนาจไปสู่ระบบหลายขั้วอำนาจ แต่ก็จะยังคงไม่ใช่ระบบหลายขั้วอำนาจอย่างสมบูรณ์แบบ ดังนั้น ระบบการเมืองโลกในอนาคต จะมีลักษณะเป็นลูกผสม หรือ กึ่งหนึ่งขั้วอำนาจ กึ่งหลายขั้วอำนาจ
นอกจากนี้ ในอนาคต องค์การระหว่างประเทศจะมีบทบาทมากขึ้นเรื่อยๆ โดยเฉพาะ UN จะทำให้ระบบโลกมีลักษณะเป็นโลกาภิบาล หรือ global governance มากขึ้น ซึ่งอาจเรียกว่า เป็นระบบพหุภาคีนิยม (multilateralism) มากขึ้น แต่ระบบพหุภาคีนิยม ก็จะยังไม่สมบูรณ์แบบเช่นเดียวกัน
กล่าวโดยสรุป ระบบการเมืองความมั่นคงโลกในอนาคต จะมีลักษณะเป็นระบบลูกผสมระหว่างระบบหนึ่งขั้วอำนาจ ระบบหลายขั้วอำนาจ และระบบพหุภาคีนิยม ผมอยากจะเรียกเป็นภาษาอังกฤษว่า uni-multilateralism
ระบบโลกดังกล่าว จะส่งผลกระทบต่อประเทศไทยที่เป็นประเทศขนาดกลาง ดังนั้น ไทยจะต้องมียุทธศาสตร์ระยะยาวที่รองรับต่อระบบโลกในอนาคต และไทย จะต้องทำการศึกษาวิเคราะห์ถึงผลกระทบทั้งในเชิงบวก และในเชิงลบ คือวิเคราะห์ว่า ระบบโลกจะเป็นภัยต่อไทยอย่างไร และจะเป็นโอกาสต่อไทยอย่างไร
อีกมิติหนึ่งในการวิเคราะห์สภาวะแวดล้อมในระดับโลก คือ การระบุถึงประเด็นปัญหา หรือ issues ที่สำคัญในอนาคต ซึ่งผมมองว่า ในมิติด้านความมั่นคง จะมี 4 เรื่องใหญ่
เรื่องที่ 1 คือ แนวโน้มที่มหาอำนาจจะมีความขัดแย้งกันมากขึ้น โดยเฉพาะ ความขัดแย้งระหว่างมหาอำนาจเก่ากับมหาอำนาจใหม่ กล่าวอีกนัยหนึ่ง สหรัฐฯซึ่งเป็นมหาอำนาจเก่า จะมีความขัดแย้งกับมหาอำนาจใหม่ คือ จีน มากขึ้นเรื่อยๆ เพราะจีนต้องการผงาดขึ้นมาเป็นมหาอำนาจ และเป็นผู้นำโลก จีนจะท้าทายระเบียบโลกของสหรัฐฯ ซึ่งสหรัฐฯก็จะต้องพยายามอย่างถึงที่สุด ที่จะรักษาสถานะอภิมหาอำนาจอันดับ 1 ของตนต่อไปให้ได้ยาวนานที่สุด
เรื่องที่ 2 คือ แนวโน้มของการปะทะกันทางอารยธรรม ซึ่งชัดเจนมากขึ้นเรื่อยๆ ในช่วง 20 ปีที่ผ่านมา ความขัดแย้งทางชาติพันธุ์และทางศาสนา ได้กลายเป็นต้นตอหลักของสงคราม แนวโน้มของความขัดแย้งระหว่างตะวันตกกับอิสลาม กำลังจะขยายตัวออกไปเรื่อย
ส่วนเรื่องที่ 3 ที่ผมมองว่า น่าจะเป็นปัญหาในระดับโลกในอนาคต คือ ความขัดแย้งในการแย่งชิงทรัพยากร โดยเฉพาะพลังงาน น้ำ และอาหาร ในอนาคต การแย่งชิงทรัพยากรเหล่านี้ อาจจะเป็นต้นตอใหม่ของความขัดแย้งและสงคราม
ส่วนเรื่องที่ 4 คือ สงครามในอนาคต จะเปลี่ยนแปลงรูปแบบไปจากปัจจุบัน โดยจะไม่ใช่เป็นสงครามที่เราคุ้นเคยกัน ที่น่าสนใจ คือ cyber warfare คือ การทำสงครามกันใน internet โดยจะมียุทธศาสตร์การโจมตีเครือข่ายและข้อมูลของกันและกัน นอกจากนี้ สงครามนอกรูปแบบอาจจะวิวัฒนาการออกไป โดยเฉพาะสงครามกองโจร และสงครามในรูปแบบของการก่อการร้าย
ประเด็นปัญหาเหล่านี้ จะกระทบต่อไทยอย่างหนีไม่พ้น ไทยจะต้องศึกษาผลกระทบของปัญหาเหล่านี้ และกำหนดยุทธศาสตร์เพื่อรองรับต่อผลกระทบดังกล่าว
• ระดับภูมิภาค
สำหรับสภาวะแวดล้อมด้านการเมืองและความมั่นคงในภูมิภาคเอเชียนั้น จะมีวิวัฒนาการไปในทิศทางเดียวกับสภาวะแวดล้อมในระดับโลก
ระบบการเมืองความมั่นคงในภูมิภาค จะเป็นระบบลูกผสม ซึ่งจะประกอบด้วย ระบบหนึ่งขั้วอำนาจ ระบบหลายขั้วอำนาจ และระบบพหุภาคีนิยม โดยสหรัฐฯจะยังคงบทบาทการครองความเป็นเจ้าในภูมิภาค และพยายามรักษาระบบหนึ่งขั้วอำนาจในภูมิภาค สหรัฐฯต้องการเป็นแกนกลางของสถาปัตยกรรมในภูมิภาค แต่ในขณะเดียวกัน การผงาดขึ้นมาของมหาอำนาจใหม่ โดยเฉพาะจีนและอินเดีย จะทำให้ระบบความมั่นคงในภูมิภาค มีลักษณะหลายขั้วอำนาจมากขึ้น นอกจากนั้น การผงาดขึ้นมาของอาเซียน ในการเป็นแกนกลางของสถาปัตยกรรมในภูมิภาค จะทำให้ในอนาคต อาเซียนจะเป็นองค์กรพหุภาคีนิยมที่สำคัญในระบบความมั่นคงในภูมิภาค ซึ่งจะทำให้ระบบในภูมิภาคมีลักษณะเป็นระบบพหุภาคีนิยมมากขึ้น
โดยสรุปแล้ว ระบบความมั่นคงในภูมิภาค จะเป็นระบบลูกผสม ตามที่ได้กล่าวข้างต้น คือ เป็นระบบ uni-multilateralism เหมือนในระบบโลก
สำหรับประเด็นปัญหาที่สำคัญในภูมิภาคในอนาคตนั้น จะมีหลายเรื่อง
เรื่องแรก คือ ความขัดแย้งระหว่างมหาอำนาจ โดยเฉพาะความขัดแย้งระหว่างสหรัฐฯกับจีน ที่ในอนาคต น่าจะมีแนวโน้มขัดแย้งกันมากขึ้นเรื่อยๆ
เรื่องที่ 2 ในอนาคต ปัญหาความขัดแย้งในภูมิภาคจะยังไม่หมดไป จะมีจุดอันตรายหลายจุด อาทิ ความขัดแย้งจีน-อินเดีย จีน-ญี่ปุ่น ปัญหาไต้หวัน ปัญหาความขัดแย้งในคาบสมุทรเกาหลี ปัญหาความขัดแย้งในหมู่เกาะสแปรตลีย์ เป็นต้น
สำหรับปัญหาอื่นๆในอนาคตที่น่าจะเป็นจุดอันตราย คือ ปัญหาการก่อการร้ายในภูมิภาค การแข่งขันทางทหาร และแนวโน้มการแพร่ขยายของอาวุธร้ายแรง โดยเฉพาะอาวุธนิวเคลียร์
เช่นเดียวกับในระดับโลก ไทยจะต้องมียุทธศาสตร์ในระดับภูมิภาค เพื่อรองรับต่อระบบและปัญหาในภูมิภาคในอนาคต
• ระดับทวิภาคี
สำหรับสภาวะแวดล้อมด้านการเมืองความมั่นคงในระดับทวิภาคีนั้น คือ แนวโน้มความสัมพันธ์ทวิภาคีไทยกับประเทศเพื่อนบ้าน และไทยกับมหาอำนาจ
ที่น่าเป็นห่วง คือ แนวโน้มความสัมพันธ์กับประเทศเพื่อนบ้าน ในปัจจุบัน ความสัมพันธ์ไทยกับประเทศเพื่อนบ้านไม่ดี โดยเฉพาะกับกัมพูชา ในอนาคต ความสัมพันธ์ไทยกับประเทศเพื่อนบ้าน ยังมีระเบิดเวลารอการระเบิดอยู่ โดยเฉพาะปัญหาเรื่องพรมแดน ที่เรามีปัญหากับประเทศเพื่อนบ้านทั้งหมด คือ ทั้งกับพม่า ลาว กัมพูชา และมาเลเซีย หากในอนาคต รากเหง้าของปัญหาความขัดแย้งยังไม่ได้รับการแก้ไข โดยเฉพาะเรื่องความไม่ไว้วางใจกัน การปลุกระดมลัทธิชาตินิยม และบาดแผลทางประวัติศาสตร์ รากเหง้าของปัญหาเหล่านี้ คงต้องใช้เวลาอีกนานกว่าจะแก้ได้ ดังนั้น ปัญหาความสัมพันธ์ไทยกับประเทศเพื่อนบ้าน จึงเป็นโจทย์ใหญ่ของไทยในอนาคต
อย่างไรก็ตาม สำหรับความสัมพันธ์ด้านการเมืองความมั่นคงกับมหาอำนาจนั้น ไม่น่าเป็นห่วง เพราะไทยมีความสามารถเข้ากับประเทศมหาอำนาจได้ดี ไม่ว่าจะเป็น สหรัฐฯ จีน อินเดีย ญี่ปุ่น
สภาวะแวดล้อมด้านเศรษฐกิจ
• ระดับโลก
สำหรับสภาวะแวดล้อมทางด้านเศรษฐกิจนั้น ก่อนอื่น ต้องวิเคราะห์ถึงระบบเศรษฐกิจโลกในอนาคต ซึ่งมีแนวโน้มชัดเจนว่า กำลังวิวัฒนาการไปสู่ระบบหลายขั้วอำนาจ ในอดีต สหรัฐฯและตะวันตกครอบงำเศรษฐกิจโลก แต่ในอนาคต การผงาดขึ้นมาของมหาอำนาจเศรษฐกิจใหม่ และการรวมกลุ่มกันของประเทศยากจน จะทำให้ระบบเศรษฐกิจโลกเป็นระบบหลายขั้วอำนาจอย่างชัดเจน
สำหรับระบบการค้าโลกในอนาคต ก็ยังไม่มีความแน่นอนว่า บทบาทของ WTO จะเป็นอย่างไรต่อไป หลังจากความล้มเหลวของการเจรจารอบโดฮา แต่ที่เห็นชัดเจนมากขึ้นเรื่อยๆ คือ ความขัดแย้งระหว่างกลุ่มประเทศรวย กับ กลุ่มประเทศยากจน กำลังจะกลายเป็นตัวแปรกำหนดระบบการค้าโลกในอนาคต
เช่นเดียวกับระบบการเงินโลก มีคำถามสำคัญในเรื่องเสถียรภาพของระบบ แม้ว่าตะวันตกจะยังครอบงำระบบการเงินโลกในปัจจุบันอยู่ แต่ในอนาคต มหาอำนาจใหม่และประเทศยากจนจะพยายามเข้ามามีบทบาทมากขึ้นเรื่อยๆ
ดังนั้น ในอนาคต ความขัดแย้งเหนือ-ใต้ หรือความขัดแย้งระหว่างประเทศรวยกับประเทศจน จะเป็นความขัดแย้งหลักในระบบเศรษฐกิจโลก ซึ่งจะเป็นโจทย์ใหญ่สำหรับยุทธศาสตร์เศรษฐกิจโลกของไทยว่า เราจะมียุทธศาสตร์ในการรองรับระบบเศรษฐกิจโลกในอนาคตอย่างไร
• ระดับภูมิภาค
สำหรับสภาวะแวดล้อมทางด้านเศรษฐกิจในเอเชียนั้น
ประเด็นแรกที่สำคัญในอนาคต คือ แนวโน้มการผงาดขึ้นมาของเอเชีย หรือ The Rise of Asia ซึ่งจะทำให้มีการย้ายฐานอำนาจทางเศรษฐกิจโลกจากตะวันตกมาตะวันออก
และในอนาคต สถาปัตยกรรมทางเศรษฐกิจในภูมิภาค จะเป็นแนวโน้มสำคัญ โดยการจัดตั้งประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนในปี 2015 จะทำให้อาเซียนมีบทบาทมากขึ้นในระบบเศรษฐกิจของภูมิภาค การผงาดขึ้นมาของอาเซียน จะทำให้อาเซียนสามารถเป็นแกนกลางของสถาปัตยกรรมทางเศรษฐกิจของภูมิภาค โดยเฉพาะการขยายวงออกไปเป็น อาเซียน+3 ซึ่งจะพัฒนาไปเป็นประชาคมเอเชียตะวันออก และกรอบใหญ่ที่มีชื่อว่า East Asia Summit หรือ EAS
อย่างไรก็ตาม อาเซียนจะประสบกับเวทีเศรษฐกิจอื่นๆ ที่จะเป็นคู่แข่งของอาเซียนในอนาคต โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เอเปค นอกจากนั้น มหาอำนาจเศรษฐกิจจะพยายามคงบทบาทของตนไว้ โดยเฉพาะสหรัฐฯ ซึ่งขณะนี้มีแผนที่จะจัดตั้ง FTA ที่มีชื่อว่า Trans-Pacific Partnership หรือ TPP ขึ้นมาเพื่อแข่งกับ FTA ของอาเซียน และยังมีมหาอำนาจเศรษฐกิจใหม่ เช่น จีน อินเดีย รวมถึงมหาอำนาจเศรษฐกิจเก่า เช่น ญี่ปุ่น จะยังคงมีบทบาทที่โดดเด่นแข่งกับบทบาทของอาเซียนในอนาคต
ดังนั้น ในภูมิภาค ในอนาคต จะมีระบบเศรษฐกิจในลักษณะเป็นลูกผสม คือ มีลักษณะเป็นระบบหลายขั้วอำนาจ ที่มีมหาอำนาจทางเศรษฐกิจเป็นตัวแสดงหลัก แต่ในขณะเดียวกัน การผงาดขึ้นมาของอาเซียน จะทำให้ระบบมีลักษณะพหุภาคีนิยมเพิ่มขึ้นมาด้วย
ระบบเศรษฐกิจในภูมิภาคในอนาคต จึงเป็นโจทย์ใหญ่สำหรับไทย ที่จะต้องวิเคราะห์ถึงภัยและโอกาส รวมถึงกำหนดยุทธศาสตร์ในการรองรับระบบในอนาคต
• ระดับทวิภาคี
สุดท้าย ผมจะวิเคราะห์สภาวะแวดล้อมทางเศรษฐกิจในระดับทวิภาคีของไทย ซึ่งสามารถแยกออกมาเป็น 3 มิติ ดังนี้
มิติแรก เป็นความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจทวิภาคีกับประเทศเพื่อนบ้าน ซึ่งยังคงมีความไม่แน่นอน เพราะหากในอนาคต ความสัมพันธ์ในภาพรวมไม่ดี จะส่งผลกระทบต่อความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจด้วย
ส่วนมิติที่ 2 คือ ความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจกับมหาอำนาจ ซึ่งไม่น่าเป็นห่วง เพราะแนวโน้มความสัมพันธ์ในภาพรวมระหว่างไทยกับมหาอำนาจ น่าจะดี ไทยคงจะเดินหน้ากระชับความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจ โดยเฉพาะกับ จีน ญี่ปุ่น อินเดีย และสหรัฐฯต่อไป
ส่วนในมิติที่ 3 คือ ความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจกับมหาอำนาจใหม่ และภูมิภาคอื่นๆ ในอนาคต จะมีการผงาดขึ้นมาของมหาอำนาจทางเศรษฐกิจใหม่ๆในหลายภูมิภาค อาทิ เม็กซิโก บราซิล อาร์เจนตินา ตุรกี อียิปต์ อัฟริกาใต้ เกาหลีใต้ และออสเตรเลีย เป็นต้น ดังนั้น ไทยจะต้องมียุทธศาสตร์ที่จะปฏิสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจกับมหาอำนาจใหม่ๆเหล่านี้ด้วย
กล่าวโดยสรุป จากที่ผมวิเคราะห์มาทั้งหมด จะเห็นได้ว่า สภาวะแวดล้อมระหว่างประเทศในอนาคต จะมีความยุ่งยากซับซ้อน และมีความไม่แน่นอนสูง ไทยจะต้องทำการบ้านหนัก ในการวิเคราะห์ผลกระทบทั้งในเชิงบวกและในเชิงลบ และกำหนดยุทธศาสตร์เพื่อรองรับต่อสภาวะแวดล้อมในอนาคต ที่จะเปลี่ยนแปลงไปอย่างมากและอย่างรวดเร็ว
วันจันทร์ที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2554
การผงาดขึ้นมาของจีน (ตอนจบ)
การผงาดขึ้นมาของจีน (ตอนจบ)
ตีพิมพ์ใน สยามรัฐสัปดาหวิจารณ์ ฉบับวันศุกร์ที่ 1 – วันพฤหัสบดีที่ 7 กรกฎาคม 2554
การผงาดขึ้นมาของจีน หรือ The Rise of China กำลังเป็นเรื่องที่มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อโลกในปัจจุบันและในอนาคต คอลัมน์โลกทรรศน์ตอนที่แล้ว ผมได้วิเคราะห์การผงาดขึ้นมาของจีน โดยได้วิเคราะห์พลังอำนาจแห่งชาติ ผลกระทบ เป้าหมายและพฤติกรรมของจีน ไปแล้ว สำหรับตอนนี้ จะเป็นตอนจบ โดยจะวิเคราะห์จุดอ่อนของจีน
• จุดอ่อนของจีน
