วิกฤต Eurozone
ตีพิมพ์ใน ไทยโพสต์ ฉบับวันพฤหัสบดีที่ 22 กันยายน 2554
วิกฤตหนี้ของยุโรปกำลังเข้าขั้นวิกฤต คอลัมน์กระบวนทรรศน์ในวันนี้ จะวิเคราะห์วิกฤตหนี้ของ Eurozone โดยจะเน้นไปที่ปัญหาของกรีซเป็นหลัก และจะวิเคราะห์ความพยายามในการกอบกู้วิกฤต และแนวโน้มผลกระทบต่อโลกในอนาคต
วิกฤตหนี้ Eurozone
วิกฤตหนี้ของยุโรป โดยเฉพาะในประเทศที่ใช้เงินยูโร ที่เราเรียกว่า Eurozone นั้น เป็นปัญหาเรื้อรังมาหลายเดือนแล้ว และมีแนวโน้มจะหนักขึ้นเรื่อยๆ โดยในตอนแรก รัฐบาลที่ประสบปัญหาหนี้สินล้นพ้นตัว ได้แก่ กรีซ ไอร์แลนด์ โปรตุเกส ต่อมา ก็ลามไปถึงอิตาลีและสเปน แม้ว่าธนาคารกลางยุโรปจะได้ประกาศจะซื้อพันธบัตรของอิตาลีและสเปนแล้ว แต่สถานการณ์ก็ไม่ได้ดีขึ้น
โดยเฉพาะขณะนี้ ความสนใจพุ่งเป้าไปที่กรีซ ซึ่งมีแนวโน้มหนักหนาสาหัสกว่าเพื่อน เมื่อช่วงต้นเดือนกันยายนนี้ ตัวแทนของคณะกรรมาธิการยุโรป ธนาคารกลางยุโรป และ IMF หลังจากเจรจากับรัฐบาลกรีซ ได้แสดงความผิดหวังอย่างยิ่ง ที่รัฐบาลกรีซไม่สามารถดำเนินมาตรการต่างๆ เพื่อกอบกู้วิกฤตการเงินของตนได้ กรีซประสบกับปัญหาวิกฤตหนี้มาปีครึ่งแล้ว แต่สถานการณ์ไม่ดีขึ้น แม้ว่า ทั้ง EU และ IMF จะปล่อยเงินกู้ให้กรีซ งวดแรกเป็นเงินกว่า 150,000 ล้านเหรียญ แต่ก็ดูเหมือนกับเป็นการสูญเปล่า
หลายฝ่ายจึงกำลังวิตกกังวลมากขึ้นเรื่อยๆว่า กรีซอาจจะประสบปัญหาถึงขั้นผิดนัดชำระหนี้และล้มละลาย ความล้มเหลวของรัฐบาลกรีซ จึงทำให้ EU และ IMF ตัดสินใจที่จะเลื่อนการจ่ายเงินกู้งวดที่ 2 มูลค่ากว่า 150,000 ล้านเหรียญ ซึ่งในตอนแรกมีกำหนดจะปล่อยเงินกู้ให้ในเดือนกันยายน ออกไปพิจารณาใหม่ในเดือนตุลาคม
ล่าสุด วิกฤตลุกลามบานปลายเข้าสู่ฝรั่งเศสและอิตาลี เมื่อช่วงสัปดาห์ที่แล้ว บริษัทจัดอันดับความน่าเชื่อถือ Moody ได้ลดระดับความน่าเชื่อถือของธนาคารที่ใหญ่ที่สุดในฝรั่งเศส 2 ธนาคาร คือ Credit Agricole และ Societe Genarale และกำลังพิจารณาจะทบทวนความน่าเชื่อถือของธนาคารใหญ่ที่สุดของฝรั่งเศส คือ BNP Paribas SA สาเหตุสำคัญ คือ การที่ธนาคารฝรั่งเศสได้ปล่อยกู้ให้กับกรีซเป็นจำนวนมหาศาล
ส่วนอิตาลี เมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมา S&P ได้ลดอันดับความน่าเชื่อถือของประเทศลง โดย S&P มองว่า เป็นผลมาจากการถดถอยทางเศรษฐกิจ และการที่รัฐบาลอิตาลีมีหนี้สินอยู่ในระดับที่สูงมาก
การกอบกู้วิกฤต
ที่ผ่านมา ธนาคารกลางยุโรป ได้มีบทบาทในความพยายามกอบกู้วิกฤตหนี้ แต่ก็ไม่ได้ผล ช่วงเดือนที่แล้ว ฝรั่งเศสกับเยอรมนี ได้ผลักดันกลไกบริหาร Eurozone ขึ้นมาใหม่
ขณะนี้ มีความเห็นที่แตกแยกกันในยุโรป ถึงแนวทางการแก้ไขปัญหา โดยแนวคิดที่กำลังได้รับการผลักดันจากหลายฝ่าย คือ การเดินหน้าบูรณาการทางการเงินของยุโรป ฝรั่งเศสและเยอรมนี ได้ขอให้ประธานสภายุโรป คือ Herman Van Rompuy จัดทำร่างกรอบบูรณาการทางการเงินของยุโรป เพื่อเสนอต่อผู้นำ Eurozone ในเดือนตุลาคม
แนวคิดนี้ได้รับการสนับสนุนจากประธานธนาคารกลางยุโรป คือ Jean Claude Trichet ซึ่งได้เสนอให้มีการจัดตั้งกลไกการบริหารจัดการทางเศรษฐกิจของ Eurozone ขึ้น ในลักษณะเป็นระบบแบบสาธารณรัฐ แนวคิดเรื่องการเพิ่มบูรณาการทางการเงิน เสนอให้มีการจัดตั้งพันธบัตรยูโร หรือ Euro Bond ซึ่งจะมีลักษณะคล้ายกับพันธบัตรสหรัฐฯ กลไกดังกล่าวของ EU จะทำหน้าที่คล้ายกับกระทรวงการคลังของยุโรป เพื่อบริหารนโยบายการเงินการคลัง
อย่างไรก็ตาม มีบางฝ่ายไม่เห็นด้วยกับแนวคิดนี้ เช่น รัฐมนตรีคลังเยอรมนี Wolfgang Schauble ได้แสดงความเห็นว่า อาจจะเป็นการเร็วเกินไปสำหรับบูรณาการทางการเงิน โดยเสนอว่า ทางแก้ปัญหา คือ ประเทศที่ประสบปัญหาหนี้สิน จะต้องออกมาตรการทั้งทางการเมืองและเศรษฐกิจ เช่น การตัดการใช้จ่ายของภาครัฐ และการเพิ่มภาษี โดยบูรณาการทางการเงินนั้น จะต้องมีลักษณะค่อยเป็นค่อยไป
นอกจากนี้ กลุ่มอนุรักษ์นิยมในเยอรมนี ถึงกับเสนอว่า ควรจะ “ตัดหางปล่อยวัด” กรีซ โดยเสนอปล่อยให้กรีซผิดนัดชำระหนี้หรือล้มละลายไป โดยไม่ต้องเข้าไปช่วย และผลักดันให้กรีซออกจาก Eurozone ไป กระทรวงคลังเยอรมนีกำลังจัดทำแผนฉุกเฉิน เพื่อเตรียมพร้อมกับการที่กรีซจะผิดนัดชำระหนี้
สำหรับความพยายามกอบกู้วิกฤตหนี้ Eurozone ล่าสุด มีการประชุมรัฐมนตรีคลังของ Eurozone ที่โปแลนด์ในช่วงสัปดาห์ที่แล้ว โดยมีรัฐมนตรีคลังของสหรัฐ Timothy Geithner เข้าร่วมประชุมด้วย การเข้าร่วมประชุมของ Geithner ชี้ให้เห็นว่า สหรัฐฯกำลังวิตกกังวลอย่างมากสำหรับวิกฤตในครั้งนี้ โดย Geithner ได้กล่าวเตือนผู้นำยุโรป ให้ยุติความแตกแยกทางความคิด และเร่งรีบกอบกู้วิกฤตหนี้ Eurozone
แนวโน้ม
สำหรับแนวโน้มในอนาคตของวิกฤตหนี้ Eurozone ดูแล้วน่าเป็นห่วง เพราะมีแนวโน้มจะเลวร้ายลงไปอีก โดยเมื่อเดือนที่แล้ว Robert Zoellick ได้กล่าวเตือนถึงช่วงเวลาที่ระบบเศรษฐกิจโลกกำลังประสบกับวิกฤตรูปแบบใหม่ และจะทวีความรุนแรงมากขึ้น โดย Zoellick ได้ย้ำว่า ปัญหาหนี้ใน Eurozone น่าเป็นห่วงมาก และบอกว่า เรากำลังอยู่ในช่วงเริ่มต้นของพายุวิกฤตเศรษฐกิจโลกลูกใหม่ ซึ่งแตกต่างจากวิกฤตเศรษฐกิจโลกในปี 2008 เช่นเดียวกับ George Soros ซึ่งก็ได้มองว่า วิกฤตหนี้ยุโรปมีแนวโน้มจะรุนแรงกว่าวิกฤตในปี 2008
หัวใจของปัญหา คือ กรีซ ซึ่งหลายฝ่ายมองว่า มีแนวโน้มจะประสบกับภาวะล้มละลาย กระทรวงคลังเยอรมนีก็กำลังวิเคราะห์ว่า จะเกิดอะไรขึ้น หากกรีซต้องออกจาก Eurozone กระทรวงคลังเยอรมนีมองว่า หากกรีซไม่ได้รับเงินช่วยเหลืองวดที่ 2 ก็จะเกิดปัญหาการขาดสภาพคล่องในเดือนตุลาคม ซึ่งจะทำให้กรีซประสบกับภาวะล้มละลาย และต้องออกจาก Eurozone ไป
ดังนั้น หากกรีซล้มละลาย ก็จะส่งผลกระทบเป็นเหมือนโดมิโน โดยเฉพาะกระทบต่อสเปนและอิตาลี นอกจากนั้น ธนาคารฝรั่งเศสซึ่งปล่อยกู้ให้กับกรีซและอิตาลีเป็นจำนวนมาก จะได้รับผลกระทบเช่นเดียวกัน ซึ่งอาจจะนำไปสู่วิกฤตธนาคารครั้งใหญ่ของยุโรป จะกระทบต่อ Eurozone ทั้งระบบ รวมทั้งจะกระทบต่อภาคธนาคารของสหรัฐฯ และอาจนำไปสู่การเกิดวิกฤตการเงินโลกครั้งใหม่ อย่าลืมว่า GDP ของ EU รวมกันทั้งหมด มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก ใหญ่กว่า GDP ของสหรัฐฯเสียอีก ดังนั้น หากเกิดอะไรขึ้นกับ EU ก็จะส่งผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจโลกอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
นอกจากนี้ ปัจจัยที่อาจจะทำให้สถานการณ์ยิ่งเลวร้ายลงไปอีก คือ ขณะนี้ เศรษฐกิจโลกขาดผู้นำและขาดความร่วมมือระหว่างประเทศอย่างจริงจัง ซึ่งจะทำให้เศรษฐกิจโลกปั่นป่วนหนักขึ้น และอาจนำไปสู่ยุคสมัยของนโยบายปกป้องทางการค้า และสงครามค่าเงิน สถานการณ์วิกฤต Eurozone แตกต่างอย่างมากจากวิกฤตแฮมเบอร์เกอร์ในปี 2008 ซึ่งในตอนนั้น มีความร่วมมือระหว่างประเทศในกรอบของการประชุมสุดยอด G20 ซึ่งมีการประชุมกันหลายครั้ง และมีการประสานนโยบายมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ แต่ วิกฤตหนี้ Eurozone ในครั้งนี้ G20 ไม่ได้เข้ามาช่วยอะไรเลย แม้ว่า จะมีการประชุมสุดยอด EU หลายครั้ง แต่ก็ไม่ได้มีผลอะไรเป็นรูปธรรม เช่นเดียวกับสหรัฐฯที่ควรจะเล่นบทบาทเป็นผู้นำ แต่สหรัฐฯเองก็ประสบกับปัญหาหนี้ของตัวเองเช่นเดียวกัน
กล่าวโดยสรุป จากการวิเคราะห์ข้างต้น ชี้ให้เห็นว่า วิกฤตหนี้ Eurozone ครั้งนี้ ทำท่าจะหนักหนาสาหัส วุ่นวาย และมีแนวโน้มปั่นป่วนมากขึ้น ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจโลก และระบบการเงินโลกในอนาคตอย่างหลีกเลี่ยงไม่พ้น
วันอังคารที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2554
10 ปี ของสงครามต่อต้านการก่อการร้าย
10 ปี ของสงครามต่อต้านการก่อการร้าย
ตีพิมพ์ใน สยามรัฐสัปดาหวิจารณ์ ฉบับวันศุกร์ที่ 16-วันพฤหัสบดีที่ 22 กันยายน 2554
เมื่อวันที่ 11 กันยายน ที่ผ่านมา เป็นวันครบรอบ 10 ปี ของเหตุการณ์ 11 กันยาฯ ปี 2001 ในโอกาสการรำลึกเหตุการณ์ดังกล่าว Hillary Clinton รัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐฯ ได้กล่าวสุนทรพจน์ ประเมินสถานการณ์สงครามต่อต้านการก่อการร้าย ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา และกล่าวถึงยุทธศาสตร์ใหม่ของสหรัฐฯ ที่ Clinton ให้ชื่อว่า “Smart Power Approach to Counterterrorism” คอลัมน์โลกทรรศน์ในวันนี้ จะสรุปและวิเคราะห์สุนทรพจน์ดังกล่าว ดังนี้
10 ปี สงครามต่อต้านการก่อการร้าย
ในสุนทรพจน์ดังกล่าว Clinton ได้ประเมินสงครามต่อต้านการก่อการร้ายในช่วง 10 ปีที่ผ่านมาว่า ประสบความสำเร็จ โดยประเมินว่า สงครามในอิรักกำลังจะสงบ ส่วนสงครามในอัฟกานิสถานกำลังอยู่ในช่วงเปลี่ยนผ่าน ประชาชนหลายล้านคนได้ถูกปลดปล่อยจากอำนาจเผด็จการและลัทธิหัวรุนแรง การเสียชีวิตของ Osama Bin Laden ได้ทำให้ al-Qaeda กำลังจะประสบกับความพ่ายแพ้ ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา สหรัฐฯได้จับกุมและสังหารผู้ก่อการร้ายเป็นจำนวนมาก รวมทั้งได้ทำลายเครือข่าย แผนการก่อวินาศกรรม และป้องกันไม่ให้ผู้ก่อการร้ายมีอาวุธร้ายแรงอยู่ในครอบครอง
นอกจากการใช้กำลังในการปราบปรามผู้ก่อการร้ายแล้ว สหรัฐฯได้ใช้เครื่องมือการบังคับใช้กฎหมาย โดยในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา มีการจับกุมผู้ก่อการร้ายถึง 120,000 คน และศาลตัดสินลงโทษไปแล้วถึง 35,000 คน การบังคับใช้กฎหมายดังกล่าว ทำให้องค์กร al-Qaeda อ่อนกำลังลงไปมาก
อย่างไรก็ตาม Clinton ยอมรับว่า แม้ว่าจะได้พยายามอย่างเต็มที่แล้ว แต่คงจะไม่มีคำว่า ความมั่นคงที่สมบูรณ์ หรือ perfect security โดยแม้ว่าสหรัฐฯจะได้ทำให้ al-Qaeda อ่อนกำลังลงไปมาก แต่ al-Qaeda ก็ได้ปรับเปลี่ยนยุทธศาสตร์ใหม่ โดยได้ทำให้การก่อการร้ายกระจัดกระจายออกไปในภูมิภาคต่างๆทั่วโลก ในลักษณะของเครือข่าย สาขา และองค์กรก่อการร้ายร่วมอุดมการณ์
ยุทธศาสตร์การต่อต้านการก่อการร้ายใหม่
ดังนั้น Clinton จึงประกาศว่า จำเป็นที่จะต้องมียุทธศาสตร์การต่อต้านการก่อการร้ายในรูปแบบใหม่ โดยเมื่อเร็วๆนี้ ได้มีการเผยแพร่ยุทธศาสตร์ใหม่ที่มีชื่อว่า National Strategy for Counterterrorism ซึ่งเป็นการผสมผสานเครื่องมือต่างๆ คือ เครื่องมือการใช้กำลังในการกำจัดกลุ่มก่อการร้าย มาตรการตัดเส้นทางการเงิน สมาชิกใหม่ และแหล่งซ่องสุม รวมทั้งการทำสงครามอุดมการณ์ ต่อต้านการโฆษณาชวนเชื่อ และสร้างหุ้นส่วนระหว่างประทเศ ทั้งกับรัฐบาล และกับประชาสังคม
และเพื่อที่จะบรรลุเป้าหมายดังกล่าว จำเป็นต้องใช้อำนาจ ที่ Clinton เรียกว่า smart power ซึ่งผสมผสานระหว่างเครื่องมือทางการทูต การให้ความช่วยเหลือในการพัฒนา ร่วมกับการใช้กำลังทางทหาร
สำหรับมาตรการทางด้านการเงินนั้น สหรัฐฯได้ร่วมมือกับประเทศต่างๆ ในการออกกฎหมายเพื่อทำลายเครือข่ายทางการเงินของกลุ่มก่อการร้าย
และที่สำคัญกว่าเรื่องเงิน คือ การแสวงหาสมาชิกใหม่ของ al-Qaeda ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา al-Qaeda และองค์กรแนวร่วม ได้แสวงหาสมาชิกใหม่เพิ่มมากขึ้น ดังนั้น รัฐบาลสหรัฐฯ จึงได้จัดตั้ง Center for Strategic Counterterrorism Communications ซึ่งจะเป็นกลไกสำคัญในการต่อสู้กับโฆษณาชวนเชื่อของกลุ่มก่อการร้าย และป้องกันไม่ให้กลุ่มก่อการร้ายมีสมาชิกเพิ่ม
สำหรับเครื่องมือการให้ความช่วยเหลือในการพัฒนานั้น สหรัฐฯมีองค์กร USAID ซึ่งมีประสบการณ์ยาวนานในโครงการให้ความช่วยเหลือด้านการพัฒนา โครงการเหล่านี้ จะยกระดับความเป็นอยู่ของประชาชน สร้างโอกาสทางเศรษฐกิจ และเพิ่มความเชื่อมั่นในชุมชนท้องถิ่น ซึ่งสิ่งเหล่านี้ จะช่วยลดกระแสความนิยมของแนวคิดหัวรุนแรงได้
นอกจากนี้ ในขณะที่ภัยของ al-Qaeda มีลักษณะกระจัดกระจาย ดังนั้น สหรัฐฯจึงต้องสร้างเครือข่ายกับรัฐบาลและชุมชนของประเทศต่างๆ ซึ่งจะมีลักษณะของการสร้างเครือข่ายต่อต้านการก่อการร้ายระหว่างประเทศ (international counterterrorism network) โดยสหรัฐฯได้ดำเนินนโยบายทางการทูตในเชิงรุก เพื่อเพิ่มความร่วมมือในการต่อต้านการก่อการร้าย ทั้งในระดับพหุภาคี และทวิภาคี
ในตอนท้ายของสุนทรพจน์ Clinton ได้บอกว่า ในอดีต ไม่มีเวทีหารือต่อต้านการก่อการร้ายในระดับโลก สหรัฐฯจึงกำลังจะจัดตั้งเวทีหารือดังกล่าวขึ้น โดยจะเชิญพันธมิตร มหาอำนาจใหม่ และประเทศมุสลิมทั่วโลก และจะมีสหรัฐฯกับตุรกี เป็นประธานร่วมสำหรับการประชุมครั้งแรก ที่จะมีกว่า 30 ประเทศเข้าร่วมประชุม
บทวิเคราะห์
ที่สรุปข้างต้น เป็นสุนทรพจน์ของ Clinton ซึ่งแน่นอนว่า ต้องมองโลกในแง่ดี และแน่นอนว่า จะต้องบอกว่า สหรัฐฯประสบความสำเร็จในสงครามต่อต้านการก่อการร้าย แต่สำหรับผม กลับประเมินว่า สงครามต่อต้านการก่อการร้ายของสหรัฐฯประสบความล้มเหลว ทั้งนี้ เพราะสงครามที่สหรัฐฯหวังว่า จะประสบชัยชนะ แต่กลับยืดเยื้อ ถึงแม้ว่าจะไม่มีการก่อวินาศกรรมครั้งใหญ่ในสหรัฐฯ แต่การก่อการร้ายกลับเพิ่มขึ้นทั่วโลก สงครามเพื่อเอาชนะจิตวิญญาณของมุสลิม ก็ล้มเหลวอย่างสิ้นเชิง โดยโลกมุสลิมมองว่า สหรัฐฯ เป็นศัตรูของอิสลาม และ al-Qaeda ได้กลายเป็นอุดมการณ์ ขบวนการที่แพร่ไปทั่วโลกมุสลิม
ขบวนการก่อการร้ายไม่ได้หมดไป แต่เพิ่มจำนวนและแพร่ไปทั่วโลก al-Qaeda มีสมาชิกเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ และเครือข่ายก่อการร้ายที่เป็นแนวร่วมกับ al-Qaeda ก็เพิ่มขึ้นทั่วโลก
อัฟกานิสถาน เป็นตัวอย่างที่ชัดเจนในความล้มเหลวของสหรัฐฯในสงครามต่อต้านการก่อการร้าย โดยหลังจากยึดครองอัฟกานิสถานมากว่า 10 ปี แต่ก็ไม่ได้มีอะไรดีขึ้น สถานการณ์กลับทรุดหนักลงเรื่อยๆ โดยนักรบ Taliban ได้ทำสงครามกองโจรต่อสู้กับกองกำลังนาโต้ และได้ยึดครองพื้นที่เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ
ความล้มเหลวของสหรัฐฯในสงครามต่อต้านการก่อการร้ายของสหรัฐฯ คือ การที่สหรัฐฯใช้ hard power การที่สหรัฐฯใช้กำลังทางทหารในการแก้ปัญหามากเกินไป ซึ่งทำให้ปัญหากลับทรุดหนักลง สิ่งที่ขาดหายไปจากยุทธศาสตร์ของสหรัฐฯในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา คือ การใช้ soft power ในการแก้ปัญหา อย่างไรก็ตาม ยุทธศาสตร์ smart power ที่ Clinton เสนอใหม่นั้น ก็เป็นนิมิตหมายที่ดีที่สหรัฐฯจะใช้ soft power มากขึ้น อย่างไรก็ตาม ความเสียหายจากการใช้ hard power ในอดีต ได้ทำให้เกิดแผลลึกใหญ่ที่ยากจะสมานแผล ได้ในเวลาอันสั้น ผมจึงมองว่า แม้ว่าสหรัฐฯจะหันกลับมาใช้ soft power หรือ smart power มากขึ้น แต่ก็คงต้อง ใช้เวลาอีกยาวนาน กว่าที่จะแก้ปัญหานี้ได้
ตีพิมพ์ใน สยามรัฐสัปดาหวิจารณ์ ฉบับวันศุกร์ที่ 16-วันพฤหัสบดีที่ 22 กันยายน 2554
เมื่อวันที่ 11 กันยายน ที่ผ่านมา เป็นวันครบรอบ 10 ปี ของเหตุการณ์ 11 กันยาฯ ปี 2001 ในโอกาสการรำลึกเหตุการณ์ดังกล่าว Hillary Clinton รัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐฯ ได้กล่าวสุนทรพจน์ ประเมินสถานการณ์สงครามต่อต้านการก่อการร้าย ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา และกล่าวถึงยุทธศาสตร์ใหม่ของสหรัฐฯ ที่ Clinton ให้ชื่อว่า “Smart Power Approach to Counterterrorism” คอลัมน์โลกทรรศน์ในวันนี้ จะสรุปและวิเคราะห์สุนทรพจน์ดังกล่าว ดังนี้
10 ปี สงครามต่อต้านการก่อการร้าย
ในสุนทรพจน์ดังกล่าว Clinton ได้ประเมินสงครามต่อต้านการก่อการร้ายในช่วง 10 ปีที่ผ่านมาว่า ประสบความสำเร็จ โดยประเมินว่า สงครามในอิรักกำลังจะสงบ ส่วนสงครามในอัฟกานิสถานกำลังอยู่ในช่วงเปลี่ยนผ่าน ประชาชนหลายล้านคนได้ถูกปลดปล่อยจากอำนาจเผด็จการและลัทธิหัวรุนแรง การเสียชีวิตของ Osama Bin Laden ได้ทำให้ al-Qaeda กำลังจะประสบกับความพ่ายแพ้ ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา สหรัฐฯได้จับกุมและสังหารผู้ก่อการร้ายเป็นจำนวนมาก รวมทั้งได้ทำลายเครือข่าย แผนการก่อวินาศกรรม และป้องกันไม่ให้ผู้ก่อการร้ายมีอาวุธร้ายแรงอยู่ในครอบครอง
