ลงใน สยามรัฐสัปดาห์วิจารณ์
ปีที่ 57 ฉบับที่ 7 วันศุกร์ที่ 6 - วันพฤหัสบดีที่ 12 พฤศจิกายน 2552
การประชุมสุดยอดอาเซียน-สหรัฐฯ ครั้งแรก
ในการประชุมสุดยอดอาเซียนครั้งที่ 15 ที่ชะอำ หัวหิน ในช่วงปลายเดือนตุลาคมที่ผ่านมา ผลการประชุมที่สำคัญที่สุดเรื่องหนึ่ง คือ การตกลงที่จะจัดให้มีการประชุมสุดยอดอาเซียน – สหรัฐฯ ครั้งแรกขึ้นในวันที่ 15 พฤศจิกายนนี้ ซึ่งถือได้ว่าจะเป็นการประชุมครั้งประวัติศาสตร์ ทั้งนี้เพราะในอดีตไม่เคยมีประชุมสุดยอดระหว่างอาเซียนกับสหรัฐฯ เลย ทั้งที่ ๆ อาเซียนได้มีการประชุมสุดยอดกับมหาอำนาจไปครบหมดแล้ว ยกเว้นสหรัฐฯ คอลัมน์โลกทรรศน์ในวันนี้ จะได้วิเคราะห์ถึงที่มาที่ไปของการประชุมสุดยอดดังกล่าว ดังนี้
ยุทธศาสตร์สหรัฐฯ ต่ออาเซียน
การที่เราจะเข้าใจว่าทำไมสหรัฐฯจึงยอมประชุมสุดยอดกับอาเซียน เราคงต้องเข้าใจถึงยุทธศาสตร์ใหญ่ของสหรัฐฯ ต่อภูมิภาค ซึ่งยุทธศาสตร์ที่สำคัญที่สุดของสหรัฐฯ คือ ยุทธศาสตร์การครองความเป็นเจ้า ซึ่งการจะบรรลุยุทธศาสตร์ดังกล่าวได้ สหรัฐฯ จะต้องป้องกันมิให้มีคู่แข่งขึ้นมาแย่งความเป็นเจ้าของสหรัฐฯภายในภูมิภาค และจะต้องป้องกันไม่ให้อิทธิพลของสหรัฐฯลดลง ดังนั้น ยุทธศาสตร์การสกัดกั้นการขยายอิทธิพลของจีน ซึ่งกำลังมีศักยภาพที่กำลังจะผงาดขึ้นมาเป็นคู่แข่งของสหรัฐฯ จึงเป็นยุทธศาสตร์ที่มีความสำคัญที่สุด
อย่างไรก็ตาม ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา อิทธิพลของจีนในภูมิภาคอาเซียนได้เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ถึงแม้สหรัฐฯจะยังคงครองความเป็นเจ้าทางทหาร แต่จีนก็ได้ดำเนินยุทธศาสตร์ในเชิงรุก และได้เพิ่มบทบาทขึ้นอย่างมาก โดยเฉพาะทางด้านการทูตและทางด้านเศรษฐกิจ โดยก้าวสำคัญของจีนคือการเสนอเขตการค้าเสรีกับอาเซียนในปี 2001 หลังจากนั้น จีนได้ทุ่มเททุกสิ่งทุกอย่าง เพื่อที่จะซื้อใจอาเซียน ซึ่งจีนได้ประสบความสำเร็จในระดับหนึ่ง โดยอาเซียนใกล้ชิดกับจีนมากขึ้นเรื่อย ๆ มีการประชุมสุดยอดกันทุกปี และจีนยังได้ทำปฏิญญาการเป็นหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์กับอาเซียน และเป็นประเทศที่มีฐานะเป็นหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์กับอาเซียน
นอกจากนี้ ยังมีพัฒนาการในกรอบอาเซียน + 3 ซึ่งเป็นกรอบความร่วมมือระหว่างอาเซียน จีน ญี่ปุ่น และเกาหลีใต้ ซึ่งเป้าหมายระยะยาวจะพัฒนาไปเป็นประชาคมเอเชียตะวันออก ซึ่งแนวโน้มนี้ จะทำให้อิทธิพลของสหรัฐฯ ลดลง และจะทำให้สหรัฐฯถูกกีดกันออกไปจากภูมิภาคเอเชียตะวันออก