สำหรับคำถามที่ว่า ในอนาคต จีนจะครองโลกหรือครอบงำโลกได้หรือไม่ และจีนจะมาแทนที่สหรัฐฯในการเป็นอภิมหาอำนาจอันดับ 1 ได้หรือไม่ ในการตอบคำถามนี้ ผมมองว่า แม้ว่าในอนาคต จีนจะมีพลังอำนาจมากขึ้นอย่างมาก โดยเฉพาะทางด้านเศรษฐกิจ แต่จีนยังไม่น่าจะมีคุณสมบัติที่จะครองโลกหรือครอบงำโลกได้ และจีนยังไม่น่าจะมาแทนที่สหรัฐฯได้ ในฐานะมหาอำนาจอันดับ 1 ของโลก ทั้งนี้ เพราะจีนมีจุดอ่อนอยู่หลายเรื่องด้วยกัน ดังนี้
- ทางด้านเศรษฐกิจ
ในอนาคต ยังมีความไม่แน่นอนอยู่หลายเรื่อง ที่อาจจะทำให้การเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของจีนสะดุดหรือชะลอตัวลง ซึ่งจะมีผลกระทบอย่างมาก ต่อการผงาดขึ้นมาของจีนทางด้านเศรษฐกิจ ปัจจัยที่อาจทำให้เศรษฐกิจของจีนชะลอตัว อาทิ
อัตราการเพิ่มของประชากรลดลงอยู่ที่ 1.75% จะทำให้ในอนาคต ประชากรของจีนจะหดตัว และจะทำให้ในอนาคต จีนจะมีประชากรที่มีอายุมากเพิ่มขึ้น ซึ่งจะกระทบต่อแรงงานในระบบเศรษฐกิจ
นอกจากนี้ ถึงแม้ว่า ในอนาคต จีนจะมีขนาดเศรษฐกิจใหญ่ที่สดในโลก แต่ไม่ได้หมายความว่า จีนจะเป็นผู้นำเศรษฐกิจโลก เพราะระเบียบเศรษฐกิจโลกยังคงอยู่ภายใต้ฉันทามติวอชิงตัน ซึ่งเน้นทุนนิยม กลไกตลาด การค้าเสรี และการเปิดเสรีในทุกรูปแบบ แต่เศรษฐกิจของจีนสวนทางกับฉันทามติวอชิงตัน เศรษฐกิจของจีนยังเป็นเศรษฐกิจปิด อันดับของจีนในเรื่องเสรีภาพทางเศรษฐกิจอยู่ในอันดับที่ 140 ของโลก จีนมีปัญหาทั้งเรื่องค่าเงินที่ต่ำกว่าความเป็นจริง การเปิดเสรีทางการเงิน นโยบายเศรษฐกิจที่ถูกควบคุมโดยรัฐ ไม่ใช่กลไกตลาด ซึ่งเป็นข้อจำกัดที่จีนจะผงาดขึ้นมาเป็นผู้นำเศรษฐกิจโลก โดยการเป็นผู้นำตามฉันทามติวอชิงตัน คือ การเป็นผู้นำในการเปิดเสรีทางเศรษฐกิจ
นอกจากนี้ การที่เศรษฐกิจของจีนใหญ่ที่สุดในโลก เพราะจีนมีประชากรถึง 1,300 ล้านคน ซึ่งถ้าหารออกมาเป็น GDP ต่อหัวแล้ว จีนจะยังคงตามห่างสหรัฐฯและตะวันตกอยู่อย่างมาก หมายความว่า ในอนาคต คุณภาพชีวิตของคนจีนจะยังสู้ตะวันตกไม่ได้
และการที่จีนมีระบอบเผด็จการ มีผลกระทบต่อการเป็นผู้นำเศรษฐกิจโลกของจีน เพราะจีนไม่สามารถเปิดกว้างในเรื่องเสรีภาพของการสื่อสารได้ ดังนั้น จีนจึงมีปัญหากับ Google และจีนก็ปิดกั้นการใช้ internet อย่างเข้มงวดมาก ซึ่งชี้ให้เห็นว่า จีนไม่ทันกับโลกอนาคต ที่เป็นยุคข้อมูลข่าวสารไร้พรมแดน จีนจึงไม่สามารถเป็นผู้นำเศรษฐกิจโลกได้ ในอนาคต จะเป็นยุคข้อมูลข่าวสารไร้พรมแดน แต่จีนกลับกำลังทำสงครามกับโลกาภิวัฒน์ทางด้านข้อมูลและเทคโนโลยี
- ด้านการทหาร
จุดอ่อนของจีนอีกประการ คือ อำนาจทางทหาร ถึงแม้จีนจะมีความพยายามอย่างมากในการทุ่มงบประมาณทางทหาร แต่ก็ยังห่างจากสหรัฐฯหลายช่วงตัว ตัวเลขปัจจุบัน งบประมาณทหารของจีนอยู่ที่ 45,000-70,000 ล้านเหรียญต่อปี ในขณะที่งบทหารของสหรัฐฯสูงถึง 700,000 ล้านเหรียญ จีนคงต้องใช้เวลาอีกนานในการไล่ตามสหรัฐฯ
แต่ที่สำคัญกว่างบประมาณทางทหาร คือ การผงาดขึ้นมาเป็นผู้นำทางทหารของโลกจะต้องได้รับความเชื่อใจ และประเทศต่างๆจะต้องยอมเป็นพันธมิตรทางทหารด้วยความเต็มใจ ซึ่งแนวโน้ม คือ จีนยังขาดตรงนี้อยู่มาก ในขณะที่สหรัฐฯได้รับการยอมรับ และมีพันธมิตรทางทหารอยู่ทั่วโลก และจะยังคงเป็นอย่างนี้อยู่อีกยาวนาน ในทางกลับกัน ท่าทีที่แข็งกร้าวทางทหารของจีนที่ผ่านมา ได้ทำให้ประเทศเพื่อนบ้านหวาดระแวงจีนมากขึ้นเรื่อยๆ และการข่มขู่ประเทศเพื่อนบ้านด้วยกำลังทางทหาร จะทำให้จีนไม่สามารถผงาดขึ้นมาเป็นผู้นำทางทหารในภูมิภาคและในโลกได้ จีนคงจะประสบความยากลำบากอย่างยิ่ง ที่จะสร้างพันธมิตรทางทหารเหมือนกับที่สหรัฐฯมีกับประเทศต่างๆทั่วโลก
ในช่วงที่ผ่านมา จีนพยายามอย่างยิ่งในความพยายามที่จะขายไอเดียเรื่อง การผงาดขึ้นมาอย่างสันติ แต่จากท่าทีที่แข็งกร้าวทางทหารของจีน โดยเฉพาะในช่วงปีที่แล้วและในปีนี้ ได้ทำลายภาพลักษณ์ของจีน โดยเฉพาะสโลแกน การผงาดขึ้นมาอย่างสันติ ได้รับผลกระทบอย่างมาก พฤติกรรมของจีน ทำให้ประเทศเพื่อนบ้านหวั่นวิตก และนำไปสู่การปรับนโยบายใหม่ต่อจีน ญี่ปุ่นได้ประกาศว่า จีนจะกลายเป็นภัยคุกคามที่สำคัญ สหรัฐฯมีแนวโน้มเพิ่มบทบาททางทหารในภูมิภาคเพิ่มมากขึ้น เพื่อปิดล้อมจีน ประเทศต่างๆในภูมิภาค ก็มีแนวโน้มใกล้ชิดกับสหรัฐฯมากขึ้น เพื่อที่จะให้สหรัฐฯมาถ่วงดุลทางทหารกับจีน และเพื่อเป็นหลักประกันความมั่นคงจากภัยคุกคามจากจีนในอนาคต
- ด้านวัฒนธรรม
ผมมองว่า จุดอ่อนที่สุดของจีน ที่จะทำให้จีนไม่สามารถผงาดขึ้นมาเป็นผู้นำโลกได้ เหมือนกับที่สหรัฐฯเป็น คือ จุดอ่อนทางด้านวัฒนธรรมของจีน หรือที่เรียกว่า soft power ซึ่งก็คือ อำนาจทางวัฒนธรรมที่ต่างจาก hard power ที่เป็นอำนาจทางทหาร คือ อำนาจที่ไปบังคับให้คนอื่นเขาทำตามเราโดยที่เขาไม่เต็มใจ แต่ soft power เป็นอำนาจที่เราอยู่เฉยๆ แต่คนอื่นยอมทำตามเรา และยอมให้เราเป็นผู้นำด้วยความเต็มใจ ไม่ได้เป็นการบังคับ เพราะชื่นชมในตัวเรา มองในแง่นี้ จีนยังขาด soft power อยู่อีกมาก
สหรัฐฯนั้น มี soft power อย่างครบเครื่อง โดยออกมาในรูปแบบของวัฒนธรรมอเมริกัน ที่ได้รับการยอมรับและชื่นชมไปทั่วโลก อาทิ รายการทีวี หนังฮอลลีวูด เพลง แฟชั่นการแต่งกาย วิถีชีวิตแบบอเมริกัน วัฒนธรรมการกินแบบอเมริกัน ภาษาอังกฤษ การครอบงำ internet การเป็นศูนย์กลางองค์ความรู้และการศึกษาของโลก ทุนนิยมอเมริกัน คือ ตัวแบบระบบเศรษฐกิจทุนนิยมที่ทั่วโลกเลียนแบบ (ฉันทามติวอชิงตัน) หลักการบริหารจัดการทางธุรกิจของอเมริกัน ก็เป็นตัวแบบการทำธุรกิจของทั่วโลก สุดท้าย คือ ระบบการเมืองประชาธิปไตยแบบอเมริกัน ก็เป็นตัวแบบที่ได้รับการยอมรับไปทั่วโลก
ในทางกลับกัน เปรียบเทียบกับสหรัฐฯ จีนไม่สามารถที่จะแข่งกับอเมริกาได้เลย ในมิติทางด้านวัฒนธรรม ไม่ว่าจะเป็นรายการทีวี ภาพยนตร์ เพลง แฟชั่น วิถีชีวิต ภาษาจีนก็ไม่สามารถแข่งกับภาษาอังกฤษได้ จีนไม่สามารถแข่งกับอเมริกาได้ในโลก internet สถาบันการศึกษาจีนก็ไม่สามารถแข่งกับมหาวิทยาลัยชั้นนำของอเมริกาได้ เช่นเดียวกับตัวแบบเศรษฐกิจ และการบริหารธุรกิจ จีนก็ไม่สามารถท้าทายตัวแบบอเมริกันได้เลย
สุดท้าย ซึ่งถือว่าเป็นจุดอ่อนที่สุดของจีน คือ ระบบการเมือง จีนยังมีระบบเผด็จการโดยพรรคคอมมิวนิสต์ ซึ่งถือเป็นแกะดำในสังคมโลก ประเทศต่างๆเกือบทั่วโลก ในขณะนี้ ระบบการเมืองก็ได้เปลี่ยนเป็นระบอบประชาธิปไตยไปเกือบหมดแล้ว แต่จีนยังมีระบบการเมืองที่ล้าหลัง
ทั้งหมดนี้คือ จุดอ่อนทางด้าน soft power ของจีน ซึ่งเป็นอุปสรรคสำคัญที่จะทำให้จีนผงาดขึ้นมาเป็นผู้นำโลกในอนาคตได้
ผมยังมองด้วยว่า มีความเป็นไปได้ว่า ในอนาคต จีนจะไม่สามารถแข่งกับอเมริกาได้ เพราะในที่สุด วัฒนธรรมอเมริกันก็จะแทรกซึมเข้าสู่ประเทศจีน ซึ่งขณะนี้ก็กำลังเกิดขึ้นแล้ว คนจีนรุ่นใหม่นิยมดูหนังฮอลลีวูด ฟังเพลงอเมริกัน ใส่กางเกงยีนส์และเสื้อยืด กินแมคโดนัลด์และสตาร์บัคส์ และนิยมไปศึกษาต่อในระดับปริญญาโทและเอกที่อเมริกา ดังนั้น ในที่สุดแล้ว จีนจะไม่สามารถท้าทายสหรัฐฯได้ และอาจจะแพ้สหรัฐฯ ตรงที่จีนมีจุดอ่อนมากที่สุด ก็คือ ด้านวัฒนธรรมนี่เอง
ตีพิมพ์ใน สยามรัฐสัปดาหวิจารณ์ ฉบับวันศุกร์ที่ 1 – วันพฤหัสบดีที่ 7 กรกฎาคม 2554
การผงาดขึ้นมาของจีน หรือ The Rise of China กำลังเป็นเรื่องที่มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อโลกในปัจจุบันและในอนาคต คอลัมน์โลกทรรศน์ตอนที่แล้ว ผมได้วิเคราะห์การผงาดขึ้นมาของจีน โดยได้วิเคราะห์พลังอำนาจแห่งชาติ ผลกระทบ เป้าหมายและพฤติกรรมของจีน ไปแล้ว สำหรับตอนนี้ จะเป็นตอนจบ โดยจะวิเคราะห์จุดอ่อนของจีน
• จุดอ่อนของจีน
สำหรับคำถามที่ว่า ในอนาคต จีนจะครองโลกหรือครอบงำโลกได้หรือไม่ และจีนจะมาแทนที่สหรัฐฯในการเป็นอภิมหาอำนาจอันดับ 1 ได้หรือไม่ ในการตอบคำถามนี้ ผมมองว่า แม้ว่าในอนาคต จีนจะมีพลังอำนาจมากขึ้นอย่างมาก โดยเฉพาะทางด้านเศรษฐกิจ แต่จีนยังไม่น่าจะมีคุณสมบัติที่จะครองโลกหรือครอบงำโลกได้ และจีนยังไม่น่าจะมาแทนที่สหรัฐฯได้ ในฐานะมหาอำนาจอันดับ 1 ของโลก ทั้งนี้ เพราะจีนมีจุดอ่อนอยู่หลายเรื่องด้วยกัน ดังนี้
- ทางด้านเศรษฐกิจ
ในอนาคต ยังมีความไม่แน่นอนอยู่หลายเรื่อง ที่อาจจะทำให้การเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของจีนสะดุดหรือชะลอตัวลง ซึ่งจะมีผลกระทบอย่างมาก ต่อการผงาดขึ้นมาของจีนทางด้านเศรษฐกิจ ปัจจัยที่อาจทำให้เศรษฐกิจของจีนชะลอตัว อาทิ
อัตราการเพิ่มของประชากรลดลงอยู่ที่ 1.75% จะทำให้ในอนาคต ประชากรของจีนจะหดตัว และจะทำให้ในอนาคต จีนจะมีประชากรที่มีอายุมากเพิ่มขึ้น ซึ่งจะกระทบต่อแรงงานในระบบเศรษฐกิจ
นอกจากนี้ ถึงแม้ว่า ในอนาคต จีนจะมีขนาดเศรษฐกิจใหญ่ที่สดในโลก แต่ไม่ได้หมายความว่า จีนจะเป็นผู้นำเศรษฐกิจโลก เพราะระเบียบเศรษฐกิจโลกยังคงอยู่ภายใต้ฉันทามติวอชิงตัน ซึ่งเน้นทุนนิยม กลไกตลาด การค้าเสรี และการเปิดเสรีในทุกรูปแบบ แต่เศรษฐกิจของจีนสวนทางกับฉันทามติวอชิงตัน เศรษฐกิจของจีนยังเป็นเศรษฐกิจปิด อันดับของจีนในเรื่องเสรีภาพทางเศรษฐกิจอยู่ในอันดับที่ 140 ของโลก จีนมีปัญหาทั้งเรื่องค่าเงินที่ต่ำกว่าความเป็นจริง การเปิดเสรีทางการเงิน นโยบายเศรษฐกิจที่ถูกควบคุมโดยรัฐ ไม่ใช่กลไกตลาด ซึ่งเป็นข้อจำกัดที่จีนจะผงาดขึ้นมาเป็นผู้นำเศรษฐกิจโลก โดยการเป็นผู้นำตามฉันทามติวอชิงตัน คือ การเป็นผู้นำในการเปิดเสรีทางเศรษฐกิจ
นอกจากนี้ การที่เศรษฐกิจของจีนใหญ่ที่สุดในโลก เพราะจีนมีประชากรถึง 1,300 ล้านคน ซึ่งถ้าหารออกมาเป็น GDP ต่อหัวแล้ว จีนจะยังคงตามห่างสหรัฐฯและตะวันตกอยู่อย่างมาก หมายความว่า ในอนาคต คุณภาพชีวิตของคนจีนจะยังสู้ตะวันตกไม่ได้
และการที่จีนมีระบอบเผด็จการ มีผลกระทบต่อการเป็นผู้นำเศรษฐกิจโลกของจีน เพราะจีนไม่สามารถเปิดกว้างในเรื่องเสรีภาพของการสื่อสารได้ ดังนั้น จีนจึงมีปัญหากับ Google และจีนก็ปิดกั้นการใช้ internet อย่างเข้มงวดมาก ซึ่งชี้ให้เห็นว่า จีนไม่ทันกับโลกอนาคต ที่เป็นยุคข้อมูลข่าวสารไร้พรมแดน จีนจึงไม่สามารถเป็นผู้นำเศรษฐกิจโลกได้ ในอนาคต จะเป็นยุคข้อมูลข่าวสารไร้พรมแดน แต่จีนกลับกำลังทำสงครามกับโลกาภิวัฒน์ทางด้านข้อมูลและเทคโนโลยี
- ด้านการทหาร
จุดอ่อนของจีนอีกประการ คือ อำนาจทางทหาร ถึงแม้จีนจะมีความพยายามอย่างมากในการทุ่มงบประมาณทางทหาร แต่ก็ยังห่างจากสหรัฐฯหลายช่วงตัว ตัวเลขปัจจุบัน งบประมาณทหารของจีนอยู่ที่ 45,000-70,000 ล้านเหรียญต่อปี ในขณะที่งบทหารของสหรัฐฯสูงถึง 700,000 ล้านเหรียญ จีนคงต้องใช้เวลาอีกนานในการไล่ตามสหรัฐฯ
แต่ที่สำคัญกว่างบประมาณทางทหาร คือ การผงาดขึ้นมาเป็นผู้นำทางทหารของโลกจะต้องได้รับความเชื่อใจ และประเทศต่างๆจะต้องยอมเป็นพันธมิตรทางทหารด้วยความเต็มใจ ซึ่งแนวโน้ม คือ จีนยังขาดตรงนี้อยู่มาก ในขณะที่สหรัฐฯได้รับการยอมรับ และมีพันธมิตรทางทหารอยู่ทั่วโลก และจะยังคงเป็นอย่างนี้อยู่อีกยาวนาน ในทางกลับกัน ท่าทีที่แข็งกร้าวทางทหารของจีนที่ผ่านมา ได้ทำให้ประเทศเพื่อนบ้านหวาดระแวงจีนมากขึ้นเรื่อยๆ และการข่มขู่ประเทศเพื่อนบ้านด้วยกำลังทางทหาร จะทำให้จีนไม่สามารถผงาดขึ้นมาเป็นผู้นำทางทหารในภูมิภาคและในโลกได้ จีนคงจะประสบความยากลำบากอย่างยิ่ง ที่จะสร้างพันธมิตรทางทหารเหมือนกับที่สหรัฐฯมีกับประเทศต่างๆทั่วโลก