นอกจากการใช้กำลังในการปราบปรามผู้ก่อการร้ายแล้ว สหรัฐฯได้ใช้เครื่องมือการบังคับใช้กฎหมาย โดยในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา มีการจับกุมผู้ก่อการร้ายถึง 120,000 คน และศาลตัดสินลงโทษไปแล้วถึง 35,000 คน การบังคับใช้กฎหมายดังกล่าว ทำให้องค์กร al-Qaeda อ่อนกำลังลงไปมาก
อย่างไรก็ตาม Clinton ยอมรับว่า แม้ว่าจะได้พยายามอย่างเต็มที่แล้ว แต่คงจะไม่มีคำว่า ความมั่นคงที่สมบูรณ์ หรือ perfect security โดยแม้ว่าสหรัฐฯจะได้ทำให้ al-Qaeda อ่อนกำลังลงไปมาก แต่ al-Qaeda ก็ได้ปรับเปลี่ยนยุทธศาสตร์ใหม่ โดยได้ทำให้การก่อการร้ายกระจัดกระจายออกไปในภูมิภาคต่างๆทั่วโลก ในลักษณะของเครือข่าย สาขา และองค์กรก่อการร้ายร่วมอุดมการณ์
ยุทธศาสตร์การต่อต้านการก่อการร้ายใหม่
ดังนั้น Clinton จึงประกาศว่า จำเป็นที่จะต้องมียุทธศาสตร์การต่อต้านการก่อการร้ายในรูปแบบใหม่ โดยเมื่อเร็วๆนี้ ได้มีการเผยแพร่ยุทธศาสตร์ใหม่ที่มีชื่อว่า National Strategy for Counterterrorism ซึ่งเป็นการผสมผสานเครื่องมือต่างๆ คือ เครื่องมือการใช้กำลังในการกำจัดกลุ่มก่อการร้าย มาตรการตัดเส้นทางการเงิน สมาชิกใหม่ และแหล่งซ่องสุม รวมทั้งการทำสงครามอุดมการณ์ ต่อต้านการโฆษณาชวนเชื่อ และสร้างหุ้นส่วนระหว่างประทเศ ทั้งกับรัฐบาล และกับประชาสังคม
และเพื่อที่จะบรรลุเป้าหมายดังกล่าว จำเป็นต้องใช้อำนาจ ที่ Clinton เรียกว่า smart power ซึ่งผสมผสานระหว่างเครื่องมือทางการทูต การให้ความช่วยเหลือในการพัฒนา ร่วมกับการใช้กำลังทางทหาร
สำหรับมาตรการทางด้านการเงินนั้น สหรัฐฯได้ร่วมมือกับประเทศต่างๆ ในการออกกฎหมายเพื่อทำลายเครือข่ายทางการเงินของกลุ่มก่อการร้าย
และที่สำคัญกว่าเรื่องเงิน คือ การแสวงหาสมาชิกใหม่ของ al-Qaeda ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา al-Qaeda และองค์กรแนวร่วม ได้แสวงหาสมาชิกใหม่เพิ่มมากขึ้น ดังนั้น รัฐบาลสหรัฐฯ จึงได้จัดตั้ง Center for Strategic Counterterrorism Communications ซึ่งจะเป็นกลไกสำคัญในการต่อสู้กับโฆษณาชวนเชื่อของกลุ่มก่อการร้าย และป้องกันไม่ให้กลุ่มก่อการร้ายมีสมาชิกเพิ่ม
สำหรับเครื่องมือการให้ความช่วยเหลือในการพัฒนานั้น สหรัฐฯมีองค์กร USAID ซึ่งมีประสบการณ์ยาวนานในโครงการให้ความช่วยเหลือด้านการพัฒนา โครงการเหล่านี้ จะยกระดับความเป็นอยู่ของประชาชน สร้างโอกาสทางเศรษฐกิจ และเพิ่มความเชื่อมั่นในชุมชนท้องถิ่น ซึ่งสิ่งเหล่านี้ จะช่วยลดกระแสความนิยมของแนวคิดหัวรุนแรงได้
นอกจากนี้ ในขณะที่ภัยของ al-Qaeda มีลักษณะกระจัดกระจาย ดังนั้น สหรัฐฯจึงต้องสร้างเครือข่ายกับรัฐบาลและชุมชนของประเทศต่างๆ ซึ่งจะมีลักษณะของการสร้างเครือข่ายต่อต้านการก่อการร้ายระหว่างประเทศ (international counterterrorism network) โดยสหรัฐฯได้ดำเนินนโยบายทางการทูตในเชิงรุก เพื่อเพิ่มความร่วมมือในการต่อต้านการก่อการร้าย ทั้งในระดับพหุภาคี และทวิภาคี
ในตอนท้ายของสุนทรพจน์ Clinton ได้บอกว่า ในอดีต ไม่มีเวทีหารือต่อต้านการก่อการร้ายในระดับโลก สหรัฐฯจึงกำลังจะจัดตั้งเวทีหารือดังกล่าวขึ้น โดยจะเชิญพันธมิตร มหาอำนาจใหม่ และประเทศมุสลิมทั่วโลก และจะมีสหรัฐฯกับตุรกี เป็นประธานร่วมสำหรับการประชุมครั้งแรก ที่จะมีกว่า 30 ประเทศเข้าร่วมประชุม
บทวิเคราะห์
ที่สรุปข้างต้น เป็นสุนทรพจน์ของ Clinton ซึ่งแน่นอนว่า ต้องมองโลกในแง่ดี และแน่นอนว่า จะต้องบอกว่า สหรัฐฯประสบความสำเร็จในสงครามต่อต้านการก่อการร้าย แต่สำหรับผม กลับประเมินว่า สงครามต่อต้านการก่อการร้ายของสหรัฐฯประสบความล้มเหลว ทั้งนี้ เพราะสงครามที่สหรัฐฯหวังว่า จะประสบชัยชนะ แต่กลับยืดเยื้อ ถึงแม้ว่าจะไม่มีการก่อวินาศกรรมครั้งใหญ่ในสหรัฐฯ แต่การก่อการร้ายกลับเพิ่มขึ้นทั่วโลก สงครามเพื่อเอาชนะจิตวิญญาณของมุสลิม ก็ล้มเหลวอย่างสิ้นเชิง โดยโลกมุสลิมมองว่า สหรัฐฯ เป็นศัตรูของอิสลาม และ al-Qaeda ได้กลายเป็นอุดมการณ์ ขบวนการที่แพร่ไปทั่วโลกมุสลิม
ขบวนการก่อการร้ายไม่ได้หมดไป แต่เพิ่มจำนวนและแพร่ไปทั่วโลก al-Qaeda มีสมาชิกเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ และเครือข่ายก่อการร้ายที่เป็นแนวร่วมกับ al-Qaeda ก็เพิ่มขึ้นทั่วโลก
อัฟกานิสถาน เป็นตัวอย่างที่ชัดเจนในความล้มเหลวของสหรัฐฯในสงครามต่อต้านการก่อการร้าย โดยหลังจากยึดครองอัฟกานิสถานมากว่า 10 ปี แต่ก็ไม่ได้มีอะไรดีขึ้น สถานการณ์กลับทรุดหนักลงเรื่อยๆ โดยนักรบ Taliban ได้ทำสงครามกองโจรต่อสู้กับกองกำลังนาโต้ และได้ยึดครองพื้นที่เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ
ความล้มเหลวของสหรัฐฯในสงครามต่อต้านการก่อการร้ายของสหรัฐฯ คือ การที่สหรัฐฯใช้ hard power การที่สหรัฐฯใช้กำลังทางทหารในการแก้ปัญหามากเกินไป ซึ่งทำให้ปัญหากลับทรุดหนักลง สิ่งที่ขาดหายไปจากยุทธศาสตร์ของสหรัฐฯในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา คือ การใช้ soft power ในการแก้ปัญหา อย่างไรก็ตาม ยุทธศาสตร์ smart power ที่ Clinton เสนอใหม่นั้น ก็เป็นนิมิตหมายที่ดีที่สหรัฐฯจะใช้ soft power มากขึ้น อย่างไรก็ตาม ความเสียหายจากการใช้ hard power ในอดีต ได้ทำให้เกิดแผลลึกใหญ่ที่ยากจะสมานแผล ได้ในเวลาอันสั้น ผมจึงมองว่า แม้ว่าสหรัฐฯจะหันกลับมาใช้ soft power หรือ smart power มากขึ้น แต่ก็คงต้อง ใช้เวลาอีกยาวนาน กว่าที่จะแก้ปัญหานี้ได้
วันจันทร์ที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2554
10 ปี เหตุการณ์ 11 กันยาฯ
10 ปี เหตุการณ์ 11 กันยาฯ
ตีพิมพ์ใน ไทยโพสต์ ฉบับวันพฤหัสบดีที่ 8 กันยายน 2554
ในวันอาทิตย์ที่ 11 กันยายน ปีนี้ จะเป็นการครบรอบ 10 ปี ของเหตุการณ์ 11 กันยาฯ คอลัมน์กระบวนทรรศน์ในวันนี้ จะย้อนกลับไปดูว่า สงครามต่อต้านการก่อการร้ายที่สหรัฐฯเป็นผู้นำ ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา ประสบความสำเร็จหรือล้มเหลวอย่างไร รวมทั้งแนวโน้มและทางออกของปัญหานี้
ความสำเร็จ
ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา สหรัฐฯได้เป็นผู้นำในสงครามต่อต้านการก่อการร้าย โดยได้มีการออกมาตรการต่างๆมากมาย ทั้งมาตรการทางการทูต มาตรการทางการเงิน มาตรการทางกฎหมาย และมาตรการทางทหาร มีความร่วมมือต่างๆเกิดขึ้นมากมาย โดยเฉพาะในด้านการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวกรอง ความเข้มงวดกวดขันในการเข้า-ออกประเทศ
สหรัฐฯได้เปิดฉากการใช้เครื่องมือทางทหาร ด้วยการบุกอัฟกานิสถาน ในเดือนตุลาคม ปี 2001 และบุกยึดอิรักในช่วงต้นปี 2003 สหรัฐฯประสบความสำเร็จในการยึดทั้ง 2 ประเทศได้ ล้มล้างรัฐบาล Taliban ในอัฟกานิสถาน และโค่นรัฐบาล Saddam Hussein ได้มีการสังหารและจับกุมสมาชิก al-Qaeda เป็นจำนวนมาก และเมื่อช่วงเดือนพฤษภาคม ที่ผ่านมา Osama Bin Laden ผู้นำของ al-Qaeda ก็ได้ถูกสังหารโดยหน่วยรบพิเสษของสหรัฐฯ ชานกรุง Islamabad
ความล้มเหลว
แม้ว่า สหรัฐฯจะประสบความสำเร็จดังกล่าวข้างต้นอยู่บ้าง แต่โดยภาพรวมแล้ว ผมประเมินว่า สงครามต่อต้านการก่อการร้ายของสหรัฐฯประสบความล้มเหลว ทั้งนี้ เพราะสงครามต่อต้านการก่อการร้ายที่สหรัฐฯหวังว่าจะประสบชัยชนะ แต่กลับยืดเยื้อ กลับกลายเป็น “ยิ่งปราบ ยิ่งเพิ่ม” ถึงแม้จะไม่มีการก่อวินาศกรรมครั้งใหญ่ในสหรัฐฯ แต่การก่อการร้ายกลับเพิ่มขึ้นทั่วโลก สงครามอุดมการณ์เพื่อชนะจิตวิญญาณของชาวมุสลิม ก็ล้มเหลวอย่างสิ้นเชิง โดยโลกมุสลิมได้มองสหรัฐฯว่า เป็นศัตรูของอิสลาม และ al-Qaeda ก็ได้เป็นอุดมการณ์ เป็นขบวนการที่แพร่ไปทั่วโลกมุสลิม
ในปี 2009 ได้มีการเปลี่ยนแปลงรัฐบาลสหรัฐฯ จากรัฐบาล Bush มาเป็นรัฐบาล Obama เมื่อรับตำแหน่งใหม่ๆ Obama ได้กล่าวสุนทรพจน์ประวัติศาสตร์ที่กรุงไคโร ประเทศอียิปต์ โดยประกาศยุคใหม่ของ ความสัมพันธ์ระหว่างสหรัฐฯกับโลกมุสลิม แต่ 2 ปีผ่านไปหลังจากสุนทรพจน์ประวัติศาสตร์ แต่ความสัมพันธ์ระหว่างสหรัฐฯกับโลกมุสลิมไม่ได้ดีขึ้น การแก้ปัญหาการก่อการร้าย ก็กำลังถึงทางตัน
เรื่องสำคัญๆ ที่ดูแล้วล้มเหลว ก็คือ
• ขบวนการก่อการร้าย : ไม่ได้หมดไป แต่เพิ่มจำนวน และแพร่ไปทั่วโลก โดยองค์กร al-Qaeda มีสมาชิกเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ เครือข่ายการก่อการร้ายที่เป็นแนวร่วมกับ al-Qaeda ก็เพิ่มขึ้นทั่วโลก อาทิ นักรบ Taliban ในปากีสถาน และอัฟกานิสถาน องค์กร al-Qaeda ในคาบสมุทรอารเบีย ในโซมาเลีย ในอัฟริกาเหนือ ในปากีสถาน และในอิรัก โดยประเทศที่มีแนวโน้มที่ al-Qaeda จะเพิ่มบทบาทมากขึ้น คือ เยเมน ลิเบีย โซมาเลีย และไนจีเรีย นอกจากนี้ กำลังมีการเกิดขึ้นของกลุ่มก่อการร้ายในโลกตะวันตกเอง ที่เรียกว่า home-grown terrorists
• อัฟกานิสถาน : คือ ตัวอย่างที่ชัดเจนของความล้มเหลวของสหรัฐฯในสงครามต่อต้านการก่อการร้าย โดยหลังจากยึดครองอัฟกานิสถานมาได้ 10 ปี แต่ก็ไม่ได้มีอะไรดีขึ้น มิหนำซ้ำ สถานการณ์กลับแย่ลงไปเรื่อยๆ โดยนักรบ Taliban และเครือข่าย al-Qaeda ได้ร่วมมือกันในการทำสงครามกองโจร ต่อสู้กับกองกำลังนาโต้ โดยได้ยึดครองพื้นที่เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เป้าหมายที่จะได้รับการสนับสนุนจากชาวอัฟกานิสถาน ก็ล้มเหลวลงอย่างสิ้นเชิง โดยกลายเป็นว่า ชาวอัฟกานิสถานจำนวนไม่น้อยได้ร่วมมือกับ Taliban ซึ่งเป็นชนเผ่า Pashtun รบกับกองกำลังนาโต้ ที่ถูกมองว่า เป็นกองกำลังต่างชาติที่มายึดครองอัฟกานิสถาน
• อิรัก : สำหรับอิรัก ก็เป็นอีกหนึ่งตัวอย่างของความล้มเหลวของสหรัฐฯ แม้ว่าจะสามารถโค่น Saddam Hussein ลงได้ แต่สหรัฐฯก็สูญเสียทรัพยากรไปมาก โดยไม่ได้แก้ปัญหาการก่อการร้ายแต่อย่างใด มิหนำซ้ำ สงครามอิรักกลับเป็นปัจจัยสำคัญ ทำให้อำนาจของสหรัฐฯลดลง (ซึ่งก็เป็นเป้าหมายของ Bin Laden) สหรัฐฯสูญเสียเงินไปกว่า 1 ล้านล้านเหรียญ ในสงครามอิรัก ซึ่งเป็นปัจจัยทำให้รัฐบาลสหรัฐฯ ขาดดุลงบประมาณมหาศาล นำไปสู่วิกฤตหนี้ และทำให้สถานะทางเศรษฐกิจของสหรัฐฯสั่นคลอน
• overreaction : 10 ปีหลังเหตุการณ์ 11 กันยาฯ ชี้ให้เห็นพฤติกรรมของสหรัฐฯต่อเหตุการณ์ดังกล่าวว่า เป็นการกระทำที่เกินกว่าเหตุครั้งสำคัญที่สุดครั้งหนึ่งในประวัติศาสตร์โลก เป้าหมายของ Bin Laden คือ ยั่วยุให้สหรัฐฯตอบโต้เกินกว่าเหตุ เพราะฉะนั้น หากมองในแง่นี้ เหตุการณ์ 11 กันยาฯ ถือเป็นความสำเร็จของขบวนการก่อการร้าย ที่ได้ดึงให้สหรัฐฯ เล่นตามเกมส์ของตน ด้วยการดึงสหรัฐฯเข้าไปในสงครามใหญ่ที่ไม่ได้อะไร คือ ที่อัฟกานิสถาน และที่อิรัก เสียเงินไปกว่า 1 ล้านล้านเหรียญ และได้ทำลายอำนาจและชื่อเสียงของอเมริกาไปเป็นอย่างมาก สงครามต่อต้านการก่อการร้าย กลับเพิ่มอำนาจให้กับกลุ่มก่อการร้าย และแทนที่จะกำจัดผู้ก่อการร้าย แต่กลับเพิ่มกลุ่มก่อการร้ายขึ้นทั่วโลก
• hard power และ soft power ความล้มเหลวของสหรัฐฯในการแก้ปัญหาการก่อการร้าย คือ การที่สหรัฐฯใช้ hard power คือ การใช้กำลังทหารในการแก้ปัญหา ซึ่งกลับทำให้ปัญหายิ่งเพิ่มมากขึ้น เข้าทำนอง “ยิ่งปราบ ยิ่งเพิ่ม” และสิ่งที่ขาดหายไปในยุทธศาสตร์ของสหรัฐฯ คือ การใช้ soft power ในการแก้ปัญหา คือ เน้นการชนะจิตใจของชาวมุสลิม ด้วยการนำเสนอแนวความคิดที่ดี และมีความชอบธรรม
แนวโน้มและทางออก
10 ปี ของความล้มเหลวของการต่อต้านการก่อการร้าย ชี้ให้เห็นว่าปัญหามีแนวโน้มจะทรุดหนักลง โดยกลุ่มก่อการร้าย และการก่อการร้ายกำลังแพร่ขยายไปทั่วโลก สถานการณ์การก่อการร้ายในอนาคต คงจะลุกลามบานปลายต่อไปไม่จบง่ายๆ โดยเฉพาะในตะวันออกกลาง รวมทั้งในโลกตะวันตกด้วย
ยิ่งไปกว่านั้น สิ่งที่น่าห่วง คือ กำลังมีกระแสต่อต้านมุสลิมในโลกตะวันตกมากขึ้นเรื่อยๆ โดยเฉพาะเหตุการณ์ฆ่าหมู่ที่นอร์เวย์ เมื่อเร็วๆนี้ โดยฆาตกรมีอุดมการณ์ขวาจัด ต่อต้านมุสลิมอย่างสุดโต่ง นิยมแนวคิด นาซีใหม่และฟาสซิสต์ใหม่ อุดมการณ์นี้กำลังได้รับความนิยมมากขึ้นเรื่อยๆในโลกตะวันตก ซึ่งก็ยิ่งจะทำให้ในอนาคต ตะวันตกกับอิสลามจะยิ่งขัดแย้งกันมากขึ้น และปัญหาการก่อการร้าย ก็จะยิ่งรุนแรงมากขึ้น ในอนาคต จึงจะไม่ใช่มีแต่เพียงกลุ่มก่อการร้ายมุสลิมหัวรุนแรงเท่านั้น แต่จะมีกลุ่มก่อการร้ายตะวันตกหัวรุนแรง หรือคริสต์หัวรุนแรงเพิ่มขึ้นมาด้วย
ดังนั้น ทางออกของการแก้ปัญหาการก่อการร้าย ก็คือ จะต้องมีการทบทวนยุทธศาสตร์การแก้ปัญหาการก่อการร้ายใหม่ โดยจะต้องเป็นการแก้ปัญหาอย่างบูรณาการ ที่จะต้องเน้นทั้ง hard power และ soft power ควบคู่กันไป คือ เน้นทั้งการใช้ไม้อ่อนและไม้แข็งควบคู่กันไป ที่ผ่านมา เราใช้ hard power มากเกินไป จำเป็นที่จะต้องหันมาให้ความสำคัญกับ soft power มากขึ้น โดยจะต้องเน้นไปที่การแก้ที่รากเหง้าของปัญหา อย่างแท้จริง ด้วยการสร้างความร่วมมือระหว่างประเทศ การทำสงครามอุดมการณ์เพื่อเอาชนะจิตวิญญาณของประชาชน การปรับนโยบายของสหรัฐฯใหม่ โดยเฉพาะนโยบายในตะวันออกกลาง และลัทธิครองความเป็นเจ้า รวมทั้งการแก้ปัญหาการปะทะกันทางอารยธรรมด้วย
ตีพิมพ์ใน ไทยโพสต์ ฉบับวันพฤหัสบดีที่ 8 กันยายน 2554
ในวันอาทิตย์ที่ 11 กันยายน ปีนี้ จะเป็นการครบรอบ 10 ปี ของเหตุการณ์ 11 กันยาฯ คอลัมน์กระบวนทรรศน์ในวันนี้ จะย้อนกลับไปดูว่า สงครามต่อต้านการก่อการร้ายที่สหรัฐฯเป็นผู้นำ ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา ประสบความสำเร็จหรือล้มเหลวอย่างไร รวมทั้งแนวโน้มและทางออกของปัญหานี้
ความสำเร็จ
ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา สหรัฐฯได้เป็นผู้นำในสงครามต่อต้านการก่อการร้าย โดยได้มีการออกมาตรการต่างๆมากมาย ทั้งมาตรการทางการทูต มาตรการทางการเงิน มาตรการทางกฎหมาย และมาตรการทางทหาร มีความร่วมมือต่างๆเกิดขึ้นมากมาย โดยเฉพาะในด้านการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวกรอง ความเข้มงวดกวดขันในการเข้า-ออกประเทศ
สหรัฐฯได้เปิดฉากการใช้เครื่องมือทางทหาร ด้วยการบุกอัฟกานิสถาน ในเดือนตุลาคม ปี 2001 และบุกยึดอิรักในช่วงต้นปี 2003 สหรัฐฯประสบความสำเร็จในการยึดทั้ง 2 ประเทศได้ ล้มล้างรัฐบาล Taliban ในอัฟกานิสถาน และโค่นรัฐบาล Saddam Hussein ได้มีการสังหารและจับกุมสมาชิก al-Qaeda เป็นจำนวนมาก และเมื่อช่วงเดือนพฤษภาคม ที่ผ่านมา Osama Bin Laden ผู้นำของ al-Qaeda ก็ได้ถูกสังหารโดยหน่วยรบพิเสษของสหรัฐฯ ชานกรุง Islamabad
ความล้มเหลว
แม้ว่า สหรัฐฯจะประสบความสำเร็จดังกล่าวข้างต้นอยู่บ้าง แต่โดยภาพรวมแล้ว ผมประเมินว่า สงครามต่อต้านการก่อการร้ายของสหรัฐฯประสบความล้มเหลว ทั้งนี้ เพราะสงครามต่อต้านการก่อการร้ายที่สหรัฐฯหวังว่าจะประสบชัยชนะ แต่กลับยืดเยื้อ กลับกลายเป็น “ยิ่งปราบ ยิ่งเพิ่ม” ถึงแม้จะไม่มีการก่อวินาศกรรมครั้งใหญ่ในสหรัฐฯ แต่การก่อการร้ายกลับเพิ่มขึ้นทั่วโลก สงครามอุดมการณ์เพื่อชนะจิตวิญญาณของชาวมุสลิม ก็ล้มเหลวอย่างสิ้นเชิง โดยโลกมุสลิมได้มองสหรัฐฯว่า เป็นศัตรูของอิสลาม และ al-Qaeda ก็ได้เป็นอุดมการณ์ เป็นขบวนการที่แพร่ไปทั่วโลกมุสลิม
ในปี 2009 ได้มีการเปลี่ยนแปลงรัฐบาลสหรัฐฯ จากรัฐบาล Bush มาเป็นรัฐบาล Obama เมื่อรับตำแหน่งใหม่ๆ Obama ได้กล่าวสุนทรพจน์ประวัติศาสตร์ที่กรุงไคโร ประเทศอียิปต์ โดยประกาศยุคใหม่ของ ความสัมพันธ์ระหว่างสหรัฐฯกับโลกมุสลิม แต่ 2 ปีผ่านไปหลังจากสุนทรพจน์ประวัติศาสตร์ แต่ความสัมพันธ์ระหว่างสหรัฐฯกับโลกมุสลิมไม่ได้ดีขึ้น การแก้ปัญหาการก่อการร้าย ก็กำลังถึงทางตัน