จากแนวโน้มดังกล่าวข้างต้น สหรัฐฯ จึงน่าจะได้ข้อสรุปแล้วว่า หากสหรัฐฯอยู่เฉย ๆ อิทธิพลของจีนจะเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ ในขณะที่อิทธิพลของสหรัฐฯ จะลดลงเรื่อย ๆ ซึ่งจะกระทบต่อยุทธศาสตร์ใหญ่ของสหรัฐฯ คือ การครองความเป็นเจ้าในภูมิภาค ดังนั้นจึงได้เห็นสหรัฐฯเริ่มมีการเคลื่อนไหว จากในอดีตที่ไม่เคยให้ความสำคัญกับอาเซียน เพราะลึก ๆ แล้วสหรัฐฯไม่ต้องการให้ประเทศในเอเชียสุมหัวรวมหัวกัน แต่ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา นโยบายของสหรัฐฯต่ออาเซียนได้เปลี่ยนแปลงลงไปมาก และเห็นได้ชัดเจนว่า สหรัฐฯ ได้กลับมาให้ความสำคัญต่ออาเซียนมากขึ้นเรื่อย ๆ
รัฐบาล Bush
โดยในสมัยรัฐบาล Bush ในระหว่างการประชุมสุดยอด APEC ที่เม็กซิโก เมื่อปี 2002 ประธานาธิบดี Bush ได้ประกาศข้อเสนอ Enterprise for ASEAN Initiative (EAI) ซึ่งมีเป้าหมายหลัก คือ การเจรจา FTA ทวิภาคีกับประเทศอาเซียน โดยสหรัฐฯได้ลงนาม FTA กับสิงคโปร์ไปแล้ว และต่อมาในปี 2004 ได้เริ่มเจรจากับไทยและมาเลเซีย
ต่อมา ในระหว่างประชุมสุดยอด APEC ที่เกาหลีใต้ เมื่อปี 2005 Bush กับผู้นำอาเซียนได้ประกาศ Joint Vision Statement on ASEAN-US Enhanced Partnership หรือ แถลงการณ์ร่วมความเป็นหุ้นส่วนระหว่างสหรัฐฯกับอาเซียน ซึ่งในแถลงการณ์ร่วมนี้ได้ระบุถึงความร่วมมือในด้านต่าง ๆ ทั้งด้านการเมือง ความมั่นคง เศรษฐกิจและสังคม แถลงการณ์ร่วมนี้น่าจะเป็นความพยายามของสหรัฐฯที่จะไล่ให้ทันจีน เพราะก่อนหน้านี้ เมื่อปี 2003 จีนได้ทำปฏิญญาความเป็นหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์กับอาเซียนไปแล้ว
และเมื่อเดือนสิงหาคม ปี 2006 รัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียนกับผู้แทนการค้าสหรัฐฯ (USTR) ได้ลงนามใน Trade and Investment Framework Agreement (TIFA) หรือ กรอบความตกลงการค้าและการลงทุนระหว่างอาเซียนกับสหรัฐฯ ซึ่งถือเป็นครั้งแรกที่สหรัฐฯ ยอมทำความตกลงทางด้านเศรษฐกิจกับอาเซียนทั้งกลุ่ม ข้อตกลง TIFA นี้ถือเป็นจุดเริ่มต้นที่จะนำไปสู่การเจรจา FTA กับอาเซียนทั้งกลุ่ม เหมือนกับที่จีนได้เจรจากับอาเซียนทั้งกลุ่มไปแล้ว
รัฐบาล Obama
สำหรับนโยบายของรัฐบาล Obama ต่ออาเซียนนั้น ในช่วงหาเสียงเลือกตั้ง Obama ได้เน้นว่าจะให้ความสำคัญกับเวทีพหุภาคีในเอเชียมากขึ้น
ต่อมา Hillary Clinton รัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐฯ คนปัจจุบันได้เลือกที่จะเดินทางมาเยือนภูมิภาคเอเชียเป็นภูมิภาคแรกหลังจากได้รับตำแหน่ง โดยได้เดินทางไปเยือนญี่ปุ่น เกาหลี จีนและอินโดนีเซีย และได้เดินทางไปเยือนสำนักงานเลขาธิการอาเซียนที่กรุงจาการ์ตา ซึ่งน่าจะเป็นครั้งแรกที่รัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐฯเยือนสำนักงานเลขาธิการอาเซียน โดยได้พบปะกับดร.สุรินทร์ พิศสุวรรณ เลขาธิการอาเซียน ซึ่งเป็นการส่งสัญญาณอย่างชัดเจนว่า สหรัฐฯกำลังให้ความสำคัญกับอาเซียนมากขึ้น