ในช่วงที่ผ่านมา จีนพยายามอย่างยิ่งในความพยายามที่จะขายไอเดียเรื่อง การผงาดขึ้นมาอย่างสันติ แต่จากท่าทีที่แข็งกร้าวทางทหารของจีน โดยเฉพาะในช่วงปีที่แล้วและในปีนี้ ได้ทำลายภาพลักษณ์ของจีน โดยเฉพาะสโลแกน การผงาดขึ้นมาอย่างสันติ ได้รับผลกระทบอย่างมาก พฤติกรรมของจีน ทำให้ประเทศเพื่อนบ้านหวั่นวิตก และนำไปสู่การปรับนโยบายใหม่ต่อจีน ญี่ปุ่นได้ประกาศว่า จีนจะกลายเป็นภัยคุกคามที่สำคัญ สหรัฐฯมีแนวโน้มเพิ่มบทบาททางทหารในภูมิภาคเพิ่มมากขึ้น เพื่อปิดล้อมจีน ประเทศต่างๆในภูมิภาค ก็มีแนวโน้มใกล้ชิดกับสหรัฐฯมากขึ้น เพื่อที่จะให้สหรัฐฯมาถ่วงดุลทางทหารกับจีน และเพื่อเป็นหลักประกันความมั่นคงจากภัยคุกคามจากจีนในอนาคต
- ด้านวัฒนธรรม
ผมมองว่า จุดอ่อนที่สุดของจีน ที่จะทำให้จีนไม่สามารถผงาดขึ้นมาเป็นผู้นำโลกได้ เหมือนกับที่สหรัฐฯเป็น คือ จุดอ่อนทางด้านวัฒนธรรมของจีน หรือที่เรียกว่า soft power ซึ่งก็คือ อำนาจทางวัฒนธรรมที่ต่างจาก hard power ที่เป็นอำนาจทางทหาร คือ อำนาจที่ไปบังคับให้คนอื่นเขาทำตามเราโดยที่เขาไม่เต็มใจ แต่ soft power เป็นอำนาจที่เราอยู่เฉยๆ แต่คนอื่นยอมทำตามเรา และยอมให้เราเป็นผู้นำด้วยความเต็มใจ ไม่ได้เป็นการบังคับ เพราะชื่นชมในตัวเรา มองในแง่นี้ จีนยังขาด soft power อยู่อีกมาก
สหรัฐฯนั้น มี soft power อย่างครบเครื่อง โดยออกมาในรูปแบบของวัฒนธรรมอเมริกัน ที่ได้รับการยอมรับและชื่นชมไปทั่วโลก อาทิ รายการทีวี หนังฮอลลีวูด เพลง แฟชั่นการแต่งกาย วิถีชีวิตแบบอเมริกัน วัฒนธรรมการกินแบบอเมริกัน ภาษาอังกฤษ การครอบงำ internet การเป็นศูนย์กลางองค์ความรู้และการศึกษาของโลก ทุนนิยมอเมริกัน คือ ตัวแบบระบบเศรษฐกิจทุนนิยมที่ทั่วโลกเลียนแบบ (ฉันทามติวอชิงตัน) หลักการบริหารจัดการทางธุรกิจของอเมริกัน ก็เป็นตัวแบบการทำธุรกิจของทั่วโลก สุดท้าย คือ ระบบการเมืองประชาธิปไตยแบบอเมริกัน ก็เป็นตัวแบบที่ได้รับการยอมรับไปทั่วโลก
ในทางกลับกัน เปรียบเทียบกับสหรัฐฯ จีนไม่สามารถที่จะแข่งกับอเมริกาได้เลย ในมิติทางด้านวัฒนธรรม ไม่ว่าจะเป็นรายการทีวี ภาพยนตร์ เพลง แฟชั่น วิถีชีวิต ภาษาจีนก็ไม่สามารถแข่งกับภาษาอังกฤษได้ จีนไม่สามารถแข่งกับอเมริกาได้ในโลก internet สถาบันการศึกษาจีนก็ไม่สามารถแข่งกับมหาวิทยาลัยชั้นนำของอเมริกาได้ เช่นเดียวกับตัวแบบเศรษฐกิจ และการบริหารธุรกิจ จีนก็ไม่สามารถท้าทายตัวแบบอเมริกันได้เลย
สุดท้าย ซึ่งถือว่าเป็นจุดอ่อนที่สุดของจีน คือ ระบบการเมือง จีนยังมีระบบเผด็จการโดยพรรคคอมมิวนิสต์ ซึ่งถือเป็นแกะดำในสังคมโลก ประเทศต่างๆเกือบทั่วโลก ในขณะนี้ ระบบการเมืองก็ได้เปลี่ยนเป็นระบอบประชาธิปไตยไปเกือบหมดแล้ว แต่จีนยังมีระบบการเมืองที่ล้าหลัง
ทั้งหมดนี้คือ จุดอ่อนทางด้าน soft power ของจีน ซึ่งเป็นอุปสรรคสำคัญที่จะทำให้จีนผงาดขึ้นมาเป็นผู้นำโลกในอนาคตได้
ผมยังมองด้วยว่า มีความเป็นไปได้ว่า ในอนาคต จีนจะไม่สามารถแข่งกับอเมริกาได้ เพราะในที่สุด วัฒนธรรมอเมริกันก็จะแทรกซึมเข้าสู่ประเทศจีน ซึ่งขณะนี้ก็กำลังเกิดขึ้นแล้ว คนจีนรุ่นใหม่นิยมดูหนังฮอลลีวูด ฟังเพลงอเมริกัน ใส่กางเกงยีนส์และเสื้อยืด กินแมคโดนัลด์และสตาร์บัคส์ และนิยมไปศึกษาต่อในระดับปริญญาโทและเอกที่อเมริกา ดังนั้น ในที่สุดแล้ว จีนจะไม่สามารถท้าทายสหรัฐฯได้ และอาจจะแพ้สหรัฐฯ ตรงที่จีนมีจุดอ่อนมากที่สุด ก็คือ ด้านวัฒนธรรมนี่เอง
การผงาดขึ้นมาของจีน (ตอนที่ 1)
การผงาดขึ้นมาของจีน (ตอนที่ 1)
ตีพิมพ์ใน สยามรัฐสัปดาหวิจารณ์ ฉบับวันศุกร์ที่ 24 – วันพฤหัสบดีที่ 30 มิถุนายน 2554
การผงาดขึ้นมาของจีน หรือ The Rise of China กำลังเป็นเรื่องที่มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อโลกในปัจจุบันและในอนาคต คอลัมน์โลกทรรศน์ในตอนนี้และตอนหน้า จะวิเคราะห์การผงาดขึ้นมาของจีน โดยในตอนที่ 1 จะวิเคราะห์พลังอำนาจแห่งชาติ ผลกระทบ เป้าหมายและพฤติกรรมของจีน และตอนหน้าจะวิเคราะห์ในส่วนสุดท้าย คือ การวิเคราะห์จุดอ่อนของจีน
พลังอำนาจแห่งชาติ
• อำนาจทางเศรษฐกิจ
จุดเด่นที่สุดของการผงาดขึ้นมาของจีน คือ ทางด้านเศรษฐกิจ โดยเศรษฐกิจของจีนได้ขยายตัวอย่างรวดเร็ว ในปัจจุบัน จีนได้ขยับขึ้นมาเป็นประเทศที่มีขนาดเศรษฐกิจเป็นอันดับ 2 รองจากสหรัฐฯ โดยที่อัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของจีนสูงมาก คือ เกินกว่า 10% ทุกปี ดังนั้น หากจีนสามารถรักษาอัตรานี้ต่อไปได้ ภายในประมาณปี 2025 เศรษฐกิจของจีนน่าจะใหญ่เท่ากับเศรษฐกิจของสหรัฐฯ
ตัวเลขและสถิติต่างๆทางด้านเศรษฐกิจ มีแนวโน้มว่า จีนจะขยับขึ้นมาเป็นอันดับ 1 ของโลก แซงหน้าสหรัฐฯไปในหลายๆเรื่อง ตัวอย่างเช่น
- ขณะนี้ จีนเป็นประเทศที่มีการบริโภคมากที่สุดในโลก แซงหน้าสหรัฐฯ
- จีนมีเงินทุนสำรองมากที่สุดในโลก ประมาณ 2 ล้านล้านเหรียญ
- ในด้านการลงทุน จีนเป็นประเทศที่มีเม็ดเงินการลงทุนจากต่างชาติมากที่สุด
- จีนมีเงินเกินดุลบัญชีเดินสะพัดมากที่สุดในโลก ประมาณ 240,000 ล้านเหรียญ
- จีนเป็นประเทศที่มีคนใช้ internet มากที่สุดในโลก ประมาณ 200 ล้านคน
- จีนเป็นตลาดอันดับ 1 ของสินค้าอุปโภคบริโภคต่างๆ มากมาย
- จีนมีแนวโน้มออกไปลงทุนในต่างประเทศมากขึ้นเรื่อยๆ
- จีนเป็นประเทศที่มีการบริโภคพลังงานมากที่สุดในโลก และขณะนี้ จีนมีนโยบายในเชิงรุกเป็นอย่างมากในการลงทุนแสวงหาแหล่งพลังงานจากทั่วโลก
- ทางด้านเทคโนโลยี จีนไล่ตามสหรัฐฯมาติดๆ โดยเฉพาะเรื่อง R & D ในอนาคต จีนจะไล่ทันอเมริกาในเทคโนโลยีหลายด้าน โดยเฉพาะในด้านไฮเทค
นอกจากนี้ ในปีนี้ จีนได้เปิดเผยแผนพัฒนาเศรษฐกิจ 5 ปี ข้างหน้า โดยจะเน้นการพัฒนาอุตสาหกรรมยุทธศาสตร์ 7 สาขา ซึ่งจีนต้องการเป็นผู้นำโลก อาทิ สาขาพลังงานทางเลือก เทคโนโลยีชีวภาพ เทคโนโลยีสารสนเทศ รถยนต์พลังงานทางเลือก และเทคโนโลยีพลังงานใหม่ เป็นต้น โดยรัฐบาลจีน ตั้งงบประมาณไว้ถึง 1.5 ล้านล้านเหรียญ ที่จะสนับสนุนอุตสาหกรรมเหล่านี้ โดยตั้งเป้าในปี 2020 อุตสาหกรรมเหล่านี้จะมีสัดส่วนคิดเป็น 15% ของ GDP ของจีน ในปี 2020 จีนจะมีขนาดเศรษฐกิจมูลค่าถึง 25 ล้านล้านเหรียญ โดยสัดส่วนของอุตสาหกรรมใหม่จะมีมูลค่า 3.75 ล้านล้านเหรียญ ซึ่งจะมีสัดส่วนเท่ากับ GDP ของประเทศเยอรมนีทีเดียว นอกจากนี้ จีนยังตั้งเป้าจะผลิตรถยนต์ถึงปีละ 40 ล้านคัน
• อำนาจทางทหาร
จุดแข็งที่สุดของจีน คือ อำนาจทางเศรษฐกิจ ซึ่งจะมีผลทำให้อำนาจทางทหารของจีนเพิ่มมากขึ้นด้วย โดยจีนได้ทุ่มงบประมาณทางทหารเพิ่มมากขึ้นทุกปี และได้เสริมสร้างสมรรถนะภาพทางทหารในทุกๆด้าน ถึงแม้ว่า เม็ดเงินงบทหารของจีนจะยังคงน้อยกว่าสหรัฐฯอยู่มาก แต่แนวโน้ม คือ จีนได้เพิ่มงบทหารเกือบ 20% ทุกปี ซึ่งจะทำให้ในอนาคต งบประมาณทางทหารของจีนจะขยับเข้าใกล้สหรัฐฯมากขึ้นทุกที ผลที่เด่นชัด คือ การผงาดขึ้นมาเป็นมหาอำนาจทางทหารในเอเชียตะวันออกของจีน แม้จีนจะยังไม่สามารถแข่งกับสหรัฐในระดับโลกได้ แต่ในภูมิภาคเอเชียตะวันออก อีกไม่นาน จีนจะท้าทายอำนาจทางทหารของสหรัฐฯได้
• อำนาจทางวัฒนธรรม
ผมมองว่า ถึงแม้จีนจะแข่งกับสหรัฐฯทางด้านวัฒนธรรมด้วย แต่ยังถือเป็นจุดอ่อนของจีน จีนพยายามแข่งกับสหรัฐฯในการเสนอตัวแบบการพัฒนาเศรษฐกิจแบบจีน ที่เรียกว่า ฉันทามติปักกิ่ง แข่งกับ ฉันทามติวอชิงตัน แต่โดยรวมแล้ว จีนยังไม่สามารถแข่งกับสหรัฐฯได้ ซึ่งผมจะวิเคราะห์ต่อในตอนหน้า ผมขอย้ำว่า อำนาจทางวัฒนธรรมถือเป็นจุดอ่อนที่สำคัญที่สุดของจีน
ผลกระทบ
ดังนั้น จากข้อมูลข้างต้น จะเห็นได้ว่า การผงาดขึ้นมาของจีนนั้น มาแรงมาก โดยเฉพาะทางด้านเศรษฐกิจ ในอนาคต จีนคงจะมีขนาดเศรษฐกิจใหญ่ที่สุดในโลก คำถามสำคัญ คือ การผงาดขึ้นมาของจีน จะส่งผลกระทบอย่างไรต่อโลก เป้าหมายที่แท้จริงของจีนคืออะไร จีนต้องการจะครองโลกหรือไม่ ระเบียบโลกขณะนี้ ยังเป็นระเบียบโลกของตะวันตกที่มีสหรัฐฯเป็นผู้นำ ในอนาคต เมื่อจีนมีขนาดเศรษฐกิจใหญ่ที่สุดในโลก จีนจะท้าทายระเบียบโลกของสหรัฐฯหรือไม่ และระเบียบโลกในอนาคตจะเป็นอย่างไร โดยเฉพาะจะมีลักษณะของความขัดแย้งกัน ระหว่างระเบียบโลกของตะวันตกที่มีสหรัฐฯเป็นผู้นำ แต่ก็มีจีนที่จะเป็นประเทศที่มีพลังอำนาจมากที่สุดในโลก แล้วประเทศที่มีพลังอำนาจมากที่สุด จะยอมเป็นรองประเทศที่มีอำนาจน้อยกว่าได้อย่างไร คำถามเหล่านี้ ยังไม่มีคำตอบชัดเจน ซึ่งคงเป็นเครื่องหมายคำถามอันใหญ่สำหรับโลกในอนาคต อย่างไรก็ตาม ผมจะพยายามวิเคราะห์และหาคำตอบบางส่วน แม้ว่าจะยังไม่ชัดเจนและได้ข้อสรุปก็ตาม
• เป้าหมายและพฤติกรรมของจีน
ยังไม่มีใครรู้แน่ว่าเป้าหมายที่แท้จริงของจีนคืออะไร จีนจะเป็นอย่างที่จีนประกาศ คือ การผงาดขึ้นมาอย่างสันติ หรือ peaceful rise หรือจีนจะแข็งกร้าวและต้องการครอบงำโลก ดังนั้น เราจึงยังไม่ได้ข้อสรุปในเรื่องเป้าหมายของจีน แต่ที่เราจะสามารถดูได้ คือ ดูได้จากพฤติกรรมของจีน ซึ่งเห็นได้ชัด โดยเฉพาะในปีที่แล้วว่า พฤติกรรมของจีนมีลักษณะของความเชื่อมั่นในตัวเองมากขึ้นเรื่อยๆ ไม่ยอมก้มหัวให้ใครอีกต่อไป และมีลักษณะแข็งกร้าวมากขึ้นเรื่อยๆ ตัวอย่างของพฤติกรรมของจีนในปีที่แล้ว ที่แสดงให้เห็นความแข็งกร้าวของจีน ได้แก่
- การที่บริษัท Google ได้ประกาศถอนตัวออกจากจีน โดยอ้างว่า ถูกรัฐบาลจีนล้วงข้อมูลและเซ็นเซอร์
- จีนได้ออกมาตอบโต้อย่างรุนแรงจากการที่สหรัฐฯประกาศจะขายอาวุธให้กับไต้หวัน
- หลังจากที่ Obama พบกับดาไลลามะที่ทำเนียบขาว จีนได้โจมตี Obama อย่างรุนแรง
- จีนไม่ยอมสหรัฐฯที่บีบให้จีนขึ้นค่าเงินหยวน
- จีนขัดแย้งกับสหรัฐฯและตะวันตกหลายเรื่อง ทั้งเรื่องคว่ำบาตรอิหร่าน เรื่องพม่า เรื่องเกาหลีเหนือ
- จีนได้ต่อต้านและประท้วงการให้รางวัลโนเบลสาขาสันติภาพแก่นักต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยชาวจีน ชื่อ Liu Xiaobo
- ความขัดแย้งเรื่องหมู่เกาะสแปรตลีย์ได้ปะทุขึ้นมา โดยมีหลายประเทศเข้ามาเกี่ยวข้องในปัญหานี้ รวมทั้ง จีน สหรัฐฯ และประเทศอาเซียน
- จีนยังได้ขัดแย้งกับประเทศเพื่อนบ้านอื่นๆอีก เช่นในกรณีขัดแย้งกับญี่ปุ่น เรื่อง เกาะเตียวหยู หรือ เซนซากุ และขัดแย้งกับอินเดียในเรื่องปัญหาเรื่องพรมแดน
- จีนได้ดำเนินโยบายต่างประเทศในเชิงรุก โดยเฉพาะกับประเทศเพื่อนบ้าน ความสัมพันธ์กับประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีความใกล้ชิดมากขึ้นเรื่อยๆ เช่นเดียวกับบทบาทของจีนในเอเชียใต้ก็เพิ่มขึ้น โดยจีนได้ให้ความช่วยเหลือต่อศรีลังกา ขยายบทบาทกองทัพเรือในมหาสมุทรอินเดีย สร้างท่าเรือน้ำลึกทั้งที่พม่าและปากีสถาน และให้ความช่วยเหลือทางด้านนิวเคลียร์ต่อปากีสถาน สำหรับในทวีปอื่นๆ จีนก็ขยายความสัมพันธ์อย่างรวดเร็วในทวีปอัฟริกา อเมริกากลาง และอเมริกาใต้
(โปรดอ่านต่อ ตอนจบ ในคอลัมน์โลกทรรศน์สัปดาห์หน้า ซึ่งจะเน้นวิเคราะห์จุดอ่อนของจีนในการผงาดขึ้นมาเป็นผู้นำโลก)
ตีพิมพ์ใน สยามรัฐสัปดาหวิจารณ์ ฉบับวันศุกร์ที่ 24 – วันพฤหัสบดีที่ 30 มิถุนายน 2554