เรื่องสำคัญๆ ที่ดูแล้วล้มเหลว ก็คือ
• ขบวนการก่อการร้าย : ไม่ได้หมดไป แต่เพิ่มจำนวน และแพร่ไปทั่วโลก โดยองค์กร al-Qaeda มีสมาชิกเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ เครือข่ายการก่อการร้ายที่เป็นแนวร่วมกับ al-Qaeda ก็เพิ่มขึ้นทั่วโลก อาทิ นักรบ Taliban ในปากีสถาน และอัฟกานิสถาน องค์กร al-Qaeda ในคาบสมุทรอารเบีย ในโซมาเลีย ในอัฟริกาเหนือ ในปากีสถาน และในอิรัก โดยประเทศที่มีแนวโน้มที่ al-Qaeda จะเพิ่มบทบาทมากขึ้น คือ เยเมน ลิเบีย โซมาเลีย และไนจีเรีย นอกจากนี้ กำลังมีการเกิดขึ้นของกลุ่มก่อการร้ายในโลกตะวันตกเอง ที่เรียกว่า home-grown terrorists
• อัฟกานิสถาน : คือ ตัวอย่างที่ชัดเจนของความล้มเหลวของสหรัฐฯในสงครามต่อต้านการก่อการร้าย โดยหลังจากยึดครองอัฟกานิสถานมาได้ 10 ปี แต่ก็ไม่ได้มีอะไรดีขึ้น มิหนำซ้ำ สถานการณ์กลับแย่ลงไปเรื่อยๆ โดยนักรบ Taliban และเครือข่าย al-Qaeda ได้ร่วมมือกันในการทำสงครามกองโจร ต่อสู้กับกองกำลังนาโต้ โดยได้ยึดครองพื้นที่เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เป้าหมายที่จะได้รับการสนับสนุนจากชาวอัฟกานิสถาน ก็ล้มเหลวลงอย่างสิ้นเชิง โดยกลายเป็นว่า ชาวอัฟกานิสถานจำนวนไม่น้อยได้ร่วมมือกับ Taliban ซึ่งเป็นชนเผ่า Pashtun รบกับกองกำลังนาโต้ ที่ถูกมองว่า เป็นกองกำลังต่างชาติที่มายึดครองอัฟกานิสถาน
• อิรัก : สำหรับอิรัก ก็เป็นอีกหนึ่งตัวอย่างของความล้มเหลวของสหรัฐฯ แม้ว่าจะสามารถโค่น Saddam Hussein ลงได้ แต่สหรัฐฯก็สูญเสียทรัพยากรไปมาก โดยไม่ได้แก้ปัญหาการก่อการร้ายแต่อย่างใด มิหนำซ้ำ สงครามอิรักกลับเป็นปัจจัยสำคัญ ทำให้อำนาจของสหรัฐฯลดลง (ซึ่งก็เป็นเป้าหมายของ Bin Laden) สหรัฐฯสูญเสียเงินไปกว่า 1 ล้านล้านเหรียญ ในสงครามอิรัก ซึ่งเป็นปัจจัยทำให้รัฐบาลสหรัฐฯ ขาดดุลงบประมาณมหาศาล นำไปสู่วิกฤตหนี้ และทำให้สถานะทางเศรษฐกิจของสหรัฐฯสั่นคลอน
• overreaction : 10 ปีหลังเหตุการณ์ 11 กันยาฯ ชี้ให้เห็นพฤติกรรมของสหรัฐฯต่อเหตุการณ์ดังกล่าวว่า เป็นการกระทำที่เกินกว่าเหตุครั้งสำคัญที่สุดครั้งหนึ่งในประวัติศาสตร์โลก เป้าหมายของ Bin Laden คือ ยั่วยุให้สหรัฐฯตอบโต้เกินกว่าเหตุ เพราะฉะนั้น หากมองในแง่นี้ เหตุการณ์ 11 กันยาฯ ถือเป็นความสำเร็จของขบวนการก่อการร้าย ที่ได้ดึงให้สหรัฐฯ เล่นตามเกมส์ของตน ด้วยการดึงสหรัฐฯเข้าไปในสงครามใหญ่ที่ไม่ได้อะไร คือ ที่อัฟกานิสถาน และที่อิรัก เสียเงินไปกว่า 1 ล้านล้านเหรียญ และได้ทำลายอำนาจและชื่อเสียงของอเมริกาไปเป็นอย่างมาก สงครามต่อต้านการก่อการร้าย กลับเพิ่มอำนาจให้กับกลุ่มก่อการร้าย และแทนที่จะกำจัดผู้ก่อการร้าย แต่กลับเพิ่มกลุ่มก่อการร้ายขึ้นทั่วโลก
• hard power และ soft power ความล้มเหลวของสหรัฐฯในการแก้ปัญหาการก่อการร้าย คือ การที่สหรัฐฯใช้ hard power คือ การใช้กำลังทหารในการแก้ปัญหา ซึ่งกลับทำให้ปัญหายิ่งเพิ่มมากขึ้น เข้าทำนอง “ยิ่งปราบ ยิ่งเพิ่ม” และสิ่งที่ขาดหายไปในยุทธศาสตร์ของสหรัฐฯ คือ การใช้ soft power ในการแก้ปัญหา คือ เน้นการชนะจิตใจของชาวมุสลิม ด้วยการนำเสนอแนวความคิดที่ดี และมีความชอบธรรม
แนวโน้มและทางออก
10 ปี ของความล้มเหลวของการต่อต้านการก่อการร้าย ชี้ให้เห็นว่าปัญหามีแนวโน้มจะทรุดหนักลง โดยกลุ่มก่อการร้าย และการก่อการร้ายกำลังแพร่ขยายไปทั่วโลก สถานการณ์การก่อการร้ายในอนาคต คงจะลุกลามบานปลายต่อไปไม่จบง่ายๆ โดยเฉพาะในตะวันออกกลาง รวมทั้งในโลกตะวันตกด้วย
ยิ่งไปกว่านั้น สิ่งที่น่าห่วง คือ กำลังมีกระแสต่อต้านมุสลิมในโลกตะวันตกมากขึ้นเรื่อยๆ โดยเฉพาะเหตุการณ์ฆ่าหมู่ที่นอร์เวย์ เมื่อเร็วๆนี้ โดยฆาตกรมีอุดมการณ์ขวาจัด ต่อต้านมุสลิมอย่างสุดโต่ง นิยมแนวคิด นาซีใหม่และฟาสซิสต์ใหม่ อุดมการณ์นี้กำลังได้รับความนิยมมากขึ้นเรื่อยๆในโลกตะวันตก ซึ่งก็ยิ่งจะทำให้ในอนาคต ตะวันตกกับอิสลามจะยิ่งขัดแย้งกันมากขึ้น และปัญหาการก่อการร้าย ก็จะยิ่งรุนแรงมากขึ้น ในอนาคต จึงจะไม่ใช่มีแต่เพียงกลุ่มก่อการร้ายมุสลิมหัวรุนแรงเท่านั้น แต่จะมีกลุ่มก่อการร้ายตะวันตกหัวรุนแรง หรือคริสต์หัวรุนแรงเพิ่มขึ้นมาด้วย
ดังนั้น ทางออกของการแก้ปัญหาการก่อการร้าย ก็คือ จะต้องมีการทบทวนยุทธศาสตร์การแก้ปัญหาการก่อการร้ายใหม่ โดยจะต้องเป็นการแก้ปัญหาอย่างบูรณาการ ที่จะต้องเน้นทั้ง hard power และ soft power ควบคู่กันไป คือ เน้นทั้งการใช้ไม้อ่อนและไม้แข็งควบคู่กันไป ที่ผ่านมา เราใช้ hard power มากเกินไป จำเป็นที่จะต้องหันมาให้ความสำคัญกับ soft power มากขึ้น โดยจะต้องเน้นไปที่การแก้ที่รากเหง้าของปัญหา อย่างแท้จริง ด้วยการสร้างความร่วมมือระหว่างประเทศ การทำสงครามอุดมการณ์เพื่อเอาชนะจิตวิญญาณของประชาชน การปรับนโยบายของสหรัฐฯใหม่ โดยเฉพาะนโยบายในตะวันออกกลาง และลัทธิครองความเป็นเจ้า รวมทั้งการแก้ปัญหาการปะทะกันทางอารยธรรมด้วย
ยุทธศาสตร์การค้าของสหรัฐฯ ปี 2011
ยุทธศาสตร์การค้าของสหรัฐฯ ปี 2011
ตีพิมพ์ใน สยามรัฐสัปดาหวิจารณ์ ฉบับวันศุกร์ที่ 9-วันพฤหัสบดีที่ 15 กันยายน 2554
เมื่อช่วงเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา Fred Bergsten นักเศรษฐศาสตร์ชื่อดังของสหรัฐฯ ซึ่งอยู่เบื้องหลัง นโยบายการค้าของรัฐบาลสหรัฐฯ มาหลายยุค หลายสมัย ได้กล่าวสุนทรพจน์ ในหัวข้อ The United States in the World Economy เสนอแนะยุทธศาสตร์การค้าของสหรัฐฯ ซึ่งมีเนื้อหาสาระที่น่าสนใจ และมีความสำคัญ ที่จะกระทบมาถึงไทยด้วย คอลัมน์โลกทรรศน์ในวันนี้ จึงจะสรุป วิเคราะห์ สุนทรพจน์ดังกล่าว ดังนี้
การส่งออก
ยุทธศาสตร์การค้าที่ Bergsten เสนอนั้น เน้น 3 เรื่อง เรื่องแร
ก คือ ยุทธศาสตร์การส่งออก เรื่องที่ 2 คือ ยุทธศาสตร์เกี่ยวกับทรัพย์สินทางปัญญา และเรื่องที่ 3 คือ ยุทธศาสตร์การค้าภาคบริการ
สำหรับยุทธศาสตร์แรก คือ ยุทธศาสตร์การส่งออกนั้น Bergsten ได้วิเคราะห์ว่า เป็นยุทธศาสตร์ที่มีความสำคัญในการที่จะฟื้นฟูเศรษฐกิจของสหรัฐฯ แม้ว่าประธานาธิบดี Obama จะประกาศนโยบาย National Export Initiative โดยตั้งเป้าจะเพิ่มการส่งออก ให้เพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่า ภายใน 5 ปี แต่ที่ผ่านมา รัฐบาล Obama ก็ดูจะไม่สามารถบรรลุเป้าหมายดังกล่าวได้ และเป้าที่ตั้งไว้ ก็ดูจะน้อยเกินไป โดย Bergsten ได้เสนอให้เพิ่มสัดส่วนการส่งออกต่อ GDP ของสหรัฐฯ จาก 10 % ในปี 2010 เพิ่มขึ้นเป็น 20% ในปี 2020
สำหรับประเทศกลุ่มเป้าหมายที่ยุทธศาสตร์การค้าของสหรัฐฯควรมุ่งเป้านั้น คือ กลุ่มประเทศเศรษฐกิจเกิดใหม่ หรือมหาอำนาจเศรษฐกิจใหม่ แม้ว่า ประเทศคู่ค้าเดิมของสหรัฐฯ คือ ญี่ปุ่น ยุโรป และแคนาดา จะยังมีความสำคัญอยู่ แต่ยุทธศาสตร์การค้าใหม่ของสหรัฐฯควรพุ่งเป้าไปที่ มหาอำนาจใหม่ ที่เศรษฐกิจกำลังเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว และเกินดุลการค้ากับสหรัฐฯมหาศาล
และอีกเหตุผลหนึ่งที่จะต้องมุ่งเป้าไปที่มหาอำนาจเศรษฐกิจใหม่ คือ ประเทศเหล่านี้ มักมีมาตรการกีดกันทางการค้า และปกป้องตลาด ทำให้สหรัฐฯประสบความยากลำบากเป็นอย่างมากในการเจาะตลาดของประเทศเหล่านี้ Bergsten ระบุว่า จีน คือ ประเทศที่มีมาตรการปกป้องทางการค้ามากที่สุดในโลก โดยจีนและประเทศเศรษฐกิจเกิดใหม่หลายประเทศ ได้ละเมิดกฎพื้นฐานของเศรษฐกิจโลก ส่งผลกระทบอย่างมากต่อการส่งออกของสหรัฐฯ นั่นก็คือ การแทรกแซงค่าเงิน ทำให้ค่าเงินหยวนต่ำกว่าความเป็นจริง
Bergsten มองว่า มาตราการดังกล่าวของจีน ถือเป็นมาตรการปกป้องทางการค้าที่รุนแรงที่สุด โดยการทำให้ค่าเงินต่ำกว่าความเป็นจริง ทำให้เกิดความได้เปรียบในเรื่องราคาสินค้าส่งออกของจีน Bergsten กล่าวหาจีนว่า รัฐบาลจีนได้แทรกแซงตลาดการแลกเปลี่ยนเงินตรา ตลอด 5 ปีที่ผ่านมา โดยรัฐบาลจีนได้ซื้อเงินดอลลาร์ 1,000 ล้านเหรียญทุกวัน ทั้งนี้ เพื่อจะทำให้เงินดอลลาร์แข็ง และค่าเงินหยวนอ่อน ผลก็คือ ทำให้ค่าเงินหยวนอ่อนกว่าความเป็นจริงถึง 20 % ซึ่งก็เปรียบเสมือนการที่รัฐบาลจีนอุดหนุนการส่งออก 20% และเปรียบเสมือน กับการเพิ่มภาษีให้กับสินค้าที่จีนนำเข้าถึง 20%
นอกจากนี้ จีนยังมีการเกินดุลบัญชีเดินสะพัด และเกินดุลการค้ามหาศาล มีมูลค่าถึง 10% ของ GDP ของจีน ทำให้จีนสามารถมีเงินทุนสำรองระหว่างประเทศกว่า 3 ล้านล้านเหรียญ
Bergsten วิเคราะห์ว่า การที่ค่าเงินดอลลาร์มีค่าสูงกว่าความเป็นจริงถึง 20% เป็นผลมาจากค่าเงินหยวนโดยตรง โดยหากสหรัฐฯสามารถบีบให้จีนเพิ่มค่าเงินหยวนได้ ก็จะส่งผลทำให้สหรัฐฯส่งออกได้เพิ่มขึ้นถึง 250,000 ล้านเหรียญ ต่อปี
ทรัพย์สินทางปัญญา
สำหรับยุทธศาสตร์ที่ 2 ที่ Bergsten เสนอ คือ ยุทธศาสตร์ของสหรัฐฯในการปกป้องทรัพย์สินทางปัญญา ซึ่งเป็นอีกเรื่องที่ขัดแย้งกันอย่างหนักในเวทีการค้าโลก
และก็เหมือนกับเรื่องการส่งออก จีนเป็นผู้ร้ายอันดับ 1 อีก ในเรื่องการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาของสหรัฐฯ รัฐบาลสหรัฐฯได้ประเมินว่า การละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาในจีน ทำให้บริษัทของสหรัฐฯสูญเสียรายได้ไปถึง 1 แสนล้านเหรียญต่อปี
การค้าภาคบริการ
สำหรับยุทธศาสตร์ที่ 3 ที่ Bergsten เสนอ คือ ยุทธศาสตร์การค้าภาคบริการ ซึ่งเขาให้ความสำคัญกับยุทธศาสตร์ในด้านนี้มาก ทั้งนี้ เพราะความสามารถในการแข่งขันของสหรัฐฯมีอยู่สูงมากในสาขานี้ โดยเฉพาะในเรื่องการให้บริการทางธุรกิจ วิศวกรรม สถาปัตยกรรม บริการด้านกฎหมาย และการบัญชี ภาคบริการนี้ สหรัฐฯได้ดุลการค้าสูงถึง 150,000 ล้านเหรียญ
Bergsten เสนอว่า ยุทธศาสตร์ดังกล่าว จะต้องมุ่งเป้าไปที่การเปิดตลาดการส่งออกธุรกิจการค้าภาคบริการของสหรัฐฯ โดยประเทศเป้าหมาย คือ กลุ่มประเทศเศรษฐกิจเกิดใหม่ และมหาอำนาจใหม่ โดยประเทศเหล่านี้ มีมาตรการที่เป็นอุปสรรคต่อการส่งออกธุรกิจภาคบริการของสหรัฐฯ Bergsten จึงเสนอว่า สหรัฐฯจะต้องรณรงค์อย่างหนักในการเจรจาข้อตกลงการค้าใหม่ ที่จะเปิดตลาดของประเทศเหล่านี้ ต่อการส่งออกธุรกิจภาคบริการของสหรัฐฯ
โดยช่องทางของการจัดทำข้อตกลงทางการค้า ก็มีหลายช่องทาง คือ การเจรจาแบบทวิภาคี และการเจรจาแบบพหุภาคี ตัวอย่างเช่น กรอบการเจรจา Trans-Pacific Partnership หรือ TPP ซึ่งขณะนี้ มี 8 ประเทศแล้ว ที่เจรจา TPP กับสหรัฐฯ และในอนาคต TPP จะขยายกลายเป็นเขตการค้าเสรีเอเชียแปซิฟิก (Free Trade Area of the Asia-Pacific : FTAAP) ซึ่งจะเป็น FTA ในกรอบของเอเปค
การแปลงยุทธศาสตร์ไปสู่การปฏิบัติ
การ implement ยุทธศาสตร์ดังกล่าว ไม่ใช่เรื่องง่าย ดังนั้น สหรัฐฯจะต้องมี game plan ที่มีประสิทธิภาพ โดยจะต้องมีการสร้างพันธมิตรให้มากที่สุด โดยเฉพาะเพื่อกดดันจีน Bergsten วิเคราะห์ว่า จีนจะตอบสนองต่อแรงกดดันภายนอกในการปรับเปลี่ยนค่าเงินหยวน ก็ต่อเมื่อ ยุโรป ประเทศในเอเชีย และมหาอำนาจเศรษฐกิจใหม่ ประสานนโยบายและพูดเป็นเสียงเดียวกันในการกดดันจีน นอกจากนี้ สหรัฐฯอาจจะต้องใช้สถาบันเศรษฐกิจโลก โดยเฉพาะ WTO และ IMF ให้เป็นประโยชน์ โดยเฉพาะในการสร้างแนวร่วมเพื่อกดดันจีน
Bergsten มองว่า ยุทธศาสตร์ต่อจีนนั้น จะต้องใช้ทั้งไม้อ่อนและไม้แข็ง ที่ผ่านมา รัฐบาล Obama ใช้ไม้อ่อนมากเกินไป สหรัฐฯจึงควรเพิ่มการใช้ไม้แข็งกับจีน โดยกระทรวงการคลังควรระบุว่า จีนเป็นประเทศที่มีการแทรกแซงค่าเงิน หรือ currency manipulator
ผลกระทบต่อไทย
กล่วโดยสรุป ยุทธศาสตร์การค้าที่ Bergsten เสนอต่อรัฐบาลสหรัฐฯนั้น เน้น 3 ยุทธศาสตร์ใหญ่ คือ ยุทธศาสตร์การส่งออก ด้านทรัพย์สินทางปัญญา และด้านการค้าภาคบริการ ซึ่งแม้ว่า Bergsten จะมุ่งเป้าไปที่จีนเป็นหลัก แต่ประเทศเป้าหมายของ Bergsten นั้น มีมากกว่าจีน นั่นคือ กลุ่มประเทศเศรษฐกิจใหม่ และมหาอำนาจเศรษฐกิจใหม่ ซึ่งก็อาจมีไทยรวมอยู่ด้วย
ดังนั้น ไทยควรจะต้องตั้งรับให้ดีกับยุทธศาสตร์การค้าใหม่ของสหรัฐฯ ที่อาจมุ่งเป้ากดดันให้ไทยเปิดตลาดให้กับสินค้าของสหรัฐฯมากขึ้น
รวมทั้งการกดดันเรื่องทรัพย์สินทางปัญญา ซึ่งในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ไทยก็โดนกดดันอย่างหนัก โดยถูกปรับให้กลายเป็นประเทศที่ต้องเฝ้าระวังเป็นพิเศษ หรือ priority watch list
ส่วนเรื่องการเปิดตลาดการค้าภาคบริการ ก็อันตรายสำหรับไทย เราคงจำกันได้ว่า ในตอนที่เราเจรจา FTA กับสหรัฐฯ สหรัฐฯได้รุกหนักในเรื่องนี้ อย่างไรก็ตาม แรงกดดันก็ลดลง หลังจากที่รัฐบาล Obama ไม่นิยมเจรจาทวิภาคีอีกต่อไป การเจรจา FTA ไทย-สหรัฐฯ จึงสะดุดหยุดลง แต่รัฐบาล Obama ก็หันมาให้ ความสำคัญกับ TPP ในการเป็น FTA ตัวใหม่ในภูมิภาค และขณะนี้ ก็กดดันไทยอย่างหนักให้เข้าร่วม TPP ด้วย ไทยควรต้องระมัดระวัง และพิจารณาให้รอบคอบ ในการเข้าร่วม TPP ซึ่งผมมองว่า ก็มีทั้งข้อดีและข้อเสีย จึงต้องชั่งน้ำหนักกันให้ดี โดยเฉพาะการค้าภาคบริการ ที่ไทยคงจะต้องเสียเปรียบอย่างแน่นอน
ตีพิมพ์ใน สยามรัฐสัปดาหวิจารณ์ ฉบับวันศุกร์ที่ 9-วันพฤหัสบดีที่ 15 กันยายน 2554
เมื่อช่วงเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา Fred Bergsten นักเศรษฐศาสตร์ชื่อดังของสหรัฐฯ ซึ่งอยู่เบื้องหลัง นโยบายการค้าของรัฐบาลสหรัฐฯ มาหลายยุค หลายสมัย ได้กล่าวสุนทรพจน์ ในหัวข้อ The United States in the World Economy เสนอแนะยุทธศาสตร์การค้าของสหรัฐฯ ซึ่งมีเนื้อหาสาระที่น่าสนใจ และมีความสำคัญ ที่จะกระทบมาถึงไทยด้วย คอลัมน์โลกทรรศน์ในวันนี้ จึงจะสรุป วิเคราะห์ สุนทรพจน์ดังกล่าว ดังนี้
การส่งออก
ยุทธศาสตร์การค้าที่ Bergsten เสนอนั้น เน้น 3 เรื่อง เรื่องแร
ก คือ ยุทธศาสตร์การส่งออก เรื่องที่ 2 คือ ยุทธศาสตร์เกี่ยวกับทรัพย์สินทางปัญญา และเรื่องที่ 3 คือ ยุทธศาสตร์การค้าภาคบริการ
สำหรับยุทธศาสตร์แรก คือ ยุทธศาสตร์การส่งออกนั้น Bergsten ได้วิเคราะห์ว่า เป็นยุทธศาสตร์ที่มีความสำคัญในการที่จะฟื้นฟูเศรษฐกิจของสหรัฐฯ แม้ว่าประธานาธิบดี Obama จะประกาศนโยบาย National Export Initiative โดยตั้งเป้าจะเพิ่มการส่งออก ให้เพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่า ภายใน 5 ปี แต่ที่ผ่านมา รัฐบาล Obama ก็ดูจะไม่สามารถบรรลุเป้าหมายดังกล่าวได้ และเป้าที่ตั้งไว้ ก็ดูจะน้อยเกินไป โดย Bergsten ได้เสนอให้เพิ่มสัดส่วนการส่งออกต่อ GDP ของสหรัฐฯ จาก 10 % ในปี 2010 เพิ่มขึ้นเป็น 20% ในปี 2020
สำหรับประเทศกลุ่มเป้าหมายที่ยุทธศาสตร์การค้าของสหรัฐฯควรมุ่งเป้านั้น คือ กลุ่มประเทศเศรษฐกิจเกิดใหม่ หรือมหาอำนาจเศรษฐกิจใหม่ แม้ว่า ประเทศคู่ค้าเดิมของสหรัฐฯ คือ ญี่ปุ่น ยุโรป และแคนาดา จะยังมีความสำคัญอยู่ แต่ยุทธศาสตร์การค้าใหม่ของสหรัฐฯควรพุ่งเป้าไปที่ มหาอำนาจใหม่ ที่เศรษฐกิจกำลังเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว และเกินดุลการค้ากับสหรัฐฯมหาศาล
และอีกเหตุผลหนึ่งที่จะต้องมุ่งเป้าไปที่มหาอำนาจเศรษฐกิจใหม่ คือ ประเทศเหล่านี้ มักมีมาตรการกีดกันทางการค้า และปกป้องตลาด ทำให้สหรัฐฯประสบความยากลำบากเป็นอย่างมากในการเจาะตลาดของประเทศเหล่านี้ Bergsten ระบุว่า จีน คือ ประเทศที่มีมาตรการปกป้องทางการค้ามากที่สุดในโลก โดยจีนและประเทศเศรษฐกิจเกิดใหม่หลายประเทศ ได้ละเมิดกฎพื้นฐานของเศรษฐกิจโลก ส่งผลกระทบอย่างมากต่อการส่งออกของสหรัฐฯ นั่นก็คือ การแทรกแซงค่าเงิน ทำให้ค่าเงินหยวนต่ำกว่าความเป็นจริง