ต่อมา เมื่อปลายเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา Hillary Clinton ได้เดินทางมาประชุมกับรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียนที่ภูเก็ต โดย Hillary ได้แถลงข่าวว่า การเข้าร่วมประชุมกับอาเซียนในครั้งนี้ เป็นการแสดงให้เห็นถึงการที่สหรัฐฯ ต้องการเพิ่มปฏิสัมพันธ์ในภูมิภาค Hillary กล่าวว่า ขณะนี้สหรัฐฯได้หวนคืนกลับมาสู่ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้แล้ว โดย Hillary ได้ลงนามภาคยานุวัติสนธิสัญญาไมตรีและความร่วมมือของอาเซียน และสหรัฐฯกำลังจะส่งทูตผู้แทนถาวรมาประจำอยู่ที่สำนักงานเลขาธิการอาเซียน ซึ่งจะเป็นประเทศคู่เจรจาของอาเซียนประเทศแรกที่ส่งทูตมาประจำอาเซียน นับเป็นการก้าวกระโดดของนโยบายต่างประเทศสหรัฐฯ เพื่อที่จะช่วงชิงความเหนือกว่า และความได้เปรียบต่อจีน
Hillary บอกว่าด้วยว่า มาตรการเหล่านี้มีความสำคัญยิ่งต่อสหรัฐฯ เพราะอาเซียนมีประชากรถึงเกือบ 600 ล้านคน อาเซียนเป็นตลาดใหญ่อันดับ 6 ของสหรัฐฯ และสหรัฐฯลงทุนในอาเซียนมากกว่าไปลงทุนในจีน
เราคงต้องจับตาดูว่า การประชุมสุดยอดอาเซียน - สหรัฐฯที่กำลังจะมีขึ้นครั้งแรกในวันที่ 15 พฤศจิกายน ที่สิงคโปร์ จะมีผลออกมาอย่างไรและจะเป็นการพลิกประวัติศาสตร์หน้าใหม่ของความสัมพันธ์อาเซียน - สหรัฐฯหรือไม่
ในการประชุมสุดยอดอาเซียนครั้งที่ 15 ที่ชะอำ หัวหิน ในช่วงปลายเดือนตุลาคมที่ผ่านมา ผลการประชุมที่สำคัญที่สุดเรื่องหนึ่ง คือ การตกลงที่จะจัดให้มีการประชุมสุดยอดอาเซียน – สหรัฐฯ ครั้งแรกขึ้นในวันที่ 15 พฤศจิกายนนี้ ซึ่งถือได้ว่าจะเป็นการประชุมครั้งประวัติศาสตร์ ทั้งนี้เพราะในอดีตไม่เคยมีประชุมสุดยอดระหว่างอาเซียนกับสหรัฐฯ เลย ทั้งที่ ๆ อาเซียนได้มีการประชุมสุดยอดกับมหาอำนาจไปครบหมดแล้ว ยกเว้นสหรัฐฯ คอลัมน์โลกทรรศน์ในวันนี้ จะได้วิเคราะห์ถึงที่มาที่ไปของการประชุมสุดยอดดังกล่าว ดังนี้
ยุทธศาสตร์สหรัฐฯ ต่ออาเซียน
การที่เราจะเข้าใจว่าทำไมสหรัฐฯจึงยอมประชุมสุดยอดกับอาเซียน เราคงต้องเข้าใจถึงยุทธศาสตร์ใหญ่ของสหรัฐฯ ต่อภูมิภาค ซึ่งยุทธศาสตร์ที่สำคัญที่สุดของสหรัฐฯ คือ ยุทธศาสตร์การครองความเป็นเจ้า ซึ่งการจะบรรลุยุทธศาสตร์ดังกล่าวได้ สหรัฐฯ จะต้องป้องกันมิให้มีคู่แข่งขึ้นมาแย่งความเป็นเจ้าของสหรัฐฯภายในภูมิภาค และจะต้องป้องกันไม่ให้อิทธิพลของสหรัฐฯลดลง ดังนั้น ยุทธศาสตร์การสกัดกั้นการขยายอิทธิพลของจีน ซึ่งกำลังมีศักยภาพที่กำลังจะผงาดขึ้นมาเป็นคู่แข่งของสหรัฐฯ จึงเป็นยุทธศาสตร์ที่มีความสำคัญที่สุด