การผงาดขึ้นมาของจีน หรือ The Rise of China กำลังเป็นเรื่องที่มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อโลกในปัจจุบันและในอนาคต คอลัมน์โลกทรรศน์ในตอนนี้และตอนหน้า จะวิเคราะห์การผงาดขึ้นมาของจีน โดยในตอนที่ 1 จะวิเคราะห์พลังอำนาจแห่งชาติ ผลกระทบ เป้าหมายและพฤติกรรมของจีน และตอนหน้าจะวิเคราะห์ในส่วนสุดท้าย คือ การวิเคราะห์จุดอ่อนของจีน
พลังอำนาจแห่งชาติ
• อำนาจทางเศรษฐกิจ
จุดเด่นที่สุดของการผงาดขึ้นมาของจีน คือ ทางด้านเศรษฐกิจ โดยเศรษฐกิจของจีนได้ขยายตัวอย่างรวดเร็ว ในปัจจุบัน จีนได้ขยับขึ้นมาเป็นประเทศที่มีขนาดเศรษฐกิจเป็นอันดับ 2 รองจากสหรัฐฯ โดยที่อัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของจีนสูงมาก คือ เกินกว่า 10% ทุกปี ดังนั้น หากจีนสามารถรักษาอัตรานี้ต่อไปได้ ภายในประมาณปี 2025 เศรษฐกิจของจีนน่าจะใหญ่เท่ากับเศรษฐกิจของสหรัฐฯ
ตัวเลขและสถิติต่างๆทางด้านเศรษฐกิจ มีแนวโน้มว่า จีนจะขยับขึ้นมาเป็นอันดับ 1 ของโลก แซงหน้าสหรัฐฯไปในหลายๆเรื่อง ตัวอย่างเช่น
- ขณะนี้ จีนเป็นประเทศที่มีการบริโภคมากที่สุดในโลก แซงหน้าสหรัฐฯ
- จีนมีเงินทุนสำรองมากที่สุดในโลก ประมาณ 2 ล้านล้านเหรียญ
- ในด้านการลงทุน จีนเป็นประเทศที่มีเม็ดเงินการลงทุนจากต่างชาติมากที่สุด
- จีนมีเงินเกินดุลบัญชีเดินสะพัดมากที่สุดในโลก ประมาณ 240,000 ล้านเหรียญ
- จีนเป็นประเทศที่มีคนใช้ internet มากที่สุดในโลก ประมาณ 200 ล้านคน
- จีนเป็นตลาดอันดับ 1 ของสินค้าอุปโภคบริโภคต่างๆ มากมาย
- จีนมีแนวโน้มออกไปลงทุนในต่างประเทศมากขึ้นเรื่อยๆ
- จีนเป็นประเทศที่มีการบริโภคพลังงานมากที่สุดในโลก และขณะนี้ จีนมีนโยบายในเชิงรุกเป็นอย่างมากในการลงทุนแสวงหาแหล่งพลังงานจากทั่วโลก
- ทางด้านเทคโนโลยี จีนไล่ตามสหรัฐฯมาติดๆ โดยเฉพาะเรื่อง R & D ในอนาคต จีนจะไล่ทันอเมริกาในเทคโนโลยีหลายด้าน โดยเฉพาะในด้านไฮเทค
นอกจากนี้ ในปีนี้ จีนได้เปิดเผยแผนพัฒนาเศรษฐกิจ 5 ปี ข้างหน้า โดยจะเน้นการพัฒนาอุตสาหกรรมยุทธศาสตร์ 7 สาขา ซึ่งจีนต้องการเป็นผู้นำโลก อาทิ สาขาพลังงานทางเลือก เทคโนโลยีชีวภาพ เทคโนโลยีสารสนเทศ รถยนต์พลังงานทางเลือก และเทคโนโลยีพลังงานใหม่ เป็นต้น โดยรัฐบาลจีน ตั้งงบประมาณไว้ถึง 1.5 ล้านล้านเหรียญ ที่จะสนับสนุนอุตสาหกรรมเหล่านี้ โดยตั้งเป้าในปี 2020 อุตสาหกรรมเหล่านี้จะมีสัดส่วนคิดเป็น 15% ของ GDP ของจีน ในปี 2020 จีนจะมีขนาดเศรษฐกิจมูลค่าถึง 25 ล้านล้านเหรียญ โดยสัดส่วนของอุตสาหกรรมใหม่จะมีมูลค่า 3.75 ล้านล้านเหรียญ ซึ่งจะมีสัดส่วนเท่ากับ GDP ของประเทศเยอรมนีทีเดียว นอกจากนี้ จีนยังตั้งเป้าจะผลิตรถยนต์ถึงปีละ 40 ล้านคัน
• อำนาจทางทหาร
จุดแข็งที่สุดของจีน คือ อำนาจทางเศรษฐกิจ ซึ่งจะมีผลทำให้อำนาจทางทหารของจีนเพิ่มมากขึ้นด้วย โดยจีนได้ทุ่มงบประมาณทางทหารเพิ่มมากขึ้นทุกปี และได้เสริมสร้างสมรรถนะภาพทางทหารในทุกๆด้าน ถึงแม้ว่า เม็ดเงินงบทหารของจีนจะยังคงน้อยกว่าสหรัฐฯอยู่มาก แต่แนวโน้ม คือ จีนได้เพิ่มงบทหารเกือบ 20% ทุกปี ซึ่งจะทำให้ในอนาคต งบประมาณทางทหารของจีนจะขยับเข้าใกล้สหรัฐฯมากขึ้นทุกที ผลที่เด่นชัด คือ การผงาดขึ้นมาเป็นมหาอำนาจทางทหารในเอเชียตะวันออกของจีน แม้จีนจะยังไม่สามารถแข่งกับสหรัฐในระดับโลกได้ แต่ในภูมิภาคเอเชียตะวันออก อีกไม่นาน จีนจะท้าทายอำนาจทางทหารของสหรัฐฯได้
• อำนาจทางวัฒนธรรม
ผมมองว่า ถึงแม้จีนจะแข่งกับสหรัฐฯทางด้านวัฒนธรรมด้วย แต่ยังถือเป็นจุดอ่อนของจีน จีนพยายามแข่งกับสหรัฐฯในการเสนอตัวแบบการพัฒนาเศรษฐกิจแบบจีน ที่เรียกว่า ฉันทามติปักกิ่ง แข่งกับ ฉันทามติวอชิงตัน แต่โดยรวมแล้ว จีนยังไม่สามารถแข่งกับสหรัฐฯได้ ซึ่งผมจะวิเคราะห์ต่อในตอนหน้า ผมขอย้ำว่า อำนาจทางวัฒนธรรมถือเป็นจุดอ่อนที่สำคัญที่สุดของจีน
ผลกระทบ
ดังนั้น จากข้อมูลข้างต้น จะเห็นได้ว่า การผงาดขึ้นมาของจีนนั้น มาแรงมาก โดยเฉพาะทางด้านเศรษฐกิจ ในอนาคต จีนคงจะมีขนาดเศรษฐกิจใหญ่ที่สุดในโลก คำถามสำคัญ คือ การผงาดขึ้นมาของจีน จะส่งผลกระทบอย่างไรต่อโลก เป้าหมายที่แท้จริงของจีนคืออะไร จีนต้องการจะครองโลกหรือไม่ ระเบียบโลกขณะนี้ ยังเป็นระเบียบโลกของตะวันตกที่มีสหรัฐฯเป็นผู้นำ ในอนาคต เมื่อจีนมีขนาดเศรษฐกิจใหญ่ที่สุดในโลก จีนจะท้าทายระเบียบโลกของสหรัฐฯหรือไม่ และระเบียบโลกในอนาคตจะเป็นอย่างไร โดยเฉพาะจะมีลักษณะของความขัดแย้งกัน ระหว่างระเบียบโลกของตะวันตกที่มีสหรัฐฯเป็นผู้นำ แต่ก็มีจีนที่จะเป็นประเทศที่มีพลังอำนาจมากที่สุดในโลก แล้วประเทศที่มีพลังอำนาจมากที่สุด จะยอมเป็นรองประเทศที่มีอำนาจน้อยกว่าได้อย่างไร คำถามเหล่านี้ ยังไม่มีคำตอบชัดเจน ซึ่งคงเป็นเครื่องหมายคำถามอันใหญ่สำหรับโลกในอนาคต อย่างไรก็ตาม ผมจะพยายามวิเคราะห์และหาคำตอบบางส่วน แม้ว่าจะยังไม่ชัดเจนและได้ข้อสรุปก็ตาม
• เป้าหมายและพฤติกรรมของจีน
ยังไม่มีใครรู้แน่ว่าเป้าหมายที่แท้จริงของจีนคืออะไร จีนจะเป็นอย่างที่จีนประกาศ คือ การผงาดขึ้นมาอย่างสันติ หรือ peaceful rise หรือจีนจะแข็งกร้าวและต้องการครอบงำโลก ดังนั้น เราจึงยังไม่ได้ข้อสรุปในเรื่องเป้าหมายของจีน แต่ที่เราจะสามารถดูได้ คือ ดูได้จากพฤติกรรมของจีน ซึ่งเห็นได้ชัด โดยเฉพาะในปีที่แล้วว่า พฤติกรรมของจีนมีลักษณะของความเชื่อมั่นในตัวเองมากขึ้นเรื่อยๆ ไม่ยอมก้มหัวให้ใครอีกต่อไป และมีลักษณะแข็งกร้าวมากขึ้นเรื่อยๆ ตัวอย่างของพฤติกรรมของจีนในปีที่แล้ว ที่แสดงให้เห็นความแข็งกร้าวของจีน ได้แก่
- การที่บริษัท Google ได้ประกาศถอนตัวออกจากจีน โดยอ้างว่า ถูกรัฐบาลจีนล้วงข้อมูลและเซ็นเซอร์
- จีนได้ออกมาตอบโต้อย่างรุนแรงจากการที่สหรัฐฯประกาศจะขายอาวุธให้กับไต้หวัน
- หลังจากที่ Obama พบกับดาไลลามะที่ทำเนียบขาว จีนได้โจมตี Obama อย่างรุนแรง
- จีนไม่ยอมสหรัฐฯที่บีบให้จีนขึ้นค่าเงินหยวน
- จีนขัดแย้งกับสหรัฐฯและตะวันตกหลายเรื่อง ทั้งเรื่องคว่ำบาตรอิหร่าน เรื่องพม่า เรื่องเกาหลีเหนือ
- จีนได้ต่อต้านและประท้วงการให้รางวัลโนเบลสาขาสันติภาพแก่นักต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยชาวจีน ชื่อ Liu Xiaobo
- ความขัดแย้งเรื่องหมู่เกาะสแปรตลีย์ได้ปะทุขึ้นมา โดยมีหลายประเทศเข้ามาเกี่ยวข้องในปัญหานี้ รวมทั้ง จีน สหรัฐฯ และประเทศอาเซียน
- จีนยังได้ขัดแย้งกับประเทศเพื่อนบ้านอื่นๆอีก เช่นในกรณีขัดแย้งกับญี่ปุ่น เรื่อง เกาะเตียวหยู หรือ เซนซากุ และขัดแย้งกับอินเดียในเรื่องปัญหาเรื่องพรมแดน
- จีนได้ดำเนินโยบายต่างประเทศในเชิงรุก โดยเฉพาะกับประเทศเพื่อนบ้าน ความสัมพันธ์กับประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีความใกล้ชิดมากขึ้นเรื่อยๆ เช่นเดียวกับบทบาทของจีนในเอเชียใต้ก็เพิ่มขึ้น โดยจีนได้ให้ความช่วยเหลือต่อศรีลังกา ขยายบทบาทกองทัพเรือในมหาสมุทรอินเดีย สร้างท่าเรือน้ำลึกทั้งที่พม่าและปากีสถาน และให้ความช่วยเหลือทางด้านนิวเคลียร์ต่อปากีสถาน สำหรับในทวีปอื่นๆ จีนก็ขยายความสัมพันธ์อย่างรวดเร็วในทวีปอัฟริกา อเมริกากลาง และอเมริกาใต้
(โปรดอ่านต่อ ตอนจบ ในคอลัมน์โลกทรรศน์สัปดาห์หน้า ซึ่งจะเน้นวิเคราะห์จุดอ่อนของจีนในการผงาดขึ้นมาเป็นผู้นำโลก)
ข้อเสนอยุทธศาสตร์ด้านความมั่นคงของอาเซียนต่อสหรัฐฯ
ข้อเสนอยุทธศาสตร์ด้านความมั่นคงของอาเซียนต่อสหรัฐฯ
ตีพิมพ์ใน ไทยโพสต์ ฉบับวันพฤหัสบดีที่ 16 มิถุนายน 2554
ระบบความมั่นคงในภูมิภาค
ในอดีต ระบบความมั่นคงในภูมิภาค มีสหรัฐฯเป็นตัวแสดงหลักและครองความเป็นเจ้าในภูมิภาค โดยระบบที่สหรัฐฯใช้ เรียกว่า hub and spokes โดยมีสหรัฐฯเป็น hub หรือดุมล้อ และมีพันธมิตรอื่นๆเป็นซี่ล้อ หรือ spokes
อย่างไรก็ตาม ในปัจจุบัน แม้ว่าระบบดังกล่าวจะยังคงอยู่ และมีลักษณะ 1 ขั้วอำนาจ แต่การผงาดขึ้นมาของมหาอำนาจใหม่ โดยเฉพาะการผงาดขึ้นมาของจีนและอินเดีย กำลังจะทำให้ระบบความมั่นคงในภูมิภาคเปลี่ยนจากระบบ 1 ขั้ว เป็นระบบหลายขั้ว นอกจากนั้น การผงาดขึ้นมาของอาเซียนในฐานะเป็นแกนกลางของสถาปัตยกรรมความมั่นคงในภูมิภาค ก็มีความสำคัญ
ในอนาคต ระบบความมั่นคงในภูมิภาค น่าจะเป็นระบบลูกผสม ที่เป็นการเหลื่อมทับกันระหว่างระบบหนึ่งขั้วอำนาจ ที่จะมีสหรัฐฯเป็นแกนกลางของระบบ กับระบบพหุภาคีนิยม ที่มีอาเซียนเป็นแกนกลางของระบบ ซึ่งผมอยากจะตั้งชื่อเป็นภาษาอังกฤษว่า Uni-Multilateralism
ข้อเสนอยุทธศาสตร์อาเซียนต่อสหรัฐฯ
ดังนั้น จากบริบทดังกล่าวข้างต้น ยุทธศาสตร์อาเซียนต่อสหรัฐฯจึงควรตั้งอยู่บนพื้นฐานของระบบในอนาคตที่จะมีลักษณะเป็นลูกผสม ที่มีสหรัฐฯและอาเซียนเป็น 2 แกนของระบบ ยุทธศาสตร์หลักของอาเซียนต่อสหรัฐฯ คือ จะต้องดึงสหรัฐฯให้ปฏิสัมพันธ์กับอาเซียน เพื่อให้ระบบที่มีสหรัฐฯเป็นแกน กับระบบที่มีอาเซียนเป็นแกน อยู่คู่กันได้ ขณะเดียวกัน อาเซียนควรดึงสหรัฐฯเข้ามาเพื่อเล่นเกมถ่วงดุลอำนาจ โดยเฉพาะการถ่วงดุลการผงาดขึ้นมาของจีน เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดระบบหลายขั้วอำนาจ ซึ่งในระบบดังกล่าว มหาอำนาจจะเป็นตัวแสดงหลัก ซึ่งจะไม่เป็นผลดีต่ออาเซียน อย่างไรก็ตาม อาเซียนก็ต้องระมัดระวังในการปฏิสัมพันธ์กับสหรัฐฯ โดยต้องไม่เผลอที่จะให้สหรัฐฯฉวยโอกาสรุกหนัก และเข้ามาครอบงำสถาปัตยกรรมในภูมิภาคแต่เพียงผู้เดียว
ข้อเสนอของผม สำหรับยุทธศาสตร์อาเซียนต่อสหรัฐฯ แบ่งได้เป็นข้อๆ ดังนี้
• ยุทธศาสตร์การดึงสหรัฐฯมาสนับสนุนการจัดตั้งประชาคมอาเซียน
อาเซียนควรชักชวนให้สหรัฐฯให้ความร่วมมือและสนับสนุนการจัดตั้งประชาคมอาเซียน โดยเฉพาะการจัดตั้งประชาคมการเมืองและความมั่นคง ซึ่งมีเรื่องสำคัญ 3 เรื่อง
- เรื่องที่ 1 : การพัฒนาทางการเมือง คือ เรื่องประชาธิปไตยและสิทธิมนุษยชน
- เรื่องที่ 2 : การพัฒนาบรรทัดฐาน
- เรื่องที่ 3 : การพัฒนากลไกป้องกันและแก้ไขความขัดแย้ง
โดยอาเซียนอาจขอให้สหรัฐฯช่วยเหลือ ในขั้นแรก อาจจะเป็นในเรื่องของการพัฒนาบุคลากร หรือ แcapacity building และในระยะยาว ก็อาจแสวงหาความร่วมมือทั้งทางด้านความมั่นคง และการทหารจากสหรัฐฯในการป้องกันและแก้ไขความขัดแย้ง และการรักษาสันติภาพ
• ยุทธศาสตร์ อาเซียน+1
สำหรับความสัมพันธ์ในลักษณะอาเซียน+1 ระหว่างอาเซียนกับสหรัฐฯนั้น ในอดีต สหรัฐฯไม่ให้ความสำคัญ จนเมื่อจีนได้รุกคืบ และใกล้ชิดกับอาเซียนมากขึ้น โดยเฉพาะในมิติด้านการทูตและเศรษฐกิจ ดุลยภาพแห่งอำนาจจึงเสียสมดุลไป สหรัฐฯเองก็คงจะวิตกกังกลถึงอิทธิพลที่ลดลง ในขณะที่อิทธิพลของจีนก็เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ดังนั้น ในช่วงสมัยรัฐบาล Bush สหรัฐฯจึงได้กลับมาให้ความสำคัญกับอาเซียน เริ่มจากในปี 2002 ที่เสนอ Enterprise for ASEAN Initiative โดยจะเจรจา FTA กับประเทศสมาชิกอาเซียน ต่อมาก็มีการจัดทำ Joint Vision Statement on ASEAN- US Enhanced Partnership
ต่อมา ในสมัยรัฐบาล Obama สหรัฐฯให้ความสำคัญกับอาเซียนเพิ่มขึ้นอีก เห็นได้ชัดจากการจัดประชุมสุดยอดกับอาเซียนไปแล้ว 2 ครั้ง และได้ริเริ่ม U.S. Lower Mekong Initiative โดยในปีที่แล้ว การทูตสหรัฐฯในภูมิภาค เปลี่ยนแปลงไปในเชิงรุกมากเป็นพิเศษ เห็นได้จากการเข้ามายุ่งเรื่องความขัดแย้งในหมู่เกาะ สแปรตลีย์ และการเข้าร่วม ADMM+8 และ EAS