Bergsten มองว่า มาตราการดังกล่าวของจีน ถือเป็นมาตรการปกป้องทางการค้าที่รุนแรงที่สุด โดยการทำให้ค่าเงินต่ำกว่าความเป็นจริง ทำให้เกิดความได้เปรียบในเรื่องราคาสินค้าส่งออกของจีน Bergsten กล่าวหาจีนว่า รัฐบาลจีนได้แทรกแซงตลาดการแลกเปลี่ยนเงินตรา ตลอด 5 ปีที่ผ่านมา โดยรัฐบาลจีนได้ซื้อเงินดอลลาร์ 1,000 ล้านเหรียญทุกวัน ทั้งนี้ เพื่อจะทำให้เงินดอลลาร์แข็ง และค่าเงินหยวนอ่อน ผลก็คือ ทำให้ค่าเงินหยวนอ่อนกว่าความเป็นจริงถึง 20 % ซึ่งก็เปรียบเสมือนการที่รัฐบาลจีนอุดหนุนการส่งออก 20% และเปรียบเสมือน กับการเพิ่มภาษีให้กับสินค้าที่จีนนำเข้าถึง 20%
นอกจากนี้ จีนยังมีการเกินดุลบัญชีเดินสะพัด และเกินดุลการค้ามหาศาล มีมูลค่าถึง 10% ของ GDP ของจีน ทำให้จีนสามารถมีเงินทุนสำรองระหว่างประเทศกว่า 3 ล้านล้านเหรียญ
Bergsten วิเคราะห์ว่า การที่ค่าเงินดอลลาร์มีค่าสูงกว่าความเป็นจริงถึง 20% เป็นผลมาจากค่าเงินหยวนโดยตรง โดยหากสหรัฐฯสามารถบีบให้จีนเพิ่มค่าเงินหยวนได้ ก็จะส่งผลทำให้สหรัฐฯส่งออกได้เพิ่มขึ้นถึง 250,000 ล้านเหรียญ ต่อปี
ทรัพย์สินทางปัญญา
สำหรับยุทธศาสตร์ที่ 2 ที่ Bergsten เสนอ คือ ยุทธศาสตร์ของสหรัฐฯในการปกป้องทรัพย์สินทางปัญญา ซึ่งเป็นอีกเรื่องที่ขัดแย้งกันอย่างหนักในเวทีการค้าโลก
และก็เหมือนกับเรื่องการส่งออก จีนเป็นผู้ร้ายอันดับ 1 อีก ในเรื่องการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาของสหรัฐฯ รัฐบาลสหรัฐฯได้ประเมินว่า การละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาในจีน ทำให้บริษัทของสหรัฐฯสูญเสียรายได้ไปถึง 1 แสนล้านเหรียญต่อปี
การค้าภาคบริการ
สำหรับยุทธศาสตร์ที่ 3 ที่ Bergsten เสนอ คือ ยุทธศาสตร์การค้าภาคบริการ ซึ่งเขาให้ความสำคัญกับยุทธศาสตร์ในด้านนี้มาก ทั้งนี้ เพราะความสามารถในการแข่งขันของสหรัฐฯมีอยู่สูงมากในสาขานี้ โดยเฉพาะในเรื่องการให้บริการทางธุรกิจ วิศวกรรม สถาปัตยกรรม บริการด้านกฎหมาย และการบัญชี ภาคบริการนี้ สหรัฐฯได้ดุลการค้าสูงถึง 150,000 ล้านเหรียญ
Bergsten เสนอว่า ยุทธศาสตร์ดังกล่าว จะต้องมุ่งเป้าไปที่การเปิดตลาดการส่งออกธุรกิจการค้าภาคบริการของสหรัฐฯ โดยประเทศเป้าหมาย คือ กลุ่มประเทศเศรษฐกิจเกิดใหม่ และมหาอำนาจใหม่ โดยประเทศเหล่านี้ มีมาตรการที่เป็นอุปสรรคต่อการส่งออกธุรกิจภาคบริการของสหรัฐฯ Bergsten จึงเสนอว่า สหรัฐฯจะต้องรณรงค์อย่างหนักในการเจรจาข้อตกลงการค้าใหม่ ที่จะเปิดตลาดของประเทศเหล่านี้ ต่อการส่งออกธุรกิจภาคบริการของสหรัฐฯ
โดยช่องทางของการจัดทำข้อตกลงทางการค้า ก็มีหลายช่องทาง คือ การเจรจาแบบทวิภาคี และการเจรจาแบบพหุภาคี ตัวอย่างเช่น กรอบการเจรจา Trans-Pacific Partnership หรือ TPP ซึ่งขณะนี้ มี 8 ประเทศแล้ว ที่เจรจา TPP กับสหรัฐฯ และในอนาคต TPP จะขยายกลายเป็นเขตการค้าเสรีเอเชียแปซิฟิก (Free Trade Area of the Asia-Pacific : FTAAP) ซึ่งจะเป็น FTA ในกรอบของเอเปค
การแปลงยุทธศาสตร์ไปสู่การปฏิบัติ
การ implement ยุทธศาสตร์ดังกล่าว ไม่ใช่เรื่องง่าย ดังนั้น สหรัฐฯจะต้องมี game plan ที่มีประสิทธิภาพ โดยจะต้องมีการสร้างพันธมิตรให้มากที่สุด โดยเฉพาะเพื่อกดดันจีน Bergsten วิเคราะห์ว่า จีนจะตอบสนองต่อแรงกดดันภายนอกในการปรับเปลี่ยนค่าเงินหยวน ก็ต่อเมื่อ ยุโรป ประเทศในเอเชีย และมหาอำนาจเศรษฐกิจใหม่ ประสานนโยบายและพูดเป็นเสียงเดียวกันในการกดดันจีน นอกจากนี้ สหรัฐฯอาจจะต้องใช้สถาบันเศรษฐกิจโลก โดยเฉพาะ WTO และ IMF ให้เป็นประโยชน์ โดยเฉพาะในการสร้างแนวร่วมเพื่อกดดันจีน
Bergsten มองว่า ยุทธศาสตร์ต่อจีนนั้น จะต้องใช้ทั้งไม้อ่อนและไม้แข็ง ที่ผ่านมา รัฐบาล Obama ใช้ไม้อ่อนมากเกินไป สหรัฐฯจึงควรเพิ่มการใช้ไม้แข็งกับจีน โดยกระทรวงการคลังควรระบุว่า จีนเป็นประเทศที่มีการแทรกแซงค่าเงิน หรือ currency manipulator
ผลกระทบต่อไทย
กล่วโดยสรุป ยุทธศาสตร์การค้าที่ Bergsten เสนอต่อรัฐบาลสหรัฐฯนั้น เน้น 3 ยุทธศาสตร์ใหญ่ คือ ยุทธศาสตร์การส่งออก ด้านทรัพย์สินทางปัญญา และด้านการค้าภาคบริการ ซึ่งแม้ว่า Bergsten จะมุ่งเป้าไปที่จีนเป็นหลัก แต่ประเทศเป้าหมายของ Bergsten นั้น มีมากกว่าจีน นั่นคือ กลุ่มประเทศเศรษฐกิจใหม่ และมหาอำนาจเศรษฐกิจใหม่ ซึ่งก็อาจมีไทยรวมอยู่ด้วย
ดังนั้น ไทยควรจะต้องตั้งรับให้ดีกับยุทธศาสตร์การค้าใหม่ของสหรัฐฯ ที่อาจมุ่งเป้ากดดันให้ไทยเปิดตลาดให้กับสินค้าของสหรัฐฯมากขึ้น
รวมทั้งการกดดันเรื่องทรัพย์สินทางปัญญา ซึ่งในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ไทยก็โดนกดดันอย่างหนัก โดยถูกปรับให้กลายเป็นประเทศที่ต้องเฝ้าระวังเป็นพิเศษ หรือ priority watch list
ส่วนเรื่องการเปิดตลาดการค้าภาคบริการ ก็อันตรายสำหรับไทย เราคงจำกันได้ว่า ในตอนที่เราเจรจา FTA กับสหรัฐฯ สหรัฐฯได้รุกหนักในเรื่องนี้ อย่างไรก็ตาม แรงกดดันก็ลดลง หลังจากที่รัฐบาล Obama ไม่นิยมเจรจาทวิภาคีอีกต่อไป การเจรจา FTA ไทย-สหรัฐฯ จึงสะดุดหยุดลง แต่รัฐบาล Obama ก็หันมาให้ ความสำคัญกับ TPP ในการเป็น FTA ตัวใหม่ในภูมิภาค และขณะนี้ ก็กดดันไทยอย่างหนักให้เข้าร่วม TPP ด้วย ไทยควรต้องระมัดระวัง และพิจารณาให้รอบคอบ ในการเข้าร่วม TPP ซึ่งผมมองว่า ก็มีทั้งข้อดีและข้อเสีย จึงต้องชั่งน้ำหนักกันให้ดี โดยเฉพาะการค้าภาคบริการ ที่ไทยคงจะต้องเสียเปรียบอย่างแน่นอน
เรือบรรทุกเครื่องบินลำแรกของจีน : ผลกระทบต่อความมั่นคงในภูมิภาค
เรือบรรทุกเครื่องบินลำแรกของจีน : ผลกระทบต่อความมั่นคงในภูมิภาค
ตีพิมพ์ใน สยามรัฐสัปดาหวิจารณ์ ฉบับวันศุกร์ที่ 26 สิงหาคม-วันพฤหัสบดีที่ 1 กันยายน 2554
ในช่วงต้นเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา เรือบรรทุกเครื่องบินลำแรกของจีน ได้ถูกปล่อยลงทะเลที่ท่าเรือเมือง Dalian คอลัมน์โลกทรรศน์ในวันนี้ จะวิเคราะห์ผลกระทบต่อความมั่นคงในภูมิภาค จากการผงาดขึ้นมาของจีนทางทหาร และผลจากการที่จีนมีเรือบรรทุกเครื่องบินลำแรก ดังนี้
บริบท
ก่อนอื่น ขอให้ดูบริบทของการผงาดขึ้นมาทางทหารของจีน และความขัดแย้งระหว่างจีนกับประเทศต่างๆในภูมิภาค
จากการผงาดขึ้นมาทางเศรษฐกิจของจีน ทำให้จีนมีงบประมาณทางทหารเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ การใช้จ่ายทางทหารเพิ่มขึ้นโดยเฉลี่ย 15 % ต่อปี มาตั้งแต่ ปี 2000
ในอดีต ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา นโยบายต่างประเทศของจีนต่อภูมิภาค จะเน้นการทูตเชิงนุ่มนวล หรือ charming diplomacy และชูสโลแกนการผงาดขึ้นมาอย่างสันติ หรือ peaceful rise
แต่ในปัจจุบัน จีนได้เริ่มมีท่าทีแข็งกร้าวขึ้นเรื่อยๆ โดยเฉพาะที่เกี่ยวกับความขัดแย้งในเรื่องดินแดน ที่เป็นปัญหาปะทุขึ้นมา คือ เรื่องความขัดแย้งในทะเลจีนใต้ หรือที่เราเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า หมู่เกาะสแปรตลีย์ ที่มีอาณาบริเวณประมาณ 3 ล้านตารางกิโลเมตร โดยมีการคาดว่า เป็นบริเวณที่มีแหล่งสำรองน้ำมันและก๊าซธรรมชาติจำนวนมหาศาล จีนได้อ้างกรรมสิทธิ์เหนือดินแดนดังกล่าวทั้งหมด แต่หลายประเทศในภูมิภาค ก็อ้างกรรมสิทธิ์เช่นเดียวกัน อาทิ เวียดนาม ฟิลิปปินส์ มาเลเซีย และบรูไน
ในปีนี้ ได้มีเหตุกระทบกระทั่งระหว่างเรือรบของจีน และเรือประมงของฟิลิปปินส์และเวียดนาม หลายครั้ง ความขัดแย้งได้ลุกลามบานปลายมาตั้งแต่ปีที่แล้ว เมื่อสหรัฐฯได้เข้ามาแทรกแซงในเรื่องนี้ ทำให้จีนไม่พอใจเป็นอย่างมาก และประกาศซ้อมรบในทะเลจีนใต้ ในปีนี้ หลายฝ่ายคาดการณ์ว่า จีนจะมีท่าทีที่อ่อนลง แต่กลับไม่ได้เป็นเช่นนั้น ในช่วง 2-3 เดือนที่ผ่านมา ได้มีการกระทบกระทั่งกัน ระหว่างจีน กับฟิลิปปินส์และเวียดนาม นาย Cui Tiankai รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงต่างประเทศของจีน ได้เตือนสหรัฐฯและประเทศในภูมิภาคว่า “กำลังเล่นกับไฟ” ในช่วงเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา นายพล Chen Bingde ผู้นำกองทัพจีน ได้วิพากย์วิจารณ์ยุทธศาสตร์ทหารของสหรัฐฯ และปฏิบัติการสอด แนมทางทะเลของสหรัฐฯ ใกล้ชายฝั่งของจีน รวมทั้งการซ้อมรบระหว่างสหรัฐฯกับเวียดนาม และฟิลิปปินส์
เรือบรรทุกเครื่องบินลำแรกของจีน
และด้วยบริบทดังกล่าวข้างต้น จีนจึงต้องการสร้างเสริมสมรรถนะกองทัพเรือของจีนให้แข็งแกร่งเพิ่มมากขึ้น ซึ่งส่วนหนึ่งของยุทธศาสตร์การสร้างเสริมกำลังของกองทัพเรือ คือ การมีเรือบรรทุกเครื่องบินลำแรก ซึ่งขณะนี้ยังไม่มีชื่อเป็นทางการ แต่เรือลำนี้มีชื่อเก่าเป็นภาษารัสเซีย ชื่อว่า Varyag โดยเรือลำนี้ถูกสร้างขึ้นในเมือง Mykolaiv ซึ่งเป็นอู่ต่อเรือในทะเลดำของรัสเซีย แต่ก็สร้างไม่เสร็จเพราะการล่มสลาย ของสหภาพโซเวียตในปี 1991 จนถึงปี 1998 บริษัทของจีน จึงได้ซื้อเรือลำนี้ต่อจากประเทศยูเครน ซึ่งในตอนแรก จะเอามาเป็นคาสิโนลอยน้ำ แต่ต่อมา รัฐบาลจีนได้เปลี่ยนแผน มาสร้างต่อเป็นเรือบรรทุกเครื่องบินลำแรกของจีน โดยได้ไปสร้างที่เมืองท่า ชื่อ Dalian ทางตะวันออกเฉียงเหนือ และในวันที่ 10 สิงหาคมที่ผ่านมา เรือบรรทุกเครื่องบินลำแรกของจีน ก็ได้ถูกปล่อยลงทะเลที่เมือง Dalian นับเป็นการผลิก ประวัติศาสตร์หน้าใหม่ของการขยายอำนาจทางทะเลของจีน
บทวิเคราะห์ผลกระทบ
สำหรับผลกระทบต่อความมั่นคงต่อภูมิภาค จากการที่จีนมีเรือบรรทุกเครื่องบินลำแรกนั้น
อาจวิเคราะห์ได้ว่า การผงาดขึ้นมาของจีนอย่างรวดเร็ว ได้ก่อให้เกิดความขัดแย้งระหว่างจีนกับประเทศต่างๆภายในภูมิภาค โดยเฉพาะในกรณีปัญหาหมู่เกาะสแปรตลีย์ ขณะนี้ จีนจึงตกอยู่ในสภาพ ที่ในแง่หนึ่ง ก็อยากชูสโลแกน “การผงาดขึ้นมาอย่างสันติ” โดยไม่ต้องการมีปัญหาขัดแย้งกับใคร โดยเฉพาะกับประเทศเพื่อนบ้าน แต่ในอีกแง่หนึ่ง จีนก็ต้องการผงาดขึ้นมาเป็นมหาอำนาจ และการครอบครองทะเลจีนใต้ ก็เป็นยุทธศาสตร์สำคัญในการผงาดขึ้นมาเป็นมหาอำนาจทางทะเลในภูมิภาค ภารกิจสำคัญของเรือบรรทุกเครื่องบินลำแรกของจีน คือ ปฏิบัติการในทะเลจีนใต้ ซึ่งในบริบทความขัดแย้งที่ผมได้วิเคราะห์ในตอนต้น จึงทำให้หลายประเทศในภูมิภาค มีความรู้สึกวิตกกังวล จากการที่จีนมีเรือบรรทุกเครื่องบิน เพราะเรือดังกล่าว เท่ากับเป็นการส่งสัญญาณอย่างชัดเจนว่า ความสามารถของจีน ในการที่จะ back up การอ้างกรรมสิทธิ์เหนือทะเลจีนใต้นั้น กำลังเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ
แม้ว่า ในอนาคต สหรัฐฯจะยังคงเป็นอภิมหาอำนาจอันดับ 1 ทางทหารในภูมิภาคก็ตาม และอำนาจของกองทัพเรือสหรัฐฯก็เหนือกว่าจีนเป็นอย่างมาก แต่การพัฒนากองทัพเรือจีนนั้น ตั้งอยู่บนยุทธศาตร์ทางทหารที่เรียกว่า สมรรถนะภาพในการปฏิเสธการเข้าถึง ภาษาอังกฤษเรียกว่า antiaccess หรือ area denial ซึ่งเป็นยุทธศาสตร์ ที่จะป้องกันไม่ให้กองทัพเรือสหรัฐฯ เข้ามาช่วยเหลือประเทศพันธมิตรของสหรัฐฯ ในกรณีเกิดความขัดแย้ง โดยเฉพาะในกรณีของไต้หวัน และทะเลจีนใต้
นอกจากนี้ จะเห็นได้ชัดว่า ยุทธศาสตร์ทางทะเลของจีนนั้น แบ่งกองเรือรบออกเป็น 3 กองเรือ คือ กองเรือทะเลเหนือ กองเรือทะเลตะวันออก และกองเรือทะเลใต้ ขณะนี้ กองเรือทะเลใต้ ซึ่งรับผิดชอบเขตทะเลจีนใต้นั้น ได้รับการพัฒนาขีดความสามารถมากที่สุด โดยที่ผ่านมา ได้มีการปรับปรุงเรือรบ เรือลาดตระเวน เรือดำน้ำ และเพิ่มกำลังทางทหาร และที่สำคัญที่สุด คือ การเพิ่มเรือบรรทุกเครื่องบิน ที่จะมาปฏิบัติการในทะเลจีนใต้
ผลกระทบจากการเพิ่มสมรรถนะทางทะเลของจีน โดยเฉพาะเรือบรรทุกเครื่องบิน จะทำให้ความเสี่ยงของการเผชิญหน้า และความขัดแย้งทางทะเลเพิ่มมากขึ้น ถึงแม้โอกาสของการเกิดสงครามใหญ่จะมีอยู่น้อย แต่การกระทบกระทั่งระหว่างจีน กับ สหรัฐฯ ญี่ปุ่น อินเดีย และประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ก็มีแนวโน้มจะเพิ่มมากขึ้น และเมื่อเหตุการณ์กระทบกระทั่งเพิ่มมากขึ้น โอกาสที่จะลุกลาม กลายเป็นการเผชิญหน้าทางทหาร และสงคราม ก็อาจเกิดขึ้นได้
ตีพิมพ์ใน สยามรัฐสัปดาหวิจารณ์ ฉบับวันศุกร์ที่ 26 สิงหาคม-วันพฤหัสบดีที่ 1 กันยายน 2554
ในช่วงต้นเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา เรือบรรทุกเครื่องบินลำแรกของจีน ได้ถูกปล่อยลงทะเลที่ท่าเรือเมือง Dalian คอลัมน์โลกทรรศน์ในวันนี้ จะวิเคราะห์ผลกระทบต่อความมั่นคงในภูมิภาค จากการผงาดขึ้นมาของจีนทางทหาร และผลจากการที่จีนมีเรือบรรทุกเครื่องบินลำแรก ดังนี้
บริบท
ก่อนอื่น ขอให้ดูบริบทของการผงาดขึ้นมาทางทหารของจีน และความขัดแย้งระหว่างจีนกับประเทศต่างๆในภูมิภาค
จากการผงาดขึ้นมาทางเศรษฐกิจของจีน ทำให้จีนมีงบประมาณทางทหารเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ การใช้จ่ายทางทหารเพิ่มขึ้นโดยเฉลี่ย 15 % ต่อปี มาตั้งแต่ ปี 2000
ในอดีต ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา นโยบายต่างประเทศของจีนต่อภูมิภาค จะเน้นการทูตเชิงนุ่มนวล หรือ charming diplomacy และชูสโลแกนการผงาดขึ้นมาอย่างสันติ หรือ peaceful rise
แต่ในปัจจุบัน จีนได้เริ่มมีท่าทีแข็งกร้าวขึ้นเรื่อยๆ โดยเฉพาะที่เกี่ยวกับความขัดแย้งในเรื่องดินแดน ที่เป็นปัญหาปะทุขึ้นมา คือ เรื่องความขัดแย้งในทะเลจีนใต้ หรือที่เราเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า หมู่เกาะสแปรตลีย์ ที่มีอาณาบริเวณประมาณ 3 ล้านตารางกิโลเมตร โดยมีการคาดว่า เป็นบริเวณที่มีแหล่งสำรองน้ำมันและก๊าซธรรมชาติจำนวนมหาศาล จีนได้อ้างกรรมสิทธิ์เหนือดินแดนดังกล่าวทั้งหมด แต่หลายประเทศในภูมิภาค ก็อ้างกรรมสิทธิ์เช่นเดียวกัน อาทิ เวียดนาม ฟิลิปปินส์ มาเลเซีย และบรูไน
ในปีนี้ ได้มีเหตุกระทบกระทั่งระหว่างเรือรบของจีน และเรือประมงของฟิลิปปินส์และเวียดนาม หลายครั้ง ความขัดแย้งได้ลุกลามบานปลายมาตั้งแต่ปีที่แล้ว เมื่อสหรัฐฯได้เข้ามาแทรกแซงในเรื่องนี้ ทำให้จีนไม่พอใจเป็นอย่างมาก และประกาศซ้อมรบในทะเลจีนใต้ ในปีนี้ หลายฝ่ายคาดการณ์ว่า จีนจะมีท่าทีที่อ่อนลง แต่กลับไม่ได้เป็นเช่นนั้น ในช่วง 2-3 เดือนที่ผ่านมา ได้มีการกระทบกระทั่งกัน ระหว่างจีน กับฟิลิปปินส์และเวียดนาม นาย Cui Tiankai รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงต่างประเทศของจีน ได้เตือนสหรัฐฯและประเทศในภูมิภาคว่า “กำลังเล่นกับไฟ” ในช่วงเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา นายพล Chen Bingde ผู้นำกองทัพจีน ได้วิพากย์วิจารณ์ยุทธศาสตร์ทหารของสหรัฐฯ และปฏิบัติการสอด แนมทางทะเลของสหรัฐฯ ใกล้ชายฝั่งของจีน รวมทั้งการซ้อมรบระหว่างสหรัฐฯกับเวียดนาม และฟิลิปปินส์
เรือบรรทุกเครื่องบินลำแรกของจีน
และด้วยบริบทดังกล่าวข้างต้น จีนจึงต้องการสร้างเสริมสมรรถนะกองทัพเรือของจีนให้แข็งแกร่งเพิ่มมากขึ้น ซึ่งส่วนหนึ่งของยุทธศาสตร์การสร้างเสริมกำลังของกองทัพเรือ คือ การมีเรือบรรทุกเครื่องบินลำแรก ซึ่งขณะนี้ยังไม่มีชื่อเป็นทางการ แต่เรือลำนี้มีชื่อเก่าเป็นภาษารัสเซีย ชื่อว่า Varyag โดยเรือลำนี้ถูกสร้างขึ้นในเมือง Mykolaiv ซึ่งเป็นอู่ต่อเรือในทะเลดำของรัสเซีย แต่ก็สร้างไม่เสร็จเพราะการล่มสลาย ของสหภาพโซเวียตในปี 1991 จนถึงปี 1998 บริษัทของจีน จึงได้ซื้อเรือลำนี้ต่อจากประเทศยูเครน ซึ่งในตอนแรก จะเอามาเป็นคาสิโนลอยน้ำ แต่ต่อมา รัฐบาลจีนได้เปลี่ยนแผน มาสร้างต่อเป็นเรือบรรทุกเครื่องบินลำแรกของจีน โดยได้ไปสร้างที่เมืองท่า ชื่อ Dalian ทางตะวันออกเฉียงเหนือ และในวันที่ 10 สิงหาคมที่ผ่านมา เรือบรรทุกเครื่องบินลำแรกของจีน ก็ได้ถูกปล่อยลงทะเลที่เมือง Dalian นับเป็นการผลิก ประวัติศาสตร์หน้าใหม่ของการขยายอำนาจทางทะเลของจีน
บทวิเคราะห์ผลกระทบ
สำหรับผลกระทบต่อความมั่นคงต่อภูมิภาค จากการที่จีนมีเรือบรรทุกเครื่องบินลำแรกนั้น