อย่างไรก็ตาม ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา อิทธิพลของจีนในภูมิภาคอาเซียนได้เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ถึงแม้สหรัฐฯจะยังคงครองความเป็นเจ้าทางทหาร แต่จีนก็ได้ดำเนินยุทธศาสตร์ในเชิงรุก และได้เพิ่มบทบาทขึ้นอย่างมาก โดยเฉพาะทางด้านการทูตและทางด้านเศรษฐกิจ โดยก้าวสำคัญของจีนคือการเสนอเขตการค้าเสรีกับอาเซียนในปี 2001 หลังจากนั้น จีนได้ทุ่มเททุกสิ่งทุกอย่าง เพื่อที่จะซื้อใจอาเซียน ซึ่งจีนได้ประสบความสำเร็จในระดับหนึ่ง โดยอาเซียนใกล้ชิดกับจีนมากขึ้นเรื่อย ๆ มีการประชุมสุดยอดกันทุกปี และจีนยังได้ทำปฏิญญาการเป็นหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์กับอาเซียน และเป็นประเทศที่มีฐานะเป็นหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์กับอาเซียน
นอกจากนี้ ยังมีพัฒนาการในกรอบอาเซียน + 3 ซึ่งเป็นกรอบความร่วมมือระหว่างอาเซียน จีน ญี่ปุ่น และเกาหลีใต้ ซึ่งเป้าหมายระยะยาวจะพัฒนาไปเป็นประชาคมเอเชียตะวันออก ซึ่งแนวโน้มนี้ จะทำให้อิทธิพลของสหรัฐฯ ลดลง และจะทำให้สหรัฐฯถูกกีดกันออกไปจากภูมิภาคเอเชียตะวันออก
จากแนวโน้มดังกล่าวข้างต้น สหรัฐฯ จึงน่าจะได้ข้อสรุปแล้วว่า หากสหรัฐฯอยู่เฉย ๆ อิทธิพลของจีนจะเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ ในขณะที่อิทธิพลของสหรัฐฯ จะลดลงเรื่อย ๆ ซึ่งจะกระทบต่อยุทธศาสตร์ใหญ่ของสหรัฐฯ คือ การครองความเป็นเจ้าในภูมิภาค ดังนั้นจึงได้เห็นสหรัฐฯเริ่มมีการเคลื่อนไหว จากในอดีตที่ไม่เคยให้ความสำคัญกับอาเซียน เพราะลึก ๆ แล้วสหรัฐฯไม่ต้องการให้ประเทศในเอเชียสุมหัวรวมหัวกัน แต่ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา นโยบายของสหรัฐฯต่ออาเซียนได้เปลี่ยนแปลงลงไปมาก และเห็นได้ชัดเจนว่า สหรัฐฯ ได้กลับมาให้ความสำคัญต่ออาเซียนมากขึ้นเรื่อย ๆ
รัฐบาล Bush
โดยในสมัยรัฐบาล Bush ในระหว่างการประชุมสุดยอด APEC ที่เม็กซิโก เมื่อปี 2002 ประธานาธิบดี Bush ได้ประกาศข้อเสนอ Enterprise for ASEAN Initiative (EAI) ซึ่งมีเป้าหมายหลัก คือ การเจรจา FTA ทวิภาคีกับประเทศอาเซียน โดยสหรัฐฯได้ลงนาม FTA กับสิงคโปร์ไปแล้ว และต่อมาในปี 2004 ได้เริ่มเจรจากับไทยและมาเลเซีย
ต่อมา ในระหว่างประชุมสุดยอด APEC ที่เกาหลีใต้ เมื่อปี 2005 Bush กับผู้นำอาเซียนได้ประกาศ Joint Vision Statement on ASEAN-US Enhanced Partnership หรือ แถลงการณ์ร่วมความเป็นหุ้นส่วนระหว่างสหรัฐฯกับอาเซียน ซึ่งในแถลงการณ์ร่วมนี้ได้ระบุถึงความร่วมมือในด้านต่าง ๆ ทั้งด้านการเมือง ความมั่นคง เศรษฐกิจและสังคม แถลงการณ์ร่วมนี้น่าจะเป็นความพยายามของสหรัฐฯที่จะไล่ให้ทันจีน เพราะก่อนหน้านี้ เมื่อปี 2003 จีนได้ทำปฏิญญาความเป็นหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์กับอาเซียนไปแล้ว