ท่าทีของอาเซียน คือ ควรจะสนับสนุนให้สหรัฐฯปฏิสัมพันธ์กับอาเซียนในลักษณะนี้ต่อไป ทั้งนี้ เพื่อบรรลุยุทธศาสตร์หลักของอาเซียนดังกล่าวข้างต้น และเพื่อเป็นการถ่วงดุลจีนไปด้วย
• ยุทธศาสตร์ต่อ ADMM+8
อีกกลไกหนึ่งของอาเซียนที่ควรส่งเสริมให้สหรัฐฯมีบทบาทต่อไป คือ การประชุมในกรอบ ADMM+8 หรือการประชุมรัฐมนตรีกลาโหมอาเซียนกับประเทศคู่เจรจา 8 ประเทศ ในอดีต รัฐมนตรีกลาโหมอาเซียนจะประชุมกันเองแค่ 10 ประเทศ แต่ต่อมาประเทศมหาอำนาจ โดยเฉพาะ จีนกับสหรัฐฯ อยากเข้าร่วม ในที่สุด อาเซียนก็ตกลงในสูตร บวก 8 คือ เชิญประเทศมหาอำนาจในภูมิภาค 8 ประเทศเข้าร่วมประชุม
สหรัฐฯให้ความสนใจการประชุมในกรอบนี้ เมื่อปีที่แล้ว ได้มีการประชุมครั้งแรกที่เวียดนาม รัฐมนตรีกลาโหม Robert Gates ได้มาเข้าร่วมประชุม ผลการประชุมตกลงที่จะร่วมมือกันในหลายด้าน โดยเฉพาะด้านการบรรเทาภัยพิบัติ ความมั่นคงทางทะเล การต่อต้านการก่อการร้าย และการปฏิบัติการรักษาสันติภาพ ซึ่งสาขาเหล่านี้ อาเซียนกับสหรัฐฯน่าจะมีผลประโยชน์ร่วมกัน และน่าจะร่วมมือกันได้เป็นอย่างดี โดยเฉพาะความมั่นคงทางทะเล มีวาระซ่อนเร้น เรื่องความขัดแย้งหมู่เกาะสแปรตลีย์ ที่สหรัฐฯต้องการเข้ามายุ่งเพื่อสกัดจีน อาเซียนเอง ก็ต้องการให้สหรัฐฯเข้ามายุ่ง เพื่อที่จะมาช่วยถ่วงดุลจีน เช่นเดียวกัน
อย่างไรก็ตาม ADMM+8 จะประชุมกันทุกๆ 3 ปี ดังนั้น เวทีนี้จึงไม่น่าจะเป็นเวทีที่โดดเด่นเท่าไรนัก ข้อสำคัญที่อาเซียนจะต้องระวัง คือ ในการดึงสหรัฐฯเข้ามาปฏิสัมพันธ์นั้น อย่าเผลอให้สหรัฐฯเข้ามามีบทบาทมากเกินไป ในลักษณะที่จะเข้ามาเจ้ากี้เจ้าการ ครอบงำกลไกดังกล่าว อาเซียนจะต้องไม่ลืมว่า ยุทธศาสตร์หลักของอาเซียน คือ อาเซียนจะต้องเป็นแกนกลางของสถาปัตยกรรมในภูมิภาค
• ยุทธศาสตร์ในกรอบ East Asia Summit หรือ EAS
สาเหตุสำคัญที่อาเซียนเชิญสหรัฐฯเข้ามาร่วมประชุมสุดยอดเอเชียตะวันออก (East Asia Summit หรือ EAS) นั้น ก็เพราะอาเซียนต้องการดึงสหรัฐฯเข้ามาในภูมิภาค และเพื่อต้องการเอาสหรัฐฯมาถ่วงดุลจีน สหรัฐฯเองก็ต้องการเข้ามาใน EAS เพราะสิ่งที่สหรัฐฯจะต้องป้องกันไม่ให้เกิดขึ้น คือ การที่ประเทศในเอเชียจะรวมกลุ่มกันโดยไม่มีสหรัฐฯ สหรัฐฯกำลังวิตกกังวลกรอบอาเซียน+3 ที่อาจจะพัฒนาไปเป็น ประชาคมเอเชียตะวันออก ดังนั้น การเข้ามาเป็นสมาชิก EAS จะช่วยป้องกันไม่ให้เอเชียรวมกลุ่มกันโดยไม่มีสหรัฐฯ
อย่างไรก็ตาม ดูเหมือนสหรัฐฯต้องการที่จะเข้ามามีบทบาทที่โดดเด่นใน EAS โดยสหรัฐฯได้พยายามผลักดันข้อเสนอของตน ที่จะให้มีการปฏิรูป EAS ให้กลายเป็นเวทีหารือด้านความมั่นคงในภูมิภาค และผลักดันความร่วมมือด้านความมั่นคงทางทะเล การป้องกันการแพร่ขยายของอาวุธร้ายแรง และการรักษาสันติภาพ และสหรัฐฯต้องการที่จะให้ EAS มีความเป็นสถาบันมากขึ้น และมีกลไกต่างๆมากขึ้น
แต่การประชุมสุดยอดอาเซียนที่จาการ์ตา เมื่อเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา เห็นได้ชัดว่า อาเซียนเห็นว่า สหรัฐฯรุกหนักเกินไป อาเซียนคงจะกลัวที่จะสูญเสียการเป็นแกนกลางของสถาปัตยกรรม และสหรัฐฯอาจเข้ามาครอบงำ EAS ดังนั้น ผลการประชุมจึงออกมาว่า อาเซียนต้องการให้ EAS เป็นเวทีหารือในระดับผู้นำเท่านั้น ส่วนเรื่องการหารือ ก็ไม่ควรจำกัดเฉพาะด้านความมั่นคง แต่ควรเป็นการหารือในกรอบกว้างในทุกๆเรื่อง และอาเซียนก็ตอกย้ำการเป็นแกนกลางของอาเซียน จะเห็นได้ว่า ขณะนี้มีความขัดแย้งและแตกต่างระหว่างท่าทีของสหรัฐฯและท่าทีของอาเซียน ในกรอบ EAS ซึ่งผมมองว่า อาเซียนคงต้องพยายามประคับประคอง และประนีประนอมกับสหรัฐฯ แต่ผมมองว่า ท่าทีของอาเซียนในการประชุมสุดยอดที่จาการ์ตา เป็นท่าทีที่ถูกต้องแล้วสำหรับผลประโยชน์ของอาเซียน
• ยุทธศาสตร์ต่อเวที ARF
สุดท้าย เป็นเวที ASEAN Regional Forum หรือ ARF ซึ่งเป็นอีกเวทีหนึ่งที่อาเซียนกับสหรัฐฯจะร่วมมือกันได้ อย่างไรก็ตาม ARF มีสมาชิกถึง 27 ประเทศ เป็นกรอบที่ใหญ่ที่สุดของอาเซียน จึงมีความยากลำบากที่จะหาฉันทามติในการขับเคลื่อนพัฒนาการของ ARF สหรัฐฯต้องการให้ ARF พัฒนาไปสู่การทูตเชิงป้องกัน และพัฒนากลไกแก้ไขความขัดแย้ง แต่ประเทศคู่แข่งของสหรัฐฯ อย่างเช่น จีน ก็หวาดระแวงและไม่เห็นด้วย สำหรับอาเซียน ก็เสียงแตก บางประเทศก็ถือหางสหรัฐฯ บางประเทศก็ถือหางจีน อย่างไรก็ตาม โดยรวม ผมมองว่า อาเซียนกับสหรัฐฯน่าจะร่วมมือกันได้ และหาสูตรที่ลงตัวในการประนีประนอม โดยอาจค่อยเป็นค่อยไป และค่อยๆพัฒนาจาก CBM ไปสู่การทูตเชิงป้องกัน และกลไกแก้ไขความขัดแย้งในระยะยาว
ตีพิมพ์ใน ไทยโพสต์ ฉบับวันพฤหัสบดีที่ 16 มิถุนายน 2554
ระบบความมั่นคงในภูมิภาค
ในอดีต ระบบความมั่นคงในภูมิภาค มีสหรัฐฯเป็นตัวแสดงหลักและครองความเป็นเจ้าในภูมิภาค โดยระบบที่สหรัฐฯใช้ เรียกว่า hub and spokes โดยมีสหรัฐฯเป็น hub หรือดุมล้อ และมีพันธมิตรอื่นๆเป็นซี่ล้อ หรือ spokes
อย่างไรก็ตาม ในปัจจุบัน แม้ว่าระบบดังกล่าวจะยังคงอยู่ และมีลักษณะ 1 ขั้วอำนาจ แต่การผงาดขึ้นมาของมหาอำนาจใหม่ โดยเฉพาะการผงาดขึ้นมาของจีนและอินเดีย กำลังจะทำให้ระบบความมั่นคงในภูมิภาคเปลี่ยนจากระบบ 1 ขั้ว เป็นระบบหลายขั้ว นอกจากนั้น การผงาดขึ้นมาของอาเซียนในฐานะเป็นแกนกลางของสถาปัตยกรรมความมั่นคงในภูมิภาค ก็มีความสำคัญ
ในอนาคต ระบบความมั่นคงในภูมิภาค น่าจะเป็นระบบลูกผสม ที่เป็นการเหลื่อมทับกันระหว่างระบบหนึ่งขั้วอำนาจ ที่จะมีสหรัฐฯเป็นแกนกลางของระบบ กับระบบพหุภาคีนิยม ที่มีอาเซียนเป็นแกนกลางของระบบ ซึ่งผมอยากจะตั้งชื่อเป็นภาษาอังกฤษว่า Uni-Multilateralism
ข้อเสนอยุทธศาสตร์อาเซียนต่อสหรัฐฯ
ดังนั้น จากบริบทดังกล่าวข้างต้น ยุทธศาสตร์อาเซียนต่อสหรัฐฯจึงควรตั้งอยู่บนพื้นฐานของระบบในอนาคตที่จะมีลักษณะเป็นลูกผสม ที่มีสหรัฐฯและอาเซียนเป็น 2 แกนของระบบ ยุทธศาสตร์หลักของอาเซียนต่อสหรัฐฯ คือ จะต้องดึงสหรัฐฯให้ปฏิสัมพันธ์กับอาเซียน เพื่อให้ระบบที่มีสหรัฐฯเป็นแกน กับระบบที่มีอาเซียนเป็นแกน อยู่คู่กันได้ ขณะเดียวกัน อาเซียนควรดึงสหรัฐฯเข้ามาเพื่อเล่นเกมถ่วงดุลอำนาจ โดยเฉพาะการถ่วงดุลการผงาดขึ้นมาของจีน เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดระบบหลายขั้วอำนาจ ซึ่งในระบบดังกล่าว มหาอำนาจจะเป็นตัวแสดงหลัก ซึ่งจะไม่เป็นผลดีต่ออาเซียน อย่างไรก็ตาม อาเซียนก็ต้องระมัดระวังในการปฏิสัมพันธ์กับสหรัฐฯ โดยต้องไม่เผลอที่จะให้สหรัฐฯฉวยโอกาสรุกหนัก และเข้ามาครอบงำสถาปัตยกรรมในภูมิภาคแต่เพียงผู้เดียว
ข้อเสนอของผม สำหรับยุทธศาสตร์อาเซียนต่อสหรัฐฯ แบ่งได้เป็นข้อๆ ดังนี้
• ยุทธศาสตร์การดึงสหรัฐฯมาสนับสนุนการจัดตั้งประชาคมอาเซียน
อาเซียนควรชักชวนให้สหรัฐฯให้ความร่วมมือและสนับสนุนการจัดตั้งประชาคมอาเซียน โดยเฉพาะการจัดตั้งประชาคมการเมืองและความมั่นคง ซึ่งมีเรื่องสำคัญ 3 เรื่อง
- เรื่องที่ 1 : การพัฒนาทางการเมือง คือ เรื่องประชาธิปไตยและสิทธิมนุษยชน
- เรื่องที่ 2 : การพัฒนาบรรทัดฐาน
- เรื่องที่ 3 : การพัฒนากลไกป้องกันและแก้ไขความขัดแย้ง
โดยอาเซียนอาจขอให้สหรัฐฯช่วยเหลือ ในขั้นแรก อาจจะเป็นในเรื่องของการพัฒนาบุคลากร หรือ แcapacity building และในระยะยาว ก็อาจแสวงหาความร่วมมือทั้งทางด้านความมั่นคง และการทหารจากสหรัฐฯในการป้องกันและแก้ไขความขัดแย้ง และการรักษาสันติภาพ
• ยุทธศาสตร์ อาเซียน+1
สำหรับความสัมพันธ์ในลักษณะอาเซียน+1 ระหว่างอาเซียนกับสหรัฐฯนั้น ในอดีต สหรัฐฯไม่ให้ความสำคัญ จนเมื่อจีนได้รุกคืบ และใกล้ชิดกับอาเซียนมากขึ้น โดยเฉพาะในมิติด้านการทูตและเศรษฐกิจ ดุลยภาพแห่งอำนาจจึงเสียสมดุลไป สหรัฐฯเองก็คงจะวิตกกังกลถึงอิทธิพลที่ลดลง ในขณะที่อิทธิพลของจีนก็เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ดังนั้น ในช่วงสมัยรัฐบาล Bush สหรัฐฯจึงได้กลับมาให้ความสำคัญกับอาเซียน เริ่มจากในปี 2002 ที่เสนอ Enterprise for ASEAN Initiative โดยจะเจรจา FTA กับประเทศสมาชิกอาเซียน ต่อมาก็มีการจัดทำ Joint Vision Statement on ASEAN- US Enhanced Partnership
ต่อมา ในสมัยรัฐบาล Obama สหรัฐฯให้ความสำคัญกับอาเซียนเพิ่มขึ้นอีก เห็นได้ชัดจากการจัดประชุมสุดยอดกับอาเซียนไปแล้ว 2 ครั้ง และได้ริเริ่ม U.S. Lower Mekong Initiative โดยในปีที่แล้ว การทูตสหรัฐฯในภูมิภาค เปลี่ยนแปลงไปในเชิงรุกมากเป็นพิเศษ เห็นได้จากการเข้ามายุ่งเรื่องความขัดแย้งในหมู่เกาะ สแปรตลีย์ และการเข้าร่วม ADMM+8 และ EAS
ท่าทีของอาเซียน คือ ควรจะสนับสนุนให้สหรัฐฯปฏิสัมพันธ์กับอาเซียนในลักษณะนี้ต่อไป ทั้งนี้ เพื่อบรรลุยุทธศาสตร์หลักของอาเซียนดังกล่าวข้างต้น และเพื่อเป็นการถ่วงดุลจีนไปด้วย
• ยุทธศาสตร์ต่อ ADMM+8
อีกกลไกหนึ่งของอาเซียนที่ควรส่งเสริมให้สหรัฐฯมีบทบาทต่อไป คือ การประชุมในกรอบ ADMM+8 หรือการประชุมรัฐมนตรีกลาโหมอาเซียนกับประเทศคู่เจรจา 8 ประเทศ ในอดีต รัฐมนตรีกลาโหมอาเซียนจะประชุมกันเองแค่ 10 ประเทศ แต่ต่อมาประเทศมหาอำนาจ โดยเฉพาะ จีนกับสหรัฐฯ อยากเข้าร่วม ในที่สุด อาเซียนก็ตกลงในสูตร บวก 8 คือ เชิญประเทศมหาอำนาจในภูมิภาค 8 ประเทศเข้าร่วมประชุม
สหรัฐฯให้ความสนใจการประชุมในกรอบนี้ เมื่อปีที่แล้ว ได้มีการประชุมครั้งแรกที่เวียดนาม รัฐมนตรีกลาโหม Robert Gates ได้มาเข้าร่วมประชุม ผลการประชุมตกลงที่จะร่วมมือกันในหลายด้าน โดยเฉพาะด้านการบรรเทาภัยพิบัติ ความมั่นคงทางทะเล การต่อต้านการก่อการร้าย และการปฏิบัติการรักษาสันติภาพ ซึ่งสาขาเหล่านี้ อาเซียนกับสหรัฐฯน่าจะมีผลประโยชน์ร่วมกัน และน่าจะร่วมมือกันได้เป็นอย่างดี โดยเฉพาะความมั่นคงทางทะเล มีวาระซ่อนเร้น เรื่องความขัดแย้งหมู่เกาะสแปรตลีย์ ที่สหรัฐฯต้องการเข้ามายุ่งเพื่อสกัดจีน อาเซียนเอง ก็ต้องการให้สหรัฐฯเข้ามายุ่ง เพื่อที่จะมาช่วยถ่วงดุลจีน เช่นเดียวกัน
อย่างไรก็ตาม ADMM+8 จะประชุมกันทุกๆ 3 ปี ดังนั้น เวทีนี้จึงไม่น่าจะเป็นเวทีที่โดดเด่นเท่าไรนัก ข้อสำคัญที่อาเซียนจะต้องระวัง คือ ในการดึงสหรัฐฯเข้ามาปฏิสัมพันธ์นั้น อย่าเผลอให้สหรัฐฯเข้ามามีบทบาทมากเกินไป ในลักษณะที่จะเข้ามาเจ้ากี้เจ้าการ ครอบงำกลไกดังกล่าว อาเซียนจะต้องไม่ลืมว่า ยุทธศาสตร์หลักของอาเซียน คือ อาเซียนจะต้องเป็นแกนกลางของสถาปัตยกรรมในภูมิภาค
• ยุทธศาสตร์ในกรอบ East Asia Summit หรือ EAS
สาเหตุสำคัญที่อาเซียนเชิญสหรัฐฯเข้ามาร่วมประชุมสุดยอดเอเชียตะวันออก (East Asia Summit หรือ EAS) นั้น ก็เพราะอาเซียนต้องการดึงสหรัฐฯเข้ามาในภูมิภาค และเพื่อต้องการเอาสหรัฐฯมาถ่วงดุลจีน สหรัฐฯเองก็ต้องการเข้ามาใน EAS เพราะสิ่งที่สหรัฐฯจะต้องป้องกันไม่ให้เกิดขึ้น คือ การที่ประเทศในเอเชียจะรวมกลุ่มกันโดยไม่มีสหรัฐฯ สหรัฐฯกำลังวิตกกังวลกรอบอาเซียน+3 ที่อาจจะพัฒนาไปเป็น ประชาคมเอเชียตะวันออก ดังนั้น การเข้ามาเป็นสมาชิก EAS จะช่วยป้องกันไม่ให้เอเชียรวมกลุ่มกันโดยไม่มีสหรัฐฯ
อย่างไรก็ตาม ดูเหมือนสหรัฐฯต้องการที่จะเข้ามามีบทบาทที่โดดเด่นใน EAS โดยสหรัฐฯได้พยายามผลักดันข้อเสนอของตน ที่จะให้มีการปฏิรูป EAS ให้กลายเป็นเวทีหารือด้านความมั่นคงในภูมิภาค และผลักดันความร่วมมือด้านความมั่นคงทางทะเล การป้องกันการแพร่ขยายของอาวุธร้ายแรง และการรักษาสันติภาพ และสหรัฐฯต้องการที่จะให้ EAS มีความเป็นสถาบันมากขึ้น และมีกลไกต่างๆมากขึ้น