อาจวิเคราะห์ได้ว่า การผงาดขึ้นมาของจีนอย่างรวดเร็ว ได้ก่อให้เกิดความขัดแย้งระหว่างจีนกับประเทศต่างๆภายในภูมิภาค โดยเฉพาะในกรณีปัญหาหมู่เกาะสแปรตลีย์ ขณะนี้ จีนจึงตกอยู่ในสภาพ ที่ในแง่หนึ่ง ก็อยากชูสโลแกน “การผงาดขึ้นมาอย่างสันติ” โดยไม่ต้องการมีปัญหาขัดแย้งกับใคร โดยเฉพาะกับประเทศเพื่อนบ้าน แต่ในอีกแง่หนึ่ง จีนก็ต้องการผงาดขึ้นมาเป็นมหาอำนาจ และการครอบครองทะเลจีนใต้ ก็เป็นยุทธศาสตร์สำคัญในการผงาดขึ้นมาเป็นมหาอำนาจทางทะเลในภูมิภาค ภารกิจสำคัญของเรือบรรทุกเครื่องบินลำแรกของจีน คือ ปฏิบัติการในทะเลจีนใต้ ซึ่งในบริบทความขัดแย้งที่ผมได้วิเคราะห์ในตอนต้น จึงทำให้หลายประเทศในภูมิภาค มีความรู้สึกวิตกกังวล จากการที่จีนมีเรือบรรทุกเครื่องบิน เพราะเรือดังกล่าว เท่ากับเป็นการส่งสัญญาณอย่างชัดเจนว่า ความสามารถของจีน ในการที่จะ back up การอ้างกรรมสิทธิ์เหนือทะเลจีนใต้นั้น กำลังเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ
แม้ว่า ในอนาคต สหรัฐฯจะยังคงเป็นอภิมหาอำนาจอันดับ 1 ทางทหารในภูมิภาคก็ตาม และอำนาจของกองทัพเรือสหรัฐฯก็เหนือกว่าจีนเป็นอย่างมาก แต่การพัฒนากองทัพเรือจีนนั้น ตั้งอยู่บนยุทธศาตร์ทางทหารที่เรียกว่า สมรรถนะภาพในการปฏิเสธการเข้าถึง ภาษาอังกฤษเรียกว่า antiaccess หรือ area denial ซึ่งเป็นยุทธศาสตร์ ที่จะป้องกันไม่ให้กองทัพเรือสหรัฐฯ เข้ามาช่วยเหลือประเทศพันธมิตรของสหรัฐฯ ในกรณีเกิดความขัดแย้ง โดยเฉพาะในกรณีของไต้หวัน และทะเลจีนใต้
นอกจากนี้ จะเห็นได้ชัดว่า ยุทธศาสตร์ทางทะเลของจีนนั้น แบ่งกองเรือรบออกเป็น 3 กองเรือ คือ กองเรือทะเลเหนือ กองเรือทะเลตะวันออก และกองเรือทะเลใต้ ขณะนี้ กองเรือทะเลใต้ ซึ่งรับผิดชอบเขตทะเลจีนใต้นั้น ได้รับการพัฒนาขีดความสามารถมากที่สุด โดยที่ผ่านมา ได้มีการปรับปรุงเรือรบ เรือลาดตระเวน เรือดำน้ำ และเพิ่มกำลังทางทหาร และที่สำคัญที่สุด คือ การเพิ่มเรือบรรทุกเครื่องบิน ที่จะมาปฏิบัติการในทะเลจีนใต้
ผลกระทบจากการเพิ่มสมรรถนะทางทะเลของจีน โดยเฉพาะเรือบรรทุกเครื่องบิน จะทำให้ความเสี่ยงของการเผชิญหน้า และความขัดแย้งทางทะเลเพิ่มมากขึ้น ถึงแม้โอกาสของการเกิดสงครามใหญ่จะมีอยู่น้อย แต่การกระทบกระทั่งระหว่างจีน กับ สหรัฐฯ ญี่ปุ่น อินเดีย และประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ก็มีแนวโน้มจะเพิ่มมากขึ้น และเมื่อเหตุการณ์กระทบกระทั่งเพิ่มมากขึ้น โอกาสที่จะลุกลาม กลายเป็นการเผชิญหน้าทางทหาร และสงคราม ก็อาจเกิดขึ้นได้
ผลการประชุมรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียนที่อินโดนีเซีย
ผลการประชุมรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียนที่อินโดนีเซีย
ตีพิมพ์ใน สยามรัฐสัปดาหวิจารณ์ ฉบับวันศุกร์ที่ 19-วันพฤหัสบดีที่ 25 สิงหาคม 2554
เมื่อช่วงปลายสัปดาห์ที่แล้ว ได้มีการประชุมประจำปีของรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียน หรือ ASEAN Economic Ministers Meeting เรียกย่อว่า AEM ที่อินโดนีเซีย คอลัมน์โลกทรรศน์ในตอนนี้ จะสรุป วิเคราะห์ผลการประชุม ดังนี้
AEM
การประชุมครั้งนี้มีหลายกรอบ กรอบแรกเป็นการประชุมเฉพาะรัฐมนตรีเศรษฐกิจของอาเซียน 10 ประเทศ และมีการประชุมรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียนกับมหาอำนาจเศรษฐกิจที่สำคัญ อาทิ จีน ญี่ปุ่น สหรัฐฯ และมีการประชุมในกรอบ อาเซียน+3 และอาเซียน+6 หรือ EAS ด้วย
สำหรับการประชุม AEM เฉพาะอาเซียน 10 ประเทศนั้น ที่ประชุมได้แสดงความยินดีต่อตัวเลขการค้าของอาเซียนที่เพิ่มขึ้นในปี 2010 ซึ่งมีมูลค่าถึง 2 ล้านล้านเหรียญ นอกจากนี้ อาเซียนยังเป็นแหล่งดึงดูดการลงทุนจากต่างชาติ หรือ FDI ซึ่งในปี 2010 มีเม็ดเงิน FDI ในอาเซียน เกือบ 76,000 ล้านเหรียญ
อย่างไรก็ตาม ที่ประชุมได้แสดงความห่วงใยต่อความเสี่ยงที่มาจากปัญหาวิกฤตหนี้สินในประเทศตะวันตก รวมทั้งความปั่นป่วนในตลาดการเงิน ที่ประชุมเห็นว่า อาเซียนควรจะต้องเฝ้าระวังในเรื่องนี้อย่างใกล้ชิด
เรื่องที่สำคัญในการประชุมครั้งนี้ คือ การติดตามความคืบหน้าในการจัดตั้งประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน หรือ AEC ในด้านการเปิดเสรีการค้าสินค้า ได้มีความคืบหน้า ในการแปลงข้อตกลง ASEAN Trade in Goods Agreement ไปสู่การปฏิบัติ สำหรับในการเปิดเสรีการค้าภาคบริการ ที่ประชุมเห็นว่า ควรเพิ่มบทบาทของข้อตกลง ASEAN Framework Agreement on Services และสำหรับการเปิดเสรีในด้านการลงทุน ที่ประชุมเห็นว่า จะต้องมีการเดินหน้าในการดำเนินมาตรการต่างๆ เพื่อนำไปสู่การเปิดเสรีด้านการลงทุนในปี 2015 เพื่อที่จะทำให้อาเซียนเป็นส่วนประกอบที่สำคัญของห่วงโซ่การผลิตของโลก (global supply chain)
สำหรับประเด็นความสัมพันธ์กับมหาอำนาจเศรษฐกิจนั้น เรื่องใหญ่ คือ การบูรณาการ FTA ต่างๆ ที่อาเซียนมีอยู่ ทั้งในกรอบ อาเซียน+1 อาเซียน+3 และอาเซียน+6 ได้มีการจัดตั้งคณะทำงานที่มีชื่อว่า ASEAN Plus Working Group หรือ APWG เพื่อศึกษารูปแบบของ FTA ของอาเซียนทั้งหมด ซึ่งเรียกรวมกันว่า ASEAN + + FTA โดยเจ้าหน้าที่อาวุโสด้านเศรษฐกิจของอาเซียนจะเสนอรูปแบบที่เหมาะสม ให้ที่ประชุมสุดยอดอาเซียนพิจารณา ในเดือนพฤศจิกายน ปีนี้
อาเซียน+1
การประชุมรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียนที่อินโดนีเซีย ได้มีการหารือในกรอบอาเซียน+1 กับมหาอำนาจเศรษฐกิจที่สำคัญ โดยเฉพาะกับ จีน ญี่ปุ่น และสหรัฐฯ
การค้าระหว่างอาเซียนกับจีนได้เพิ่มขึ้นเป็นอย่างมาก โดยการส่งออกของอาเซียนไปจีน ในปี 2010 มีมูลค่าถึง 113,000 ล้านเหรียญ ทำให้จีนกลายเป็นตลาดส่งออกอันดับ 2 ของอาเซียน โดยรวมแล้ว ขณะนี้ จีนเป็นประเทศคู่ค้าอันดับ 1 ของอาเซียนไปแล้ว โดยมูลค่าการค้าจีน-อาเซียน คิดเป็น 11.3 % ของการค้าของอาเซียนทั้งหมด
สำหรับญี่ปุ่น การค้ากับอาเซียน มีมูลค่า ประมาณ 200,000 ล้านเหรียญ ญี่ปุ่นเป็นประเทศคู่ค้าอันดับ 3 ของอาเซียน มูลค่าการค้า คิดเป็น 10 % ของมูลค่าการค้ารวมของอาเซียน
สำหรับการค้ารวมระหว่างอาเซียนกับสหรัฐฯนั้น ในปี 2010 มีมูลค่า 186,000 ล้านเหรียญ ทำให้สหรัฐฯเป็นคู่ค้าอันดับ 4 ของอาเซียน ตามหลัง จีน EU และญี่ปุ่น
AEM+3 และ EAS
สำหรับการประชุม AEM+3 นั้น ที่ประชุมได้ตอกย้ำว่า อาเซียน+3 ยังคงเป็นกลไกหลักที่จะบรรลุเป้าหมายระยะยาว ในการจัดตั้งประชาคมเอเชียตะวันออก อย่างไรก็ตาม อาเซียน+3 กับ EAS ควรจะเล่นบทบาทที่เกื้อกูลและส่งเสริมกันในการจัดตั้งประชาคมในภูมิภาค
สำหรับเรื่องสำคัญ คือ ข้อเสนอการจัดตั้ง เขตการค้าเสรีเอเชียตะวันออก หรือ East Asia Free Trade Area (EAFTA) ที่ประชุมได้แสดงความพอใจต่อคณะทำงานของอาเซียนที่กำลังพิจารณาที่จะบูรณาการ EAFTA และ CEPEA (FTA ในกรอบ EAS หรือ อาเซียน+6) อาเซียนกำลังพิจารณารูปแบบที่เหมาะสมของ ASEAN + + FTA โดยจะพิจารณาข้อเสนอ EAFTA และ CEPEA ด้วย
นอกจากนี้ ได้มีการจัดตั้ง East Asia Vision Group หรือ EAVG II โดยจะมีการจัดทำรายงานเสนอต่อที่ประชุมสุดยอดอาเซียน+3 ในปี 2012 เพื่อเสนอทิศทางในอนาคตของความร่วมมืออาเซียน+3
สำหรับการประชุมรัฐมนตรีเศรษฐกิจของ EAS นั้น ที่ประชุมได้ตอกย้ำฉันทามติของที่ประชุมผู้นำ EAS ว่า EAS จะต้องเล่นบทบาทสำคัญในการจัดตั้งประชาคมในภูมิภาค และเป็นส่วนหนึ่งของสถาปัตยกรรมในภูมิภาค EAS กับ อาเซียน+3 จะต้องเกื้อกูลกัน และส่งเสริมกันในการจัดตั้งประชาคม ข้อเสนอ CEPEA ก็กำลังได้รับการพิจารณาจากคณะทำงานของอาเซียน
บทวิเคราะห์
• AEM
ผมมองว่า การประชุมรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียนในครั้งนี้ โดยรวม ก็ไม่มีไฮไลท์อะไร เรื่องประชาคมเศรษฐกิจ หรือ AEC ก็กำลังเดินหน้าต่อไป แต่ที่น่าผิดหวัง คือ ความไม่คืบหน้าในการเคลื่อนย้ายเงินทุน และการเคลื่อนย้ายแรงงาน อีกเรื่องที่น่าผิดหวัง คือ รัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียน ไม่ได้มีการตกลงกันในเรื่องมาตรการร่วมกัน ที่จะป้องกันผลกระทบในทางลบจากวิกฤตหนี้สินของตะวันตก ที่อาจนำไปสู่การเกิดวิกฤตการเงินโลกครั้งใหม่ได้
ผมมองว่า เรื่องสำคัญในการประชุมครั้งนี้ คือ อาเซียนจะเอาอย่างไรกับ FTAที่มีอยู่หลายกรอบ ทั้งในกรอบ อาเซียน+1 อาทิ FTA อาเซียน-จีน อาเซียน-ญี่ปุ่น อาเซียน-อินเดีย อาเซียน-เกาหลี ฯลฯ และ FTA ในกรอบ อาเซียน+3 และอาเซียน+6 คงต้องจับตามองว่า ในเดือนพฤศจิกายนนี้ อาเซียนจะกำหนดรูปแบบของ ASEAN + + FTA อย่างไร และที่จะทำให้เรื่องยุ่งมากขึ้น คือ ข้อเสนอของสหรัฐฯที่จะจัดตั้ง FTA ในกรอบเอเปค ที่เรียกว่า TPP เพื่อมาแข่งกับ FTA ของอาเซียน เรื่องนี้เป็นเรื่องใหญ่ คงต้องมีการศึกษาวิเคราะห์ว่า ไทยและอาเซียนควรจะมียุทธศาสตร์ในเรื่องนี้อย่างไร
• AEM+1
สำหรับความสัมพันธ์อาเซียนกับมหาอำนาจเศรษฐกิจนั้น เห็นได้ชัดว่า ขณะนี้ จีนมาแรงที่สุด จีนกลายเป็นประเทศคู่ค้าอันดับ 1 ของอาเซียนไปแล้วอย่างไม่น่าเชื่อ ดังนั้น แนวโน้ม คือ อาเซียนจะใกล้ชิดทางเศรษฐกิจกับจีนมากขึ้นเรื่อยๆ แต่ปัญหาใหญ่ในความสัมพันธ์จีน-อาเซียน คือ ความสัมพันธ์ด้านความมั่นคงและการทหาร โดยเฉพาะความขัดแย้งในทะเลจีนใต้ ซึ่งสวนทางกับความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจ ดังนั้น จึงเป็นเรื่องน่าสนใจมากว่า ความสัมพันธ์จีนกับอาเซียนในอนาคต จะเป็นไปอย่างไร ท่ามกลางความสัมพันธ์ใน 2 มิติ ที่ดูขัดแย้งกัน
• อาเซียน+3 และ EAS
อีกเรื่องที่สำคัญ คือ กรอบอาเซียน+3 และ EAS เห็นได้ชัดว่า ความร่วมมือในกรอบอาเซียน+3 กำลังสะดุด และชะลอลง สาเหตุสำคัญ มาจากญี่ปุ่นและประเทศอาเซียนบางประเทศ ที่หวาดระแวงการผงาดขึ้นมาของจีน โดยเฉพาะญี่ปุ่น ได้หันไปให้ความสำคัญกับกรอบ EAS เป็นอย่างมาก ด้วยการผลักดันข้อเสนอ CEPEA มากเป็นพิเศษ
สำหรับในกรอบ EAS จากการประชุมครั้งนี้ ชี้ให้เห็นว่า ประเทศมหาอำนาจต่างๆที่ไม่ได้อยู่ในอาเซียน+3 พยายามจะเข้ามามีบทบาทใน EAS และพยายามที่จะให้ประเทศตนและ EAS เป็นส่วนหนึ่งของสถาปัตยกรรมในภูมิภาค สิ่งที่มหาอำนาจนอกภูมิภาคไม่ต้องการเห็นคือ การที่อาเซียน+3 จะพัฒนาไปเป็นประชาคมเอเชียตะวันออก คงต้องดูกันต่อว่า สถาปัตยกรรมในภูมิภาค จะวิวัฒนาการไปอย่างไร
ตีพิมพ์ใน สยามรัฐสัปดาหวิจารณ์ ฉบับวันศุกร์ที่ 19-วันพฤหัสบดีที่ 25 สิงหาคม 2554
เมื่อช่วงปลายสัปดาห์ที่แล้ว ได้มีการประชุมประจำปีของรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียน หรือ ASEAN Economic Ministers Meeting เรียกย่อว่า AEM ที่อินโดนีเซีย คอลัมน์โลกทรรศน์ในตอนนี้ จะสรุป วิเคราะห์ผลการประชุม ดังนี้
AEM
การประชุมครั้งนี้มีหลายกรอบ กรอบแรกเป็นการประชุมเฉพาะรัฐมนตรีเศรษฐกิจของอาเซียน 10 ประเทศ และมีการประชุมรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียนกับมหาอำนาจเศรษฐกิจที่สำคัญ อาทิ จีน ญี่ปุ่น สหรัฐฯ และมีการประชุมในกรอบ อาเซียน+3 และอาเซียน+6 หรือ EAS ด้วย
สำหรับการประชุม AEM เฉพาะอาเซียน 10 ประเทศนั้น ที่ประชุมได้แสดงความยินดีต่อตัวเลขการค้าของอาเซียนที่เพิ่มขึ้นในปี 2010 ซึ่งมีมูลค่าถึง 2 ล้านล้านเหรียญ นอกจากนี้ อาเซียนยังเป็นแหล่งดึงดูดการลงทุนจากต่างชาติ หรือ FDI ซึ่งในปี 2010 มีเม็ดเงิน FDI ในอาเซียน เกือบ 76,000 ล้านเหรียญ
อย่างไรก็ตาม ที่ประชุมได้แสดงความห่วงใยต่อความเสี่ยงที่มาจากปัญหาวิกฤตหนี้สินในประเทศตะวันตก รวมทั้งความปั่นป่วนในตลาดการเงิน ที่ประชุมเห็นว่า อาเซียนควรจะต้องเฝ้าระวังในเรื่องนี้อย่างใกล้ชิด
เรื่องที่สำคัญในการประชุมครั้งนี้ คือ การติดตามความคืบหน้าในการจัดตั้งประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน หรือ AEC ในด้านการเปิดเสรีการค้าสินค้า ได้มีความคืบหน้า ในการแปลงข้อตกลง ASEAN Trade in Goods Agreement ไปสู่การปฏิบัติ สำหรับในการเปิดเสรีการค้าภาคบริการ ที่ประชุมเห็นว่า ควรเพิ่มบทบาทของข้อตกลง ASEAN Framework Agreement on Services และสำหรับการเปิดเสรีในด้านการลงทุน ที่ประชุมเห็นว่า จะต้องมีการเดินหน้าในการดำเนินมาตรการต่างๆ เพื่อนำไปสู่การเปิดเสรีด้านการลงทุนในปี 2015 เพื่อที่จะทำให้อาเซียนเป็นส่วนประกอบที่สำคัญของห่วงโซ่การผลิตของโลก (global supply chain)
สำหรับประเด็นความสัมพันธ์กับมหาอำนาจเศรษฐกิจนั้น เรื่องใหญ่ คือ การบูรณาการ FTA ต่างๆ ที่อาเซียนมีอยู่ ทั้งในกรอบ อาเซียน+1 อาเซียน+3 และอาเซียน+6 ได้มีการจัดตั้งคณะทำงานที่มีชื่อว่า ASEAN Plus Working Group หรือ APWG เพื่อศึกษารูปแบบของ FTA ของอาเซียนทั้งหมด ซึ่งเรียกรวมกันว่า ASEAN + + FTA โดยเจ้าหน้าที่อาวุโสด้านเศรษฐกิจของอาเซียนจะเสนอรูปแบบที่เหมาะสม ให้ที่ประชุมสุดยอดอาเซียนพิจารณา ในเดือนพฤศจิกายน ปีนี้
อาเซียน+1
การประชุมรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียนที่อินโดนีเซีย ได้มีการหารือในกรอบอาเซียน+1 กับมหาอำนาจเศรษฐกิจที่สำคัญ โดยเฉพาะกับ จีน ญี่ปุ่น และสหรัฐฯ
การค้าระหว่างอาเซียนกับจีนได้เพิ่มขึ้นเป็นอย่างมาก โดยการส่งออกของอาเซียนไปจีน ในปี 2010 มีมูลค่าถึง 113,000 ล้านเหรียญ ทำให้จีนกลายเป็นตลาดส่งออกอันดับ 2 ของอาเซียน โดยรวมแล้ว ขณะนี้ จีนเป็นประเทศคู่ค้าอันดับ 1 ของอาเซียนไปแล้ว โดยมูลค่าการค้าจีน-อาเซียน คิดเป็น 11.3 % ของการค้าของอาเซียนทั้งหมด
สำหรับญี่ปุ่น การค้ากับอาเซียน มีมูลค่า ประมาณ 200,000 ล้านเหรียญ ญี่ปุ่นเป็นประเทศคู่ค้าอันดับ 3 ของอาเซียน มูลค่าการค้า คิดเป็น 10 % ของมูลค่าการค้ารวมของอาเซียน
สำหรับการค้ารวมระหว่างอาเซียนกับสหรัฐฯนั้น ในปี 2010 มีมูลค่า 186,000 ล้านเหรียญ ทำให้สหรัฐฯเป็นคู่ค้าอันดับ 4 ของอาเซียน ตามหลัง จีน EU และญี่ปุ่น
AEM+3 และ EAS
สำหรับการประชุม AEM+3 นั้น ที่ประชุมได้ตอกย้ำว่า อาเซียน+3 ยังคงเป็นกลไกหลักที่จะบรรลุเป้าหมายระยะยาว ในการจัดตั้งประชาคมเอเชียตะวันออก อย่างไรก็ตาม อาเซียน+3 กับ EAS ควรจะเล่นบทบาทที่เกื้อกูลและส่งเสริมกันในการจัดตั้งประชาคมในภูมิภาค
สำหรับเรื่องสำคัญ คือ ข้อเสนอการจัดตั้ง เขตการค้าเสรีเอเชียตะวันออก หรือ East Asia Free Trade Area (EAFTA) ที่ประชุมได้แสดงความพอใจต่อคณะทำงานของอาเซียนที่กำลังพิจารณาที่จะบูรณาการ EAFTA และ CEPEA (FTA ในกรอบ EAS หรือ อาเซียน+6) อาเซียนกำลังพิจารณารูปแบบที่เหมาะสมของ ASEAN + + FTA โดยจะพิจารณาข้อเสนอ EAFTA และ CEPEA ด้วย
นอกจากนี้ ได้มีการจัดตั้ง East Asia Vision Group หรือ EAVG II โดยจะมีการจัดทำรายงานเสนอต่อที่ประชุมสุดยอดอาเซียน+3 ในปี 2012 เพื่อเสนอทิศทางในอนาคตของความร่วมมืออาเซียน+3
สำหรับการประชุมรัฐมนตรีเศรษฐกิจของ EAS นั้น ที่ประชุมได้ตอกย้ำฉันทามติของที่ประชุมผู้นำ EAS ว่า EAS จะต้องเล่นบทบาทสำคัญในการจัดตั้งประชาคมในภูมิภาค และเป็นส่วนหนึ่งของสถาปัตยกรรมในภูมิภาค EAS กับ อาเซียน+3 จะต้องเกื้อกูลกัน และส่งเสริมกันในการจัดตั้งประชาคม ข้อเสนอ CEPEA ก็กำลังได้รับการพิจารณาจากคณะทำงานของอาเซียน
บทวิเคราะห์
• AEM
ผมมองว่า การประชุมรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียนในครั้งนี้ โดยรวม ก็ไม่มีไฮไลท์อะไร เรื่องประชาคมเศรษฐกิจ หรือ AEC ก็กำลังเดินหน้าต่อไป แต่ที่น่าผิดหวัง คือ ความไม่คืบหน้าในการเคลื่อนย้ายเงินทุน และการเคลื่อนย้ายแรงงาน อีกเรื่องที่น่าผิดหวัง คือ รัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียน ไม่ได้มีการตกลงกันในเรื่องมาตรการร่วมกัน ที่จะป้องกันผลกระทบในทางลบจากวิกฤตหนี้สินของตะวันตก ที่อาจนำไปสู่การเกิดวิกฤตการเงินโลกครั้งใหม่ได้