และเมื่อเดือนสิงหาคม ปี 2006 รัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียนกับผู้แทนการค้าสหรัฐฯ (USTR) ได้ลงนามใน Trade and Investment Framework Agreement (TIFA) หรือ กรอบความตกลงการค้าและการลงทุนระหว่างอาเซียนกับสหรัฐฯ ซึ่งถือเป็นครั้งแรกที่สหรัฐฯ ยอมทำความตกลงทางด้านเศรษฐกิจกับอาเซียนทั้งกลุ่ม ข้อตกลง TIFA นี้ถือเป็นจุดเริ่มต้นที่จะนำไปสู่การเจรจา FTA กับอาเซียนทั้งกลุ่ม เหมือนกับที่จีนได้เจรจากับอาเซียนทั้งกลุ่มไปแล้ว
รัฐบาล Obama
สำหรับนโยบายของรัฐบาล Obama ต่ออาเซียนนั้น ในช่วงหาเสียงเลือกตั้ง Obama ได้เน้นว่าจะให้ความสำคัญกับเวทีพหุภาคีในเอเชียมากขึ้น
ต่อมา Hillary Clinton รัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐฯ คนปัจจุบันได้เลือกที่จะเดินทางมาเยือนภูมิภาคเอเชียเป็นภูมิภาคแรกหลังจากได้รับตำแหน่ง โดยได้เดินทางไปเยือนญี่ปุ่น เกาหลี จีนและอินโดนีเซีย และได้เดินทางไปเยือนสำนักงานเลขาธิการอาเซียนที่กรุงจาการ์ตา ซึ่งน่าจะเป็นครั้งแรกที่รัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐฯเยือนสำนักงานเลขาธิการอาเซียน โดยได้พบปะกับดร.สุรินทร์ พิศสุวรรณ เลขาธิการอาเซียน ซึ่งเป็นการส่งสัญญาณอย่างชัดเจนว่า สหรัฐฯกำลังให้ความสำคัญกับอาเซียนมากขึ้น
ต่อมา เมื่อปลายเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา Hillary Clinton ได้เดินทางมาประชุมกับรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียนที่ภูเก็ต โดย Hillary ได้แถลงข่าวว่า การเข้าร่วมประชุมกับอาเซียนในครั้งนี้ เป็นการแสดงให้เห็นถึงการที่สหรัฐฯ ต้องการเพิ่มปฏิสัมพันธ์ในภูมิภาค Hillary กล่าวว่า ขณะนี้สหรัฐฯได้หวนคืนกลับมาสู่ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้แล้ว โดย Hillary ได้ลงนามภาคยานุวัติสนธิสัญญาไมตรีและความร่วมมือของอาเซียน และสหรัฐฯกำลังจะส่งทูตผู้แทนถาวรมาประจำอยู่ที่สำนักงานเลขาธิการอาเซียน ซึ่งจะเป็นประเทศคู่เจรจาของอาเซียนประเทศแรกที่ส่งทูตมาประจำอาเซียน นับเป็นการก้าวกระโดดของนโยบายต่างประเทศสหรัฐฯ เพื่อที่จะช่วงชิงความเหนือกว่า และความได้เปรียบต่อจีน
Hillary บอกว่าด้วยว่า มาตรการเหล่านี้มีความสำคัญยิ่งต่อสหรัฐฯ เพราะอาเซียนมีประชากรถึงเกือบ 600 ล้านคน อาเซียนเป็นตลาดใหญ่อันดับ 6 ของสหรัฐฯ และสหรัฐฯลงทุนในอาเซียนมากกว่าไปลงทุนในจีน
เราคงต้องจับตาดูว่า การประชุมสุดยอดอาเซียน - สหรัฐฯที่กำลังจะมีขึ้นครั้งแรกในวันที่ 15 พฤศจิกายน ที่สิงคโปร์ จะมีผลออกมาอย่างไรและจะเป็นการพลิกประวัติศาสตร์หน้าใหม่ของความสัมพันธ์อาเซียน - สหรัฐฯหรือไม่
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น