แต่การประชุมสุดยอดอาเซียนที่จาการ์ตา เมื่อเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา เห็นได้ชัดว่า อาเซียนเห็นว่า สหรัฐฯรุกหนักเกินไป อาเซียนคงจะกลัวที่จะสูญเสียการเป็นแกนกลางของสถาปัตยกรรม และสหรัฐฯอาจเข้ามาครอบงำ EAS ดังนั้น ผลการประชุมจึงออกมาว่า อาเซียนต้องการให้ EAS เป็นเวทีหารือในระดับผู้นำเท่านั้น ส่วนเรื่องการหารือ ก็ไม่ควรจำกัดเฉพาะด้านความมั่นคง แต่ควรเป็นการหารือในกรอบกว้างในทุกๆเรื่อง และอาเซียนก็ตอกย้ำการเป็นแกนกลางของอาเซียน จะเห็นได้ว่า ขณะนี้มีความขัดแย้งและแตกต่างระหว่างท่าทีของสหรัฐฯและท่าทีของอาเซียน ในกรอบ EAS ซึ่งผมมองว่า อาเซียนคงต้องพยายามประคับประคอง และประนีประนอมกับสหรัฐฯ แต่ผมมองว่า ท่าทีของอาเซียนในการประชุมสุดยอดที่จาการ์ตา เป็นท่าทีที่ถูกต้องแล้วสำหรับผลประโยชน์ของอาเซียน
• ยุทธศาสตร์ต่อเวที ARF
สุดท้าย เป็นเวที ASEAN Regional Forum หรือ ARF ซึ่งเป็นอีกเวทีหนึ่งที่อาเซียนกับสหรัฐฯจะร่วมมือกันได้ อย่างไรก็ตาม ARF มีสมาชิกถึง 27 ประเทศ เป็นกรอบที่ใหญ่ที่สุดของอาเซียน จึงมีความยากลำบากที่จะหาฉันทามติในการขับเคลื่อนพัฒนาการของ ARF สหรัฐฯต้องการให้ ARF พัฒนาไปสู่การทูตเชิงป้องกัน และพัฒนากลไกแก้ไขความขัดแย้ง แต่ประเทศคู่แข่งของสหรัฐฯ อย่างเช่น จีน ก็หวาดระแวงและไม่เห็นด้วย สำหรับอาเซียน ก็เสียงแตก บางประเทศก็ถือหางสหรัฐฯ บางประเทศก็ถือหางจีน อย่างไรก็ตาม โดยรวม ผมมองว่า อาเซียนกับสหรัฐฯน่าจะร่วมมือกันได้ และหาสูตรที่ลงตัวในการประนีประนอม โดยอาจค่อยเป็นค่อยไป และค่อยๆพัฒนาจาก CBM ไปสู่การทูตเชิงป้องกัน และกลไกแก้ไขความขัดแย้งในระยะยาว
ความขัดแย้งในทะเลจีนใต้ ปี 2011
ความขัดแย้งในทะเลจีนใต้ ปี 2011
ตีพิมพ์ใน สยามรัฐสัปดาหวิจารณ์ ฉบับวันศุกร์ที่ 17 – วันพฤหัสบดีที่ 23 มิถุนายน 2554
ความขัดแย้งระหว่างประเทศ ที่วิกฤตที่สุดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และอาจลุกลามใหญ่โตจนอาจเป็นสงครามในอนาคตได้ คือ ความขัดแย้งในทะเลจีนใต้ หรือความขัดแย้งในหมู่เกาะสแปรตลีย์
ปีที่แล้ว สหรัฐฯได้จุดประเด็นปัญหานี้ ในระหว่างการประชุม ARF ที่เวียดนาม ท่าทีของสหรัฐฯทำให้จีนไม่พอใจมาก หลังจากนั้น จีนได้จัดการซ้อมรบในบริเวณหมู่เกาะสแปรตลีย์ ทำให้เกิดปฏิกิริยาตอบโต้ โดยเกิดความร่วมมือทางทหารระหว่างสหรัฐฯกับเวียดนาม เรือรบและเรือบรรทุกเครื่องบินของสหรัฐฯได้จอดเทียบท่าที่เมืองดานัง และเวียดนามได้ประณามจีนในการส่งเรือรบเข้าไปในหมู่เกาะพาราเซล ซึ่งเวียดนามถือว่าเป็นของตน อย่างไรก็ตาม ในช่วงระยะเวลาต่อมา จีนและอาเซียนได้พยายามคลี่คลายให้ปัญหาลดความร้อนแรงลง ด้วยการหันกลับมาเจรจา แต่ล่าสุด ก็เกิดเหตุการณ์ความขัดแย้ง และวิกฤตครั้งใหม่ขึ้นอีก ซึ่งมีรายละเอียด ดังนี้
เวียดนาม
วิกฤตได้ปะทุขึ้นมาอีกครั้ง เมื่อเร็วๆนี้ โดยในช่วงสัปดาห์ที่แล้ว โฆษกกระทรวงต่างประเทศเวียดนาม ได้ออกมากล่าวโจมตีจีนอย่างรุนแรง โดยกล่าวหาว่า เรือประมงจีนและเรือรบของจีนอีก 2 ลำ ได้ทำความเสียหายแก่สายเคเบิลเรือสำรวจก๊าซและน้ำมันของบริษัทพลังงานเวียดนาม ที่มีชื่อว่า Petro Vietnam และต่อมาได้มีการเดินขบวนของชาวเวียดนามนับพันคน ทั้งที่ฮานอย และโฮจิมินห์ ซิตี้ เพื่อประท้วงการกระทำของจีน และล่าสุด เมื่อไม่กี่วันที่ผ่านมา เวียดนามได้ทำการซ้อมรบด้วยกระสุนจริงในบริเวณน่านน้ำนอกชายฝั่งเวียดนาม
ส่วนจีนได้ตอบโต้กลับไป โดยโฆษกกระทรวงต่างประเทศจีน ได้กล่าวว่า เรือประมงของจีนได้ลอยลำอยู่ในเขตหมู่เกาะสแปรตลีย์ ซึ่งเป็นเขตน่านน้ำของจีน และกล่าวว่า ลูกเรือเพียงพยายามป้องกันตนเอง เพราะกำลังถูกเรือสำรวจน้ำมันของเวียดนามและ เรือรบของเวียดนามไล่ล่า การกล่าวอ้างของเวียดนามจึงไม่เป็นความจริง โฆษกกระทรวงต่างประเทศจีนย้ำถึงอำนาจอธิปไตยของจีนเหนือหมู่เกาะสแปรตลีย์ ดังนั้น ในการสำรวจน้ำมันอย่างผิดกฎหมาย เวียดนามจึงละเมิดอธิปไตยของจีนอย่างรุนแรง จีนจึงขอให้เวียดนาม ยุติการกระทำดังกล่าว
ฟิลิปปินส์
และในช่วงสัปดาห์ที่แล้ว นอกจากเวียดนามแล้ว ฟิลิปปินส์ก็ได้ออกแถลงการณ์โจมตีจีนอย่างรุนแรง โดยกล่าวหาว่า จีนได้ทำลายสันติภาพและเสถียรภาพในภูมิภาค ด้วยการส่งเรือรบเข้ามาข่มขู่ประเทศต่างๆในทะเลจีนใต้ โดยทางฟิลิปปินส์ได้ประท้วงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ถึงเดือนพฤษภาคม โดยมีเหตุการณ์ที่เรือรบของจีนได้ยิงปืนเข้าใส่เรือประมงของฟิลิปปินส์ ข่มขู่เรือสำรวจน้ำมันของฟิลิปปินส์ กระทรวงต่างประเทศฟิลิปปินส์ได้กล่าวว่า การกระทำของจีนในน่านน้ำของฟิลิปปินส์ ถือเป็นการละเมิดอธิปไตยของฟิลิปปินส์ โดยเหตุการณ์ที่ถือว่ารุนแรงที่สุด เกิดขึ้นในวันที่ 25 กุมภาพันธ์ เมื่อเรือรบของจีน ได้ยิงปืนเข้าใส่เรือประมงฟิลิปปินส์ ในบริเวณเกาะ Jackson Atoll ซึ่งฟิลิปปินส์อ้างว่าเป็นของตน นอกจากนี้ ในวันที่ 2 มีนาคม เรือรบจีน 2 ลำ ได้ข่มขู่เรือสำรวจน้ำมันของฟิลิปปินส์ และ จีนกำลังทำการก่อสร้างเพิ่มเติมในบริเวณเกาะที่ฟิลิปปินส์อ้างว่าเป็นของฟิลิปปินส์ ที่มีชื่อเรียกว่า Amy Douglas Bank
อย่างไรก็ตาม ทูตจีนประจำฟิลิปปินส์ ได้ออกมาปฏิเสธทุกข้อกล่าวหา โดยตอกย้ำว่า จีนต้องการสันติภาพ และได้เรียกร้องให้ทุกฝ่ายยุติการสำรวจทรัพยากรในเขตน่านน้ำของจีน เขากล่าวว่า จีนจะไม่ใช้กำลัง นอกจากจะถูกโจมตีก่อน
ต่อมา เมื่อวันจันทร์ที่ 13 มิถุนายนที่ผ่านมา รัฐบาลฟิลิปปินส์ได้ประกาศเปลี่ยนชื่อ “ทะเลจีนใต้” (South China Sea) เป็น “ทะเลฟิลิปปินส์ตะวันตก” (West Philippines Sea) โดยโฆษกประธานาธิบดีฟิลิปปินส์ ได้บอกว่า ทางกระทรวงต่างประเทศและกระทรวงกลาโหมฟิลิปปินส์ได้เปลี่ยนมาใช้ชื่อ “ทะเลฟิลิปปินส์ตะวันตก” อย่างเป็นทางการแล้ว และอ้างว่า เวียดนาม ก็ได้เปลี่ยนชื่อทะเลจีนใต้มาเป็น “ทะเลตะวันออก” (East Sea) แล้วเหมือนกัน
ไต้หวัน
ไต้หวันก็เป็นอีกคู่กรณีหนึ่งที่อ้างกรรมสิทธิ์เหนือหมู่เกาะสแปรตลีย์ทั้งหมดเหมือนจีน โดยล่าสุด โฆษกกระทรวงกลาโหมของไต้หวันได้ออกมาประกาศว่า ไต้หวันมีแผนที่จะส่งเรือรบเข้ามาในเขตทะเลจีนใต้ และส่งรถถังไปประจำการบนเกาะที่ไต้หวันครอบครองอยู่ โดยช่วงสัปดาห์ที่แล้ว ไต้หวันประกาศตอกย้ำความเป็นเจ้าของหมู่เกาะสแปรตลีย์ทั้งหมด โดยไต้หวันได้ส่งทหารจำนวน 130 นาย เข้าไปประจำการอยู่บนเกาะ Taiping ซึ่งเป็นเกาะที่ใหญ่ที่สุดในทะเลจีนใต้ ซึ่งไต้หวันครอบครองอยู่
อาเซียน
สำหรับบทบาทของอาเซียนนั้น ในปี 2002 ได้มีการทำปฏิญญาระหว่างอาเซียนกับจีน เพื่อแก้ไขปัญหานี้อย่างสันติวิธี และหลังจากนั้น ได้มีความพยายามที่จะเจรจา Code of Conduct แต่การเจรจาก็สะดุด ติดขัด มาโดยตลอด เมื่อช่วงเดือนธันวาคมปีที่แล้ว จีนได้เป็นเจ้าภาพจัดประชุมเรื่องนี้กับอาเซียนที่เมืองคุนหมิง แต่ก็ประสบความล้มเหลว ไม่คืบหน้า โดยมีการวิเคราะห์กันว่า อาเซียนเองก็เสียงแตก เพราะเป็นที่รู้กันดีว่า ประเทศอาเซียนบางประเทศก็ถือหางจีน โดยเฉพาะ พม่า ลาว และกัมพูชา ประเทศที่เป็นคู่กรณีกับจีนในเรื่องนี้โดยตรง มีเพียง เวียดนาม ฟิลิปปินส์ มาเลเซีย และบรูไน ส่วนไทย สิงคโปร์ และอินโดนีเซีย ก็ไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องโดยตรง คือ ไม่ได้ ไม่เสียอะไร ฉะนั้น อาเซียนจึงไม่มีเอกภาพในการเจรจากับจีน
สหรัฐฯ
ตัวแปรสำคัญและผู้ที่อยู่เบื้องหลังฉากของความขัดแย้งครั้งใหม่นี้ คือ สหรัฐฯ โดยยุทธศาสตร์ใหญ่ของสหรัฐฯในภูมิภาค คือ ยุทธศาสตร์การปิดล้อมจีน และยุทธศาสตร์การสกัดกั้นอิทธิพลของจีน ดังนั้น การที่สหรัฐฯเข้ามายุ่งกับปัญหาหมู่เกาะสแปรตลีย์ และทำให้จีนกับประเทศอาเซียนทะเลาะกัน จึงเป็นเป้าหมายของสหรัฐฯ เพื่อเป็นการเปิดช่องให้สหรัฐฯเข้ามามีบทบาททางทหารในภูมิภาคมากขึ้น และเพื่อปิดล้อมจีนทางทหารด้วย เห็นได้ชัดว่า จากการที่สหรัฐฯจุดชนวนเรื่องนี้ขึ้นมาเมื่อปีที่แล้ว เป็นการแสดงให้เห็นท่าทีของสหรัฐฯในเรื่องนี้อย่างชัดเจน และทำให้ประเทศเล็กๆในอาเซียนพร้อมที่จะเผชิญหน้ากับจีนมากขึ้น เพราะรู้ดีว่ามีสหรัฐฯถือหางอยู่เบื้องหลัง ปัจจัยนี้ น่าจะอธิบายได้เป็นอย่างดีว่า ทำไมเวียดนามกับฟิลิปปินส์ถึงกล้าที่จะเผชิญหน้ากับจีนในครั้งนี้
โดยเมื่อช่วงต้นเดือนมิถุนายนนี้ Robert Willard ผู้บัญชาการกองทัพเรือของสหรัฐฯในภูมิภาคแปซิฟิก ได้กล่าวในการประชุมสัมมนาที่มาเลเซียว่า กองทัพเรือของสหรัฐฯมีเป้าหมายที่จะคงบทบาททางทหารในทะเลจีนใต้ และมีแนวโน้มที่จะเพิ่มบทบาทมากขึ้นในอนาคต
จีน
การผงาดขึ้นมาของจีนอย่างรวดเร็ว ได้ก่อให้เกิดความขัดแย้งระหว่างจีนกับประเทศต่างๆในภูมิภาค ทั้งกับมหาอำนาจ และกับประเทศเพื่อนบ้าน โดยเฉพาะในกรณีปัญหาหมู่เกาะสแปรตลีย์ จีนตกอยู่ในสภาพ “กลืนไม่เข้า คายไม่ออก” ในแง่หนึ่ง จีนก็ต้องการที่จะชูสโลแกน “การผงาดขึ้นมาอย่างสันติ” (peaceful rise) โดยไม่ต้องการมีปัญหาขัดแย้งกับใคร โดยเฉพาะกับประเทศเพื่อนบ้าน แต่ขณะเดียวกัน จีนก็ต้องการผงาดขึ้นมาเป็นมหาอำนาจ และการครอบครองทะเลจีนใต้ ก็เป็นยุทธศาสตร์สำคัญในการผงาดขึ้นมาเป็นมหาอำนาจทางทะเลในภูมิภาค
อย่างไรก็ตาม อาจสรุปได้ว่า จีนกำลังประสบกับทางแพร่งที่สำคัญทางด้านนโยบายต่างประเทศ คือ จากท่าทีที่แข็งกร้าวของจีนที่เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ทำให้ประเทศเพื่อนบ้านหวั่นวิตก มหาอำนาจทั้งสหรัฐฯและญี่ปุ่น ก็มีแนวโน้มเพิ่มบทบาททางทหารมากขึ้นเพื่อปิดล้อมจีน ประเทศต่างๆในภูมิภาค ก็มีแนวโน้มจะใกล้ชิดกับสหรัฐฯมากขึ้น เพื่อดึงสหรัฐฯมาถ่วงดุลทางทหารกับจีน และที่สำคัญ คือ สโลแกน “การผงาดขึ้นมาอย่างสันติ” หรือ peaceful rise กำลังได้รับผลกระทบอย่างหนัก
ตีพิมพ์ใน สยามรัฐสัปดาหวิจารณ์ ฉบับวันศุกร์ที่ 17 – วันพฤหัสบดีที่ 23 มิถุนายน 2554
ความขัดแย้งระหว่างประเทศ ที่วิกฤตที่สุดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และอาจลุกลามใหญ่โตจนอาจเป็นสงครามในอนาคตได้ คือ ความขัดแย้งในทะเลจีนใต้ หรือความขัดแย้งในหมู่เกาะสแปรตลีย์
ปีที่แล้ว สหรัฐฯได้จุดประเด็นปัญหานี้ ในระหว่างการประชุม ARF ที่เวียดนาม ท่าทีของสหรัฐฯทำให้จีนไม่พอใจมาก หลังจากนั้น จีนได้จัดการซ้อมรบในบริเวณหมู่เกาะสแปรตลีย์ ทำให้เกิดปฏิกิริยาตอบโต้ โดยเกิดความร่วมมือทางทหารระหว่างสหรัฐฯกับเวียดนาม เรือรบและเรือบรรทุกเครื่องบินของสหรัฐฯได้จอดเทียบท่าที่เมืองดานัง และเวียดนามได้ประณามจีนในการส่งเรือรบเข้าไปในหมู่เกาะพาราเซล ซึ่งเวียดนามถือว่าเป็นของตน อย่างไรก็ตาม ในช่วงระยะเวลาต่อมา จีนและอาเซียนได้พยายามคลี่คลายให้ปัญหาลดความร้อนแรงลง ด้วยการหันกลับมาเจรจา แต่ล่าสุด ก็เกิดเหตุการณ์ความขัดแย้ง และวิกฤตครั้งใหม่ขึ้นอีก ซึ่งมีรายละเอียด ดังนี้
เวียดนาม
วิกฤตได้ปะทุขึ้นมาอีกครั้ง เมื่อเร็วๆนี้ โดยในช่วงสัปดาห์ที่แล้ว โฆษกกระทรวงต่างประเทศเวียดนาม ได้ออกมากล่าวโจมตีจีนอย่างรุนแรง โดยกล่าวหาว่า เรือประมงจีนและเรือรบของจีนอีก 2 ลำ ได้ทำความเสียหายแก่สายเคเบิลเรือสำรวจก๊าซและน้ำมันของบริษัทพลังงานเวียดนาม ที่มีชื่อว่า Petro Vietnam และต่อมาได้มีการเดินขบวนของชาวเวียดนามนับพันคน ทั้งที่ฮานอย และโฮจิมินห์ ซิตี้ เพื่อประท้วงการกระทำของจีน และล่าสุด เมื่อไม่กี่วันที่ผ่านมา เวียดนามได้ทำการซ้อมรบด้วยกระสุนจริงในบริเวณน่านน้ำนอกชายฝั่งเวียดนาม