ผมมองว่า เรื่องสำคัญในการประชุมครั้งนี้ คือ อาเซียนจะเอาอย่างไรกับ FTAที่มีอยู่หลายกรอบ ทั้งในกรอบ อาเซียน+1 อาทิ FTA อาเซียน-จีน อาเซียน-ญี่ปุ่น อาเซียน-อินเดีย อาเซียน-เกาหลี ฯลฯ และ FTA ในกรอบ อาเซียน+3 และอาเซียน+6 คงต้องจับตามองว่า ในเดือนพฤศจิกายนนี้ อาเซียนจะกำหนดรูปแบบของ ASEAN + + FTA อย่างไร และที่จะทำให้เรื่องยุ่งมากขึ้น คือ ข้อเสนอของสหรัฐฯที่จะจัดตั้ง FTA ในกรอบเอเปค ที่เรียกว่า TPP เพื่อมาแข่งกับ FTA ของอาเซียน เรื่องนี้เป็นเรื่องใหญ่ คงต้องมีการศึกษาวิเคราะห์ว่า ไทยและอาเซียนควรจะมียุทธศาสตร์ในเรื่องนี้อย่างไร
• AEM+1
สำหรับความสัมพันธ์อาเซียนกับมหาอำนาจเศรษฐกิจนั้น เห็นได้ชัดว่า ขณะนี้ จีนมาแรงที่สุด จีนกลายเป็นประเทศคู่ค้าอันดับ 1 ของอาเซียนไปแล้วอย่างไม่น่าเชื่อ ดังนั้น แนวโน้ม คือ อาเซียนจะใกล้ชิดทางเศรษฐกิจกับจีนมากขึ้นเรื่อยๆ แต่ปัญหาใหญ่ในความสัมพันธ์จีน-อาเซียน คือ ความสัมพันธ์ด้านความมั่นคงและการทหาร โดยเฉพาะความขัดแย้งในทะเลจีนใต้ ซึ่งสวนทางกับความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจ ดังนั้น จึงเป็นเรื่องน่าสนใจมากว่า ความสัมพันธ์จีนกับอาเซียนในอนาคต จะเป็นไปอย่างไร ท่ามกลางความสัมพันธ์ใน 2 มิติ ที่ดูขัดแย้งกัน
• อาเซียน+3 และ EAS
อีกเรื่องที่สำคัญ คือ กรอบอาเซียน+3 และ EAS เห็นได้ชัดว่า ความร่วมมือในกรอบอาเซียน+3 กำลังสะดุด และชะลอลง สาเหตุสำคัญ มาจากญี่ปุ่นและประเทศอาเซียนบางประเทศ ที่หวาดระแวงการผงาดขึ้นมาของจีน โดยเฉพาะญี่ปุ่น ได้หันไปให้ความสำคัญกับกรอบ EAS เป็นอย่างมาก ด้วยการผลักดันข้อเสนอ CEPEA มากเป็นพิเศษ
สำหรับในกรอบ EAS จากการประชุมครั้งนี้ ชี้ให้เห็นว่า ประเทศมหาอำนาจต่างๆที่ไม่ได้อยู่ในอาเซียน+3 พยายามจะเข้ามามีบทบาทใน EAS และพยายามที่จะให้ประเทศตนและ EAS เป็นส่วนหนึ่งของสถาปัตยกรรมในภูมิภาค สิ่งที่มหาอำนาจนอกภูมิภาคไม่ต้องการเห็นคือ การที่อาเซียน+3 จะพัฒนาไปเป็นประชาคมเอเชียตะวันออก คงต้องดูกันต่อว่า สถาปัตยกรรมในภูมิภาค จะวิวัฒนาการไปอย่างไร
การปะทะกันทางอารยธรรม ปี 2011
การปะทะกันทางอารยธรรม ปี 2011
ตีพิมพ์ใน สยามรัฐสัปดาหวิจารณ์ ฉบับวันศุกร์ที่ 12-วันพฤหัสบดีที่ 18 สิงหาคม 2554
เหตุการณ์การสังหารหมู่ที่นอร์เวย์ ในช่วงปลายเดือนกรกฎาคม ที่ผ่านมา เป็นสิ่งบอกเหตุถึงแนวโน้มของการปะทะกันทางอารยธรรม หรือ clash of civilizations ที่มีแนวโน้มจะรุนแรงมากขึ้น คอลัมน์โลกทรรศน์ในวันนี้ จะวิเคราะห์เรื่องดังกล่าว ดังนี้
อุดมการณ์ขวาจัด
เหตุการณ์การสังหารหมู่ที่นอร์เวย์ เป็นฝีมือของชาวนอร์เวย์ที่มีชื่อว่า Anders Behring ซึ่งมีอุดมการณ์แนวขวาจัดร่วมอุดมการณ์กับแนวคิดนาซีใหม่และฟาสซิสต์ใหม่ โดยในคำประกาศของเขาใน internet ซึ่งมีความยาวกว่า 1,500 หน้า หัวข้อว่า “2083 : A European Declaration of Independence” โดยเนื้อหาส่วนใหญ่ เป็นแนวคิดต่อต้านอิสลาม โดยเฉพาะการต่อต้านการแผ่ขยายของศาสนาอิสลามเข้าสู่ยุโรปตะวันตก และต่อต้านแนวคิดเรื่องพหุวัฒนธรรม Breivik กล่าวว่า เขาต้องการเริ่มการปฏิวัติครั้งใหม่ เพื่อจะเอาชนะนโยบายเสรีนิยม และเอาชนะต่อการแผ่ขยายของศาสนาอิสลาม โดยเขาได้วิพากษ์วิจารณ์นักการเมืองที่ปล่อยให้ชาวมุสลิมอพยพเข้ามาในนอร์เวย์ โดยมองว่า การที่นักการเมืองมีนโยบายพหุวัฒนธรรมนั้น ถือเป็นผู้ทรยศต่อประเทศ
แนวคิดของ Breivik เป็นเพียงตัวอย่างของการเกิดขึ้นของกระแสต่อต้านอิสลาม ที่แพร่ขยายไปอย่างรวดเร็วในยุโรปและในสแกนดิเนเวีย ในขณะนี้ พรรคการเมืองที่มีอุดมการณ์ขวาจัด กำลังได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ โดยชาวยุโรปอุดมการณ์ขวาจัดต่อต้านโยบายเสรีนิยม ที่เปิดกว้างยอมให้ชาวมุสลิมอพยพเข้ามาในยุโรป และมองว่า ชาวมุสลิมเหล่านี้ไม่ยอมรับค่านิยมตะวันตก และก่อให้เกิดปัญหาสังคมต่างๆมากมาย
แนวอุดมการณ์ขวาจัด เน้นการสนับสนุนตะวันตก สหรัฐฯ และอิสราเอล ต่อต้านมุสลิมอย่างสุดขั้ว รวมทั้งเน้นศาสนานิยม ในแง่ของศาสนาคริสต์ และต่อต้านนโยบายเสรีนิยม นโยบายของฝ่ายซ้าย และพหุวัฒนธรรมนิยม กลุ่มขวาจัดในยุโรปกำลังได้รับความนิยมมากขึ้นเรื่อยๆ ทั้งนี้เพราะความพยายามของกลุ่มดังกล่าวที่จะทำให้ประชาชนหวาดกลัวว่า ชาวมุสลิมกำลังจะเข้าครอบครองทวีปยุโรป อุดมการณ์นี้ จึงไม่ได้มองแค่ว่า มุสลิมหัวรุนแรงเป็นภัยคุกคามเท่านั้น แต่จะมองว่า อิสลามหรือมุสลิมทั้งหมดเป็นภัยคุกคาม
พรรคการเมืองขวาจัดในยุโรป เกิดขึ้นมานานแล้ว ตั้งแต่สมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 คือ พรรคนาซี และพรรคฟาสซิสต์ แต่หลังสงคราม พรรคขวาจัดก็ไม่ได้รับความนิยม อย่างไรก็ตาม พรรคเหล่านี้ กลับมาได้รับความนิยมอีกครั้ง ตั้งแต่ทศวรรษ 1980 เป็นต้นมา โดยเฉพาะเมื่อเกิดปัญหาเศรษฐกิจ ปัญหาสังคม ทำให้พรรคขวาจัดได้ปลุกระดมชาวยุโรป ให้เชื่อว่า ปัญหาเหล่านี้เกิดมาจากชาวมุสลิมที่ย้ายถิ่นฐานเข้ามาอยู่ในยุโรป ซึ่งจะต้องต่อต้านอย่างเต็มที่ ประเทศในยุโรปหลายประเทศ มีปัญหาเป็นอย่างมากในการปรับตัวกับการย้ายถิ่นฐานเข้ามาของชนชาติต่างๆที่ไม่ใช่ชาวยุโรป โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ชาวมุสลิม และไม่คุ้นกับแนวคิดพหุวัฒนธรรม ดังนั้น พรรคขวาจัด จึงเรียกร้องให้ยุโรปกลับไปเป็นสังคมที่มีเชื้อชาติเดียวเป็นหลักเหมือนในอดีต นอกจากนี้ ในยุคหลังเหตุการณ์ 11 กันยาฯ การก่อการร้ายจากกลุ่มมุสลิมหัวรุนแรง ก็ยิ่งทำให้นักการเมืองขวาจัด กล่าวหาชนกลุ่มน้อยชาวมุสลิมในยุโรปว่า นอกจากจะเป็นภัยคุกคามทางวัฒนธรรมแล้ว ยังเป็นภัยคุกคามทางความมั่นคงอีกด้วย
ขณะนี้ พรรคการเมืองขวาจัดทั่วยุโรป กำลังได้รับความนิยมมากขึ้น อาทิ
- สวีเดน มีพรรค Sweden Democrats
- ฝรั่งเศส มีพรรค National Front ซึ่งมี Jean-Marie Le Pen เป็นผู้นำ
- ออสเตรีย มีพรรค Freedom Party
- สำหรับนอร์เวย์ พรรคขวาจัด มีชื่อว่า Progress Party ซึ่งไม่ค่อยมีบทบาทเหมือนพรรคขวาจัดในประเทศอื่น โดยชาวนอร์เวย์ส่วนใหญ่ไม่สนับสนุนอุดมการณ์ขวาจัด อย่างไรก็ตาม Breivik ซึ่งเป็นผู้ก่อเหตุการณ์สังหารหมู่ที่นอร์เวย์นั้น ก็เคยเป็นสมาชิกของพรรคนี้
บทวิเคราะห์
ผมมองว่า เหตุการณ์การสังหารหมู่ในนอร์เวย์ โดยฝ่ายขวาจัดในครั้งนี้ จะยิ่งทำให้กระแสการปะทะกันทางอารยธรรม หรือความขัดแย้งระหว่างตะวันตกกับอิสลาม ขยายตัวรุนแรงมากขึ้น Samuel Huntington ซึ่งเป็นเจ้าทฤษฎี The Clash of Civilizations ได้บอกว่า ความขัดแย้งระหว่างตะวันตกกับอิสลาม มีประวัติศาสตร์ยาวนานกว่า 1,400 ปี นับตั้งแต่สงครามครูเสด เหตุการณ์ 11กันยาฯ เป็นส่วนหนึ่งของการปะทะกันทางอารยธรรม ระหว่างตะวันตกกับกลุ่มมุสลิมหัวรุนแรง ที่ต้องการจะท้าทายและเป็นปฏิปักษ์ต่อตะวันตก แม้ว่า ต่อมา สหรัฐฯจะบุกยึดอัฟกานิสถาน และอิรัก ซึ่งถือเป็นชัยชนะของตะวันตกต่ออิสลาม แต่แนวโน้มความขัดแย้ง กลับเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ การก่อการร้ายจากกลุ่มมุสลิมหัวรุนแรง ได้แพร่ขยายไปทั่วโลก และรุนแรงมากขึ้นเรื่อยๆ
ตั้งแต่เหตุการณ์ 11 กันยาฯ ความรุนแรงและการก่อการร้าย มาจากกลุ่มมุสลิมหัวรุนแรง แต่จากเหตุการณ์สังหารหมู่ที่นอร์เวย์ในครั้งนี้ อาจเป็นจุดเริ่มต้นของการก่อการร้ายที่จะมาจากกลุ่มขวาจัดจากตะวันตกเอง ดังนั้น ในอนาคต สองกลุ่มนี้ คือ กลุ่มมุสลิมหัวรุนแรงกับกลุ่มคริสต์หัวรุนแรง จะกลายเป็นหัวหอกของการปะทะกันทางอารยธรรมที่จะรุนแรงมากขึ้นเรื่อยๆ
ถึงแม้ว่า ประธานาธิบดี Obama ในตอนเข้ารับตำแหน่งใหม่ๆ จะได้กล่าวสุนทรพจน์ประวัติศาสตร์ ที่กรุงไคโร เน้นการฟื้นฟูความสัมพันธ์กับโลกมุสลิม โดย Obama เน้นความตั้งใจจริงและเจตนารมณ์ที่จะลดความขัดแย้งระหว่าง 2 อารยธรรม แต่ 2 ปีที่ผ่านมา ความพยายามของ Obama ก็ไม่ประสบความสำเร็จ แต่ผลกลับออกมาในทางตรงกันข้าม ในการสำรวจความคิดเห็นของชาวมุสลิมทั่วโลก จาก Pew Research Center เมื่อเร็วๆนี้ พบว่า ภาพลักษณ์ของสหรัฐฯ ในสายตาของชาวมุสลิมส่วนใหญ่ กลับเป็นลบมากขึ้น นอกจากนั้น ผลการสำรวจความเห็น ยังชี้ว่า ชาวมุสลิมส่วนใหญ่ไม่เชื่อว่า เหตุการณ์ 11 กันยาฯ เป็นฝีมือของชาวอาหรับหรือชาวมุสลิม ชาวมุสลิมส่วนใหญ่ เชื่อว่า ตะวันตกเป็นตัวการทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างตะวันตกกับโลกมุสลิมเสื่อมทรามลง (75% ของชาวตุรกี และ 72% ของชาวปากีสถาน เชื่อเช่นนั้น) นอกจากนั้น ชาวมุสลิมยังกล่าวหาตะวันตกว่า เป็นตัวการทำให้โลกมุสลิมประสบกับปัญหาและความยากจน นอกจากนี้ การที่สหรัฐฯสนับสนุนอิสราเอล ก็ได้รับการต่อต้านอย่างมากจากชาวมุสลิม
จากแนวโน้มกระแสความเชื่อและอุดมการณ์ดังกล่าวข้างต้น คือ การที่ชาวมุสลิมมองตะวันตกเป็นลบมากขึ้นเรื่อยๆ ในขณะที่ตะวันตกก็มองอิสลามเป็นลบมากขึ้นเรื่อยๆ เช่นเดียวกัน โดยเฉพาะแนวโน้มอุดมการณ์ขวาจัด ต่อต้านอิสลาม ในยุโรปและในสหรัฐฯที่เพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ จะทำให้ความขัดแย้งระหว่างตะวันตกกับอิสลาม ร้าวลึกมากขึ้น และการปะทะกันทางอารยธรรม ก็คงจะเป็นเรื่องสำคัญและเป็นอันตรายต่อโลกในอนาคต
ตีพิมพ์ใน สยามรัฐสัปดาหวิจารณ์ ฉบับวันศุกร์ที่ 12-วันพฤหัสบดีที่ 18 สิงหาคม 2554
เหตุการณ์การสังหารหมู่ที่นอร์เวย์ ในช่วงปลายเดือนกรกฎาคม ที่ผ่านมา เป็นสิ่งบอกเหตุถึงแนวโน้มของการปะทะกันทางอารยธรรม หรือ clash of civilizations ที่มีแนวโน้มจะรุนแรงมากขึ้น คอลัมน์โลกทรรศน์ในวันนี้ จะวิเคราะห์เรื่องดังกล่าว ดังนี้
อุดมการณ์ขวาจัด
เหตุการณ์การสังหารหมู่ที่นอร์เวย์ เป็นฝีมือของชาวนอร์เวย์ที่มีชื่อว่า Anders Behring ซึ่งมีอุดมการณ์แนวขวาจัดร่วมอุดมการณ์กับแนวคิดนาซีใหม่และฟาสซิสต์ใหม่ โดยในคำประกาศของเขาใน internet ซึ่งมีความยาวกว่า 1,500 หน้า หัวข้อว่า “2083 : A European Declaration of Independence” โดยเนื้อหาส่วนใหญ่ เป็นแนวคิดต่อต้านอิสลาม โดยเฉพาะการต่อต้านการแผ่ขยายของศาสนาอิสลามเข้าสู่ยุโรปตะวันตก และต่อต้านแนวคิดเรื่องพหุวัฒนธรรม Breivik กล่าวว่า เขาต้องการเริ่มการปฏิวัติครั้งใหม่ เพื่อจะเอาชนะนโยบายเสรีนิยม และเอาชนะต่อการแผ่ขยายของศาสนาอิสลาม โดยเขาได้วิพากษ์วิจารณ์นักการเมืองที่ปล่อยให้ชาวมุสลิมอพยพเข้ามาในนอร์เวย์ โดยมองว่า การที่นักการเมืองมีนโยบายพหุวัฒนธรรมนั้น ถือเป็นผู้ทรยศต่อประเทศ
แนวคิดของ Breivik เป็นเพียงตัวอย่างของการเกิดขึ้นของกระแสต่อต้านอิสลาม ที่แพร่ขยายไปอย่างรวดเร็วในยุโรปและในสแกนดิเนเวีย ในขณะนี้ พรรคการเมืองที่มีอุดมการณ์ขวาจัด กำลังได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ โดยชาวยุโรปอุดมการณ์ขวาจัดต่อต้านโยบายเสรีนิยม ที่เปิดกว้างยอมให้ชาวมุสลิมอพยพเข้ามาในยุโรป และมองว่า ชาวมุสลิมเหล่านี้ไม่ยอมรับค่านิยมตะวันตก และก่อให้เกิดปัญหาสังคมต่างๆมากมาย
แนวอุดมการณ์ขวาจัด เน้นการสนับสนุนตะวันตก สหรัฐฯ และอิสราเอล ต่อต้านมุสลิมอย่างสุดขั้ว รวมทั้งเน้นศาสนานิยม ในแง่ของศาสนาคริสต์ และต่อต้านนโยบายเสรีนิยม นโยบายของฝ่ายซ้าย และพหุวัฒนธรรมนิยม กลุ่มขวาจัดในยุโรปกำลังได้รับความนิยมมากขึ้นเรื่อยๆ ทั้งนี้เพราะความพยายามของกลุ่มดังกล่าวที่จะทำให้ประชาชนหวาดกลัวว่า ชาวมุสลิมกำลังจะเข้าครอบครองทวีปยุโรป อุดมการณ์นี้ จึงไม่ได้มองแค่ว่า มุสลิมหัวรุนแรงเป็นภัยคุกคามเท่านั้น แต่จะมองว่า อิสลามหรือมุสลิมทั้งหมดเป็นภัยคุกคาม
พรรคการเมืองขวาจัดในยุโรป เกิดขึ้นมานานแล้ว ตั้งแต่สมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 คือ พรรคนาซี และพรรคฟาสซิสต์ แต่หลังสงคราม พรรคขวาจัดก็ไม่ได้รับความนิยม อย่างไรก็ตาม พรรคเหล่านี้ กลับมาได้รับความนิยมอีกครั้ง ตั้งแต่ทศวรรษ 1980 เป็นต้นมา โดยเฉพาะเมื่อเกิดปัญหาเศรษฐกิจ ปัญหาสังคม ทำให้พรรคขวาจัดได้ปลุกระดมชาวยุโรป ให้เชื่อว่า ปัญหาเหล่านี้เกิดมาจากชาวมุสลิมที่ย้ายถิ่นฐานเข้ามาอยู่ในยุโรป ซึ่งจะต้องต่อต้านอย่างเต็มที่ ประเทศในยุโรปหลายประเทศ มีปัญหาเป็นอย่างมากในการปรับตัวกับการย้ายถิ่นฐานเข้ามาของชนชาติต่างๆที่ไม่ใช่ชาวยุโรป โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ชาวมุสลิม และไม่คุ้นกับแนวคิดพหุวัฒนธรรม ดังนั้น พรรคขวาจัด จึงเรียกร้องให้ยุโรปกลับไปเป็นสังคมที่มีเชื้อชาติเดียวเป็นหลักเหมือนในอดีต นอกจากนี้ ในยุคหลังเหตุการณ์ 11 กันยาฯ การก่อการร้ายจากกลุ่มมุสลิมหัวรุนแรง ก็ยิ่งทำให้นักการเมืองขวาจัด กล่าวหาชนกลุ่มน้อยชาวมุสลิมในยุโรปว่า นอกจากจะเป็นภัยคุกคามทางวัฒนธรรมแล้ว ยังเป็นภัยคุกคามทางความมั่นคงอีกด้วย
ขณะนี้ พรรคการเมืองขวาจัดทั่วยุโรป กำลังได้รับความนิยมมากขึ้น อาทิ
- สวีเดน มีพรรค Sweden Democrats
- ฝรั่งเศส มีพรรค National Front ซึ่งมี Jean-Marie Le Pen เป็นผู้นำ
- ออสเตรีย มีพรรค Freedom Party
- สำหรับนอร์เวย์ พรรคขวาจัด มีชื่อว่า Progress Party ซึ่งไม่ค่อยมีบทบาทเหมือนพรรคขวาจัดในประเทศอื่น โดยชาวนอร์เวย์ส่วนใหญ่ไม่สนับสนุนอุดมการณ์ขวาจัด อย่างไรก็ตาม Breivik ซึ่งเป็นผู้ก่อเหตุการณ์สังหารหมู่ที่นอร์เวย์นั้น ก็เคยเป็นสมาชิกของพรรคนี้
บทวิเคราะห์
ผมมองว่า เหตุการณ์การสังหารหมู่ในนอร์เวย์ โดยฝ่ายขวาจัดในครั้งนี้ จะยิ่งทำให้กระแสการปะทะกันทางอารยธรรม หรือความขัดแย้งระหว่างตะวันตกกับอิสลาม ขยายตัวรุนแรงมากขึ้น Samuel Huntington ซึ่งเป็นเจ้าทฤษฎี The Clash of Civilizations ได้บอกว่า ความขัดแย้งระหว่างตะวันตกกับอิสลาม มีประวัติศาสตร์ยาวนานกว่า 1,400 ปี นับตั้งแต่สงครามครูเสด เหตุการณ์ 11กันยาฯ เป็นส่วนหนึ่งของการปะทะกันทางอารยธรรม ระหว่างตะวันตกกับกลุ่มมุสลิมหัวรุนแรง ที่ต้องการจะท้าทายและเป็นปฏิปักษ์ต่อตะวันตก แม้ว่า ต่อมา สหรัฐฯจะบุกยึดอัฟกานิสถาน และอิรัก ซึ่งถือเป็นชัยชนะของตะวันตกต่ออิสลาม แต่แนวโน้มความขัดแย้ง กลับเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ การก่อการร้ายจากกลุ่มมุสลิมหัวรุนแรง ได้แพร่ขยายไปทั่วโลก และรุนแรงมากขึ้นเรื่อยๆ
ตั้งแต่เหตุการณ์ 11 กันยาฯ ความรุนแรงและการก่อการร้าย มาจากกลุ่มมุสลิมหัวรุนแรง แต่จากเหตุการณ์สังหารหมู่ที่นอร์เวย์ในครั้งนี้ อาจเป็นจุดเริ่มต้นของการก่อการร้ายที่จะมาจากกลุ่มขวาจัดจากตะวันตกเอง ดังนั้น ในอนาคต สองกลุ่มนี้ คือ กลุ่มมุสลิมหัวรุนแรงกับกลุ่มคริสต์หัวรุนแรง จะกลายเป็นหัวหอกของการปะทะกันทางอารยธรรมที่จะรุนแรงมากขึ้นเรื่อยๆ
ถึงแม้ว่า ประธานาธิบดี Obama ในตอนเข้ารับตำแหน่งใหม่ๆ จะได้กล่าวสุนทรพจน์ประวัติศาสตร์ ที่กรุงไคโร เน้นการฟื้นฟูความสัมพันธ์กับโลกมุสลิม โดย Obama เน้นความตั้งใจจริงและเจตนารมณ์ที่จะลดความขัดแย้งระหว่าง 2 อารยธรรม แต่ 2 ปีที่ผ่านมา ความพยายามของ Obama ก็ไม่ประสบความสำเร็จ แต่ผลกลับออกมาในทางตรงกันข้าม ในการสำรวจความคิดเห็นของชาวมุสลิมทั่วโลก จาก Pew Research Center เมื่อเร็วๆนี้ พบว่า ภาพลักษณ์ของสหรัฐฯ ในสายตาของชาวมุสลิมส่วนใหญ่ กลับเป็นลบมากขึ้น นอกจากนั้น ผลการสำรวจความเห็น ยังชี้ว่า ชาวมุสลิมส่วนใหญ่ไม่เชื่อว่า เหตุการณ์ 11 กันยาฯ เป็นฝีมือของชาวอาหรับหรือชาวมุสลิม ชาวมุสลิมส่วนใหญ่ เชื่อว่า ตะวันตกเป็นตัวการทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างตะวันตกกับโลกมุสลิมเสื่อมทรามลง (75% ของชาวตุรกี และ 72% ของชาวปากีสถาน เชื่อเช่นนั้น) นอกจากนั้น ชาวมุสลิมยังกล่าวหาตะวันตกว่า เป็นตัวการทำให้โลกมุสลิมประสบกับปัญหาและความยากจน นอกจากนี้ การที่สหรัฐฯสนับสนุนอิสราเอล ก็ได้รับการต่อต้านอย่างมากจากชาวมุสลิม
จากแนวโน้มกระแสความเชื่อและอุดมการณ์ดังกล่าวข้างต้น คือ การที่ชาวมุสลิมมองตะวันตกเป็นลบมากขึ้นเรื่อยๆ ในขณะที่ตะวันตกก็มองอิสลามเป็นลบมากขึ้นเรื่อยๆ เช่นเดียวกัน โดยเฉพาะแนวโน้มอุดมการณ์ขวาจัด ต่อต้านอิสลาม ในยุโรปและในสหรัฐฯที่เพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ จะทำให้ความขัดแย้งระหว่างตะวันตกกับอิสลาม ร้าวลึกมากขึ้น และการปะทะกันทางอารยธรรม ก็คงจะเป็นเรื่องสำคัญและเป็นอันตรายต่อโลกในอนาคต
เปิดตัวคอลัมน์ “โลกปริทรรศน์”
เปิดตัวคอลัมน์ “โลกปริทรรศน์”
Guru by Truelife วันอาทิตย์ที่ 7 สิงหาคม 2554
คอลัมน์ “โลกปริทรรศน์” ในวันนี้ เป็นตอนปฐมฤกษ์ ผมจึงอยากจะใช้ตอนแรกนี้ แนะนำเกี่ยวกับตัวผม และเป้าหมายของผมในการเขียนคอลัมน์นี้ รวมถึงจะพูดถึงขอบเขตของเรื่องที่จะเขียน ซึ่งจะเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างประเทศเป็นหลัก ดังนี้
ประวัติ
ก่อนอื่น ต้องขอแสดงความดีใจและยินดีเป็นอย่างยิ่ง ที่ได้รับการทาบทามจาก True ให้มาเปิดคอลัมน์ใน Guru by Truelife ซึ่งนับเป็นเกียรติอย่างยิ่งที่ทาง True ได้ให้ความไว้วางใจผม ในการเขียนคอลัมน์นี้
สำหรับประวัติคร่าวๆของผมนั้น หลังจากผมเรียนจบปริญญาตรีด้านรัฐศาสตร์การทูต ในปี 2520 ที่ธรรมศาตร์ ก็ได้ไปเรียนต่อปริญญาโทและเอกที่อเมริกา และจบปริญญาเอก รัฐศาสตร์ สาขาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ จาก University of Georgia ในช่วงปลายปี 2527 หลังจากนั้น ช่วงต้นปี 2528 ผมได้เข้ารับราชการในกระทรวงต่างประเทศ และได้ทำงานอยู่ที่นั่นเป็นเวลาเกือบ 14 ปี ได้ประสบการณ์มากมายจากการเป็นนักการทูตที่นั่น ซึ่งผมก็คงจะเอาประสบการณ์ดังกล่าว มาถ่ายทอดในคอลัมน์ “โลกปริทรรศน์” นี้ด้วย ผมทำงานอยู่หลายกรมในกระทรวงต่างประเทศ อาทิ กรมเศรษฐกิจ กรมอาเซียน กรมเอเชียตะวันออก และเคยเป็นกงสุลอยู่ที่ญี่ปุ่น 4 ปี
แต่หลังจากอยู่ ก.ต. มาได้ 10 กว่าปี ก็อยากจะทำอย่างอื่นบ้าง โดยเฉพาะอยากทำในสิ่งที่ตัวเองชอบที่สุด นั่นก็คือ การเป็นนักวิชาการ ผมจึงตัดสินใจย้ายมาเป็นอาจารย์ที่คณะรัฐศาสตร์ ธรรมศาสตร์ ตั้งแต่ปี 2541 จนถึงปัจจุบัน ก็เป็นอาจารย์มาได้ 10 กว่าปีแล้ว ช่วง 10 กว่าปีที่เป็นอาจารย์และเป็นนักวิชาการเต็มตัว ผมได้ทำในสิ่งที่อยากทำที่สุด คือ ได้อ่าน ได้คิด ได้เขียน ได้สอน โดยเฉพาะงานเขียน ผมได้ผลิตงานเขียนออกมาคิดว่า เป็นจำนวนไม่น้อย ในทุกรูปแบบ หนังสือ ก็พิมพ์ออกมาได้ 10 กว่าเล่มแล้ว และมีบทความวิชาการ และงานวิจัย รวมทั้งมีคอลัมน์ประจำในหนังสือพิมพ์ไทยโพสต์ และสยามรัฐสัปดาหวิจารณ์ด้วย ผมมี blog ซึ่งได้upload งานเขียนต่างๆของผมไว้ ซึ่งทำมาได้ประมาณ 3-4 ปี ตอนนี้ มีคนเข้าชม blog กว่าแสนคนแล้ว เผื่อท่านผู้อ่านสนใจ ก็สามารถเข้าไปได้ที่ www.thepchatree.blogspot.com
เป้าหมาย
สำหรับความตั้งใจของผมในการเขียนคอลัมน์นี้ มีอยู่ด้วยกันหลายประการ
ประการแรก ผมต้องการที่จะทำให้เรื่องความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ เป็นเรื่องไม่ไกลตัวคนไทยอีกต่อไป คอลัมน์นี้จะพยายามวิเคราะห์ให้เห็นว่า เรื่องต่างๆที่เกิดในโลกนั้น กระทบต่อคนไทยไม่มากก็น้อย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในโลกยุคใหม่ ยุคโลกาภิวัฒน์ ที่เป็นโลกไร้พรมแดน สิ่งที่เกิดขึ้นในมุมหนึ่งของโลก ก็จะกระทบต่ออีกมุมหนึ่ง อย่างหลีกเลี่ยงไม่พ้น
ประการที่ 2 ผมจะพยายามทำให้คอลัมน์นี้ เป็นคอลัมน์วิเคราะห์เรื่องการต่างประเทศที่ทำให้คนไทยเข้าใจได้ง่าย ไม่ใช่เป็นเรื่องไกลตัว และเข้าใจยากอีกต่อไป
ประการที่ 3 ผมต้องการใช้คอลัมน์นี้ เป็นตัวช่วย ทำให้คนไทย go inter ทำให้คนไทยมีความเป็นสากล รู้เรื่องราวที่เกิดขึ้นในโลก รู้เท่าทันประเทศอื่นๆ และสามารถจะต่อสู้แข่งขันในเวทีโลกได้ นอกจากนั้น ในปี 2015 ไทยกำลังจะเข้าสู่การเป็นส่วนหนึ่งของประชาคมอาเซียน เราจะต้องเตรียมคนไทยให้พร้อม สำหรับการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน และสิ่งสำคัญในการเตรียมความพร้อม คือ การตระหนักรู้ถึงเรื่องที่เกิดขึ้นในภูมิภาคอาเซียน เรื่องในภูมิภาคเอเชีย และในบริบทโลกด้วย
นอกจากนั้น ผมตั้งใจว่า ผมจะทำให้คอลัมน์นี้ เข้มข้นไปด้วยเนื้อหาสาระ คือ “จะมีแต่เนื้อ ไม่มีน้ำ” โดยคอลัมน์ในแต่ละสัปดาห์ จะเป็นบทวิเคราะห์เกี่ยวกับเรื่องร้อนๆที่เกิดขึ้นในโลก โดยเฉพาะที่กระทบต่อไทย โดยก่อนที่ผมจะเขียน ผมก็จะทำการบ้านมาก่อน ด้วยการอ่านข้อมูลต่างๆ บทวิเคราะห์ต่างๆ แล้วก็นำมาสังเคราะห์เป็นคอลัมน์ “โลกปริทรรศน์” การสังเคราะห์นั้น ก็จะผ่านการกลั่นกรองจากความรู้และประสบการณ์ และโดยที่คอลัมน์ในแต่ละสัปดาห์ จะเป็นบทวิเคราะห์สั้นๆ ดังนั้น ผมจะพยายามเขียนให้กระชับที่สุด ซึ่งก็จะเป็นประโยชน์อย่างมาก สำหรับท่านผู้อ่านที่ไม่ค่อยมีเวลา แต่อ่านคอลัมน์นี้แล้ว ก็จะเหมือนอ่าน “บทสรุปสำหรับผู้บริหาร” (executive summary) คือ สั้นๆ แต่เห็นภาพ และรู้เรื่องได้ครอบคลุมหมด
นี่คือเป้าหมายของคอลัมน์ “โลกปริทรรศน์” ของผม ซึ่งเป้าหมายเหล่านี้ ไม่ใช่เรื่องง่ายที่จะบรรลุ แต่ผมก็ตั้งมาตรฐานไว้สูง และก็จะพยายามทำให้ได้ดีที่สุด
ขอบเขตเนื้อหา
สำหรับเรื่องที่ผมจะเขียนนั้น ตามที่ได้กล่าวไปแล้ว จะเป็นเรื่องร้อนๆของโลกที่เกิดขึ้นในแต่ละสัปดาห์ อย่างไรก็ตาม ผมก็มีกรอบใหญ่หรือขอบเขตของเนื้อหาคอลัมน์นี้ ที่จะครอบคลุมทั้งด้านการเมือง ความมั่นคง และเศรษฐกิจของโลก ดังนี้
ในด้านการเมืองความมั่นคง กรอบการวิเคราะห์ของผมจะแบ่งออกเป็น 3 ระดับ คือ ระดับโลก ระดับภูมิภาค และระดับทวิภาคี
ในระดับโลก มีเรื่องใหญ่ๆที่จะหนีไม่พ้น เรื่องที่ 1 คือ ความขัดแย้งระหว่างมหาอำนาจ เรื่องที่ 2 คือ การปะทะกันทางอารยธรรม เรื่องที่ 3 คือ ความขัดแย้งในการแย่งชิงทรัพยากร ส่วนเรื่องที่ 4 คือ ความขัดแย้งและสงครามในรูปแบบต่างๆ
สำหรับในระดับภูมิภาค เรื่องแรก คือ ความขัดแย้งระหว่างมหาอำนาจในภูมิภาค ซึ่งภูมิภาคที่ผมจะเน้นเป็นพิเศษ คือ ภูมิภาคเอเชีย เรื่องที่ 2 คือ ปัญหาความขัดแย้งในภูมิภาค ที่ยังมีจุดอันตรายหลายจุด และจะปะทุกลายเป็นเรื่องร้อนเป็นระยะๆ เช่น เรื่องคาบสมุทรเกาหลี หรือความขัดแย้งในทะเลจีนใต้ นอกจากนี้ ยังมีปัญหาความมั่นคงอื่นๆ เช่น ปัญหาการก่อการร้าย และอาวุธร้ายแรง เป็นต้น
สำหรับมิติความมั่นคงในระดับทวิภาคีนั้น เรื่องสำคัญ คือ ปัญหาความสัมพันธ์ไทยกับประเทศเพื่อนบ้าน ซึ่งเป็นโจทย์ใหญ่มากสำหรับการทูตของไทยในปัจจุบัน แต่สำหรับความสัมพันธ์กับมหาอำนาจนั้น ไม่ค่อยน่าเป็นห่วง
สำหรับในด้านเศรษฐกิจ ก็จะแบ่งประเด็นออกเป็น 3 ระดับ เช่นเดียวกัน
ในระดับโลก ปัญหาใหญ่ คือ การเปลี่ยนผ่านจากระบบเศรษฐกิจโลกขั้วเดียว ไปสู่ระบบเศรษฐกิจหลายขั้ว ระบบการค้าโลก ก็มีความขัดแย้งกันอย่างหนัก ระหว่างกลุ่มประเทศรวยกับกลุ่มประเทศยากจน ซึ่งเป็นอุปสรรคสำคัญที่ทำให้การเจรจา WTO รอบ Doha ล้มเหลว เช่นเดียวกับระบบการเงินโลก ที่ประสบกับปัญหาไร้เสถียรภาพเป็นอย่างมาก
ในระดับภูมิภาค เรื่องแรก คือ การผงาดขึ้นมาของเอเชีย หรือ The Rise of Asia เรื่องที่ 2 คือ สถาปัตยกรรมทางเศรษฐกิจในภูมิภาค โดยเฉพาะการจัดตั้งประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนในปี 2015
สุดท้าย เป็นระดับทวิภาคี ซึ่งเรื่องสำคัญ คือ ความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจไทยกับประเทศเพื่อนบ้าน ซึ่งยังมีความไม่แน่นอน เพราะปัญหาความสัมพันธ์ในภาพรวมไม่ดี ส่วนความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจไทยกับมหาอำนาจ ไม่น่าห่วง แต่สิ่งที่จะต้องจับตามองในอนาคต คือ ความสัมพันธ์ไทยกับมหาอำนาจเศรษฐกิจใหม่ โดยในอนาคต จะมีการผงาดขึ้นมาของมหาอำนาจเศรษฐกิจใหม่ๆในหลายภูมิภาค
จากที่ผมได้กล่าวข้างต้น ก็น่าจะทำให้ท่านผู้อ่านพอเห็นภาพแล้วว่า ขอบเขตเนื้อหาของคอลัมน์ “โลกปริทรรศน์” จะครอบคลุมเรื่องใดบ้าง ตามที่ได้กล่าวแล้ว คอลัมน์ในวันนี้ เป็นคอลัมน์ปฐมฤกษ์ ผมจึงขอ “โหมโรง” เสียก่อน และในตอนหน้า ก็จะเข้าสู่เนื้อหาหลักของเราต่อไป
Guru by Truelife วันอาทิตย์ที่ 7 สิงหาคม 2554
คอลัมน์ “โลกปริทรรศน์” ในวันนี้ เป็นตอนปฐมฤกษ์ ผมจึงอยากจะใช้ตอนแรกนี้ แนะนำเกี่ยวกับตัวผม และเป้าหมายของผมในการเขียนคอลัมน์นี้ รวมถึงจะพูดถึงขอบเขตของเรื่องที่จะเขียน ซึ่งจะเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างประเทศเป็นหลัก ดังนี้
ประวัติ
ก่อนอื่น ต้องขอแสดงความดีใจและยินดีเป็นอย่างยิ่ง ที่ได้รับการทาบทามจาก True ให้มาเปิดคอลัมน์ใน Guru by Truelife ซึ่งนับเป็นเกียรติอย่างยิ่งที่ทาง True ได้ให้ความไว้วางใจผม ในการเขียนคอลัมน์นี้
สำหรับประวัติคร่าวๆของผมนั้น หลังจากผมเรียนจบปริญญาตรีด้านรัฐศาสตร์การทูต ในปี 2520 ที่ธรรมศาตร์ ก็ได้ไปเรียนต่อปริญญาโทและเอกที่อเมริกา และจบปริญญาเอก รัฐศาสตร์ สาขาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ จาก University of Georgia ในช่วงปลายปี 2527 หลังจากนั้น ช่วงต้นปี 2528 ผมได้เข้ารับราชการในกระทรวงต่างประเทศ และได้ทำงานอยู่ที่นั่นเป็นเวลาเกือบ 14 ปี ได้ประสบการณ์มากมายจากการเป็นนักการทูตที่นั่น ซึ่งผมก็คงจะเอาประสบการณ์ดังกล่าว มาถ่ายทอดในคอลัมน์ “โลกปริทรรศน์” นี้ด้วย ผมทำงานอยู่หลายกรมในกระทรวงต่างประเทศ อาทิ กรมเศรษฐกิจ กรมอาเซียน กรมเอเชียตะวันออก และเคยเป็นกงสุลอยู่ที่ญี่ปุ่น 4 ปี
แต่หลังจากอยู่ ก.ต. มาได้ 10 กว่าปี ก็อยากจะทำอย่างอื่นบ้าง โดยเฉพาะอยากทำในสิ่งที่ตัวเองชอบที่สุด นั่นก็คือ การเป็นนักวิชาการ ผมจึงตัดสินใจย้ายมาเป็นอาจารย์ที่คณะรัฐศาสตร์ ธรรมศาสตร์ ตั้งแต่ปี 2541 จนถึงปัจจุบัน ก็เป็นอาจารย์มาได้ 10 กว่าปีแล้ว ช่วง 10 กว่าปีที่เป็นอาจารย์และเป็นนักวิชาการเต็มตัว ผมได้ทำในสิ่งที่อยากทำที่สุด คือ ได้อ่าน ได้คิด ได้เขียน ได้สอน โดยเฉพาะงานเขียน ผมได้ผลิตงานเขียนออกมาคิดว่า เป็นจำนวนไม่น้อย ในทุกรูปแบบ หนังสือ ก็พิมพ์ออกมาได้ 10 กว่าเล่มแล้ว และมีบทความวิชาการ และงานวิจัย รวมทั้งมีคอลัมน์ประจำในหนังสือพิมพ์ไทยโพสต์ และสยามรัฐสัปดาหวิจารณ์ด้วย ผมมี blog ซึ่งได้upload งานเขียนต่างๆของผมไว้ ซึ่งทำมาได้ประมาณ 3-4 ปี ตอนนี้ มีคนเข้าชม blog กว่าแสนคนแล้ว เผื่อท่านผู้อ่านสนใจ ก็สามารถเข้าไปได้ที่ www.thepchatree.blogspot.com
เป้าหมาย
สำหรับความตั้งใจของผมในการเขียนคอลัมน์นี้ มีอยู่ด้วยกันหลายประการ
ประการแรก ผมต้องการที่จะทำให้เรื่องความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ เป็นเรื่องไม่ไกลตัวคนไทยอีกต่อไป คอลัมน์นี้จะพยายามวิเคราะห์ให้เห็นว่า เรื่องต่างๆที่เกิดในโลกนั้น กระทบต่อคนไทยไม่มากก็น้อย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในโลกยุคใหม่ ยุคโลกาภิวัฒน์ ที่เป็นโลกไร้พรมแดน สิ่งที่เกิดขึ้นในมุมหนึ่งของโลก ก็จะกระทบต่ออีกมุมหนึ่ง อย่างหลีกเลี่ยงไม่พ้น
ประการที่ 2 ผมจะพยายามทำให้คอลัมน์นี้ เป็นคอลัมน์วิเคราะห์เรื่องการต่างประเทศที่ทำให้คนไทยเข้าใจได้ง่าย ไม่ใช่เป็นเรื่องไกลตัว และเข้าใจยากอีกต่อไป
ประการที่ 3 ผมต้องการใช้คอลัมน์นี้ เป็นตัวช่วย ทำให้คนไทย go inter ทำให้คนไทยมีความเป็นสากล รู้เรื่องราวที่เกิดขึ้นในโลก รู้เท่าทันประเทศอื่นๆ และสามารถจะต่อสู้แข่งขันในเวทีโลกได้ นอกจากนั้น ในปี 2015 ไทยกำลังจะเข้าสู่การเป็นส่วนหนึ่งของประชาคมอาเซียน เราจะต้องเตรียมคนไทยให้พร้อม สำหรับการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน และสิ่งสำคัญในการเตรียมความพร้อม คือ การตระหนักรู้ถึงเรื่องที่เกิดขึ้นในภูมิภาคอาเซียน เรื่องในภูมิภาคเอเชีย และในบริบทโลกด้วย
นอกจากนั้น ผมตั้งใจว่า ผมจะทำให้คอลัมน์นี้ เข้มข้นไปด้วยเนื้อหาสาระ คือ “จะมีแต่เนื้อ ไม่มีน้ำ” โดยคอลัมน์ในแต่ละสัปดาห์ จะเป็นบทวิเคราะห์เกี่ยวกับเรื่องร้อนๆที่เกิดขึ้นในโลก โดยเฉพาะที่กระทบต่อไทย โดยก่อนที่ผมจะเขียน ผมก็จะทำการบ้านมาก่อน ด้วยการอ่านข้อมูลต่างๆ บทวิเคราะห์ต่างๆ แล้วก็นำมาสังเคราะห์เป็นคอลัมน์ “โลกปริทรรศน์” การสังเคราะห์นั้น ก็จะผ่านการกลั่นกรองจากความรู้และประสบการณ์ และโดยที่คอลัมน์ในแต่ละสัปดาห์ จะเป็นบทวิเคราะห์สั้นๆ ดังนั้น ผมจะพยายามเขียนให้กระชับที่สุด ซึ่งก็จะเป็นประโยชน์อย่างมาก สำหรับท่านผู้อ่านที่ไม่ค่อยมีเวลา แต่อ่านคอลัมน์นี้แล้ว ก็จะเหมือนอ่าน “บทสรุปสำหรับผู้บริหาร” (executive summary) คือ สั้นๆ แต่เห็นภาพ และรู้เรื่องได้ครอบคลุมหมด
นี่คือเป้าหมายของคอลัมน์ “โลกปริทรรศน์” ของผม ซึ่งเป้าหมายเหล่านี้ ไม่ใช่เรื่องง่ายที่จะบรรลุ แต่ผมก็ตั้งมาตรฐานไว้สูง และก็จะพยายามทำให้ได้ดีที่สุด
ขอบเขตเนื้อหา
สำหรับเรื่องที่ผมจะเขียนนั้น ตามที่ได้กล่าวไปแล้ว จะเป็นเรื่องร้อนๆของโลกที่เกิดขึ้นในแต่ละสัปดาห์ อย่างไรก็ตาม ผมก็มีกรอบใหญ่หรือขอบเขตของเนื้อหาคอลัมน์นี้ ที่จะครอบคลุมทั้งด้านการเมือง ความมั่นคง และเศรษฐกิจของโลก ดังนี้
ในด้านการเมืองความมั่นคง กรอบการวิเคราะห์ของผมจะแบ่งออกเป็น 3 ระดับ คือ ระดับโลก ระดับภูมิภาค และระดับทวิภาคี
ในระดับโลก มีเรื่องใหญ่ๆที่จะหนีไม่พ้น เรื่องที่ 1 คือ ความขัดแย้งระหว่างมหาอำนาจ เรื่องที่ 2 คือ การปะทะกันทางอารยธรรม เรื่องที่ 3 คือ ความขัดแย้งในการแย่งชิงทรัพยากร ส่วนเรื่องที่ 4 คือ ความขัดแย้งและสงครามในรูปแบบต่างๆ
สำหรับในระดับภูมิภาค เรื่องแรก คือ ความขัดแย้งระหว่างมหาอำนาจในภูมิภาค ซึ่งภูมิภาคที่ผมจะเน้นเป็นพิเศษ คือ ภูมิภาคเอเชีย เรื่องที่ 2 คือ ปัญหาความขัดแย้งในภูมิภาค ที่ยังมีจุดอันตรายหลายจุด และจะปะทุกลายเป็นเรื่องร้อนเป็นระยะๆ เช่น เรื่องคาบสมุทรเกาหลี หรือความขัดแย้งในทะเลจีนใต้ นอกจากนี้ ยังมีปัญหาความมั่นคงอื่นๆ เช่น ปัญหาการก่อการร้าย และอาวุธร้ายแรง เป็นต้น
สำหรับมิติความมั่นคงในระดับทวิภาคีนั้น เรื่องสำคัญ คือ ปัญหาความสัมพันธ์ไทยกับประเทศเพื่อนบ้าน ซึ่งเป็นโจทย์ใหญ่มากสำหรับการทูตของไทยในปัจจุบัน แต่สำหรับความสัมพันธ์กับมหาอำนาจนั้น ไม่ค่อยน่าเป็นห่วง
สำหรับในด้านเศรษฐกิจ ก็จะแบ่งประเด็นออกเป็น 3 ระดับ เช่นเดียวกัน
ในระดับโลก ปัญหาใหญ่ คือ การเปลี่ยนผ่านจากระบบเศรษฐกิจโลกขั้วเดียว ไปสู่ระบบเศรษฐกิจหลายขั้ว ระบบการค้าโลก ก็มีความขัดแย้งกันอย่างหนัก ระหว่างกลุ่มประเทศรวยกับกลุ่มประเทศยากจน ซึ่งเป็นอุปสรรคสำคัญที่ทำให้การเจรจา WTO รอบ Doha ล้มเหลว เช่นเดียวกับระบบการเงินโลก ที่ประสบกับปัญหาไร้เสถียรภาพเป็นอย่างมาก
ในระดับภูมิภาค เรื่องแรก คือ การผงาดขึ้นมาของเอเชีย หรือ The Rise of Asia เรื่องที่ 2 คือ สถาปัตยกรรมทางเศรษฐกิจในภูมิภาค โดยเฉพาะการจัดตั้งประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนในปี 2015
สุดท้าย เป็นระดับทวิภาคี ซึ่งเรื่องสำคัญ คือ ความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจไทยกับประเทศเพื่อนบ้าน ซึ่งยังมีความไม่แน่นอน เพราะปัญหาความสัมพันธ์ในภาพรวมไม่ดี ส่วนความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจไทยกับมหาอำนาจ ไม่น่าห่วง แต่สิ่งที่จะต้องจับตามองในอนาคต คือ ความสัมพันธ์ไทยกับมหาอำนาจเศรษฐกิจใหม่ โดยในอนาคต จะมีการผงาดขึ้นมาของมหาอำนาจเศรษฐกิจใหม่ๆในหลายภูมิภาค
จากที่ผมได้กล่าวข้างต้น ก็น่าจะทำให้ท่านผู้อ่านพอเห็นภาพแล้วว่า ขอบเขตเนื้อหาของคอลัมน์ “โลกปริทรรศน์” จะครอบคลุมเรื่องใดบ้าง ตามที่ได้กล่าวแล้ว คอลัมน์ในวันนี้ เป็นคอลัมน์ปฐมฤกษ์ ผมจึงขอ “โหมโรง” เสียก่อน และในตอนหน้า ก็จะเข้าสู่เนื้อหาหลักของเราต่อไป
วิกฤตหนี้สหรัฐฯ : ผลกระทบต่อโลก
วิกฤตหนี้สหรัฐฯ : ผลกระทบต่อโลก