ส่วนจีนได้ตอบโต้กลับไป โดยโฆษกกระทรวงต่างประเทศจีน ได้กล่าวว่า เรือประมงของจีนได้ลอยลำอยู่ในเขตหมู่เกาะสแปรตลีย์ ซึ่งเป็นเขตน่านน้ำของจีน และกล่าวว่า ลูกเรือเพียงพยายามป้องกันตนเอง เพราะกำลังถูกเรือสำรวจน้ำมันของเวียดนามและ เรือรบของเวียดนามไล่ล่า การกล่าวอ้างของเวียดนามจึงไม่เป็นความจริง โฆษกกระทรวงต่างประเทศจีนย้ำถึงอำนาจอธิปไตยของจีนเหนือหมู่เกาะสแปรตลีย์ ดังนั้น ในการสำรวจน้ำมันอย่างผิดกฎหมาย เวียดนามจึงละเมิดอธิปไตยของจีนอย่างรุนแรง จีนจึงขอให้เวียดนาม ยุติการกระทำดังกล่าว
ฟิลิปปินส์
และในช่วงสัปดาห์ที่แล้ว นอกจากเวียดนามแล้ว ฟิลิปปินส์ก็ได้ออกแถลงการณ์โจมตีจีนอย่างรุนแรง โดยกล่าวหาว่า จีนได้ทำลายสันติภาพและเสถียรภาพในภูมิภาค ด้วยการส่งเรือรบเข้ามาข่มขู่ประเทศต่างๆในทะเลจีนใต้ โดยทางฟิลิปปินส์ได้ประท้วงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ถึงเดือนพฤษภาคม โดยมีเหตุการณ์ที่เรือรบของจีนได้ยิงปืนเข้าใส่เรือประมงของฟิลิปปินส์ ข่มขู่เรือสำรวจน้ำมันของฟิลิปปินส์ กระทรวงต่างประเทศฟิลิปปินส์ได้กล่าวว่า การกระทำของจีนในน่านน้ำของฟิลิปปินส์ ถือเป็นการละเมิดอธิปไตยของฟิลิปปินส์ โดยเหตุการณ์ที่ถือว่ารุนแรงที่สุด เกิดขึ้นในวันที่ 25 กุมภาพันธ์ เมื่อเรือรบของจีน ได้ยิงปืนเข้าใส่เรือประมงฟิลิปปินส์ ในบริเวณเกาะ Jackson Atoll ซึ่งฟิลิปปินส์อ้างว่าเป็นของตน นอกจากนี้ ในวันที่ 2 มีนาคม เรือรบจีน 2 ลำ ได้ข่มขู่เรือสำรวจน้ำมันของฟิลิปปินส์ และ จีนกำลังทำการก่อสร้างเพิ่มเติมในบริเวณเกาะที่ฟิลิปปินส์อ้างว่าเป็นของฟิลิปปินส์ ที่มีชื่อเรียกว่า Amy Douglas Bank
อย่างไรก็ตาม ทูตจีนประจำฟิลิปปินส์ ได้ออกมาปฏิเสธทุกข้อกล่าวหา โดยตอกย้ำว่า จีนต้องการสันติภาพ และได้เรียกร้องให้ทุกฝ่ายยุติการสำรวจทรัพยากรในเขตน่านน้ำของจีน เขากล่าวว่า จีนจะไม่ใช้กำลัง นอกจากจะถูกโจมตีก่อน
ต่อมา เมื่อวันจันทร์ที่ 13 มิถุนายนที่ผ่านมา รัฐบาลฟิลิปปินส์ได้ประกาศเปลี่ยนชื่อ “ทะเลจีนใต้” (South China Sea) เป็น “ทะเลฟิลิปปินส์ตะวันตก” (West Philippines Sea) โดยโฆษกประธานาธิบดีฟิลิปปินส์ ได้บอกว่า ทางกระทรวงต่างประเทศและกระทรวงกลาโหมฟิลิปปินส์ได้เปลี่ยนมาใช้ชื่อ “ทะเลฟิลิปปินส์ตะวันตก” อย่างเป็นทางการแล้ว และอ้างว่า เวียดนาม ก็ได้เปลี่ยนชื่อทะเลจีนใต้มาเป็น “ทะเลตะวันออก” (East Sea) แล้วเหมือนกัน
ไต้หวัน
ไต้หวันก็เป็นอีกคู่กรณีหนึ่งที่อ้างกรรมสิทธิ์เหนือหมู่เกาะสแปรตลีย์ทั้งหมดเหมือนจีน โดยล่าสุด โฆษกกระทรวงกลาโหมของไต้หวันได้ออกมาประกาศว่า ไต้หวันมีแผนที่จะส่งเรือรบเข้ามาในเขตทะเลจีนใต้ และส่งรถถังไปประจำการบนเกาะที่ไต้หวันครอบครองอยู่ โดยช่วงสัปดาห์ที่แล้ว ไต้หวันประกาศตอกย้ำความเป็นเจ้าของหมู่เกาะสแปรตลีย์ทั้งหมด โดยไต้หวันได้ส่งทหารจำนวน 130 นาย เข้าไปประจำการอยู่บนเกาะ Taiping ซึ่งเป็นเกาะที่ใหญ่ที่สุดในทะเลจีนใต้ ซึ่งไต้หวันครอบครองอยู่
อาเซียน
สำหรับบทบาทของอาเซียนนั้น ในปี 2002 ได้มีการทำปฏิญญาระหว่างอาเซียนกับจีน เพื่อแก้ไขปัญหานี้อย่างสันติวิธี และหลังจากนั้น ได้มีความพยายามที่จะเจรจา Code of Conduct แต่การเจรจาก็สะดุด ติดขัด มาโดยตลอด เมื่อช่วงเดือนธันวาคมปีที่แล้ว จีนได้เป็นเจ้าภาพจัดประชุมเรื่องนี้กับอาเซียนที่เมืองคุนหมิง แต่ก็ประสบความล้มเหลว ไม่คืบหน้า โดยมีการวิเคราะห์กันว่า อาเซียนเองก็เสียงแตก เพราะเป็นที่รู้กันดีว่า ประเทศอาเซียนบางประเทศก็ถือหางจีน โดยเฉพาะ พม่า ลาว และกัมพูชา ประเทศที่เป็นคู่กรณีกับจีนในเรื่องนี้โดยตรง มีเพียง เวียดนาม ฟิลิปปินส์ มาเลเซีย และบรูไน ส่วนไทย สิงคโปร์ และอินโดนีเซีย ก็ไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องโดยตรง คือ ไม่ได้ ไม่เสียอะไร ฉะนั้น อาเซียนจึงไม่มีเอกภาพในการเจรจากับจีน
สหรัฐฯ
ตัวแปรสำคัญและผู้ที่อยู่เบื้องหลังฉากของความขัดแย้งครั้งใหม่นี้ คือ สหรัฐฯ โดยยุทธศาสตร์ใหญ่ของสหรัฐฯในภูมิภาค คือ ยุทธศาสตร์การปิดล้อมจีน และยุทธศาสตร์การสกัดกั้นอิทธิพลของจีน ดังนั้น การที่สหรัฐฯเข้ามายุ่งกับปัญหาหมู่เกาะสแปรตลีย์ และทำให้จีนกับประเทศอาเซียนทะเลาะกัน จึงเป็นเป้าหมายของสหรัฐฯ เพื่อเป็นการเปิดช่องให้สหรัฐฯเข้ามามีบทบาททางทหารในภูมิภาคมากขึ้น และเพื่อปิดล้อมจีนทางทหารด้วย เห็นได้ชัดว่า จากการที่สหรัฐฯจุดชนวนเรื่องนี้ขึ้นมาเมื่อปีที่แล้ว เป็นการแสดงให้เห็นท่าทีของสหรัฐฯในเรื่องนี้อย่างชัดเจน และทำให้ประเทศเล็กๆในอาเซียนพร้อมที่จะเผชิญหน้ากับจีนมากขึ้น เพราะรู้ดีว่ามีสหรัฐฯถือหางอยู่เบื้องหลัง ปัจจัยนี้ น่าจะอธิบายได้เป็นอย่างดีว่า ทำไมเวียดนามกับฟิลิปปินส์ถึงกล้าที่จะเผชิญหน้ากับจีนในครั้งนี้
โดยเมื่อช่วงต้นเดือนมิถุนายนนี้ Robert Willard ผู้บัญชาการกองทัพเรือของสหรัฐฯในภูมิภาคแปซิฟิก ได้กล่าวในการประชุมสัมมนาที่มาเลเซียว่า กองทัพเรือของสหรัฐฯมีเป้าหมายที่จะคงบทบาททางทหารในทะเลจีนใต้ และมีแนวโน้มที่จะเพิ่มบทบาทมากขึ้นในอนาคต
จีน
การผงาดขึ้นมาของจีนอย่างรวดเร็ว ได้ก่อให้เกิดความขัดแย้งระหว่างจีนกับประเทศต่างๆในภูมิภาค ทั้งกับมหาอำนาจ และกับประเทศเพื่อนบ้าน โดยเฉพาะในกรณีปัญหาหมู่เกาะสแปรตลีย์ จีนตกอยู่ในสภาพ “กลืนไม่เข้า คายไม่ออก” ในแง่หนึ่ง จีนก็ต้องการที่จะชูสโลแกน “การผงาดขึ้นมาอย่างสันติ” (peaceful rise) โดยไม่ต้องการมีปัญหาขัดแย้งกับใคร โดยเฉพาะกับประเทศเพื่อนบ้าน แต่ขณะเดียวกัน จีนก็ต้องการผงาดขึ้นมาเป็นมหาอำนาจ และการครอบครองทะเลจีนใต้ ก็เป็นยุทธศาสตร์สำคัญในการผงาดขึ้นมาเป็นมหาอำนาจทางทะเลในภูมิภาค
อย่างไรก็ตาม อาจสรุปได้ว่า จีนกำลังประสบกับทางแพร่งที่สำคัญทางด้านนโยบายต่างประเทศ คือ จากท่าทีที่แข็งกร้าวของจีนที่เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ทำให้ประเทศเพื่อนบ้านหวั่นวิตก มหาอำนาจทั้งสหรัฐฯและญี่ปุ่น ก็มีแนวโน้มเพิ่มบทบาททางทหารมากขึ้นเพื่อปิดล้อมจีน ประเทศต่างๆในภูมิภาค ก็มีแนวโน้มจะใกล้ชิดกับสหรัฐฯมากขึ้น เพื่อดึงสหรัฐฯมาถ่วงดุลทางทหารกับจีน และที่สำคัญ คือ สโลแกน “การผงาดขึ้นมาอย่างสันติ” หรือ peaceful rise กำลังได้รับผลกระทบอย่างหนัก
ยุทธศาสตร์ทางทหารของสหรัฐฯต่อเอเชีย ปี 2011
ยุทธศาสตร์ทางทหารของสหรัฐฯต่อเอเชีย ปี 2011
ตีพิมพ์ใน สยามรัฐสัปดาหวิจารณ์ ฉบับวันศุกร์ที่ 10 – วันพฤหัสบดีที่ 16 มิถุนายน 2554
เมื่อวันที่ 4 มิถุนายน ที่ผ่านมา Robert Gates รัฐมนตรีกลาโหมสหรัฐฯ ได้กล่าวสุนทรพจน์ในเวทีการประชุม Shangri-La Dialogue ที่สิงคโปร์ สุนทรพจน์ดังกล่าว เป็นการประกาศยุทธศาสตร์ทางทหารของสหรัฐฯล่าสุดต่อเอเชีย คอลัมน์โลกทรรศน์ในวันนี้ จะสรุป วิเคราะห์สุนทรพจน์ดังกล่าว ดังนี้
ภาพรวม
ในตอนต้นของสุนทรพจน์ Gates ได้กล่าวตอกย้ำว่า ผลประโยชน์ของสหรัฐฯในฐานะเป็นประเทศในภูมิภาคแปซิฟิก จะยังคงมีอยู่ต่อไป โดยสหรัฐฯกับเอเชีย ในศตวรรษที่ 21 นี้ จะเชื่อมต่อเข้าหากันมากขึ้น และด้วยแนวโน้มนี้ จะทำให้สหรัฐฯต้องคงยุทธศาสตร์กระชับความสัมพันธ์กับพันธมิตร ปฏิสัมพันธ์ทางทหาร และดำเนินยุทธศาสตร์การป้องปรามในภูมิภาค
ปฏิสัมพันธ์ของสหรัฐฯในเอเชีย ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา ได้เพิ่มขึ้นอย่างมาก Gates ได้กล่าวว่า เขาสังเกตเห็นได้อย่างชัดเจนว่า ขณะนี้ ประเทศต่างๆในภูมิภาค ต้องการกระชับความสัมพันธ์ทางทหารกับสหรัฐฯ
Gates ได้กล่าวต่อไปว่า ยุทธศาสตร์ปฏิสัมพันธ์ในเอเชีย จะตั้งอยู่บนหลักการ ดังต่อไปนี้
- การค้าเสรีและเปิดกว้าง
- ระเบียบระหว่างประเทศที่เน้นสิทธิและความรับผิดชอบของประเทศต่างๆ และหลักนิติธรรม
- การเข้าถึงอย่างเปิดกว้างต่อพื้นที่สาธารณะ ทั้งทางทะเล ทางอากาศ และทาง internet
- หลักการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งโดยปราศจากการใช้กำลัง
อย่างไรก็ตาม ในขณะที่สถานการณ์ในภูมิภาคได้เปลี่ยนแปลงไป สหรัฐฯก็ต้องมีความยืดหยุ่นที่จะต้องเปลี่ยนแปลงยุทธศาสตร์ โดยนอกจากจะคงบทบาทในภูมิภาค แต่ในอนาคต สหรัฐฯจะต้องเพิ่มบทบาทด้วยการกระชับความสัมพันธ์กับประเทศต่างๆ เพิ่มสมรรถนะภาพใหม่ๆ และปฏิรูปกองกำลังทหาร เพื่อเผชิญกับสิ่งท้าทายใหม่ๆ
Gates กล่าวต่อไปว่า ปฏิสัมพันธ์ทางทหารของสหรัฐฯ จะเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งต่อเสถียรภาพในภูมิภาค ในขณะนี้ ถึงแม้จะมีการพูดกันมากว่า สหรัฐฯเน้นความสัมพันธ์กับพันธมิตรในเอเชียตะวันออกเฉียงเหนือ อย่างไรก็ตาม ในปัจจุบัน สหรัฐฯกำลังปรับยุทธศาสตร์ใหม่ทั่วภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก โดยให้มีความสมดุลในทุกภูมิภาค โดยเฉพาะการเน้นการคงบทบาทในเอเชียตะวันออกเฉียงเหนือ ขณะเดียวกันก็เพิ่มบทบาทในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และในมหาสมุทรอินเดีย
Gates กล่าวต่อไปว่า ในอนาคต ยุทธศาสตร์ทหารสหรัฐฯ จะเน้นปฏิสัมพันธ์ทางทะเล การฝึกอบรมในลักษณะพหุภาคีกับประเทศต่างๆในภูมิภาค นอกจากนี้ กองทัพเรือและกองทัพอากาศสหรัฐฯ กำลังร่วมมือกันในการพัฒนายุทธศาสตร์ใหม่ที่เรียกว่า Air-Sea Battle เพื่อทำให้มั่นใจได้ว่า กองกำลังสหรัฐฯจะสามารถเคลื่อนย้ายและปฏิบัติการทางทหารได้ เพื่อปกป้องพันธมิตรและผลประโยชน์ของสหรัฐฯ
กล่าวโดยรวม ยุทธศาสตร์สหรัฐฯ เน้นการคงและเพิ่มบทบาททางทหารในเอเชีย โดยการสนับสนุนพันธมิตร ในขณะเดียวกัน ก็เตรียมพร้อมในการป้องปรามและเอาชนะศัตรูในอนาคต
พันธมิตร
ประเทศที่สหรัฐฯให้ความสำคัญมากที่สุด คือ พันธมิตรทางทหาร โดย Gates ได้กล่าวถึงความสัมพันธ์ระหว่างสหรัฐฯกับประเทศต่างๆ ดังนี้
- ญี่ปุ่น : ความสัมพันธ์ระหว่างสหรัฐฯกับญี่ปุ่น ถือเป็นเสาหลักของเสถียรภาพในภูมิภาค
- เกาหลีใต้ : พันธมิตรระหว่างสหรัฐฯกับเกาหลีใต้ ยังคงเป็นเสาหลักของยุทธศาสตร์ความมั่นคงของสหรัฐฯในภูมิภาค กองกำลังของทั้ง 2 ประเทศ จะพัฒนาสมรรถนะภาพร่วมกัน ทั้งนี้ เพื่อป้องปรามและเอาชนะการรุกรานจากเกาหลีเหนือ
- ออสเตรเลีย : เมื่อเดือนพฤศจิกายน ปีที่แล้ว สหรัฐฯและออสเตรเลีย ได้จัดตั้งคณะทำงานเพื่อขยายความร่วมมือทางทหารของทั้ง 2 ประเทศ
- สิงคโปร์ : ความสัมพันธ์ทางทหารระหว่างสหรัฐฯกับสิงคโปร์ ได้กระชับแน่นแฟ้นมากขึ้น ภายใต้กรอบความตกลง Strategic Framework Agreement กองทัพเรือสหรัฐฯจะใช้สิงคโปร์เป็นฐานสำคัญ
- เวียดนาม : ความสัมพันธ์ระหว่างสหรัฐฯกับเวียดนาม กระชับแน่นแฟ้นขึ้นมาก ทั้งทางด้านเศรษฐกิจ ความมั่นคง และทางทหาร
- อินเดีย : ในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา ความสัมพันธ์ระหว่างสหรัฐฯและอินเดียได้เปลี่ยนแปลงไปมาก ในปัจจุบัน ทั้ง 2 ประเทศกลายเป็นหุ้นส่วนกัน โดยความสัมพันธ์ตั้งอยู่บนพื้นฐานอุดมการณ์ประชาธิปไตยร่วมกัน และผลประโยชน์ทางด้านความมั่นคงและเศรษฐกิจร่วมกัน ความเป็นหุ้นส่วนของทั้ง 2 ประเทศ จะเป็นเสาหลักของเสถียรภาพในเอเชียใต้