ตีพิมพ์ใน ไทยโพสต์ ฉบับวันพฤหัสบดีที่ 11 สิงหาคม 2554
คอลัมน์กระบวนทรรศน์ในวันนี้ จะวิเคราะห์วิกฤตหนี้ของสหรัฐฯ ซึ่งกำลังกลายเป็นเรื่องใหญ่ และกำลังจะส่งผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจโลก ดังนี้
วิกฤตหนี้สหรัฐฯ
วิกฤตหนี้สหรัฐฯเกิดขึ้นในช่วงหลายเดือนที่ผ่านมา โดยทางฝ่ายสภาคองเกรส ไม่ยอมผ่านกฎหมายที่จะขยายเพดานหนี้ให้กับรัฐบาล Obama ซึ่งขณะนี้ สหรัฐฯมีหนี้อยู่สูงถึง 14 ล้านล้านเหรียญ โดยเป็นหนี้กู้ในรูปแบบต่างๆ โดยเฉพาะในรูปแบบของพันธบัตร หรือ Treasury Bond จนเกือบทำให้สหรัฐฯต้องพักชำระหนี้ แต่ในที่สุด ในช่วงต้นเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา สภาคองเกรสได้ยอมผ่านกฎหมายเพิ่มเพดานเงินกู้อีก 2.4 ล้านล้านเหรียญ
อย่างไรก็ตาม ต่อมา บริษัทจัดอันดับความน่าเชื่อถือ Standard & Poor หรือ S&P ได้ประกาศลดอันดับความน่าเชื่อถือของรัฐบาลสหรัฐฯ จาก AAA ลดลงมาเป็น AA+ ซึ่งถือเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ของสหรัฐฯ ที่อันดับความน่าเชื่อถือหล่นจากระดับสูงสุด คือ ระดับ AAA
ผลกระทบต่อโลก : ภาพรวม
จากวิกฤตหนี้สหรัฐฯในครั้งนี้ ได้ส่งผลกระทบทางการเงินไปทั่วโลก โดยผลกระทบในระยะสั้น คือ การสร้างความปั่นป่วนแก่ตลาดหุ้นไปทั่วโลก หลังจาก S&P ประกาศลดอันดับความน่าเชื่อถือของสหรัฐฯ ตลาดหุ้นก็ตกทั่วโลก รวมทั้งตลาดหุ้นของไทย เมื่อวันจันทร์ที่ 8 สิงหาคมที่ผ่านมา ก็ตกลงมาแรงมาก
นอกจากนี้ วิกฤตหนี้สหรัฐฯ กำลังส่งผลกระทบในระยะยาว โดยประเทศต่างๆ ที่ถือครองเงินดอลลาร์และพันธบัตรสหรัฐฯ คงจะพยายามเรียกร้องให้มีการพัฒนาเงินสกุลสำรองของโลก หรือ reserve currency ขึ้นมาแทนสกุลเงินดอลลาร์ และคงจะทำให้ประเทศต่างๆ โดยเฉพาะในเอเชีย ที่ถือครองพันธบัตรสหรัฐฯจำนวนมหาศาล ต้องพยายามกระจายเงินทุนสำรองของตน จากเงินดอลลาร์เป็นเงินสกุลอื่น และจากพันธบัตรสหรัฐฯไปเป็นพันธบัตรของประเทศอื่นๆ โดยเฉพาะพันธบัตรของประเทศเศรษฐกิจเกิดใหม่ อย่างไรก็ตาม ก็ไม่ใช่เรื่องง่ายในทางปฏิบัติ ที่จะกระจายพันธบัตรสหรัฐฯไปสู่พันธบัตรของประเทศอื่น
นอกจากนี้ วิกฤตหนี้สหรัฐฯในครั้งนี้ ยังเป็นการส่งสัญญาณให้เห็นอย่างเด่นชัดว่า ระบบเศรษฐกิจโลกที่ต้องพึ่งพาเศรษฐกิจสหรัฐฯนั้น มีความเปราะบางอย่างมาก ซึ่งปัญหานี้เอง จะกระตุ้นให้ประเทศต่างๆในโลก แสวงหาทางเลือกใหม่ ในแง่ของเงินสกุลที่จะมาแทนเงินดอลลาร์ และพันธบัตรใหม่ ที่จะมาแทน Treasury Bond
ผลกระทบอีกประการหนึ่งที่สำคัญจากวิกฤตหนี้ครั้งนี้ คือ การสูญเสียความเชื่อมั่นในระบบเศรษฐกิจสหรัฐฯ โดยประชาคมโลกกำลังมองว่าสหรัฐฯเป็นมหาอำนาจ แต่ก็เชื่อถือไม่ได้ และกำลังจะเป็นตัวทำลายความสมดุลของเศรษฐกิจโลก แทนที่จะเป็นตัวรักษาสมดุลดังกล่าว ความเชื่อถือและความเชื่อมั่น ถือเป็นปัจจัยสำคัญในการเป็นผู้นำเศรษฐกิจโลก แต่จากเหตุการณ์วิกฤตหนี้ครั้งนี้ กำลังส่งสัญญาณว่า การครองความเป็นเจ้าทางเศรษฐกิจโลกของอเมริกา กำลังจะจบสิ้นลง
และผลกระทบอีกประการหนึ่งในระยะยาว ที่ขณะนี้ยังมีความไม่แน่นอน คือ วิกฤตหนี้สหรัฐฯจะนำไปสู่วิกฤตการเงินโลกครั้งใหม่หรือไม่ ขณะนี้ หลายฝ่ายกำลังวิตกกังวลในเรื่องนี้มาก เมื่อไม่กี่วันมานี้ ก็มีการประชุมระหว่างกลุ่มประเทศ G7 เพื่อที่จะลดความวิตกกังวลต่อแนวโน้มวิกฤตการเงินโลกครั้งใหม่
ผลกระทบต่อเอเชีย
สำหรับประเทศในเอเชีย จะได้รับผลกระทบหนักที่สุดจากวิกฤตหนี้สหรัฐฯ ทั้งนี้ ตามที่กล่าวแล้วว่า หลายประเทศในเอเชีย มีเงินทุนสำรองเป็นเงินสกุลดอลลาร์ และเป็นพันธบัตรสหรัฐฯ หลายประเทศในเอเชีย ได้ดุลการค้ากับสหรัฐฯมหาศาล ทำให้มีการถือครองเงินดอลลาร์อยู่เป็นจำนวนมาก และหลายประเทศก็นำเงินดังกล่าวไปซื้อพันธบัตรสหรัฐฯมาเก็บไว้ในรูปของเงินทุนสำรองระหว่างประเทศ ดังนั้น หนี้ของสหรัฐฯที่มีมูลค่าสูงถึง 14 ล้านล้านเหรียญนั้น ส่วนใหญ่จะอยู่ในรูปของพันธบัตร ซึ่งเจ้าหนี้รายใหญ่ คือ รัฐบาลของประเทศต่างๆในเอเชีย อาทิ จีน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ ดังนั้น หากมีการพักชำระหนี้ ก็จะส่งผลกระทบอย่างมากต่อประเทศเหล่านี้
และหากวิกฤตหนี้ครั้งนี้จะนำสหรัฐฯไปสู่ภาวะเศรษฐกิจถดถอยครั้งใหม่ ก็จะส่งผลกระทบต่อการค้าของเอเชีย ซึ่งส่วนใหญ่พึ่งพาตลาดสหรัฐฯในการส่งออก
นอกจากนี้ วิกฤตหนี้สหรัฐฯ ได้ทำให้ประเทศในเอเชีย สูญเสียความเชื่อมั่นในรัฐบาลสหรัฐฯ และสูญเสียความเชื่อมั่นในการเป็นผู้นำเศรษฐกิจโลกของสหรัฐฯ การที่สหรัฐฯสูญเสียความเชื่อมั่นดังกล่าว ถือเป็นเรื่องใหญ่ เพราะหากเจ้าหนี้รายใหญ่ของอเมริกาในเอเชีย โดยเฉพาะจีน ไม่เชื่อถือสหรัฐฯอีกต่อไป ในเรื่องของพันธกรณีในการชำระหนี้ ก็จะส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นต่อสหรัฐฯอีกหลายเรื่อง ทั้งเรื่องความมั่นคง และการค้า ซึ่งจะกลายเป็นว่า ไม่ใช่แต่เพียงเรื่องเสถียรภาพทางการเงินเท่านั้น แต่จะเป็นสัญญาณที่ประเทศในเอเชียจะมองว่า สหรัฐฯกำลังเสื่อมอำนาจลง และเชื่อมั่นไม่ได้อีกต่อไป
ผลกระทบต่อจีน
ประเทศที่น่าจะได้รับผลกระทบมากที่สุดจากวิกฤตหนี้สหรัฐฯ คือ จีน เพราะจีนเป็นประเทศที่ถือครองพันธบัตรสหรัฐฯมากที่สุดในโลก ขณะนี้ จีนมีเงินทุนสำรองระหว่างประเทศอยู่ 3.2 ล้านล้านเหรียญ โดยอยู่ในรูปของพันธบัตรสหรัฐฯเกือบ 2 ล้านล้านเหรียญ ดังนั้น จีนจึงมีความอ่อนไหวมากต่อวิกฤตหนี้สหรัฐฯ ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อจีนโดยตรง ในฐานะเจ้าหนี้รายใหญ่ที่สุด ในอดีต จีนจะรู้สึกมั่นคงปลอดภัยมากที่สุดในการซื้อพันธบัตรสหรัฐฯมาเป็นเงินทุนสำรองระหว่างประเทศ เพราะจีนเชื่อว่า มีความเสี่ยงน้อยที่สุด แต่จากวิกฤตหนี้ในครั้งนี้ คงจะทำให้จีนตระหนักว่า จีนจะต้องปรับเปลี่ยนยุทธศาสตร์และนโยบายทางการเงินใหม่ โดยจะต้องพยายามกระจายเงินทุนสำรองไปเป็นเงินสกุลอื่นๆ ที่ไม่ใช่เงินดอลลาร์ และเป็นพันธบัตรอื่นๆ ที่ไม่ใช่พันธบัตรสหรัฐฯ แต่ในทางปฏิบัติก็เป็นไปได้ยาก จีนจึงตกอยู่ในสภาพ “กลืนไม่เข้า คายไม่ออก” อยู่ในขณะนี้
ดังนั้น ในช่วงวิกฤตที่ผ่านมา จีนจึงได้ออกมาวิพากษ์วิจารณ์นโยบายการเงินของรัฐบาล Obama อย่างรุนแรง ถึงแม้จะไม่ได้เป็นการวิพากย์วิจารณ์อย่างเป็นทางการจากรัฐบาล แต่จีนก็ใช้วิธีการเขียนบทบรรณาธิการ โจมตีสหรัฐ ในหนังสือพิมพ์ Xinhua ของรัฐบาลจีน โดยได้กล่าวโจมตีว่า รัฐบาลสหรัฐฯ ไม่มีความรับผิดชอบ ซึ่งเป็นอันตรายอย่างยิ่ง และกระตุ้นให้สหรัฐฯสำรวจตัวเองในเรื่องนโยบายการเงินใหม่ นอกจากนี้ จีนเสนอให้มีกลไกตรวจสอบในระดับโลก เพื่อตรวจสอบการปั๊มเงินดอลลาร์ของสหรัฐฯ และเสนอให้มีเงินสกุลสำรองของโลกใหม่แทนเงินดอลลาร์
และภายหลัง S&P ประกาศลดความน่าเชื่อถือของรัฐบาลสหรัฐฯ ในวันที่ 6 สิงหาคมที่ผ่านมา จีนก็ได้โจมตีสหรัฐฯครั้งใหม่ ผ่านทาง New China News Agency โดยได้เรียกร้องให้สหรัฐฯแก้ปัญหาหนี้สินของตน ซึ่งกลายเป็นเหมือนยาเสพติด และขอให้สหรัฐฯใช้เงินไม่ให้เกินตัว จีนได้โจมตีต่อไปว่า การเมืองภายในได้เป็นตัวปัญหาและกำลังคุกคามทำลายระบบเศรษฐกิจโลก จีนในฐานะเจ้าหนี้รายใหญ่ที่สุดของสหรัฐฯ จีนจึงมีสิทธิ์ที่จะเรียกร้องให้สหรัฐฯแก้ไขปัญหาหนี้ และให้ความมั่นใจแก่ความมั่นคงปลอดภัยของพันธบัตรสหรัฐฯที่จีนถือครองอยู่ จีนยังกล่าวด้วยว่า หากยังไม่มีการตัดลดงบประมาณทางทหาร ที่มีมูลค่ามหาศาล และไม่ตัดลดค่าใช้จ่ายทางด้านสวัสดิการสังคม สหรัฐฯก็จะถูกลดอันดับความน่าเชื่อถือลงอีก ซึ่งจะก่อให้เกิดผลกระทบมหาศาลต่อระบบการเงินโลกในอนาคต
เราคงต้องจับตาดูกันต่อว่า วิกฤตหนี้สหรัฐฯในครั้งนี้ จะส่งผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจโลกมากน้อยเพียงใด โดยเฉพาะอย่างยิ่ง จะนำไปสู่การเกิดวิกฤตการเงินโลกครั้งใหม่ได้หรือไม่
ตีพิมพ์ใน ไทยโพสต์ ฉบับวันพฤหัสบดีที่ 11 สิงหาคม 2554
คอลัมน์กระบวนทรรศน์ในวันนี้ จะวิเคราะห์วิกฤตหนี้ของสหรัฐฯ ซึ่งกำลังกลายเป็นเรื่องใหญ่ และกำลังจะส่งผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจโลก ดังนี้
วิกฤตหนี้สหรัฐฯ
วิกฤตหนี้สหรัฐฯเกิดขึ้นในช่วงหลายเดือนที่ผ่านมา โดยทางฝ่ายสภาคองเกรส ไม่ยอมผ่านกฎหมายที่จะขยายเพดานหนี้ให้กับรัฐบาล Obama ซึ่งขณะนี้ สหรัฐฯมีหนี้อยู่สูงถึง 14 ล้านล้านเหรียญ โดยเป็นหนี้กู้ในรูปแบบต่างๆ โดยเฉพาะในรูปแบบของพันธบัตร หรือ Treasury Bond จนเกือบทำให้สหรัฐฯต้องพักชำระหนี้ แต่ในที่สุด ในช่วงต้นเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา สภาคองเกรสได้ยอมผ่านกฎหมายเพิ่มเพดานเงินกู้อีก 2.4 ล้านล้านเหรียญ
อย่างไรก็ตาม ต่อมา บริษัทจัดอันดับความน่าเชื่อถือ Standard & Poor หรือ S&P ได้ประกาศลดอันดับความน่าเชื่อถือของรัฐบาลสหรัฐฯ จาก AAA ลดลงมาเป็น AA+ ซึ่งถือเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ของสหรัฐฯ ที่อันดับความน่าเชื่อถือหล่นจากระดับสูงสุด คือ ระดับ AAA
ผลกระทบต่อโลก : ภาพรวม
จากวิกฤตหนี้สหรัฐฯในครั้งนี้ ได้ส่งผลกระทบทางการเงินไปทั่วโลก โดยผลกระทบในระยะสั้น คือ การสร้างความปั่นป่วนแก่ตลาดหุ้นไปทั่วโลก หลังจาก S&P ประกาศลดอันดับความน่าเชื่อถือของสหรัฐฯ ตลาดหุ้นก็ตกทั่วโลก รวมทั้งตลาดหุ้นของไทย เมื่อวันจันทร์ที่ 8 สิงหาคมที่ผ่านมา ก็ตกลงมาแรงมาก
นอกจากนี้ วิกฤตหนี้สหรัฐฯ กำลังส่งผลกระทบในระยะยาว โดยประเทศต่างๆ ที่ถือครองเงินดอลลาร์และพันธบัตรสหรัฐฯ คงจะพยายามเรียกร้องให้มีการพัฒนาเงินสกุลสำรองของโลก หรือ reserve currency ขึ้นมาแทนสกุลเงินดอลลาร์ และคงจะทำให้ประเทศต่างๆ โดยเฉพาะในเอเชีย ที่ถือครองพันธบัตรสหรัฐฯจำนวนมหาศาล ต้องพยายามกระจายเงินทุนสำรองของตน จากเงินดอลลาร์เป็นเงินสกุลอื่น และจากพันธบัตรสหรัฐฯไปเป็นพันธบัตรของประเทศอื่นๆ โดยเฉพาะพันธบัตรของประเทศเศรษฐกิจเกิดใหม่ อย่างไรก็ตาม ก็ไม่ใช่เรื่องง่ายในทางปฏิบัติ ที่จะกระจายพันธบัตรสหรัฐฯไปสู่พันธบัตรของประเทศอื่น
นอกจากนี้ วิกฤตหนี้สหรัฐฯในครั้งนี้ ยังเป็นการส่งสัญญาณให้เห็นอย่างเด่นชัดว่า ระบบเศรษฐกิจโลกที่ต้องพึ่งพาเศรษฐกิจสหรัฐฯนั้น มีความเปราะบางอย่างมาก ซึ่งปัญหานี้เอง จะกระตุ้นให้ประเทศต่างๆในโลก แสวงหาทางเลือกใหม่ ในแง่ของเงินสกุลที่จะมาแทนเงินดอลลาร์ และพันธบัตรใหม่ ที่จะมาแทน Treasury Bond
ผลกระทบอีกประการหนึ่งที่สำคัญจากวิกฤตหนี้ครั้งนี้ คือ การสูญเสียความเชื่อมั่นในระบบเศรษฐกิจสหรัฐฯ โดยประชาคมโลกกำลังมองว่าสหรัฐฯเป็นมหาอำนาจ แต่ก็เชื่อถือไม่ได้ และกำลังจะเป็นตัวทำลายความสมดุลของเศรษฐกิจโลก แทนที่จะเป็นตัวรักษาสมดุลดังกล่าว ความเชื่อถือและความเชื่อมั่น ถือเป็นปัจจัยสำคัญในการเป็นผู้นำเศรษฐกิจโลก แต่จากเหตุการณ์วิกฤตหนี้ครั้งนี้ กำลังส่งสัญญาณว่า การครองความเป็นเจ้าทางเศรษฐกิจโลกของอเมริกา กำลังจะจบสิ้นลง
และผลกระทบอีกประการหนึ่งในระยะยาว ที่ขณะนี้ยังมีความไม่แน่นอน คือ วิกฤตหนี้สหรัฐฯจะนำไปสู่วิกฤตการเงินโลกครั้งใหม่หรือไม่ ขณะนี้ หลายฝ่ายกำลังวิตกกังวลในเรื่องนี้มาก เมื่อไม่กี่วันมานี้ ก็มีการประชุมระหว่างกลุ่มประเทศ G7 เพื่อที่จะลดความวิตกกังวลต่อแนวโน้มวิกฤตการเงินโลกครั้งใหม่
ผลกระทบต่อเอเชีย
สำหรับประเทศในเอเชีย จะได้รับผลกระทบหนักที่สุดจากวิกฤตหนี้สหรัฐฯ ทั้งนี้ ตามที่กล่าวแล้วว่า หลายประเทศในเอเชีย มีเงินทุนสำรองเป็นเงินสกุลดอลลาร์ และเป็นพันธบัตรสหรัฐฯ หลายประเทศในเอเชีย ได้ดุลการค้ากับสหรัฐฯมหาศาล ทำให้มีการถือครองเงินดอลลาร์อยู่เป็นจำนวนมาก และหลายประเทศก็นำเงินดังกล่าวไปซื้อพันธบัตรสหรัฐฯมาเก็บไว้ในรูปของเงินทุนสำรองระหว่างประเทศ ดังนั้น หนี้ของสหรัฐฯที่มีมูลค่าสูงถึง 14 ล้านล้านเหรียญนั้น ส่วนใหญ่จะอยู่ในรูปของพันธบัตร ซึ่งเจ้าหนี้รายใหญ่ คือ รัฐบาลของประเทศต่างๆในเอเชีย อาทิ จีน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ ดังนั้น หากมีการพักชำระหนี้ ก็จะส่งผลกระทบอย่างมากต่อประเทศเหล่านี้
และหากวิกฤตหนี้ครั้งนี้จะนำสหรัฐฯไปสู่ภาวะเศรษฐกิจถดถอยครั้งใหม่ ก็จะส่งผลกระทบต่อการค้าของเอเชีย ซึ่งส่วนใหญ่พึ่งพาตลาดสหรัฐฯในการส่งออก
นอกจากนี้ วิกฤตหนี้สหรัฐฯ ได้ทำให้ประเทศในเอเชีย สูญเสียความเชื่อมั่นในรัฐบาลสหรัฐฯ และสูญเสียความเชื่อมั่นในการเป็นผู้นำเศรษฐกิจโลกของสหรัฐฯ การที่สหรัฐฯสูญเสียความเชื่อมั่นดังกล่าว ถือเป็นเรื่องใหญ่ เพราะหากเจ้าหนี้รายใหญ่ของอเมริกาในเอเชีย โดยเฉพาะจีน ไม่เชื่อถือสหรัฐฯอีกต่อไป ในเรื่องของพันธกรณีในการชำระหนี้ ก็จะส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นต่อสหรัฐฯอีกหลายเรื่อง ทั้งเรื่องความมั่นคง และการค้า ซึ่งจะกลายเป็นว่า ไม่ใช่แต่เพียงเรื่องเสถียรภาพทางการเงินเท่านั้น แต่จะเป็นสัญญาณที่ประเทศในเอเชียจะมองว่า สหรัฐฯกำลังเสื่อมอำนาจลง และเชื่อมั่นไม่ได้อีกต่อไป
ผลกระทบต่อจีน
ประเทศที่น่าจะได้รับผลกระทบมากที่สุดจากวิกฤตหนี้สหรัฐฯ คือ จีน เพราะจีนเป็นประเทศที่ถือครองพันธบัตรสหรัฐฯมากที่สุดในโลก ขณะนี้ จีนมีเงินทุนสำรองระหว่างประเทศอยู่ 3.2 ล้านล้านเหรียญ โดยอยู่ในรูปของพันธบัตรสหรัฐฯเกือบ 2 ล้านล้านเหรียญ ดังนั้น จีนจึงมีความอ่อนไหวมากต่อวิกฤตหนี้สหรัฐฯ ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อจีนโดยตรง ในฐานะเจ้าหนี้รายใหญ่ที่สุด ในอดีต จีนจะรู้สึกมั่นคงปลอดภัยมากที่สุดในการซื้อพันธบัตรสหรัฐฯมาเป็นเงินทุนสำรองระหว่างประเทศ เพราะจีนเชื่อว่า มีความเสี่ยงน้อยที่สุด แต่จากวิกฤตหนี้ในครั้งนี้ คงจะทำให้จีนตระหนักว่า จีนจะต้องปรับเปลี่ยนยุทธศาสตร์และนโยบายทางการเงินใหม่ โดยจะต้องพยายามกระจายเงินทุนสำรองไปเป็นเงินสกุลอื่นๆ ที่ไม่ใช่เงินดอลลาร์ และเป็นพันธบัตรอื่นๆ ที่ไม่ใช่พันธบัตรสหรัฐฯ แต่ในทางปฏิบัติก็เป็นไปได้ยาก จีนจึงตกอยู่ในสภาพ “กลืนไม่เข้า คายไม่ออก” อยู่ในขณะนี้
ดังนั้น ในช่วงวิกฤตที่ผ่านมา จีนจึงได้ออกมาวิพากษ์วิจารณ์นโยบายการเงินของรัฐบาล Obama อย่างรุนแรง ถึงแม้จะไม่ได้เป็นการวิพากย์วิจารณ์อย่างเป็นทางการจากรัฐบาล แต่จีนก็ใช้วิธีการเขียนบทบรรณาธิการ โจมตีสหรัฐ ในหนังสือพิมพ์ Xinhua ของรัฐบาลจีน โดยได้กล่าวโจมตีว่า รัฐบาลสหรัฐฯ ไม่มีความรับผิดชอบ ซึ่งเป็นอันตรายอย่างยิ่ง และกระตุ้นให้สหรัฐฯสำรวจตัวเองในเรื่องนโยบายการเงินใหม่ นอกจากนี้ จีนเสนอให้มีกลไกตรวจสอบในระดับโลก เพื่อตรวจสอบการปั๊มเงินดอลลาร์ของสหรัฐฯ และเสนอให้มีเงินสกุลสำรองของโลกใหม่แทนเงินดอลลาร์
และภายหลัง S&P ประกาศลดความน่าเชื่อถือของรัฐบาลสหรัฐฯ ในวันที่ 6 สิงหาคมที่ผ่านมา จีนก็ได้โจมตีสหรัฐฯครั้งใหม่ ผ่านทาง New China News Agency โดยได้เรียกร้องให้สหรัฐฯแก้ปัญหาหนี้สินของตน ซึ่งกลายเป็นเหมือนยาเสพติด และขอให้สหรัฐฯใช้เงินไม่ให้เกินตัว จีนได้โจมตีต่อไปว่า การเมืองภายในได้เป็นตัวปัญหาและกำลังคุกคามทำลายระบบเศรษฐกิจโลก จีนในฐานะเจ้าหนี้รายใหญ่ที่สุดของสหรัฐฯ จีนจึงมีสิทธิ์ที่จะเรียกร้องให้สหรัฐฯแก้ไขปัญหาหนี้ และให้ความมั่นใจแก่ความมั่นคงปลอดภัยของพันธบัตรสหรัฐฯที่จีนถือครองอยู่ จีนยังกล่าวด้วยว่า หากยังไม่มีการตัดลดงบประมาณทางทหาร ที่มีมูลค่ามหาศาล และไม่ตัดลดค่าใช้จ่ายทางด้านสวัสดิการสังคม สหรัฐฯก็จะถูกลดอันดับความน่าเชื่อถือลงอีก ซึ่งจะก่อให้เกิดผลกระทบมหาศาลต่อระบบการเงินโลกในอนาคต
เราคงต้องจับตาดูกันต่อว่า วิกฤตหนี้สหรัฐฯในครั้งนี้ จะส่งผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจโลกมากน้อยเพียงใด โดยเฉพาะอย่างยิ่ง จะนำไปสู่การเกิดวิกฤตการเงินโลกครั้งใหม่ได้หรือไม่
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)