เวทีพหุภาคี
Gates ได้กล่าวต่อไปว่า ถึงแม้ความสัมพันธ์ทวิภาคี จะมีความสัมพันธ์เป็นลำดับแรก แต่สหรัฐฯก็พยายามส่งเสริมความร่วมมือในระดับพหุภาคีด้วย สิ่งท้าทายสำคัญในเอเชีย คือ การขาดกลไกความร่วมมือในภูมิภาค Gates ได้กล่าวว่า เขาได้พยายามที่จะแก้ไขปัญหานี้ และนี่คือเหตุผลที่ทำให้สหรัฐฯเป็นประเทศแรกที่ตอบรับคำเชิญของอาเซียน ที่จะเข้าร่วมการประชุมกับรัฐมนตรีกลาโหมอาเซียน ซึ่งมีชื่อย่อว่า ADMM+8 โดยเขาหวังว่า เวทีนี้ จะมีความก้าวหน้าในความร่วมมือด้านต่างๆ โดยเฉพาะความมั่นคงทางทะเล การบรรเทาภัยพิบัติ และการปฏิบัติการรักษาสันติภาพ
จีนและความมั่นคงทางทะเล
สำหรับความสัมพันธ์กับจีนนั้น สหรัฐฯพยายามสร้างความสัมพันธ์ที่เป็นบวก และสมบูรณ์เบ็ดเสร็จ Gates กล่าวว่า เขาพยายามสร้างความร่วมมือทางทหารกับจีน เมื่อเดือนมกราคม Gates ก็ได้เดินทางไปเยือนจีน และเมื่อ 2-3 สัปดาห์ที่แล้ว นายพล Chen ผู้นำทหารของจีน ก็ได้เดินทางไปเยือนสหรัฐฯ
อย่างไรก็ตาม Gates ได้กล่าวว่า ความมั่นคงทางทะเล เป็นเรื่องที่สหรัฐฯห่วงกังวล (ถึงแม้ Gates จะไม่ได้กล่าวถึงจีน แต่เรื่องนี้ก็เกี่ยวข้องกับจีนโดยตรง โดยเฉพาะปัญหาหมู่เกาะสแปรตลีย์) โดยท่าทีของสหรัฐฯชัดเจน คือ สหรัฐฯมีผลประโยชน์แห่งชาติ ในเสรีภาพในการเดินเรือ และการค้า และการเคารพกฎหมายระหว่างประเทศ
บทวิเคราะห์
• ผมมองว่า โดยภาพรวมแล้ว สุนทรพจน์ของ Gates ในครั้งนี้ แม้จะเป็นการประกาศยุทธศาสตร์ทหารของสหรัฐฯล่าสุดต่อเอเชีย แต่ก็ไม่ได้มีอะไรใหม่ ส่วนใหญ่เป็นการตอกย้ำยุทธศาสตร์และนโยบายเดิมของสหรัฐฯ
• อย่างไรก็ตาม หากดูประเทศที่ Gates กล่าวถึงในการเป็นพันมิตรและหุ้นส่วน เห็นได้ชัดว่า สหรัฐฯเน้นพันธมิตรหลัก คือ ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ และออสเตรเลีย ส่วนหุ้นส่วนใหม่ที่ Gates พูดถึง คือ สิงคโปร์ เวียดนาม และอินเดีย เป็นที่น่าสังเกตว่า Gates ไม่ได้กล่าวถึงไทยเลย โดยปกติแล้ว การประกาศนโยบายของสหรัฐฯต่อเอเชีย จะเน้นการกล่าวถึงพันธมิตรทางทหารทั้ง 5 ซึ่งได้แก่ ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ ออสเตรเลีย ฟิลิปปินส์ และไทย ผมมองว่า ขณะนี้ สถานการณ์การเป็นพันธมิตรของไทยน่าเป็นห่วง มีแนวโน้มที่ชัดเจนมากขึ้นเรื่อยๆว่า ในสายตาของสหรัฐฯ ไทยมีความสำคัญลดลง ซึ่งเรื่องนี้ อาจจะเป็นเรื่องใหญ่ในระยะยาว ไทยอาจตกชั้นจากพันธมิตรชั้น 1 โดยประเทศที่มาแรง และกำลังจะแซงหน้าไทยในความใกล้ชิดกับสหรัฐฯ คือ สิงคโปร์ เวียดนาม อินโดนีเซีย และมาเลเซีย
• สำหรับในกรณีของจีนนั้น แม้ในสุนทรพจน์จะไม่ได้กล่าวโจมตีจีนในทางลบ แต่ในความเป็นจริง สหรัฐฯกำลังมองจีนว่าเป็นคู่แข่ง และเป็นภัยคุกคามมากขึ้นเรื่อยๆ
ประเด็นร้อนที่ชี้ให้เห็นถึงการมองจีนในแง่ลบมากขึ้นเรื่อยๆ คือ ความขัดแย้งในหมู่เกาะ สแปรตลีย์ แม้ Gates จะไม่ได้โจมตีจีนในสุนทรพจน์ แต่ในช่วงตอบคำถาม ก็ได้กล่าวอย่างชัดเจนว่า สหรัฐฯกำลังเป็นห่วงมากขึ้นเรื่อยๆต่อความเคลื่อนไหวทางทหารของจีนในบริเวณหมู่เกาะสแปรตลีย์ Gates ถึงกับกล่าวว่า เขากลัวว่า หากปราศจากกฎเกณฑ์และวิธีแก้ปัญหาร่วมกัน ความขัดแย้งอาจจะนำไปสู่การปะทะกันทางทหารได้
ตีพิมพ์ใน สยามรัฐสัปดาหวิจารณ์ ฉบับวันศุกร์ที่ 10 – วันพฤหัสบดีที่ 16 มิถุนายน 2554
เมื่อวันที่ 4 มิถุนายน ที่ผ่านมา Robert Gates รัฐมนตรีกลาโหมสหรัฐฯ ได้กล่าวสุนทรพจน์ในเวทีการประชุม Shangri-La Dialogue ที่สิงคโปร์ สุนทรพจน์ดังกล่าว เป็นการประกาศยุทธศาสตร์ทางทหารของสหรัฐฯล่าสุดต่อเอเชีย คอลัมน์โลกทรรศน์ในวันนี้ จะสรุป วิเคราะห์สุนทรพจน์ดังกล่าว ดังนี้
ภาพรวม
ในตอนต้นของสุนทรพจน์ Gates ได้กล่าวตอกย้ำว่า ผลประโยชน์ของสหรัฐฯในฐานะเป็นประเทศในภูมิภาคแปซิฟิก จะยังคงมีอยู่ต่อไป โดยสหรัฐฯกับเอเชีย ในศตวรรษที่ 21 นี้ จะเชื่อมต่อเข้าหากันมากขึ้น และด้วยแนวโน้มนี้ จะทำให้สหรัฐฯต้องคงยุทธศาสตร์กระชับความสัมพันธ์กับพันธมิตร ปฏิสัมพันธ์ทางทหาร และดำเนินยุทธศาสตร์การป้องปรามในภูมิภาค
ปฏิสัมพันธ์ของสหรัฐฯในเอเชีย ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา ได้เพิ่มขึ้นอย่างมาก Gates ได้กล่าวว่า เขาสังเกตเห็นได้อย่างชัดเจนว่า ขณะนี้ ประเทศต่างๆในภูมิภาค ต้องการกระชับความสัมพันธ์ทางทหารกับสหรัฐฯ
Gates ได้กล่าวต่อไปว่า ยุทธศาสตร์ปฏิสัมพันธ์ในเอเชีย จะตั้งอยู่บนหลักการ ดังต่อไปนี้
- การค้าเสรีและเปิดกว้าง
- ระเบียบระหว่างประเทศที่เน้นสิทธิและความรับผิดชอบของประเทศต่างๆ และหลักนิติธรรม
- การเข้าถึงอย่างเปิดกว้างต่อพื้นที่สาธารณะ ทั้งทางทะเล ทางอากาศ และทาง internet
- หลักการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งโดยปราศจากการใช้กำลัง
อย่างไรก็ตาม ในขณะที่สถานการณ์ในภูมิภาคได้เปลี่ยนแปลงไป สหรัฐฯก็ต้องมีความยืดหยุ่นที่จะต้องเปลี่ยนแปลงยุทธศาสตร์ โดยนอกจากจะคงบทบาทในภูมิภาค แต่ในอนาคต สหรัฐฯจะต้องเพิ่มบทบาทด้วยการกระชับความสัมพันธ์กับประเทศต่างๆ เพิ่มสมรรถนะภาพใหม่ๆ และปฏิรูปกองกำลังทหาร เพื่อเผชิญกับสิ่งท้าทายใหม่ๆ
Gates กล่าวต่อไปว่า ปฏิสัมพันธ์ทางทหารของสหรัฐฯ จะเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งต่อเสถียรภาพในภูมิภาค ในขณะนี้ ถึงแม้จะมีการพูดกันมากว่า สหรัฐฯเน้นความสัมพันธ์กับพันธมิตรในเอเชียตะวันออกเฉียงเหนือ อย่างไรก็ตาม ในปัจจุบัน สหรัฐฯกำลังปรับยุทธศาสตร์ใหม่ทั่วภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก โดยให้มีความสมดุลในทุกภูมิภาค โดยเฉพาะการเน้นการคงบทบาทในเอเชียตะวันออกเฉียงเหนือ ขณะเดียวกันก็เพิ่มบทบาทในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และในมหาสมุทรอินเดีย
Gates กล่าวต่อไปว่า ในอนาคต ยุทธศาสตร์ทหารสหรัฐฯ จะเน้นปฏิสัมพันธ์ทางทะเล การฝึกอบรมในลักษณะพหุภาคีกับประเทศต่างๆในภูมิภาค นอกจากนี้ กองทัพเรือและกองทัพอากาศสหรัฐฯ กำลังร่วมมือกันในการพัฒนายุทธศาสตร์ใหม่ที่เรียกว่า Air-Sea Battle เพื่อทำให้มั่นใจได้ว่า กองกำลังสหรัฐฯจะสามารถเคลื่อนย้ายและปฏิบัติการทางทหารได้ เพื่อปกป้องพันธมิตรและผลประโยชน์ของสหรัฐฯ
กล่าวโดยรวม ยุทธศาสตร์สหรัฐฯ เน้นการคงและเพิ่มบทบาททางทหารในเอเชีย โดยการสนับสนุนพันธมิตร ในขณะเดียวกัน ก็เตรียมพร้อมในการป้องปรามและเอาชนะศัตรูในอนาคต
พันธมิตร
ประเทศที่สหรัฐฯให้ความสำคัญมากที่สุด คือ พันธมิตรทางทหาร โดย Gates ได้กล่าวถึงความสัมพันธ์ระหว่างสหรัฐฯกับประเทศต่างๆ ดังนี้
- ญี่ปุ่น : ความสัมพันธ์ระหว่างสหรัฐฯกับญี่ปุ่น ถือเป็นเสาหลักของเสถียรภาพในภูมิภาค
- เกาหลีใต้ : พันธมิตรระหว่างสหรัฐฯกับเกาหลีใต้ ยังคงเป็นเสาหลักของยุทธศาสตร์ความมั่นคงของสหรัฐฯในภูมิภาค กองกำลังของทั้ง 2 ประเทศ จะพัฒนาสมรรถนะภาพร่วมกัน ทั้งนี้ เพื่อป้องปรามและเอาชนะการรุกรานจากเกาหลีเหนือ
- ออสเตรเลีย : เมื่อเดือนพฤศจิกายน ปีที่แล้ว สหรัฐฯและออสเตรเลีย ได้จัดตั้งคณะทำงานเพื่อขยายความร่วมมือทางทหารของทั้ง 2 ประเทศ
- สิงคโปร์ : ความสัมพันธ์ทางทหารระหว่างสหรัฐฯกับสิงคโปร์ ได้กระชับแน่นแฟ้นมากขึ้น ภายใต้กรอบความตกลง Strategic Framework Agreement กองทัพเรือสหรัฐฯจะใช้สิงคโปร์เป็นฐานสำคัญ
- เวียดนาม : ความสัมพันธ์ระหว่างสหรัฐฯกับเวียดนาม กระชับแน่นแฟ้นขึ้นมาก ทั้งทางด้านเศรษฐกิจ ความมั่นคง และทางทหาร
- อินเดีย : ในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา ความสัมพันธ์ระหว่างสหรัฐฯและอินเดียได้เปลี่ยนแปลงไปมาก ในปัจจุบัน ทั้ง 2 ประเทศกลายเป็นหุ้นส่วนกัน โดยความสัมพันธ์ตั้งอยู่บนพื้นฐานอุดมการณ์ประชาธิปไตยร่วมกัน และผลประโยชน์ทางด้านความมั่นคงและเศรษฐกิจร่วมกัน ความเป็นหุ้นส่วนของทั้ง 2 ประเทศ จะเป็นเสาหลักของเสถียรภาพในเอเชียใต้
เวทีพหุภาคี
Gates ได้กล่าวต่อไปว่า ถึงแม้ความสัมพันธ์ทวิภาคี จะมีความสัมพันธ์เป็นลำดับแรก แต่สหรัฐฯก็พยายามส่งเสริมความร่วมมือในระดับพหุภาคีด้วย สิ่งท้าทายสำคัญในเอเชีย คือ การขาดกลไกความร่วมมือในภูมิภาค Gates ได้กล่าวว่า เขาได้พยายามที่จะแก้ไขปัญหานี้ และนี่คือเหตุผลที่ทำให้สหรัฐฯเป็นประเทศแรกที่ตอบรับคำเชิญของอาเซียน ที่จะเข้าร่วมการประชุมกับรัฐมนตรีกลาโหมอาเซียน ซึ่งมีชื่อย่อว่า ADMM+8 โดยเขาหวังว่า เวทีนี้ จะมีความก้าวหน้าในความร่วมมือด้านต่างๆ โดยเฉพาะความมั่นคงทางทะเล การบรรเทาภัยพิบัติ และการปฏิบัติการรักษาสันติภาพ
จีนและความมั่นคงทางทะเล
สำหรับความสัมพันธ์กับจีนนั้น สหรัฐฯพยายามสร้างความสัมพันธ์ที่เป็นบวก และสมบูรณ์เบ็ดเสร็จ Gates กล่าวว่า เขาพยายามสร้างความร่วมมือทางทหารกับจีน เมื่อเดือนมกราคม Gates ก็ได้เดินทางไปเยือนจีน และเมื่อ 2-3 สัปดาห์ที่แล้ว นายพล Chen ผู้นำทหารของจีน ก็ได้เดินทางไปเยือนสหรัฐฯ
อย่างไรก็ตาม Gates ได้กล่าวว่า ความมั่นคงทางทะเล เป็นเรื่องที่สหรัฐฯห่วงกังวล (ถึงแม้ Gates จะไม่ได้กล่าวถึงจีน แต่เรื่องนี้ก็เกี่ยวข้องกับจีนโดยตรง โดยเฉพาะปัญหาหมู่เกาะสแปรตลีย์) โดยท่าทีของสหรัฐฯชัดเจน คือ สหรัฐฯมีผลประโยชน์แห่งชาติ ในเสรีภาพในการเดินเรือ และการค้า และการเคารพกฎหมายระหว่างประเทศ
บทวิเคราะห์
• ผมมองว่า โดยภาพรวมแล้ว สุนทรพจน์ของ Gates ในครั้งนี้ แม้จะเป็นการประกาศยุทธศาสตร์ทหารของสหรัฐฯล่าสุดต่อเอเชีย แต่ก็ไม่ได้มีอะไรใหม่ ส่วนใหญ่เป็นการตอกย้ำยุทธศาสตร์และนโยบายเดิมของสหรัฐฯ
• อย่างไรก็ตาม หากดูประเทศที่ Gates กล่าวถึงในการเป็นพันมิตรและหุ้นส่วน เห็นได้ชัดว่า สหรัฐฯเน้นพันธมิตรหลัก คือ ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ และออสเตรเลีย ส่วนหุ้นส่วนใหม่ที่ Gates พูดถึง คือ สิงคโปร์ เวียดนาม และอินเดีย เป็นที่น่าสังเกตว่า Gates ไม่ได้กล่าวถึงไทยเลย โดยปกติแล้ว การประกาศนโยบายของสหรัฐฯต่อเอเชีย จะเน้นการกล่าวถึงพันธมิตรทางทหารทั้ง 5 ซึ่งได้แก่ ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ ออสเตรเลีย ฟิลิปปินส์ และไทย ผมมองว่า ขณะนี้ สถานการณ์การเป็นพันธมิตรของไทยน่าเป็นห่วง มีแนวโน้มที่ชัดเจนมากขึ้นเรื่อยๆว่า ในสายตาของสหรัฐฯ ไทยมีความสำคัญลดลง ซึ่งเรื่องนี้ อาจจะเป็นเรื่องใหญ่ในระยะยาว ไทยอาจตกชั้นจากพันธมิตรชั้น 1 โดยประเทศที่มาแรง และกำลังจะแซงหน้าไทยในความใกล้ชิดกับสหรัฐฯ คือ สิงคโปร์ เวียดนาม อินโดนีเซีย และมาเลเซีย
• สำหรับในกรณีของจีนนั้น แม้ในสุนทรพจน์จะไม่ได้กล่าวโจมตีจีนในทางลบ แต่ในความเป็นจริง สหรัฐฯกำลังมองจีนว่าเป็นคู่แข่ง และเป็นภัยคุกคามมากขึ้นเรื่อยๆ
ประเด็นร้อนที่ชี้ให้เห็นถึงการมองจีนในแง่ลบมากขึ้นเรื่อยๆ คือ ความขัดแย้งในหมู่เกาะ สแปรตลีย์ แม้ Gates จะไม่ได้โจมตีจีนในสุนทรพจน์ แต่ในช่วงตอบคำถาม ก็ได้กล่าวอย่างชัดเจนว่า สหรัฐฯกำลังเป็นห่วงมากขึ้นเรื่อยๆต่อความเคลื่อนไหวทางทหารของจีนในบริเวณหมู่เกาะสแปรตลีย์ Gates ถึงกับกล่าวว่า เขากลัวว่า หากปราศจากกฎเกณฑ์และวิธีแก้ปัญหาร่วมกัน ความขัดแย้งอาจจะนำไปสู่การปะทะกันทางทหารได้
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)